วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightกรมวิทย์ฯเผยพบสายพันธุ์“ลูกผสม XJ” 1 ราย เป็นชายไทย-รักษาหายแล้ว
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

กรมวิทย์ฯเผยพบสายพันธุ์“ลูกผสม XJ” 1 ราย เป็นชายไทย-รักษาหายแล้ว

“อธิบดีกรมวิทย์ฯ” เผยตรวจพบสายพันธุ์ลูกผสม XJ ลูกผสมระหว่าง BA.1 กับ BA.2 เป็นชายไทย อายุ 34 ปี อาชีพพนักงานขนส่งเดลิเวอรี่ และรักษาหายแล้ว

เมื่อวันที่ 4 เม.ย.65 ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงการเฝ้าระวังสายพันธุ์โรคโควิด-19 ว่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีการตรวจรหัสพันธุกรรม 2 พันกว่าตัวอย่างพบเดลตา 3 ราย ในเขตสุขภาพที่ 8 ที่เหลือเป็นสายพันธุ์โอมิครอน คิดเป็น 99.8% เข้าใจว่าสถานการณ์จากนี้แทบจะไม่มีสายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์อื่นๆ ไทยในไทย แล้ว และพบสัดส่วนของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2 อยู่ที่ 92.2 % บางพื้นที่พบ 100 % อย่างไรก็ตาม จากการตรวจวิเคราะห์ในผู้เสียชีวิตพบว่าเป็น BA.2 อยู่ที่ 82% ไม่ได้เยอะกว่าค่าเฉลี่ยซึ่งอยู่ที่ 92 % ดังนั้นไม่ได้แสดงว่า BA.2 มีความรุนแรงมากกว่าโอมิครอนธรรมดาแต่อย่างใด ที่ชัดเจนคือ ในอังกฤษก็มี BA.2 เป็นสายพันธุ์หลักพบว่าแพร่เร็วชัดเจน แต่ในส่วนการหลบภูมิคุ้มกันกันนั้นยังมีข้อมูลไม่มากพอว่ารุนแรงมากขึ้น อาจจะหลบภูมิได้มากขึ้นกว่าเดิมเล็กน้อย

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า สำหรับการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์นั้น หากเปลี่ยนรหัสพันธุกรรมไปจากเดิมโดยสิ้นเชิงจะเรียกสายพันธุ์ใหม่ แต่หากยังพบเปลี่ยนไม่มาก ยังรู้ว่าพ่อ แม่เป็นใครก็จะเรียกเป็นสายพันธุ์ย่อย ส่วนกรณีการผสม 2 สายพันธุ์ในคนคนเดียวจะเรียกว่า Mixed infection ขึ้นไปในคนเดียวกันนั้นในไทยก็ตรวจเจออัลฟา กับเดลต้า แต่หาก 2 สายพันธุ์มีการผสมพันธุ์เป็นตัวใหม่มีสารพันธุกรรมจากทั้ง 2 สายพันธุ์ จะเรียกว่า “ไฮบริดจ์” และใช้ชื่อเรียกขึ้นต้นด้วย X นำหน้า ตามด้วย A,B และอื่นๆ ซึ่งปัจจุบันมีถึง 17 ตัว บางการผสมพันธุ์เคยพบมานานพอสมควร แต่มี 3 ตัวที่ยอมรับว่าเป็นไฮบริจด์จริง คือ ตัวแรก XA ตั้งแต่ธ.ค. 63 เป็นสายพันธุ์ผสมระหว่างสายพันธุ์ B.1.1.7 กับ B.1.177 ตัวที่ 2 คือ XB ผสมระหว่าง B.1.634 กับ B .1.631 และตัวที่ 3 คือ XC ผสมระหว่าง AY.29 กับ B.1.1.7 เป็นต้น ปัจจุบันหมดไปจากโลกแล้ว เป็นธรรมชาติ เป็นกติกาของไวรัส ไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์อะไร

ส่วนสายพันธุ์ XE ตามที่ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ.รามาธิบดีรายงานว่าพบในไทย 1 รายนั้น เป็นการผสมระหว่างสายพันธุ์ย่อยของโอมิครอน คือ BA.1 กับ BA.2 แต่จริงๆ ที่ผ่านมามีการผสมของ BA.1 กับ BA.2 อยู่หลายตัว มีรหัสพันธุกรรมที่แตกต่างกัน เกิดในพื้นที่ต่างกัน คำเรียกขึ้นต้นด้วย X และตามด้วยภาษาอังกฤษตัวอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกรมวิทย์ ได้มีการถอดรหัสพันธุกรรมสัปดาห์ละ 500-600 ตัวอย่างก็พบ 1 ราย ที่มีพันผสม แต่พอถอดรหัสพันธุกรรมพบว่ามีความใกล้เคียงกับสายพันธุ์ XJ ซึ่งก็เป็น ผสมระหว่าง BA.1 กับ BA.2 เหมือนกัน แต่ตัวนี้เจอที่ฟินแลนด์ สำหรับ 1 รายในไทยนี้เป็นชายไทย อายุ 34 ปี อาชีพพนักงานขนส่งเดลิเวอรี่ เนื่องจากเจอคนเยอะ หลากหลาย มีโอกาสติดเชื้อผสมพันธุ์กันได้ ทั้งนี้มีการ ตรวจพบเชื้อ 22 ก.พ. 2565 ในกทม. ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม2 เข็ม ขณะนี้หายดีแล้ว

อย่างไรก็ตามสุดท้ายทั้ง XE หรือตัวอื่นๆ ยังไม่ได้ถูกยืนยันแต่อย่างใด อยู่ระหว่างการส่งข้อมูลไปยังจีเสด และอยู่ระหว่างวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเมื่อวิเคราะห์แล้วอาจจะเป็นตัวอื่นก็ได้ อย่างไรก็ตาม ที่องค์การอนามัยโลกออกมาเตือนเพราะอังกฤษวิเคราะห์แล้วว่า XE เทียบ BA.2 สามารถแพร่ได้เร็วกว่า 10 % เลยต้องจับตา และอาจจะจับตาเรื่องความรุนแรง และการหลบภูมิ ซึ่งยังต้องรอข้อมูลอีกมาก.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img