วันอังคาร, พฤศจิกายน 26, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“โอมิครอน”ครองไทยแล้ว 80% คาดสิ้นม.ค.จะเข้ามาแทน“เดลต้า”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“โอมิครอน”ครองไทยแล้ว 80% คาดสิ้นม.ค.จะเข้ามาแทน“เดลต้า”

อธิบดีกรมการวิทยาศาสตร์การแพทย์” เผย “โอมิครอน” ครองในไทยแล้ว 80% คาดสิ้นม.ค.แทน “เดลต้า” คนติดเชื้อซ้ำ-เป็นโอมิครอน 100%

เมื่อวันที่ 21 ม.ค.65 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าวการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด 19 ในไทย ว่า ขณะนี้ไม่มีจังหวัดไหนที่ไม่พบเชื้อโอมิครอนแล้ว หรือพบทุกพื้นที่แล้ว โดยตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.2564-20 ม.ค.2565 พบโอมิครอนสะสม 10,721 ราย จังหวัดที่พบโอมิครอนสูงสุด 10 จังหวัด คือ กทม. 4,178 ราย, ชลบุรี 837 ราย, ภูเก็ต 434 ราย, ร้อยเอ็ด 355 ราย, สมุทรปราการ 329 ราย, สุราษฎร์ธานี 319 ราย, กาฬสินธุ์ 301 ราย, อุดรธานี217 ราย, เชียงใหม่ 214 ราย และขอนแก่น 214 ราย โดยสมุทรปราการและเชียงใหม่ถือว่าพบเพิ่มขึ้น ภาพรวมแนวโน้มถือว่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ช่วงแรกสัดส่วนอาจไม่เป็นตามความเป็นจริง เพราะเน้นการตรวจผู้ที่มาจากต่างประเทศ และในประเทศตรวจในกลุ่มที่สัมผัสเสี่ยงสูงคนติดเชื้อจากต่างประเทศ

หากดูตามสัดส่วนจะพบว่า กลุ่มตัวอย่างเพื่อสะท้อนภาพรวมทั้งประเทศ 727 ตัวอย่าง พบโอมิครอน 83.77% เดลตา 16.2%, คลัสเตอร์ใหม่ 700 ตัวอย่าง พบโอมิครอน 84.86% เดลตา 15.1%, กลุ่มที่มีอาการรุนแรงเสียชีวิตทุกราย 61 ตัวอย่าง พบโอมิครอน 67.21% เดลตา 32.8%, กลุ่มที่รับวัคซีนตามเกณฑ์ครบ 358 ตัวอย่าง พบโอมิครอน 72.35% เดลตา 27.7% , บุคลากรทางการแพทย์ 59 ตัวอย่าง พบโอมิครอน 74.58% เดลตา 25.4%, ลักษณะอื่นๆ ที่สงสัยไวรัสพันธุ์ใหม่ เช่น CT ต่ำกว่าปกติ 361 ตัวอย่าง พบโอมิครอน 75.9% เดลตา 24.1% และกลุ่มที่เคยติดเชื้อมาก่อนหรือติดซ้ำ 8 ตัวอย่าง พบ 100%

ภาพรวมของการสุ่มในคนทั่วไปที่ติดเชื้อเราพบเดลตาเหลือ 15% แต่มีบางกลุ่มที่สัดส่วนเดลตาสูงกว่าค่าเฉลี่ย เช่น กลุ่มรุนแรงหรือเสียชีวิตพบเดลตา 33% หรือ 2 เท่าของกลุ่มแรก อันนี้เป็นเครื่องยืนยันว่าสายพันธุ์โอมิครอนรุนแรงน้อยกว่าเดลตาชัดเจน บุคลากรทางการแพทย์ยังเจอเดลตา 25% อาจเพราะรับวัคซีนเข็ม 3-4 ทำให้โอมิครอนที่อาจหลบได้ หลบได้ยากขึ้น ส่วนคนติดเชื้อซ้ำ 8 รายเป็นโอมิครอน 100% ทั้งนี้ คนติดเชื้อเดลตาเดิมมักไม่ป่วยเดลตาซ้ำ เพราะภุมิค่อนข้างสูงต่อสายพันธุ์ที่ติดเชื้อ แต่ยังติดซ้ำด้วยโอมิครอนได้ หมายความว่าภูมิจากเชื้อเดิมๆ กันโอมิครอนไม่ได้

นพ.ศุภกิจกล่าวว่า ในเชิงพื้นที่ตามเขตสุขภาพต่างๆ หลายเขตสุขภาพพบโอมิครอนขึ้นไปถึง 70-80% ที่เพิ่มเยอะคือเขตสุขภาพที่ 4, 6, 7 พบเกือบ 90% และเขต 13 กทม. 86% ส่วนใหญ่เป็นโอมิครอน ที่เหลือลดลงไป ส่วนเขต 12 หรือชายแดนใต้ ครึ่งหนึ่งเป็นเดลตา ดังนั้นพื้นที่นี้มีลักษณะชุมชนแตกต่างจากที่อื่นๆ เช่น ไม่มีสถานบันเทิงมากนัก และไม่มีการรั่วมาจากมาเลเซีย คนมาจากต่างประเทศก็ไม่ได้ไปในพื้นที่มากมาย ทำให้เป็นเดลตาค่อนข้างมากครึ่งหนึ่ง แต่ในที่สุดจะถูกแทนที่ด้วยโอมิครอนอยู่ดี

“ข้อสรุปการเฝ้าระวังโอมิครอนช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คือ การระบาดสายพันธุ์นี้สัดส่วนเพิ่มขึ้นเร็ว คนที่มาจากต่างประเทศสูงถึง 97% เป็นโอมิครอน ใครมาจากต่างประเทศอาจไม่ต้องตรวจแล้ว สันนิษฐานเป็นโอมิครอน ส่วนในไทยพบประมาณ 80% อาการรุนแรงและเสียชีวิตเกิดจากเดลตาสูงกว่าค่าเฉลี่ย ดังนั้นอย่าสันนิษฐานว่าติดเชื้อโอมิครอนไม่รุนแรง แต่อาจเจอเดลตาแทนได้ กลุ่มที่ติดเชื้อซ้ำเกิดจากโอมิครอน เพราะฉะนั้นจะเห็นข้อมูลออกมาเรื่อยๆ อย่างข่าวนักการเมืองใหญ่บอกฉีดวัคซีนแล้ว เคยติดเชื้อแล้ว ยังเป็นโอมิครอนซ้ำได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะโอมิครอนหลบวัคซีนได้ วัคซีน 2 เข็มก็อาจจะไม่เพียงพอกันการติดเชื้อ และคาดว่าสิ้นเดือน ม.ค. ภายในประเทศโอมิครอนอาจขึ้นไปเท่ากับคนเดินทางมาจากต่างประเทศ และเดลตาจะหายไปในที่สุด” นพ.ศุภกิจ กล่าว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img