วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSอธิบดีกรมควบคุมโรค ประเมิน ‘โอไมครอน’ อาการใกล้เคียงไข้หวัดใหญ่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

อธิบดีกรมควบคุมโรค ประเมิน ‘โอไมครอน’ อาการใกล้เคียงไข้หวัดใหญ่

อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยรูปแบบการระบาด ‘โอไมครอน’ ใกล้เคียง ‘ไข้หวัดใหญ่’ ความรุนแรงน้อยกว่า ‘เดลต้า’ มาก ยังไม่มีคนเสียชีวิตแม้แต่รายเดียว

เมื่อวันที่ 6 ธ.ค.นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลกและในไทย ว่า วันนี้ทั่วโลกติดเชื้อสะสมแล้ว 266.1 ล้านราย เสียชีวิตสะสม 5.2 ล้านราย สำหรับวันนี้ติดเชื้อใหม่ 4.1 แสนราย แนวโน้มระบาดตัวเลขยังสูงอยู่ โดยทวีปยุโรป อเมริกายังเป็นจุดระบาดใหญ่ในเดือน พ.ย.-ธ.ค.64 แต่แนวโน้มอัตราเสียชีวิตลดลง จากเดิมอยู่ที่ 2% นิดๆ เหลือ 1.98% ดูเหมือนความรุนแรงโรคน้อยลง จากการดูแลรักษา มียาใหม่ๆ และมีการฉีดวัคซีน

สำหรับประเทศไทยพบรายใหม่ 4,000 ราย สะสม 2.1 ล้านราย เสียชีวิต 22 ราย สะสม 20,823 ราย โดยผู้มีอาการปอดอักเสบลดเหลือ 1,259 ราย ผู้ใส่ท่อช่วยหายใจ 330 ราย

แนวโน้มการระบาดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดูเหมือนลดลง แต่บางประเทศยังสูงอยู่ เช่น เวียดนามที่มีการติดเชื้อสูง วันนี้พบถึง 1.4 หมื่นราย เสียชีวิตกว่า 200 ราย รวมถึงเกาหลีใต้

นพ.โอภาส กล่าวว่า โควิดสายพันธุ์ ‘โอไมครอน’ หรือ B.1.1.529 ปกติไวรัสกลายพันธุ์พบตลอดเวลา โดยต้องจับตา 3 ประการสำคัญ คือ แพร่เร็ว ความรุนแรงมากขึ้น และดื้อต่อการรักษา รวมถึงทำให้ประสิทธิภาพวัคซีนลด หรือไม่ล่าสุด สายพันธุ์ ‘โอไมครอน’ ถูกจัดให้เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่จับตา เพราะมีการเปลี่ยนแปลงรหัสพันธุกรรม แต่ข้อมูลโควิด-19 เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่วนใหญ่เป็นข้อมูลจากความรู้สึก ไม่ผ่านการวิเคราะห์กลั่นกรองโดยผู้เชี่ยวชาญ ดังนั้น ขอย้ำว่าการรับข้อมูลทางโซเซียลมีเดีย ต้องใช้การกลั่นกรอง แต่ข้อมูลของ สธ. เราเป็นทางการ ที่ผ่านผู้เชี่ยวชาญกลั่นกรอง มีหลักฐานเชิงประจักษ์ รวมถึงข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลก

“ดูเหมือนรูปแบบการระบาดโควิด-19 จะใกล้เคียง ‘ไข้หวัดใหญ่’ ที่เราคุ้นเคยในอดีต เมื่อระบาดเยอะก็กลายเป็นโรคประจำถิ่น ความรุนแรงลดลง สายพันธุ์ ‘โอไมครอน’ องค์การอนามัยโลก ระบุว่า ยังไม่มีการรายงานผู้เสียชีวิตจาก ‘โอไมครอน’ แม้แต่รายเดียว ตรงกับข้อมูลหลายหน่วยงานว่า ความรุนแรงน้อยกว่า ‘เดลต้า’ค่อนข้างมาก” นพ.โอภาส กล่าว

นพ.โอภาส กล่าวว่า ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก ล่าสุดวันที่ 5 ธ.ค.64 ขณะนี้พบผู้ติดเชื้อโอไมไครอนแล้ว 46 ประเทศ และคงเติมไทยเป็นประเทศที่ 47 ซึ่งแบ่งการติดเชื้อออกเป็น

1.ติดเชื้อในประเทศ เช่น แอฟริกาใต้ รวมแล้วมี 15 ประเทศ

2.ติดเชื้อจากผู้เดินทางเข้า มี 31 ประเทศรวมถึงไทยด้วย และยังไม่มีผู้เสียชีวิตจากโอไมครอน

นพ.โอภาส กล่าวว่า เชื้อโควิดกลายพันธุ์ ‘โอไมครอน’ แพร่ระบาดเร็ว 2-5 เท่า ส่วนใหญ่อาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ หรือไม่มีอาการ หรืออาการน้อย ส่วนลักษณะการติดเชื้อแยกยากจากสายพันธุ์อื่นๆ ทั้งเดลต้า อัลฟ่า แกมม่า แต่ที่มีรายงานจากต่างประเทศ ส่วนใหญ่ไม่ต้องเข้ารับการรักษาในรพ. และไม่มีรายงานการเสียชีวิต

สิ่งสำคัญขณะนี้ มาตรการที่องค์การอนามัยโลก และ CDC สหรัฐฯ แนะนำคือ ฉีดวัคซีนป้องกันโควิดให้ครอบคลุมมากที่สุด ประเทศไทยขณะนี้ ฉีดวัคซีนไปแล้วมากกว่า 95 ล้านโดส โดยเฉพาะคนฉีดเข็ม 1 ในคนไทยครอบคลุมเกิน 75% แล้ว และเข็มที่ 2 เกินกว่า 60 % แล้ว ขณะนี้กำลังบูสเตอร์โดสเข็ม 3 โดยขอให้รอฟังประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่า ครบ 2 เข็มเดือนไหน และจะให้ฉีดบูสเตอร์โดสเมื่อไหร่ คาดว่าเดือนธ.ค.-ม.ค. จะมีการฉีดบูสเตอร์โดสเข็ม 3 มากที่สุด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img