ระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ และการผลิต Lithium Ion Batteries ในประเทศ จะกลายเป็นปัจจัยความสำเร็จในพัฒนาการด้านพลังงานของไทย
การจัดเก็บพลังงานแบบกริด Grid Energy Storage หรือที่เรียกว่า การจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ Utility – Scale Energy Storage .. คือการหลอมรวมวิธีการต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับการจัดเก็บพลังงานปริมาณมากในระบบสายส่ง หรือภายในกริดพลังงานไฟฟ้า Electrical Grid หรือจากแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจาย เครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือนจริง Virtual Power Plant : VPP ซึ่งพลังงานไฟฟ้า จะถูกเก็บไว้ในช่วงเวลาที่ไฟฟ้ามีมาก เหลือใช้ และเป็นห้วงเวลาที่ราคาไม่แพง
โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแหล่งพลังงานหมุนเวียน พลังงานทางเลือก ที่ไม่ต่อเนื่อง เช่น แหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน พลังงานลม พลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลง พลังงานแสงอาทิตย์ หรือเมื่อความต้องการต่ำ และต่อมาจะกลับนำส่วนเหลือเกินเข้าสู่ระบบสายส่ง หรือ Electrical Grid ได้ เพื่อจัดเก็บไว้ใช้ภายหลัง และเมื่อความต้องการสูง ค่าไฟฟ้าก็มักจะสูงขึ้นตามด้วย
ซึ่งทำให้การวางแผนทางธุรกิจนั้นเป็นไปได้ ด้วยการบริหารอัตราค่าไฟฟ้าในช่วง On Peak และ Off Peak โดยค่าไฟฟ้าในช่วงเวลา On Peak ค่าไฟฟ้าจะสูงกว่า เพราะเป็นช่วงที่ระบบมีความต้องการใช้ไฟฟ้ามาก ในขณะที่ช่วง Off Peak เป็นช่วงที่ระบบมีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อย (Off Peak) ค่าไฟจึงมีราคาลดลง เนื่องจากสามารถเลือกแหล่งจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนที่เกินมาก่อนจากหลากหลายแหล่งในสายส่งได้ รวมทั้งเป็นโอกาสที่จะจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินไว้ใช้ภายหลังโดยไม่พึ่งสายส่งในช่วงค่าไฟฟ้าแพง เป็นต้น
ในอดีตที่ผ่านมา รูปแบบการจัดเก็บพลังงานแบบกริดที่ใหญ่ที่สุด คือการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ โดยมีทั้งการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำธรรมดา และการกักเก็บพลังน้ำ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน ‘ความสำเร็จในการพัฒนาในการจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ขนาดใหญ่’ ทำให้โครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน สามารถวางแผน และทำงานได้ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งสามารถจัดเก็บพลังงานในระหว่างการผลิตสูงสุด และการเปิดตัวในช่วงที่มีความต้องการสูงสุด และ/หรือ สำหรับการใช้งานเมื่อการผลิตลดลงโดยไม่คาดคิด การบริหารจัดการด้วยระบบ IT Online ทำให้มีทางเลือกมากมายในการบริหาร โดยเฉพาะในการจัดเก็บแบบกริดอย่างฉลาด Smart Grid ได้แก่ การใช้โรงไฟฟ้าที่มีกำลังผลิตถึงจุดสูงสุด และนำกำลังไฟฟ้าส่วนเกินเก็บไว้ใช้ เพื่อเติมเต็มช่องว่างของอุปทาน และการตอบสนองความต้องการเพื่อเปลี่ยนภาระไปเป็นเวลาอื่นอย่างฉลาดได้ ..
สำหรับประเทศไทยนั้น ระบบการจัดเก็บพลังงานเชื่อมต่อระบบสายส่ง หรือ กริด ขนาดใหญ่ ที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ ตัวอย่างเช่น โรงไฟฟ้าลำตะคองชลภาวัฒนา เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำแบบสูบกลับ มีลักษณะเป็นโรงไฟฟ้าใต้ดินแห่งแรก และแห่งเดียวของประเทศ ของ กฟผ.ซึ่งติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 250 เมกะวัตต์ จำนวน 2 เครื่อง รวมกำลังผลิตติดตั้ง 500 เมกะวัตต์
ต่อมาได้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพิ่มเติมอีกจำนวน 2 เครื่อง ทำให้มีกำลังผลิตติดตั้งรวมทั้งสิ้น 1,000 เมกะวัตต์ จะนำไฟฟ้าส่วนเกินในช่วง Off Peak ในระบบสายส่งไปสูบน้ำไปเก็บไว้บนยอดเขา และจะปล่อยน้ำลงมาผ่านเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในช่วง On Peak เพื่อจ่ายพลังงานไฟฟ้าเข้าสายส่ง เติมเต็มความต้องการการใช้ไฟฟ้าของเมือง หรือชุมชน ได้อย่างพอเพียง และมีประสิทธิภาพ จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ ความแตกต่างของราคาค่าไฟฟ้าในช่วง On Peak และ Off Peak ทำให้การวางแผนทางธุรกิจคุ้มค่าการลงทุน ..
เทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานจำนวนมาก (พลังน้ำในการกักเก็บแบบสูบ, แบตเตอรี่ไฟฟ้า, แบตเตอรี่ไหล, การจัดเก็บพลังงานของมู่เล่, ตัวเก็บประจุขนาดใหญ่ เป็นต้น) เหมาะสำหรับการใช้งานในระดับกริด ตัวอย่างเช่น สถานีพลังน้ำแบบสูบนั้น เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานการจัดการโหลดจำนวนมากเนื่องจากมีความจุ และความสามารถในการใช้พลังงานที่มาก
อย่างไรก็ตาม สถานที่ที่เหมาะสมมีจำกัด กับประโยชน์ใช้สอยจะด้อยลงไป เมื่อต้องรับมือกับปัญหาคุณภาพไฟฟ้าที่แปรผันจากแหล่งพลังงานทางเลือก ซึ่งในทางกลับกัน มู่เล่ และตัวเก็บประจุประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาคุณภาพของพลังงาน แต่ขาดความสามารถในการจัดเก็บที่จะใช้ในแอพพลิเคชั่นขนาดใหญ่
ข้อจำกัดเหล่านี้ เป็นข้อจำกัดตามธรรมชาติในการบริหารข้อมูลสารสนเทศที่ซับซ้อนที่ต้องปฏิบัติการภายใต้สถานการณ์ตามเวลาจริงตลอดเวลา และต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ทำให้การใช้แบตเตอรี่ Lithium Ion Batteries ตัวเล็ก ๆ หลายตัวต่อขนานกัน บรรจุในกล่อง หรือคอนเทนเนอร์ขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ในอาคาร กลายเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และง่ายต่อการบริหารจัดการด้วยระบบสารสนเทศ ..
ตัวอย่าง สถานีจ่ายไฟฟ้าระบบแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ในออสเตรเลีย สามารถตอบสนองได้เกินคาดหมาย ตลอดประสบการณ์การใช้งาน ระยะเวลา 12 เดือน ..
รายงานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บพลังงานแบตเตอรี่ขนาดใหญ่สองระบบ (BESS) ในรัฐวิกตอเรียของออสเตรเลียซึ่งแสดงให้เห็นว่าทั้งสองระบบทำงานได้ตามที่คาดไว้ หรือดีกว่าในประสบการณ์ 12 เดือนของการทำงาน ระบบจัดเก็บพลังงาน Gannawarra (25MW / 50MWh) ติดตั้งร่วมกับ โซลาร์ฟาร์ม 50MWac พร้อมระบบจัดเก็บแบตเตอรี่
ขณะที่ระบบจัดเก็บพลังงานแบตเตอรี่ Ballarat (30MW / 30MWh) เป็นระบบจัดเก็บพลังงานแบบสแตนด์อโลนระบบแรกที่เชื่อมต่อโดยตรงกับ เครือข่ายการส่งสัญญาณที่ด้านหน้าของมิเตอร์ (FTM) และทั้ง 2 ระบบงานนี้ อาจไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์มากเท่ากับโครงการ Hornsdale Power Reserve ในออสเตรเลียใต้ ซึ่งใช้อุปกรณ์จัดเก็บแบตเตอรี่ของ Tesla ได้รับการติดตั้ง และเชื่อมต่อภายใน 100 วัน และเตรียมจะเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นอีกในเร็ววันนี้ ..
โครงการทั้งสองโครงการ ถูกมองว่าเป็นโครงการต้นแบบตัวอย่างในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประสิทธิภาพ และศักยภาพของ Utility – Scale Energy Storage และเป็นการเปิดตัวความสำเร็จระบบการจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าด้วยแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ในออสเตรเลีย ด้วย Lithium Ion Batteries เพื่อเป็นแหล่งพลังงานให้กับ เมือง ชุมชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับ Hornsdale ซึ่งพบว่ามันได้เป็น “ความสำเร็จที่ไม่อาจปฏิเสธได้”
ในรายงานที่คล้ายกัน ซึ่งเผยแพร่เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ โครงการ Ballarat และ Gannawarra ได้ส่งมอบการบริการสำหรับ กริด และรายได้ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ โดยกริดสามารถตอบสนองความต้องการพลังไฟฟ้า ด้วยการจ่ายไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ที่ใช้ Lithium – Ion Batteries นั่นเอง ..
สำหรับการพัฒนาพลังงานทางเลือกในประเทศไทยนั้น แผนงานการทำ Energy Storage ในระดับ ‘Gigafactory’ อาจทำให้ตลาด Energy Storage ในประเทศ คึกคักอย่างมาก ด้วยมูลค่าการลงทุนสูงที่สุดในภูมิภาค ..
บริษัท Energy Absolute ซึ่งเป็น บริษัท เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนในไทย มีแผนจะลงทุน 3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถือเป็นการลงทุนขนาดใหญ่ ในโครงการก่อสร้างสถานีจ่ายไฟฟ้าแบบแบตเตอรี่ และโรงงานระบบจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่รูปแบบ “Gigafactory” เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการขยายตัวเกี่ยวกับการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า และโครงข่ายอัจฉริยะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยแผนการพัฒนาของโรงงานแบ่งออกเป็นสองช่วง โรงงานแห่งแรก มีกำลังการผลิต 1GWh คาดว่า Energy Absolute จะใช้เงินลงทุนประมาณ 4 พันล้านบาท (119 ล้านดอลลาร์) ด้วยเงินทุนของตนเอง บริษัท มีเป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 50GWh ในระยะที่สอง ขั้นตอนนี้จะทำให้โรงงานมีขนาดใหญ่กว่าโรงงาน 35GWh ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นสำหรับ บริษัท Tesla ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของสหรัฐฯในรัฐเนวาดา ..
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) หรือ EA ได้ประกาศความคืบหน้าโครงการลงทุนในอนาคตที่สำคัญออกมา โดยโครงการที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคงหนีไม่พ้นอุตสาหกรรมใหม่ หรือที่เรียกกันว่า New S-Curve ซึ่งเป็นการต่อยอดจากธุรกิจโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ ออกมาเป็นกลุ่มพลังงานไฟฟ้ารูปแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็น ยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งรถส่วนตัว – รถบัสโดยสาร เรือโดยสาร รวมถึงสถานีอัดประจุไฟฟ้า และแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน Lithium Ion Battery ..
โดยกลุ่มยานยนต์ไฟฟ้า ถือว่าหลายคนเริ่มคุ้นเคยกับกลุ่มธุรกิจนี้ดีอยู่แล้ว เนื่องจากหลายปีที่ผ่านมายานยนต์ไฟฟ้าต่าง ๆ เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง แต่กลุ่มธุรกิจแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ยังค่อนข้างเป็นเรื่องที่ไกลตัว เนื่องจากยังไม่เคยมีนวัตกรรมประเภทนี้ในประเทศไทยมาก่อน ซึ่ง EA ถือเป็นผู้ประกอบการเจ้าแรกของไทยที่เปิดมิติใหม่แห่งวงการพลังงานเพื่ออนาคต ..
นวัตกรรมของระบบจัดเก็บพลังงาน หรือ ESS นั้นมีประโยชน์ต่อภาคพลังงานของไทย และสามารถต่อยอดไปออกไปได้อีกมากมายแค่ไหน รวมถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย มีแนวโน้มสดใส ..
ระบบจัดเก็บพลังงาน (Energy Storage System : ESS) นับว่าเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของพลังงานไฟฟ้าแห่งอนาคต รวมทั้งระบบเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศ เนื่องจากแม้ว่าจะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนกลับมีข้อจำกัดจากความผันผวนตามธรรมชาติ หรือแม้แต่อุปสรรคจากการคัดค้านของชุมชนในการตั้งโรงไฟฟ้าโดยเฉพาะโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทั้งที่มันราคาถูกที่สุด และสะอาดกว่าอย่างยิ่งเมื่อทำเป็นระบบปิด แต่มันก็ยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ดี ซึ่งเราก็สามารถดักจับเก็บไว้ใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกได้ ..
ดังนั้นการเข้ามาของระบบจัดเก็บพลังงาน ESS จะช่วยอุดรูโหว่ของปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ ตั้งแต่กระบวนการผลิตไฟฟ้า – การจัดเก็บพลังงาน จนถึงขั้นตอนการนำไปใช้ และจำหน่าย ซึ่งพอจะสรุปจุดเด่นของ ESS ออกมาได้ ดังนี้
- โยกย้ายพลังงานได้ตามความต้องการ : เพราะการเก็บไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จะสามารถนำไฟฟ้าออกมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้ หากในช่วงความต้องการใช้ไฟต่ำเช่นช่วงฤดูหนาว ก็สามารถผลิตไฟเก็บสำรองไว้ และสามารถนำออกมาใช้ในช่วงที่ความต้องการสูงอย่างช่วงฤดูร้อนได้ ..
- ขนาดในการก่อสร้างที่เล็กกว่าโรงไฟฟ้า : ผู้ผลิตสามารถเลือกระดับการลงทุนที่เหมาะสมกับความจำเป็น จากข้อจำ กัดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ ความต้องการ ฯลฯ จะช่วยลดต้นทุนและลดความสิ้นเปลืองในขั้นตอนการผลิตลงได้ ..
- สามารถปล่อยและเก็บไฟฟ้าได้อย่างรวดเร็ว : สำหรับ ESS ในบางประเภท ที่มีคุณภาพสูงจะมีความสามารถในการจัดเก็บ และปล่อยกระแสไฟฟ้าได้รวดเร็ว จึงสามารถเลือกมาใช้กับงานที่ต้องการความเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าสูง และลดการพึ่งพาโรงไฟฟ้าแต่เพียงอย่างเดียว ..
- สามารถเคลื่อนย้ายได้ : ในพื้นที่ห่างไกลที่โครงสร้างด้านพื้นฐานไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ESS จะสามารถตอบโจทย์ตรงจุดนี้ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถปรับรูปแบบ – ขนาดได้หลากหลาย ทำให้เกิดการประหยัด และอ่อนตัว (Economy of Scope) ..
สรุปส่งท้าย ..
โรงไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จำต้องมีระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage System : ESS เช่น Batteries รูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น มีหลายคนยังกังวลว่าการมาของ ESS จะนำไปสู่การสูญเสียบทบาทหลักของรูปแบบการผลิตไฟฟ้าแบบเดิม ๆ โดยเฉพาะโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ แต่ในความจริงแล้ว กลับเป็นเรื่องที่ตรงข้ามกับความกังวลดังกล่าวอย่างสิ้นเชิง เพราะ ESS นั้นสามารถนำมาปรับใช้ได้กับโรงไฟฟ้าทุกรูปแบบ ทุกขนาด ในระบบการผลิต และทั้งระบบการบริโภคไฟฟ้า รวมทั้งสามารถเชื่อมต่อกับระบบสายส่งหลัก Power Grid และระบบสายส่งย่อย Micro Grid
และเมื่อผนวกระบบเครือข่ายการผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบกระจาย หรือระบบโรงไฟฟ้าเสมือนจริง Virtual Power Plant มาใช้ประกอบกันด้วยแล้ว ศักยภาพในการบริหารจัดการ การให้บริการ การบริโภค รวมทั้งผู้บริโภคส่วนหนึ่งจะแสดงบทบาทเป็นผู้ผลิตด้วย การพึ่งพาแหล่งพลังงานจากเชื้อเพลิงที่เป็นน้ำมันจะลดลง และเมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าไปอีกระดับ กับราคาพลังงานทางเลือกลดลงเรื่อย ๆ มนุษยชาติอาจไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันที่กลั่นมาจากน้ำมันดิบอีกต่อไปในที่สุด ..
หากให้ลองนึกภาพตามแบบง่าย ๆ ทุกขั้นตอนของการผลิต และการใช้พลังงานไฟฟ้า จะต้องการอุปกรณ์การจัดเก็บพลังงานที่มีคุณภาพสูง เช่นเดียวกับโทรศัพท์มือถือของท่านต้องการ Lithium Ion Battery ชั้นเยี่ยม ตั้งแต่ฝั่งผู้ผลิตระดับโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ ขนาดเล็ก หน่วยผลิตไฟฟ้าย่อย ระบบสายส่งหลัก สายส่งย่อย ระบบจำหน่ายไฟฟ้า ผู้บริโภค ในเมือง ชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม บ้านเรือน หรือที่ทำงาน รวมทั้งระบบเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือนจริง ซึ่งกำลังจะเกิดขึ้นแน่นอนในอนาคตอันใกล้นี้ ..
ดังนั้น ไม่ใช่แค่เพียงฝั่งผู้ผลิตที่ได้ประโยชน์จาก ESS ทางฝั่งผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นโรงงาน – อาคาร หรือแม้กระทั่งที่พักอาศัย รวมไปถึงยานยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ก็สามารถติดตั้ง ESS ไว้กักเก็บพลังงานได้ หรือหากผู้บริโภคมีแหล่งพลังงานหมุนเวียนเป็นของตัวเอง อย่างเช่น โซลาร์เซลล์ – พลังงานลม ก็สามารถติดตั้ง ESS ควบคู่กันได้เช่นกัน ..
สิ่งที่สำคัญที่สุดต่อแผนการพัฒนาพลังงานทางเลือกของไทยนั้น หัวใจสำคัญอาจไม่ได้อยู่ที่แหล่งพลังงาน แหล่งพลังงานของไทยมีเหลือเฟือ ประเทศไทยมีแสงแดดระดับสุดยอดเฉลี่ย 5 ชั่วโมงต่อวัน หรืออย่างน้อย 1,600 ชั่วโมงต่อปี มีฝนตกใส่ประเทศไทยปีละประมาณ 800,000 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี และเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีความพร้อมในการพัฒนาแหล่งพลังงานชีวมวลในระดับแนวหน้าของโลก
แต่หัวใจสำคัญจริง ๆ ในการพัฒนาพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน กลับขึ้นอยู่กับ ‘การพัฒนาของไทยเกี่ยวกับ Batteries แบตเตอรี่ และ Energy Storage System ระบบการจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่‘ และประเด็นที่ท้าทายที่สุด และถือเป็นปัจจัยความสำเร็จสุดยอด ที่จะก้าวข้ามอุปสรรคในเรื่องการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน ได้แก่ ‘การผลิต Lithium Ion Batteries จะต้องเกิดขึ้นในประเทศไทย’ มิใช่เพียงการประกอบ หรือการผลิตเพียงรถยนต์ไฟฟ้าที่ประเทศไทยมีขีดความสามารถที่จะทำได้อยู่แล้ว ..
ดังนั้น การจัดหา การสร้างระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ Utility – Scale Energy Storage ด้วยการนำ Lithium Batteries หลาย ๆ ตัวมาต่อขนาน เป็น Batteries Packs ในลักษณะของก้อนแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือตัวเล็ก ๆ หลาย ๆ ตัวต่อกันขนาดใหญ่เท่าอาคาร หรือตู้คอนเทนเนอร์หลายตู้เรียงกัน ก็จะได้ ‘สถานีจ่ายไฟฟ้า’ ที่ให้บริการแก่เมือง และชุมชนขนาดใหญ่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หรืออาจเป็นตู้ เป็นกล่องไม่ใหญ่นัก เพื่อรองรับการจัดเก็บพลังงานทางเลือกที่กระจายติดตั้งตามบ้าน ที่ทำงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรมในอนาคต เช่น ชุดแบตเตอรี่ Batteries Packs สำหรับการจัดเก็บพลังงานไฟฟ้าจาก Solar Panel บนหลังคาบ้าน หรือ Solar Farm ในชุมชน เป็นต้นนั้น จะกลายเป็นทิศทางในอนาคต ทั้งนี้มีตัวอย่างให้เห็นแล้วในหลายประเทศ ซึ่งผู้เขียนเชื่อว่าทิศทางดังกล่าวสอดคล้องกับตลาดในประเทศไทย ซึ่งมันกำลังขยายตัวไปอย่างรวดเร็ว และมั่นคง เช่นกันอย่างแน่นอน นั่นเอง ..
…………………………………
คอลัมน์ : Energy Key
โดย “โลกสีฟ้า”
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง
Everything you need to know about Energy Storage Systems :-
https://www.fircroft.com/blogs
Utility – Scale Batteries | International Renewable Energy Agency :-
Utility – Scale Solar+Storage in Southeast Asia :-
https://www.poyry.com/sites/default/files/media/related_material/pov_asia03_2018_draft7.pdf
Renewable Energy in Thailand to double by 2030 :-
https://asianinsiders.com/renewable-energy-in-thailand-to-double-by-2030/
Gannawarra Energy Storage System | Australian Renewable :-
https://arena.gov.au/assets/2019/10/gannawarra-energy-storage-system-knowledge-sharing-report.pdf
Gannawarra Energy Storage System (GESS) | Australian :-
https://arena.gov.au/projects/gannawarra-energy-storage-system/
Hornsdale Power Reserve | Aurecon :-
file:///C:/Users/hp/Downloads/Aurecon-Hornsdale-Power-Reserve-Impact-Study-2018%20(1).pdf
Hornsdale Power Reserve | South Australia’s Big Battery :-