วันพฤหัสบดี, พฤศจิกายน 21, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTS“เอกชน-นักวิชาการ”ส่งซิกรัฐบาลใหม่! เร่งเจรจากัมพูชา...“พัฒนาพื้นที่ OCA”
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

“เอกชน-นักวิชาการ”ส่งซิกรัฐบาลใหม่! เร่งเจรจากัมพูชา…“พัฒนาพื้นที่ OCA”

สำหรับ พื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (Overlapping Claimed Area-OCA) นั้น มีเนื้อที่ 26,000 ตารางกิโลเมตร ในเบื้องต้นคาดการณ์ว่า มีทรัพยากรปิโตรเลียมมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น ก๊าซธรรมชาติ มูลค่า 3.5 ล้านล้านบาท และ น้ำมัน มูลค่า 1.5 ล้านล้านบาท หากมีการร่วมมือกันทั้ง 2 ฝ่าย และเริ่มปิโตรเลียมในแหล่งนี้ ก็จะช่วยลดการนำเข้า LNG ได้อย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา รัฐบาลทั้งไทย และกัมพูชา มีการเจรจากันหลายรอบ แต่ยังไม่ได้ข้อสรุป ซึ่ง การจัดตั้งรัฐบาลใหม่นั้น หน่วยงานภาครัฐ เอกชน ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานก็ได้ออกมากระตุ้นให้รัฐบาลใหม่เร่งเจรจาพื้นที่ทับซ้อน เพื่อหาแนวทางร่วมกันพัฒนาพื้นที่ OCA ใช้ประโยชน์จากแหล่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อชดเชยก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่มีกำลังการผลิตลดลง ซึ่งยังเป็นการตอบโจทย์ความมั่นคงด้านพลังงานไทยในอนาคตอีกด้วย

ชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง

“ชาทิตย์ ห้วยหงษ์ทอง” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เปิดเผยว่า ประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติและน้ำมันจากต่างประเทศ ขณะที่แหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทยก็ค่อยๆ ลดลง ดังนั้นจึงอยากให้รัฐบาลชุดใหม่เร่งดำเนินการเจรจากับรัฐบาลประเทศกัมพูชา เพื่อผลักดันพัฒนาพื้นที่ OCA เพื่อหาแนวทางร่วมกันพัฒนาพื้นที่แล้วใช้ประโยชน์จากแหล่งก๊าซธรรมชาติร่วมกัน และสร้างความมั่นคงด้านพลังงานของไทยในระยะยาว ทั้งนี้หากเกิดการพัฒนาในพื้นที่ OCA เชฟรอนฯ ก็พร้อมที่จะเข้าไปสำรวจ เนื่องจากเชฟรอนฯ มีใบอนุญาตในการสำรวจ (License) อยู่ในแปลงของพื้นที่ OCA อยู่แล้ว

ดร.สุบิน ปิ่นขยัน อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ สมัยพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ระบุว่า การเจรจากับรัฐบาลกัมพูชากรณีพื้นที่ OCA ไทย-กัมพูชานั้น ผู้นำรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศจะต้องมีความเชื่อใจกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลใหม่ ควรจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจให้เกิดขึ้นกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งแนวทางการเจรจานั้น ควรเน้นไปในเรื่องการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน เหมือนไทย-มาเลเซีย จะมีโอกาสที่จะสำเร็จและได้ข้อยุติที่ดีกว่าการเจรจาเพื่อแบ่งเส้นเขตแดน

ดร.คุรุจิต นาครทรรพ

ดร.คุรุจิต นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และอดีตปลัดกระทรวงพลังงาน ระบุว่า การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (EnergyTransition)ไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน หรือ Carbon Neutrality ในปี ค.ศ.2050 และปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Zero Emissions ในปี ค.ศ. 2065 นั้นก๊าซธรรมชาติจะยังคงเป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีความสำคัญ เพราะปล่อยคาร์บอนในปริมาณที่น้อยกว่าน้ำมัน และถ่านหินที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า

โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ประเทศไทยคงไม่สามารถพึ่งพาพลังงานทดแทนได้ 100% เนื่องจากพลังานทดแทนยังไม่มีความเสถียรในการผลิตไฟฟ้า แต่เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาตินอกจากปล่อยคาร์บอนในปริมาณที่น้อยแล้ว ยังช่วยตอบโจทย์ความมั่นคงด้านพลังงาน และทำให้การผลิตไฟฟ้ามีความเสถียร มี ประสิทธิภาพ

ทั้งนี้เพื่อเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน และชดเชยการผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยแหล่งที่ผลิตอยู่ในปัจจุบันผลิตได้น้อยลง ดังนั้น รัฐบาลใหม่ควรให้ความสำคัญพื้นที่ OCA ไทย-กัมพูชา จึงควรให้เป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล และจะต้องเร่งเจรจาแหล่งพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว แล้วผลักดันให้เกิดผลโดยเร็ว เพราะเกี่ยวกับความมั่นคงทางพลังงานและความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยระยะเวลาในการเจรจาคาดว่าจะต้องใช้ระยะเวลาในขบวนการเจรจาประมาณ 6-10 ปี ถึงจะเริ่มขบวนการเข้าสำรวจพื้นที่ได้

………………………………..

คอลัมน์ : เข็มทิศพลังงาน

โดย ..“ไรวินทร์”

สนับสนุนคอลัมน์ โดย :  บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน)

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img