วันพุธ, เมษายน 30, 2025
หน้าแรกNEWSสศช.เร่งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

สศช.เร่งอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ กระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง

สศช.เตรียมแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ 5 แสนล้าน ยอมรับนโยบาย “ทรัมป์ 2.0 ” มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย-เศรษฐกิจโลก เล็งออกแผนลงทุนระยะสั้นครึ่งปีหลังอัดฉีดเงินเข้าระบบ

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงกรณีกระทรวงการคลัง ร่วมกับสศช.ศึกษามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยวงเงิน 5 แสนล้านบาทว่า กำลังศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับแผนการลงทุน และโครงการที่จะใช้มีอะไรบ้าง โดยต้องดูวัตถุประสงค์รัฐบาลใช้เงินอย่างไร

ทั้งนี้ สศช.กำลังเตรียมแผนการลงทุนระยะสั้นที่เป็นโครงการลงทุนขนาดเล็ก เพื่ออัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ โดยจะเน้นที่การลงทุนระบบน้ำ แหล่งน้ำในชุมชน ระบบกระจายน้ำ เพื่อสนับสนุนการผลิตภาคเกษตรของชุมชนในระยะยาว ซึ่งตอนนี้ก็กำลังคุยกับสำนักงบประมาณ เพื่อดูในเรื่องเงินว่าจะต้องใช้วงเงินเท่าไหร่ เมื่อได้รายละเอียดชัดเจนจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป โดยเป็นเรื่องเร่งด่วน

สำหรับการปรับงบประมาณรายจ่ายปี 69 หลังจาก ครม. เมื่อวานนี้ วงเงิน 3.78 ล้านล้าน ขาดดุลงบประมาณ 860,000 ล้านบาท ขาดดุล 4.3% ต่อจีดีพี ต้องรอดูว่าสถานการณ์สงครามการค้าโลก จะส่งผลต่อไทยอย่างไร

“ยอมรับว่า นโยบายของ “ทรัมป์” คาดเดายากมาก และอยู่ที่ระดับความรุนแรงต่อเศรษฐกิจโลกและไทย ส่งผลต่อประเทศต่างๆขนาดไหน หลังจากหลายประเทศทยอยเข้าไปเจรจาหารือกับสหรัฐ ยังไม่เห็นผลชัดเจนว่าได้อะไรกลับมาบ้าง ในการผ่อนปรนเก็บภาษีกับคู่ค้าอย่างไร ดังนั้น แหล่งการใช้เงิน 5 แสนล้านบาท และแผนการเกลี่ยงบประมาณปี 69 ต้องหารือในชั้นกรรมาธิการงบประมาณปี 69 ทั้ง สส.และสว. จะเกลี่ยงบประมาณได้อย่างไรบ้าง เพื่อนำแหล่งเงินมาฟื้นเศรษฐกิจไทย”

โดยเห็นว่าศรษฐกิจไทยจะเริ่มได้รับผลกระทบจากเอฟเฟ็กต์ภาษีทรัมป์ ตั้งแต่ประมาณเดือน พ.ค.เป็นต้นไป และจะไปกระทบมากขึ้นในช่วงไตรมาส 3-4 ขณะที่ช่วงไตรมาสแรกถือว่ายังขยายตัวได้ดี เพราะยังไม่ได้ผลกระทบ รวมถึงเอกชนก็เร่งนำเข้าก่อนที่ทรัมป์จะประกาศภาษี แต่ช่วงที่เหลือคาดว่าจีดีพีจะขยายตัวได้ไม่ถึงกรณีฐานที่ประเมินไว้ว่าปีนี้ 2.8% ช่วงคาดการณ์ที่ 2.3-3.3%

นอกจากแผนการลงทุนเร่งด่วนแล้ว หากไตรมาส 3-4 ออร์เดอร์ไม่เข้า ก็ต้องเตรียมมาตรการที่จะดูแลเรื่องการจ้างงาน และภาคส่งออกที่ได้รับผลกระทบไว้ ซึ่งต้องดูเซ็กเตอร์ที่ได้รับผลกระทบให้ชัดเจน อย่างไรก็ดี ในส่วนมาตรการซอฟต์โลนอาจจะต้องพิจารณาให้ชัดเจน เนื่องจากหากเอกชนไม่มีออร์เดอร์ การให้ซอฟต์โลนไปก็อาจจะไม่ตรงจุดเพราะไม่รู้จะเอาไปทำอะไร

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img