วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS“เทพไท”แนะทบทวนเวลาประชุมสภาฯ ไม่ควรประชุมเกิน 4 ทุ่ม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เทพไท”แนะทบทวนเวลาประชุมสภาฯ ไม่ควรประชุมเกิน 4 ทุ่ม

“เทพไท” เสนอทบทวนเวลาประชุมสภาฯ ไม่ควรประชุมเกิน 4 ทุ่ม เพื่อประสิทธิภาพของทุกฝ่าย

วันที่ 19 ก.พ.65 นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้โพสต์ Facebook ส่วนตัว ข้อความว่า เมื่อคืนที่ผ่านมา ผมได้ติดตามรับฟังการถ่ายทอดสดการประชุมสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพิจารณาญัตติ ขอเปิดอภิปรายทั่วไป เพื่อซักถามข้อเท็จจริง หรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 ของพรรคฝ่ายค้าน จนถึงการอภิปรายของ นายวันนิวัต สมบูรณ์ ส.ส.ขอนแก่น พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นผู้อภิปรายเป็นคนสุดท้าย และประธานสภาได้สั่งปิดการประชุมเวลา 1.35 น.เท่าที่สังเกตเห็นในห้องประชุมมี ส.ส.ฝ่ายค้านประมาณ 80 คน ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลไม่เกิน 20 คน มีรัฐมนตรีนั่งฟังการประชุม 5 คน เป็นการประชุมสภาที่มาราธอนมาก ซึ่งไม่ก่อให้เกิดผลดี และมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

เมื่อมีการกำหนดเวลาการอภิปรายทั้งหมด 30 ชั่วโมง แบ่งเป็นเวลาของฝ่ายค้าน 22 ชั่วโมง เวลาของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี 8 ชั่วโมง และกำหนดวันประชุมเพียง 2 วัน ก็จำเป็นต้องประชุมให้แล้วเสร็จภายใน 2 วัน ซึ่งเริ่มประชุมตั้งแต่เวลา 9.00 น. จนถึงเวลาหลังเที่ยงคืน เป็นการประชุมที่ทำให้ครบกระบวนการ โดยไม่คำนึงถึงประสิทธิภาพของการประชุม ถ้าหากมีการหวังผลให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม และประชาชนได้รับฟังกันอย่างทั่วถึง ก็ควรจะประชุมในระยะเวลาที่เหมาะสม คือตั้งแต่เวลา 09:00 น. ถึง 22:00 น. เท่านั้น การประชุมแบบดึกดื่นเช่นนี้ ไม่มีประชาชนคนไหนอดนอน เพื่อรับฟังผลการประชุม นักข่าวที่ทำข่าวก็เหนื่อยล้า ส.ส.ทั้งสภาก็ง่วงนอน หนีกลับบ้านเป็นส่วนใหญ่ คณะรัฐมนตรีก็ไม่มีเวลามารับฟัง นายกรัฐมนตรีก็ไม่อยู่กล่าวขอบคุณในตอนจบการอภิปราย เหมือนที่เคยปฎิบัติกันมา

ผมคิดว่าถ้าหากทุกฝ่ายต้องการให้การประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีประสิทธิภาพ ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับฟังการอภิปรายด้วย อยากให้ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญวิปทั้ง 2 ฝ่าย มากำหนดรูปแบบการประชุมกันใหม่ เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยกำหนดการเวลาวันเวลาการประชุมที่เหมาะสม คือเริ่มประชุมเวลา9.30 น. เลิกไม่เกิน 22:00 น. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมสภา เพื่อพิจารณา 1.พรบ.งบประมาณประจำปี 2.ญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ 3.ญัตติอภิปรายทั่วไป ตามมาตรา 152 เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงาน ของฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลอย่างแท้จริง

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img