วันศุกร์, พฤษภาคม 16, 2025
หน้าแรกHighlight‘นโยบายทรัมป์-การเมืองในประเทศ’ฉุด ดัชนีเชื่อมั่น เม.ย. ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘นโยบายทรัมป์-การเมืองในประเทศ’ฉุด ดัชนีเชื่อมั่น เม.ย. ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน

“ธนวรรธน์”เผยความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนเม.ย. ดัชนีปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 55.4 จากเดิมอยู่ที่ระดับ 56.7  อยู่ในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 7 เดือนผู้ กังวลสงครามการค้าจากนโยบาย ทรัมป์ 2.0 – การเมืองในประเทศไม่มีเสถียรภาพ

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยผลสำรวจตัวอย่างประชาชนทั่วประเทศจำนวน 2,245 คน เกี่ยวกับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเดือนเม.ย.พบว่า ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 55.4 จากเดิมอยู่ที่ระดับ 56.7  เป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3  และอยู่ในระดับที่ต่ำสุดในรอบ 7 เดือนนับตั้งแต่เดือนต.ค. 2567 เป็นต้นมา

เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าจากนโยบาย ทรัมป์ 2.0 ส่งผลให้ตลาดหุ้นของไทยและทั่วโลกปรับตัวลดลง แม้ว่ารัฐบาลจะออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงไตรสมาสแรกของปีนี้แต่ผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวได้ช้า  ราคาพืชผลทางการเกษตรทั้งข้าว มันสำปะหลัง ยางารา อ้อย ราคาปรับตัวลงทำให้เม็ดเงินที่จะสะพัดในตลาดสินค้าเกษตรลดลงไปจากเดิม

นอกจากนี้ยังมีปัจจัยมาจากความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยเฉพาะกรณีของ 2 พรรคการเมืองใหญ่ที่เป็นแกนหลักในฝั่งรัฐบาลทั้งสีน้ำเงินและสีแดง  กระแสข่าวการปรับคณะรัฐมนตรี รวมทั้งปัญหาการเข้ารักษาตัวที่ชั้น 14 รพ.ตำรวจ ของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นการเมืองไทย ออกมาต่ำสุดในรอบ 7 เดือน แม้จะยังไม่มีสถานการณ์ที่บ่งชี้ชัดเจนว่าจะมีผลกระทบรุนแรง

สอดคล้องกับการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนที่มีความระมัดระวัง โดยเฉพาะการซื้อสินค้าคงทน ทั้งบ้าน รถ ท่องเที่ยว รวมทั้งดัชนีความสุขในการดำเนินชีวิตก็ปรับตัวต่ำสุดในรอบ 26  เดือน ทั้งหมดนี้จึงเป็นตัวชี้ว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่โดดเด่น

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยโดยรวม อยู่ที่ 49.3 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำ อยู่ที่ 53.0 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 63.9  ปรับตัวลดลงทุกรายการต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3

” ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงอยู่ในขาลง ซึ่งยังไม่เห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรวมถึงการแจกเงินดิจิทัลเฟส 3 ยังไม่เห็นชัดเจน โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลวงเงิน 2-5 แสนล้าน ก็น่าจะเห็นในครั้งปีหลังหากรัฐบาลยังอยู่ ถ้ามีการสะดุด ซึ่งก็ต้องดูว่ามีการยุบสภาหรือไม่ หากมีการยุบสภาจริง ก็จะทำให้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2569 ล่าช้าออกไปอย่างน้อย 3-6 เดือน และการเจรจาการค้าระหว่างไทยและสหรัฐก็จะมีผล เพราะไม่รู้ว่าจะเป็นรัฐบาลตัวจริงหรือรัฐบาลรักษาการ อย่างไรก็ตามยังเชื่อว่าการเมืองคงน่าจะมีทางออกเพื่อทำให้เศรษฐกิจไทยไม่ได้รับผลกระทบไปมากกว่านี้”

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยที่สำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจ และหอการค้าทั่วประเทศ จำนวน 369 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 23-30  เม.ย. 68 พบว่า ดัชนีอยู่ที่ระดับ 48.3.4 ลดลงจากระดับ 51.4 ในเดือนมี.ค. ลดลงต่อเนื่องในเดือนที่ 2 โดยภาคธุรกิจกังวลสงครามการค้าและการเจรจากับสหรัฐ เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า ผู้บริโภคระมัดระวังการใช้จ่าย ซึ่งดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีความกังวลต่อภาษีของทรัมป์เป็นหลัก

 สำหรับนโยบายขึ้นภาษีทรัมป์นั้น ทางนายทรัมป์รู้ดีว่า หากขึ้นภาษีไปก็จะทำให้เศรษฐกิจโลกซึมตัวลง  สถานการณ์เศรษฐกิจของสหรัฐอาจเข้าสู่ภาวะถดถอย จากเงินเฟ้อในสหรัฐปรับสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในขาขึ้นดังนั้นจะเห็นว่า สหรัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการภาษี เริ่มจากอังกฤษ จีน โดยเฉพาะกับจีนที่บรรลุข้อตกลงด้านภาษีชั่วคราวทำให้มองว่าสหรัฐกับจีนเริ่มเป็นพันธมิตรกันมากขึ้น  

ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สหรัฐฯ ออกมาพูดถึงการขึ้นภาษีในกลุ่มประเทศเอเชีย ทั้งอินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น ไทย มีแนวโน้มในการเจรจาที่ดี โดยเฉพาะไทยน่าจะเจรจาได้ 10 %   ซึ่งหากไทยโดนภาษี 10 %  หอการค้าไทยประเมินว่าจะทำให้การส่งออกของไทยหายไป 1.5 แสนล้านบาทเศรษฐกิจไทยโตเพียง 0.9-1 %โดยคาดการณ์จีดีพีไทยปี 68 จะขยายตัวในกรอบ 1.8-2.% ค่ากลางอยู่ที่ 2 %  

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img