วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“สธ.”ตั้งเป้า“โควิด”เป็นโรคประจำถิ่น ติดเชื้อไม่เกิน1หมื่นราย/วัน ตายไม่เกิน1%
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“สธ.”ตั้งเป้า“โควิด”เป็นโรคประจำถิ่น ติดเชื้อไม่เกิน1หมื่นราย/วัน ตายไม่เกิน1%

คกก.โรคติดต่อวางแนวทางโควิดเป็นโรคประจำถิ่น ไม่รอองค์การอนามัยโลกประกาศก่อน ชี้เกณฑ์ป่วยน้อยกว่า หมื่นรายต่อวัน ต้องนอนรพ.ไม่เกิน 10% เสียชีวิตต่ำ ไม่เกิน 1%

เมื่อวันที่ 27 ม.ค.65 ที่กระทรวงสาธารณสุข ภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีการรายงานสถานการณ์โรคโควิด -19 เป็นเชื้อโอมิครอนในประเทศไทยครอบคลุม 90% แล้วส่วนผู้เดินทางมาจากต่างประเทศนั้นคิดเป็น 100% ดูแล้วเป็นไปตามข้อมูลคือความรุนแรงน้อยอัตราการเสียชีวิตต่ำ

ทั้งนี้ที่ประชุมจึงได้พิจารณาเรื่องของที่โรคโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น (endemic disease) แต่กระทรวงสาธารณสุขจะไม่รอให้มีการติดเชื้อและกลายเป็นโรคประจำถิ่นตามธรรมชาติ เพราะจะใช้เวลานาน ดังนั้นสธ.จะมีการบริหารจัดการเพื่อให้โควิด -19 ประเทศไทยเป็นโรคประจำถิ่นได้เร็วขึ้น คือยังสามารถติดเชื้อได้ แต่อัตราการเสียชีวิตต้องไม่มาก เช่น อัตราการเสียชีวิต 1 : 1,000 ประชากรที่ป่วย ระบบสาธารณสุขรองรับได้ รักษาได้ ประชากรมีภูมิคุ้มกัน เป็นต้น เมื่อเป็นโรคประจำถิ่นแล้วค่ารักษารัฐยังให้การดูแลรักษาตามสิทธิ ทั้งนี้ไม่ต้องรอองค์การอนามัยโลกประกาศก่อน เพราะถ้ารอก็ไม่ทัน

“ขณะนี้ได้มอบหมายให้กรมควบคุมโรคไปวางแผน เช่นสมมติตั้งเป้าให้เป็นโรคประจำถิ่นภายใน 1 ปี ก็ต้องมีแผนแล้วว่าในช่วง 3 เดือน แรก 6 เดือนแรกต้องทำอะไรบ้าง ขณะนี้ได้หลักเกณฑ์แล้วก็ไปหารือกันต่อ” นพ.เกียรติภูมิ กล่าว และว่าส่วนเรื่องการเตือนภัยระดับ 4 ยังคงไว้เหมือนเดิม โดยเน้นในพื้นที่กทม. และจังหวัดสีฟ้า

นอกจากนี้ยังมีการจัดให้มีสถานที่ฉีดวัคซีนผู้ใหญ่ เป็นบริการเฉพาะเพิ่มเติมขึ้นมาในโรงพยาบาล โดยลงไปถึงระดับโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขจัดหาเรือและดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ขอความร่วมมือประชาชนไปฉีดวัคซีนบู๊สเตอร์โดส โดยกรณีที่ฉีดวัคซีนเชื้อตาย 2 เข็ม ให้กระตุ้นด้วยแอสตร้าเซนเนก้า และวัคซีนสูตรไขว้ก็ให้ฉีดแอสตร้าฯ

รายงานข่าวแจ้งว่าสำหรับหลักเกณฑ์การเป็นโรคประจำถิ่นที่มีการสรุปในที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ อาทิ ผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกิน 10,000 ราย/วัน อัตราป่วยตาย น้อยกว่าร้อยละ 0.1 การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล น้อยกว่าร้อยละ 10 และประชาชนมีภูมิต้านทานเพียงพอ กลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรงได้วัคซีนอย่างน้อย 2 โดส มากกว่าร้อยละ 80 เป็นต้น.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img