วันศุกร์, มกราคม 24, 2025
หน้าแรกCOLUMNISTSเมื่อนโยบาย“ทรัมป์”ป่วนโลก แล้วไทยล่ะ ...ทำอะไรรับมือบ้าง?
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

เมื่อนโยบาย“ทรัมป์”ป่วนโลก แล้วไทยล่ะ …ทำอะไรรับมือบ้าง?

เป็นที่ชัดเจนว่า “ทรัมป์ 2.0” จะ เก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีน เพิ่มอีก 10% แน่ๆ ในวันที่ 1 ก.พ.ปีนี้ แม้ว่าในวันแรกที่รับตำแหน่ง เมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา จะยังไม่ได้ประกาศขึ้นภาษีทันทีก็ตาม

ดังนั้นบรรดาคู่ค้า บรรดาตลาดทุน ก็ออกอาการโล่งใจ จนไม่ได้ฉุดให้ตลาดหุ้นร่วงลงมา อย่างที่ใครต่อใครคาดการณ์ไว้

แต่ทันทีที่ “โดนัลด์ ทรัมป์” ได้เน้นย้ำถึงความปรารถนาที่ต้องการให้มี การเก็บภาษีนำเข้าสินค้าอย่างกว้างขึ้น และกำหนดเส้นตายใหม่เป็นวันที่ 1 ก.พ.68 สำหรับภาษีนำเข้าสินค้าจาก แคนาดา และ เม็กซิโก อัตรา 25%

นอกจากนี้ยังรวมไปถึง ภาษีสินค้านำเข้าจากจีน และอาจรวมถึง สหภาพยุโรป ด้วย ก็พาให้ตลาดหุ้นจีน ไหลลงระนาวทันที ซึ่งก็ต่อเนื่องมาถึงหุ้นไทยที่ร่วงหล่นตามไปด้วย แม้ไม่ได้ร่วงระนาวจนอกแตกก็ตามทีเถอะ

ในเมื่อสัญญาณจาก “ทรัมป์” มาชัดๆ อีก ก็หนีไม่พ้นที่ ไทย ต้องเผชิญแรงท้าทายอย่างหนัก ในหลายเด้ง โดยเฉพาะ สินค้าไทย 29 รายการที่ส่งออกไปขายสหรัฐฯ ที่อาจเสี่ยงถูกการกีดกันจากสหรัฐฯในหลายทาง

เพราะเวลานี้ไทยเป็นประเทศที่ได้ดุลการค้าสหรัฐฯ เป็นอันดับที่ 12 จึงหนีไม่พ้นที่ไทยต้องโดนหางเลขจากนโยบาย “อเมริกัน…มาก่อน” แน่นอน


เด้งต่อไป… ก็หนีไม่พ้นเช่นกัน!! ที่สินค้าจากจีนที่ถูกปิดกั้นจากสหรัฐฯ ก็ไม่วายที่จะไหลเข้ามาที่ไทย ที่สำคัญการไหลเข้ามาของสินค้าจีน ที่มีราคาถูก ก็ยิ่งส่งผลให้ผู้ประกอบการของไทยแข่งขันไม่ได้ เพราะต้นทุนสินค้าจีนนั้น ถูกกว่ามากมาย

จึงไม่ต้องแปลกใจ หากบรรดาภาคเอกชน ทั้งรายเล็ก รายใหญ่ จะรวมตัวกันออกมาชี้แจงสารพัดเหตุผลให้ “รัฐบาลอิ๊งค์-แพทองธาร ชินวัตร” ได้เห็นถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา

ไม่เพียงเท่านี้!! บรรดาบริษัทข้ามชาติต่างๆ ที่หลั่งไหลออกหาพื้นที่การลงทุนใหม่ที่เหมาะสม คุ้มทุน ทำกำไรได้ โดยเฉพาะในพื้นที่แถบเอเชีย หากไทยตั้งรับได้ไม่ดีพอ ก็คาดเดากันไม่ได้จริงๆ ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง???

แต่สัญญาณที่สหรัฐฯส่งมาชัดเจนในเวลานี้ ก็มีทั้งเรื่องของการไม่ให้ส่งตัว “ชาวอุยกูร์ 48 คน” ที่ถูกไทยควบคุมตัวไว้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว ส่งกลับไปให้จีน

หรือแม้แต่การ “ขึ้นภาษีโซลาร์เซลล์” จาก 4 ชาติอาเซียนทั้ง “ไทย-เวียดนาม-มาเลเซีย-กัมพูชา” โดยโซลาร์เซลล์ ที่ผลิตจากบริษัทจีนที่ผลิตในไทย ก็ถูกตั้งกำแพงภาษีนำเข้าสูงถึง 77.85%

ด้าน ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี ประเมินว่า ไทยมีความเสี่ยงจะถูกเพ่งเล็งจากมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ สูงเป็นอันดับที่ 2 ของอาเซียน จากการที่สหรัฐฯ เสียเปรียบทางการค้ากับไทยในหลายด้าน

ด้วยเหตุนี้ อาจทำให้สหรัฐฯนำมาเป็นข้อต่อรองในการพิจารณาขึ้นกำแพงภาษีนำเข้าระลอกใหม่ ส่งผลให้ไทยมีความเสี่ยงที่จะถูกกดดันให้เปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตรที่สำคัญเพิ่มเติม อาทิ เนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

แน่นอนว่า … สัญญาณที่ชัดเจนเหล่านี้ ประเทศไทยต้องดำเนินการในทุกทาง เพื่อหาทางไม่ให้นโยบาย “อเมริกัน…มาก่อน” ต้องปิดกั้นหรือทำลายโอกาสของไทย เพราะ “ไทย…ก็ต้องมาก่อน” เช่นกัน

การจัดตั้งเพียงแค่ “วอร์รูม” เพื่อเกาะติดสถานการณ์ในทุกด้าน เพื่อรับมือกับ “ทรัมป์ 2.0” คงไม่เพียงพอ แต่ต้องจัดเตรียม “ทีมเจรจา” หรือ “ล็อบบี้ยิสต์” ที่มีฝีมือ และที่สำคัญ…ควรมาจาก “ภาคเอกชน” หรือควรให้ภาคเอกชนเข้าไปร่วมกระบวนการด้วย

เพราะอย่าลืมว่า คนที่ทำการค้ากับสหรัฐฯโดยตรง ก็คือ “ภาคเอกชน” ที่อยู่ในสนามการค้า มี “ข้อมูลเชิงลึก” ที่สามารถสะท้อนปัญหาที่แท้จริงได้ เพราะเข้าไปลงทุนเองในสหรัฐฯ

ขณะเดียวกัน ในมุมมองของหน่วยงานมันสมองของประเทศอย่าง “สภาพัฒน์” เสนอความเห็นว่า รัฐบาลไทยไม่ควรเดินเดี่ยว เพราะ “อำนาจการต่อรอง” จะมีน้อย

แต่ควรใช้กระบวนการเจรจาร่วมในนามของ “อาเซียน” ซึ่งจะมีพลัง มีอำนาจ ในการต่อรองที่สูงกว่า เพราะไปในนามของสมาชิกชาติอาเซียนทั้งหมด หากใช้เฉพาะประเทศไทยแต่เพียงฝ่ายเดียว คงเล็กเกินไปที่สหรัฐฯจะเข้ามาเจรจาด้วย

ทั้งหลาย ทั้งปวง เป็นเพียงข้อเสนอจากหลายฝ่าย หลายหน่วยงาน โดยเฉพาะจากภาคเอกชนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง ที่พยายามสื่อสารให้รัฐบาลให้ความสำคัญและเร่งออกตัวให้ชัดเจน ก่อนทุกอย่างจะสายไป

ขณะเดียวกันเชื่อได้ว่า “นโยบายของทรัมป์” ที่ออกมาในช่วงแรกนี้ คงเป็นเพียงแค่ “ซอส” ที่ออกมาเหยาะๆ แค่เขย่าโลกผิวผิว…เท่านั้น แต่จากนี้ไปต้องติดตามกันอย่ากระพริบตา ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับโลกใบนี้อีกบ้าง

เหนือสิ่งอื่นใด!! รัฐบาลไทยได้เตรียมตัวรับมือเรื่องนี้ดีพอหรือยัง? นี่แหละ…คำถาม?

………………..

คอลัมน์ : EC Focus by Virgo

- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
spot_imgspot_img
- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
spot_img
spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img