วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSPassive House รากฐานอนาคตสถาปัตยกรรมครัวเรือนประหยัดพลังงาน
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

Passive House รากฐานอนาคตสถาปัตยกรรมครัวเรือนประหยัดพลังงาน

Passive House : Low Energy House 90 % Saving

“…..Passive House หรือ Passivhaus .. เป็นมาตรฐานสมัครใจสำหรับประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารสถานที่ซึ่งช่วยลดการปล่อยมลพิษทางนิเวศวิทยา ของอาคาร บ้านเรือน สถานที่ทำงาน และที่อยู่อาศัย ..”

การออกแบบอาคารสมรรถนะสูง และใช้พลังงานต่ำเหล่านี้ ส่งผลให้อาคารรูปแบบ Passive House บริโภคพลังงานต่ำอย่างยิ่ง Ultra-Low Energy หมายถึง พวกมันต้องการพลังงานเพียงเล็กน้อยสำหรับการทำความร้อน หรือความเย็นในพื้นที่เท่านั้น รวมถึงการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในครัวเรือน .. ทั้งนี้ มาตรฐานที่คล้ายกัน เช่น MINERGIE-P มีใช้อย่างกว้างขวางในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ Switzerland .. อย่างไรก็ตาม มาตรฐานเหล่านี้ มิได้ถูกจำกัดเฉพาะคุณสมบัติของที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงานหลายแห่ง โรงเรียน โรงเรียนอนุบาล และ/หรือ ซูเปอร์มาร์เก็ต แต่ยังอาจถูกออกแบบ และถูกสร้างขึ้นตามมาตรฐานเฉพาะอื่น ๆ .. การออกแบบแบบ Passive House or Passive Building ไม่ใช่สิ่งบังคับทำ หรือเป็นส่วนเสริมในการออกแบบอาคาร แต่เป็นกระบวนการออกแบบที่ผสมผสานร่วมกับการออกแบบทางสถาปัตยกรรม Architectural Design สำหรับอาคารสมรรถนะสูง .. แม้ว่าส่วนใหญ่จะใช้กับอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ แต่พวกมันยังนิยมถูกใช้สำหรับการตกแต่งปรับปรุงอาคารเก่าอีกด้วย ..

Low Energy House or Passive House / High Energy Efficiency House & Zero Energy Building | Credit: Inles

แนวคิดการก่อสร้างบ้าน และอาคารประหยัดพลังงาน ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ พัฒนาต่อยอดจนเป็นระบบประหยัดพลังงานที่ครอบคลุมพื้นที่อาคารทั้งหลัง ซึ่งในปัจจุบัน มีมาตรฐานสากลที่ใช้ยืนยันความสามารถในการประหยัดพลังงานในหลายประเทศอีกด้วย ..

Passive House เป็นแนวคิดที่มีมาตั้งแต่ปี 2531 หมายถึง สิ่งปลูกสร้างที่ออกแบบมาให้ประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยมลพิษกลับสู่สิ่งแวดล้อม และมีระบบพลังงาน ระบบทำความร้อนความเย็น ตลอดจนระบบระบายอากาศที่เป็นหนึ่งเดียวกับตัวบ้าน สามารถควบคุมบริหารจัดการได้ตามสภาพอากาศภายนอก และความต้องการของผู้อาศัย ..

บ้าน Passive House ส่วนใหญ่ จึงมักจะต้องเชื่อมต่อกับแผงเซลล์สุริยะ Solar Cell PV, กังหันลมผลิตไฟฟ้า Wind Turbine หรือการวางระบบ Heat Pump และระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage ไว้พร้อมด้วย เนื่องจากเป็นแหล่งพลังงานสะอาด ที่นำไปใช้ภายในอาคารบ้านเรือนได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด .. อย่างไรก็ตาม การใช้แหล่งพลังงานสำรองอื่น ยังคงจำเป็นต้องมีไว้พร้อมด้วย โดยต้องเป็นการประยุกต์ใช้เชื้อเพลิงที่ปล่อยของมลพิษกลับสู่อากาศในปริมาณน้อยเท่านั้น เป็นต้น ..

ทั้งนี้ ตัวอย่างมาตรฐาน Passive House สำหรับอาคารประหยัดพลังงานในเยอรมนี ได้กำหนดไว้ว่า อาคารที่สร้างขึ้นใหม่ต้องใช้พลังงานเพื่อทำความร้อนความเย็นไม่เกิน 15 KWh ต่อตารางเมตรต่อปี และใช้พลังงานพื้นฐานรวมไม่เกิน 120 KWh ต่อตารางเมตรต่อปี .. นอกจากนี้ ยังมีข้อกำหนดในเรื่องเกี่ยวกับวัสดุก่อสร้าง และระบบระบายอากาศอีกด้วย ..

จำนวน Passive House กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นมากอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และน่าจะยังคงเป็นแนวโน้มในสังคม และชุมชนยุคใหม่ที่ผู้บริโภคต้องการอาศัยอยู่ในอนาคตสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า ซึ่งวิทยาการด้านสถาปัตยกรรม และภาคพลังงานที่ก้าวหน้า จะเป็นตัวกำหนดว่า บ้านประหยัดพลังงานแห่งอนาคต Future Passive House ในแต่ละภูมิสังคมที่ต่างกันจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรได้บ้าง ..

อย่างไรก็ตาม Passive Green Home ที่กล่าวถึง เน้นการพึ่งพาธรรมชาติเป็นหลัก เช่น ใช้แสงแดดตามธรรมชาติให้แสงสว่างในเวลากลางวัน, การระบายอากาศด้วยลมตามธรรมชาติรอบตัวอาคาร รวมถึงการกันแสงแดดด้วยวิธีต่าง ๆ ก่อนที่แสงแดดจะส่องมาสัมผัสกับผนังบ้าน .. สิ่งเหล่านี้เราทุกคนก็คงคิดคล้าย ๆ กันว่า แตกต่างจากอาคารในประเทศหนาว อาคารรูปแบบ Passive อย่างเดียว คงอาจไม่เหมาะกับภูมิภาคที่มีอากาศร้อน เช่น ประเทศไทย จึงต้องมีการผนวกระบบ Active ไว้พร้อมด้วย ซึ่งหมายรวมถึงระบบที่ใช้กำลังไฟฟ้าสำหรับการให้แสงสว่าง และระบบปรับอากาศ .. ดังนั้น สำหรับประเทศไทยนั้น จึงเน้นไปที่บ้าน และอาคารประหยัดพลังงาน หรือการใช้พลังงานให้น้อย มีประสิทธิภาพมากขึ้นเป็นอันดับแรก รวมทั้งการคำนึงถึงการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานสะอาดสีเขียวราคาถูกด้วยการพึ่งพาแหล่งพลังงานของตัวเองให้มากที่สุด และนำเข้าพลังงานจากระบบสายส่งให้น้อยที่สุดนั่นเอง ..

ทั้งนี้ ระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่สำหรับครัวเรือน บ้านพัก ที่อยู่อาศัย และสถานที่ทำงาน กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุผลหลายประการ นอกจากข้อเท็จจริงที่ชัดเจนว่า พวกมันให้พลังงานสะอาด .. แม้ Passive House จะจำกัดการนำเข้าพลังงานจากภายนอก แต่พวกมันยังคงต้องการแหล่งพลังงานในตัวเอง ดังนั้น ระบบ Solar PV Hybrid และระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่สำหรับครัวเรือน Home Battery Energy Storage System จึงกลายเป็นความจำเป็นโดยยังสามารถรักษาเอกลักษณ์การเป็น Passive ไว้ ..

ผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตระหนักดีว่า โครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้าไม่น่าเชื่อถือเสมอไป และไม่สะอาด .. Gerbrand Ceder ศาสตราจารย์ที่ UC Berkeley รวมทั้ง นักวิทยาศาสตร์ และคณาจารย์ของ Lawrence Berkley National Laboratory กล่าวว่า “ความเป็นอิสระด้านพลังงานเป็นหนึ่งในเหตุผลใหญ่ที่สุดที่ผู้คนเลือกที่จะติดตั้งระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่สำหรับครัวเรือน Residential Energy Storage ไว้ที่บ้าน” .. “พวกมันทำงานได้อย่างราบรื่นไร้รอยต่อ ดังนั้น ผู้คนจึงไม่สังเกตเห็นด้วยซ้ำว่า ระบบไฟฟ้าเปลี่ยนจากระบบสายส่งกริดไฟฟ้าไปเป็นระบบสำรองกำลังไฟฟ้าด้วยชุดแบตเตอรี่ในบ้าน Passive House ของคุณ รวมทั้งพวกมัน ได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของรากฐานอนาคตสถาปัตยกรรมครัวเรือนประหยัดพลังงานสำหรับการออกแบบ Passive House ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงจากนี้ไป” ..

แนวคิด Passive House ที่ยั่งยืน ราคาไม่แพง สะดวกสบาย และเป็นอเนกประสงค์ ..

บ้านพาสซีฟ Passive House รูปแบบที่ยั่งยืน Sustainable, ราคาไม่แพง Affordable, สะดวกสบาย Comfortable และใช้งานได้หลากหลาย Versatile หมายถึง ที่อยู่อาศัย บ้าน และอาคารสถานที่ ที่ได้รับการออกแบบมาให้ประหยัดพลังงาน นำเข้าพลังงานจากภายนอกน้อยที่สุดในลักษณะ Passive เป็นหลัก แต่ยังคงความสะดวกสบายไว้ ไม่ว่าสภาพอากาศจะเป็นอย่างไร หรือตั้งอยู่บนพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ใด ๆ ก็ตาม ..

บ้านพาสซีฟ Passive House จะอยู่ ณ อุณหภูมิที่สบาย ๆ ตลอดทั้งปีโดยใช้พลังงานน้อยที่สุด .. แนวความคิดการออกแบบอาคารดังกล่าวนี้นั้น Passive House จะใช้แสงอาทิตย์ ลม แหล่งความร้อนภายใน และการนำความร้อนกลับมาหมุนเวียนใช้ใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ระบบทำความร้อนรูปแบบดั้งเดิมที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไม่มีความจำเป็นตลอดช่วงฤดูหนาวที่สภาพอากาศหนาวเย็นที่สุด รวมทั้งในช่วงเดือนที่อากาศอบอุ่น Passive Houses จะใช้เทคนิคการระบายความร้อนแบบพาสซีฟ เช่น การใช้ร่มเงา การยกเพดานสูงเปิดช่องระบายอากาศร้อนด้านบน การปลูกไม้ยืนต้นรอบตัวอาคาร การแรเงาเชิงกลยุทธ์เพื่อให้เย็นสบาย และไม่ว่าจะด้วยวิธีใด หรือด้วยฉนวนกันความร้อนคุณภาพสูงของ Passive House จะสามารถช่วยรักษาอุณหภูมิให้รู้สึกสบายในที่ที่ต้องการได้ หรือการใช้แหล่งพลังงานสะอาดของตัวอาคารเองเพื่อปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมโดยไม่มีการนำเข้าพลังงานจากระบบสายส่ง Electrical Grid หรือระบบท่อส่งก๊าซ Energy Grid เป็นต้น ..

Passive House Basics | Credit: PrimexVents

ในประเด็นของแนวคิดเกี่ยวกับความยั่งยืน Sustainability นั้น .. ที่ผ่านมา Passive House รูปแบบมาตรฐาน ต้องการพลังงานเพียง 10% ที่ใช้โดยตัวอย่างอาคารในยุโรปกลางทั่วไป ซึ่งหมายถึงการประหยัดพลังงานได้มากถึง 90% ในแง่ของน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับทำความร้อน หมายถึง Passive Houses จะใช้เชื้อเพลิงน้อยกว่า 1.5 ลิตรต่อตารางเมตร นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นการประหยัดได้อย่างมากในสภาพอากาศที่อบอุ่น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วอาคารต้องการการระบายความร้อนแบบแอคทีฟ Active Cooling ตลอดฤดูร้อน เนื่องจากการประหยัดพลังงานเท่ากับการลดการปล่อยมลพิษ Passive House จึงเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับการก่อสร้างแบบเดิม Sustainable Alternative to Conventional Construction ..

บ้านพาสซีฟ Passive House ไม่จำเป็นต้องใช้ระบบทำความร้อน และความเย็นในระดับทั่วไป ซึ่งหมายความว่าเงินที่จะนำไปใช้ในระบบทำความร้อน และความเย็น สามารถนำมาใช้ลงทุนกับระบบหน้าต่างที่ดีกว่า ฉนวนกันความร้อนที่หนากว่า คุณภาพดีกว่า และระบบระบายอากาศทดแทน ซึ่งแนวคิดเหล่านี้ ถือเป็นจุดเด่นของการออกแบบบ้านพาสซีฟ Passive House Design ..

การวัดคำนวณที่นำมาจากตัวอย่าง Passive House แห่งแรกของเยอรมนีที่สร้างขึ้นใน Darmstadt เมื่อปี 2534 หรือ ค.ศ.1991 แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าอุณหภูมิต่ำสุดในแต่ละวันจะลดลงเหลือ -14°C แต่อุณหภูมิในครัวเรือนก็ยังคงสูงกว่า 20°C อย่างต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องใช้ระบบทำความร้อนแบบเดิม .. ความต้องการใช้พลังงานความร้อนต่ำมากจนทำให้หลอดไฟขนาด 75 W สองดวงเพียงพอสำหรับให้ความร้อนแก่ห้องขนาด 20 ตารางเมตรได้อย่างน่าอัศจรรย์ ..

นอกจากนี้ บ้านพาสซีฟ Passive House จะช่วยประหยัดพลังงานในระยะยาว Long-Term Energy Savings Passive Houses โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของนำเข้าพลังงานจากแหล่งทรัพยากรพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งสร้างปัญหาวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis .. เป็นที่ชัดเจนว่า Passive House เป็นการลงทุนที่ดี ทั้งสำหรับกระเป๋าเงินของผู้อยู่อาศัย และสภาพอากาศของโลกเรา ..

ในประเด็นเกี่ยวกับเรื่องของราคา Affordability ซึ่งจะแพงเกินไปไม่ได้นั้น .. Passive House ไม่เพียงแต่ประหยัดเงินในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่พวกมันยังมีราคาที่ไม่แพงอย่างน่าประหลาดใจสำหรับการเริ่มต้น .. การลงทุนสำหรับส่วนประกอบอาคารด้วยวัสดุคุณภาพสูงกว่าที่กำหนดโดยมาตรฐาน Passive House นั้น สามารถทดแทนได้ด้วยการจำกัด และลดการใช้ระบบทำความร้อน และความเย็นที่มีราคาแพงลงได้ .. การสนับสนุนจากนโยบายพลังงานภาครัฐด้วยมาตรการต่าง ๆ ในหลายประเทศ ทำให้การสร้างบ้านแบบพาสซีฟ Passive House และอาคารประหยัดพลังงานคาร์บอนต่ำ หรือคาร์บอนเป็นกลาง เป็นไปได้มากขึ้นจากนี้ไปด้วยราคาที่ลดลง ..

ถึงกระนั้น บ้านพาสซีฟ Passive Houses ก็ยังมีค่าใช้จ่ายล่วงหน้ามากกว่าบ้านทั่วไป โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ที่สร้าง Passive House ในเยอรมนี อาจคาดหมายได้ว่าจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นประมาณ 8% และส่วนต่างของค่าใช้จ่ายนี้มีแนวโน้มสูงขึ้นในประเทศที่ส่วนประกอบ Passive House ยังไม่มีความพร้อมเพียงพอ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากจำนวนที่เหมาะสมของ Passive House ในตลาดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น .. ราคาวัสดุอุปกรณ์เหล่านี้ ก็จะลดลงอีก .. ทั้งนี้ ปัจจุบัน นโยบายพลังงานภาครัฐ และการสนับสนุนทางการเงินสำหรับ Passive Houses ที่มีอยู่ในในหลายประเทศ ได้ช่วยให้ลดต้นทุนการก่อสร้างลงได้อีกมาก ในแง่นี้ การสร้างบ้านพาสซีฟ Passive Houses จะถูกกว่าอยู่แล้วในระยะยาวเทียบกับการสร้างบ้านทั่วไปรูปแบบเดิม ๆ ..

ประเด็นสำคัญอีกประเด็นที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้ คือ เรื่องของความสะดวกสบาย .. บ้านพาสซีฟ Passive House อาจขึ้นชื่อในเรื่องการใช้พลังงานที่ลดลงอย่างมาก และค่าใช้จ่ายด้านพลังงานที่เกี่ยวข้อง แต่ระดับของความสะดวกสบายที่เสนอให้ผู้อยู่อาศัยของพวกเขา ยังน่าชื่นชมมากที่สุดด้วย .. เปลือกอาคารที่หุ้มฉนวนคุณภาพสูงอย่างดี เช่นเดียวกับหน้าต่างกระจกสามชั้น และโครงหุ้มฉนวนช่วยรักษาความอบอุ่น ซึ่งหมายความว่า พื้นและผนังภายในทั้งหมดจะอยู่ในอุณหภูมิที่พอเหมาะพอดีได้ตลอดเวลา ..

แม้แต่อากาศบริสุทธิ์ที่จ่ายให้กับ Passive Houses ก็ยังถูกทำให้มีอุณหภูมิที่พอเหมาะก่อนที่จะเข้าบ้าน ระบบการนำความร้อนกลับคืนที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถถ่ายเทความร้อนที่รับรู้ได้มากกว่า 75% จากอากาศเสียที่ใช้แล้วไปยังอากาศบริสุทธิ์ที่เข้ามา และด้วยวิธีนี้ ตัวอย่างเช่น อากาศเสีย 20°C สามารถทำให้อากาศเย็นในวันที่อุณหภูมิอยู่ที่ 0°C ให้เป็นอย่างน้อย 16°C ได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องทำความร้อนแบบ Active .. เมื่ออากาศภายนอกร้อนเกินไป อากาศรอบข้างที่เย็นกว่าสามารถระบายถ่ายเทความร้อนเพื่อให้เย็นลงก่อนเข้าบ้านได้ในลักษณะเดียวกันได้ ..

ระบบระบายอากาศใน Passive Houses ให้อากาศบริสุทธิ์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้ได้คุณภาพอากาศภายในอาคารที่เหนือชั้นกว่า .. อากาศในบ้านพาสซีฟ จะไม่เหม็นอับ หรืออับชื้นเหมือนในบ้านทั่วไปเมื่อไม่ได้เปิดหน้าต่างทิ้งไว้ .. ระบบระบายอากาศที่พบใน Passive Houses ให้อากาศที่สดชื่น ปราศจากละอองเกสร และปราศจากฝุ่นละออง .. สิ่งนี้ช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้อาศัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ หรือมีปัญหาระบบทางเดินหายใจ ..

อุณหภูมิที่น่าพึงพอใจภายใน Passive Houses และการระบายอากาศที่มีคุณภาพช่วยป้องกันความชื้นสะสม หยุดการควบแน่นที่มักก่อตัวตามกรอบหน้าต่าง และการเติบโตของเชื้อราได้อย่างยอดเยี่ยม ..

อย่างไรก็ตาม ในประเด็นความเป็นอเนกประสงค์ Versatile นั้น ด้วยจำนวน Passive Houses มากกว่า 40,000 แห่งทั่วโลก และอีก 20,000 แห่ง ในเยอรมนี ได้ข้อค้นพบว่า Passive House Standard กำลังได้รับความนิยม ไม่เพียงเพราะข้อดีที่โดดเด่นเกี่ยวกับการประหยัดพลังงาน และปล่อยของเสียน้อยอย่างยิ่งเท่านั้น แต่ยังเนื่องมาจากความอ่อนตัวยืดหยุ่น Flexibility ในการใช้งานอีกด้วย ..

มาตรฐานบ้านพาสซีฟ Passive House Standard ซึ่งเป็นมาตรฐานคุณภาพนั้น มิได้กำหนดบังคับวิธีการก่อสร้างเฉพาะใด ๆ ไว้ .. ไม่ว่าจะเป็นงานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงของโครงสร้าง การใช้ไม้ หรือวัสดุคอมโพสิต สถาปนิกสามารถออกแบบบ้าน Passive House ได้ตามความพอใจของตนเอง แม้แต่ผู้ผลิตบ้านสำเร็จรูป ก็ยังเสนอการออกแบบบ้านพาสซีฟหลากหลายรูปแบบออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง .. นอกจากนี้ Passive House Standard ที่ใช้งานได้หลากหลายยังถูกนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการปรับปรุงอาคารสถานที่เพิ่มเติมอีกด้วย เช่นเดียวกับอาคารที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย เช่น โรงเรียน อาคารสำนักงาน สถานที่ทำงาน โรงงานผลิต และอาคารโรงแรม เป็นต้น .. ทั้งนี้ เนื่องจากแนวคิด Passive House อิงตามหลักการทางกายภาพ อาคารแต่ละหลังจึงสามารถปรับรูปแบบให้เข้ากับสภาพอากาศเฉพาะตามพื้นที่ และภูมิสังคม เพื่อให้เป็นอาคารสมรรถนะสูงประหยัดพลังงาน ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่จำเป็น ลดการปล่อยมลพิษกลับสู่สิ่งแวดล้อม และมีระบบพลังงาน ระบบทำความร้อนความเย็น ตลอดจนระบบระบายอากาศที่เป็นหนึ่งเดียวกับตัวอาคาร สามารถควบคุมบริหารจัดการได้ตามสภาพอากาศภายนอก และความต้องการของผู้อาศัย และผู้ใช้อาคารได้เป็นอย่างดี ..

อาคารประหยัดพลังงาน ดีต่อผู้อยู่อาศัย ผู้ใช้งาน และดีต่อโลก กับมาตรฐานของไทย ..

สำหรับประเทศไทยนั้น  เกณฑ์มาตรฐานเพื่อประสิทธิภาพพลังงานของอาคาร Building Energy Code : BEC ซึ่งกระทรวงพลังงาน ได้ตราออกมาเป็นกฎกระทรวงเพื่อกำหนดเกณฑ์มาตรฐานการอนุรักษ์พลังงานในอาคารขั้นต้นขึ้นมาโดยมีผลบังคับใช้กับอาคารที่จะขออนุญาตก่อสร้างใหม่ หรือการดัดแปลงอาคารเก่า ซึ่งเกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้ ใช้เป็นเกณฑ์ตรวจสอบประสิทธิภาพการใช้พลังงานตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบว่าเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ แล้วจึงพิจารณาอนุญาตให้ก่อสร้าง หรือดัดแปลงได้ต่อไป เป็นต้น ..

ทั้งนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน หรือ พพ. เป็นหน่วยรับผิดชอบกำกับดูแล และบังคับใช้กฎกระทรวงเกณฑ์การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน หรือ Building Energy Code : BEC ดังกล่าว ตั้งแต่เดือน มี.ค.2564 ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ให้ความสนใจ และให้ความสำคัญกับการพัฒนาอาคารประหยัดพลังงาน และอาคารสมรรถนะสูงใช้พลังงานต่ำเหล่านี้มากขึ้น ..

ตามรายงานของกระทรวงพลังงาน พบว่า ตั้งแต่ปี 2552-2563 มีอาคารในประเทศไทยที่ได้รับการประเมินว่าเป็นอาคารประหยัดพลังงานตามเกณฑ์ของ BEC 850 ได้ช่วยให้ไทยสามารถประหยัดพลังงานได้ประมาณ 630 ล้านหน่วย หรือเท่ากับประมาณ 630 GWh โดยกระทรวงพลังงาน ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายใน 20 ปี นับจากปี 2561-2581 การสร้างอาคารประหยัดพลังงาน จะทำให้ประเทศไทยสามารถประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ไม่น้อยกว่า 1.37 หมื่นล้านหน่วยต่อปี หรือ 13,700 GWh ต่อปี คิดเป็นเงินกว่า 4.7 หมื่นล้านบาท และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ไม่น้อยกว่า 7,282 ตันต่อปี ..

นอกจากนั้น ผลการศึกษาของทีม ‘ลุมพินี วิสดอม’ พบว่า การพัฒนาอาคารสำนักงานให้เช่า เกรด B ประหยัดพลังงานขนาด 1 หมื่น ตร.ม. เพียงอาคารเดียว จะสามารถประหยัดพลังงานได้เฉลี่ย 270 MWh ต่อปี คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.12 ล้านบาทต่อปี และจะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศได้มากกว่า 151 ตันต่อปีอีกด้วย ..

ขณะที่ต้นทุนการก่อสร้างอาคารประเภทนี้จะสูงกว่าการสร้างอาคารปกติ ประมาณเพียง 0.6% ซึ่งเมื่อเทียบความสามารถในการลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานกับต้นทุนการก่อสร้างแล้ว จะใช้เวลาในการคืนทุนจากต้นทุนการก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นภายในระยะเวลา 4.5-5 ปี เท่านั้น ..

“การออกแบบอาคารประหยัดพลังงาน หรืออาคารสมรรถนะสูงใช้พลังงานต่ำเหล่านี้ จะให้ความสำคัญในการออกแบบครอบคลุมระบบเปลือกอาคาร ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบปรับอากาศ ระบบผลิตน้ำร้อน และการใช้พลังงานหมุนเวียนภายในอาคาร เป็นหลัก” ..

อาคารประหยัดพลังงานไม่ใช่ทำได้เฉพาะการออกแบบ และพัฒนาอาคารขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาอาคารขนาดเล็ก เช่น Passive House ทั้งที่เป็นอาคารชุดพักอาศัย บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ รวมถึงยังสามารถปรับปรุงอาคารเก่าให้เป็นอาคารประหยัดพลังงานได้อีกด้วย โดยการนำเกณฑ์ในการพัฒนาอาคารประหยัดพลังงานมาใช้ ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อเจ้าของผู้อยู่อาศัย และผู้ใช้งานในอาคารในระยะยาวได้อย่างยอดเยี่ยม ..

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน กฎกระทรวงว่าด้วย เกณฑ์การออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน หรือ Building Energy Code : BEC ของไทย มีผลเริ่มต้นใช้บังคับแล้วกับอาคารขนาด 10,000 ตร.ม. ขึ้นไป .. ทั้งนี้ อาคารขนาด 5,000 ตร.ม. จะมีผลใช้บังคับในปี 2565 และขนาด 2,000 ตร.ม. มีผลในปี 2566 .. สำหรับอาคารขนาดเล็กลงมา เช่น Passive Houses บ้าน ที่อยู่อาศัย และอาคารสำนักงานขนาดเล็กลงไปนั้น ยังคงถือเป็นมาตรฐานสมัครใจสำหรับอ้างอิงประสิทธิภาพการใช้พลังงานในอาคารสถานที่ซึ่งช่วยลดการปล่อยมลพิษทางนิเวศวิทยา Reduces the Building’s Ecological Footprint ของอาคาร บ้านเรือน สถานที่ทำงาน และที่อยู่อาศัย .. ผู้เชี่ยวชาญในภาคพลังงานชี้ว่า Passive Houses อาคารประหยัดพลังงาน และอาคารสมรรถนะสูงใช้พลังงานต่ำเหล่านี้ จะส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย ผู้ใช้งาน และดีต่อโลกเป็นอย่างมาก รวมทั้ง พวกมันกำลังกลายแนวโน้มที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสำหรับอนาคตจากนี้ไปได้ในที่สุด ..

คาดการณ์ตลาดบ้านพาสซีฟ และอาคารประหยัดพลังงานสมรรถนะสูงทั่วโลก Global Passive House and Energy Efficient Building Market ..

ขนาดธุรกิจในตลาดบ้านพาสซีฟ และที่อยู่อาศัยแบบครอบครัวเดี่ยวสีเขียวประหยัดพลังงานทั่วโลก Global Passive House & Single-Family Housing Green Market เติบโตจากมูลค่า 105.26 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 เป็น 120.89 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปี ที่ค่า CAGR 14.8% รวมทั้งได้รับการคาดหมายว่า ตลาดจะพุ่งสูงขึ้นแตะระดับ 209.34 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2569 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดบ้านพาสซีฟ และที่อยู่อาศัยแบบครอบครัวเดี่ยวสีเขียวประหยัดพลังงานทั่วโลก Global Passive House & Single-Family Housing Green Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 14.7% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2564-2569 ..

A Passive House where the concept originated is a way of building homes extremely energy efficient manner | Credit: Inhabitat / Field Green Design

อย่างไรก็ตาม ในประเด็นอาคารสมรรถนะสูงโดยภาพรวมนั้น พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดอาคารประหยัดพลังงานสมรรถนะสูงทั่วโลก Global Energy Efficient Building Market มีมูลค่า 235.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อสิ้นปี 2563 และคาดหมายได้ว่าจะพุ่งขึ้นแตะระดับ 476.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2571 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 9.2% ..

นอกจากนั้น อาคารใช้พลังงานสะอาดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Energy Buildings : NZEBs ก็เป็นอาคารสมรรถนะสูงอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจในตลาดเช่นเดียวกับตลาด Passive House .. ทั้งนี้ จากข้อมูล  Market Watch ปี 2565 ระบุว่า ตลาดอาคารใช้พลังงานสะอาดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Energy Buildings : NZEBs ทั่วโลก คาดว่าจะมีมูลค่าสูงแตะระดับ 36 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2573 โดยมีอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 15% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ระหว่างปี 2564-2573 ..

พลังงาน Energy ถูกใช้ไปในทุกขั้นตอนของอายุอาคาร Building Lifespan ขึ้นอยู่กับการออกแบบสถาปัตยกรรม การเลือกสถานที่ การเลือกใช้วัสดุ และระบบโครงสร้าง รวมทั้งในขั้นตอนการปรับปรุงพัฒนาอาคาร การใช้ประโยชน์ และการบำรุงรักษา งานรื้อถอน การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือการรีไซเคิล และการจัดการของเสีย .. อาคารที่ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ Energy Efficient Buildings หรืออาคารสมรรถนะสูง ทั้งที่เป็นอาคารที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ หรืออาคารสร้างใหม่ สามารถเข้าใจได้ว่า พวกมัน คือ อาคารที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อลดการใช้พลังงานที่จำเป็นสำหรับการทำความเย็น และความร้อน โดยไม่ขึ้นกับแหล่งพลังงาน และอุปกรณ์ที่จะเลือกให้ความร้อน หรือเย็น และ/หรือ หมายถึง นอกจากจะบริโภคพลังงานน้อยมากอย่างยิ่งแล้ว อาคาร บ้านเรือน ที่อยู่อาศัยเหล่านี้ จะใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และนำเข้าพลังงานจาก Energy Grid น้อยที่สุด แต่จะพึ่งพาแหล่งพลังงานสะอาดที่ติดตั้งไว้กับตัวอาคารเองเป็นหลัก รวมทั้งปล่อยของเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมต่ำอย่างยิ่ง ..

ปัจจุบัน ตลาดอาคารประหยัดพลังงาน Energy Efficient Building Market พบการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ .. ตามสถิติขององค์การสหประชาชาติ United Nations คาดว่า ประชากรทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 2 พันล้านคน ในอีก 30 ปีข้างหน้า โดยจะเพิ่มขึ้นจาก 7.7 พันล้านคนในปัจจุบันเป็น 9.7 พันล้านคน ภายในปี 2593 และอาจเพิ่มขึ้นรวมเป็นประมาณ 11 พันล้านคน ภายในปี 2643 .. ในขณะเดียวกัน การขยายตัวอย่างรวดเร็วของชุมชนเมืองทั่วโลก ทั้งในประเทศกำลังพัฒนา และประเทศที่พัฒนาแล้ว จำนวน และขนาดของอาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นมากตามไปด้วย ส่งผลให้ความต้องการพลังงานไฟฟ้า และแหล่งพลังงานอื่น ๆ สำหรับใช้ในอาคาร บ้านเรือน เพิ่มขึ้นอย่างมาก .. ด้วยเหตุนี้ จึงมีแนวโน้มสูงสำหรับความจำเป็นยิ่งยวดในการพัฒนาอาคารประหยัดพลังงานในโลกปัจจุบัน รวมทั้งการปรับปรุงอาคารแบบเดิมที่มีอยู่แล้วไปพร้อมด้วย ซึ่งคาดหมายได้ว่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโตของตลาดบ้านพาสซีฟ และอาคารประหยัดพลังงานทั่วโลก Global Passive House & Energy Efficient Building Market ในช่วงจากนี้ไปอย่างแน่นอนไม่มีข้อสงสัย ..

Various Elements of Energy – Efficient Buildings | Credit: ResearchGate

นอกจากนั้น บ้าน และอาคารต่าง ๆ ยังเป็นทั้งผู้ผลิตก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases รายใหญ่ และเป็นหนึ่งในผู้บริโภคพลังงาน Consumers of Energy รายใหญ่ที่สุดอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัยในชนบท หรือสถานที่ทำงานใจกลางเมือง .. ทั้งนี้ อาคารที่อยู่อาศัยยังมีความต้องการที่หลากหลาย ดังนั้น ผลกระทบด้านลบของอาคารที่มีต่อสิ่งแวดล้อม จึงกลายเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วงของสังคมในปัจจุบัน ..

อาคารประหยัดพลังงานขั้นสูง Advanced Energy Efficient Buildings เป็นอาคารที่ได้รับการออกแบบในลักษณะที่จะลดขนาดพลังงานที่จำเป็นสำหรับการให้ความร้อน และความเย็น โดยไม่คำนึงถึงอุปกรณ์ และแหล่งพลังงานที่ต้องการให้ความเย็น หรือความร้อนแก่อาคาร .. ด้วยความเป็นจริงในทางปฏิบัตินั้น เมื่ออาคารได้รับการพัฒนาเพื่อลดขนาดการใช้พลังงาน และของเสีย Downsize the Energy Usage & Waste จึงควรเริ่มพิจารณาจัดหาแหล่งพลังงานสะอาด พลังงานหมุนเวียน Renewable Clean Energy ที่เป็น Hybrid Solar PV & Wind Turbine with Battery Packs ติดตั้งกับตัวอาคารไว้พร้อมด้วย เพื่อลดและจำกัดการนำเข้าพลังงานจาก Energy Grid รวมทั้ง อุปกรณ์ทำความร้อน และความเย็นที่พึ่งพาแหล่งพลังงานสะอาดในตัวอาคารเป็นหลัก เป็นต้น .. จากปัจจัยดังกล่าว ตลาดอาคารประหยัดพลังงานทั่วโลก Energy Efficient Building Market ซึ่งรวมถึงตลาดบ้านพาสซีฟ Passive House Market คาดว่าจะเป็นสักขีพยานถึงความต้องการที่สำคัญได้เป็นอย่างดีตลอดระยะเวลาคาดการณ์ ..

สรุปส่งท้าย ..

ภาคอาคารสถานที่ เมือง และการก่อสร้าง Buildings, Cities & Construction นั้น เป็น 1 ใน 6 ภาคส่วนข้อไขสำคัญ The Six-Sector Solution to the Climate Crisis ที่มีศักยภาพในมาตรการการลดการปล่อยมลพิษได้มากพอที่จะทำให้อุณหภูมิโลกอยู่ต่ำกว่าจุดเล็ง 1.5°C ตามที่ United Nations Environment Programme: UNEP ระบุไว้ในข้อตกลงระดับโลกฉบับใหม่ด้านสภาพอากาศของกลาสโกว์ Glasgow Climate Pact ในการประชุมสุดยอดรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 26th United Nations Climate Change : COP26 Conference เมื่อ 31 ตุลาคม ถึง 13 พฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อลดผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดของวิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis แม้ว่าผู้นำ และผู้รณรงค์มุ่งมั่นบางคนกล่าวว่า มันยังอาจไม่เพียงพอ ..

High Energy Efficiency House and Zero Energy Building | Credit : GE / Green – Panel .eu

ภายในปี 2573 อาคารสถานที่ เมือง และการก่อสร้าง จะปล่อยมลพิษที่เกี่ยวข้องกับพลังงานประมาณ 12.6 GT .. ข่าวดีก็คือว่า 70% ของโครงสร้างพื้นฐานในเมืองที่จะต้องสร้างขึ้นเพื่อรองรับโลกที่เติบโตอย่างรวดเร็วนั้นยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ ..

อย่างไรก็ตาม ด้วยการกำหนดให้เมือง ชุมชน และอาคารบ้านเรือนในอนาคต มีความพร้อมเหมาะสมสำหรับคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าในยุคคาร์บอนต่ำ Low-Carbon Age และด้วยการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure ที่มีอยู่ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่กำลังจะเกิดขึ้นสำหรับที่อยู่อาศัย อาคารสถานที่ทำงาน รองรับการเติบโตของชุมชนเมืองด้วยแนวทางคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality จากนี้ไป  .. โลกจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 5.9 GT อย่างแน่นอนไม่มีข้อสงสัย ..

ดังนั้น จึงจะต้องมีการดำเนินการในทุกระดับ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน .. การก่อสร้างอาคารที่อยู่อาศัยในรูปแบบอาคารประหยัดพลังงาน หรือบ้านพาสซีฟ Passive Houses การปรับปรุงอาคารสาธารณะ การส่งเสริมการติดตั้งระบบพลังงานสะอาด เช่น Heat Pumps โซลาร์เซลล์ Solar Cells และเทคโนโลยีการจัดเก็บความร้อน Heat Storage Technology เป็นประเด็นโดดเด่นที่สำคัญ .. มาตรการการจูงใจให้มีการออกแบบติดตั้งระบบทำความเย็น และความร้อน ระบบระบายอากาศ และการใช้แสงสว่างที่ใช้แหล่งพลังงานในตัวอาคารเองอย่างมีประสิทธิภาพคาร์บอนต่ำ หรือที่เรียกว่า อาคารสมรรถนะสูง High Performance & Energy Efficient Building รวมทั้งมุ่งเน้นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ประหยัดพลังงาน .. การกำหนดมาตรฐานอาคาร Building Energy Code : BEC สำหรับการก่อสร้างใหม่ รวมทั้งการจัดวางโครงสร้างอาคารหลักที่ยั่งยืนภายใต้การวางผังเมืองที่เหมาะสมต่อการประหยัดพลังงาน  การสร้างแรงจูงใจในพื้นที่ชนบทด้วยโซลูชั่นมินิกริด Mini-Grid Solutions หรือระบบ Smart Grid และการจัดวางระบบพลังงานสะอาดรูปแบบแยกย่อย หรือแยกเดี่ยวตามอาคารบ้านเรือน ชุมชน สถานที่ทำงาน หรือแม้แต่อาคารโรงงานอุตสาหกรรม กลายเป็นความจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ ..

ทั้งนี้ ฝ่ายการเมือง จะต้องนำเสนอมาตรฐานการก่อสร้างอาคารสถานที่ ที่อยู่อาศัยคาร์บอนเป็นกลาง เช่น Passive House, การปรับปรุง ผลักดัน และสนับสนุนข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอาคารใช้พลังงานสะอาดปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net-Zero Energy Buildings: NZEBs รวมทั้งนโยบายการปรับปรุงอาคารสถานที่เพิ่มเติมเพื่อให้มั่นใจว่า บ้าน ที่อยู่อาศัย อาคารสถานที่ เมือง และการก่อสร้าง Buildings, Cities & Construction จะใช้พลังงานสะอาดอย่างมีประสิทธิภาพ และปล่อยคายมลพิษให้น้อยลงอีก เนื่องเพราะที่คาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 5.9 GT นั้น อาจถือว่ายังน้อยเกินไป ..

ความร่วมมือของภาคประชาสังคม มีความสำคัญเช่นกัน .. ปัจจุบัน คาดหมายได้ว่า ที่อยู่อาศัยของผู้คนที่เป็นบ้านพาสซีฟ Passive House ในตลาดอาคารประหยัดพลังงาน Energy Efficient Buildings Market กำลังมาแรง ผู้ซื้อเล็งลดค่าใช้จ่ายในระยะยาว รวมทั้ง พวกมัน คือ หนึ่งในนวัตกรรมทางเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับอนาคตความยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Sustainability & Eco-Friendly .. แม้ต้นทุนก่อสร้างจะเพิ่ม 0.6% แต่มั่นใจได้ว่า ด้วยค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงานที่ลดลงนั้น จะทำให้ผู้อาศัยสามารถคืนทุนได้ภายใน 5 ปี ด้วยคุณภาพชีวิตที่เหนือชั้นกว่า ..

แนวคิดการก่อสร้างบ้าน และอาคารประหยัดพลังงาน ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นการเริ่มต้นจากจุดเล็ก ๆ พัฒนาต่อยอดจนเป็นระบบประหยัดพลังงานที่ครอบคลุมพื้นที่อาคารทั้งหลัง ซึ่งในปัจจุบัน มีมาตรฐานสากลที่ใช้ยืนยันความสามารถในการประหยัดพลังงานในหลายประเทศอีกด้วย ..

จำนวน Passive House กำลังเพิ่มจำนวนขึ้นมากอย่างต่อเนื่องทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และน่าจะยังคงเป็นแนวโน้มในสังคม และชุมชนยุคใหม่ที่ผู้บริโภคต้องการอาศัยอยู่ในอนาคตสิ่งแวดล้อมที่ดีกว่า ซึ่งวิทยาการด้านสถาปัตยกรรม และภาคพลังงานที่ก้าวหน้า จะเป็นตัวกำหนดว่า บ้านประหยัดพลังงานแห่งอนาคต Future Passive House ในแต่ละภูมิสังคมที่ต่างกันจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไรได้บ้าง ..

ผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตระหนักดีว่า โครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้าไม่น่าเชื่อถือเสมอไป และไม่สะอาด .. ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า “ความเป็นอิสระด้านพลังงานเป็นหนึ่งในเหตุผลใหญ่ที่สุดที่ผู้คนเลือกที่จะติดตั้งระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่สำหรับครัวเรือน Residential Energy Storage ไว้ที่บ้าน” .. พวกมันทำงานได้อย่างราบรื่นไร้รอยต่อสำหรับบ้าน Passive House ของคุณ รวมทั้งระบบพลังงานสะอาดสมรรถนะสูง Advanced Energy Efficient Buildings และชุดแบตเตอรี่สำหรับครัวเรือนที่ติดตั้งไว้พร้อมด้วยนั้น ได้กลายเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของรากฐานอนาคตสถาปัตยกรรมครัวเรือนประหยัดพลังงานสำหรับการออกแบบ Passive House ที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงจากนี้ไป ..

……………………………………..

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

What is a Passive House? :-

https://passipedia.org/basics/what_is_a_passive_house

The Principles: Passive House Institute U.S.:-

https://www.phius.org/passive-building/what-passive-building/passive-building-principles

The Passive House – Sustainable, Affordable, Comfortable, Versatile :-

https://www.passivehouse-international.org/index.php?page_id=79

Passive house design | Climate Technology Centre & Network :-

https://www.ctc-n.org/technologies/passive-house-design

The Passive House That’s Aggressively Green | MIT :-

https://www.technologyreview.com/2020/04/15/999376/the-passive-house-thats-aggressively-green/

How to Build Super Energy – Efficient Houses | Bloomberg :-

https://www.bloomberg.com/news/articles/2022-02-25/why-the-demand-for-passive-home-design-is-skyrocketing

Growth in Passive House Buildings: A Sign of Market Transformation Underway :-

https://www.pembina.org/blog/passive-house-revolution

Passive House : 90% Home Energy Saving :-

https://photos.app.goo.gl/u9hZkEe6y5djh2pA8

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img