วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightคนไทยร้องจ๊าก! ดีเซล-ก๊าซหุงต้ม-ไฟฟ้าขึ้นราคายกแผง
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

คนไทยร้องจ๊าก! ดีเซล-ก๊าซหุงต้ม-ไฟฟ้าขึ้นราคายกแผง

เริ่มวันนี้วันแรกดีเซล-ก๊าซหุงต้ม-ไฟฟ้าขยับราคายกแผง หลังเงินกองทุนน้ำมันฯบักโกรกรัฐอุ้มต่อไม่ไหว ผลพวงจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกพุ่งจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน

 

เมื่อวันที่ 1 พ.ค.65 รัฐบาลได้เริ่มลดการอุดหนุนเชื้อเพลิงลงโดยในส่วนของ “ก๊าซหุงต้ม” (แอลพีจี) ขึ้นอีก 15 บาทต่อถัง ขนาด 15 กิโลกรัม จาก 333 เป็น 348 บาท และจะทยอยปรับขึ้นอีก 15 บาท ในเดือนมิถุนายนจะปรับขึ้นเป็น 363 บาท

อย่างไรก็ตาม รัฐยังดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบางที่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั่วไป จะได้รับส่วนลดก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) เพิ่มเติมอีก 55 บาท รวมเป็น 100 บาทต่อ 3 เดือน และในส่วนของกลุ่มผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้ส่วนลดไม่เกิน 100 บาทต่อรายต่อเดือน เป็นเวลา 3 เดือน

ส่วน “ค่าไฟฟ้า” ในรอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นอีก 23.38 สตางค์/หน่วย เป็น 24.77 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 4 บาท/หน่วย 

โดยรัฐยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน กว่า 20 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 90 ของครัวเรือน จะได้ส่วนลดโดยคงค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) รอบเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 ไว้ที่ 1.39 บาทต่อหน่วย

ขณะที่ “ราคาน้ำมันดีเซล” ปรับขึ้น 2 บาทต่อลิตร จากเดิมที่ตรึงไว้ 30 บาทต่อลิตร โดยราคาดีเซล B7 อยู่ที่ 31.94 บาทต่อลิตร ดีเซล B10 อยู่ที่ 31.94 บาทต่อลิตร และดีเซล B20 อยู่ที่ 31.94 ดีเซลพรีเมี่ยม B7 อยู่ที่ 37.96 บาทต่อลิตร

ส่วนราคาน้ำมัน E85 ปรับขึ้น 1.00 บาทต่อลิตร อยู่ที่ 32.84 บาทต่อลิตร และจะทยอยปรับขึ้นแบบขั้นบันไดครั้งละไม่เกิน 1 บาทต่อลิตร ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก แต่สูงสุดไม่เกิน 35 บาทต่อลิตร จากราคาจริงอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อลิตร อย่างไรก็ตาม คาดว่าในวันที่  9 พ.ค.ราคาขยับขึ้นเป็น 33 บาทต่อลิตร 16 พ.ค. ราคา 34 บาทต่อลิตร และ 23 พ.ค. ราคา 35 บาทต่อลิตร

สำหรับน้ำมัน และก๊าซแอลพีจี ที่ต้องขยับราคา เนื่องจากสถานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงปัจจุบันล่าสุดวันที่ 26 เม.ย. ติดลบหนักกว่า 56,278 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 24,302 ล้านบาท และบัญชีก๊าซแอลพีจีติดลบกว่า 31,976 ล้านบาท และกองทุนน้ำมันฯ มีกระแสเงินสดเหลือเพียง 10,000 ล้านบาท และต้องรอวงเงินกู้รอบแรก 20,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ในแต่ละวันต้องใช้เงินอุดหนุนดีเซลลิตรละ 9.57 บาท รวมวันละ 634.93 ล้านบาท คำนวณจากยอดการใช้ 65 ล้านลิตร แต่มีเงินบัญชีน้ำมันไหลเข้าวันละ 28.56 ล้านบาท รวมเป็นเงินไหลออกที่ต้องหักจากบัญชีเป็นประมาณวันละ 606.37 ล้านบาท หากคิดเป็นเงินที่จะต้องอุดหนุนน้ำมันดีเซลรายเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 18,000 ล้านบาท

ทั้งนี้หากรวมเงินอุดหนุนก๊าซหุงต้ม กว่า 20,000 ล้านบาททำให้เงินกองทุนไม่เพียงพอ ขณะที่ราคาพลังงานในตลาดโลก ยังผันผวนหนักตามสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน กระทรวงพลังงาน จึงต้องยอมปล่อยให้ประชาชนเข้ามาร่วมรับภาระตามกลไกตลาด

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img