วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSทศวรรษที่ผ่านมาบอกอะไรบ้างเกี่ยวกับ “อนาคตถ่านหิน”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ทศวรรษที่ผ่านมาบอกอะไรบ้างเกี่ยวกับ “อนาคตถ่านหิน”

The Future of Coal

“….10 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนการใช้แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงถ่านหินลดลงจริง ๆ น้อยมาก สวนทางต่อความคาดหวังโดยสิ้นเชิง เนื่องเพราะ มันเป็นแหล่งพลังงานที่มีสำรองอยู่อย่างมากมาย และราคาของมันถูกอย่างยิ่ง ..”

รายงานตลาดประจำปีของ IEA เกี่ยวกับถ่านหิน ในห้วงหลายปีที่ผ่านมา ดูเหมือนจะเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะตรวจสอบพัฒนาการต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อตลาดถ่านหินทั่วโลกจากช่วงทศวรรษก่อนหน้านี้ และพิจารณาถึงสิ่งที่พวกมันอาจทำได้ รวมทั้งบอกเล่าความเป็นจริงเกี่ยวกับบทบาท และอนาคตของเชื้อเพลิงถ่านหินในบริบทระบบพลังงานโลกด้วยภาพที่กว้างขึ้น ..

ทศวรรษที่ 2000 ระหว่างปี 2552 ถึง 2562 ปริมาณการใช้ถ่านหินทั่วโลกเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 1% ต่อปี แตะระดับ 7.6 พันล้านตัน แต่สัดส่วนการใช้แหล่งพลังงานถ่านหินเทียบกับแหล่งพลังงานหลักอื่น ๆ ของโลก ลดลงจาก 28% มาเป็น 26% ในช่วงเวลาเดียวกัน และ สัดส่วนสำหรับกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหินทั่วโลก ลดลงจาก 40% เป็น 36.5% ..

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อเท็จจริง 10 ปีที่ผ่านมา สัดส่วนการใช้แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงถ่านหินนั้น มันลดลงจริง ๆ น้อยมาก สวนทางต่อความคาดหวังโดยสิ้นเชิง เนื่องเพราะ มันเป็นแหล่งพลังงานที่มีสำรองอยู่อย่างมากมาย และราคาของมันถูกอย่างยิ่ง ..

Coal : Coal Takes Millions of Years to Form | Credit : IEA

จากมุมมองของวันนี้ เมื่อความพยายามทั่วโลกเพิ่มขึ้นเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาด และลดการปล่อยมลพิษจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้คาร์บอนสูง เช่น ถ่านหิน .. ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนเป็นช่วงเวลาที่ความต้องการใช้ถ่านหินทั่วโลกยังคงสูงอยู่อย่างดื้อรั้น .. อย่างไรก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมถ่านหินนั้น เป็นเวลากว่าทศวรรษแล้วที่ความคาดหวังอย่างสูงต่อความพยายามลดการใช้ถ่านหินในช่วงแรก ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง จากตัวอย่างเช่น CEO ของผู้ผลิตถ่านหินรายใหญ่ของสหรัฐฯ อ้างคำพูดจาก Wall Street Journal ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 โดยกล่าวว่า “ที่จริงแล้วฉันกลับคิดว่า ทศวรรษหน้าสำหรับถ่านหินแล้ว มันน่าจะเป็นห้วงเวลาที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา” ..

แรงผลักดันมากมายที่อยู่เบื้องหลังการเติบโตของอุปสงค์ถ่านหินในขณะนั้น .. ทศวรรษที่ 2000 ที่ผ่านมา มีความต้องการถ่านหินเพิ่มขึ้นมากที่สุดในประวัติศาสตร์ และมากกว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมารวมกัน .. จีนคิดเป็น 85 % ของการเติบโตในการบริโภคถ่านหินทั่วโลก ซึ่งจำเป็นต้องใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และสร้างโครงสร้างพื้นฐาน .. ในเวลานั้น ความคาดหวังว่าอุปสงค์ถ่านหินของจีนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดูสมเหตุสมผล .. อินเดีย เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีประชากรมากกว่า 1 พันล้านคน และพึ่งพาถ่านหินอย่างมาก ส่งผลให้การบริโภคถ่านหินไม่ได้ลดลงได้เลย แม้ขณะที่อุปสงค์ของจีนชะลอตัวลง ..

อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงในจีน การปรากฏตัวของ Shale Gas & Shale Oil หรือการปฏิวัติหินดินดาน The Shale Revolution การเพิ่มขึ้นของพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งการดำเนินแผนงานภาครัฐของนานาชาติ เพื่อปกป้องการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่เพิ่มขึ้น .. ทำให้ความต้องการถ่านหินในปี 2562 นั้น ต่ำกว่าในปี 2556 .. แนวโน้มการเติบโตของถ่านหินถูกลดทอนลง การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของแหล่งพลังงานลม เซลล์แสงอาทิตย์ และระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ ด้วยต้นทุนที่ลดลง รวมถึง การปรับใช้นโยบายภาครัฐของทั่วโลกอย่างกว้างขวาง เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ กลายเป็นประเด็นสำคัญจากนี้ไป ..มันอาจต่างจาก 10 ปีที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง ..

ปัจจุบันจีนรับผิดชอบการผลิต และการใช้ถ่านหินครึ่งหนึ่งของโลก แต่ก็ไม่ได้เป็นแหล่งสำคัญของการเติบโตของอุปสงค์อีกต่อไป อันที่จริง ปริมาณการใช้ถ่านหินของจีนหยุดเติบโตหลังจากปี 2556 เนื่องจากความพยายามในการกระจายสัดส่วนการใช้แหล่งพลังงาน ลดการพึ่งพาถ่านหิน และเปลี่ยนไปสู่เศรษฐกิจที่ใช้พลังงานน้อยลง .. แม้ว่าการเติบโตของการบริโภคถ่านหินของอินเดียในปี 2553 นั้นแข็งแกร่ง แต่ก็ยังคงเป็นลำดับความสำคัญที่ต่ำกว่าของจีนในช่วงทศวรรษที่ 2000 ..

การปฏิวัติหินดินดาน The Shale Revolution ในสหรัฐฯ ได้ทำให้ Shale Gas & Shale Oil ราคาถูก สามารถปลดปล่อยคู่แข่งที่น่าเกรงขามของถ่านหิน นั่นคือ ก๊าซธรรมชาติ .. ราคา Shale Gas ที่ต่ำกว่า ได้กดดันความต้องการถ่านหินของสหรัฐฯ ให้ลดลงได้มากกว่าปัจจัยอื่น ๆ .. ในปี 2552 ส่วนแบ่งของถ่านหินในส่วนผสมพลังงานของสหรัฐฯ อยู่ที่ 45% โดยมีก๊าซอยู่ที่ 23% .. ภายในปี 2562 ส่วนแบ่งของถ่านหินลดลงเหลือ 24% ในขณะที่ก๊าซคิดเป็น 38% ของการผลิตกำลังไฟฟ้า ..

การส่งออกก๊าซธรรมชาติ LNG ได้รับผลกระทบจาก Shale Gas & Shale Oil ออกไปนอกสหรัฐฯ ทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติระหว่างประเทศตกต่ำ .. ราคาก๊าซในตลาดที่ลดลง และราคาคาร์บอนในยุโรป ส่งผลให้การใช้ถ่านหินในยุโรปลดลงเช่นเดียวกัน .. ในปี 2552 ส่วนแบ่งของถ่านหินในส่วนผสมพลังงานของสหภาพยุโรปอยู่ที่ 31% เทียบกับ 16% สำหรับก๊าซธรรมชาติ ในปี 2562 ถ่านหินลดลงเหลือ 15% และก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นถึง 22% ..

ที่น่าสนใจคือ หลังจากที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั่วประเทศญี่ปุ่น ปิดตัวลงหลังจากเกิดแผ่นดินไหว และสึนามิครั้งใหญ่ที่ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศในปี 2554 ความต้องการก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคา LNG ทั่วโลกสูงขึ้น สาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าของยุโรปตอบสนองโดยใช้ก๊าซน้อยลง และปริมาณการใช้ถ่านหิน กลับเพิ่มมากขึ้นต่อเนื่องในช่วงประมาณ 2 ปี จนเมื่อราคาก๊าซธรรมชาติกลับสู่ภาวะปกติ .. จึงได้ข้อค้นพบว่า ปัจจัยด้านราคาพลังงาน มีอิทธิพลสูงมาก และสูงกว่าสำนึกของผู้คนต่อความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาด ลดการใช้แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล หยุดการปล่อยมลพิษ และก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศ Net Zero Emissions และรักษ์โลกมากขึ้น ..

ถ่านหิน แหล่งพลังงานหลักผลิตกำลังไฟฟ้า มันราคาถูกอย่างยิ่ง แต่อาจทำร้ายโลกมากที่สุด ..

แม้ว่ากำลังผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินจะลดลง 3% ในปี 2562 แต่ถ่านหินยังคงเป็นเชื้อเพลิงสำคัญในการผลิตกระแสไฟฟ้า .. หมายถึง มันยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับการผลิตไฟฟ้าทั่วโลก ด้วยส่วนแบ่ง 36% เนื่องจากมีการใช้งานอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะในเอเชีย ..

การผลิตกำลังไฟฟ้าเทคโนโลยีเชื้อเพลิงถ่านหินสะอาดที่ติดตั้ง Carbon Capture, Utilisation & Storage : CCUS ยังคงมีสัดส่วนเพียงเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินโดยรวม เนื่องจากขณะนี้ ทั่วโลกมีตัวอย่างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดระบบปิดเพียงสองแห่งเท่านั้นที่ดำเนินการติดตั้งระบบ CCUS ไว้ จึงไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Scenario : SDS ..

การผลิตกำลังไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินสะอาดโดยไม่มี CCUS นั้น ถือว่าไม่เป็นไปตาม SDS ซึ่งกำลังผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินในภาพรวม จะปรับให้ลดลง 5.3% ต่อปีตามแผน จนถึงปี 2573 .. แต่มันไม่ได้เป็นเช่นนั้น ..

การผลิตถ่านหินในเอเชีย โดยเฉพาะในจีน และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในปี 2562 อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นในเอเชียนั้น ชดเชยด้วยการผลิตถ่านหินที่ลดลงในระบบเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ซึ่งรวมถึงในสหรัฐฯ และยุโรป ..

การผลิตกำลังไฟฟ้าจากถ่านหินในสหรัฐฯ ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องในปี 2562 อยู่ที่ประมาณ 200 TWh เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าโดยรวมลดลง รวมทั้งการผลิตกำลังไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ และ Shale Gas ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เข้ามาแทนที่ถ่านหิน ..แต่สหรัฐฯก็ยังคงผลิตถ่านหินเพิ่มขึ้นเพื่อส่งออก และอุตสาหกรรมถลุงเหล็ก และแร่โลหะอื่น ๆ อีกมาก ..

การผลิตกำลังไฟฟ้าจากถ่านหินในยุโรปลดลงในปี 2562 อยู่ที่ 175 TWh สาเหตุหลักมาจากการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียนที่แข็งแกร่ง และการเปลี่ยนการใช้ถ่านหินไปเป็นการใช้  Shale Gas ผลิตไฟฟ้าแทน รวมทั้งในหลายประเทศยุโรปได้ประกาศเลิกใช้ถ่านหิน .. เยอรมนี ซึ่งเป็นผู้บริโภคถ่านหินรายใหญ่ที่สุดในยุโรป ประกาศแผนปลอดถ่านหิน และจะเลิกใช้ถ่านหิน ภายในปี 2581 ..

ถ่านหิน Coal เป็นเชื้อเพลิงธรรมชาติ เกิดจากการสะสมตัวตามธรรมชาติของซากพืชในแอ่งตะกอนน้ำตื้น นับเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก เช่น เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือมีการทับถมของตะกอนมากขึ้น .. ถ่านหินเป็นหินตะกอนชนิดหนึ่งซึ่งสามารถติดไฟได้ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ สารประกอบของคาร์บอน ซึ่งจะมีอยู่ประมาณไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยปริมาณ ..

ถ่านหิน ถูกนำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานมากกว่า 3,000 ปี ประเทศจีนเป็นประเทศแรก ๆ ที่นำถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการถลุงทองแดง ปัจจุบันการใช้ประโยชน์จากถ่านหินส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า การถลุงโลหะ การผลิตปูนซีเมนต์ และอุตสาหกรรมที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำ การผลิตกระแสไฟฟ้าทั่วโลกใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงถ่านหินด้วยสัดส่วนประมาณร้อยละ 36 ..

จีนเป็นผู้ผลิตถ่านหินมากที่สุดถึง ร้อยละ 38 ตามด้วย สหรัฐฯ และอินเดีย .. ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา สหรัฐฯ ได้ลดกำลังการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินลงมากกว่าร้อยละ 7 และมีการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินหลายแห่ง และเปลี่ยนไปใช้แก๊สธรรมชาติ Shale Gas ในการผลิตกำลังไฟฟ้าแทน โดยความต้องการถ่านหินในประ เทศที่ลดลง แต่ยังคงผลิตถ่านหินในปริมาณเพิ่มขึ้น เพื่อส่งออกไปยังจีน และประเทศต่าง ๆ ในทวีปเอเชีย .. มันมีราคาถูกมาก แต่มันสร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เพราะถ่านหินมีกำมะถันอยู่เป็นจำนวนมาก นี่ยังไม่ได้กล่าวถึงเม็ดฝุ่นอันตรายในกระบวนการทำเหมือง นอกจากนั้น ในกระบวนการผลิตกำลังไฟฟ้า จะมีของเสียที่เป็น ขี้เถ้าหนัก ขี้เถ้าเบา ไอปรอท และการปล่อยก๊าซพิษ เช่น NO, NO2, SO2 กับ ก๊าซเรือนกระจก เช่น CO2 สู่บรรยากาศของโลกจำนวนมหาศาลในแต่ละปี อีกต่างหาก ..

จากการสำรวจปริมาณถ่านหินสำรองของโลก พบว่า โลกของเรามีปริมาณถ่านหินสำรองประมาณ 948 พันล้านตัน ตัวอย่างในปี 2550 มีการใช้ถ่านหิน 7.075 พันล้านตัน เทียบได้กับ ปริมาณน้ำมันดิบ 57 ล้านบาร์เรล ต่อวัน หรือเทียบกับ ก๊าซธรรมชาติ 51 ล้านบาร์เรล ต่อวัน .. รายงานของ British Petroleum พบว่ามีปริมาณถ่านหินสำรองบนโลกใบนี้ที่สามารถใช้ได้ไปอีกนานประมาณ 150 ปี .. ตัวเลขนี้ เป็นเพียงการขุดเจาะสำรวจของบริษัทด้านพลังงาน ซึ่งอาจมีพื้นที่มีถ่านหินแต่ไม่ได้รับการสำรวจอยู่อีกมาก ในปัจจุบันบริษัทด้านพลังงาน ได้เร่งสำรวจปริมาณถ่านหินสำรองทั่วโลก แต่บางประเทศขาดการปรับปรุงฐานข้อมูลทรัพยากรของตนเอง ทำให้ข้อมูลมีความคลาดเลือนอยู่มาก ..

ถ่านหินสะอาด Clean Coal กับโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินระบบปิด มันช่วยลดมลพิษได้อย่างไร ..

ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงที่มีบทบาทต่อพลังงานโลกมาตั้งแต่ยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ทั่วโลกนิยมใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงเนื่องจากใช้งานได้ง่าย มีปริมาณสำรองสูง สามารถนำมาใช้ได้ไม่ต่ำกว่า 150 ปี มีแหล่งถ่านหินกระจายอยู่ทั่วโลก ราคาถ่านหินผันผวนน้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลประเภทอื่น ๆ เช่น น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติและด้วยคุณลักษณะของถ่านหินที่เป็นของแข็งจึงง่ายต่อการขนส่ง และนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยเฉพาะการนำมาผลิตกำลังไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง .. ถ่านหิน จึงกลายเป็นเชื้อเพลิงที่นิยมใช้ในการผลิตไฟฟ้ามากถึง ร้อยละ 36 ของโลก ..

การนำเชื้อเพลิงฟอสซิลทุกชนิดรวมถึง ถ่านหินมาใช้ในกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า นั้น ก่อให้เกิดมลสารจากการเผาไหม้ เช่น ฝุ่นละออง ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ SO2 ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน NOX และก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก อันเป็นสาเหตุให้เกิดข้อกังวลถึงปัญหาสภาวะโลกร้อน นอกจากนั้น อาจเกิดสารปนเปื้อน จากโลหะหนัก เช่น ไอปรอท อย่างไรก็ตาม ผลกระทบดังกล่าวสามารถควบคุม หรือกำจัดได้ด้วยเทคโนโลยี และมาตรการต่าง ๆ ที่ ได้รับการพัฒนาขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพจนเป็นที่ยอมรับตามมาตรฐานสากล ..

ทั้งนี้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบรุนแรงจริง ๆ แล้วนั้น ส่วนหนึ่งอยู่ที่กระบวนการทำเหมืองถ่านหิน ตัวอย่างเช่นในประเทศไทย ซึ่งมิได้มีปัญหากับโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดระบบปิดแต่อย่างไร แต่กลับเคยพบกับปัญหาอย่างมากมายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เป็นวงกว้างจากการทำเหมืองลิกไนต์ที่แม่เมาะ เป็นต้น ..

เนื่องจากคาร์บอนต่ำมีความสำคัญในการผลิตพลังงาน มันเป็นหนึ่งในประเด็นยุทธศาสตร์ของทุกชาติ จึงจำเป็นต้องพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินที่มีประสิทธิภาพ และปล่อยมลพิษต่ำ .. แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในด้านพลังงานหมุนเวียน และระบบการจัดเก็บพลังงาน แต่เชื้อเพลิงฟอสซิล จะยังคงมีความสำคัญต่อการผสมผสานพลังงานทั่วโลกต่อไป ..

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ IEA คาดการณ์ว่า แนวโน้มกำลังไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหิน ในปี 2583 จะมากกว่ากำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานเทคโนโลยีหมุนเวียนใหม่ทั้งหมดรวมกัน โดยไม่รวมไฟฟ้าพลังน้ำ  .. IEA World Energy Outlook ชี้ว่า โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินสะอาดแห่งใหม่ ประสิทธิภาพสูง และปล่อยมลพิษต่ำ High – Efficiency, Low – Emissions Coal Plants : HELE ขนาด 730 GW จะถูกสร้างขึ้นภายในปี 2040 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าในประเทศกำลังพัฒนา ..

SaskPower’s Recently Completed Clean Coal – Fire Power Plant with Carbon Capture & Storage : CCS | Photo Credit : WSJ / SaskPower

ปัจจุบันการนำถ่านหินมาใช้เป็นเชื้อเพลิง มีการปรับตัวอย่างมากเพื่อให้มันสะอาดมากขึ้น .. การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกำลังผลิตไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ได้ช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิง และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ อีกทั้งยังมีเทคโนโลยีในการกำจัดมลสารต่าง ๆ โดยเทคโนโลยีที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เรียกว่า Clean Coal Technology หรือ เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ซึ่งได้รับการยอมรับในระดับสากล ..

ปัญหาของฝุ่นละออง ไนโตรเจนออกไซด์ และกำมะถัน หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อีกทั้งการบริหารจัดการ ฝุ่นขี้เถ้าหนัก Bottom Ash, ฝุ่นขี้เถ้าเบา Fly Ash และยิบซั่มสังเคราะห์ สามารถดำเนินการได้ ด้วยเทคนิคสมัยใหม่ต่าง ๆ ได้แก่ การใช้น้ำฉีดให้ขี้เถ้าหนักตกมาเก็บไว้ก้นถังเผาไหม้ การใช้กระบวนดักจับฝุ่นด้วยตะแกรงไฟฟ้าสถิต Electrostatic Precipitator : ESP และกระบวนการฉีดพ่นแอมโมเนีย Selective Catalytic Reduction : SCR เพื่อเปลี่ยนไนโตรเจนออกไซด์ ให้เป็นก๊าซไนโตรเจน กับไอน้ำ รวมทั้งการฉีดน้ำทะเล หรือน้ำหินปูนในกระบวนการ Fuel Gas Desulfurization : FGD เพื่อเปลี่ยนซัลเฟอร์ไดออกไซด์ SO2 ให้กลายเป็นยิบซั่มสังเคราะห์ Synthetic Gypsum เพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ต่อไปได้ มันยอดเยี่ยมมาก ..

อย่างไรก็ตาม แม้ตุ้นทุนการดำเนินการจะเพิ่มขึ้นมาก มันสะอาดขึ้นมากก็จริง แต่เป็นที่รู้กันดีว่า เทคโนโลยีเหล่านี้ จะสามารถจัดการกับมลพิษที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ และสิ่งแวดล้อม ทั้งหมดได้นั้น ยังคงเป็นที่สงสัย .. ทั้งนี้ ความต้องการแหล่งพลังงานราคาถูกสำหรับระบบเศรษฐกิจ ยังคงมีอยู่ต่อเนื่องต่อไป อย่างน้อยก็อีกสักระยะหนึ่งแน่นอน จนกว่าต้นทุนการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนรูปแบบอื่น ๆ จะลดลงจนแข่งขันในตลาดพลังงานได้ ..

Clean Coal Technology | Photo Credit : Rocky Mountain Coal Mining : RMCMI

สำหรับการลดมลพิษของถ่านหิน หรือถ่านหินสะอาด Coal Pollution Mitigation or Clean Coal และโรงไฟฟ้าเทคโนโลยีเชื้อเพลิงถ่านหินสะอาดระบบปิดนั้น จุดสนใจหลักอยู่ที่ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ SO2 และไนโตรเจนออกไซด์ NOX ซึ่งเป็นก๊าซที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดฝนกรด .. มันเป็นอนุภาคที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศ การเจ็บป่วย และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร .. SO2 สามารถกำจัดได้ด้วยน้ำทะเล หรือน้ำหินปูน ด้วยกระบวน FGD และ NO2 จะถูกกำจัดโดยการลดตัวเร่งปฏิกิริยาในกระบวน SCR ..

อนุภาคเม็ดฝุ่นขนาดเล็กสามารถกำจัดได้ด้วยเครื่องตะแกรงกรองไฟฟ้าสถิต .. แม้ว่าเครื่องขัดแบบเปียกจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า แต่ความสามารถในการกำจัดได้ทั้งก๊าซ และอนุภาค กับการลดเถ้าลอย ช่วยลดการปล่อยสารกัมมันตภาพรังสีไปพร้อมด้วย รวมถึงการปล่อยสารปรอท สามารถลดลงได้มากถึง 95% .. อย่างไรก็ตาม การดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ถ่านหินโดยทั่วไป ยังไม่สามารถทำได้ในเชิงเศรษฐกิจ .. มันมีต้นทุนสูง และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 มีราคาขายต่ำ รวมทั้งการนำ CO2 และคาร์บอน ไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ เช่น Biomass or Bio – Jet Fuel หรือ Synthetic Fuels นั้น ใช้เงินลงทุนสูงเกินไป อาจยังไม่คุ้มค่าเชิงพาณิชย์ในสถานการณ์ปัจจุบัน ..

ทั้งนี้ สัดส่วนการผลิตกำลังไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินที่มีการติดตั้ง Carbon Capture, Utilisation & Storage : CCUS ด้วยนั้น ยังคงมีเพียงเล็กน้อย .. แม้ว่า โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด จะสามารถจัดการกับปัญหาของฝุ่นละออง ไนโตรเจนออกไซด์ และกำมะถัน หรือซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อีกทั้งการบริหารจัดการ ฝุ่นขี้เถ้าหนัก และฝุ่นขี้เถ้าเบา ได้เป็นอย่างดี  .. การแปลงกำมะถันไปเป็นยิบซั่มสังเคราะห์ ถือเป็นแนวทางที่ชาญฉลาด แต่มันก็ยังคงปล่อย CO2 สู่สิ่งแวดล้อมจำนวนมหาศาลอยู่ดี ..

ดังนั้น การลงทุนกับ Carbon Capture, Utilisation & Storage : CCUS ถือเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้เช่นกัน แม้ว่ามันจะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นก็ตาม หากเราจะยังคงคิดจะใช้พลังงานเชื้อเพลิงถ่านหินต่อไป หรือจนเมื่อต้นทุนพลังงานจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดกว่า จะลดลงอีกจนสามารถเข้ามาแทนที่มันได้ทั้งหมด ..

G7 ตกลงยุติสนับสนุนพลังงานถ่านหินภายในสิ้นปี 2564 กับอนาคตเชื้อเพลิงถ่านหิน ..

G7 : Group of Seven พบกันที่ Cornwall เมื่อวันที่ 11 – 13 มิถุนายน 2564 .. กลุ่มประเทศ G7 ได้ให้คำมั่นที่จะขยายเทคโนโลยี และนโยบายอย่างรวดเร็ว เพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาด และจากปัญหากำลังการผลิตถ่านหินที่ไม่ลดลง รวมถึงความตกลงที่จะยุติการสนับสนุนในโครงการใหม่ทั้งหมดของภาครัฐ สำหรับพลังงานเชื้อเพลิงถ่านหิน ภายในสิ้นปี 2564 นี้ ..

New Bruegel White – Paper & Forecast on EU Energy Mix Evolution by 2050 | Credit : Gerd / European Council

บรรดาประเทศต่าง ๆ ในแถลงการณ์หลังจากการประชุมสุดยอดในอังกฤษ ได้ยืนยันคำมั่นที่จะเพิ่มการสนับสนุนทางการเงินด้านสภาพอากาศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการลดการปล่อยมลพิษที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และช่วยให้ก้าวไปสู่การใช้แหล่งพลังงานที่สะอาดขึ้น ถึงแม้ว่ากลุ่มรักษ์ภูมิอากาศโลก จะกล่าวว่า การพิจารณาด้านงบประมาณภาครัฐที่มั่นคง และรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังมิได้แสดงให้ปรากฏไว้ชัดเจน ..

“การผลิตกำลังไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหิน เป็นสาเหตุที่ใหญ่ที่สุดเพียงประการเดียวของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก” ทั้ง 7 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ อังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และญี่ปุ่น กล่าวเสริมว่า “การลงทุนทั่วโลกอย่างต่อเนื่องในการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินนั้น ไม่สอดคล้องกับนโยบายหยุดยั้งอุณหภูมิโลกมิให้เพิ่มสูงขึ้นถึง 1.5°C” ..

พวกเราขอเน้นย้ำว่าการลงทุนระหว่างประเทศในถ่านหินที่ปริมาณไม่ลดลงเลย จะต้องหยุดลงในขณะนี้ และพวกเรามุ่งมั่นที่จะยุติการสนับสนุนโดยตรงจากภาครัฐสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงถ่านหินอย่างจริงจังภายในสิ้นปี 2564 นี้” พวกเขากล่าวยืนยัน

ประธานาธิบดี โจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ กล่าวหลังการประชุมสุดยอด ระบุถึงคำมั่นเกี่ยวกับงบประมาณมูลค่าสูงถึง 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ “เพื่อสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้พวกเขาเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานสะอาดรูปแบบอื่น ๆ ทดแทนการใช้พลังงานเชื้อเพลิงถ่านหิน ซึ่งที่ผ่านมามันไม่เคยลดทอนลงเลย”

บรรดาประชาชาติต่างให้คำมั่นว่า จะมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีอื่น ๆ รวมถึงการดักจับคาร์บอน Carbon Capture & Storage เพื่อช่วยเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากถ่านหินไปสู่พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนในอนาคตให้สำเร็จได้ต่อไป ..

“เราจะเน้นไปที่การเร่งความก้าวหน้าในการใช้พลังงานไฟฟ้ากับแบตเตอรี่ พลังงานไฮโดรเจน การใช้งานระบบดักจับคาร์บอน ระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ การบิน และการขนส่งปลอดมลพิษ รวมถึงการมุ่งสู่ Net Zero Emissions สำหรับสังคมนานาประเทศ หรือการเลือกใช้งานเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ที่ปลอดภัยกว่ามาตรฐานปัจจุบัน” ในแถลงการณ์ระบุเพิ่มเติมไว้ ..

การผลิตกำลังไฟฟ้าจากถ่านหิน และเหมืองลิกไนต์ Lignite Mining ในประเทศไทย ..

แหล่งถ่านหินในประเทศไทยมีมากที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง คิดเป็น 97% ของปริมาณสำรองที่มีอยู่ในประเทศไทย รองลงมาคือเหมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ ส่วนใหญ่เป็นลิกไนต์ Lignite และซับบิทูมินัส Sub – Bituminous ซึ่งมีคุณภาพต่ำ ให้ปริมาณความร้อนไม่สูงมากนัก ..

สำหรับอุตสาหกรรมถ่านหินนั้น ปัญหามลพิษหลักจริง ๆ มิได้อยู่ที่โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหิน เทคโนโลยี Clean Coal ทำให้มันปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อมน้อยลงมาก .. แต่ประเด็นปัญหามลพิษตัวจริงเสียงจริงอยู่ที่กระบวนผลิตถ่านหินที่เหมือง และระบบการขนส่ง โดยกระบวนการผลิตทั่วทั้งระบบของมัน ยังคงปล่อยฝุ่นละอองขนาดเล็กที่คมบาดปอด และก๊าซเรือนกระจก ออกสู่บรรยากาศปริมาณมหาศาลต่อไป จนกว่าการลงทุนในระบบดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ จะมีต้นทุนลดลง และเป็นที่นิยมมากกว่านี้ ..

ทั้งนี้ โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินสะอาดทดแทนโรงไฟฟ้าเดิม และโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินใหม่ของ กฟผ. ได้ออกแบบตามมาตรฐานโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดครบวงจร นับตั้งแต่การคัดเลือกถ่านหิน การขนส่ง และการลำเลียงถ่านหินเข้าสู่โรงไฟฟ้า การจัดเก็บถ่านหิน เทคโนโลยีการผลิตกำลังไฟฟ้า เทคโนโลยีการควบคุมมลสาร ตลอดจนระบบการตรวจวัด และการตรวจสอบ .. ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าถ่านหินทั้งของ กฟผ.และบริษัทเอกชนในประเทศไทยทั้งหมด เป็นโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินสะอาดระบบปิดที่ทันสมัย และได้มาตรฐาน ..

ตัวอย่างโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดกระบี่ และท่าเทียบเรือบ้านคลองรั้ว .. มันมีกำลังผลิตไฟฟ้าสุทธิไม่ต่ำกว่า 780 MW โดยกำลังผลิตติดตั้งสูงสุดประมาณ 870 MW ใช้เชื้อเพลิงถ่านหินคุณภาพดี มีค่ากำมะถันไม่เกิน 1 % ประเภทถ่านหินประเภทซับบิทูมินัส หรือบิทูมินัส จำนวน 7,260 ตันต่อวัน นำเข้าจากประเทศอินโดนีเซีย หรือออสเตรเลีย โดยจ่ายกำลังไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ Commercial Operation Date : COD เข้าสู่โครงข่ายระบบสายส่งแล้วตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ.2562 ..

โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดที่กระบี่นี้ ได้ติดตั้งอุปกรณ์กำจัดมลสาร ได้แก่ SCR, ESP, FGD และ ACI ทำให้มันสะอาดอย่างยิ่ง การระบายมลสารจากปล่องของโรงไฟฟ้าดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กฎหมายกำหนด และดีกว่ามาตรฐานสากล ไม่มีการปล่อยมลพิษร้ายแรงใด ๆ ออกไปสู่สิ่งแวดล้อม ยกเว้นก๊าซเรือนกระจกที่เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ เนื่องจากมิได้ติดตั้งระบบดักจับ CO2 ไว้ ..

บมจ.บ้านปู BANPU ผู้ให้บริการด้านพลังงานจากโรงไฟฟ้า และถ่านหินเป็นหลัก ได้ประกาศเป้าหมาย 5 ปีข้างหน้าในปี 2564-2568 จะมุ่งมั่นขยับเข้าสู่ธุรกิจพลังงานสะอาด Green Energy และพลังงานทดแทน Renewable Energy มากขึ้น โดยอาศัยการเติบโตจากธุรกิจปัจจุบัน Organic Growth .. แต่ก็ยังยืนยันความจำเป็นในการผลิตกำลังไฟฟ้าจากถ่านหินสะอาดอยู่ต่อไป และถือว่ามันเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานหมุนเวียนสำคัญต่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ ..

ทังนี้ โรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินในประเทศไทยทั้งหมด ใช้เทคโนโลยีถ่านหินสะอาดมากำจัดมลภาวะที่เกิดจากการเผาไหม้ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าที่สร้างใหม่ทั้งหมด นอกจากมีการกำจัดมลภาวะแล้ว ยังมีการนำเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้มาใช้ รวมถึงการเลือกใช้ถ่านหินคุณภาพดีที่มีค่าความร้อนสูงประมาณ 6,000 แคลอรี/กรัม ปริมาณเถ้าน้อยกว่าร้อยละ 10 และปริมาณกำมะถันน้อยกว่าร้อยละ 1 ทำให้สามารถควบคุมมลภาวะที่ปล่อยออกสู่บรรยากาศให้อยู่ในเกณฑ์ หรือต่ำกว่าที่มาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมกำหนดไว้ได้ .. โรงไฟฟ้าเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดระบบปิดในประเทศไทย ได้แก่ โรงไฟฟ้าถ่านหินเทคโนโลยีสะอาดกระบี่  โรงไฟฟ้าแม่เมาะ ที่จังหวัดลำปาง โรงไฟฟ้าโกลว์ เอสพีที 3 และโรงไฟฟ้า BLCP ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นต้น ..

สรุปส่งท้าย ..

10 ปีที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า สัดส่วนการใช้แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงถ่านหินนั้น มันลดลงจริง ๆ น้อยมาก สวนทางต่อความคาดหวังโดยสิ้นเชิง เนื่องเพราะ มันเป็นแหล่งพลังงานหลักที่มีปริมาณสำรองอยู่อย่างมากมาย และราคาของมันถูกอย่างยิ่ง ..

สำหรับอนาคตของถ่านหินนั้น แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบอุตสาหกรรม และความกังวลอย่างร้ายแรงในชุมชนอุตสาหกรรมถ่านหิน ขณะที่โลกร้อนขึ้นเรื่อย ๆ แต่ปัจจุบันถ่านหิน ยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับกำลังผลิตไฟฟ้าเกือบ 40 % ทั่วโลก ..

การเลิกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล รวมทั้งถ่านหินในทันที หรือในอีก 4-5 ปี อนาคตอันใกล้นั้น เป็นสิ่งซึ่งเป็นไปไม่ได้ .. วิธีการที่ดีสุดปัจจุบัน คือ ใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด เช่น NETs : Negative Emission Technologies เพื่อให้กระบวนการผลิตทั่วทั้งระบบ ปล่อยมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุดนั่นเอง ..

นวัตกรรมกุญแจสำคัญ และแนวคิด เช่น เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เทคนิคดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ การกักเก็บคาร์บอน และการนำคาร์บอนไปผลิตเป็นพลังงานหมุนเวียน Extract CO2 from our Air & Use It to Create Synthetic Fuels อาจกลายเป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนเกม Game – Changing Technologies สำคัญ ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การกอบกู้อุตสาหกรรมถ่านหิน ในขณะที่ มันสามารถช่วยลดการปล่อยมลพิษในระดับที่ได้รับการยอมรับตามมาตรฐานสากลได้จริง ..

มนุษยชาติ จะเลิกใช้มันเมื่อไรนั้น ยังตอบได้ยาก แต่ IEA ตั้งเป้าหมาย Net Zero Emissions ไว้ที่ปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 .. นั่นคือ อีกประมาณเกือบ 30 ปีจากนี้ไป และเมื่อถึงเวลานั้น รวมทั้งด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี .. มนุษยชาติ อาจยังคงใช้เชื้อเพลิงถ่านหินสะอาดกว่าด้วย NETs : Negative Emission Technologies อยู่ต่อไปก็เป็นไปได้ หรืออาจไม่ได้ใช้มันแล้วเพราะมีแหล่งพลังงานรูปแบบอื่นที่เหมาะสมกว่าทดแทน .. ซึ่งยังไม่มีใครสามารถตอบได้เวลานี้ ..

ประเทศไทย ใช้ถ่านหินเพียงร้อยละ 0.7 ของการใช้ถ่านหินในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน Coal / Lignite ในการผลิตกำลังไฟฟ้าด้วยสัดส่วน 16.2 % เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้ารวมทั่วทั้งประเทศ .. การจะพิจารณาเพิ่มสัดส่วนการใช้ถ่านหิน หรือการตัดสินใจเชิงนโยบายภาครัฐที่จะเลิกใช้มันหรือไม่ ซึ่งทั้ง 2 แนวทางดังกล่าว ไม่ว่าจะพิจารณาทางเลือกใด ล้วนถือเป็นเรื่องที่ท้าทายอย่างยิ่ง เพื่อให้การใช้พลังงานของประเทศมีความมั่นคง ยั่งยืน สมดุลทั้งด้านอุปสงค์ อุปทาน .. สำหรับเชื้อเพลิงถ่านหินนั้น มันอาจยังไม่สะอาดสีเขียวเท่าที่ควรก็จริง แต่ราคามันถูกมาก และเทคโนโลยีพลังงานถ่านหินสะอาดปัจจุบัน สามารถตอบสนองความต้องการการใช้พลังงานสะอาดได้ดีพอสมควรเลยทีเดียว ..

‘เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด’ เป็นการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการกำจัด หรือลดมลพิษ เพื่อนำถ่านหินมาใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงให้เกิดประโยชน์สูงสุด และมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด .. ปัจจุบันเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดได้รับการพัฒนาต่อเนื่อง และสามารถกำจัดปัญหามลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้จากตัวอย่างของญี่ปุ่น ในฐานะประเทศผู้นำในการพัฒนาเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดในเอเชีย ได้ดำเนินการพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ควบคู่ไปกับเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในภาคการผลิตกำลังไฟฟ้า ..

ทั้งนี้ เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด ได้ทำให้ถ่านหินกลายเป็นเชื้อเพลิงสำคัญที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในประเทศ เนื่องจากมีราคาที่ไม่ผันผวน และถูกกว่า เมื่อเทียบกับเชื้อเพลิงจากก๊าซธรรมชาติเหลว LNG ซึ่งจะช่วยเสริมภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมในประเทศ สามารถลดต้นทุนจากค่าไฟฟ้า ซึ่งมันหมายถึง ต้นทุนทางเศรษฐกิจของชาติ และขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของชาติในระดับภูมิภาคเพิ่มขึ้นด้วย ..

Clean Coal : Photo Credit : Dnews | Seeker

ถ่านหิน มีปริมาณสำรองมากที่สุด อย่างน้อยมันมีให้ใช้งานไปอีก 150 ปี ควบคู่กับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด เกิดความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น .. ถ่านหินสะอาด Clean Coal จึงเป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงหมุนเวียนอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สามารถรองรับอุปสงค์ด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ด้วยต้นทุนต่ำกว่า .. อย่างไรก็ตาม ในกระบวนผลิตกำลังไฟฟ้านั้น มันยังคงปล่อย CO2 ออกสู่บรรยากาศปริมาณมหาศาล หากไม่มีการติดตั้งระบบ CCUS ไว้พร้อมด้วย ซึ่งอาจถือเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้น ..

ดังนั้น .. การติดตั้งประยุกต์ใช้ระบบ Carbon Capture, Utilisation & Storage : CCUS ในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และจัดเก็บคาร์บอน ในกระบวนผลิตกำลังไฟฟ้าเชื้อเพลิงถ่านหินสะอาดไปพร้อมด้วย จึงกลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ หากเราคิดจะใช้แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงถ่านหินสะอาดนี้ ให้มันอยู่ในตลาดพลังงานต่อไปในอนาคต .. CCUS กำลังได้รับความนิยม และอาจทำให้ต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นบ้าง ปัจจุบันแนวโน้มราคาค่อย ๆ ลดลง และมันจะมีราคาสูงมากเกินไปนั้นไม่ได้ ..

โลกยังมิได้ขาดแคลนแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็นน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน .. พวกมันยังไม่ได้กำลังจะหมดลงจริง ๆ .. ยุคเชื้อเพลิงฟอสซิลราคาถูก ยืดออกไปอีกนานจากการปรากฏตัวของ Shale Gas & Shale Oil .. ขณะที่อุณหภูมิของโลกกำลังสูงขึ้นเรื่อย ๆ และหากว่าเราจะยกเลิกการใช้พวกมัน ก็คงมิใช่เพราะพวกมันปล่อยมลพิษปริมาณมากสู่สิ่งแวดล้อม .. แต่จะต้องเป็นเพราะความต้องการที่อาจลดลงในอนาคต จนไม่ต้องการมันอีกต่อไป .. หมายถึง จะต้องมีแหล่งพลังงานทางเลือกรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับโลกเรามากกว่า มาทดแทน ..

มนุษยชาติ ไม่เคยได้ขาดแคลนแหล่งพลังงานเลย เพียงด้วยเทคนิคการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเท่านั้น เราก็สามารถหยิบคาร์บอนออกจากอากาศ เพื่อใช้มันเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนได้ไม่จบสิ้น .. ปัญหาด้านพลังงานจริง ๆ ของเราจึงอยู่ที่ราคา ..

คุณภาพที่สูงขึ้น และราคาที่ลดลง ของเซลล์แสงอาทิตย์ กังหันลม และชุดแบตเตอรี่รุ่นใหม่ ๆ ในตลาด กับต้นทุนที่ลดลงเรื่อย ๆ ของพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน รวมถึงเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจน กำลังเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจและสังคมของมนุษยชาติไปตลอดกาล .. การพึ่งพาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน หรือจากหินภูเขาดินดาน รวมถึงเชื้อเพลิงถ่านหินด้วยนั้น กำลังจะกลายเป็นอดีต .. และถึงแม้มันอาจจะมาถึงในเวลานานกว่า 10 – 15 ปีจากนี้ไปก็ตาม แต่ด้วยปัจจัยราคาต้นทุนในระบบพลังงานสะอาดกว่าที่ค่อย ๆ ลดลงต่อเนื่อง ความมุ่งมั่นของมนุษยชาติทั่วโลกเพื่อให้แนวคิด Net Zero Emissions Society ในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 บรรลุสู่ความสำเร็จ จึงเป็นไปได้ในที่สุด ..

คอลัมน์ Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

What the Past Decade can tell us about the Future of Coal | IEA :-

What is the future of coal? | Energy Post :-

The Future of Coal in a carbon – Constrained Climate | Nature :-

Coal : Global Energy Review 2021 Analysis | IEA :-

IEA : Clean Coal Centre :-

The Future of Coal | MIT :-

The Next 20 Years Are Crucial in Determining the Economic Future of Coal | SciTechDaily :-

Coal Explained – U.S. Energy Information Administration | EIA :-

Coal use is declining in the US and Europe – but not in Asia | Coal demand has seen its biggest drop since World War II .. But it’s not all good news | World Economic Forum :-

G7 agrees to end new gov’t support for coal power by end of 2021 :-

G7 to agree tough measures on burning coal to tackle climate change :-

ถ่านหิน | กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ :-

เทคโนโลยีถ่านหินสะอาด | EGAT :-

US Coal – Fired power output decline continues with last PSEG Coal Plant Retirement :-

Clean Coal Technologies | Carbon Capture and Storage :-

Clean Coal Technology | Rocky Mountain Coal Mining Institute :-

Clean Coal Technologies | OECD :-

What is Clean Coal Technology? | HowStuffWorks :-

Clean Coal Technologies | Encyclopedia of Life Support Systems : EOLSS :-

Negative Emission Technologies : NETs | UNFCCC :-

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img