วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightเปิดทิศทาง GC เพิ่มมูลค่าธุรกิจปี 65 ปรับองค์กรรองรับ 5 เมกะเทรนด์โลก
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เปิดทิศทาง GC เพิ่มมูลค่าธุรกิจปี 65 ปรับองค์กรรองรับ 5 เมกะเทรนด์โลก

เปิดทิศทางการดำเนินธุรกิจของ GC ในปี 65 ปรับเปลี่ยนองค์กรรองรับ 5 เมกะเทรนด์โลก ตอบโจทย์อนาคตด้วยวิสัยทัศน์เพิ่มมูลค่าธุรกิจ-สร้างสรรค์เคมีภัณฑ์ด้วยคุณภาพ-เป็นมิตรต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม พร้อมเปิดดีลซื้อกิจการต่อเนื่อง

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (CEO) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ประกาศทิศทางการดำเนินงานของบริษัทฯ ในปี 2565 พร้อมปรับเปลี่ยนองค์กรให้ตอบโจทย์ธุรกิจเพื่ออนาคต สอดคล้อง 5 เมกะเทรนด์โลก ประกอบด้วย Climate Change & Energy Transition, Demographic Shift, Health & Wellness, Urbanization และ Disruptive Technology ที่มีผลต่อการเติบโต การดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ การแข่งขันทางการค้า การปรับเปลี่ยนทิศทางของภาคอุตสาหกรรมสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ  

ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง

GC มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย มุ่งเน้นดำเนินธุรกิจเคมีภัณฑ์ครบวงจรที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้คน เช่น บรรจุภัณฑ์ เครื่องนุ่งห่ม อุปกรณ์การสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์ วัสดุก่อสร้าง พลาสติกเชิงวิศวกรรม ซึ่งล้วนเป็นผลิตภัณฑ์ที่อยู่รอบตัวสอดรับการแนวคิดแคมเปญสื่อสาร #ยิ่งใกล้คุณยิ่งต้องดี เพื่อตอกย้ำภารกิจในการสร้างความมั่นใจว่า ทุกวัตถุดิบที่มาจาก GC ได้รับการพัฒนาให้ดีที่สุด ทั้งผลิตภัณฑ์ที่ดี กระบวนการผลิตและการบริหารจัดการที่ดี และดีต่อสิ่งแวดล้อมดีต่อโลก

ทั้งนี้เดินหน้าธุรกิจแห่งอนาคตด้วยกลยุทธ์ 3 Steps 1.Step Change กลยุทธ์การยกระดับความสามารถในการแข่งขัน สานต่อสร้างเสริม GC ให้เข้มแข็ง ทั้งด้านความปลอดภัยและเสถียรภาพการผลิต พร้อมยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าและตลาดโลกให้มากขึ้น

โดยมีความก้าวหน้าโครงการ ดังนี้โครงการผลิตพลาสติกวิศวกรรมชั้นสูง  ของบริษัท Kuraray GC Advanced Material (KGC) ที่ GC ร่วมทุนกับ บริษัท Kuraray และ บริษัท Sumitomo ของประเทศญี่ปุ่น อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีนี้ เพื่อผลิต High Heat Resistant Polyamide-9T (PA-9T) จำนวน 13,000 ตันต่อปี และ Hydrogenated Styrenic Block Copolymer (HSBC) จำนวน 16,000 ตันต่อปี นับเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เพื่อรองรับเมกะเทรนด์โลก โครงการขยายกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกโพลิโพรพิลีน (PP) ของบริษัท HMC Polymers การปรับโครงสร้างธุรกิจ PVC ภายหลัง VNT ออกจากตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อขยายตลาด PVC ไปสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA)

2.Step Out กลยุทธ์การแสวงหาโอกาสต่อเนื่อง หลังจากประสบความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการ allnexเพื่อสร้างการเติบโตในธุรกิจใหม่หรือในต่างประเทศ โดยการปรับองค์กรตั้งหน่วยงานธุรกิจต่างประเทศขึ้น เพื่อต่อยอดการเติบโตของบริษัทฯ มุ่งสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยมีเป้าหมายเพื่อมองหาโอกาสในการขยายธุรกิจในต่างประเทศ สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคภายใต้เมกะเทรนด์โลก

3.Step Up กลยุทธ์สร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ : ด้วยการเป็นต้นแบบองค์กรเพื่อความยั่งยืนในระดับสากล มุ่งเน้นการดำเนินงานที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) สร้างสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (Environment, Social, Governance: ESG) สอดรับกับเมกะเทรนด์ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (Climate Change)

GC ยกระดับคุณภาพชีวิต มุ่งสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ (Together to Net Zero) โดยมุ่งเน้นกลยุทธ์การขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพ (Efficiency-driven) การขับเคลื่อนด้วยการบริหารพอร์ตโฟลิโอธุรกิจ (Portfolio-driven) และการขับเคลื่อนการชดเชยคาร์บอน (Compensation-driven) เพื่อบรรลุเป้าหมายในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง 20% ภายในปี 2573 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางธุรกิจ

นอกจากนี้ GC ยังได้ Transform องค์กรในหลายๆ ด้าน เพื่อสนับสนุนทิศทางองค์กรและแผนกลยุทธ์ในระยะยาว ได้แก่ Digital Transformation, Market Focused Business Transformation, Lean Process and Organization Transformation รวมทั้งปรับองค์กรเพื่อการดำเนินงานด้าน Decarbonization

โดยผลการดำเนินงานในปี 2564 มีรายได้จากการขายรวม 465,128 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 43% ในปี 2564 GC มีกำไรจากการดำเนินงาน (ไม่รวมผลกำไรจากสต๊อกน้ำมันและการปรับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับของสินค้าคงเหลือให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ ผลขาดทุนทางบัญชีจากอัตราแลกเปลี่ยน และผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์เพื่อประกันความเสี่ยง และรายการพิเศษอื่น ๆ) ที่ 55,186 ล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น93% จากปีก่อนหน้า ส่งผลให้ในปี 2564 มีกำไรสุทธิรวม 44,982 ล้านบาท (10.01 บาท/หุ้น) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่า 200 %จากปี 2563 นับเป็นผลการดำเนินงานที่สูงที่สุด

เพื่อการเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจร GC ได้ปรับพอร์ตโฟลิโอเพื่อสร้างความแข็งแกร่งและแข่งขันได้ในเวทีโลก โดยได้ประกาศซื้อหุ้น VNT จากผู้ถือหุ้น เพื่อขยายฐาน สร้างความแข็งแกร่งในธุรกิจปลายน้ำและเป็นการเพิ่มมูลค่าในธุรกิจสายโอเลฟินส์ให้กับ GC

GC ดำเนินกลยุทธ์ปรับพอร์ตโฟลิโอการลงทุนใหม่ โดยลดขนาดของกลุ่มธุรกิจที่เป็น Non-Petrochemical ลง เพื่อโฟกัสไปที่กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ให้มากขึ้น โดยขายหุ้น GPSC ให้ ปตท. จำนวน 12.73 % หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 25,000 ล้านบาท โดยยังเหลือหุ้นอยู่จำนวน 10%

นอกจากนี้ GC ยังประสบความสำเร็จด้านการเงิน โดยการออกและเสนอขายหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิให้กับนักลงทุน และสถาบันต่างประเทศ จำนวนรวม 1,250 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือนมีนาคม 2564 โดยการเสนอขายหุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการตอบรับจากนักลงทุนอย่างมากจากยอดจองซื้อกว่า 6,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และออกและเสนอขายหุ้นกู้สกุลเงินบาท จำนวนรวมทั้งสิ้น 30,000 ล้านบาท ให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ในเดือนมกราคม 2565  ที่ผ่านมาโดยได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมากและมียอดจอง 1.5 เท่าของวงเงินที่เสนอขาย ทั้งนี้เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านเงินทุนของบริษัทฯ ในอนาคต

GC ก้าวเข้าสู่ธุรกิจกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง HVB (High Value Business) โดยประสบความสำเร็จในการเข้าซื้อกิจการ allnex ผู้นำระดับโลกในธุรกิจผลิตภัณฑ์สารเคลือบผิว (Coating Resins) และสารเติมแต่งสำหรับงานอุตสาหกรรม ที่มีความหลากหลายสำหรับใช้กับวัสดุทุกประเภท เช่น โลหะ พลาสติก ไม้ ครอบคลุมการใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เหล็ก ยานยนต์ และบรรจุภัณฑ์ ตอบโจทย์เรื่องความแข็งแรงทนทาน ความสวยงาม ความปลอดภัยและเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ การใช้วัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพ ลดการปลดปล่อยสารอินทรีย์ระเหย การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ  ความทนทานและอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น การใช้ทรัพยากรหมุนเวียนเพื่อช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น โดยอุตสาหกรรมนี้มีอัตราการเติบโตค่อนข้างสูง  โดยเฉพาะตลาดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ในปี 2564 GC ได้รับรางวัลและใบรับรองด้านความยั่งยืนในระดับโลก ประกอบด้วย บริษัทปิโตรเคมีแรกของไทยที่ติดอันดับ 1 ของโลก จากดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) 3 ปีซ้อนในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ ด้วยการดำเนินธุรกิจที่บูรณาการความยั่งยืน หรือ ESG ครบ 3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และ บรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (Governance & Economic) รางวัล S&P Global Sustainability Award 2022 ระดับ Gold Class ในธุรกิจเคมีภัณฑ์ เป็นระดับสูงที่สุด จากการประเมินด้านความยั่งยืนในระดับโลกจาก S&P Global ด้วยการดำเนินงาน ที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน ผ่านการสร้างสมดุลของ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของความยั่งยืน เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนองค์กรให้ไปสู่เป้าหมายได้สำเร็จ

บริษัทแรกและบริษัทเดียวในประเทศไทยในกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่ได้รับการจัดอันดับจาก CDP ให้เป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการน้ำ (A Level) และ การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (A- Level)

ได้รับการรับรองระดับโลกด้านความยั่งยืน และการลดคาร์บอน “ISCC PLUS” จากองค์กร International Sustainability & Carbon Certification ถึง 2 สาขาได้แก่โรง Olefins Cracker และโรงผลิตเม็ดพลาสติก Polyethylene ซึ่งใบรับรองนี้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมและความมุ่งมั่นของ  บริษัทฯ ที่จะสนับสนุนด้านเศรษฐกิจชีวภาพ และเศรษฐกิจหมุนเวียน

โดยผ่านการตรวจประเมินจาก Lloyd’s Register Quality Assurance Ltd (LRQA) บริษัทตรวจสอบระดับสากล ว่าเป็นโครงการที่มีการดำเนินงานสอดคล้องกับหลักมาตรฐานด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน (BS8001:2017) เป็นรายแรกและรายเดียวในประเทศไทย และนับเป็นโครงการที่สองของ GC ที่ได้รับการรับรอง ต่อยอดจากโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand (UTO)

#GC #ยิ่งใกล้คุณยิ่งต้องดี #GCเคมีที่เข้าถึงทุกความสุข #GCChemistryforBetterLiving

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img