วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“ยางพารา”ส่งออกครองแชมป์โลก ไทยเร่งเจาะตลาดใหม่ ดันราคายางเพิ่ม
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“ยางพารา”ส่งออกครองแชมป์โลก ไทยเร่งเจาะตลาดใหม่ ดันราคายางเพิ่ม

นายกฯพอใจผลงานส่งออกยางพารา ครองแชมป์โลก ก.เกษตรออก 6 มาตรการเสริม เจาะตลาดใหม่ ดันราคายางเพิ่ม

เมื่อวันที่ 13 ส.ค.65 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ภายใต้แนวทาง “เกษตรผลิต พาณิย์ตลาด” ของรัฐบาล ทำให้ยอดการส่งออกยางพาราครึ่งปีแรกปี 2565 ของไทย ครองตำแหน่งผู้ส่งออกยางอันดับ 1 ของโลก โดยการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) รายงานว่า ช่วง ม.ค.-มิ.ย. ปีนี้ มีปริมาณการส่งออกยางธรรมชาติและผลิตภัณฑ์ยาง 2.19 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่ารวม 2.4 แสนล้านบาท จีนนำเข้ายางไทยเป็นอันดับหนึ่ง คิดเป็น 49% ของการส่งออกทั้งหมด รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย 10% สหรัฐอเมริกา 7% ญี่ปุ่น 6% เกาหลีใต้ 4%

สำหรับแผนการขยายตลาดสู่ตลาดใหม่ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รายงานต่อนายกรัฐมนตรี พลเอก ประเด็น จันทร์โอชา ว่า ได้สั่งการให้คณะกรรมการติดตามและเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาราคายางและรักษาเสถียรภาพราคายาง ทำการ
ระดมสมองจากทูตเกษตรทุกภูมิภาคทั่วโลก เพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลและออกมาตรการเชิงรุก ซึ่งได้ข้อสรุป 6 มาตรการ ดังนี้

1.มาตรการสื่อสารประชาสัมพันธ์เชิงรุก เช่น การผลิตสื่อดิจิทัลเผยแพร่ในตลาดต่างประเทศ

2.มาตรการการตลาดเชิงรุก เน้นความต้องการผลิตภัณฑ์ยางรายตัวสินค้าและรายประเทศคู่ค้า (product based &country based) เช่น ความต้องการยางจักรยานและยางรถบัสเพิ่มขึ้นในประเทศกลุ่มสหภาพยุโรปและผลิตภัณฑ์ยางที่อียูแบนสินค้าจากรัสเซีย หรือผลิตภัณฑ์ยางที่รัสเซียระงับการนำเข้าจากอียู

3.มาตรการเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน ใช้แนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน สวนยางยั่งยืนและระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อตอบโจทย์ ประเด็นสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะเป็นเรื่องที่หลายประเทศในยุโรปให้ความสำคัญ

4.มาตรการระยะสั้นรายไตรมาส เพื่อการบริหารจัดการตามปฏิทินฤดูการผลิตประจำปี โดยมอบ กยท. ภาคเอกชน และภาคเกษตรกรหารือกันเพื่อกำหนดมาตรการร่วมกัน

5.มาตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่ยางมูลค่าสูง เน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เช่น วัสดุภัณฑ์ก่อสร้างบ้านและอาคาร ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ อุปกรณ์ด้านคมนาคมขนส่ง เพื่อเพิ่มรายได้ชาวสวนยาง สถาบันยางและผู้ประกอบการ ผ่านการทำงานร่วมระหว่าง กยท. และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (ศูนย์AIC) นำงานวิจัยมาประยุกต์ใช้จริง

6.มาตรการเชิงกลไกการตลาด เช่น การบริหารซัพพลายและดีมานด์ กลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบจริง และระบบการประมูลยางออนไลน์เป็นระบบที่เปิดกว้างเพิ่มผู้ซื้อทั้งลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแก้ปัญหาการกำหนดราคาโดยผู้ซื้อน้อยราย หรือการฮั้วหรือการผูกขาด

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรีให้ความมั่นใจต่อเกษตรกรชาวสวนยาง ในแนวทางการรักษาเสถียรภาพราคายาง และพอใจผลงานกระทรวงเกษตรฯ ที่สามารถผลักดันให้ประเทศไทยครองแชมป์ส่งออกเป็นอันดับหนึ่งของโลก ซึ่งหมายถึงรายได้ที่จะมาสู่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ นายกฯได้เน้นย้ำเรื่องการใช้นวัตกรรมพัฒนาสินค้ายางพาราเพื่อเพิ่มมูลค่า และเจาะตลาดประเทศใหม่ๆ

สำหรับการดำเนินการเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา กระทรวงเกษตรฯ และกยท. มีโครงการชะลอการขายยางของสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง มีสถาบันฯเข้าร่วมโครงการ 207 แห่ง และโครงการรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยกยท. ดำเนินการค้ำราคา เข้าแทรกแซงสร้างราคาในตลาดประมูลยางแผ่นดิบและยางแผ่นรมควัน เข้าประมูลในตลาดล่วงหน้ายางแผ่นรมควัน (เข้าค้ำราคาล่วงหน้า) เป็นต้น สำหรับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ซึ่งเป็นการสร้างความแน่นอนในเรื่องรายได้ขั้นต่ำของเกษตรกรจำนวน 1.46 ล้านราย ทั้งนี้ จากการดำเนินการมา 3 ปี ใช้งบประมาณจ่ายเงินส่วนต่างลดลง แสดงให้เห็นถึงระดับราคายางพาราที่ดีขึ้น มีหลายงวดที่ราคาตลาดสูงกว่าราคาประกัน ทำให้ไม่ต้องมีการจ่ายเงินส่วนต่าง ประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้มาก

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img