กรมวิทย์ฯ เผยสายพันธุ์เดลตากระจายทุกเขตกทม. 52% แซงหน้าสายพันธุ์อัลฟา ส่วนสายพันธุ์เบตาเพิ่มมา 50 กว่ารายในนราธิวาสและจังหวัดใกล้เคียง
เมื่อวันที่ 5 ก.ค. 64ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงความคืบหน้าสายพันธุ์โควิด 19 ที่ระบาดในประเทศไทยขณะนี้ โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตรวจสายพันธุ์ในภาพรวมประเทศพบว่าสายพันธุ์เดลตาขึ้นมาเป็น 32.2% ส่วนใหญ่ อยู่ในกทม. และจังหวัดปริมณฑล
ซึ่งกทม.พบสัดส่วนเพิ่มมากถึง 52.2% มากกว่าสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) ถือว่าเป็นการเข้ามาค่อนข้างเร็วกว่าที่คาดการณ์เล็กน้อย ในขณะที่ต่างจังหวัดก็ขึ้นค่อนข้างเร็วพบแล้ว 18 % ของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมดในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยพบใน 47 จังหวัด อย่างพื้นที่ ภาคใต้เดิมไม่มีเดลตา ล่าสุด ก็พบอยู่ในหลายจังหวัดเช่น สุราษฎร์ธานี เป็นต้น ขณะที่ภาคอีสานโดยเฉพาะจังหวัดอุดรธานีที่พบค่อนข้าง
“เชื้อเดลตาในพื้นที่กทม. 52% กระจายอยู่ในทุกเขต ทางตอนเหนือแชมป์หลักสี่ไปทางทิศตะวันตกตอนล่างมากพอสมควรและกระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯดังนั้นค่อนข้างจะบอกได้ว่าสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในกรุงเทพฯขณะนี้คือสายพันธุ์อินเดียหรือสายพันธุ์เดลต้า” นพ.ศุภกิจ กล่าว
ส่วนสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) สัปดาห์นี้เพิ่มมา 50 กว่ารายแต่ยังจำกัดวงอยู่ที่จังหวัดนราธิวาสมีกระจายไปจังหวัดใกล้เคียงอยู่พอสมควรที่ สุราษฎร์ธานีมีคอนเฟิร์ม 1 นครศรีธรรมราช 3 รายกระบี่ 1 ราย ส่วนกรุงเทพฯเพิ่มอีก 2 รายซึ่งเป็นญาติของรายแรกที่พบการติดเชื้อนี่ หมายความว่าพื้นที่กรุงเทพฯยังไม่ได้มีการกระจายไปไหนแต่ยังเป็นผู้ที่ติดจากรูปที่มาจากจังหวัดนราธิวาส
สำหรับวัคซีนที่มีการฉีดไปแล้วนั้นต่อสายพันธุ์ดั้งเดิมเพราะว่ากลุ่มขึ้นสูงมาก ส่วนประสิทธิภาพต่อกับการป้องกันเชื้อกลายพันธุ์อย่างไรนั้น ขณะนี้จึงวางแผนทดลอง หลายรูปแบบในกลุ่มผู้ที่ได้รับวัคซีนตามสูตรต่างๆ ทั้งซิโนแวค , แอสตร้าเซนเนก้า, ไฟเซอร์ ที่อาจจะไปรับมาจากต่างประเทศ รวมถึงการฉีดข้ามชนิด เป็นต้น.