วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight‘สธ.’ตัดพ้อ‘ไม่เป็นธรรมกับคนทำงาน’ โดนโจมตี‘ทำงานไม่เป็นระบบ-ทุจริต’
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘สธ.’ตัดพ้อ‘ไม่เป็นธรรมกับคนทำงาน’ โดนโจมตี‘ทำงานไม่เป็นระบบ-ทุจริต’

“อธิบดีกรมวิทย์ฯ” ตัดพ้อ “สธ.” โดนโจมตีด้วยข้อมูลเท็จ ไม่เป็นธรรมกับคนทำงาน กล่าวหาทำงานไม่มีระบบ โยนข้อทุจริตจัดซื้อวัคซีน-มีเงินทอน ยันสธ.ไม่มีเรื่องทุจริตเด็ดขาด ย้ำมีการเจรจาตลอด แต่ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง มีการกลายพันธุ์ หลายเรื่องคาดเดาไม่ได้ ทำให้ต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลงตลอด

เมื่อวันที่ 21 ก.ค.64 ที่กระทรวง​สาธารณสุข​ นพ.ศุภกิจ ​ศิริ​ลักษณ์​ อธิบดี​กรม​วิทยา​ศาสตร์​การแพทย์​ เปิดเผยว่า ช่วงที่ผ่านมา มีการวิพากษ์​วิจารณ์​การทำงานของรัฐบาล และกระทรวง​สาธารณ​สุข​ ในเรื่อง “การจัดหาวัคซีน​” เราเข้าใจความรู้สึกของพี่น้องประชาชนที่ยังรอคอยวัคซีน​อยู่ โดยข้อมูล​บางอย่างที่ได้มีการพูด​กัน ​อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน​ เนื่องจากมีข้อมูลน้อย เช่น เราไม่มีระบบกลไกที่ดีในการจัดหาวัคซีน ทำงานไม่มีระบบ หรือวัคซีนไม่มีคุณภาพ หลายเรื่องไม่ค่อยเป็นธรรมกับผู้ทำงานกันอย่างหนักหน่วง เมื่อสิ่งที่เราดำเนินการไม่เป็นไปตามที่ท่านคาดหวัง​ ท่านจะโยนข้อหาทุจริต เงินทอน โดยไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ทำงาน ยืนยันว่าขณะนี้กระทรวงสาธารณสุข ตรวจ​สอบ​ได้ และเราไม่มีเรื่องทุจริตอย่างเด็ดขาด

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า หลายฝ่ายบอกว่า ทำไมเมื่อมีการเจรจา จึงไม่เปิดผลการเจรจาทุกนัดให้ประชาชนทราบ จะได้โปร่งใส เรียนว่าจากหลักการ การเจรจากับผู้ผลิต​วัคซีน​รายใดก็ตาม มีสิ่งที่เราต้องตกลงกับเขาก่อน คือสัญญาที่จะไม่เอาข้อความที่เจรจากัน เพราะมีผลหลายอย่าง ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายต้องถามไถ่ซึ่งกันและกัน​ เพราะถ้านำข้อมูลที่ได้มีการเจรจาเปิดเผยทุกนัด ก็จะเกิดผลเสีย และเขาก็จะเลิกเจรจากับเรา ที่สำคัญการเปิดเผยผลการเจรจาดังกล่าวออกไป มีหลายกรณีที่เกิดผลร้าย เช่น ตอนที่เรามีเคสระบาด แล้วเราขอให้ทางแอสต​ร้า​เซน​เน​ก้า​ ได้พยายามจัดหาวัคซีนจากแหล่งผลิตอื่นมาให้เราก่อน เพราะในสัญญาจะเริ่มส่งเดือนมิ.ย. แต่เรารอไม่ได้ โดยเขาพยายามตัดล็อตวัคซีนมาจากยุโรป พอข่าวออกไปทางยุโรป สั่งห้ามโรงงานที่อิตาลีไม่ให้ส่งวัคซีน​ให้เราทันที แล้วเราก็ไม่ได้วัคซันในล็อตนั้น จึงเป็นตัวอย่างว่า สิ่งเหล่านี้เราต้องรักษาประโยชน์​ของ​ประเทศชาติ​สูงสุด

นพ.ศุภกิจ​ กล่าว​อีกว่า​ กลไกกระทรวง​สาธารณสุข​ที่ใช้​ดำเนินการ​มี 2 ส่วน 1.เป็นกลไกตามกฎหมาย​ เรามีพ.ร.บ.​วัคซีน​ คณะกรรมการ​วัคซีน​แห่งชาติ​ คณะกรรมการ​บริหาร​สถาบัน​วัคซีน​ พ.ร.บ.โรคติดต่อ​ปี 2558 ซึ่งมีกลไกคณะกรรมการ​โรคติดต่อ​แห่งชาติ​ ภายใต้กลไกนี้ เกี่ยวข้องกับการจัด​หาวัคซีน​ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนั้นการจะดำเนินการ​ซื้ออะไร​เท่าไหร่​ อย่างไร ก็มีการเอามาชี้แจงพูด​คุ​ยกัน​ เพื่อคณะกรรมการ​ที่ว่าเห็นชอบ 2.กลไกบริหารราชการ​แผ่นดิน โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข​ ได้ตั้งคณะกรรมการ​ มีปลัดกระทรวง​สาธารณสุข​ เป็นประธาน มีผู้แทนต่างๆ ที่สำคัญ ทั้งองค์การ​อาหารและยา (อย.)​ กรมควบคุม​โรค ผอ.สถาบัน​วัคซีน​ เลขา​หลักประกัน​สุขภาพ​แห่งชาติ ​(สปสช.)​ และองค์การ​เภสัชกรรม อีกทั้งมีคณะทำงานภายใต้คณะกรรมการชุดดังกล่าว​อีก 2 คณะ โดยคณะแรกเจรจากับแอสตร้าเซน​เน​ก้า​ อีกคณะเจรจากับโคแวกซ์​ ซึ่งในขณะนั้นเรามองว่าเป็นช่องทางหนึ่งที่จะเป็นแหล่งวัคซีน นอกจากนี้ยังมีคณะกรรมการที่นายก​รัฐมนตรี​ได้ตั้งขึ้น เพื่อจัดหาวัคซีน​ทางเลือก​ให้กับคนไทย

วัคซีนไม่ใช่ของทั่วไป​ ไม่ใช่สินค้าที่จะหาโดยง่าย และตลาดยังเป็นของผู้ขาย ที่มีสิทธิ​กำหนดเรื่องต่างๆ การผลิต​ไม่​เพียงพอ​ แม้กระทั่งโคแวกซ์ที่มีหลายคนบอกว่า ทำไมเราไม่เข้า ตอนนี้ก็มีวัคซีนไม่มากพอที่ได้วางแผนเอาไว้ นอกจากนี้สถานการณ์​ที่เปลี่ยนแปลง​ไป ทั้งการกลายพันธุ์​ก็ดี ก็ทำให้สิ่งที่เราวางแผนต้องปรับปรุง เปลี่ยนแปลง​ แล้วก็จะมีการเจรจากับหลาย​ๆ ฝ่าย​ตลอดเวลา ฉะนั้นกลไกที่มีนั้นเข้มแข็ง​ และมากพอที่จะดำเนินการ เพื่อให้ได้วัคซีนมาถึงคนไทยได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้”นพ.ศุภกิจ​ กล่าวและว่า ขอให้ประชาขนเชื่อมั่นในทีมคณะ​ทำงานว่า เราทำงานบนหลักฐานวิชาการ การบริหาร ข้อแนะนำใดๆ ที่มีให้เราในทางที่เป็นประโยชน์ เพื่อปรับปรุงการทำงาน เราน้อมรับ เพียงแต่ข้อแนะนำบางอย่าง อาจจะไม่เป็นธรรม ขอให้นึกถึงสถานการณ์​ในวันที่เราตัดสินใจล่วงหน้า ที่หลายเรื่องเราไม่อาจคาดเดาล่วงหน้าได้ เช่น ที่มีการโจมตีวัคซีนซิโนแวค ถ้าเดือนก.พ. 2564 เราไม่มีซิโนแวคฉีดให้กับประชาชน จะเกิดอะไรขึ้น และวันนี้พิสูจน์แล้วว่าคนที่ได้รับซิโนแวค 2 เข็ม จำนวนมากไม่ป่วยหนัก จึงขอให้ท่านพิจารณาอย่างครบถ้วน เราพร้อมที่จะทำงานหนักเพื่อให้ได้วัคซีนมาตามที่ควรจะเป็นมากที่สุดเท่าที่เป็นไปตาม

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img