วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 22, 2025
หน้าแรกHighlightเงินบาทเปิดตลาดเช้า“แข็งค่าเล็กน้อย” จับตาดัชนีภาคผลิตฯปท.เศรษฐกิจหลัก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เงินบาทเปิดตลาดเช้า“แข็งค่าเล็กน้อย” จับตาดัชนีภาคผลิตฯปท.เศรษฐกิจหลัก

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 32.69 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ”จับตารายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการเดือนพ.ค.ของยูโรโซน-อังกฤษ-สหรัฐฯ

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่าค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 32.69 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ”จากระดับปิดวันที่ผ่านมา ณ ระดับ 32.73 บาทต่อดอลลาร์ โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) เคลื่อนไหวในกรอบ Sideways (แกว่งตัวในกรอบ 32.65-32.84 บาทต่อดอลลาร์) ตามทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินดอลลาร์ ที่ยังคงเผชิญแรงกดดันจากความกังวลเสถียรภาพการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ ดังจะเห็นได้จาก แรงขายสินทรัพย์สหรัฐฯ ทั้งหุ้นและพันธบัตรรัฐบาล คล้ายกับช่วงตลาดกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ หลังเผชิญการประกาศภาษีนำเข้าตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) ในช่วงก่อนหน้า โดยการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับบรรดาบอนด์ยีลด์ 10 ปี ของประเทศเศรษฐกิจหลัก กลับไม่ได้ช่วยหนุนเงินดอลลาร์ เหมือนในอดีตที่ผ่านมา

นอกจากนี้ เงินบาทยังได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากการทยอยปรับตัวขึ้นบ้างของราคาทองคำ โดยผู้เล่นในตลาดต่างยังคงต้องการถือทองคำอยู่ในช่วงนี้ ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นเสถียรภาพการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ และความไม่แน่นอนของปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ขณะเดียวกัน การปรับสถานะถือครองของผู้เล่นในตลาด อาทิ การปรับลดสถานะ Long USDTHB (มองเงินบาทอ่อนค่า) หลังเงินบาทแข็งค่าหลุดโซนแนวรับ 32.75-32.85 บาทต่อดอลลาร์ ก็มีส่วนหนุนการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทเช่นกัน

บรรยากาศในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ กลับมาอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงชัดเจน ท่ามกลางความกังวลต่อแนวโน้มเสถียรภาพการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยภาพดังกล่าวได้หนุนให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 4.60% กดดันให้บรรดาหุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth ที่อ่อนไหวต่อการปรับตัวขึ้นของบอนด์ยีลด์ ต่างปรับตัวลงแรง อาทิ Tesla -2.7%, Apple -2.3% ทำให้โดยรวมดัชนี S&P500 ปิดตลาด ดิ่งลง -1.61%

ทางฝั่งตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ย่อตัวลง -0.04% กดดันโดยแรงขายหุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนม อาทิ LVMH -2.2%, Hermes -2.1% หลังทาง Chanel ได้รายงานยอดขายลดลง ทำให้ผู้เล่นในตลาดมีความกังวลต่อแนวโน้มผลประกอบการของหุ้นกลุ่มสินค้าแบรนด์เนมบ้าง อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยุโรปยังพอได้แรงหนุนบ้าง จากการปรับตัวขึ้นของบรรดาหุ้นเทคฯ ฝั่งยุโรป รวมถึงหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมทหาร

ในส่วนตลาดบอนด์ ความกังวลต่อแนวโน้มเสถียรภาพการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ ยังคงเป็นปัจจัยที่กดดันให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นสู่โซน 4.60% นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดส่วนใหญ่ต่างก็รอจับตาท่าทีของสภาคองเกรสสหรัฐฯ ว่าจะสามารถผลักดันร่าง “Fiscal Bill” ได้สำเร็จหรือไม่ และมีรายละเอียดอย่างไร ทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจแกว่งตัว Sideways ไปก่อนได้

โดย เราคงคำแนะนำเดิมว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ในระดับปัจจุบันถือว่ามีความน่าสนใจอยู่ แม้ว่าในระยะสั้นอาจเผชิญแรงกดดันจากประเด็นงบประมาณและเสถียรภาพการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยเราคงแนะนำว่า ควรรอจังหวะทยอยเข้าซื้อสะสมบอนด์ระยะยาวสหรัฐฯ ได้ (เน้น Buy on Dip) โดยเฉพาะในช่วงโซนสูงกว่า 4.50%

ทางด้านตลาดค่าเงินนั้น เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวในกรอบ Sideways แม้จะมีจังหวะรีบาวด์ขึ้นบ้าง แต่เงินดอลลาร์ยังคงเผชิญแรงกดดันจากความกังวลต่อเสถียรภาพการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งภาพดังกล่าวก็สะท้อนจากการเคลื่อนไหวสวนทางกันชัดเจนของส่วนต่างบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ กับบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก กับเงินดอลลาร์ (ดัชนีเงินดอลลาร์ DXY) หรือแม้กระทั่ง เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ที่ทยอยแข็งค่าขึ้น แม้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ จะปรับตัวสูงขึ้นพอสมควรก็ตาม โดยรวมดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY) ยังคงแกว่งตัวแถวโซน 99.6 จุด (แกว่งตัวในกรอบ 99.3-99.7 จุด)

ส่วนของราคาทองคำ แม้ว่า ราคาทองคำ (สัญญาทองคำตลาด COMEX ส่งมอบเดือน มิ.ย. 2025) จะพอได้แรงหนุนจากทั้งภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินสหรัฐฯ ท่ามกลางความกังวลต่อเสถียรภาพการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ ทว่า การปรับตัวขึ้นของราคาทองคำก็เผชิญแรงขายทำกำไรของผู้เล่นในตลาดบางส่วน ทำให้ราคาทองคำทยอยปรับตัวขึ้น แต่ยังคงติดโซนแนวต้านแถวระดับ 3,350 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับในช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากนี้ ไฮไลต์สำคัญจะอยู่ที่รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและภาคการบริการ (Manufacturing and Services PMIs) ในเดือนพฤษภาคม ของบรรดาประเทศเศรษฐกิจหลัก ซึ่งอาจสะท้อนผลกระทบจากนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ โดยรายงานดังกล่าวจะเริ่มจากฝั่งยูโรโซน ในช่วงราว 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย ต่อด้วยรายงานดัชนี PMI จากฝั่งอังกฤษในช่วง 15.30 น. และรายงานดัชนี PMI ของสหรัฐฯ ในช่วง 20.45 น.

นอกจากนี้ ในฝั่งสหรัฐฯ ผู้เล่นในตลาดจะรอติดตามรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญอื่นๆ อาทิ ยอดผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงาน (Jobless Claims) รวมถึง ข้อมูลตลาดบ้าน เป็นต้น

ส่วนในฝั่งเอเชีย ในช่วงราว 6.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ของเช้าวันศุกร์ 23 พฤษภาคม นี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของญี่ปุ่น ในเดือนเมษายน เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) โดยล่าสุด ผู้เล่นในตลาดต่างประเมินว่า BOJ มีโอกาสราว 65% ที่จะเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยอีก 25bps ในปีนี้

นอกเหนือจากปัจจัยข้างต้น ผู้เล่นในตลาดจะติดตามถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด ความคืบหน้าของการร่าง “Fiscal Bill” ของบรรดาสมาชิกสภาผู้แทนฯ พรรครีพับลิกัน การเจรจาสันติภาพระหว่างรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงความคืบหน้าของการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับบรรดาประเทศคู่ค้า

สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาทยังมีความเสี่ยงที่อาจแข็งค่าขึ้นทดสอบโซนแนวรับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นโซนการแข็งค่าสุดของปี 2025 นี้ ได้ไม่ยาก โดยเฉพาะในจังหวะที่ผู้เล่นในตลาดต่างมีความกังวลต่อเสถียรภาพการคลังของสหรัฐฯ กดดันให้ผู้เล่นในตลาดต่างเลือกที่จะขายสินทรัพย์สหรัฐฯ ออกมา ส่งผลให้เงินดอลลาร์ยังคงเผชิญแรงกดดันฝั่งอ่อนค่าต่อเนื่อง

ขณะเดียวกัน ความกังวลดังกล่าวก็ยิ่งหนุนความต้องการถือครองทองคำ รวมถึงเงินเยนญี่ปุ่น (JPY) เป็นสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงนี้ จนกว่า ประเด็นความกังวลเสถียรภาพการคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ จะทยอยคลี่คลายลง ซึ่งเรามองว่า ภาพดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ เมื่อตลาดรับรู้ความชัดเจนของ “Fiscal Bill” ที่บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนฯ ของพรรครีพับลิกัน กำลังร่างและพยายามผลักดันให้ผ่านความเห็นชอบจากสภาฯ อยู่ โดยคาดว่าจะเห็นความชัดเจนของประเด็นดังกล่าว ก่อนวันหยุด Memorial Day 26 พฤษภาคม นี้

อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ อาจยังพอได้แรงหนุนบ้าง หากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญของสหรัฐฯ ที่จะรายงานในช่วงนี้ ออกมาดีกว่าคาดและไม่ได้สะท้อนแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชัดเจน ทำให้อย่างน้อยเงินดอลลาร์จะยังได้แรงหนุนจากแนวโน้มเฟดไม่เร่งรีบลดดอกเบี้ย และความกังวลต่อความเสี่ยงการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยหรือความเสี่ยงการเกิด Stagflation (เศรษฐกิจชะลอลงหนัก แต่อัตราเงินเฟ้อสูง) ที่ทยอยลดลงบ้าง นอกจากนี้ เราคงมุมมองเดิมว่า เงินบาทยังเสี่ยงเผชิญ Two-Way Volatility ขึ้นกับการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ โดยหากราคาทองคำพลิกกลับมาปรับตัวลดลง ก็อาจกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลง ทำให้แนวโน้มราคาทองคำควรเป็นปัจจัยที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในจังหวะที่ราคาทองคำได้ปรับตัวขึ้นทดสอบโซนแนวต้าน

ทั้งนี้ หากเงินบาทไม่ได้แข็งค่าหลุดโซนแนวรับ 32.50 บาทต่อดอลลาร์ อย่างชัดเจน เราประเมินว่า อาจเริ่มผู้เล่นในตลาดบางส่วนทยอยเพิ่มสถานะ Long USDTHB (มองเงินบาทอ่อนค่าลง) ได้ ทว่า เราจะมั่นใจมากขึ้น ว่าเงินบาทจะสามารถกลับมาทยอยอ่อนค่าลงได้ชัดเจน หากเงินบาทสามารถอ่อนค่าทะลุโซน 33.20-33.30 บาทต่อดอลลาร์ ได้อีกครั้ง ตามการประเมินด้วยกลยุทธ์ Trend-Following

ท่ามกลางความผันผวนในตลาดการเงินที่ยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะในช่วงปีหน้าที่จะเผชิญกับ Trump’s Uncertainty ทำให้เรายังคงแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรใช้กลยุทธ์ในการปิดความเสี่ยงที่หลากหลายมากขึ้น ทั้งการใช้เครื่องมือเช่น Options หรือ สกุลเงินท้องถิ่น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนได้ มองกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วโมง คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.55-32.85 บาทต่อดอลลาร์

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img