วันจันทร์, พฤศจิกายน 25, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSAPEC ไทยต้องเจรจา “พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล”กับกัมพูชา รับวิกฤตพลังงาน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

APEC ไทยต้องเจรจา “พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล”กับกัมพูชา รับวิกฤตพลังงาน

การพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา หรือ พื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (Overlapping Claims Area-OCA) จะช่วยให้เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่ายที่สามารถช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในการดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุนได้อีกด้วย

นอกจากนี้การพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติพื้นที่ทับซ้อนยังช่วยให้ไทยสามารถลดการพึ่งการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) มาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า และชดเชยก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยในแหล่งปัจจุบันที่มีปริมาณลดลงได้

ดังนั้นการประชุมระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ประจำปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) ที่จะจัดขึ้นอย่างเป็นทางการช่วงวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ในประเทศไทย รัฐบาลไทยโดยกระทรวงพลังงาน และกระทรวงการต่างประเทศจะต้องถือโอกาสบนเวทีนี้หารือกับรัฐบาลกัมพูชา

แหล่งข่าวจากวงการพลังงาน เปิดเผยว่า คาดว่ากระทรวงพลังงานจะมีการเจรจากับรัฐบาลกัมพูชาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา ในการประชุมระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค หรือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) ประจำปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) ที่จะจัดขึ้นอย่างเป็นทางการช่วงวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ในประเทศไทย ซึ่งกระทรวงพลังงานจะต้องจัดเตรียมข้อมูลให้กับกระทรวงการต่างประเทศพิจารณา เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งการประชุม APEC ในครั้งนี้จะมีการหารือในเรื่องพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชาหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศว่าจะต้องการเร่งหารือกันในเรื่องนี้หรือไม่

อย่างไรก็ตาม แหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยในปัจจุบันที่มีอายุสัญญาสัมปทานในระยะยาวนั้นหลักๆ มี 2 แหล่ง คือ แหล่งเอราวัณ และแหล่งบงกช มีสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติจาก 2 แหล่งนี้ถึงปี 2575 ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติใหญ่ของประเทศไทย ดังนั้นในช่วงระยะเวลานี้รัฐบาบไทยควรจะต้องเร่งเจรจากับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อจัดทำข้อตกลงแบ่งเขตทางทะเลในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อน และจัดทำข้อตกลงร่วมกันพัฒนาทรัพยากร ปิโตรเลียม เพื่อนำก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูกมาแทนการนำเข้า LNG ที่มีราคาแพงมาผลิตไฟฟ้า

“ปริมาณแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวเริ่มลดลงอย่างต่อเนื่อง สวนทางกับราคาพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมัน ราคาก๊าซธรรมชาติ ในขณะเดียวกันประเทศไทยยังต้องนำเข้า LNG เพิ่มขึ้น นำมาเป็น เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และเพื่อชดเชยก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ลดลง ซึ่งจากราคา LNG ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับสูงยังส่งให้ราคาค่าไฟฟ้าแพงขึ้นเป็นประวัติการณ์อีกด้วย”

สำหรับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชานั้นมีเนื้อที่ 26,000 ตารางกิโลเมตรในเบื้องต้นคาดการณ์ว่ามีทรัพยากรปิโตรเลียมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นก๊าซธรรมชาติ มูลค่า 3.5 ล้านล้านบาท และน้ำมัน มูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท หากมีการร่วมมือกัน และเริ่มปิโตรเลียมในแหล่งนี้ก็จะช่วยลดการนำเข้า LNG ได้อย่างมีนัยสำคัญ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา รมว.กลาโหม ให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาวิกฤตพลังงาน และราคาอาหารแพง โดยการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมาในขณะนั้น “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” เป็นประธานการประชุมได้ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด เพื่อดำเนินการรับมือวิกฤตพลังงานและอาหารแพง และยังได้พิจารณาเรื่องการจัดหาพลังงานเพิ่มเติม ทั้งจากในประเทศ และการจัดหาจากแหล่งพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา

“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” มีความต้องการที่จะหารือเรื่องนี้กับรัฐบาลกัมพูชาต่อไป เพื่อการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษทางทะเล ซึ่งจะได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งทางพลังงานและทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการประชุม APEC ที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพในครั้งนี้มีโอกาสที่ไทยจะหารือร่วมกับรัฐบาลกัมพูชาอีกครั้ง เพื่อหาแนวทางร่วมกันพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทย-กัมพูชา

รายงานพิเศษ : ไรวินทร์

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img