วันอังคาร, พฤษภาคม 13, 2025
หน้าแรกHighlightบอร์ดพีพีพีไฟเขียวโครงการท่าเทียบเรือ บี1-บี2‘แหลมฉบัง’มูลค่า1.28หมื่นล้านบ.
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

บอร์ดพีพีพีไฟเขียวโครงการท่าเทียบเรือ บี1-บี2‘แหลมฉบัง’มูลค่า1.28หมื่นล้านบ.

“เผ่าภูมิ” เผยบอร์ดพีพีพีไฟเขียว โครงการท่าเทียบเรือ บี1 และ บี2 ที่แหลมฉบัง รูปแบบ PPP Net Cost มูลค่าโครงการรวม 12,819 ล้านบาท  หวังเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน พัฒนาการขนส่งทางทะเลของประเทศ

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รมช.คลัง ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน หรือพีพีพี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการพีพีพีได้เห็นชอบหลักการ โครงการท่าเทียบเรือ บี1 และ บี2 ท่าเรือแหลมฉบังของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) โดยเป็นการควบรวม 2 ท่าเทียบเรือเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นการเพิ่มความยาวหน้าท่าของท่าเทียบเรือ เพื่อให้สามารถรองรับเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการในรูปแบบ PPP Net Cost มูลค่าโครงการรวม 12,819 ล้านบาท 

“เอกชนจะรับผิดชอบการปรับปรุงสิ่งปลูกสร้าง ลงทุนจัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือและเทคโนโลยีสำหรับการยกขนสินค้า ตลอดจนรับผิดชอบในการดูแลบำรุงรักษา และบูรณะสิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร รวมถึงการบริหารจัดการโครงการ” นายเผ่าภูมิ กล่าว

ขณะที่ กทท. จะกำกับดูแลและติดตามตรวจสอบคุณภาพการดำเนินงานของภาคเอกชน และได้รับค่าผลประโยชน์ตอบแทนเป็นรายปีตามเงื่อนไขที่กำหนด ทั้งนี้ โครงการมีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 5 ที่มุ่งให้ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค 

โดยโครงการจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานจากการใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ และทำให้สามารถรองรับปริมาณตู้สินค้าได้มากขึ้น ตลอดจนสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพ

นอกจากนี้ คณะกรรมการ PPP ยังได้เห็นชอบการปรับปรุงแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2563 – 2570 (แผนร่วมลงทุนฯ) เพื่อให้สอดคล้องกับความพร้อมของแต่ละโครงการและเป็นปัจจุบัน โดยมีรายการโครงการที่ประสงค์จะดำเนินการในรูปแบบ PPP รวม 139 โครงการ มูลค่ารวม 9.21 แสนล้านบาท 

ทั้งนี้ แผนร่วมลงทุนฯ ข้างต้น จะเป็นกรอบทิศทางการจัดทำโครงการ PPP ของประเทศที่ชัดเจน และจะช่วยสร้างความสนใจและดึงดูดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการของรัฐมากขึ้น โดยแผนร่วมลงทุนฯ ฉบับนี้ได้ครอบคลุมถึงโครงการเชิงสังคมในด้านต่างๆ เพิ่มมากขึ้น เช่น ด้านสาธารณสุข และด้านการจัดการน้ำและบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น 

“คณะกรรมการ PPP ยังได้เร่งรัดโครงการร่วมลงทุนต่างๆ ให้สามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนงาน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น”รมช.คลัง ระบุ

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img