วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกNEWS''สภาฯ''ปลดล็อกกู้''กองทุนกยศ.''ไม่ต้องมี''ผู้ค้ำประกัน''
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

”สภาฯ”ปลดล็อกกู้”กองทุนกยศ.”ไม่ต้องมี”ผู้ค้ำประกัน”

”สภาฯ’ไฟเขียวปลดล็อก คนกู้ ‘กองทุนกยศ.’ ไม่ต้องมี ‘ผู้ค้ำประกัน’ เล็งพิจาราปรับลดให้เก็บอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25

เมื่อวันที่ 31ส.ค.65 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสุชาติ ตันเจริญ รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่1 เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.) (ฉบับที่ …) พ.ศ. … ซึ่งคณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีทั้งสิ้น 27 มาตรา

อย่างไรก็ตาม การพิจารณาภาพรวมในช่วงเช้าเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จนกระทั่งถึงการพิจารณามาตรา 13 โดยคณะกรรมาธิการเสียงข้างมาก แก้ไขพ.ร.บ.กองทุนก.ย.ศ. มาตรา 41 กำหนดให้ผู้กู้เงินกองทุนจะต้องมีผู้ค้ำประกันเงินกู้ ซึ่งมีกมธ.เสียงข้างน้อยสงวนคำแปรญัตติ และมีส.ส.ขออภิปรายจำนวนมาก โดยน.ส.ณธีภัสร์ กุลเศรษฐสิทธิ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะกมธ.เสียงข้างน้อยสงวนคำแปรญัตติ ขอให้ยกเลิกผู้ค้ำประกันในทุกกรณี ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของพรรคที่ต้องการให้เปิดกว้างแก่ทุกคนเข้าถึงสวัสดิการ ก.ย.ส. ได้ถ้วนหน้า ขยายเงื่อนไขการให้ทุนเรียนฟรีให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ยกเลิกผู้ค้ำประกันในทุกกรณี ผ่อนปรนเงื่อนไขชำระหนี้ ผู้กู้จะต้องจ่ายคืนต่อเมื่อมีรายได้สร้างดอกเบี้ย เบี้ยปรับที่เป็นธรรม และปัญหาสัญชาติที่ค้างคาจะต้องไม่เป็นปัญหาในการกู้ยืมอีกต่อไป เช่นเดียวกับหลายพรรคการเมืองที่เห็นด้วยว่าจะต้องมีการยกเลิกผู้ค้ำประกัน อาทิ พรรคภูมิใจไทย พรรคเพื่อไทย พรรคประชาชาติ พรรครวมพลังท้องถิ่นไท เป็นต้น เพราะเห็นว่าที่ผ่านมาผู้ค้ำประกัน เช่น พ่อ แม่ ครูอาจารย์ ได้รับความเดือดร้อน เมื่อผู้กู้ยืมไม่ยอมจ่ายเงินคืนกองทุน บางรายถูกฟ้องร้องหมดตัว ล้มละลาย ถูกยึดที่ไร่ ที่นา

ต่อมาที่ประชุมลงมติเห็นชอบกับผู้สงวนความเห็น และผู้แปรญัตติ ด้วยมติ 182 ต่อ119 งดออกเสียง1 ไม่ลงคะแนนเสียง 3 เสียง เท่ากับว่าที่ประชุมเสียงข้างมากเห็นด้วยว่าให้ยกเลิกผู้ค้ำประกันเงินกู้ หรือหมายความว่าไม่เห็นด้วยกับคณะกมธ.เสียงข้างมาก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อีกมาตราที่น่าสนใจ คือการพิจารณามาตรา 17 แก้ไขมาตรา 44 พ.ร.บ.กองทุนกยศ. เกี่ยวกับผู้กู้ยืมเงินจะต้องมีหน้าที่ชำระเงินกู้ยืมที่ได้รับไปพร้อมทั้งดอกเบี้ยตามสัญญากู้ยืมเงินคืนให้กองทุน ซึ่งร่างพ.ร.บ.ฉบับที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)เสนอให้เก็บอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 แต่ต่อมาคณะกมธ.เสียงข้างมาก ปรับลดให้เก็บอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของที่ประชุมสภาฯ โดยฝ่ายเสียงข้างน้อยเสนอไม่ให้เก็บดอกเบี้ย และไม่ให้เก็บเบี้ยปรับ

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img