พักเรื่องการเมืองร้อน ๆ มาดูภาคเกษตรไทยที่เป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศกว่า16 ล้านครัวเรือน ที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และหลายล้านครัวเรือนมีปัญหาความยากจน มีหนี้สิน ขาดที่ดินทำกิน จะสามารถรองรับคนตกงานจากวิกฤติโรคระบาดไวรัสโควิด-19 ให้ลูกหลานเกษตรกรกลับบ้านเหมือนวิกฤติต้มยำกุ้งได้หรือไม่
เพราะแนวโน้มทั่วโลกเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาดรอบ 2 ข้ามปียังหนักเป็นทวีคูณทุกวัน The Key News ได้มีโอกาสจับเข่าคุยกับ “ทองเปลว กองจันทร์” ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
@@…จะสร้างความเข้มแข็งแปลงนโยบายรัฐบาล ไปสู่การปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ ลงไปช่วยเกษตรกรให้ทั่วถึงได้อย่างไร
ทองเปลว – จุดอ่อนเกษตรกร ส่วนใหญ่สูงวัย ขาดเทคโนโลยี นวัตกรรม ทำให้การผลิตขาดประสิทธิภาพ รายได้น้อย เป็นผู้เช่าที่ดินทำกินโดยส่วนใหญ่ รวมทั้งสถาบันเกษตรกร ประสิทธิภาพในการจัดการ องค์กรยังไม่ดีพอ กระบวนการทำงานไม่ทันสมัย ไม่เข้มแข็ง และกระบวนการผลิต แยกส่วนทำผลผลิตไม่ตรงตามความต้องการ ผลผลิตส่วนใหญ่ยังไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ในส่วนการทำงานของกระทรวง การสื่อสารนโยบายของกระทรวงไม่มีประสิทธิภาพ ขาดความมุ่งมั่น และไม่บูรณาการ
สำหรับจุดแข็ง ประเทศไทยภูมิศาสตร์เหมาะสมในการทำเกษตร มีแหล่งน้ำ สภาพอากาศที่เหมาะสม มีน้ำฝน แหล่งกักเก็บน้ำ ดินดี พันธุ์พืชดี โดยน้อมนำศาสตร์พระราชา หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งในหลวง รัช กาลที่ 10 ทรงรักษา สืบสาน ต่อยอด พัฒนานำทางการพัฒนาด้วยหลักความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้ม กัน ความรู้และคุณธรรม และมีโครงการพระราชดำริ ประกอบกับการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ต้องอนุรักษ์ ต่อยอด สามารถสร้างมูลค่าได้อีกมาก ส่งผลสินค้าเกษตรไทยเป็นที่ต้องการของตลาดโลก ทำรายได้มหาศาลเข้าประเทศ เป็นฐานสาคัญของภาคการผลิตอื่น ๆ และมุ่งสู่เกษตรกรรมยั่งยืนสินค้าเกษตรปลอดภัย เกษตรชีวภาพ
@@…มาตรการพลิกฟื้นภาคเกษตรหลังโรคระบาดโควิด-19
ทองเปลว – สิ่งสำคัญข้าราชการกระทรวงเกษตรฯ ต้องปรับการทำงานภายใต้แนวคิด “Agri Challenge” เน้นหลักการ มุ่งขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล นโยบายกระทรวงให้บรรลุเป้าหมาย แก้ไข ปัญหาเฉพาะหน้าให้เกษตรกร วางรากฐานการทำงานของกระทรวงรองรับความปกติใหม่ (New Normal) และสร้างเอกภาพในการขับเคลื่อนภารกิจของกระทรวง เชื่อมโยงยุทธศาสตร์กับพันธกิจของกระทรวง “เชื่อมโยงการบริหาร” สร้างการสื่อสารนโยบายของกระทรวงไปยังผู้ปฏิบัติ “แปลงสารให้ชัด” บริหารจัดการให้สอดคล้องกับภารกิจ “จัดสรรให้ถูก”
@@….แผนการปฏิบัติงานเร่งด่วนที่ลงไปพัฒนาระดับฐานรากทุกชุมชน
ทองเปลว – ภารกิจเร่งด่วนเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และนโยบายให้บรรลุเป้าหมาย คือเร่งรัดงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของกระทรวง เร่งผลักดันโครงการ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ ทั้งหมด 4,010 โครงการสำหรับโครงการที่ติดปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ เช่น การขอใช้พื้นที่ การจัดหา แหล่งงบประมาณ เป็นต้น ขอให้หน่วยงานที่ดูแลรับผิดชอบเร่งหาทางดำเนินการให้เรียบร้อย โดยเร่งนำมาปรึกษาหารือ หาทางออกร่วมกัน เพื่อให้กระทรวงสามารถดำเนินโครงการให้ประสบความสำเร็จ และทำประ โยชน์แก่ราษฎรตามพระราชปณิธานของพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ต่อไปที่ทรงมุ่งยกระดับความเป็นอยู่เกษตรกรให้ดีขึ้น
การขยายพื้นที่เกษตรทฤษฎีใหม่สร้างความเข้มแข็งให้เกษตรกรฐานราก ส่งเสริมให้เกษตรกร รายย่อยที่มีพื้นที่เกษตรกรรมไม่มากนักทำการผลิตแบบเกษตรทฤษฎีใหม่เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยเร่งขับเคลื่อนโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งที่ได้รับจัดสรรงบประมาณตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวง การคลังกู้เงินฯ วงเงิน 9,805,707,000 บาท ให้บรรลุเป้าหมายการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ให้เกษตรกร 64,144 ราย จ้างแรงงาน 32,072 ราย ในพื้นที่ 4,009 ตาบล รวมทั้งพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ผลักดันให้เกษตรกรผลิตแบบเกษตรเกษตรอินทรีย์ เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติ เพื่อผลักดันเป้าหมายพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนเพิ่มขึ้นเป็น 5 ล้านไร่
ยกระดับศักยภาพแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ สินค้าเกษตรในระบบแปลงใหญ่ที่มีกว่า 7,277 แปลง ในปัจจุบัน โดยขยายผลจากการดำเนินงานในปี 2564 ที่สามารถผลักดันพื้นที่เกษตรสู่ระบบแปลงใหญ่จำนวน 6,735 แปลง เกษตรกร 372,638 ราย พื้นที่ 6,082,115 ไร่ ลดต้นทุนการผลิตได้ร้อยละ 15.18 เพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 18.92 ได้รับการรับรอง มาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร รวมทั้งหมด 3,087 แปลง ประเมินมูลค่าเพิ่มจากการลดต้นทุนการผลิตและการเพิ่มผลผลิตสะสมในปี 2562 รวม 36,180.25 ล้านบาท
โดยในปี 2564 ต้องเร่งผลักดัน การวางแผนการผลิตตามหลัก “การตลาดนำการผลิต” และทำแผนธุรกิจเป็นรายแปลง ผลักดันการใช้เครื่องจักรกลเกษตร เทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่/เกษตรอัจฉริยะ ที่จำเป็นในระดับที่แปลงใหญ่ สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ โดยเร่งขับเคลื่อนโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ และเชื่อมโยงตลาดที่ได้รับจัดสรรงบประมาณตามพระราชกาหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ ให้บรรลุเป้าหมาย เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตตามมาตรฐาน รวมทั้งพัฒนาแปลงใหญ่ต่อยอดสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรต่อไป
ผลักดันการสร้างเกษตรมูลค่าสูง ตามเป้าหมายกิจกรรมปฏิรูปของแผนการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ ที่กระทรวงเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก มีเป้าหมาย เน้นการปรับโครงสร้างการผลิตจากเกษตรแบบดั้งเดิมพัฒนาไปสู่เกษตรสมัยใหม่ที่มีมูลค่าสูงโดยนำองค์ความรู้การวิจัยพัฒนา นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการทำเกษตรอัจฉริยะ และเกษตรแบบแม่นยำ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลิตภาพและประสิทธิภาพการผลิต
พัฒนาช่องทางเชื่อมโยงตลาดสินค้าเกษตรทั้งในและต่างประเทศ ต้องพัฒนา “ข้อมูล วางแผนการผลิต” เร่งผลักดันการเชื่อมโยงข้อมูลแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรของตลาดทั้งใน และต่างประเทศสู่ผู้ผลิตคือเกษตรกรอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง น่าเชื่อถือ เกิดความมั่นใจในการ วางแผนการผลิต สามารถบริหารความเสี่ยงไม่ให้เกิดภาวะสินค้าล้นตลาด เพิ่มผลตอบแทนและรายได้ ให้เกษตรกรให้ “ทำน้อย ได้มาก” โดยมีความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิด รวมทั้ง ผลักดันให้ทูตเกษตรแสวงหาข้อ มูลตลาดใหม่ ๆ รวมทั้งข้อมูลความต้องการสินค้าในตลาดเดิมที่มีการ เปลี่ยนแปลง รวมทั้งกรอบความร่วมมือต่าง ๆ ของโลก
ผลักดันการพัฒนา Big Data อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการ ภาคเอกชน หน่วยงานของรัฐและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการวางแผนการผลิต การจัดการสินค้าเกษตร และการบริหารนโยบายบนพื้นฐานข้อมูลที่ถูกต้อง โดยผลักดันการจัดทำ Big Data ภาคเกษตรของกระทรวงให้แล้วเสร็จในปี 2565 ยกระดับ ศพก. สู่ศูนย์พัฒนา Smart Farmer ครบวงจร โดยการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 882 ศูนย์ และศูนย์เครือข่าย 11,559 ศูนย์ ได้ผลักดันให้ศพก.เป็นศูนยก์ลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยี การผลิต การบริหารจัดการ และการตลาด ด้านพืช ด้านประมง ด้านปศุสัตว์แก่เกษตรกร รวมทั้งการ แก้ไขปัญหาและพัฒนาการเกษตรในพื้นที่มาอย่างต่อเนื่อง
รวมทั้ง เร่งขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าให้เกษตรกร ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาและเยียวยาเกษตรกร ผู้ได้รับผลกระทบให้ครบถ้วนตามกฎหมาย พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร ต้องให้ความสำคัญกับการ เตรียมรับและบริหารสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร ติดตามสภาพปัญหา ต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอุทกภัย น้ำไหลหลากและวาตภัย ภัยแล้ง ที่กำลังจะเกิดขึ้นหรือประสบ อยู่ในบางพื้นที่ ซึ่งอาจต้องหาวิธีจัดการเพิ่มเติมกรณีแล้งซ้ำซาก หาอาชีพในที่แล้งซึ่งอาจจะเป็นการ เลี้ยงสัตว์หรือเลิกทำการเกษตรแล้วใช้พื้น ที่ในการผลิตพลังงานทดแทน
ในส่วนแก้ไขปัญหาหนี้สินให้เกษตรกรต้องเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารกองทุน หมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน ซึ่งเป็นกองทุนแก้ไขปัญหาหนี้สินและที่ดินให้กับเกษตรกรโดยตรง ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2534 ปัจจุบันสามารถช่วยไถ่ถอนที่ดินกว่า 307,214 ไร่ให้แก่ เกษตรกร 34,641 ราย วงเงินรวมกว่า 7,926 ล้านบาท
@@….วางรากฐานการทำงานของกระทรวงรองรับความปกติใหม่ (New Normal)
ทองเปลว – สร้างเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพที่ชัดเจนและพัฒนา Smart Officer ให้พร้อมรับ การเปลี่ยนแปลง ให้ทุกหน่วยงานจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ (Career Path) ของข้าราชการ ให้ทุกคนมีความมั่นใจในการ “มีที่อยู่และมีที่ไป” และเป็นการเตรียมคนให้มีความพร้อมเพื่อทำภารกิจ ของหน่วยงานได้อย่างต่อเนื่อง เพราะในอีก 5-10 ปีข้างหน้า จะมีข้าราชการเกษียณอายุจำนวนมากเพื่อป้องกันปัญหาขาดแคลนบุคคลากรมืออาชีพ
สร้างหอบังคับการ (Control Tower) เพื่อตรวจสอบ ติดตาม การบริหารแผนงาน และงบประมาณของกระทรวง โดยการพัฒนาระบบปฏิบัติการการบริหารแผนงานและงบประมาณ ของกระทรวงเป็นภาพรวมที่สามารถติดตาม ตรวจสอบการทางานและการเบิกจ่ายงบประมาณของ ทุกหน่วยงานได้ทุกที่ ทุกเวลา มีแนวทาง ลดความซ้ำซ้อน ให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงและผู้ตรวจราชการกรมเป็นผู้นำการเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติราชการในพื้นที่ รับเรื่องราวร้องทุกข์จากเกษตรกรโดยตรง จะทำให้มาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ แก้ไขความเดือดร้อนเกษตรกรรวดเร็วขึ้นและทันเหตุการณ์ด้วย
ผลักดันการศึกษาวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านการเกษตรทุกด้าน ทั้งด้านทรัพยากร ดิน น้ำ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ การผลิตด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง สินค้า เกษตรแปรรูปแห่งอนาคตตามแนวโน้มความต้องการของตลาด โดยการทบทวนแผนพัฒนาการวิจัย ด้านการเกษตรของประเทศ เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางให้สอดคล้องกับแนวโน้มการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ สถานการณ์หลังการระบาดของโควิด-19 ที่ภาวะสุขอนามัยจะมีอิทธิพลต่อการค้าและ การบริโภคอย่างมาก ผลักดันงานวิจัยที่จะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาภาคการเกษตรเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการทาเกษตรกรรมของประเทศ
“เราจะเป็นครัวของโลก นำอาหารไปสู่ประเทศคู่ค้า ไม่ใช่แค่กินดีอยู่ดี แต่จะทำให้โลกดีอย่างยั่งยืน นโยบาย ‘3S (Safety Security Sustainability) เชื่อมโลก เชื่อมไทย’ ทำให้ เกษตรกรเราเชื่อมต่อกันทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และต่างประเทศ”
ได้วางเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ปี 2564 คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาเกษตร เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 3.8 ผลิตภาพการผลิตของภาคเกษตรเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 1.2 และเกษตรกรที่มีรายได้ต่ากว่าเส้นความยากจนลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ต่อปีและเพิ่มพื้นที่ชลประทานไม่ต่ำกว่า 3.5 แสนไร่ต่อปี และเพิ่มพื้นที่ชลประทานไม่ต่ำกว่า 350,000 ไร่ต่อปี
……………………
ทีมการเมือง The Key News