วันจันทร์, พฤษภาคม 12, 2025
หน้าแรกHighlight“ของแพง”บีบใจ!โพลสวนดุสิตชี้“เงินฝืด” รัฐบาลแก้ไม่ตรงจุด-ความเชื่อมั่นดิ่งเหว
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ของแพง”บีบใจ!โพลสวนดุสิตชี้“เงินฝืด” รัฐบาลแก้ไม่ตรงจุด-ความเชื่อมั่นดิ่งเหว

วิกฤตปากท้อง! โพลสวนดุสิตฯ ตอกย้ำ “ราคาสินค้าแพง” บีบหัวใจคนไทย! เงินเก็บจ่อศูนย์ รัฐบาลแก้ปัญหาเศรษฐกิจ “สอบตก” ความเชื่อมั่นประชาชนดิ่งเหว

เมื่อวันที่ 11 พ.ค. สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,229 คน ในหัวข้อ “คนไทยกับการรับมือปัญหาเศรษฐกิจ” ระหว่างวันที่ 6-9 พฤษภาคม 2568 พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 51.59) ค่อนข้างกังวลกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน

โดยเรื่องที่ประชาชนกังวลมากที่สุดคือ ราคาสินค้าที่แพงขึ้น (ร้อยละ 73.23) นอกจากนี้ ผลสำรวจยังสะท้อนความเปราะบางทางการเงินของคนไทย โดยพบว่า ร้อยละ 48.32 ของประชาชน หากไม่มีรายได้เลย จะมีเงินสำรองฉุกเฉินใช้ต่อไปได้ น้อยกว่า 1 เดือน

สำหรับแนวทางการรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่ประชาชนส่วนใหญ่เลือกใช้คือ การลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น (ร้อยละ 77.37) ส่วนด้านการวางแผนการเงินส่วนบุคคล พบว่า ร้อยละ 58.99 มีการวางแผนแต่ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง

เมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐอเมริกา พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 76.06) ไม่เชื่อมั่น ขณะที่มีเพียง ร้อยละ 23.94 ที่เชื่อมั่น

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล กล่าวว่า ผลโพลสะท้อนให้เห็นถึงความกังวลของประชาชนต่อปัญหาเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงขึ้น และความเปราะบางทางการเงินของคนไทยจำนวนมาก แม้จะพยายามลดรายจ่ายและวางแผนการเงิน แต่ด้วยรายได้ที่ไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ความไม่ชัดเจนของผลการดำเนินนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนด้วย

ว่าที่ร้อยเอกศักดา ศรีทิพย์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรกฎหมายมหาชนและบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิเคราะห์ว่า ปัจจัยลบจากการส่งออกที่ได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ และภาคการท่องเที่ยวที่ชะลอตัวจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของ GDP ประเทศไทย ทำให้ประชาชนกังวลต่อราคาสินค้าที่จะสูงขึ้น และหนี้สินครัวเรือนที่จะเพิ่มขึ้น

สรุปผลโพล: ประชาชนส่วนใหญ่กังวลเรื่องค่าครองชีพสูงและหนี้สินครัวเรือน มีเงินสำรองฉุกเฉินน้อยกว่า 1 เดือน จึงต้องลดรายจ่ายและชะลอการบริโภค ซึ่งอาจซ้ำเติมเศรษฐกิจภายในประเทศ ทางออกคือรัฐบาลต้องเร่งเจรจากับสหรัฐฯ เพื่อลดผลกระทบ โดยที่ไทยไม่เสียเปรียบ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เชื่อมั่นในการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล

Print
- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img