วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 28, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightดอลลาร์แข็ง-ต่างชาติเทขายสินทรัพย์ เสี่ยงฉุดบาทอ่อน
- Advertisment -spot_imgspot_img

ดอลลาร์แข็ง-ต่างชาติเทขายสินทรัพย์ เสี่ยงฉุดบาทอ่อน

เงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 35.50 บาทต่อดอลลาร์ กูรูมองแนวโน้มผันผวนระยะสั้นหลังดอลลาร์แข็ง-ต่างชาติเทขายสินทรัพย์เสี่ยง

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย  เปิดเผยว่า  ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 35.50 บาทต่อดอลลาร์ “ทรงตัว ไม่เปลี่ยนแปลง” จากระดับปิดวันก่อนหน้า โดยแนวโน้มค่าเงินบาท ระยะสั้นผันผวนและมีโอกาสอ่อนค่าในช่วงระหว่างวันไปทดสอบโซนแนวต้านแถว 35.50-35.75 บาทต่อดอลลาร์ หลังจากที่เงินบาทล่าสุดอ่อนค่าแตะแนวต้านก่อนหน้าที่ 35.50 บาทต่อดอลลาร์ โดยแรงกดดันฝั่งอ่อนค่ายังคงเป็น แนวโน้มเงินดอลลาร์ที่ยังคงแข็งแกร่งและมีแรงหนุนต่อเนื่อง กอปรกับ แรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงจากนักลงทุนต่างชาติก็ยังเป็นปัจจัยที่กดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ในระหว่างวัน ควรจับตาความผันผวนของเงินบาท ผ่านความผันผวนของเงินยูโร ในช่วงที่ตลาดทยอยรับรู้รายงานข้อมูลเศรษฐกิจในฝั่งยุโรป ซึ่งหากแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้มากก็อาจกดดันให้ตลาดเดินหน้าขายเงินยูโร กดดันให้เงินยูโรอ่อนค่าลงและยิ่งหนุนการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ในระยะสั้นได้ อนึ่ง เรามองว่า แรงหนุนฝั่งแข็งค่าของเงินบาทก็อาจจะมาการโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำได้เช่นกัน หากราคาทองคำสามารถรีบาวด์ขึ้นแตะโซนแนวต้านแถว 1,840-1,850 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูง เราคงแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ ใช้ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน   มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.40-35.60 บาทต่อดอลลาร์

ผู้ในตลาดการเงินฝั่งสหรัฐฯ ทยอยกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น หลังถ้อยแถลงของประธานเฟดต่อสภาคองเกรสล่าสุด ไม่ได้แตกต่างจากที่ตลาดรับรู้มากนัก ขณะที่ภาพเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ดูจะชะลอลง จากรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการที่ออกมาแย่กว่าคาด ก็ทำให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนเริ่มมองว่า เฟดอาจไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงไปมากนัก (ข้อมูลจาก CME FedWatch Tool ระบุว่า ตลาดมอง เฟดขึ้นดอกเบี้ยสูงสุดที่ระดับ 3.75% ลดลงจากที่เคยมองว่า เฟดอาจขึ้นได้ราว 4% หรือสูงกว่านั้น) 

ซึ่งมุมมองดังกล่าว ทำให้ผู้เล่นบางส่วนกลับเข้ามาซื้อหุ้นกลุ่มเทคฯ ที่ปรับตัวลงแรงในช่วงที่ผ่านมา อาทิ Amazon +3.2%, Apple และ Microsoft +2.0% หนุนให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq พลิกกลับมา +1.62%  ส่วนดัชนี S&P500 ก็ปิดตลาด +0.95%

ส่วนตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX600 ของยุโรป ยังคงปรับตัวลดลง -0.82% กดดันโดยความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลงหนัก หลังล่าสุดรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการในเดือนมิถุนายน ของยูโรโซนได้ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 52.0 จุด และ 52.8 จุด ตามลำดับ ซึ่งแย่กว่าที่ตลาดคาดไว้มาก ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงเดินหน้าขายหุ้นยุโรป นำโดยหุ้นกลุ่มธนาคาร Santander -2.7%, UBS -2.5%

ขณะที่ตลาดบอนด์ แม้ว่าตลาดหุ้นฝั่งสหรัฐฯ จะพลิกกลับมาอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ทว่า ผู้เล่นบางส่วนยังคงกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว และเลือกที่จะเข้ามาถือพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวมากขึ้นทำให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง สู่ระดับ 3.09% 

นอกจากนี้ มุมมองของผู้เล่นในตลาดบางส่วนที่เริ่มปรับลดคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยสูงสุดของเฟดในรอบนี้(Terminal Rate) เหลือ 3.75% ก็มีส่วนที่ทำให้บอนด์ยีลด์ระยะยาวทยอยปรับตัวลดลง 

อย่างไรก็ดี เรามองว่า บอนด์ยีลด์ระยะยาวยังคงมีโอกาสผันผวนต่อจนกว่า ตลาดจะมั่นใจว่าเฟดจะไม่เร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง จนทำให้ จุดสูงสุดของดอกเบี้ยนโยบายเฟด หรือ Terminal Rate สูงกว่าที่ตลาดมองไว้ ซึ่งอาจเป็นจังหวะที่ตลาดรับรู้ข้อมูลเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน รวมถึงผลการประชุมเฟดในเดือนกรกฎาคมก่อน

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์รีบาวด์ขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ได้ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 104.4 จุด แม้ว่าเงินดอลลาร์จะถูกกดดันโดยภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดและการย่อตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ แต่ เงินดอลลาร์ยังพอได้แรงหนุนจากการอ่อนค่าของสกุลเงินฝั่งยุโรป หลังผู้เล่นในตลาดต่างผิดหวังกับรายงานข้อมูล PMI ล่าสุด 

ซึ่งทำให้ เงินยูโร (EUR) กลับมาอ่อนค่าลงสู่ระดับ 1.052 ดอลลาร์ต่อยูโร เช่นเดียวกันกับ เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ที่ย่อตัวลงแตะระดับ 1.226 ดอลลาร์ต่อปอนด์ ทั้งนี้ การแข็งค่าขึ้นของเงินดอลลาร์และภาวะเปิดรับความเสี่ยงของผู้เล่นในตลาดบางส่วน ก็กดดันให้ราคาทองคำผันผวนหนักและปรับตัวลดลงใกล้ระดับ 1,825 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอติดตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป ผ่านรายงานข้อมูลเศรษฐกิจของฝั่งอังกฤษและเยอรมนี หลังจากที่ล่าสุด ตลาดได้ผิดหวังกับรายงานดัชนี PMI ของยุโรปที่ออกมาแย่กว่าคาดในวันก่อนหน้า โดยในฝั่งอังกฤษ ตลาดคาดว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI เดือนพฤษภาคมที่ยังคงอยู่ในระดับสูงจะกดดันให้การใช้จ่ายของผู้คนอาจชะลอตัวลง ซึ่งจะสะท้อนผ่านยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนพฤษภาคมที่อาจหดตัว -0.7%m/m นอกจากนี้ ความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัว จะสะท้อนผ่านดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนี (IFO Business Climate) ที่จะลดลงสู่ระดับ 92.7 จุด ในเดือนมิถุนายน

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img