วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlightลดระดับ'โควิด19'จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง มีผล 1 ต.ค.นี้
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

ลดระดับ’โควิด19’จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง มีผล 1 ต.ค.นี้

กก.โรคต่อต่อ ไฟเขียวลดระดับโควิด – 19 จากโรคอันตราย เป็นโรคเฝ้าระวัง ย้ำประชาชนรักษาฟรีตามสิทธิ์ รพ.ทุกแห่งซื้อยาเองได้

เมื่อวันที่ 8 ส.ค.65 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 6/2565 ว่า วันนี้ที่ประชุมมีมติ 4 เรื่อง คือ 1. เห็นชอบกรมนโยบายและแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคโควิด – 19 เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการโรคหลังการระบาดใหญ่ ที่ตอนนี้ประเทศไทยสามารถควบคุมโรคได้ ลดการเจ็บป่วย สถานพยาบาลรองรับได้ และให้สอดคล้องกับที่มีการปรับเรื่องการบริหารยา ที่สื่อสารไปยังรพ.ทุกสังกัดแล้ว ว่ได้อนุญาตให้ทุกรพ.สามรถจัดหายาต้านไวรัสได้เองตั้งแต่ 1 ก.ย. 2565 เป็นต้นไป ส่วนค่าใช้จ่ายในการรักษา พยาบาล ยังสามารถเบิกจากสปสช.ได้เช่นเดียวกับการรักษาโรคติดเชื้ออื่นๆ ประชาชนสามารถเข้ารับการรักษาได้ตามสิทธิ

  1. ที่ประชุมยังเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยกเลิกชื่อและอาการสำคัญ ของโรคติดต่ออันตราย ฉบับที่…พ.ศ….และร่างประกาศ สธ. เรื่องชื่อ และอาการสำคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง โดยได้พิจารณาปรับโรคโควิด 19 จากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อที่เฝ้าระวัง เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคในปัจจุบัน ทั้งนี้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 เป็นต้นไป
  2. รับทราบสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด – 19 และสายพันธุ์ในไทย ซึ่งพบว่ามีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ประชาชนมีความเข้าใจว่าเริ่มเป็นโรคที่ไม่รุนแรง หากติดเชื้อสามารถดูแลรักษาที่บ้านได้ และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งให้ ทุกวันนี้ยังคงสามารถให้การรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อฯ ตามดุลพินิจ โดยสธ.ยังเตรียมยารักษา วัคซีน ภูมคุ้มกันสำเร็จรูป ไว้เพียงพอให้บริการ ยืนยันเราไม่ได้ขาดยา ใครที่บอกว่าขาดยา ต้องไปดูว่าแพทย์ที่สั่งจ่ายมีดุลยพินิจเช่นไร ไม่ใชผู้ติดเชื้อทุกคนจะได้รับยา ฟาวิพิราเวียร์ หรือโมนูลพิราเวียร์ ทางองค์การเภสัชกรรมยืนยันมีการกระจายยาลงพื้นที่ หากรพ.ใดที่มีปัญหาก็สามารถแจ้งเข้ามาได้ กรณีมีข้อสงสัยว่ายาโมนูลฯ มีราคาถูกกว่า ฟาวิพิราเวียร์ แล้วทำไมจึงไม่ใช้ยาโมนูลฯ เลย ก็ขอชี้แจงว่า ยาโมนูลฯ นั้น ใช้กับเด็กอายุ 18 ขึ้นไป ต่ำกว่านี้ให้ไม่ได้ มีเพียงฟาวิพิราเวียร์ที่ใช้ในเด็กต่ำกว่า 18 ได้
  1. กรณีโรคฝีดาษวานร ทางกรรมการฯ เห็นว่าประเทศไทยยังสามารถควบคุมโรคได้ และมีการสั่งซื้อวัคซีนมาฉัดีดให้บุคลากรกลุ่มเสี่ยง ลำดับแรกคือ แพทย์ พยาบาลที่ดูแลในพื้นที่เสี่ยง รวมถึงผู้ที่อยู่ในข่ายมีพฤติกรรมสุ่มเสี่ยง สัมผัสใกล้ชิด ก็จะมีการให้วัคซีน ย้ำว่าวัคซีนป้องกันฝีดาษวานร ยังไม่ใช้วัคซีนที่จัดให้ฉีดเป็นการแพร่หลายเหมือนวัคซีนป้องกันโควิด หรือวัคซีนปเองปันไข้หวัดใหญ่

ด้าน นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองปลัดสธ. กล่าวว่า การจัดซื้อยา จะเป็นไปตามกลไกการตลาด โดยสปสช.จะ เป็นผู้กำหนดราคากลาง อีกทั้งมี บริษัทยามาขอขึ้นทะเบียนกับอย.เพิ่มมากขึ้น ทำให้เกิดการแข่งขันในตลาดเพิ่มมากขึ้ย ส่วนข้อกังวลเรื่องรพ.ขนาดเล็กไม่สามารถต่อรองราคาเองได้ เพราะปริมาณการสั่งซื้อน้อยนั้น ด้วยกลไกที่กระทรวงสาธารณสุขวางไว้สามารถให้ แต่ละรพ. รวมกันในเขตสุขภาพเป็นผู้จัดซื้อได้ สำหรับเรื่องการจัดซื้อในสถานพยาบาลนั้น ไม่ใช่เรื่องใหม่ หรือเป็นเรื่องที่พิจารณาหลังเกิดดราม่าเรื่องยาไม่พอ การให้แต่ละโรงพยาบาลจะซื้อยาเองเคยเกิดขึ้นแล้วในสมัยไข้หวัดใหญ่ 2009 ที่ตอนแรกเมื่อมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่มีความต้องการยาทามิฟูล ทางภาครัฐก็เป็นผู้ดำเนินงานจัดหาจากนั้นเมื่อมีการลดระดับโรค เกิดการระบาดน้อยลงก็ให้แต่ละโรงพยาบาลดำเนินการจัดซื้อเองจากนั้นก็เข้าสู่กลไกให้สถานพยาบาลขนาดเล็กอย่างคลินิกสามารถสั่งซื้อและจ่ายยาเองได้.

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img