“หมอธีระวัฒน์” ชี้ 4 ตัวแปรใน “โอมิครอน” ที่จะประเมินความเสี่ยงและความรุนแรง พร้อมตั้งข้อสังเกตุแม้อาการอาจไม่รุนแรง แต่จะเกิดอาการแทรกซ้อนระยะยาวที่เรียกว่า long covid ได้หรือไม่
เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.64 นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า ตัวแปรในโอไมครอน
21/12/64
มีความหลากหลายในการประเมินความเสี่ยงและความรุนแรงของโอไมครอน
1-อาจจะขึ้นอยู่กับลักษณะของภูมิที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อธรรมชาติหรือจากวัคซีน (ซึ่งทั้งหมดป้องกันการติดโอไมครอนได้ไม่ดี แต่ช่วยลดอาการ)
ในแอฟริกาใต้เป็นสี่ระลอก และภูมิส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อ โดยลักษณะของไวรัสน่าจะไม่เหมือนกับในอังกฤษ โดยที่ อังกฤษยังมีเดลต้าและโอไมครอนในขณะที่แอฟริกาใต้เป็นโอไมครอน
แต่ความรุนแรงจนกระทั่งถึงวันที่ 20 ธันวาคม ทั้งสองประเทศคล้ายกัน แอฟริกาใต้ยังคงไม่รุนแรง
อังกฤษ ติด 91,743 ต่อวัน
(584,688 ใน 7วัน เพิ่มขึ้น 221,006 เทียบกับเจ็ดวันก่อนหน้านี้)
ตาย 44 (786 ใน 7วัน ลดลง 45 รายเทียบกับเจ็ดวันก่อนหน้านี้)
โอไมครอน 129 ราย ตาย 14
2- ประเทศไทยเป็นสามระลอกเช่นเดียวกัน และรอบสี่จะเป็นโอไมครอน แต่ทั้งนี้รอบสามของเดลต้าอ่อนกำลังลงมากขณะนี้
ตัวแปรอยู่ที่เดลต้าในประเทศไทยจะกลับรุนแรงขึ้นมาใหม่หรือไม่
และจะระบาดกับโอไมครอน ที่ติดง่ายแต่รุนแรงน้อยในขณะที่เดลต้าติดยากกว่าบ้างแต่จะแรงเหมือนเดิมหรือไม่ และทั่งสองจะกลายเป็นไฮบริดหรือไม่
3- แต่ไม่ว่าความรุนแรงของโอไมครอน จะ <เดลต้าก็ตามยังมีปัญหาในคนเปราะบางที่อาจจะมีความรุนแรงสูงและเข้ามาครองเตียงในโรงพยาบาลและถ้ามีการแพร่ในโรงพยาบาลจะทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้นแบบเดิมกับที่เจอในเดลต้า
4- โอไมครอนถึงแม้อาการอาจไม่รุนแรง แต่จะเกิดอาการแทรกซ้อนระยะยาวที่เรียกว่า long covid ได้หรือไม่ ซึ่งเป็นกลุ่มอาการทางสมองจิตอารมณ์กล้ามเนื้อและระบบประสาทอัตโนมัติรวมทั้งหัวใจแบบเดียวกับที่มีปัญหาทั่วโลกอยู่ในขณะนี้