วันเสาร์, พฤษภาคม 24, 2025
หน้าแรกCOLUMNISTS“Hydrogen Production” การผลิตไฮโดรเจนจากขยะการเกษตร
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“Hydrogen Production” การผลิตไฮโดรเจนจากขยะการเกษตร

Hydrogen Production from Agricultural Wastes

“…..ภาพรวมทั้งหมดของไฮโดรเจนสีเขียว พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดไฮโดรเจนสีเขียวทั่วโลก  คำนวณไว้ได้ที่ 12.31 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2568 และคาดว่าจะพุ่งสูงถึงประมาณ 199.22 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2577…”

ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ Degradation of the Natural Environment และวิกฤตพลังงาน Energy Crisis คือ 2 ประเด็นสำคัญสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วโลก Sustainable Development Worldwide .. ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจที่สุดตัวหนึ่งในการทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels .. ในบริบทนี้ กระบวนการทางชีวภาพ Biological Processes ถือเป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุดในการตอบสนองความต้องการไฮโดรเจนในอนาคต Future Hydrogen Demands ..

Hydrogen Production in The Coming Hydrogen Economy | Credit : New Energy Treasure / US DOE

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตไบโอไฮโดรเจนจากขยะทางการเกษตร Biohydrogen : H2 Production from Agricultural Wastes นั้น มีประโยชน์มาก เนื่องจากขยะของเหลือทิ้งภาคการเกษตร Agricultural Wastes มีอยู่อย่างมากมาย Abundant, ราคาถูก Cheap หมุนเวียนได้ Renewable และย่อยสลายทางชีวภาพได้สูง Highly Biodegradable .. เมื่อพิจารณาว่า ขยะทางการเกษตร Agricultural Wastes เป็นสารตั้งต้นที่ซับซ้อน และสามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้โดยระบบนิเวศจุลินทรีย์ Microbial Ecosystem ที่อาจดูจะซับซ้อน ในประเด็นนี้ จึงมุ่งเน้นไปที่การหมักในที่มืด Dark Fermentation ซึ่งเกี่ยวข้องกับการใช้จุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจนในความมืด Anaerobic Microorganisms in Darkness ระหว่าง 25-80oC หรืออุณหภูมิสูงกว่า 80oC เพื่อการผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 Production อันเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีหลักสำหรับการผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 จากเศษขยะพืชผล Crop Residues, ขยะจากปศุสัตว์ Livestock Waste และขยะจากอาหาร Food Waste .. ผลการค้นพบล่าสุดเกี่ยวกับการผลิตไฮโดรเจนจากขยะทางการเกษตรโดยการหมักในที่มืด Hydrogen Production from Agricultural Wastes by Dark Fermentation ได้ข้อค้นพบที่ชัดเจนแล้วเกี่ยวกับพารามิเตอร์การทำงานที่สำคัญ เช่น ค่า pH, ความดัน Partial Pressure, อุณหภูมิ Temperature และจุลินทรีย์ตัวการที่เหมาะสม เป็นต้น ..

อย่างไรก็ตาม ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 สามารถผลิตขึ้นได้จากขยะทางการเกษตร Agricultural Wastes ด้วยหลากหลายวิธี รวมถึงกระบวนการทางเคมีความร้อน Thermochemical Processes เช่น กระบวนการเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซ Gasification, กระบวนไพโรไลซิส Pyrolysis Process และวิธีการทางชีวภาพ Biological Pathways เช่น การหมักในที่มืด Dark Fermentation เป็นต้น ซึ่งเป็นทางเลือกที่ยั่งยืน Sustainable Alternatives และเป็นการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน Renewable Resources ทดแทนการผลิตไฮโดรเจนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel-Based Hydrogen H2 Production ..

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการผลิตไฮโดรเจนจากขยะทางการเกษตร Hydrogen : H2 Production from Agricultural Waste นั้น สามารถอธิบายแจกแจงได้ใน 2 กระบวนวิธี ดังนี้ :-

1.กระบวนการทางเคมีความร้อน Thermochemical Processes ได้แก่ :-

การเปลี่ยนให้เป็นก๊าซ Gasification : กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการให้ความร้อนขยะเกษตรกรรมในสภาพแวดล้อมที่มีออกซิเจนต่ำ Heating Agricultural Wastes in a Low-Oxygen Environment เพื่อผลิตส่วนผสมของก๊าซชีวภาพ Mixture of Biogases รวมทั้งไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ซึ่งจากนั้นจึงสามารถทำให้บริสุทธิ์ได้ ..

ไพโรไลซิส Pyrolysis : คล้ายกับกระบวนการเปลี่ยนให้เป็นก๊าซ Similar to Gasification แต่ไพโรไลซิส Pyrolysis เกี่ยวข้องกับการให้ความร้อนแก่ชีวมวลในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน Heating Biomass in the Absence of Oxygen ส่งผลให้เกิดการผลิตไบโอออยล์ Bio-Oil, ถ่านไม้ Char และก๊าซชีวภาพ Biogases รวมทั้งไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ..

การเปลี่ยนน้ำเป็นก๊าซในสภาวะวิกฤตยิ่งยวด Supercritical Water Gasification or SCWG : วิธีการนี้ใช้น้ำในสภาวะวิกฤตยิ่งยวดที่อุณหภูมิ และความดันสูง Uses Water at Supercritical Conditions in High Temperature & High Pressure เพื่อทำให้ชีวมวลเป็นก๊าซ Gasify Biomass ซึ่งอาจทำให้ได้ผลผลิตไฮโดรเจนที่สูงขึ้น Higher Hydrogen Yields และจัดเก็บได้ง่ายขึ้น Easier Storage ..

2. กระบวนการด้วยเส้นทางชีวภาพสำหรับการผลิตไบโอไฮโดรเจน ‘Biological Pathways for Biohydrogen Production’ ที่เรียกว่าการหมักในที่มืด Dark Fermentation’ ซึ่งกระบวนการนี้ จะใช้จุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในขยะเกษตรกรรมภายใต้สภาวะที่ไม่มีออกซิเจน Use of Microorganisms to Break Down Organic Matter in Agricultural Wastes Under Anaerobic Conditions โดยการผลิตไฮโดรเจนนั้น คือ ผลพลอยได้ Hydrogen : H2 as a Byproduct  .. ทั้งนี้ ขยะอาหาร Food Wastes, เศษพืชเหลือทิ้ง Crop Residues และมูลสัตว์ Animal Manure คือสารตั้งต้นที่เหมาะสมสำหรับการหมักในที่มืด Suitable Substrates for Dark Fermentation และปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตไบโอไฮโดรเจน Biohydrogen : H2 Production ได้แก่ ค่า pH, อุณหภูมิ Temperature และประเภทของจุลินทรีย์ที่ใช้ Type of Microorganisms Used .. นอกจากนั้น การบำบัดขยะทางการเกษตรเบื้องต้น Pre-Treatment of Agricultural Wastes เช่น การสีข้าว Milling หรือการไฮโดรไลซิสด้วยกรด Acid Hydrolysis สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตไฮโดรเจนได้ Improve Hydrogen : H2 Production Efficiency มาพร้อมด้วย ..

Hydrogen by the BFR Process include Agricultural Waste | Credit : Eco Energy International, LLC

ข้อดีของการใช้ขยะทางการเกษตร Agricultural Wastes เพื่อผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 Production นั้น ได้แก่ การมีอยู่อย่างมากมาย Abundant .. ขยะทางการเกษตร Agricultural Wastes คือ ทรัพยากรที่หาได้ง่าย และหมุนเวียนได้ Readily Available & Renewable Resources จึงเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Sustainable Alternative to Fossil Fuels ที่ยอดเยี่ยม .. การรีไซเคิลขยะ Waste Recycling หมายถึง การใช้ขยะทางการเกษตรเพื่อผลิตไฮโดรเจน Utilizing Agricultural Wastes for Hydrogen : H2 Production สามารถช่วยแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการขยะ Solving Waste Management Problems และส่งเสริมหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy ได้ รวมทั้งความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality ซึ่งการใช้ขยะทางการเกษตรทำให้การผลิตไฮโดรเจนเป็นกลางทางคาร์บอนมากขึ้น ซึ่งช่วยบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างเฉียบขาด ..

Hydrogen by the BFR Process include Agricultural Waste | Credit : Eco Energy International, LLC

ตัวอย่างขยะภาคการเกษตรสำคัญๆ ที่เหมาะสมต่อการใช้เป็นขยะวัตถุดิบสำหรับการผลิตไฮโดรเจน Suitable Agricultural Wastes Used for Hydrogen : H2 Production ได้แก่ เศษพืชผลเหลือทิ้ง Crop Residues เช่น ฟาง Straw ลำต้น Stalks, ขยะปศุสัตว์ Livestock Wastes เช่น ปุ๋ยคอก Manure, ขยะอาหาร Food Waste เช่น เศษผักผลไม้ Fruit & Vegetable Scraps, ชานอ้อย Sugarcane Bagasse, ขยะป่าน Hemp Waste, มูลวัว Cow Manure และขยะกระดาษ Paper Waste เป็นต้น ..

การแปลงขยะการเกษตรให้เป็นไฮโดรเจนสีเขียว Transforming Agricultural Wastes into Green Hydrogen : H2 ..

ตัวอย่างนวัตกรรมจากวิศวกรของมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโก แสดงให้เห็นโอกาสของชาติเกษตรกรรมในการแปลงขยะการเกษตรให้เป็นไฮโดรเจนสีเขียว Transforming Agricultural Waste into Green Hydrogen : H2 .. พวกเขา ได้แนะนำวิธีการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวจากน้ำโดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และขยะเกษตรเท่านั้น Produce Green Hydrogen : H2 from Water Using Only Solar Energy & Agricultural Wastes .. เทคนิคนี้โดดเด่นในด้านประสิทธิภาพการใช้พลังงาน และสามารถลดพลังงานที่ต้องการได้ถึง 600% .. กระบวนการนี้เกี่ยวข้องกับการละลายขยะเกษตร และปศุสัตว์ Agricultural & Livestock Wastes ในกรดซัลฟิวริก Sulfuric Acid : H2SO4 เป็นไบโอชาร์ Biochar ซึ่งช่วยลดกำลังไฟฟ้าที่จำเป็นในการผลิตไฮโดรเจน Hydrogen Production ได้อย่างมาก ..

ทั้งนี้ ไบโอชาร์ Biochar คือสารประกอบที่มีคาร์บอนสูงซึ่งผลิตขึ้นโดยการไพโรไลซิสของชีวมวล Pyrolysis of Biomass โดยไม่มีออกซิเจน .. ไบโอชาร์ Biochar สามารถกักเก็บคาร์บอนในรูปแบบที่เสถียรได้นานหลายทศวรรษ โดยป้องกันการปลดปล่อยคาร์บอนเป็น CO2 และปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดิน ..

ในการวิจัยล่าสุด การเติมสารละลายไบโอชาร์ Biochar Solution ลงในขั้วบวกระหว่างอิเล็กโทรไลซิสไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen Electrolysis ช่วยลดความต้องการพลังงานไฟฟ้าลงได้ .. การทดลองแสดงให้เห็นว่า ไบโอชาร์ Biochar ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดมาจากมูลวัว Cow Manure ซึ่งลดพลังงานที่จำเป็นสำหรับไฮโดรเจนหนึ่งหน่วยเหลือ 1 ใน 6 .. ดังนั้น เซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 15 มิลลิแอมแปร์ Milliampere : mA เพียงเซลล์เดียว และกระแสไฟฟ้า 0.5 โวลต์ Volts ซึ่งน้อยกว่าพลังงานของแบตเตอรี่ AA ก็เพียงพอที่จะผลิตไฮโดรเจนสีเขียวได้ .. คาร์บอนในสารละลายไบโอชาร์ Carbon in the Biochar Solution จะทำปฏิกิริยากับ O2 ที่ผลิตขึ้นในอิเล็กโทรไลซิสเพื่อสร้าง CO2 ซึ่งสามารถดักจับ และนำกลับมาใช้ใหม่ในกระบวนการอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น การผลิตปุ๋ย Fertilizer Production เป็นต้น ..

ตามที่นักวิจัยระบุ ประสิทธิภาพสูงของกระบวนการนี้ ซึ่งสามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฮโดรเจน Conversion of Solar Energy into Hydrogen ได้ 35% ซึ่งอาจถือเป็นทางเลือกที่ถูกกว่า และยั่งยืนกว่าวิธีการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวในปัจจุบัน Current Green Hydrogen : H2 Production Methods รวมทั้งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างยอดเยี่ยมไปพร้อมด้วย ..

ในฟาร์มที่พึ่งพาตนเองได้ Self-Sufficient Farms นั้น แนวโน้มที่น่าสนใจที่สุดอย่างหนึ่งที่นักวิจัยเสนอ คือ อนาคตที่ฟาร์มเกษตรกรรมในท้องถิ่น สามารถผนวกรวมพลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์เข้ากับขยะจากพืช หรือสัตว์ Waste from Plants or Animals ในชุมชนเกษตรกร เพื่อผลิตไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 ทำให้สามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้ ..

เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน Hydrogen Fuel Cells มีประสิทธิภาพสูงในการจ่ายพลังงานให้เครื่องจักร และเสริมแหล่งพลังงานอื่นๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลม Solar or Wind Energy โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นเวลากลางวัน หรือกลางคืน .. นอกจากนี้ วิธีการตัวอย่างที่พัฒนาขึ้นโดยมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ ชิคาโก University of Illinois Chicago นั้น ไม่เพียงแต่จำกัดอยู่แค่การผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 Production เท่านั้น แต่ยังสามารถสร้างผลิตภัณฑ์อันทรงคุณค่าอื่นๆ จากขยะของเหลือทิ้งทางการเกษตร Agricultural Wastes ได้อีกด้วย ..

เชื่อมั่นได้ว่า การผลิตไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 Production จากขยะทางการเกษตร Agricultural Wastes ในท้องถิ่น และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดอื่นๆ มีส่วนสนับสนุนให้โลกยั่งยืนอย่างแน่นอน ไม่มีข้อสงสัย ..

อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ไฮโดรเจนส่วนใหญ่ Most of Hydrogen : H2 ผลิตขึ้นจากก๊าซธรรมชาติ Natural Gas ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้พลังงานมาก และมีราคาแพง นอกจากนี้ยังสามารถผลิตไฮโดรเจน Hydrogen Production จากน้ำ Water Electrolysis โดยใช้กำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Renewable Electricity แต่แนวทางนี้ มีราคาแพงกว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas ด้วยซ้ำไป ..

Graham Hutchings จากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ สหราชอาณาจักร University of Cardiff, UK และเพื่อนร่วมงาน คือ อีกตัวอย่างการแปลงขยะการเกษตรให้เป็นไฮโดรเจนสีเขียว Transforming Agricultural Waste into Green Hydrogen : H2 .. พวกเขา ได้พัฒนาวิธีทางเลือกใหม่ที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งทำจากแพลตตินัม และอิริเดียม Platinum : 78Pt & Iridium: 77Ir ในการสกัดไฮโดรเจน Extract Hydrogen : H2 จากไบโอเอธานอล Bioethanol : CH3CH2OH or C2H6O และน้ำ Water : H2O โดยไม่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 ออกมาเลยด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า .. Hutchings ชี้ว่า ไบโอเอธานอล CH3CH2OH ที่ใช้ในกระบวนการนี้ สามารถผลิตขึ้นได้จากวัสดุขยะเหลือใช้จากพืช Waste Plant Materials ..

Hutchings กล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า “พวกเราไม่ได้ผลิต CO2 ดังนั้นจึงไม่ได้ผลิตสิ่งใดที่เป็นภาระต่อสิ่งแวดล้อม ขณะที่ เรากำลังใช้แหล่งคาร์บอน และไฮโดรเจนที่ยั่งยืนทางชีวภาพ Biologically Sustainable Source of Carbon & Hydrogen และเรากำลังเปลี่ยนขยะวัสดุอินทรีย์สารประกอบคาร์บอน Carbon : 6C และไฮโดรเจน Hydrogen : 1H เหล่านั้นให้เป็นไฮโดรเจนหมุนเวียน Renewable Hydrogen : H2 และกรดอะซิติกหมุนเวียน Renewable Acetic Acid : CH3COOH ซึ่งนั่นคือ สิ่งที่ยอดเยี่ยมอย่างยิ่ง” ..

ทีมงาน ชี้ว่า กระบวนการนี้น่าจะปรับขนาดได้ และทำกำไรได้ในเชิงพาณิชย์ โดยใช้พลังงานในการทำงานน้อยกว่าการผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซธรรมชาติมาก ขั้นตอนต่อไป คือ การดึงดูดการลงทุนเชิงพาณิชย์เพื่อตั้งโรงงานต้นแบบสำหรับทำตลาดไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen Market ..

การผลิตไฮโดรเจนที่สะอาด Clean Hydrogen : H2 Production จะต้องเพิ่มขนาดอย่างรวดเร็วเพื่อให้เกิดการลดคาร์บอนทั่วโลก โดยคาดว่า อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น เหล็กกล้า Steel, เคมีภัณฑ์ Chemicals และการขนส่งระยะไกล Long – Haul Transportation จะต้องใช้พลังงานไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง Hydrogen Fuel สำหรับอนาคตจากนี้ไป ..

นอกจากที่กล่าวถึงแล้วนั้น ปัจจุบัน พบว่า แหล่งชีวภาพของก๊าซมีเทน Biological Sources of Methane : CH4 ที่เป็นก๊าซชีวภาพ Biogases นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความพยายามของนานาชาติ รวมทั้งประเทศไทยในการลดปริมาณคาร์บอน International’s Efforts to Reduce the Carbon สำหรับเชื้อเพลิงในระบบขนส่ง Transportation Fuels อีกด้วย ..

การพัฒนาก๊าซชีวภาพ Biogases หรือก๊าซมีเทนหมุนเวียน Renewable Methane : CH4 ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานในตัวของพวกมันเองแล้ว ยังจะช่วยให้ได้มาซึ่งวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับการผลิตไฮโดรเจนหมุนเวียนสะอาดสีเขียว Green & Clean Renewable Hydrogen : H2 ได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย .. ปัจจุบัน ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 จากขยะอินทรีย์เกือบทั้งหมดนั้น มาจากการแปรรูปด้วยไอน้ำของก๊าซชีวภาพจากขยะของเสีย Steam Reformation of Biogases ที่เรียกว่า Biohydrogen : H2 .. ไฮโดรเจนหมุนเวียน Renewable Hydrogen : H2 สามารถผลิตขึ้นได้จากแหล่งขยะอินทรีย์เหลือทิ้ง Organic Wastes, ก๊าซชีวภาพ Biogases และก๊าซมีเทนหมุนเวียน Renewable Methane : CH4 ที่สามารถจัดเก็บ และเพิ่มกำลังผลิตได้มากขึ้นอีกจากอินทรีย์สารชีวมวล Biomass ในปัจจุบัน และอนาคตจากนี้ไป ..

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ กระบวนปฏิรูปก๊าซชีวภาพ Biogas Reforming เป็นกระบวนการสำหรับการผลิตก๊าซไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Green Hydrogen : H2 Gas รวมทั้งลดการบริโภคก๊าซธรรมชาติที่มากเกินไป Overburden on Natural Gas ของมนุษย์ .. ประโยชน์หลักของการใช้ก๊าซชีวภาพ Biogases สำหรับการผลิต Hydrogen : H2 เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources คือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas Emissions และเป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่สะอาดกว่าด้วยพลังงานจำเพาะ Specific Energy สูงกว่า ..

ปัจจุบัน ความสำคัญของการผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 Production จากขยะทางการเกษตร Agricultural Wastes ทดแทนแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น การหมดลงของปริมาณสำรองเชื้อเพลิงฟอสซิลในธรรมชาติ Depletion of Fossil Fuel Reserves, ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก Global Environmental Issues, ปัญหาขยะในชุมชน Municipal Solid Wastes : MSWs Issues, ปัญหาวิกฤติพลังงาน Energy Crisis Issues และความต้องการไฮโดรเจนบริสุทธิ์ Pure Hydrogen : H2 Demand ที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยราคาที่จะต้องลดลงอีก .. ดังนั้น การผลิตไบโอไฮโดรเจนจากขยะทางการเกษตร Biohydrogen : H2 Production from Agricultural Wastes นั้น จึงสร้างประโยชน์ได้อย่างมาก เนื่องจากขยะของเหลือทิ้งภาคการเกษตร Agricultural Wastes มีอยู่อย่างมากมาย Abundant, ราคาถูก Cheap, หมุนเวียนได้ Renewable และย่อยสลายทางชีวภาพได้สูง Highly Biodegradable ..

Biomass & Organic Wastes to Hydrogen | Credit : Hydrogen Europe

คาดหมายได้ว่า ขนาด และความหลากหลายของผลิตภัณฑ์จากโรงงานไบโอแก๊ส Scale & Product Diversification of Biogas Plants นั้น กำลังจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดความเป็นไปได้ของโครงการแปลงไบโอแก๊สให้เป็นไฮโดรเจน Biogas to Hydrogen : H2 Projects จากวัตถุดิบที่เป็นขยะทางการเกษตร Agricultural Wastes ได้เป็นอย่างดีจากนี้ไป ..

โตโยต้า Toyota ร่วมกับพันธมิตร มุ่งผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 จากขยะการเกษตรของเครือซีพี และบริษัทฯอื่นๆ ในประเทศไทย Agricultural Wastes from Thailand’s CP Group & Others ..

บริษัทโตโยต้า Toyota Motor, โตโยต้า ทูโช Toyota Tsusho และมิตซูบิชิ คาโกกิ Mitsubishi Kakoki ร่วมกันดำเนินโครงการผลิตไฮโดรเจนจากขยะของเหลือทิ้งทางการเกษตร Agricultural Wastes ของเครือซีพี CP Group และบริษัทอื่น ๆ โดย โตโยต้า มอเตอร์ Toyota Motor ประกาศว่า ได้เริ่มโครงการผลิตไฮโดรเจน Hydrogen Production Project ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปลายปี 2567 เป็นต้นมาแล้ว โดยใช้ไบโอแก๊สจากขยะทางการเกษตร Biogases from Agricultural Wastes ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในโครงการความร่วมมือกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ของไทย เพื่อผลิต และใช้งานไฮโดรเจน Hydrogen : H2 สำหรับการบริหารจัดการขยะ Waste Management และช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในภาคการขนส่งของประเทศ Decarbonize the Country’s Transport Sector ..

บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่น Japanese Automaker ติดตั้งอุปกรณ์ผลิตไฮโดรเจนโดยใช้ก๊าซชีวภาพ หรือไบโอแก๊ส Equipment that Makes Hydrogen : H2 Using Biogases ที่สำนักงานใหญ่ของโตโยต้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Toyota’s Asia-Pacific Headquarters ในจังหวัดสมุทรปราการ ทางตอนใต้ของกรุงเทพฯ ..

CP, Toyota & CJPT Sign an MOU towards Achieving Carbon Neutrality in Thailand | Credit : CP Group

ไบโอแก๊ส Biogases ส่วนหนึ่งจะถูกผลิตขึ้นจากมูลไก่ Chicken Manure ณ ฟาร์มสัตว์ปีกของไทย Thai Poultry Farms ที่ดำเนินการโดยเครือซีพี CP Group และบริษัทอื่นๆ รวมถึงเศษอาหาร Food Wastes จากโรงอาหารของสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคของโตโยต้าเองไปพร้อมด้วย ..

นี่จะเป็นครั้งแรกที่โตโยต้า Toyota และเครือซีพี CP Group ของประเทศไทย เปิดตัวโครงการนำร่องเพื่อผลิตไฮโดรเจนโดยใช้ไบโอแก๊สจากขยะทางการเกษตร Hydrogen : H2 Production Using Biogases from Agricultural Wastes ตามที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ Automaker ระบุ ..

อุปกรณ์ดังกล่าว จัดหาโดยบริษัท Mitsubishi Kakoki ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรรมของญี่ปุ่น Japanese Engineering Company และสามารถผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ได้ 1,000 ลิตรต่อชั่วโมง Liters of Hydrogen per Hour .. ทั้งนี้ โตโยต้า และบริษัทการค้าในเครือ เช่น Toyota Tsusho จะสร้างระบบสำหรับบีบอัด Compress, จัดเก็บ Store และขนส่งไบโอแก๊ส และไฮโดรเจน Transport the Biogases & Hydrogen : H2 .. อย่างไรก็ตาม โตโยต้า Toyota ไม่ได้เปิดเผยว่า ใช้เงินเท่าใดสำหรับโครงการนี้ ..

โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตรถยนต์กับเครือเจริญโภคภัณฑ์ CP Group ซึ่งดำเนินการในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การค้าปลีก การจัดจำหน่าย และการเกษตร .. เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2567 ที่ผ่านมา ทั้ง 2 บริษัทฯตกลงที่จะศึกษาวิจัยเพิ่มเติมร่วมกันเกี่ยวกับการผลิตไฮโดรเจนจากไบโอแก๊ส Hydrogen Production from Biogases และใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับรถบรรทุกขนส่งที่ใช้ไฮโดรเจน Hydrogen-Powered Delivery Trucks ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ CP Group ตั้งใจจะนำมาใช้ในกองยานยนต์ขนส่งของบริษัทฯ เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน Reduce Carbon Emissions ในประเทศไทย ..

ทั้งนี้ ทีมผู้บริหารชุดใหม่ของโตโยต้า ซึ่งเข้ามารับช่วงต่อเมื่อต้นปีนี้ ได้เสริมความแข็งแกร่งให้กับคำมั่นสัญญาที่จะนำรถยนต์ไฟฟ้าไฮโดรเจน Hydrogen Electric Vehicles หรือรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell Electric Vehicles: FCEVs เข้าแข่งขันในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า Market for Electric Vehicles : EVs และไล่ตามคู่แข่งอย่าง Tesla ของสหรัฐฯ ซึ่ง Toyota ยังคงโต้แย้งยืนยันว่า รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs เป็นเพียงทางเลือกหนึ่งในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในภาคการขนส่ง ขณะที่ บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่น และกระตือรือร้นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีไฮโดรเจนสำหรับใช้ในยานยนต์เซลล์เชื้อเพลิง Develop Hydrogen : H2 Technology for Use in Fuel Cell Vehicles ต่อเนื่องต่อไป ..

โตโยต้า Toyota และโตโยต้า ทูโช Toyota Tsusho จะร่วมมือกันในการผลิตไฮโดรเจน Cooperate on Hydrogen : H2 Production รวมถึงการพิจารณาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก Infrastructures ที่เกี่ยวข้อง และการนำระบบโดยรวมสำหรับการบีบอัด Compress, การจัดเก็บ Store และการขนส่งไบโอแก๊ส และไฮโดรเจน Transport the Biogases & Hydrogen : H2 มาใช้งาน รวมถึงการจัดตั้งระบบปฏิบัติการ Establishment of an Operating System ให้เกิดขึ้นในประเทศไทยมาพร้อมด้วย ..

โดยมาตรฐานทั่วไปนั้น ก๊าซชีวภาพ Biogases คือประเด็นสำคัญ ซึ่งประกอบไปด้วย ก๊าซมีเทนจากมูลสัตว์ Methane : CH4 from Animal Manure, ขยะทางการเกษตร Agricultural Wastes และผลพลอยได้จาก Glycerol Phase นำไปสู่การผลิตไบโอดีเซล Biodiesel และไฮโดรเจน Hydrogen : H2 .. ทั้งนี้ “โรงงานก๊าซชีวภาพ Biogas Plants ขนาด 10 KW จะเปลี่ยนก๊าซชีวภาพ Biogases ไปเป็นไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ประมาณ 1% ของการไหลของก๊าซชีวภาพ ซึ่งเท่ากับประมาณ 30 ลิตรต่อนาที และผสมรวมไปกับไอน้ำ” .. ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อส่วนผสมไหลเข้าสู่เครื่องปฏิกรณ์ของโรงงาน Mixture Flows into the Plant’s Reactor ที่นั่น ก๊าซชีวภาพ Biogases จะได้รับการปรับปรุงใหม่ และผลิตซินก๊าซ Syngas ออกมาอีกด้วย .. ก๊าซเหล่านี้จะลดปริมาณเหล็กออกไซด์ Iron Oxide : Fe2O3, Fe3O4 & FeO ให้เป็นเหล็ก Iron : 26Fe ภายในกระบวนการ .. จากนั้น เมื่อฉีดอัดไอน้ำเข้าสู่เครื่องปฏิกรณ์ Steam Enters the Reactor ซึ่งทำให้เกิดการรีออกซิไดซ์เหล็ก Reoxidizes the Iron กลับเป็นเหล็กออกไซด์ Iron Oxide : FexOx .. ซึ่งกระบวนการดังที่กล่าวนี้ จะปล่อยคายไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ออกมาด้วยระดับความบริสุทธิ์ 99.998% ..

นอกจากนี้ พวกมัน ซึ่งแตกต่างไปจากอุปกรณ์ผลิตไฮโดรเจนแบบดั้งเดิม Conventional Hydrogen : H2 Production Equipments สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องกับสถานีผลิตไฮโดรเจน Hydrogen Station-Related Facilities .. บริษัทฯทั้ง 3 แห่ง และบริษัทในเครือในพื้นที่จะทำงานร่วมกัน และหารือเพื่อปรับปรุงการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมตามภูมิสังคมในท้องถิ่นของไทย โดยจะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับไฮโดรเจนล่าสุดของญี่ปุ่น Utilize Japan’s Latest Hydrogen-Related Technologies เพื่อส่งเสริมพลังงานสะอาดที่เหมาะกับประเทศไทย และแต่ละประเทศในภูมิภาค รวมถึงจะทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ เพื่อช่วยให้บรรลุสังคมไฮโดรเจน Hydrogen Society และสังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutral Society ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..

คาดการณ์ตลาดการเปลี่ยนขยะเป็นไฮโดรเจนทั่วโลก Global Waste to Hydrogen Market ..

อ้างถึงข้อมูลการสำรวจตลาดของ The Brainy Insights พบว่า การเปลี่ยนขยะเป็นไฮโดรเจนทั่วโลก Global Waste to Hydrogen สร้างรายได้ Revenue อยู่ที่ 4.62 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และคาดว่า รายได้ Revenue รวมสำหรับผู้ประกอบการผลิตจะพุ่งขึ้นสูงถึง 35.42 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2575 ขณะที่มูลค่าตลาด หรือขนาดธุรกิจในตลาดการเปลี่ยนขยะเป็นไฮโดรเจนทั่วโลก Global Waste to Hydrogen Market อยู่ที่ 1.19 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2567 รวมทั้งได้รับการคาดหมายว่าจะเติบโตจาก 1.42 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2568 นี้ ไปเป็น 7.25 พันล้านเหรียญสหรัฐฯจนถึงปี 2577 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR  หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดการเปลี่ยนขยะเป็นไฮโดรเจนทั่วโลก Global Waste to Hydrogen Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 19.83% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2568-2577 ..

Bioconversion Processes for Hydrogen Production from Agricultural Wastes & Industrial Residues | Credit : ScienceDirect

ความตระหนักรู้ที่เพิ่มขึ้นของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม Environmental Issues และความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change คือแรงผลักดันให้มีความต้องการข้อไขโซลูชั่นพลังงานที่สะอาดขึ้น Demand for Cleaner Energy Solutions .. การเปลี่ยนขยะเป็นไฮโดรเจน Waste to Hydrogen : H2 ซึ่งจัดวางตำแหน่งเป็นเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และยั่งยืน Eco-Friendly & Sustainable Technology ได้รับการสนับสนุนในบริบทนี้ .. นอกจากนี้การเพิ่มเงินทุนจากภาครัฐ และเอกชนยังช่วยให้ตลาดการเปลี่ยนขยะเป็นไฮโดรเจนทั่วโลก Global Waste to Hydrogen Market เติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญอีกด้วย .. การสนับสนุนด้านเงินทุนสำหรับการวิจัย พัฒนา และการนำเทคโนโลยีเปลี่ยนขยะเป็นไฮโดรเจน Waste to Hydrogen Technologies ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ ช่วยเร่งการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวได้เป็นอย่างดี ..

คาดหมายว่า ความต้องการไบโอไฮโดรเจนต่อปี Annual Demand for Biohydrogen : H2 จะเพิ่มขึ้นเป็น 200 ล้านตัน ภายในปี 2573 และแตะระดับ 530 ล้านตัน ภายในปี 2593 .. ทั้งนี้ อุตสาหกรรมไบโอไฮโดรเจนทั่วโลก Global Biohydrogen Industry จากขยะอินทรีย์ Organic Wastes มีมูลค่า 73.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2566 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 6.5% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2567-2577 และจะแตะระดับ 146.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯภายในสิ้นปี 2577 ..

อย่างไรก็ตาม สำหรับภาพรวมทั้งหมดของไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 นั้น พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดไฮโดรเจนสีเขียวทั่วโลก Global Green Hydrogen Market คำนวณไว้ได้ที่ 12.31 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2568 และคาดว่าจะพุ่งสูงถึงประมาณ 199.22 พันล้านเหรียญสหรัฐฯภายในปี 2577 โดยเร่งตัวขึ้นที่อัตราการเติบโตต่อปีที่สูงลิ่ว อยู่ที่ค่า CAGR 41.46% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2568-2577 .. ทั้งนี้ ขนาดธุรกิจไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 เฉพาะในตลาดเอเชียแปซิฟิก Asia Pacific Market มีมูลค่าสูงเกิน 4.15 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2567 และกำลังขยายตัวที่อัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 41.96% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ไว้เช่นกัน ..

ทั้งนี้ ในประเด็นการวิเคราะห์การแบ่งสัดส่วนเปรียบเทียบตามภูมิภาค ได้แก่ อเมริกาเหนือ North America, ยุโรป Europe, อเมริกาใต้ South America, เอเชียแปซิฟิก Asia Pacific, ตะวันออกกลาง Middle East และแอฟริกา Africa พบว่า ยุโรป Europe กลายเป็นตลาดการเปลี่ยนขยะให้เป็นไฮโดรเจน Global Waste to Hydrogen Market ที่โดดเด่นที่สุดในโลก โดยมีส่วนแบ่งรายได้การตลาด อยู่ที่ 44.19% ในปี 2565 ..

ประเทศในยุโรป European Countries คือผู้นำในการนำนโยบายด้านสภาพอากาศ และพลังงานที่ทะเยอทะยานมาใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหภาพยุโรป European Union : EU ได้กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มส่วนแบ่งของพลังงานหมุนเวียน .. นโยบายเหล่านี้ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา และนำเทคโนโลยีที่ยั่งยืน Sustainable Technologies เช่น การเปลี่ยนขยะเป็นไฮโดรเจน Waste to Hydrogen : H2 Technology มาใช้อย่างเป็นรูปธรรม .. นอกจากนี้ ยุโรป Europe ยังได้กำหนดเป้าหมายด้านพลังงานหมุนเวียนที่เข้มงวด และไฮโดรเจน Hydrogen : H2 คือกุญแจสำคัญในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ .. การเปลี่ยนขยะทางการเกษตรให้เป็นไฮโดรเจน Transforming Agricultural Wastes into Hydrogen : H2 สอดคล้องกับความมุ่งมั่นของภูมิภาคในการผลิตพลังงานสะอาด ลดการปล่อยคาร์บอน และเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ..

นอกจากนี้ ประเทศในยุโรป European Countries ยังให้ความสำคัญกับการวิจัย และนวัตกรรมอย่างมาก และมักจะลงทุนอย่างมากในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ .. ความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมนี้ สามารถนำไปสู่ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีการเปลี่ยนขยะเป็นไฮโดรเจน Advancements in Waste to Hydrogen Technologies ทำให้มีประสิทธิภาพ และคุ้มทุนมากขึ้น .. ยิ่งไปกว่านั้น ยุโรป Europe ยังมีระบบให้การสนับสนุนทางการเงิน และเงินอุดหนุนสำหรับโครงการที่เกี่ยวข้องกับพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีสะอาดอย่างแข็งขัน .. การสนับสนุนทางการเงินที่มั่นคง Robust Financial Support ด้วยการจัดสรรเงินทุนในระบบการเงินสีเขียว Green Finance สามารถดึงดูดการลงทุน และเร่งการพัฒนา รวมถึงการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ของโครงการเปลี่ยนขยะเป็นไฮโดรเจน Commercialization of Waste to Hydrogen Projects .. นอกจากนี้ ยุโรป Europe ยังมีแนวทางปฏิบัติ และระเบียบข้อบังคับในการจัดการขยะที่ได้รับการยอมรับอย่างดี ซึ่งสามารถจัดหาวัตถุดิบสำหรับการผลิตไฮโดรเจนได้อย่างสม่ำเสมอ และหลากหลาย .. กรณีตัวอย่างในยุโรป แสดงให้เห็นได้ว่า โครงสร้างพื้นฐานในการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ Efficient Waste Management Infrastructure คือปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของโครงการเปลี่ยนขยะให้เป็นไฮโดรเจน Key Factor in the Success of Waste to Hydrogen Initiatives ซึ่งจะส่งผลให้ตลาดการเปลี่ยนขยะให้เป็นไฮโดรเจน Global Waste to Hydrogen Market ในทุกภูมิภาคทั่วโลก เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็วจากนี้ไป ..

สรุปส่งท้าย ..

การเปลี่ยนขยะของเสียทางการเกษตรให้เป็นไฮโดรเจน Transforming Agricultural Wastes into Green Hydrogen : H2 คือกระบวนการที่สร้างสรรค์ และยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม Innovative & Environmentally Sustainable Process ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนขยะวัสดุเหลือใช้ต่างๆ ให้เป็นก๊าซไฮโดรเจน Converting Different Waste Materials into Hydrogen : H2 Gas .. เทคโนโลยีที่ก้าวหน้านี้ สามารถรับมือกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการขยะ Waste Management ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็ตอบสนองความต้องการแหล่งพลังงานสะอาด และยั่งยืน Demand of Clean & Sustainable Energy Sources ที่เพิ่มมากขึ้น .. วัสดุเหลือใช้ Waste Materials จากภาคการเกษตร และชุมชนเมือง เป็นต้นนั้น จะถูกแปลงเป็นไฮโดรเจน Transformed into Hydrogen : H2 ซึ่งเป็นตัวนำพาพลังงานอเนกประสงค์ และสะอาด Versatile & Clean Energy Carrier โดยใช้หลากหลายวิธี เช่น กระบวนการเปลี่ยนให้เป็นแก๊ส Gasification, ไพโรไลซิส Pyrolysis และการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion ..

ในกระบวนการเปลี่ยนให้เป็นแก๊ส Gasification Process นั้น ขยะของแข็ง Solid Wastes จะเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ควบคุมได้ที่อุณหภูมิสูง ซึ่งทำให้เกิดก๊าซสังเคราะห์ Syngas ที่มีไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ปนอยู่ .. ขณะที่ไพโรไลซิส Pyrolysis เกี่ยวข้องกับการย่อยสลายของเสียอินทรีย์ด้วยความร้อน Thermal Decomposition of Organic Waste โดยไม่มีออกซิเจน ทำให้เกิดก๊าซสังเคราะห์ Syngas, ไบโอออยล์ Bio-Oil และชาร์ Char .. สำหรับการย่อยสลายแบบไม่ใช้ออกซิเจน Anaerobic Digestion คือกระบวนการที่อาศัยจุลินทรีย์ Microorganisms ในการย่อยสลายของเสียอินทรีย์สารในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจน Decompose Organic Wastes in the Absence of Oxygen ซึ่งทำให้เกิดก๊าซชีวภาพ Biogases ที่สามารถกลั่นเพิ่มเติมเพื่อสกัดไฮโดรเจน Extract Hydrogen : H2 ออกมาได้ ..

การเปลี่ยนขยะของเสียทางการเกษตรให้เป็นไฮโดรเจน Agricultural Wastes to Hydrogen : H2 ไม่เพียงแต่เป็นวิธีแก้ปัญหาในการกำจัดขยะเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งไฮโดรเจนที่ยั่งยืน Sustainable Source of Hydrogen : H2 ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงสะอาดสีเขียว Green & Clean Fuel ที่มีการใช้งานได้อย่างหลากหลาย .. ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ที่ผลิตได้นั้น สามารถนำไปใช้ในการผลิตกำลังไฟฟ้า Power Generation, เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่ง Fuel for Transportation หรือในกระบวนการอุตสาหกรรม Industrial Processes .. แนวทางนี้สอดคล้องกับเป้าหมายของหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน Circular Economy Principles ของไทยเพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ Efficient Use of Resources และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม Reducing Environmental Impact .. ในขณะที่ เทคโนโลยีเหล่านี้ได้รับการพัฒนาขึ้น และความสำคัญของพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลให้การแปลงขยะของเสียทางการเกษตรให้เป็นไฮโดรเจน Agricultural Wastes to Hydrogen : H2 ถือเป็นหนึ่งในแนวทางที่มีแนวโน้มยอดเยี่ยมสำหรับการบรรลุอนาคตที่ยั่งยืน และประหยัดพลังงานมากขึ้น Achieving a More Sustainable & Energy-Efficient Future ..

Hydrogen: H2 Production from Agricultural Residue – Opportunities & Challenges | Credit : Bank of Baroda / India Government

ทั้งนี้ สำหรับประเทศไทยในฐานะหนึ่งในชาติเกษตรกรรมชั้นนำของโลกนั้น เครือเจริญโภคภัณฑ์ Charoen Pokphand : CP Group ด้วยความร่วมมือกับบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น Toyota Motor Corporation และกลุ่มพันธมิตรทางธุรกิจจากประเทศญี่ปุ่น คือ ตัวอย่างที่ยอดเยี่ยมของแผนงาน และโครงการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้ก๊าซชีวภาพ Hydrogen : H2 Production from Biogas และชีวมวล Biomass ที่ได้จากขยะของเสียจากฟาร์มเกษตรกรรม Wastes from Agricultural Farms ในประเทศ ซึ่งคาดหวังว่า ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 ที่ผลิตขึ้นได้เหล่านี้ จะถูกนำมาใช้ในชั้นต้นกับรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง Hydrogen Fuel Cell Trucks ขนาดต่างๆ เพื่อบุกตลาดรถยนต์บรรทุกไฟฟ้าสำหรับงานหนัก Heavy-Duty Electric Truck Market ทั่วทั้งภูมิภาคในอนาคตอันใกล้นี้ ..

ดังนั้น นโยบายภาครัฐของไทยในการส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies ภายในประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในธุรกิจ Bioenergy เพื่อการผลิตก๊าซชีวภาพ Biogases และเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels รูปแบบต่างๆ รวมทั้งการผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพ Biohydrogen : H2 Production from Biogases ทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่มีศักยภาพ หรือกระจายสู่ชุมชนด้วยราคาพลังงานที่เหมาะสม ไม่แพงเกินไปนั้น ได้กลายเป็นความจำเป็นสำคัญที่ขาดไม่ได้ ..

การให้สิทธิพิเศษทางภาษีจากคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน BOI, การสนับสนุนการวิจัย และพัฒนา รวมไปถึงการให้ความรู้ทางด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels, การผลิตก๊าซชีวภาพ Biogas Production และการผลิตไฮโดรเจนจากขยะการเกษตร Hydrogen : H2 Production from Agricultural Wastes แก่ประชาชน กลายเป็นเรื่องจำเป็นสำคัญที่ขาดไม่ได้ในระดับยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของชาติเช่นกัน เพื่อให้มั่นใจว่า ประเทศไทยจะสามารถบรรลุเป้าหมายการผลิตพลังงานหมุนเวียน Renewables ในประเทศ และใช้ก๊าซชีวภาพ Biogas, เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels และไบโอไฮโดรเจน Biohydrogen : H2 เหล่านี้ เป็นหลักทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่ต้องนำเข้า และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแบบยั่งยืนอย่างมั่นคงด้วย Sustainable BCG Economy ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..

……………….

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Hydrogen Production from Agricultural Waste | ScienceDirect :-

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0360319910004520

Transforming Agricultural Waste into Green Hydrogen | Imnovation Hub :-

https://www.imnovation-hub.com/energy/agricultural-waste-green-hydrogen

Carbon – Neutral Hydrogen can be Produced from Farm Waste | New Scientist :-

https://www.newscientist.com/article/2468381-carbon-neutral-hydrogen-can-be-produced-from-farm-waste

Toyota, Toyota Tsusho, and Mitsubishi Kakoki to Introduce Thailand’s First Biogas – Derived Hydrogen Production Equipment, Operation to Begin in 2023 | Toyota :-

https://global.toyota/en/newsroom/corporate/39475795.html#:~:text=26%2C%202023-,Toyota%2C%20Toyota%20Tsusho%2C%20and%20Mitsubishi%20Kakoki%20to%20Introduce%20Thailand’s%20First,achieve%20carbon%20neutrality%20in%20Thailand

Toyota to Make Hydrogen out of Waste from Thailand’s CP, Others | Nikkei :-

https://asia.nikkei.com/Business/Automobiles/Toyota-to-make-hydrogen-out-of-waste-from-Thailand-s-CP-others

Waste to Hydrogen Market

Global Waste to Hydrogen Market | The Brainy Insights :-

https://www.thebrainyinsights.com/report/waste-to-hydrogen-market-13996#:~:text=Market%20Introduction,22.59%25%20from%202023%20to%202032

Synthetic Fuel Gas : Gasification of Plastic Waste & Biomass to SynGas or from Power to X Technology :-

https://photos.app.goo.gl/dDGTMm9r6qM29XxVA

Hydrogen Economy | Hydrogen as the Nature’s Fuel | Album :-

https://goo.gl/photos/JxzFyxD8PVCeSK9k8

- Advertisment -spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img