วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“สธ.”ชี้หากเพิกเฉยมาตรการป้องกันโควิด อาจติดเชื้อพุ่งวันละ 3 หมื่นราย
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สธ.”ชี้หากเพิกเฉยมาตรการป้องกันโควิด อาจติดเชื้อพุ่งวันละ 3 หมื่นราย

‘’ ปลัดสธ.’’เผยหมดฤทธิ์ล็อคดาวน์ ไทยอยู่ตรงทางแยก “ปลัดสธ.” คาดหากไทยเฉยยอดติดเชื้อพุ่งใหม่วันละ 3 หมื่นราย แต่ถ้าช่วยกันดึงยอดต่ำกว่า 5 พันรายต่อวัน ปีใหม่คลี่คลาย

เมื่อวันที่ 7 ต.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์โรคโควิด 19 และมาตรการ COVID Free Setting ว่า เมื่อวิเคราะห์สถานการณ์การติดเชื้อของไทยพบว่า สถานการณ์ในกทม.และปริมณฑล มีแนวโน้มลดลง โดยเฉพาะกทม.ค่อยๆ ลดลงตามลำดับ การติดเชื้อต่ำลงเรื่อยๆ อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ส่วนต่างจังหวัดตัวเลขการติดเชื้อค่อยๆ ลดลงช้าๆ ยกเว้น 4 จังหวัดชายแดนใต้ ที่พบว่ามีการระบาดเพิ่มมากขึ้นที่ต้องความพยายามควบคุมป้องกันโรคให้ได้ ทั้งการปูพรมฉีดวัคซีนให้มีความครอบคลุม การค้นหาผู้ติดเชื้อ แยกตัว เพื่อลดจำนวนผู้ติดเชื้อ ไม่เช่นนั้นจะเกิดการระบาดเหมือนในกทม.

จากการติดตามสถานการณ์ในพื้นที่พบว่ามีการติดเชื้อทั้ง 3 สายพันธุ์ ทั้งเบตา อัลฟา และเดลตา ดังนั้นจึงมีการจัดสรรควัคซีนลงไปเพิ่มทั้งซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ ซึ่งถึงแม้ว่าจะมีเชื้อทั้ง 3 สายพันธุ์ แต่การฉีดวัคซีนยังเป็นสูตรมาตรฐานของประเทศ เพราะสามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูง แม้ว่าบางสายพันธุ์เปอร์เซ็นต์อาจจะลดลงบ้าง แต่ก็ป้องกันอาการรุนแรงได้

อย่างไรก็ตาม ความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนในพื้นที่ภาคใต้ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการมากนัก จึงขอความร่วมมือกับผู้นำศาสนาให้ช่วยเรื่องการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ด้วย ส่วนมาตรการล็อคดาวน์ นั้นก็ได้ให้เป็นนโยบายเอาไว้ หากยังควบคุมโรคไม่ได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เรามีมาตรการต่างๆ แล้ว คาดว่า 1 เดือนหลังจากนี้สถานการณ์คงจะดีกว่านี้ขึ้นมาก แต่สิ่งสำคัญคือความร่วมมือของทุกฝ่ายในพื้นที่

 

สำหรับสถานการณ์เตียงในภาคใต้ยังเพียงพอรองรับผู้ป่วยได้ เพราะปัจจุบันมีการครองเตียงอยู่ 60% ขณะเดียวกันก็มีการเปิดรพ.สนามขนาดใหญ่เอาไว้รองรับ แต่ก็ประมาทไม่ได้ เพราะมีตัวอย่างที่รพ.บุษราคัม ซึ่งเปิดมาเป็นรพ.ขนาดใหญ่ แต่ไม่นานก็เต็ม ดังนั้นทางที่ดีคือต้องเร่งควบคุมโรคโดยมีการส่งยาฟาวิพิราเวียร์ลงไป กว่า 1 ล้านเม็ด และชุดตรวจ ATK จำนวนมาก

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวว่า ตอนนี้ประเทศไทยกำลังอยู่ตรงทางแยก เพราะประสิทธิผลของการล็อคดาวน์ก่อนหน้านี้น่าจะหมดแล้ว  ดังนั้นจากนี้หากเราไม่ทำอะไรก็จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกมีการคาดการณ์ว่าน่าจะถึง 3 หมื่นรายต่อวัน เพราะมีการผ่อนคลายกิจกรรม แต่หากมีมาตรการต่างๆ และร่วมมือกันยอดติดเชื้อก็จะลดลงเรื่อยๆ

ดังนั้นสธ.จึงมีข้อเสนอ 1. มีการฉีดวัคซีน ซึ่งขอความร่วมมือจากประชาขนเข้ารับการฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมมากขึ้น โดยในเดือนต.ค.ตั้งเป้าให้ได้ 60% พ.ย.75% และธ.ค.85% 2.มาตรการป้องกันโรคครอบจักรวาล ปรับทัศนคติ โดยต้องคิดว่าทุกคนแม้แต่คนในครอบครัวคือติดเชื้อและแพร่เชื้อได้ จึงต้องป้องกันตัวเองทุกทาง ซึ่งจากการสำรวจของกรมอนามัยพบว่าการป้องกันตัวเองเมื่อออกนอกบ้านนั้นทำได้ดี แต่ในบ้านไม่ได้มีการป้องกัน จึงทำให้พบการติดเชื้อในครอบครัว ซึ่งอาจจะนำมาสู่การระบาดวงกว้างได้

3. การตรวจหาเชื้อด้วยชุดตรวจแอนติเจน เทสต์ คิด (ATK ) ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายซื้อแจกประชาชน เช่น จากการที่สปสช.ซื้อแจกประชาชน มีการตรวจและรายงานผลเข้ามาพบว่าเป็นผลบวก 70% ย้ำว่าถึงแม้จะฉีดวัคซีนแล้วแต่ก็สามารถคิดเชื้อ และแพร่เชื้อได้ ดังนั้นขอให้มีการตรวจ ATK ควบคู่กับมาตรการป้องกันโรคครอบจักรวาล

 

4. การรวมตัวของกลุ่มคน เพราะมีการผ่อนคลายกิจกรรม กิจการต่างๆ ซึ่งจะทำให้มีการเคลื่อนที่ของคน มีการรวมตัวกัน เช่น ร้านอาหาร โรงหนัง งานสัมมนา การละเล่นต่างๆ ดังนั้นขอให้มีการจัดมาตรการพื้นที่ปลอดโควิด (Covid free setting) ต้องจัดให้มีการเว้นระยะห่าง ตรวจสอบระบบระบายอากาศ พนักงานฉีดวัคซีนครบ 2  เข็ม ตรวจ ATK สม่ำเสมอ รวมถึงคนใช้บริการก็ต้องปฏิบัติแบบเดียวกัน ทั้งนี้ไม่ควรปล่อยให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการติดเชื้อ หรือระบาดขึ้น เชื่อว่าหากทำได้เช่นนี้แม้จะไม่ปลอดภัยนักแต่ก็ลดการระบาดใหญ่ได้

“ตอนนี้เราถึงทางแยกแล้ว มีเพียง 2 ทางเท่านั้นทางซ้ายคือการติดเชื้อของเราจะเริ่มมากขึ้นกว่าที่เคยมีตามพยากรณ์อากาศถึง 3 หมื่นรายต่อวัน ส่วนทางขวาจะค่อยๆ ลดลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเหลือ 5 พันรายต่อวันและต่ำกว่า 5,000 รายต่อวัน ซึ่งเราอยากให้เป็นไปในแนวทางนี้ก็ต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ประชาชนป้องกันตัวเองแบบครอบจักรวาล ตรวจ ATK ทุก 3 วันหรือ 7 วันหากป่วยก็มีระบบดูแลรักษาถ้าไม่ป่วยก็ป้องกันตัวเองต่อไป ร่วมมือร่วมใจกันฉีดวัคซีนเพื่อให้มีความครอบคลุม หากเราสามารถกดการติดเชื้อให้ต่ำจนถึงสิ้นปีได้ การครอบคลุมของวัคซีนดีขึ้นมาก ต้นปีใหม่เราน่าจะมีความสุขมากขึ้นและกลางปี 65 โควิดน่าจะคลี่คลาย” ปลัดสธ.กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img