วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTS‘ผู้ประกอบการรายใหญ่’ไล่บี้การไฟฟ้าฯ มิ.ย.รีบเซ็น PPA ก่อนมีรัฐบาลใหม่
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

‘ผู้ประกอบการรายใหญ่’ไล่บี้การไฟฟ้าฯ มิ.ย.รีบเซ็น PPA ก่อนมีรัฐบาลใหม่

คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ประกาศรายชื่อ ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าที่ได้สิทธิ์เป็นผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ปี 2565-2573 ระยะแรก (เฟส 1) รวมปริมาณรับซื้อไฟฟ้า 5,203 เมกะวัตต์ ไปเมื่อเดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา ซึ่ง กกพ. ได้พิจารณาเห็นชอบรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบ กกพ. สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ.2565 มีผู้ผ่านการพิจารณาคัดเลือก จำนวน 175 ราย ปริมาณเสนอขายรวม 4,852.26 เมกะวัตต์

ปัจจุบันผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าที่ได้สิทธิ์เป็นผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนดังกล่าว ยังไม่ได้ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) เนื่องจากอยู่ในช่วงการเปลียนผ่านจากรัฐบาลเก่าไปสู่รัฐบาลใหม่ หลังจากมีการเลือกตั้ง ซึ่งตามมารยาททางการเมือง ก็ควรรอรัฐบาลใหม่พิจารณาก่อน แต่งานนี้เอกชนผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าต้องการลงนามในสัญญาทันที หลังจาก กกพ. ประกาศผล เพราะจะได้เร่งดำเนินการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้า

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากวงการอุตสาหกรรมพลังงาน เปิดเผยว่า มีผู้ประกอบการโรงไฟฟ้ารายใหญ่ไปเร่งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ลงเซ็นสัญญา PPA ภายในเดือนมิถุนายน 2566 ก่อนจะมีรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งหากกฟผ.จะลงนามเซ็นสัญญา PPA ก็ต้องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบรายละเอียดสัญญาก่อนให้กกพ. เห็นชอบให้ทั้ง 2 การไฟฟ้าลงนามในสัญญา PPA ต่อไป

สำหรับผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าที่ได้สิทธิ์เป็นผู้พัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน FiT เฟส 1 ตามที่ กกพ.ประกาศรายชื่อ จะต้องลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ตามกรอบที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่ผ่านมา มีมติกำหนดเอาไว้ ประกอบด้วย ผู้ที่จะผลิตไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ในปี 2567-2568 ต้องลงนาม PPA ภายใน 180 วัน (6 เดือน) นับจากวันที่ลงนามยอมรับเงื่อนไขกับการไฟฟ้า ส่วนผู้ที่จะ COD ระหว่างปี 2569-2573 จะต้องลงนาม PPA ภายใน 2 ปี นับจากวันที่ลงนามยอมรับเงื่อนไขกับการไฟฟ้า (19 เม.ย.2566)

ขณะเดียวกัน ร่างบันทึกข้อตกลงร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลภายใต้แกนนำของพรรคก้าวไกลนั้น มีข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องยกเลิกการผูกขาดและส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมในทุกอุตสาหกรรม รวมทั้งต้องการปรับปรุงโครงสร้างการผลิตไฟฟ้า การคำนวณราคา และกำลังการผลิตที่เหมาะสม เพื่อลดค่าครองชีพประชาชนและสร้างความมั่นคงทางพลังงาน ซึ่งภายหลังจาการจัดตั้งรัฐบาลก็จะมีการดำเนินการตามนโยบายเหล่านี้ ซึ่งอาจจะไปกระทบกับผู้ประกอบการรายใหญ่ ดังนั้นผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าจึงอยากลงนามในสัญญา PPA ก่อนการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งนอกจากเดินหน้าดำเนินกิจการลงทุนได้ทันทีแล้วยังไม่ต้องรอรัฐบาลใหม่เข้ามาพิจารณาเพราะแน่ใจว่าจะต้องใช้ระยะเวลาอีกเท่าไหร่ และเสี่ยงที่จะให้มีการชะลอการรับซื้อออกไป

ทั้งนี้แหล่งข่าวจากวงการพลังงาน เปิดเผยอีกว่า หากมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายใต้แกนนำของพรรคก้าวไกล ก็มีโอกาสที่จะยกเลิกการประกาศรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) ในระยะที่ 2 (เฟส 2) ขนาดกำลังการผลิตรวม 3,668.5 เมกะวัตต์ หลังจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เมื่อวันที่ 9 มี.ค.2566 ที่เห็นชอบปรับแผนรับซื้อไฟฟ้าพลังงานสะอาดเพิ่มอีก 3,668.5 เมกะวัตต์ไปแล้ว

………………………………..

คอลัมน์ : เข็มทิศพลังงาน

โดย ..“ไรวินทร์”

สนับสนุนคอลัมน์ โดย :  บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img