วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 28, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWSสมาคมภัตตาคารไทยเล็งขายอาหารเมนูประหยัดช่วยคนรายได้น้อย
- Advertisment -spot_imgspot_img

สมาคมภัตตาคารไทยเล็งขายอาหารเมนูประหยัดช่วยคนรายได้น้อย


สมาคมภัตตาคารไทยเล็งจับมือพันธมิตรเปิดโครงการร้านอาหารจานด่วนราคาไม่เกิน 25-30 บาทต่อเมนูผ่านเครือข่าย 100 แห่งทั่วกรุงเทพฯ ช่วยคนรายได้น้อยบริโภคอาหารคุณภาพดีราคาถูก

นางฐนิวรรณ กุลมงคล นายกสมาคมภัตตาคารไทย เปิดเผยว่า สมาคมฯ และกลุ่มผู้ประกอบการผลิตอาหารและผู้ผลิตสินค้า มีแผนจัดทำโครงการร้านอาหารจานด่วนราคาไม่เกิน 25-30 บาทต่อเมนู อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดและหารือพันธมิตรทุกด้านให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 เดือน ก่อนเปิดตัวภายในเดือนก.ค.-ส.ค.นี้  เนื่องจากที่ผ่านมาร้านอาหารจานด่วนขนาดเล็กๆ มีปัญหาต้นทุนทุกด้านสูงขึ้น เพราะไม่มีอำนาจต่อรองซื้อวัตถุดิบ ก็ต้องผลักภาระไปให้ผู้บริโภค ส่งผลให้ผู้มีรายได้น้อยมีภาระเพิ่ม ตอนนี้คนมีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน แบกรับค่าอาหารต่อวันเกิน 100 บาทไม่ไหว  

ทั้งนี้จะเริ่มจากปรับร้านอาหารในเครือข่ายที่ยังอยู่ในโครงการส่งอาหารให้ผู้ป่วยโควิดในระบบโฮมไอโซเลชั่น ซึ่งระบบโฮมไอโซเลชั่นจะสิ้นสุดเดือนมิถุนายนนี้ โดยมีเครือข่ายร้านอาหารครบ 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ ประมาณ 100 ร้าน ก็จะยกระดับร้านอาหารเหล่านี้เป็นครัวกลางในการจัดหาวัตถุดิบเพื่อป้อนร้านอาหารทั่วไป และเป็นร้านอาหารคุณภาพราคาประหยัดที่คนมีรายได้น้อยสามารถหาซื้อทานได้ไม่เกิน 30 บาท ต่อเมนู

อย่างไรก็ตาม จะเริ่มจากร้านอาหารที่มีความพร้อมก่อน เป้าหมายจะเปิดตัว 100 แห่ง ใน 50 เขตทั่วกรุงเทพฯ และขยายให้ถึง 1,000 แห่งต่อไป จะใช้ศักยภาพที่เรามีอยู่ ทั้งเรื่องการรวมกันสั่งซื้อในปริมาณที่มาก ทำให้ได้ราคาต่ำลง ดังนั้น ครัวกลางที่เราจะทำเป็นศูนย์กลางช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยและช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยที่ซื้ออาหารดีราคาประหยัดได้ จากนั้นจะขยายไปถึงการสร้างอาชีพให้ผู้มีรายได้น้อยที่ต้องการเปิดร้านอาหารเล็กๆ ตามซอย หากไม่มีสถานที่ก็จะหาสถานที่ให้ค้าขาย

นอกจากนี้สมาคมกำลังหารือกับปั๊มน้ำมันพีที ที่มีกว่า 200 แห่งใน กทม. เป็นจุดจำหน่ายวัตถุดิบและอาหารราคาประหยัดหากได้รับความนิยม ก็จะขยายไปต่างจังหวัดต่อไป อย่างไรก็ตาม  เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่ปล่อยให้ราคาน้ำมันดีเซลเกินลิตรละ  35 บาท/ลิตร น่าจะพยุงราคาน้ำมันให้นานที่สุด แต่เพื่อให้เกิดการใช้จ่าย เห็นด้วยหากรัฐเสริมมาตรการเติมเงินในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงปลดล็อกมาตรการทางสาธารณสุขเพื่อให้ทำการค้าได้ปกติมากขึ้น โดยสนับสนุนเรื่องการเปิดแมสก์ และขยายเวลาเปิดบริการกินดื่มถึงเวลา 02.00 น. เชื่อว่าเอกชนเองจะปรับตัวเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดอยู่แล้ว

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img