วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกHighlight“เงินบาท”เดินหน้า“แข็งค่า” ตลาดกังวลวิกฤตพลังงานยุโรป
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เงินบาท”เดินหน้า“แข็งค่า” ตลาดกังวลวิกฤตพลังงานยุโรป

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.51 บาทต่อดอลลาร์แข็งค่าต่อเนื่อง ตลาดกังวลวิกฤตพลังงานในยุโรป หลังรัสเซียยุติการส่งแก๊สธรรมชาติให้ยุโรปอย่างไม่มีกำหนด-จับตาประชุมอีซีบี

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงิน ธนาคารกรุงไทย ปิดเผยว่า ค่าเงินบาท เปิดเช้านี้ที่ระดับ 36.51 บาทต่อดอลลาร์“แข็งค่าขึ้น”จากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 36.56 บาทต่อดอลลาร์  โดยแนวโน้มผันผวนสูง ท่ามกลางความกังวลวิกฤตพลังงานในฝั่งยุโรป ที่ยังคงกดดันสกุลเงินยูโร (EUR) และหนุนเงินดอลลาร์อยู่ 

นอกจากนี้ประเมินว่า ผู้เล่นในตลาดอาจยังไม่รีบปรับสถานะถือครองที่ชัดเจน จนกว่าจะรับรู้ผลการประชุม ECB ในวันพฤหัสฯ นี้ ทำให้เงินบาทยังเคลื่อนไหวในกรอบ sideways จนกว่าตลาดจะรับรู้ปัจจัยใหม่ๆ ทั้งนี้ เงินบาทมีความเสี่ยงที่จะอ่อนค่าในระหว่างวันได้ หากตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง ทำให้นักลงทุนต่างชาติทยอยขายทำกำไรหุ้นไทยเพิ่มเติม 

แต่คาดว่าแรงขายหุ้นไทยจากนักลงทุนต่างชาติอาจเริ่มชะลอลงได้ เนื่องจากนักลงทุนต่างชาติบางส่วนอาจรอจังหวะการย่อตัวลงของตลาดหุ้นไทย (รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาท) ก่อนที่จะกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง

อย่างไรก็ดี เราคงมุมมองว่า เงินบาทอาจส่งสัญญาณกลับตัว แข็งค่าขึ้นได้จากสัญญาณเชิงเทคนิคัล “Bearish Divergence” ของ RSI ที่ชัดเจนมากขึ้น หลังค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมากกว่าที่เราคาดในวันก่อนหน้า

อนึ่งในช่วงที่ตลาดการเงินผันผวนสูงจากความไม่แน่นอนของหลายปัจจัย อาทิ การขึ้นดอกเบี้ยของเฟด หรือ แนวโน้มเศรษฐกิจจีน ทำให้เราคงแนะนำให้ผู้ประกอบการควรใช้กลยุทธ์ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการใช้ Options ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงได้ดีในช่วงที่ตลาดผันผวนหนัก

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 36.40-36.60 บาท/ดอลลาร์

แม้ว่าตลาดการเงินสหรัฐฯ จะหยุดทำการเนื่องในวันหยุด Labor Day ทว่า ผู้เล่นในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะระมัดระวังตัวและไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น ท่ามกลางยังคงกังวลแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของบรรดาธนาคารกลางหลัก การกลับมาใช้มาตรการ Lockdown ที่เข้มงวดมากขึ้นของทางการจีน

 รวมถึงความกังวลวิกฤตพลังงานในยุโรป หลังรัสเซียยุติการส่งแก๊สธรรมชาติให้ยุโรปอย่างไม่มีกำหนด โดยความกังวลวิกฤตพลังงานในยุโรปนั้น ได้ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงเดินหน้าเทขายสินทรัพย์เสี่ยง กดดันให้ดัชนี STOXX600 ของยุโรป ปรับตัวลดลงกว่า –0.62% ท่ามกลางกังวลว่าเศรษฐกิจยุโรปอาจชะลอตัวลงหนักและเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย โดยเฉพาะหากธนาคารกลางยุโรป (ECB) จำเป็นต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อที่อาจเลวร้ายลงได้ หากยุโรปเผชิญวิกฤตพลังงาน

สำหรับตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์เคลื่อนไหวผันผวน โดยดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ได้ปรับตัวขึ้นทะลุระดับ 110 จุด หนุนโดยความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยและการอ่อนค่าของเงินยูโร (EUR) ต่ำกว่าระดับ 0.99 ดอลลาร์ต่อยูโร ซึ่งเป็นการอ่อนค่ามากที่สุดในรอบกว่า 20 ปี ท่ามกลางความกังวลวิกฤตพลังงานในยุโรป ก่อนที่ดัชนีเงินดอลลาร์จะย่อตัวลงเล็กน้อย กลับมาแกว่งตัวใกล้ระดับ 109.8 จุด จากแรงขายทำกำไรของผู้เล่นบางส่วนในตลาด 

อย่างไรก็ดี เราคงมองว่า ในระยะสั้นเงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มแกว่งตัว sideways และอาจผันผวนหนักในช่วงตลาดรับรู้ผลการประชุม ECB ในวันพฤหัสฯ นี้ ก่อนที่จะอ่อนค่าลงได้บ้างในช่วงหลังการประชุมเฟดเดือนกันยายน หากเฟดไม่ได้ส่งสัญญาณเดินหน้าเร่งขึ้นดอกเบี้ยต่อเนื่อง ทั้งนี้ แม้เงินดอลลาร์จะเคลื่อนไหว sideways รวมถึงตลาดการเงินโดยรวมยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยง แต่แนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดยังคงเป็นอุปสรรคที่กดดันให้ราคาทองคำยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 1,720-1,725 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอติดตามแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ ผ่านรายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการบริการ (ISM Services PMI) ในเดือนสิงหาคม โดยตลาดประเมินว่า ดัชนี PMI ภาคการบริการ อาจปรับตัวลงสู่ระดับ 55.4 จุด (ดัชนีเกิน 50 จุด หมายถึง ภาวะขยายตัว) สะท้อนว่า ภาคการบริการสหรัฐฯ ขยายตัวในอัตราชะลอลง โดยส่วนหนึ่งอาจมาจากพฤติกรรมของชาวอเมริกันที่เริ่มระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น รวมถึงแนวโน้มการชะลอตัวลงของตลาดบ้านสหรัฐฯ ที่เผชิญแรงกดดันจากการปรับตัวขึ้นต่อเนื่องของอัตราดอกเบี้ยบ้าน ตามการเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของเฟด

ส่วนในฝั่งเอเชีย ตลาดมองว่า ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) อาจเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยต่อสู่ระดับ 2.35% (ขึ้น 0.50%) หลังเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับสูง อีกทั้งเศรษฐกิจได้ฟื้นตัวดีขึ้นและสามารถรับมือกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img