วันอังคาร, เมษายน 30, 2024
หน้าแรกCOLUMNISTSเป้าหมายปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ ยังคลุมเครือ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เป้าหมายปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ ยังคลุมเครือ

Net – Zero Emissions Targets

การบริหารจัดการเพื่อหยุดยั้งสภาวะโลกร้อน อย่างน้อยภายในปลายปีนี้ แผนปฏิบัติการของนานาประเทศ และบริษัทเอกชนต่าง ๆ จะต้องตั้งอยู่บนความยุติธรรม เข้มงวด และชัดเจนโปร่งใส มากกว่านี้ ..

เมื่อห้าปีก่อนหน้านี้ ข้อตกลงด้านสภาพอากาศขององค์การสหประชาชาติในกรุงปารีส ได้กำหนดเพดานสำหรับภาวะโลกร้อนที่ต่ำกว่า 2 °C ซึ่งควรจะเป็น 1.5 °C เมื่อเทียบกับระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม .. บรรดาผู้นำโลก ได้ตกลงกันที่จะปรับสมดุลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษ เพื่อให้ผลรวมก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมของมนุษย์ชาติเป็นศูนย์ ..

Zero – Emissions Electricity & How Close Are We to Zero Emissions Electricity | Credit: Seeker

ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองแนวทางดังกล่าว นานาชาติ สถาบัน และบริษัทยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ได้ประกาศเป้าหมายที่เป็นศูนย์สุทธิ หรือ Net Zero มากขึ้น ตัวอย่างล่าสุด ได้แก่ สหรัฐฯ จีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น บริษัทเทคโนโลยีทั่วโลก เช่น บริษัท Microsoft และกลุ่มพันธมิตร สนามบินกลุ่มประเทศในยุโรป ส่งสัญญาณแสดงเจตจำนงยินดีต้อนรับแนวนโยบายเหล่านี้ พร้อมกับยอมรับสภาพความยากลำบากที่กำลังจะเกิดขึ้น ..

แผนงานต่าง ๆ นั้น เปรียบเทียบกันได้ยาก และคำจำกัดความก็อยู่ในกรอบหลวมเกินไป ไม่ชัดเจน .. รายละเอียดเบื้องหลังป้ายกำกับคำว่า ‘Net – Zero’ แตกต่างกันอย่างมาก เป้าหมายที่ตั้งไว้บางครั้งมุ่งเน้นไปที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 เพียงอย่างเดียว ขณะที่นโยบายภาครัฐบางประเทศ ก็ครอบคลุมก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดไว้ด้วย หรือบางบริษัทเอกชน อาจพิจารณาเพียงลดการปล่อยมลพิษให้อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงเท่านั้น หรือรวมถึงการปล่อยมลพิษจากห่วงโซ่อุปทาน และจากการใช้งาน หรือการจำกัดผลิตภัณฑ์ของตน ..

บางครั้ง เป้าหมายก็มิได้ตั้งอยู่บนวัตถุประสงค์ที่จะลดการปล่อยมลพิษอย่างจริงจัง แต่เพียงการชดเชยด้วยมาตรการอื่น ๆ ที่ดูเสมือนจะเหมาะสมกว่าทดแทน โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจเป็นหลักไปพร้อมด้วย .. มันไม่เป็นธรรมกับบางประเทศ หรือบางธุรกิจ ยังมีความหละหลวมในมาตรการ และมีอีกหลายประเด็นที่ยังคลุมเครืออยู่มาก ..

คำถามสำคัญกำลังถูกมองข้าม ในบางภาคส่วน เช่น ภาคพลังงาน และการผลิตกำลังไฟฟ้านั้น มันควรจะไปให้ถึงศูนย์สุทธิ Net Zero ก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อถ่วงดุลภาคส่วนอื่น ๆ ที่ยากกว่าต่อการลดการปล่อยมลพิษ และก๊าซเรือนกระจก มันได้รวมถึงอุตสาหกรรมหนักด้วยหรือไม่ .. มันดูไม่ค่อยเป็นธรรมนักหากคาดว่า ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ จะสามารถไปถึงศูนย์สุทธิได้ตามกำหนดเวลาเช่นเดียวกับประเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจมาอย่างยาวนาน .. ทั้งนี้ หากปราศจากความใส่ใจในประเด็นดังกล่าว ความสำเร็จตามที่คาดหมาย จะเผชิญกับความเปราะบางอ่อนไหวเกินกว่าจะบรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศโดยรวมของข้อตกลงปารีสได้ ..

นักวิจารณ์โต้แย้งว่า เป้าหมายที่คลุมเครือนั้น ดีกว่าไม่มีเลย .. แต่เดิมพันของมันสูงเกินกว่าที่จะบรรลุเป้าหมายให้สำเร็จได้ .. มันคลุมเครือเกินไป ทุกประเทศไม่จำเป็นต้องเลือกแนวทางปฏิบัติแบบเดียวกัน เนื่องเพราะมันไม่ค่อยเป็นธรรมต่อประเทศกำลังพัฒนา หรือประเทศยากจนด้อยโอกาส ที่ขาดทั้งงบประมาณ และเทคโนโลยี โดยหากไม่มีความชัดเจนมากขึ้นกว่านี้แล้ว ด้วยกลยุทธ์เบื้องหลังการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายศูนย์สุทธิ Net Zero ที่ไม่สามารถทำความเข้าใจกับมันอย่างกระจ่างแจ้งได้ การประเมินผลกระทบที่เที่ยงตรง ก็จะทำไม่ได้เช่นกัน ความสำเร็จในภาพรวม จึงจะไม่อาจเกิดขึ้น ..

รายงานของ IEA Flagship Report : Net Zero by 2050 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมานี้ เรียกร้องให้นานาประเทศ บริษัทเอกชน และนักวิจัย เสนอแนะชี้แจงเป้าหมายในสามด้าน ได้แก่ ขอบเขต เกณฑ์ความเพียงพอ และความยุติธรรม หรือการให้เกิดความเป็นธรรมสำหรับมาตรการของแต่ละประเทศที่มีศักยภาพแตกต่างกัน รวมทั้ง Road Map ที่เป็นรูปธรรมเพื่อไปสู่ศูนย์สุทธิ Net Zero ..

ซึ่งสำหรับความชัดเจนเหล่านี้ จะต้องให้มันเกิดขึ้นในการประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติครั้งต่อไป หรือ UN Climate Change Conference of the Parties : COP26 in Glasgow on 31 October – 12 November 2021 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ใน 31 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน 2564 ปีนี้ ซึ่งมันจะเป็นเวทีสำคัญที่ผู้นำประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จะต้องตัดสินตกลงใจในวงเสวนาสภาวะโลกร้อน พร้อมนำเสนอคำมั่นสัญญา และทางออกด้านสภาพอากาศใหม่ที่ชัดเจนกว่า และเป็นไปได้ ..

ปัญหาคาร์บอนฟุตพริ้น Carbon Footprint คือ ปัญหาระดับโลก ..

Carbon Footprint คือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก Green House Gas: GHG ทั้งหมดที่เกิดจากบุคคล เหตุการณ์ องค์กร การบริการ อาคารสถานที่ หรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งแสดงเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ เทียบเท่าก๊าซเรือนกระจก รวมถึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่มีก๊าซมีเทน เป็นส่วนประกอบ สามารถปล่อยออกมาได้จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล การจัดการที่ดิน พื้นที่การเกษตร การผลิต และการบริโภคอาหาร กระบวนผลิตสินค้า วัสดุ ไม้ ถนน อาคาร การขนส่ง และบริการอื่น ๆ อีกมากมายซึ่งล้วนเป็นกิจกรรมของมนุษย์ทั้งสิ้น ..

คำนี้ได้รับความนิยมจากแคมเปญโฆษณามูลค่า 250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยบริษัทในอุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิง และก๊าซธรรมชาติ BP ในความพยายามที่จะดึงความสนใจของสาธารณชน ให้พ้นจากการจำกัดกิจกรรมของบริษัทฯ ที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล และให้กลายเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคลในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ..

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบดีว่า กิจกรรมของมนุษย์ชาติ เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก .. สิ่งเหล่านี้เพิ่มอุณหภูมิของโลกให้สูงขึ้น และปล่อยมลพิษออกมาอีกมากมายจากการบริโภคเชื้อเพลิงฟอส ซิลในการผลิตกำลังไฟฟ้า และผลพลอยได้อื่น ๆ ของกระบวนการผลิตทั่วทั้งระบบ .. ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญส่วนใหญ่ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การทำให้เกิดฝนกรด พายุรุนแรง พายุนอกฤดูกาล สภาพอากาศหนาวจัด ร้อนจัดกว่าที่เคยพบเห็น และการทำให้มหาสมุทรร้อนขึ้น เป็นต้น ..

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นตั้งแต่เริ่มการปฏิวัติอุตสาหกรรมในช่วงทศวรรษที่ 1820 เนื่องจากมนุษย์ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล การใช้พลังงาน และการตัดไม้ทำลายป่าอย่างต่อเนื่อง ปริมาณก๊าซเรือนกระ จกในชั้นบรรยากาศจึงเพิ่มขึ้นอย่างมากจนกลายเป็นเรื่องปกติ ซึ่งทำให้การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทำ ได้ยากเย็นอย่างยิ่ง ..

อย่างไรก็ตาม มีหลายวิธีในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เช่น พฤติกรรมการบริโภคที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น การใช้เครื่องใช้ในครัวเรือนที่ประหยัดพลังงาน การใช้งานรถยนต์ที่ประหยัดน้ำมัน การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และการมุ่งไปใช้แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานไฮโดร เจน เป็นหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของมนุษยชาติ รวมถึงการยกเลิกการพึ่งพาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลโดยสิ้นเชิง .. ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว มันไม่ง่ายเลย แต่มันเป็นไปได้ ..

Global GHG Emissions by Sector Chart | Credit : Our World in Data / Global Change Data Lab

ก๊าซเรือนกระจก GHGs เป็นก๊าซต้นเหตุที่เพิ่มอุณหภูมิของโลก เนื่องจากการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด แม้ว่าการปล่อยมลพิษบางส่วนจะเป็นไปตามธรรมชาติ แต่อัตราการเพิ่มยังคงสูงขึ้นมากกว่าที่ควรจะเป็นนั้น มาจากฝีมือของมนุษย์ล้วน ๆ .. ก๊าซเรือนกระจก และมลพิษเหล่านี้ ปล่อยออกมาจากภาคพลังงาน การเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลในกระบวนผลิตกำลังไฟฟ้า ความร้อน และการขนส่ง ประมาณ 74 % ทั่วโลก .. GHGs ที่พบบ่อยที่สุด คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2, มีเทน CH4, ไนตรัสออกไซด์ N2O และก๊าซฟลูออรีน Fluorinated Gases: F – Gases จำนวนมาก ..

ก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้โลกร้อนขึ้นอย่างน่ากลัวเหล่านี้ ล้วนเป็นฝีมือที่มนุษย์สร้างขึ้นทั้งสิ้น มันสามารถอยู่ในบรรยากาศได้นานหลายศตวรรษ และมีส่วนทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น พลังงานมหา ศาลในบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น ได้กลายเป็นสาเหตุสำคัญของภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรง และกระจายออกไปทั่วโลก ทั้ง ๆ ที่โลกเราน่าจะควรกำลังเย็นลงตามธรรมชาติ แต่มันมิได้เป็นเช่นนั้น ..

ความเหมือน และแตกต่างระหว่างคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutral กับศูนย์สุทธิ Net Zero ..

ความเป็นกลางของคาร์บอน หรือ คาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutral หมายถึงการบรรลุการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ Net – Zero Carbon Dioxide Emissions ซึ่งสามารถทำได้โดยการปรับสมดุลการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการกำจัดมันไปพร้อมด้วย ซึ่งมักจะผ่านการชดเชยคาร์ บอน หรือโดยการกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเปลี่ยนผ่านไปสู่ ​​”เศรษฐกิจหลังยุคคาร์บอน Post – Carbon Economy” ใช้ในบริบทของกระบวนการปล่อยก๊าซออกไซด์ของคาร์บอน เช่น ก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ ที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง การผลิตพลังงาน การเกษตร และอุตสาหกรรม ..

แม้ว่าจะใช้คำว่า “คาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutral” ก็ตาม รอยเท้าคาร์บอน Carbon Footprint ยังรวมถึงก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ซึ่งปกติแล้ว จะมีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ โดยวัดจากค่าเทียบเท่าคาร์บอน ไดออกไซด์ของพวกมัน คำว่าสภาวะอากาศเป็นกลางสะท้อนถึงการรวมตัวของก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ ในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แม้ว่า CO2 จะมีมากที่สุดก็ตาม คำว่า “ศูนย์สุทธิ Net Zero” ถูกใช้มากขึ้นเรื่อย ๆ เพื่ออธิบายความมุ่งมั่นที่กว้างขึ้น และครอบคลุมมากขึ้นในการลดการปล่อยคาร์บอน

และการดำเนินการด้านสภาพอากาศ หรืออาจยังคงปล่อยมันออกมาบ้างต่อไป แต่ขณะเดียวกันก็ดักจับมันกลับมาใช้ประ โยชน์อื่นไปพร้อมด้วยเพื่อให้ผลลัพธ์รวมเข้าสู่ศูนย์สุทธิ โดยก้าวไปไกลกว่าความเป็นกลางของคาร์บอน ด้วยการรวมกิจกรรมเพิ่มเติมภายใต้ขอบเขตของการปล่อยมลพิษทางอ้อม และมักรวมถึงเป้าหมายทางวิทยา ศาสตร์ในการลดมลพิษ ตรงข้ามกับการพึ่งพาแหล่งพลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียน แทนแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลแต่เพียงอย่างเดียว ..

สถานะคาร์บอนเป็นกลาง สามารถทำได้ 2 แนวทาง หรือการจะต้องใช้ทั้งสองวิธีพร้อมกันไป ..

การชดเชยคาร์บอน Carbon Offsetting คือ การปรับสมดุลการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยการชดเชยคาร์บอน  กระบวนการลด หรือหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศโดยตรง เพื่อชดเชยการปล่อยมลพิษในที่อื่น ๆ หากก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่ปล่อยออกมา เท่ากับจำนวนทั้งหมดที่หลีกเลี่ยง หรือกำจัดออกไปเก็บไว้ที่อื่น หรือนำไปใช้ประโยชน์อื่น ๆ ในภายหลังได้ ผลกระทบทั้งสองจะเข้าสู่ความเป็นกลาง หมายถึงการปล่อยสุทธิจะ ‘เป็นกลาง’ ด้วย ..

อีกแนวทางหนึ่ง ได้แก่ การลดการปล่อยมลพิษ Reducing Emissions หมายถึง การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน สามารถทำได้โดยมุ่งไปสู่แหล่งพลังงาน และกระบวนการทางอุตสาหกรรมที่ผลิตก๊าซเรือนกระจกน้อยลง ดังนั้นจึงเปลี่ยนไปสู่ เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ Low – Carbon Economy .. การเปลี่ยนไปสู่การใช้แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน เช่น พลังน้ำ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานชีวมวล และพลังงานแสงอาทิตย์ เช่นเดียวกับพลังงานนิวเคลียร์ ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Green House Gases : GHGs แม้ว่าการผลิตพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน จะปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่แหล่งพลังงานหมุนเวียน กลับผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียงเล็กน้อย และน้อยมากขนาดถึงเกือบเป็นศูนย์ ..

การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ ยังหมายถึงการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางอุตสาหกรรม และการ เกษตรในปัจจุบัน เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ตัวอย่างเช่น การปรับเปลี่ยนอาหารในปศุสัตว์ เช่น วัว ควาย สุกร หรือในฟาร์มเลี้ยงเป็ด ไก่ .. มันสามารถลดการผลิตก๊าซมีเทน CH4 ได้มากถึง 40 % .. โครงการธุรกิจค้าคาร์บอน และการซื้อขายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ เป็นมาตรการที่ได้ผลดีเช่นกัน เพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และบางครั้งก็สามารถป้องกันก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ส่วนใหญ่มิให้เข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้ ..

วิธีหนึ่งที่จะส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์คาร์บอนเป็นกลาง คือ การทำให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีราคาถูกลง และคุ้มค่ากว่าการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล .. บริษัทต่าง ๆ มากมาย ได้ให้คำมั่นที่จะให้คาร์บอนเป็นกลาง หรือติดลบ ภายในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 ซึ่งรวมถึง Microsoft, Delta Air Lines, BP, IKEA และ BlackRock อย่างไรก็ตาม หากปราศจากผลิตภัณฑ์คาร์บอนเป็นกลางที่ราคาถูกกว่า บริษัทต่าง ๆ ก็มักจะเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนน้อยลง .. ดังนั้น ตามที่ผู้เขียนเคยได้แสดงทัศนะไว้ มนุษยชาติมิได้มีปัญหาขาดแคลนพลังงาน ปัญหาด้านพลังงานสะอาดจริง ๆ ของเรา คือ เรื่องของราคา ..

เส้นทางสู่เป้าหมายการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ Net – Zero Emissions ภายในปี 2593 นั้นแคบ แต่มันให้ประโยชน์มหาศาล ..

ภาคพลังงานจะต้องแสดงบทบาทนำ .. แผนงานด้านพลังงานที่ครอบคลุมหลากหลายมิติครั้งแรกของโลก แสดงให้เห็นการดำเนินการภาครัฐของนานาประเทศในความมุ่งมั่นส่งเสริม กับเร่งกระบวนการไปสู่การใช้พลังงานสะอาด และลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น .. คาดหมายว่า มันจะสามารถสร้างงานนับล้าน ยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจ และรักษาภาวะศูนย์สุทธิ Net Zero ให้ไปสู่ความสำเร็จได้ ..

IEA เสนอแนะเส้นทางที่เป็นไปได้ในการสร้างภาคพลังงานสะอาดทั่วโลก ด้วยการปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 แต่มันอยู่ในกรอบแคบ และต้องการการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดินอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเกี่ยวกับกระบวนการผลิต การขนส่ง และการใช้พลังงานทั่วทั้งระบบของโลก ..

คำมั่นสัญญาด้านสภาพภูมิอากาศโดยรัฐบาลประเทศต่าง ๆ จนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ว่าจะบรรลุผลสำเร็จครบถ้วนก็ตาม แต่ก็อาจยังไม่เพียงพอต่อความต้องการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลกเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero ภายในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 .. อย่างไรก็ตาม หากความสำเร็จในภาคพลังงานมีความชัดแจ้งทั้งขนาด ปริมาณ และคุณภาพแล้ว โอกาสที่โลกจะสามารถจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกได้ ถึง 1.5 °C นั้น เชื่อมั่นว่าเป็นไปได้สูงพอ ตามรายงานฉบับใหม่ Net Zero ของ IEA ภายในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 : แผนงานสำหรับภาคพลังงานโลก ซึ่งผู้เขียนได้แนบมาท้ายข้อเขียนนี้ไว้ด้วยแล้ว ..

Getting to Net Zero & Even Net Negative is Surprisingly Feasible & Affordable | Credit : Berkeley Lab

รายงานฉบับนี้ เป็นการศึกษาที่ครอบคลุมหลากหลายมิติครั้งแรกของโลกเกี่ยวกับวิธีการเปลี่ยนมาใช้ระบบพลังงานสะอาด ปล่อยมลพิษศูนย์สุทธิ ภายในปี 2593 .. ในขณะเดียวกันก็รับประกันการจัดหาพลังงานที่มีเสถียรภาพ ราคาไม่แพง และสามารถเข้าถึงแหล่งพลังงานได้อย่างทั่วถึง รวมทั้งสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยกำหนดเส้นทางที่คุ้มค่า และให้ผลผลิตทางเศรษฐกิจคุณภาพที่ส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงาน ยืดหยุ่น สะอาด และควบคุมการผลิตจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน เป็นหลัก เช่น พลังน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ความร้อนใต้พิภพ และไฮโดรเจน แทนที่แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล .. รายงานยังตรวจสอบความไม่แน่นอนที่สำคัญ เช่น บทบาทของพลังงานชีวภาพ พลังงานชีวมวล ระบบการดักจับคาร์บอน และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้คนในอาคารสถานที่ ที่อยู่อาศัย เกษตรกร ผู้บริโภค ในการมุ่งไปให้ถึงเป้าหมายศูนย์สุทธิ Net Zero อีกด้วย ..

“แผนงานของเราแสดงให้เห็นถึงการดำเนินการตามลำดับความสำคัญที่จำเป็นในปัจจุบัน เพื่อให้มั่นใจในโอกาสการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์สำเร็จได้ ภายในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 .. ซึ่งแม้จะดูเหมือนอยู่ในกรอบแคบ แต่สิ่งที่ดำเนินการได้นั้น จะไม่สูญเปล่าหายไปไหน .. ขนาด และความเร็วของความพยายามไปสู่เป้าหมายสำคัญนี้ มันน่าตื่นเต้น และถือเป็นโอกาสที่ดีที่สุดของเราในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการจำกัดภาวะโลกร้อนไว้ที่ 1.5 °C ..

ทำให้สิ่งเหล่านี้ อาจกลายเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติเคยเผชิญมา” Fatih Birol ผู้บริหาร IEA กล่าวเสริมว่า “เส้นทางของ IEA สู่อนาคตที่สดใสนี้ นำมาซึ่งการลงทุนด้านพลังงานสะอาดครั้งประวัติ ศาสตร์ที่สร้างงานใหม่หลายล้านตำแหน่ง และยกระดับการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก .. การเคลื่อนย้ายโลกไปสู่เส้นทางนี้นั้น จำเป็นต้องมีการขับเคลื่อนจากนโยบายภาครัฐ ภาคเอกชน ที่เข้มแข็งและน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะจากรัฐบาลของนานาประเทศ รวมทั้งการสนับสนุนจากความร่วมมือระหว่างประเทศที่มากขึ้นด้วย” ..

ทั้งนี้ ด้วยเครื่องมือ และความเชี่ยวชาญของ IEA ในการสร้างแบบจำลองพลังงานที่ไม่มีใครเทียบได้ .. IEA Roadmap ได้กำหนดเหตุการณ์สำคัญมากกว่า 400 รายการ เพื่อให้ได้แนวทางดำเนินแผนงานของทั่วโลกสู่ศูนย์สุทธิภายในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 .. ซึ่งหมายรวมถึง ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะไม่มีการลงทุนในโครงการจัดหาเชื้อเพลิงฟอสซิลใหม่ ๆ และไม่มีการลงทุนขั้นสุดท้ายเพิ่มเติมใด ๆ การตัดสินใจสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งใหม่จะต้องหยุดลง .. ภายในปี 2035 จะไม่มีการซื้อขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิลคันใหม่อีกต่อไป และภายในปี 2040 คาดหมายตามแผนว่า ภาคการผลิตกำลังไฟฟ้าทั่วโลก จะเข้าสู่การปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์ สำเร็จได้ในที่สุด ..

ในระยะเวลาอันใกล้ รายงานฉบับนี้ อธิบายถึงเส้นทางสู่ศูนย์สุทธิที่ต้องมีการปรับใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด และมีประสิทธิภาพทั้งหมดปัจจุบันในทันที ร่วมกับการผลักดันครั้งใหญ่ระดับโลกเพื่อเร่งสร้างนวัตกรรม ในแนวทางนี้ .. นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้มีการเพิ่มเซลล์แสงอาทิตย์ประจำปีเพื่อให้ถึง 630 GW ภายในปี 2573 และพลังงานลมให้สูงถึง 390 GW .. ซึ่งเมื่อรวมกันแล้ว นี่คือระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึงสี่เท่าจากปี 2563 .. สำหรับโซลาร์ PV นั้นเทียบเท่ากับการติดตั้ง Solar Park ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบัน โดยประมาณทุกวัน ..

การผลักดันทั่วโลกครั้งใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งของความพยายามเหล่านี้เช่นกัน ส่งผลให้อัตราการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั่วโลกเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 4 % ต่อปีจนถึงปี 2030 หรือ พ.ศ.2473 ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยถึงสามเท่าในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ..

การลดการปล่อย CO2 ทั่วโลกส่วนใหญ่ระหว่างปัจจุบันนี้จนถึงปี 2573 ในเส้นทางสู่ศูนย์สุทธินั้น มาจากเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่พร้อมใช้งานในปัจจุบัน .. แต่ในปี 2593 การลดลงของการปล่อย CO2 สู่บรรยากาศเกือบครึ่งหนึ่ง มาจากเทคโนโลยีที่ยังคงอยู่ในช่วงการสาธิต ทดลอง หรือเป็นต้นแบบ เท่านั้น .. สิ่งเหล่านี้เรียกร้องให้ภาครัฐ เพิ่ม และจัดลำดับความสำคัญของงบประมาณการวิจัย และพัฒนา เพื่อเร่งกระบวนการให้รวดเร็ว รวมถึงเริ่มแผนงานปรับเปลี่ยนไปใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดทดแทนแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในเร็ววัน สอดคล้องกับแนวทางภาครัฐ ในการกำหนดนโยบายด้านพลังงาน และการปกป้องสภาพอากาศ เพื่อสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ..

ความคืบหน้าในพัฒนาการแบตเตอรี่ขั้นสูงรูปแบบต่าง ๆ ระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ เครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือน อิเล็กโทรไลเซอร์สำหรับไฮโดรเจน เซลล์เชื้อเพลิง ตัวเก็บประจุยิ่งยวด รวมทั้งระบบการดักจับและจัดเก็บ CO2 โดยตรงจากบรรยากาศ สามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้เป็นพิเศษ และมันกลายเป็นความจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ ..

การเปลี่ยนแปลงของขนาด และความเร็วในเรื่องดังกล่าว จะไม่สามารถทำได้โดยปราศจากการสนับสนุน และการมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืนจากภาคประชาชน ซึ่งได้รับผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตโดยตรงในหลาย ๆ ด้าน ..

“การเปลี่ยนแปลงไปสู่การใช้พลังงานสะอาด มีไว้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่า และเกี่ยวข้องกับผู้คนทุก ๆ คน” ดร. Birol กล่าวยืนยัน “แผนงานของเราแสดงให้เห็นชัดเจนว่า ความท้าทายมหาศาลในการเปลี่ยนไปใช้ระบบพลังงานสะอาด ปล่อยมลพิษสุทธิเป็นศูนย์อย่างรวดเร็วนี้นั้น ได้กลายเป็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่สำหรับระบบเศรษฐกิจของมนุษยชาติเช่นกัน ..

การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จะต้องเดินหน้าไปอย่างยุติธรรม และครอบคลุมทุกมิติ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เราต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าประเทศกำลังพัฒนาได้รับเงินทุน และความรู้ทางเทคโนโลยีที่พวกเขาต้องการอย่างพียงพอ เพื่อสร้างระบบพลังงานรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของประชากร และระบบเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอย่างยั่งยืนในอนาคต”

การจัดหากำลังไฟฟ้าให้กับผู้คนประมาณ 785 ล้านคนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ และข้อไขการผลิตอาหารที่สะอาดแก่ผู้คน 2.6 พันล้านคนที่ขาดแคลน เป็นส่วนสำคัญของเส้นทางศูนย์สุทธิ Net Zero ของ Roadmap .. ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ อยู่ที่ประมาณ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี เท่ากับประมาณ 1 % ของการลงทุนในภาคพลังงานเฉลี่ยต่อปี .. นอกจากนี้ มันยังนำประโยชน์ด้านสุขภาพที่สำคัญจากการลดมลพิษทางอากาศภายในอาคาร ลดจำนวนผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ถึง 2.5 ล้านคนต่อปี ..

การลงทุนด้านพลังงานทั้งหมดต่อปีเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 ในเส้นทางสู่ศูนย์สุทธิ Net Zero และมันจะขับเคลื่อนอัตราการเติบโตของ GDP ทั่วโลกให้เพิ่มขึ้น 0.4 % ต่อปี โดยอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลร่วมกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF .. คาดหมายว่า การใช้จ่ายภาครัฐ และเอกชนที่พุ่งสูงขึ้น สามารถสร้างงานใหม่ ๆ หลายล้านงานในด้านพลังงานสะอาด รวมถึงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เช่นเดียวกับในภาคอุตสาหกรรม วิศวกรรม เกษตรกรรม การผลิต และการก่อสร้าง .. ทั้งหมดเหล่านี้ จะทำให้ GDP โลกสูงขึ้น 4 % ในปี 2030 หรือ พ.ศ.2573 ซึ่งมากกว่าที่จะไปถึงได้ด้วยแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลตามแนวโน้มในปัจจุบัน ..

ดังนั้น คาดหมายได้ว่า ภายในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 โลกของพลังงานจะดูแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง ความต้องการพลังงานทั่วโลกน้อยกว่าในปัจจุบันประมาณ 8 % แต่จะกลับสามารถรองรับระบบเศรษฐกิจโลกได้มากกว่าสองเท่า และประชากรที่เพิ่มขึ้นอีกด้วย ..

การมีส่วนร่วมของไทยสู่ Net Zero ในเวทีระหว่างประเทศ และอาเซียน ..

การประชุมสุดยอดผู้นำระดับโลกด้านความยั่งยืน ประจำปี 2564 ปีนี้ หรือ UN Global Compact Leaders Summit 2021 โดยซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 – 16 มิถุนายน 2564 ในรูปแบบการประชุมเสมือนจริงทางออนไลน์ ที่มีผู้นำองค์กรธุรกิจ ภาครัฐ และองค์กรความยั่งยืน ตลอดจนนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนทางเศรษฐกิจจากทั่วโลกเข้าร่วมงานกว่า 25,000 คน ..

สำหรับปีนี้ Global Compact Network Thailand : GCNT ได้ร่วมจัดฟอรั่มใหญ่ระดับโลกด้วย ถือเป็นวาระสำคัญของประเทศไทยที่ได้แสดงบทบาท และเจตจำนงการมีส่วนร่วมในการลดโลกร้อนกับนานาประเทศทั่วโลก โดยมีตัวแทนผู้บริหารองค์กรธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย เช่น นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ CP Group ได้ร่วมขึ้นเวทีหลัก และแบ่งปันวิสัยทัศน์ภาคเอกชนไทยต่อเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emission ..

นอกจากนี้เครือเจริญโภคภัณฑ์ CP Group ยังได้รับเชิญให้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดเสวนาบนเวทีระดับโลกในหัวข้อ “การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกษตร และอาหาร ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์” หรือ “Southeast Asia’s Net Zero Transformation for Agriculture & Food Sector” เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2564 ที่ผ่านมาอีกด้วย ..

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีประกาศคำสัญญาสำคัญบางประการเกี่ยวกับการดำเนินการด้านสภาพอากาศ โดยรัฐบาลไทย ได้ให้คำมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 20 – 25% ภายในปี 2573 .. แผนงานในการส่งเสริมการให้รถยนต์ทุกคันที่จำหน่ายในประเทศใช้ไฟฟ้าภายในปี 2578 และการส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ กลยุทธ์เศรษฐกิจพลังงานหมุนเวียน และ เศรษฐกิจสีเขียว BCG Strategy หนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 .. นอกจากนี้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขึ้น เพื่อให้การกำกับดูแลภาครัฐ สามารถแสดงบทบาทนำในการดำเนินนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้สำเร็จ ..

สำหรับภาคเอกชนของไทย หนึ่งในกลุ่มบริษัทที่ใหญ่ที่สุด คือ เครือเจริญโภคภัณฑ์ CP Group ได้ประกาศเป้าหมายสุทธิเป็นศูนย์ เมื่อปีที่แล้วอย่างกล้าหาญ .. การยอมรับของ CP Group ในวาระเร่งด่วนระดับโลกนี้ ร่วมกับบริษัทขนาดใหญ่อื่น ๆ อีกกว่า 1,000 แห่งทั่วโลก ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อความร่วมมือภาครัฐเอกชนที่จะเดินหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ..

ในภาคพลังงานนั้น ทุกคนทราบดีว่า มันมีสัดส่วนความรับผิดชอบสูงที่สุด อย่างไรก็ตามภาคการเกษตรก็มีความสำคัญเช่นกัน .. เกษตรกรรม ป่าไม้ และการใช้ที่ดิน มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ด้วยสัดส่วนประมาณเฉลี่ย 18.4 % ทั่วโลก ขณะที่ภาคพลังงาน ไฟฟ้า ความร้อน และการขนส่ง มีสัดส่วนเฉลี่ยอยู่ที่ 73.2 % .. ดังนั้น การที่บริษัทเอกชนที่มีศักยภาพของไทย เช่น CP Group ให้ความสำคัญในเรื่องการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเกษตร และอาหาร ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นั้น จึงถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนในชาติไปสู่อนาคตที่ดีกว่า ..

การนำเสนอเป้าหมาย Race to Zero ของประเทศไทย .. โครงการ และแผนงานต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาร่วมกันโดยกระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และภาคเอกชน .. อย่างไรก็ตาม สำหรับวิสัยทัศน์ศูนย์สุทธิ Net Zero ที่จะประสบความสำเร็จ และส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมาย และครอบคลุมทุกประเด็นปัญหาอย่างแท้จริงนั้น ต้องการการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และภาคประชาชนทั่วทั้งระบบ ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ในทุกภาคส่วน .. Race to Zero กับการเป็นผู้นำของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของไทยในบริบทการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์นั้น มีความสำคัญยิ่ง .. มันจะกลายเป็นตัวกำหนดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตอีกด้วย ..

สรุปส่งท้าย ..

ศูนย์สุทธิ Net Zero หมายถึง ความสมดุลระหว่างปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่บรรยากาศ กับปริมาณที่ดักจับออกจากบรรยากาศ ไปถึงศูนย์สุทธิ แต่เราจะบรรลุเป้าหมายนี้ได้อย่างไร และเหตุใดมันจึงสำคัญนัก ..

การที่นานาประเทศ และบริษัทเอกชน ไปจนถึงปัจเจกบุคคลทั่วโลก มุ่งมั่นสู่การบริหารจัดการต่อปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในวาระการประชุมที่เกี่ยวข้องกับสภาวะโลกร้อนของสหประชาชาติ .. แนวทาง และมาตรการแก้ปัญหาจากนี้ไป ได้แก่ การมุ่งไปสู่การปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ Net Zero Emissions ที่กำหนดเป้าหมายเป็นศูนย์สุทธิภายในปี 2593 ..

ภาวะโลกร้อน เป็นภัยคุกคามร้ายแรงของโลก การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศจากกิจกรรมของมนุษยชาติ กลายปัญหาสำคัญที่สุดที่ทำอุณหภูมิโลกให้ร้อนขึ้นแทนที่มันควรจะเย็นลง .. ก๊าซเรือนกระจก Green House Gases : GHGs ในชั้นบรรยากาศที่มากเกินไป คือ ตัวการหลักทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนที่เป็นอันตราย .. ดังนั้น สิ่งที่ทำได้เพื่อลดปริมาณก๊าซเหล่านี้ในบรรยากาศไปสู่ศูนย์สุทธิ Net Zero มีสองวิธี ได้แก่ ลดการปล่อยมลพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศจากกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจสังคม เช่น กระบวนการทางอุตสาหกรรม การผลิตกำลังไฟฟ้า การขนส่ง และการเกษตรกรรม กับอีกวิธีหนึ่ง คือ การกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากบรรยากาศไปเก็บไว้ในที่ปลอดภัย หรือนำไปใช้ประโยชน์อื่นต่อไป เช่น ระบบดักจับคาร์บอนในกระบวนการทางอุตสาหกรรมก่อนปล่อยของเสียที่เหลือสู่สิ่งแวดล้อม หรือดักจับมันจากบรรยากาศโดยตรง ..

โดยทั่วไป การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกมาจากแหล่งกิจกรรมของมนุษย์แบ่งตามภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ ภาคพลังงาน Energy : Electricity Heat & Transport หมายถึง กระบวนผลิตกำลังไฟฟ้าทั่วทั้งระบบ ความร้อน และการขนส่ง มีสัดส่วนใหญ่มากสุดที่ 73.2 % .. ภาคเกษตรกรรม ป่าไม้ และการใช้ที่ดิน Agriculture, Forestry and Land Use ประมาณ 18.4 % .. กระบวนการทางอุตสาหกรรมโดยตรง Direct Industrial Processes สัดส่วน 5.2 % และของเสีย Waste ประมาณ 3.2 % ..

ในทางเทคโนโลยีนั้น สิ่งที่ IEA เสนอตามรายงานฉบับนี้ ชี้ให้เห็นว่า ภาคพลังงานโลก ถือว่ามีโอกาสเดินหน้าไปสู่เป้าหมายศูนย์สุทธิได้สูงกว่าภาคส่วนอื่น ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ ต้นทุนพลังงานสะอาด และระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ ที่มีแนวโน้มราคาลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การค่อย ๆ ยกเลิกการใช้แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล และเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน ทดแทนนั้น เป็นไปได้ไม่ยากนัก ..

Climate Change & Farming / Synthetic Fuels | An Alternative for Decarbonizing Mobility | Credit: NFU National Farmers Union / Repsol

คุณภาพที่สูงขึ้น และราคาที่ลดลง ของเซลล์แสงอาทิตย์ กังหันลม และชุดแบตเตอรี่รุ่นใหม่ ๆ ในตลาด กับต้นทุนที่ลดลงเรื่อย ๆ ของพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน รวมถึงเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจน กำลังเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจและสังคมของมนุษยชาติไปตลอดกาล .. การพึ่งพาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน หรือจากหินภูเขาดินดาน รวมถึงเชื้อเพลิงถ่านหินด้วยนั้น กำลังจะกลายเป็นอดีต .. และถึงแม้มันอาจจะมาถึงในเวลานานกว่า 10 – 15 ปีจากนี้ไปก็ตาม แต่ด้วยปัจจัยราคาต้นทุนในระบบพลังงานสะอาดกว่าที่ค่อย ๆ ลดลงต่อเนื่อง ความมุ่งมั่นของมนุษยชาติทั่วโลกเพื่อให้แนวคิด Net Zero Emissions Society ในปี 2050 หรือ พ.ศ.2593 บรรลุสู่ความสำเร็จ จึงเป็นไปได้ในที่สุด ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ..

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย เป็นประเทศเกษตรกรรม การที่เอกชนไทยให้ความสนใจต่อการมุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero ในภาคการเกษตร และการผลิตอาหารนั้น ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่ยอดเยี่ยม ความริเริ่มดำเนินการก่อน และแสดงบทบาทนำในภูมิภาค จะกลายเป็นรูปแบบตัวอย่างที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร และประชาชนคนไทย ไปสู่อนาคตที่ดีกว่าได้สำเร็จในที่สุด ..

ทั้งนี้ เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรปลอดสารพิษ คาร์บอนต่ำ ของไทย คือ ข้อไขไปสู่เป้าหมาย Net Zero สำหรับประเด็นการปลูกพืชสวน พืชไร่ และเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่เกษตรกรรม การผลิตอาหาร และการจัดการที่ดินของประเทศ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมของชาติในอนาคต เดินหน้าไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน Sustainable Development Goals อย่างมีคุณภาพได้ต่อไป ..

ดังนั้น  .. การเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานทางเลือก การปรับเปลี่ยนไปสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ปลอดสารพิษ คาร์บอนต่ำ ..  รวมทั้งการพิจารณาลงทุนกับ Carbon Capture, Utilisation & Storage : CCUS ถือเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้เช่นกัน แม้ว่ามันจะทำให้ต้นทุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เพิ่มขึ้นก็ตาม หากเราจะยังคงจำเป็นใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือแบบผสมผสานอยู่ต่อไป รวมทั้งการดูดซับคาร์บอนในพื้นที่เกษตรกรรม และที่อยู่อาศัย เป็นต้นนั้น กลายเป็นความจำเป็น ..

คาดหมายว่า ในกระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ มันจะขับเคลื่อนอัตราการเติบโตของ GDP ทั่วโลกให้เพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 0.4 % ต่อปี .. ทั้งนี้ ภาพรวมทั้งหมด หากรวมผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และผลผลิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจและสังคมด้วยแล้ว GDP ทั่วโลกจะถูกผลักให้สูงขึ้น 4 % ในปี 2030 หรือ พ.ศ.2573 ซึ่งมากกว่าที่จะไปถึงได้ด้วยแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลตามแนวโน้มในปัจจุบัน ..

การเคลื่อนย้ายโลกไปสู่เส้นทางศูนย์สุทธิ Net Zero นี้นั้น การประชุม UN Climate Change Conference of the Parties : COP26 in Glasgow ในปลายปีนี้ มีความสำคัญยิ่ง .. เอกสาร Net Zero by 2050 | A Roadmap for the Global Energy Sector ของ IEA นี้ ถือเป็น Guide Lines ของภาคพลังงานโลกสำหรับเส้นทางตัวอย่างสู่เป้าหมายศูนย์สุทธิ ที่บรรดาผู้นำประเทศ บริษัทเอกชนชั้นนำ และผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย สามารถใช้อ้างอิงศึกษา เพื่อให้ผลลัพธ์สุดท้ายของการประชุมฯ ได้มาซึ่ง Road Map ในภาพรวมไปสู่เป้าหมายศูนย์สุทธิที่ตั้งอยู่บนความยุติธรรม เข้มงวด และชัดเจนโปร่งใส มากกว่าที่ผ่านมาได้ต่อไป ..

อย่างไรก็ตาม นอกจากความต้องการการขับเคลื่อนจากนโยบายภาครัฐ ภาคเอกชน ที่เข้มแข็งและน่าเชื่อถือ โดยเฉพาะจากรัฐบาลของนานาประเทศ รวมทั้งความร่วมมือระหว่างประเทศที่มากขึ้นด้วยแล้ว การสนับสนุน และการยอมรับจากภาคประชาชน หรือภาคสังคม เป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่จะเป็นแรงผลักให้โลกไปสู่เส้นทางศูนย์สุทธิ Net Zero ในปี 2593 ได้สำเร็จในที่สุด ..

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Net Zero by 2050 – Analysis | IEA :-

Net Zero by 2050 .. A Roadmap for the Global Energy Sector .. by IEA :-

Net Zero: Why is it Necessary? | Energy & Climate Intelligence :-

What does “Net Zero Emissions” Mean? | My Climate :-

Net – Zero Emissions Targets are Vague: Three Ways to Fix :-

Net Zero by 2050: A Roadmap for the Global Energy Sector | IEA :-

Pathway to critical and formidable goal of net – zero emissions by 2050 is narrow but brings huge benefits, according to IEA special report | IEA:-

CP ดันไทยผู้นำธุรกิจเกษตรอาหาร ‘อาเซียน’ ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ :-

Net – Zero Agriculture in 2050 : How to get there? | THE INSTITUTE FOREUROPEAN ENVIRONMENTAL POLICY :-

Getting to Net Zero Carbon Emissions – and Even Net Negative – Is Surprisingly Feasible and Affordable :-

Global GHG Emissions by Sector Chart :-

Net Zero Coalition | United Nations :-

WHAT IS NET ZERO AND HOW TO GET THERE? | Thailand :-

NASA: Climate Change and Global Warming :-

The Effects of Climate Change | NASA :-

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img