วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightภาคเอกชนขานรับ''ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์''ชงรัฐวางรากฐานช่วยเหลือ SMEs
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ภาคเอกชนขานรับ”ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์”ชงรัฐวางรากฐานช่วยเหลือ SMEs

นายก ฯ ถก 3 สถาบันภาคเอกชนและสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย  หารือช่วย SMEs ฝ่าวิกฤตโควิด-19   ขณะที่ภาคเอกชนขานรับ “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์” พร้อมชงปล่อยสินเชื่อ ปลดล็อคลูกหนี้ที่ติดเครดิตบูโรและวางรากฐานช่วย SMEs  

เมื่อวันที่  23 มิ.ย. 64 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมหารือนโยบายช่วยเหลือ SMEs โดยได้เชิญสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทยและสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ร่วมหารือถึงนโยบายและมาตรการช่วยเหลือ SMEs  ลดภาระต้นทุน เพิ่มสภาพคล่อง และเสริมรายได้เพิ่ม เพื่อให้ SMEs สามารถประคับประคองธุรกิจให้ผ่านพ้นช่วงเวลาวิกฤตินี้โควิด-19  และไปต่อได้

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง ทั้งการเพิ่มรายได้และลดต้นทุน  เช่น ด้วยการเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐและกระตุ้นการการบริโภคภายในประเทศผ่านโครงการต่าง ๆ 

อาทิ โครงการเราชนะ  คนละครึ่ง ม33 เรารักกัน รวมทั้งเพิ่มวงเงินให้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  การจัดให้มีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ผ่าน พรก. Soft Loan โครงการค้ำประกันเงินกู้และสินเชื่อสำหรับกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว รวมทั้งการออกมาตรการพักทรัพย์ พักหนี้ และปรับโครงสร้างหนี้ การลด/เร่งคืนภาษี ให้กับผู้ประกอบการส่งออก และขยายระยะเวลาการยื่นภาษีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสนับสนุนอื่น ๆ อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการให้บริการ Digital Factoring และกระบวนการสนับสนุน โดยธนาคารแห่งประเทศไทย การออกกฎกระทรวงการคลังกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดซื้อจัดจ้างจาก SMEs และการออกประกาศคณะกรรมการแข่งขันทางการค้า กำหนดแนวปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรม เกี่ยวกับระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้ำ (Credit Term) กรณี SMEs เป็นผู้ขายสินค้าหรือบริการ

ในระหว่างการประชุม นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวว่า  ภาคเอกชนถือเป็นพันธมิตรสำคัญของรัฐบาล ในการเข้ามามีส่วนร่วมสนับสนุน SMEs ตามแนวทางและมาตรการของรัฐ โดยเฉพาะการจูงใจให้ SMEs มาจดทะเบียนกับภาครัฐ เพื่อให้เข้าถึงมาตรการต่าง ๆ ของภาครัฐ เช่น  เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ช่วยเสริมสภาพคล่องและเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบธุรกิจ อาทิ การสนับสนุนให้ได้รับสินเชื่อ/สินเชื่อ Factoring ดอกเบี้ยต่ำ ร่นระยะเวลาการชำระสินเชื่อการค้าแก่ SMEs ที่เป็นผู้ขายให้เร็วขึ้น จับคู่ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพเข้ามาช่วยเหลือและให้ความรู้กับ SMEs ในการพัฒนาทักษะที่สำคัญในการประกอบธุรกิจ

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้ขอให้สภาหอการค้าไทยแห่งประเทศไทยและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยหารือร่วมกับสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยเพื่อเพิ่มบทบาทในการสนับสนุน SME ที่สอดรับกับความต้องการของ SME โดยแท้จริงอีกด้วย รวมทั้งสั่งการให้เร่งประชาสัมพันธ์และขยายผลมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ทั้งของภาครัฐและเอกชนและการเพิ่มศักยภาพ และสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการ SMEs  โดยจะให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแนวทางที่ได้มีการหารือทันที่ เพราะ SMEs จำนวนมากกำลังประสบปัญหาในทุกวันนี้

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ยังเปิดเผยว่า  หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ตอบรับแนวทางนโยบายการเปิดประเทศ 120 วัน พร้อมสนับสนุนการฉีดวัคซีนตามแผนเปิดประเทศ  และจะใช้ “ภูเก็ตโมเดล” เป็นต้นแบบ ในการจัดทำมาตรการให้สามารถเปิดพื้นที่เศรษฐกิจการค้า การท่องเที่ยวในพื้นที่จังหวัดที่มีศักยภาพพร้อมเตรียมธุรกิจที่อย่ในซัพพลายเชนของการท่องเที่ยว รองรับการเปิดประเทศด้านการท่องเที่ยว อาทิ อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าของขวัญของที่ระลึก สินค้าในซัพพลายเชนของโรงแรม ขณะเดียวกัน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ให้ความมั่นใจว่าจะดูแลและป้องกันสุขภาวะในสถานประกอบการ เพื่อป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19   ในสถานประกอบการและแรงงานด้วย

อย่างไรก็ตามหอการค้าไทยได้นำเสนอมาตรการระยะสั้นและวางรากฐานช่วย SMEs ไทย อาทิ การปล่อยสินเชื่อให้ SMEs ผ่านผู้ประกอบการค้าปลีก ปลดล็อคลูกหนี้ที่ติดเครดิตบูโร/NPL เข้าถึงแหล่งเงินทุน  ให้รัฐผ่อนคลายกฎระเบียบให้สถาบันทางการเงินมีอิสระในการใช้ดุลยพินิจมากขึ้น 

ขณะที่ สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทยนำเสนอมาตรการเร่งด่วนเข้าถึงแหล่งทุนและลดการว่างงาน อาทิ ทั้งการพักต้น-พักดอก-เติมทุน  มาตรการสร้างงานสร้างเศรษฐกิจชาติ (Thailand e-Job Platform)  เฟรนไซส์ไทย สร้างอาชีพ สร้างเศรษฐกิจไทย  กองทุนฟื้นฟู NPLs  เพื่อการพัฒนา mSMEs ไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้เสนอ 8 แนวทาง 3 ด้านสำคัญ คือ ด้านการเงิน อาทิ มาตรการสินเชื่อ Supply Chain Factoring  โครงการจำนำสต็อกสินค้า  ขยายผลมาตรการจาก พรก. Soft Loan เป็นต้น ด้านการตลาด สนับสนุนสินค้า SME ที่ขึ้นทะเบียน Thai SME-GP ของสสว.  และด้านการลดค่าใช้จ่าย  อาทิ มาตรการ คนละครึ่ง-ภาคSME  โครงการ Co-payment ค่าแรงงาน เป็นต้นด้วย

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img