วันพุธ, เมษายน 30, 2025
หน้าแรกHighlightนโยบายกำแพงภาษีการค้า‘ทรัมป์’พ่นพิษ ฉุดดัชนีMPIเดือนมีนาคมหดตัวลง0.66%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

นโยบายกำแพงภาษีการค้า‘ทรัมป์’พ่นพิษ ฉุดดัชนีMPIเดือนมีนาคมหดตัวลง0.66%

“ภาสกร” เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เดือนมี.ค. อยู่ที่ระดับ 105.03 หดตัว 0.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน หลังภาคท่องเที่ยว-ยานยนต์หดตัว เศรษฐกิจโลกซึมรับผลกระทบนโยบาย “ทรัมป์”

นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนมีนาคม 2568 อยู่ที่ระดับ 105.03 หดตัว 0.66% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาสแรก ปี 2568 อยู่ที่ระดับ 99.96 หดตัว 1.86% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ตาม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2568 ขยายตัวจากเดือนก่อน 9.21% และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 63.68% สะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมกลับมาผลิตเพิ่มขึ้น

โดยปัจจัยสนับสนุนหลักต่อภาคการผลิต ได้แก่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ อาทิ มาตรการผ่อนคลายเกณฑ์กำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 10,000 บาท ซึ่งดำเนินการมาแล้ว 2 เฟส โครงการคุณสู้เราช่วย การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และการปรับลดราคาน้ำมันลง รวมถึงการค้าระหว่างประเทศขยายตัวต่อเนื่อง มีมูลค่าส่งออกรวมเพิ่มขึ้น 17.80% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน เป็นการขยายตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9 และการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถัง และอากาศยานรบ) ขยายตัวร้อยละ 18.00

โดยสินค้าส่งออกหลักที่ขยายตัว ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องประดับแท้ที่ทำด้วยทอง เครื่องปรับอากาศ แผงสวิทซ์และแผงควบคุมไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น สะท้อนให้เห็นว่าสินค้าไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดโลก และการท่องเที่ยวที่ยังคงเป็นปัจจัยบวกกับภาคเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องได้รับอานิสงส์ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม เสื้อผ้าและเครื่องประดับ เป็นต้น

สำหรับระบบการเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาพรวมของไทย เดือนเมษายน 2568 “ส่งสัญญาณเฝ้าระวัง” โดยปัจจัยภายในประเทศ อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังต่อเนื่องตามการลงทุนภาคเอกชนที่ลดลง รวมทั้งความกังวลต่อนโยบายกำแพงภาษีของสหรัฐอเมริกา ด้านปัจจัยต่างประเทศ มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากผลของนโยบายการค้าของสหรัฐอเมริกาที่กดดันการค้าโลก และภาคการผลิตของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นที่ชะลอตัว รวมทั้งมาตรการตอบโต้ของประเทศต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดสงครามการค้าที่รุนแรงมากขึ้นได้ในระยะข้างหน้า


“ในวันที่ 2 เมษายน 2568 สหรัฐฯ เริ่มเก็บภาษีนำเข้ายานยนต์และชิ้นส่วนจากไทยในอัตราร้อยละ 25 จากเดิมเก็บเพียงร้อยละ 0-2.5 ได้แก่ รถยนต์นั่ง รถจักรยานยนต์ และชิ้นส่วนยานยนต์ โดยคาดว่ารถยนต์สำเร็จรูป (CBU) จะได้ผลกระทบทางตรงน้อย เนื่องจากมีการส่งออกไปในปริมาณที่ต่ำและมูลค่าโดยรวมไม่สูง สำหรับรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) คาดว่าจะได้ผลกระทบ แต่ทุกประเทศได้รับผลกระทบในระดับที่ใกล้เคียงกันจึงไม่ได้รับผลกระทบมากนักในช่วงแรก แต่จะได้รับผลกระทบเมื่อประเทศที่อยู่ภายใต้ความตกลง USMCA หรือสหรัฐ สามารถเริ่มผลิตรถจักรยานยนต์เพื่อทดแทนการนำเข้าได้ ในขณะที่ชิ้นส่วนยานยนต์คาดว่าจะได้รับผลกระทบในระดับหนึ่ง เนื่องจากประเทศไทยส่งออกชิ้นส่วนสำคัญที่อยู่ในขอบข่ายของสินค้าที่จะขึ้นภาษี เช่น ยางล้อ เครื่องยนต์ เกียร์ ระบบส่งกำลัง และส่วนประกอบไฟฟ้า ทั้งนี้ จะต้องรอประกาศอย่างเป็นทางการอีกครั้งว่าจะกระทบพิกัดภาษีใดบ้าง เพื่อประเมินผลต่อไป” นายภาสกร กล่าว

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2568 ไทยและญี่ปุ่นได้ร่วมกันจัดการประชุมกลไกความร่วมมือด้านพลังงานและอุตสาหกรรม หรือ EID (Energy and Industry Dialogue) ณ โรงแรมพลาซ่า แอทธีนี่ กรุงเทพฯ โดยมี รัฐมนตรีเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงทั้งสองฝ่าย ได้หารือแนวทางสร้างความร่วมมือเพื่อรักษา และสร้างโอกาสการเป็นฐานการผลิตยานยนต์สมัยใหม่ โดยมุ่งมั่นดำเนินการเพิ่มการลงทุนการผลิต HEV รวมถึงเพิ่มสัดส่วนการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ และเพิ่มการลงทุนศูนย์ R&D และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังมีเป้าหมายสร้างห่วงโซ่การผลิตเดียวกัน ( Win-Win Chain) สร้างฐานการผลิตยานยนต์พลังงานสะอาด (BCG) และสร้างผู้ผลิตในประเทศตลอด Supply Chain โดยได้มีแถลงการณ์ความร่วมมือใน 3 ด้าน ได้แก่ ส่งเสริมแนวทางที่หลากหลาย (Multi Pathways) เช่น รถยนต์พลังงาน Hydrogen และ Bio-fuel ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ ELV ดูแลและพัฒนา Supply Chain รวมถึง HRD โดยเฉพาะ SMEs ให้แข่งขันได้

ขณะเดียวกัน ได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันผลักดันนโยบายไปสู่การปฏิบัติในเรื่องการรักษาระดับการผลิต โดยใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ตามแนวทาง Multi Parthwarys ส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ โดยเฉพาะการผลิตรถยนต์ HEV และ mild HEV ส่งเสริมกิจกรรมด้านวิจัยและพัฒนา หรือด้านนวัตกรรมขั้นสูงในประเทศ และการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนส่งเสริมการปรับเปลี่ยนรถยนต์เก่าที่ปล่อยมลพิษสูงตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตเดือนมีนาคม 2568 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
น้ำตาล ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 19.94% จากผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายดิบและกากน้ำตาล เป็นหลัก ตามปริมาณอ้อยเข้าหีบที่มากกว่าปีก่อน เนื่องจากมีน้ำมากพอในพื้นที่เพาะปลูก และราคาอ้อยจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้น

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.93% จากผลิตภัณฑ์ Hard Disk Drive (HDD) เป็นหลัก ตามอุปสงค์ที่เริ่มกลับมาหลังชะลอตัวในช่วงก่อนหน้า ส่งผลให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ HDD ที่มีความจุสูง

ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.40% จากผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ ยางแท่ง และยางผสม เป็นหลัก เนื่องจากผู้ผลิตบางรายเพิ่มเตาเผาเพื่อขยายกำลังการผลิต และมีคำสั่งซื้อจากจีน อเมริกา และยุโรป (ผ่านการรับรอง EUDR) มากขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนีผลผลิตเดือนมีนาคม 2568 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.80% จากผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซลดีเซลหมุนเร็วและน้ำมันเครื่องบิน เป็นหลัก เนื่องการชะลอตัวของความต้องการใช้ขนส่งเดินทาง โดยเฉพาะจากภาคการท่องเที่ยวยานยนต์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 3.83% จากผลิตภัณฑ์รถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์ไฮบริดไม่เกิน 1,800 ซีซี และรถยนต์นั่งขนาดเล็ก เป็นหลัก เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง และสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ

กาแฟ ชา และสมุนไพรผงสำหรับชงเป็นเครื่องดื่ม หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 82.62% จากผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูป เป็นหลัก เนื่องจากผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตชั่วคราวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ส่งผลให้ตลาดหดตัวทั้งในประเทศและส่งออก

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img