Algae Biofuels: Challenges and Potential
“….เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuels or Algal Biofuels อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่น่าสนใจ ..”
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้มีมานานแล้ว แต่ยังคงต้องเอาชนะอุปสรรคจำนวนหนึ่งก่อนจะสามารถเข้ามาแข่งขันในตลาดเชื้อเพลิง และนำไปใช้ในวงกว้างสำหรับภาคพลังงานยั่งยืน Sustainable Energy ในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติได้ ..
ความท้าทาย Challenges ทั้งหลายเหล่านี้ รวมถึงการระบุ และการปรับปรุงสายพันธุ์ Strain Identification & Improvement ทั้งในแง่ของผลผลิตน้ำมัน และการปกป้องพืชผล Oil Productivity & Crop Protection, การจัดสรรทรัพยากร และการใช้สารอาหาร Nutrient and Resource Allocation & Use รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมที่เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมเพื่อปรับปรุงเศรษฐกิจทั่วทั้งระบบการผลิต The Production of Co-Products to Improve the Economics of the Entire System ..
แม้ว่าจะมีความน่าตื่นเต้นอย่างมากเกี่ยวกับศักยภาพ Potential ของเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuels แต่ก็ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมากในภาคสนาม หากจะนำพวกมันไปใช้จริงด้วยการผลิตเป็นปริมาณมาก Mass Production .. กลุ่มนักวิจัย พยายามชี้แจงถึงความท้าทายที่สำคัญต่อโอกาสทางธุรกิจสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพสาหร่าย Algae Biofuels ในภาพใหญ่ และการปรับปรุงจุดเน้นของชุมชนวิทยาศาสตร์ Scientific Community เพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ และนำเชื้อเพลิงชีวภาพสาหร่ายมาสู่ความเป็นจริงสำหรับการใช้งานพวกมันให้สำเร็จโดยเร็วได้ในที่สุด ..
ทั้งนี้ ข้อมูลการใช้เชื้อเพลิงเหลวทั่วโลก Global Liquid Fuel ในปี 2549 ส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิงปิโตรเลียม Conventional Petroleum อยู่ประมาณ 96.3% โดยน้อยกว่า 1% เล็กน้อยเป็นส่วนของเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels .. อย่างไรก็ตาม ในปี 2573 สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ประมาณการว่า 29% ของเชื้อเพลิงเหลว จะมาจากแหล่งน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบเดิมทั่วไปที่ยังไม่ได้พัฒนา หรืออีกกลุ่มที่ไม่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในปัจจุบันอีกประมาณ 57% รวมทั้ง คาดหมายไว้ว่า 6% จะมาจากแหล่งเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ..
สาหร่าย Algae ในอาณาจักรสิ่งมีชีวิต Photosynthetic Eukaryotic Organisms ลักษณะคล้ายพืชที่มีอยู่อย่างหลากหลาย ..
สาหร่าย Algae เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตหลากหลายประเภทในอาณาจักร Photosynthetic Eukaryotic Organisms ซึ่งสามารถสังเคราะห์แสงได้เอง มีลักษณะคล้ายพืช แต่ไม่มีส่วนที่เป็นราก ลำต้น และใบที่แท้จริง มีขนาดตั้งแต่เล็กจิ๋วเซลล์เดียว ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ประกอบด้วยเซลล์จำนวนมาก อาจเป็นเส้นสาย หรือมีลักษณะคล้ายพืชชั้นสูงก็มีให้เห็น .. พวกมันคือ การจัดกลุ่มโพลีไฟเลติก Polyphyletic Grouping ที่รวมสปีชีส์ Species จาก Clades ที่แตกต่างกันหลายแบบ ..
สิ่งมีชีวิตที่รวมอยู่มีตั้งแต่สาหร่ายขนาดเล็กที่มีเซลล์เดียว เช่น Chlorella, Prototheca และไดอะตอม Diatoms ไปจนถึงรูปแบบหลายเซลล์ เช่น สาหร่ายทะเลยักษ์ สาหร่ายสีน้ำตาลขนาดใหญ่ซึ่งอาจยาวได้ถึง 50 เมตร หรือ 160 ฟุต .. การแบ่งจำพวกของสาหร่าย นิยมแบ่งตามรูปร่างลักษณะภายนอก หรือดูตามสี จึงมีสาหร่ายสีเขียว เขียวแกมน้ำเงิน น้ำตาล และสีแดง .. สาหร่ายสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศก็มี อาศัยเพศก็มี บางครั้งดูจากลักษณะภายนอกอาจทำให้สับสนกับสาหร่ายบางชนิด เช่น สาหร่ายหางม้า สาหร่ายหางกระรอก สาหร่ายข้าวเหนียว ซึ่งสาหร่ายเหล่านี้ คือ พืชดอกไม่ใช่ Plastids ..
แหล่งที่อยู่ของสาหร่ายมีต่าง ๆ กันออกไป ส่วนใหญ่อยู่ในแหล่งน้ำ ทั้งน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม .. คุณค่าทางอาหารของสาหร่ายพบว่าไม่สูงมาก คาร์โบไฮเดรตที่มีอยู่เป็นพวกที่ย่อยยาก โปรตีนก็มีน้อย แต่สิ่งที่อุดมสมบูรณ์จากสาหร่าย คือ แร่ธาตุ ไขมัน และวิตามินหลายชนิด .. นอกจากพวกมันจะเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารของผู้คน เช่น สาหร่ายอบกรอบแล้ว ปัจจุบันพวกมันยังถูกนำมาประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์, ปุ๋ย, ยา, Bioplastics และเป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels Source ที่สำคัญ ๆ หลายตัว เช่น ไฮโดรเจน Hydrogen, มีเทน Methane, ไฮเทน Hythane, ไบโอดีเซล Biodiesel และเอทานอล Ethanol เป็นต้น ..
เนื่องจากสาหร่ายมีอยู่อย่างหลากหลายชนิด จึงมีการนำมาใช้งานในภาคอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันในสังคมมนุษย์มากขึ้น .. การทำฟาร์มสาหร่าย Algae Farm แบบดั้งเดิมมีมานานนับพันปี และมีประเพณีที่เข้มแข็งในวัฒนธรรมอาหารของเอเชียตะวันออก .. การเพาะเลี้ยงสาหร่ายที่ทันสมัยมากขึ้นในปัจจุบัน ได้ขยายขอบเขตการใช้ประโยชน์อื่นๆ รวมถึงการใช้เป็นอาหารสัตว์ การใช้สาหร่ายสำหรับการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ หรือการควบคุมมลพิษ การเปลี่ยนแสงแดดเป็นเชื้อเพลิงจากสาหร่าย หรือสารเคมีอื่น ๆ ที่ใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม รวมทั้งในทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ .. การตรวจสอบข้อมูลในปี 2563 พบว่า สาหร่าย Algae เหล่านี้ ได้แสดงบทบาทสำคัญในการกักเก็บคาร์บอน และการเป็นแหล่งเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่สามารถให้ผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มที่มีคุณค่าสำหรับเศรษฐกิจโลกไปพร้อมด้วย ..
ทั้งนี้ เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuels ได้กลายเป็นอีกหนึ่งแหล่งพลังงานทางเลือกทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่น่าสนใจ .. ความสามารถในการแข่งขันของเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuels และความเป็นอิสระจากความผันผวนจากนโยบายพลังงานภาครัฐในระยะยาว เป็นประเด็นที่โดดเด่น .. โดยทั่วไปเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels หลายรูปแบบ มีบทบาท และศักยภาพที่จะเอาชนะระดับต้นทุนของเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel ในอนาคตอันใกล้ได้ ..
การปรากฏตัวของเชื้อเพลิงจากสาหร่าย Algae Biofuels ถือเป็นคำมั่นสัญญาสำหรับเชื้อเพลิงเหลว Liquid Fuels ในเครื่องยนต์สันดาปภายในด้วยพลังงานที่ยั่งยืน Sustainable Energy เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวจากปิโตรเลี่ยม Liquid Petroleum .. ทั้งนี้ เทคโนโลยีการทำ Algae Farm ปัจจุบัน จะเกี่ยวข้องโดยตรงกับศักยภาพกำลังผลิตชีวมวลต่อหน่วยพื้นที่เพาะปลูกในหนึ่งปีมากกว่าชีวมวล Biomass รูปแบบอื่นโดยไม่สร้างปัญหาการจัดสรรทรัพยากรที่เป็นที่ดินบนพื้นที่เกษตรกรรม .. จุดคุ้มทุนสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuels คาดหมายว่า จะเกิดขึ้นได้ภายในปี 2568 ..
สาหร่าย Algae มีมากกว่า 10 ล้านชนิดทั่วโลก และบางชนิดมีไขมัน หรือน้ำมันในปริมาณมาก .. ปัจจุบัน หลายประเทศกำลังพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนสาหร่าย Algae ดังกล่าวให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel .. การวิจัย และพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuels อย่างจริงจัง และการผลิตเพื่อนำไปใช้งานจริงในประเทศญี่ปุ่น เป็นตัวอย่างที่ชัดเจน .. พวกมันแตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขุดสกัดจากใต้ดินลึกลงไปใต้เปลือกโลกแล้วนำขึ้นมากลั่นใช้งาน .. เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuels มีศักยภาพที่จะไม่เพิ่มปริมาณ CO2 ในบรรยากาศด้วย Carbon Neutrality Concept .. ส่วนนี้มีการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเพาะสาหร่ายในปริมาณมาก การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae-Based Biofuel และความก้าวหน้าในกระบวนการกำจัดน้ำเสีย Utilizing Wastewater in the Process ไปพร้อมด้วย ซึ่งมันยอดเยี่ยมมาก ..
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา นักวิจัยได้สำรวจศักยภาพของสาหร่าย Algae ในฐานะวัตถุดิบที่ยั่งยืน Sustainable Feedstock สำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels .. พวกเขามุ่งเน้นไปที่การสกัดส่วนประกอบที่มีน้ำมันจากสาหร่ายเพื่อทดแทนน้ำมันที่ได้จากปิโตรเลียม .. อย่างไรก็ตาม ในการยกระดับเทคโนโลยี และกำลังการผลิตนั้น ยังต้องการทรัพยากรจำนวนมหาศาล รวมทั้งการสนับสนุนจากนโยบายพลังงานภาครัฐ และการเร่งส่งเสริมให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่สามารถกระจายสู่ภาคเอกชน ท้องถิ่น และชุมชนได้อย่างมั่นคง และแข่งขันในตลาดได้ อย่างน้อยจากปัจจุบันสู่อนาคตจากนี้ไป ..
ความสำคัญ และความท้าทายของเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algal Biofuels ..
เศรษฐกิจโลก Global Economy ต้องการไฮโดรคาร์บอนจากฟอสซิล Fossil Hydrocarbons เพื่อการผลิตสินค้า และบริการ ทั้งในภาคพลังงาน และภาคอุตสาหกรรม ตั้งแต่การผลิตพลาสติก Plastics และปุ๋ย Fertilizers ไปจนถึงการจัดหาพลังงานที่จำเป็นสำหรับแสงสว่าง กำลังไฟฟ้า การให้ความร้อน และการขนส่ง ด้วยจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น และระบบเศรษฐกิจที่ต้องการขยายตัว ส่งผลให้การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ประเทศต่าง ๆ พยายามยกระดับ และปรับปรุงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศต่อหัว Gross Domestic Product per Capita .. ทั้งนี้ นอกจากการแข่งขันเพื่อเข้าถึงทรัพยากรพลังงานที่จำกัดเหล่านี้จะเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีปัญหาปริมาณของ CO2 ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น และวิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis ที่เกิดขึ้นจากก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนทั่วโลก ..
แหล่งทรัพยากรปิโตรเลียมที่มีอยู่อย่างจำกัด และกำลังจะหมดลง หรือมีราคาแพงเกินไป ปัจจัยเหล่านี้ขับเคลื่อนการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ที่สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล และการดำเนินการให้เข้าถึงแหล่งเชื้อเพลิงสะอาดของทุกประเทศได้มากขึ้น ในขณะที่การลดปล่อยก๊าซคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศได้กลายเป็นประเด็นสำคัญในระดับนานาชาติ .. แม้ว่าจะไม่มีกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ทั้งหมด แต่ดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้หากใช้กลยุทธ์หลาย ๆ กลยุทธ์ และหลายมาตรการพร้อมกันไปได้ ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลของมนุษยชาติลงได้อย่างมาก .. ความท้าทายยังคงมีอยู่ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algal Biofuels หยิบยื่นให้ ได้แก่ การพัฒนาอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนที่ยั่งยืน Sustainable Energy ด้วยแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality Concept และสามารถแข่งขันในตลาดกับเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลว Liquid Fossil Fuels จากแหล่งพลังงานปิโตรเลียมที่มีใช้งานอยู่ปัจจุบันได้ในราคาที่คุ้มค่า ..
โดยทั่วไป รูปแบบเชื้อเพลิงฟอสซิลที่นิยมใช้ในการผลิตกำลังไฟฟ้า คือ เชื้อเพลิงเหลว Liquid Fuels .. มีเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการปล่อยมลพิษสู่บรรยากาศอยู่มากมายที่สามารถนำมาใช้ผลิตกำลังไฟฟ้าได้ รวมทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ Solar, ลม Wind, ไฟฟ้าพลังน้ำ Hydroelectric, ความร้อนใต้พิภพ Geothermal และนิวเคลียร์ Nuclear .. อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algal Biofuels เพื่อเสริม หรือทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลว Liquid Fossil Fuels ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา .. สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA คาดว่า เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel จะมีส่วนช่วยด้วยสัดส่วน 6% ของการใช้เชื้อเพลิงทั้งหมดภายในปี 2573 แต่อาจขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีกมากอย่างมีนัยสำคัญ ..
“เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel” คำนี้อธิบายเทคโนโลยีที่หลากหลายซึ่งผลิตเชื้อเพลิงที่มีส่วนประกอบอย่างน้อยหนึ่งองค์ประกอบตามระบบชีวภาพ .. เทคโนโลยีหลักที่ใช้ในปัจจุบันสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพเริ่มต้นจากพืชบนบก พืชน้ำมัน ขยะพลาสติก ของเหลือใช้ในภาคการเกษตร และปิดท้ายด้วยเอทานอล Ethanol ไม่ว่าจะเป็นแป้งข้าวโพด น้ำตาล หรือน้ำตาลอ้อย เพื่อนำมาผลิตเชื้อเพลิงเอทานอล Ethanol .. ความสำเร็จในระดับภูมิภาคของกลยุทธ์เหล่านี้ บางส่วนเป็นที่ทราบกันดี โดยเฉพาะการผลิตอ้อยเป็น Ethanol ในบราซิล และอีกในหลาย ๆ ประเทศ .. ในระดับที่น้อยกว่านั้น น้ำมันจากพืชบนบก เช่น ถั่วเหลือง และปาล์ม ถูกนำมาใช้เพื่อผลิตไบโอดีเซล Biodiesel ..
กลยุทธ์เหล่านี้ใช้งานได้จริง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น เห็นได้ชัดว่าพื้นที่เพาะปลูกเหล่านี้ยังไม่ยั่งยืนพอ เนื่องจากมีที่ดินในภาคเกษตรกรรมเพื่อผลิตอาหารจำนวนมหาศาลซึ่งจะต้องถูกนำมาใช้ปลูกพืชน้ำมันทดแทนแหล่งเชื้อเพลิงปิโตรเลียม อาจทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งการจัดสรรทรัพยากรในพื้นที่การเกษตรขึ้นได้ .. อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างของกลยุทธ์ดังกล่าว ได้แก่ การแปลงเซลลูโลสเป็นน้ำตาลสำหรับการหมักเป็นเชื้อเพลิง และการแปรสภาพเป็นแก๊สของสารอินทรีย์ต่อหน่วยพื้นที่ที่เหลือเป็น SynGas ที่สามารถนำมาใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงเหลวได้ แม้ว่าแต่ละกลยุทธ์เหล่านี้จะถูกนำมาใช้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงเหลวก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้องการเชื้อเพลิงเหลวทั่วโลก ..
ในประเด็นท้าทายเหล่านี้ นำไปสู่แหล่งพลังงานศักยภาพ และกลยุทธ์ทางเลือกที่กำลังเติบโต หมายถึง ‘เชื้อเพลิงเหลวที่ผลิตด้วยสาหร่ายขนาดเล็ก Microalgae-Produced Liquid Fuels’ ปริมาณไขมันสูง โตเร็วอย่างยิ่งด้วยอัตราการเติบโตสูง และความสามารถในการปรับปรุงสายพันธุ์อย่างรวดเร็ว รวมทั้งให้ผลิตภัณฑ์ร่วม โดยไม่ต้องแข่งขันกันเพื่อแย่งชิงที่ดินทำเกษตรบนบกในการผลิตอาหารมากเกินไป ทำให้สาหร่าย Algae กลายเป็นส่วนเสริมที่น่าตื่นเต้นให้กับแนวคิดเชื้อเพลิงที่ยั่งยืน Sustainable Fuel ..
การสร้างสาหร่ายขนาดเล็กเป็นแพลตฟอร์มที่ใช้งานได้ดีในเชิงเศรษฐกิจ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยเน้นที่การรวมการผลิตเชื้อเพลิงกับการสร้างผลิตภัณฑ์ร่วม ซึ่งถือว่าเป็นกลยุทธ์ที่จำเป็นสำหรับความอยู่รอดในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติ ด้วยเหตุนี้ ต่างไปจาก 10 ปีที่ผ่านมาซึ่งได้รับความสนใจน้อย .. ปัจจุบัน สถานการณ์ได้เปลี่ยนไป เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuels ได้การยอมรับในวงกว้างมากขึ้น ส่งผลให้พวกมันกลายเป็นแหล่งเชื้อเพลิงทางเลือกที่มีศักยภาพทดแทนแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบดั้งเดิมด้วยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นจากนี้ไปได้สำเร็จในที่สุด ..
การวิจัย และพัฒนาเกี่ยวกับเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae-Based Biofuels เริ่มต้นขึ้นแล้วในหลายประเทศ ..
บริษัทยักษ์ใหญ่ในประเทศญี่ปุ่นหลายบริษัทฯ ต่างแข่งขันกันมาเกือบ 10 ปีแล้ว ในการพัฒนาเชื้อเพลิงจากสาหร่าย Algae-Based Biofuels เพื่อช่วยควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพื่อทดแทนเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel ทั่วไปที่ทำจากข้าวโพด และอ้อย ..
Isuzu Motors และบริษัทธุรกิจชีวภาพ Euglena ประกาศว่า พวกเขาเริ่มให้บริการรถโดยสารโดยใช้น้ำมันที่สกัดจากสาหร่ายสีเขียว Euglenophyceae .. นี่คือความพยายามของญี่ปุ่นที่จะใช้เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายสีเขียวอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เข้าใกล้การทำธุรกิจเชิงพาณิชย์อย่างจริงจังกับสิ่งที่เรียกว่า “ทรัพยากรที่เพาะปลูกได้ Cultivable Resources” ..
เชื้อเพลิงชีวภาพที่ทำจากพืช และวัสดุที่เป็นสารอินทรีย์อื่น ๆ จะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะที่เติบโต จึงไม่มีการเพิ่มรวมสุทธิของ CO2 ในอากาศเมื่อถูกเผา ด้วยเหตุนี้ ความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels จึงมีมากขึ้นในการต่อสู้กับสภาวะโลกร้อน .. ปัจจุบันข้าวโพด และอ้อย ถูกใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงชีวภาพหลัก ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาธัญพืชสูงขึ้นได้ ..
ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการสูญเสียทรัพยากรอาหารดังกล่าว สาหร่ายสีเขียว Green Algae เช่น ยูกลีโนไฟซี Euglenophyceae ได้รับความสนใจอย่างมากในทางธุรกิจสำหรับการเป็นแหล่งเชื้อเพลิงชีวภาพทางเลือก Alternative Biofuel Source .. บริษัทฯ เหล่านี้ สกัดปริมาณน้ำมันที่สะสมจากการสังเคราะห์แสงในสาหร่าย .. ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า กำลังผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Fuel ต่อหน่วยพื้นที่นั้นมากกว่าข้าวโพดถึง 700 เท่า .. ดังนั้นเชื้อเพลิงจากสาหร่ายจึงมักถูกมองว่าเป็นทรัพยากรในฝันที่โตเร็ว และสามารถเพาะเลี้ยงได้ในปริมาณมาก ..
บริษัท JX Nippon Oil & Energy และ Hitachi ได้ทำการวิจัยร่วมกับบริษัทร่วมทุนเพื่อขยายกำลังผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายดังกล่าวด้วย .. นอกจากนี้ ANA Holdings ผู้ดำเนินการสายการบินญี่ปุ่นได้ขยายความช่วยเหลือทางการเงินไปยัง Euglena และด้วยเหตุนี้ บริษัทขนาดใหญ่หลายบริษัทฯ จึงตั้งความหวังไว้สูงเกี่ยวกับศักยภาพของสาหร่าย Algae’s Potential ในอนาคต ..
ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ อื่น ๆ ก็กำลังพัฒนาการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเช่นกัน .. IHI Corporation บริษัทผู้ผลิตเครื่องจักรไฟฟ้าขนาดใหญ่ Heavy Electric Machinery Maker กำลังเพาะเลี้ยงสาหร่ายสายพันธุ์หนึ่งที่เรียกว่า “สาหร่าย Enomoto Algae” ที่โรงงานบนพื้นที่เฉพาะข้างโรงงานขนาดใหญ่สำหรับผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานนิวเคลียร์ในเขตอุตสาหกรรม Keihin Industrial Zone จังหวัดคานากาว่า Kanagawa Prefecture .. Tamotsu Saito ประธาน IHI Corporation มองว่า โครงการนี้เป็นที่ชื่นชอบ และบริษัทฯ ได้เลือกพื้นที่สำหรับเพาะเลี้ยงสาหร่ายชนิดนี้ไว้โดยเฉพาะ ..
บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ Denso กำลังทำการวิจัยเกี่ยวกับสาหร่ายสายพันธุ์อื่นไปพร้อมด้วย ในขณะที่ Electric Power Development หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ J – Power และบริษัทวิศวกรรมโรงงาน JGC ร่วมกันเริ่มการทดสอบการเพาะเลี้ยงสาหร่ายสำหรับโอกาสทางธุรกิจในอนาคต ..
IHI Corporation พบว่า ความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuels มีมูลค่า 800 พันล้านเยน หรือ 7.78 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 และเชื้อเพลิงดังกล่าวนี้ มักจะถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน Sustainable Aviation Fuel : SAF สำหรับอากาศยานเป็นหลัก เนื่องจากแหล่งพลังงานอื่น ๆ เช่น ชุดแบตเตอรี่ และเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ไม่สามารถแทนที่น้ำมันเครื่องบินประเภท Kerosene ได้อย่างง่ายดายนัก ..
ปัจจุบัน ญี่ปุ่นมีการบริโภคเชื้อเพลิงปิโตรเลียมเป็นอันดับสามของโลก รองจากสหรัฐฯ และจีน ตามข้อมูลของ BP บริษัทน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของสหราชอาณาจักร ถึงกระนั้นก็ตาม อัตราการพึ่งตนเองในประเด็นน้ำมันเชื้อเพลิงของญี่ปุ่นยังน้อยกว่า 1% .. หากบริษัทฯ เหล่านี้ประสบความสำเร็จในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuels สิ่งนี้จะช่วยเพิ่มอัตราการพึ่งตนเองของญี่ปุ่นให้สูงขึ้นได้ ..
อีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ .. บริษัทยักษ์ใหญ่ ได้แก่ ExxonMobil วางแผนระยะยาวเดิมพันกับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuel ด้วยเช่นกัน ..
สาหร่าย Algae ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญของสิ่งมีชีวิตอินทรีย์ทั้งหมด ได้แก่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต และกรดนิวคลีอิก .. โดยเฉพาะไขมันของพวกมันนั้น มีประโยชน์อย่างยิ่งในการผลิตพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ได้หลายประเภท ..
การทำให้สาหร่ายเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพเริ่มต้นในห้องปฏิบัติการ โดยแต่ละสายพันธุ์จะได้รับการทดสอบ และดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อให้เติบโตเร็วขึ้น และอุดมไปด้วยไขมัน ซึ่งกรดไขมันที่ไม่ละลายน้ำเหล่านี้ คือ ส่วนประกอบสำคัญที่จะถูกนำมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuels .. การวิจัยล่าสุด พบว่า สาหร่ายขนาดเล็กสามารถบรรจุน้ำมันได้ 15-77% ทำให้พวกมันกลายเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับการผลิตไบโอดีเซล Biodiesel ..
ปัจจุบัน ในสหรัฐฯ นวัตกรรมส่วนใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuel Technology ส่วนใหญ่ได้รับทุน และดำเนินการโดยบริษัทเอกชน เช่น Algenol ในฟลอริดา หรือ Synthetic Genomics ในแคลิฟอร์เนียตอนใต้ เป็นต้น .. อย่างไรก็ตาม รัฐบาลสหรัฐฯ ยังมีบทบาทสำคัญในโครงการระดมทุนภาครัฐ และร่วมมือกับองค์กรเอกชนในการค้นหาสายพันธุ์สาหร่ายที่ดีที่สุด หรือประยุกต์ใช้หลายสายพันธุ์รวมกัน เพื่อให้ได้เชื้อเพลิงชีวภาพที่สามารถแข่งขันด้านราคาได้สำเร็จในระดับที่คุ้มค่าเทียบกับเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลวในอนาคตได้ต่อไป ..
คาดการณ์ตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายทั่วโลก Global Algae Biofuel Market ..
ความต้องการที่เพิ่มขึ้น และการศึกษาเมื่อต้นปี 2565 นี้ พบว่า การเติบโตของตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพสาหร่าย Global Algae Biofuel Market มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจากปีก่อนหน้านี้ ขนาดตลาดทั่วโลก คาดว่าจะมีมูลค่าสูงแตะระดับ 12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2571 จากมูลค่า 5,147.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อปี 2563 .. ทั้งนี้ ในแง่มุมของรายได้ ตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายทั่วโลก Global Algae Biofuel Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 8.9% ในช่วงเวลาคาดการณ์ ปี 2564-2571 ..
ภาคการขนส่งได้รับการคาดหมายว่า จะครองตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuel Market มากกว่า 70% ของความต้องการโดยรวมภายในปี 2568 เนื่องจากมีศักยภาพสูงในการทดแทนน้ำมันดีเซล Diesel และน้ำมันเบนซิน Gasoline บนยานยนต์ Automotive Vehicles ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน Internal Combustion Engines : ICE ..
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป็นตลาดสำคัญสำหรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เนื่องจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาค และได้รับการคาดหมายว่า ตลาด Algae Biofuel ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะเติบโตอยู่ที่ค่า CAGR มากกว่า 8% ด้วยรายได้กว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2568 .. การดำรงอยู่ของชาติเศรษฐกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งจีน และอินเดีย ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประชากรหลักของโลก คาดว่าจะสามารถขับเคลื่อนความต้องการทรัพยากรพลังงานที่ยั่งยืน ซึ่งจะเป็นการเปิดหนทางใหม่สำหรับการเติบโตของตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่ายทั่วโลก Global Algae Biofuel Market ..
ประเทศจีน เป็นหนึ่งใน 5 ของชาติผู้ผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลจากสาหร่าย Algae-Based Biofuels รายใหญ่ที่มีการลงทุนสูงเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์พลังงานจากสาหร่าย เช่น Biogas, Biodiesel, Bioethanol, Bioplastics, Methane, Hythane และ Hydrogen .. การมุ่งเน้นที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลจีนในการลดการพึ่งพาถ่านหิน และทรัพยากรเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่น ๆ สำหรับการขนส่ง และการใช้งานในภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะเป็นการเปิดหนทางใหม่สำหรับการเติบโตของอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย ..
ผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพของสาหร่าย Algae Biofuel Industry ได้แก่ Algenol, Blue Marble Production, Euglena, Solazyme Inc., Sapphire Energy, Culture Biosystems, Origin Oils Inc., Proviron, Genifuels, Algae Systems, Solix Biofuels, Algae Production Systems และ Reliance Life Sciences ..
ทั้งนี้ ในภาพรวมทั้งหมดของขนาดธุรกิจในตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลก Global Biofuel Market ซึ่งรวมเชื้อเพลิงชีวมวลจากสาหร่าย Algae-Based Biofuels ไว้ด้วยแล้ว มีมูลค่า 141.56 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 และได้รับการคาดหมายว่า ตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพทั่วโลก Global Biofuel Market จะมีมูลค่ารวมทั้งหมดแตะระดับ 245.48 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2570 ที่ค่า CAGR 7.81% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ปี 2564-2570 ..
สรุปส่งท้าย ..
การนำชีวมวลสาหร่ายขนาดเล็กจิ๋ว Microalgae มาผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels กลายเป็นทางเลือกที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากภายในเซลล์สาหร่ายขนาดเล็กมีการสะสมโปรตีน 15-84% การสะสมของไขมันค่อนข้างสูงประมาณ 21-25% รวมทั้งบางตัวอาจมีไขมันสูงถึง 63% และมีคาร์โบไฮเดรตอยู่ระหว่าง 7-69% .. พวกมันไม่มีลิกนิน Lignin ซึ่งเป็นชั้นของพอลิเมอร์ธรรมชาติเชิงซ้อนในองค์ประกอบของผนังเซลล์ จึงเหมาะสมมากต่อการนำไปใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel .. นอกจากนั้น สาหร่ายขนาดเล็ก Microalgae เหล่านี้ สามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และเก็บเกี่ยวเพื่อนำไปผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพได้ตลอดทั้งปี อีกทั้งเพาะเลี้ยงได้ง่ายในธรรมชาติ ใช้พื้นที่ในการเพาะเลี้ยงน้อย ซึ่งจัดได้ว่าเป็นอีกเหตุผลเด่นอีกข้อหนึ่งของการนำชีวมวลสาหร่ายขนาดเล็กไปใช้เพื่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพที่เรียกว่า Algae Biofuels ..
การพัฒนางานวิจัยทางด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ที่ส่วนใหญ่มักมาจากผลผลิตทางการเกษตรต่าง ๆ อาทิ อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง หรือปาล์มน้ำมัน เพื่อให้ได้เชื้อเพลิงเหลว Liquid Fuels ตัวอย่างเช่น ไฮโดรเจน Hydrogen, มีเทน Methane, ไฮเทน Hythane, ไบโอดีเซล Biodiesel และเอทานอล Ethanol ซึ่งเป็นที่ถกเถียงว่า แม้พืชชีวมวลทางการเกษตรจะให้ผลผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพสูง แต่ต้องใช้พื้นที่เพาะปลูกจำนวนมาก รวมถึงการใช้สารเคมี เช่น ยาฆ่าแมลงในการเพาะปลูกนั้น อาจกลับส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบนิเวศที่คาดไม่ถึง อีกทั้งยังเกิดประเด็นโต้แย้งที่สำคัญในการนำพืชอาหารมาใช้เป็นพืชพลังงาน .. ดังนั้น ไฮเทน Hythane หมายถึง เชื้อเพลิงชีวภาพจากมวลสาหร่าย Algae Biofuel จึงนับเป็นพลังงานสะอาดที่กำลังจะกลายเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างแท้จริง ..
สำหรับในประเทศไทยนั้น มีการส่งเสริมการผลิตกำลังไฟฟ้าด้วยพลังงานทดแทนจากชีวมวล Biofuels & Biomass Energy มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว โดยเชื้อเพลิงชีวมวลเหลว Liquid Biofuel ส่วนใหญ่มาจากพืชน้ำมัน ขยะอินทรีย์ ขยะพลาสติก และวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ได้แก่ แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย กากมันสำปะหลัง หรือทะลายปาล์ม หรือแม้แต่ขยะแห้ง ของเหลือใช้อื่น ๆ เป็นต้น ..
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร รวมทั้งขยะเหลือใช้จากชุมชน อาจเริ่มขาดแคลน ทั้งที่มันเป็นเป้าหมายของแผนงานผลิตไฟฟ้า ภายในปี 2579 ของประเทศไทย ซึ่งกำหนดกำลังการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล ไว้ถึง 5,570 MW แต่ในปัจจุบันทั่วประเทศมีโรงไฟฟ้าชีวมวลที่เปิดดำเนินการ และจ่ายไฟฟ้าแล้ว เพียงขนาด 2,061 MW เท่านั้น ..
อย่างไรก็ตาม หากรวมหน่วยผลิตไฟฟ้าชีวมวลขนาดเล็กที่ไม่ส่งไฟฟ้าเข้าโครงข่ายระบบสายส่งด้วยแล้ว พบว่า ประเทศไทยมีกำลังการผลิตไฟฟ้าชีวมวลรวมมากกว่า 4,500 MW และมากกว่าครึ่งหนึ่งของกำลังผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ Hydro Power ในประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นระดับหัวแถวแนวหน้าของโลกใบนี้เลยทีเดียว .. ทั้งนี้ ปัญหาหลักจริง ๆ ได้แก่ การขาดแคลนเชื้อเพลิงชีวมวล Biofuel และขาดระเบียบการซื้อขายกับการจัดลำดับความสำคัญ .. การผลิตกำลังไฟฟ้าจาก Biomass เช่น ขยะอินทรีย์ และของเหลือใช้ภาคการเกษตร เป็นเรื่องหนึ่ง ขณะที่การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเหลว Liquid Biofuels จากพืชไร่ พืชน้ำมัน หรือแม้แต่ขยะอิทรีย์ ขยะพลาสติก เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลว Liquid Fossil Fuels ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ..
ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาความขาดแคลนเชื้อเพลิงชีวมวล Biofuel ให้คลี่คลายลงได้นั้น การเสริมกำลังผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเหลวจากสาหร่าย Algae Biofuels or Algal Biofuels อาจกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลเหลว Liquid Fossil Fuels ที่น่าสนใจอย่างยิ่งจากนี้ไป .. ประเทศไทย มีแสงแดดที่ยอดเยี่ยม และมีแหล่งน้ำขนาดต่าง ๆ กระจายอยู่ทั่วประเทศ รวมถึงพื้นที่ปากน้ำ และชายฝั่งทะเลอุ่น หมายถึง ประเทศไทย ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสาหร่ายเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพเหลวจากสาหร่าย และเพื่อต่อยอดทางธุรกิจไม่เฉพาะผลิตภัณฑ์ด้านพลังงาน และเชื้อเพลงชีวภาพเหลว เท่านั้น ..
รวมทั้งขณะเมื่อไทย พยายามอย่างยิ่งที่จะพึ่งพาตัวเองด้านพลังงานให้มากที่สุด และเริ่มดำเนินมาตรการลดความต้องการ ลดการใช้เชื้อเพลิงหลักจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมแล้ว ทางเลือกใหม่ เช่น Bioplastics ที่มาจากสาหร่าย Algae จะสามารถเข้ามาแทนที่พลาสติกจาก By Product ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีที่อาจกำลังถดถอย ได้อย่างสอดคล้องไร้รอยต่อได้ ..
สาหร่ายขนาดเล็ก Microalgae เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีปริมาณน้ำมันสูง High Oil Content เมื่อเทียบกับพืชพันธุ์บนบก Terrestrial Crops ซึ่งต้องใช้เวลาในการเติบโตหนึ่งฤดูกาล และมีน้ำมันสูงสุดประมาณ 5% เท่านั้น .. โดยทั่วไป สาหร่ายขนาดเล็ก Microalgae จะเพิ่มขนาดเป็นสองเท่าทุก 24 ชั่วโมง ในช่วงการเจริญเติบโตสูงสุด สาหร่ายขนาดเล็กบางชนิดสามารถเพิ่มขนาดเป็นสองเท่าทุก ๆ สามชั่วโมงครึ่ง ปริมาณน้ำมันของสาหร่ายขนาดเล็กมักจะอยู่ระหว่าง 20-50% ในขณะที่บางสายพันธุ์มีน้ำมันได้สูงถึง 80% ของน้ำหนัก นี่คือ สาเหตุที่สาหร่ายขนาดเล็ก Microalgae ได้กลายเป็นจุดสนใจในโลกของภาคพลังงานที่เปลี่ยนสาหร่าย Algae จากการเพาะเลี้ยงไปสู่เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ในปริมาณมหาศาลได้ ..
ทั้งนี้ สาหร่ายขนาดเล็ก Microalgae ถือเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตไบโอดีเซล Biodiesel Feedstock ที่ยอดเยี่ยมในอุดมคติ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วสามารถทดแทนเชื้อเพลิงจากปิโตรเลียม Petroleum-Based Fuel ได้เนื่องจากมีข้อดีหลายประการ เช่น ปริมาณน้ำมันสูง อัตราการผลิตสูง ใช้พื้นที่น้อย เป็นต้น .. ในปัจจุบัน การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่ายยังมีราคาแพงเกินไปที่จะจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากต้นทุนคงที่ที่เกี่ยวข้องกับการสกัดน้ำมัน การแปรรูปไบโอดีเซล และความแปรปรวนของการผลิตชีวมวลของสาหร่าย .. ความพยายามในการประหยัดต้นทุนสำหรับการผลิตน้ำมันจากสาหร่าย ควรเน้นที่วิธีการผลิตของสาหร่ายที่อุดมด้วยน้ำมันเอง สิ่งนี้ต้องได้รับการแก้ไขผ่านการเสริมสร้างทั้งชีววิทยาของสาหร่าย ในแง่ของผลผลิตชีวมวล และปริมาณน้ำมัน ..
นอกจากนี้ การใช้ประโยชน์จากทุกแง่มุมของสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มต่าง ๆ เช่น Bioplastics นอกเหนือจากเชื้อเพลิงจากสาหร่าย Algae Biofuels ผ่านโรงกลั่นชีวภาพแบบบูรณาการ เป็นวิธีที่น่าสนใจในการสร้างมูลค่าเพิ่ม และลดต้นทุนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย .. ด้วยความจริงที่ว่า สาหร่ายขนาดเล็กมีน้ำมันเป็นจำนวนมาก โดยส่วนที่เหลือประกอบด้วย โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และสารอาหารอื่น ๆ ในปริมาณมาก ทำให้สารตกค้างหลังการสกัดน้ำมันนั้น ยังคงน่าสนใจสำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือในผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มอื่น ๆ ได้อีกมากมาย ..
การเพาะเลี้ยงสาหร่ายที่ทันสมัยมากขึ้นในปัจจุบัน ได้ขยายขอบเขตการใช้ประโยชน์อื่น ๆ รวมถึงการใช้เป็นอาหารสัตว์ การใช้สาหร่ายสำหรับการบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพ หรือการควบคุมมลพิษ การเปลี่ยนแสงแดดเป็นเชื้อเพลิงจากสาหร่าย หรือสารเคมีอื่น ๆ ที่ใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรม รวมทั้งในทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ .. การปรากฏตัวของเชื้อเพลิงจากสาหร่าย Algae Biofuels ถือเป็นคำมั่นสัญญาสำหรับเชื้อเพลิงเหลว Liquid Fuels ในเครื่องยนต์สันดาปภายในด้วยพลังงานที่ยั่งยืน Sustainable Energy เพื่อทดแทนผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงเหลวจากปิโตรเลี่ยม Liquid Petroleum ..
ปัจจุบัน เชื้อเพลิงชีวภาพจากสาหร่าย Algae Biofuels ได้รับความเชื่อมั่น และการยอมรับในวงกว้างมากขึ้น ส่งผลให้พวกมันกลายเป็นแหล่งเชื้อเพลิงทางเลือกที่ยั่งยืน และมีศักยภาพที่จะเข้ามาแทนที่แหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบดั้งเดิมด้วยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอีกมากจากนี้ไปได้สำเร็จในที่สุด ..
………………………………..
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Biofuels from Algae: Challenges & Potential :-
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3152439/
Algal Biofuel: the Long Road to Commercial Viability :-
Algae for Biofuel Production – Farm Energy :-
Playing the Long Game: ExxonMobil Gambles on Algae Biofuel :-
https://news.mongabay.com/2021/07/playing-the-long-game-exxonmobil-gambles-on-algae-biofuel/
Early US – Japan Collaborations in Algal Biofuels Research :-
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2211926421003465
Research on Algae – Based Biofuels Takes off in Japan | Nikkei :-
https://asia.nikkei.com/Business/Technology/Research-on-algae-based-biofuels-takes-off-in-Japan
The Microalgae/Biomass Industry in Japan :-
Algae – Powered Airplanes? | Aiming for World Leadership in Biofuel :-
Biomass energy | National Geographic Society :-
Biomass Power Plant Thailand – ACE Absolute Clean Energy :-
Global Algae Biofuel Market Revenue is projected to advance considerable hike reaching approximately USD 12 billion with an expected CAGR of 8.9% during the anticipated timeframe, 2021 – 2028 :-
Biofuels Market worth USD 245.48 Billion by 2027, registering a CAGR of 7.81% | Market Research Future :-
Biomass Energy :-