วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSกนง.หวั่นโควิดลากยาวฉุดเศรษฐกิจซบ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กนง.หวั่นโควิดลากยาวฉุดเศรษฐกิจซบ

ธปท.เปิดผลประชุมกนง.ห่วงเศรษฐกิจโลกผันผวนจากนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้นสกัดเงินเฟ้อ หวั่นโควิดโอมิครอนยื้ดเยื้อฉุดรั้งเศรษฐกิจ

รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แจ้งว่า ได้เปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรม การนโยบายการเงิน (กนง.) ฉบับย่อ ครั้งที่ 8/ 2564 พบว่า ภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะตลาดการเงิน โดยเศรษฐกิจคู่ค้าในระยะข้างหน้ามีทิศทางขยายตัวต่อเนื่องแต่ในอัตราที่ชะลอลง

ทั้งนี้ ผลกระทบจากการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ โอมิครอน จะจำกัดอยู่ในช่วงแรกของปี 2565 โดยเศรษฐ กิจคู่ค้าจะทยอยฟื้นตัวในระยะต่อไป อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก (advanced economies: AEs) จะทยอยลดลงจากปี 2564 ที่ฟื้นตัวแรงจากปีก่อนหน้า กอปรกับได้รับผลกระทบจากการระบาดระลอกใหม่และปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทานโลก (global supply disruption) ที่ยืดเยื้อ

สำหรับเศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มชะลอลงเช่นกัน ทั้งจากการใช้มาตรการควบคุมโรคที่เข้มงวดขึ้น ประ กอบกับความกังวล ต่อการระบาดระลอกใหม่ที่กระทบการผลิตและขนส่ง รวมถึงการลงทุนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการภาครัฐ เพื่อชะลอความร้อนแรงในภาคอสังหาริมทรัพย์และการเพิ่มความเข้มงวดของภาครัฐต่อกิจกรรมในภาคการผลิต ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ส่วนเศรษฐกิจเอเชียเผชิญแรงกดดันจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ Delta ในช่วงที่ผ่านมาทำให้หลายประเทศกลับมาใช้มาตรการควบคุมเข้มงวด แต่จะทยอยฟื้นตัวได้ ในระยะต่อไปแม้จะมีปัจจัยกดดันจากการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ โอมิครอน

โดยตลาดการเงินโลกเคลื่อนไหวผันผวนสูงขึ้นจากการกลายพันธุ์ของไวรัสและการลดการผ่อนคลายนโยบาย การเงินของธนาคารกลางกลุ่มประเทศ AEs ที่เร็วกว่าการคาดการณ์ของนักลงทุน โดยราคาสินทรัพย์ ทางการเงินเคลื่อนไหวผันผวนจากความกังวลต่อการระบาดของไวรัส COVID-19 สายพันธุ์ใหม่

ประกอบกับ ธนาคารกลางกลุ่มประเทศ AEs ลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินเร็วกว่าคาด โดยเฉพาะประเทศที่อัตราเงิน เฟ้อสูงเกินกรอบเป้าหมาย โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ประกาศแผนปรับลดปริมาณการเข้าซื้อสินทรัพย์และ ส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น ด้านธนาคารกลางกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ (emerging markets: EMs) บางแห่งเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อดูแลปัญหาเงินเฟ้อสูง

สำหรับค่าเงินบาทยังคง เคลื่อนไหวผันผวนสูง ในขณะที่ดัชนีค่าเงินบาท (nominal effective exchange rate: NEER) อ่อนค่าลงจาก การประชุมครั้งก่อนสอดคล้องกับทิศทางสกุลเงินส่วนใหญ่ในภูมิภาคจากความกังวลต่อการระบาดของไวรัส สายพันธุ์ใหม่ มองไปข้างหน้าตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มผันผวนสูงจาก

1. ความเสี่ยงที่ธนาคารกลาง ต่างประเทศอาจลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินเร็วกว่าคาดเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อสูง

2.การระบาดของ สายพันธุ์ โอไมครอน ที่อาจกดดันการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ 3.ความเสี่ยงด้านกฎเกณฑ์ภายในประเทศ และนโยบายต่างประเทศของจีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและราคาพลังงานโลก

ขณะที่เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัว 0.9% ในปี 2564 และจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2565 และ 2566 ขยายตัว 3.4% และ 4.7% ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่า จะทยอยกลับมามากขึ้นรวมถึงการฟื้นตัวในหลายสาขาธุรกิจมีแนวโน้มปรับดีขึ้นสอดคล้องกับกิจกรรมทาง เศรษฐกิจ แต่การจ้างงานและรายได้แรงงานยังอยู่ต่ำกว่าช่วงก่อนการระบาด สำหรับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐคาดว่าจะแผ่วลงหลังจากที่เร่งไปในช่วงก่อนหน้า

ด้านการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอลงบ้าง ตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดของสายพันธุ์ใหม่ ขณะที่นักท่องเที่ยว ต่างชาติในปี 2565 จะขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมที่ 6 ล้านคนเป็น 5.6 ล้านคน จากการระบาดของสายพันธุ์ โอมิครอน ที่จะกระทบต่อความเชื่อมั่นในการเดินทางระหว่างประเทศในช่วงแรกของปี

สำหรับการลงทุนภาคเอกชน มีแนวโน้มฟื้นตัวได้ตามอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศแต่ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากความไม่แน่นอนของผลกระทบจากการกลายพันธุ์ของไวรัสซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจ

ทั้งนี้เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงด้านต่ำที่ผลกระทบของการกลายพันธุ์ของไวรัสอาจรุนแรงและยืดเยื้อกว่าคาด อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย โดยในปี 2564 คาดว่าจะอยู่ที่ 1.2% 2565 อยู่ที่ 1.7% และปี 2566 อยู่ที่ 1.4 % อัตราเงินเฟ้อจะสูงขึ้นชั่วคราวจากปัจจัยด้านอุปทาน โดยเฉพาะราคาพลังงานและข้อจำกัดในการผลิตและขนส่งสินค้าในต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะคลี่คลายในช่วงครึ่งหลังของปี 2565

อย่างไรก็ตาม โอกาสที่แรงกดดันเงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องยังมีไม่มาก เนื่องจากความสามารถในการส่งผ่านต้นทุนของ ผู้ประกอบการยังมีจำกัด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img