The Ocean : The World’s Greatest Ally Against Climate Change
“……มหาสมุทร Ocean มิใช่แค่ ‘ปอดของโลก The Lungs of the Planet’ แต่ยังรวมถึง ‘อ่างรองรับคาร์บอนCarbon Sink’ ที่ใหญ่ที่สุดด้วย ซึ่งเป็นด่านปราการที่สำคัญสำหรับการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change …”
มหาสมุทร The Ocean สร้างออกซิเจน Oxygen : O2 มากกว่า 50% ที่มนุษยชาติต้องการบนโลกใบนี้ ดูดซับ 25% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ทั้งหมด และดักจับ 90% ของความร้อนส่วนเกิน Excess Heat ที่เกิดจากการปล่อยคายเหล่านี้ไว้ .. มหาสมุทร Ocean มิใช่แค่ “ปอดของโลก The Lungs of the Planet” แต่ยังรวมถึง “อ่างรองรับคาร์บอน Carbon Sink” ที่ใหญ่ที่สุดด้วย ซึ่งเป็นด่านปราการที่สำคัญสำหรับการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ..
มหาสมุทร The Ocean คือ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ยักษ์ และเป็นศูนย์กลางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Central to Reducing Global Greenhouse Gas Emissions รวมทั้งทำให้สภาพอากาศของโลกมีเสถียรภาพ Stabilizing the Earth’s Climate ด้วยพลังแห่งสมดุลธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ ..
อย่างไรก็ตาม การปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHG ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมหาสมุทร Health of the Ocean ทั้งการทำให้น้ำทะเลร้อนขึ้น และทำให้เป็นกรด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ และบนบก กับลดความสามารถของมหาสมุทรในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ Reducing the Ocean’s Ability to Absorb Carbon Dioxide และปกป้องทุกชีวิตบนโลกใบนี้ Safeguard Life on the Planet ..
และนี่คือเหตุผลประการสำคัญที่มนุษยชาติ จำเป็นต้องปกป้องมหาสมุทรไว้ในฐานะพันธมิตรที่ดีที่สุดของเราสำหรับการเผชิญกับปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis ..
ประโยชน์ของแพลงก์ตอน Phytoplankton ในมหาสมุทร, สาหร่าย Algae, หญ้าทะเล Seagrasses, ป่าชายเลน Mangroves และปะการัง Corals ..
แหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายในมหาสมุทร เช่น ไฟโตแพลงก์ตอน Phytoplankton, สาหร่าย Algae, หญ้าทะเล Seagrasses, ป่าชายเลน Mangroves และปะการัง Corals ตลอดจนใยอาหารที่เกี่ยวข้องมากมาย สามารถดูดซับกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 จากชั้นบรรยากาศได้ในอัตราที่สูงกว่าป่าฝนบนบก Terrestrial Rainforests ถึง 4 เท่า .. ความสามารถในการดักจับ และกักเก็บคาร์บอน Carbon Capture & Store ทำให้ป่าชายเลน Mangroves, แพลงก์ตอน Phytoplankton และสาหร่าย Algae เป็นต้นนั้น มีคุณค่าอย่างสูงยิ่งในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ..
ไฟโตแพลงก์ตอน Phytoplankton ในมหาสมุทร คือ ส่วนประกอบ Autotrophic Components ของชุมชนสิ่งมีชีวิตที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในระบบนิเวศวิทยาของมหาสมุทร และน้ำจืด Ocean and Freshwater Ecosystems ..
Phytoplankton ได้รับพลังงานจากการสังเคราะห์แสง Photosynthesis เช่นเดียวกับต้นไม้ และพืชอื่น ๆ บนบก ซึ่งหมายความว่า ไฟโตแพลงก์ตอน Phytoplankton ต้องการแสงแดดจากดวงอาทิตย์ ดังนั้นพวกมันจึงอาศัยอยู่ในชั้นผิวน้ำที่มีแสงสว่างเพียงพอของมหาสมุทร และทะเลสาบ .. เมื่อเปรียบเทียบกับพืชบนบก Phytoplankton จะกระจายไปทั่วพื้นที่ผิวน้ำที่กว้างกว่า สัมผัสกับความผันแปรตามฤดูกาลน้อยกว่า และมีอัตราการเติบโตหมุนเวียนเร็วกว่าต้นไม้อย่างเห็นได้ชัด เป็นผลให้ไฟโตแพลงก์ตอน Phytoplankton ตอบสนองอย่างรวดเร็วในระดับโลกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ..
ไฟโตแพลงก์ตอน Phytoplankton ในมหาสมุทร เป็นฐานของใยอาหารทางทะเล และน้ำจืด รวมทั้งเป็นผู้เล่นหลักในวัฏจักรคาร์บอนทั่วโลก Key Players in the Global Carbon Cycle .. พวกมัน คิดเป็นประมาณครึ่งหนึ่งของกิจกรรมการสังเคราะห์แสง Photosynthesis ทั่วโลก และอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของการผลิตออกซิเจน Oxygen Production แม้ว่าจะมีมวลทั้งสิ้นเพียงประมาณ 1% ของชีวมวลพืชทั่วโลก Global Plant Biomass เท่านั้น .. ทั้งนี้ หมายถึง บทบาทหน้าที่หลักสำหรับระบบนิเวศวิทยาโลก Global Ecosystems ของ Phytoplankton ในมหาสมุทรนั้น ได้แก่ การดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 จากชั้นบรรยากาศจัดเก็บไว้ และปล่อยคายออกซิเจน Oxygen : O2 ปริมาณมหาศาลออกสู่ชั้นบรรยากาศ ได้ด้วยอัตราที่สูงมากกว่า 4 เท่า เมื่อเทียบกับความสามารถที่ป่าฝน Rainforests ทั่วโลกทำได้นั่นเอง ..
Phytoplankton มีความหลากหลาย ตั้งแต่แบคทีเรียสังเคราะห์แสง Photosynthesizing Bacteria, สาหร่ายคล้ายพืช Plant-Like Algae ไปจนถึง Armour-Plated Coccolithophores .. กลุ่มที่สำคัญของ Phytoplankton ที่ถูกนับรวมไว้ด้วย ได้แก่ ไดอะตอม Diatoms, ไซยาโนแบคทีเรีย Cyanobacteria และ Dinoflagellates แม้ว่าจะยังมีกลุ่มอื่นอีกจำนวนมาก ..
ป่าชายเลน Mangroves เป็นอีกหนึ่งในระบบนิเวศที่อุดมด้วยคาร์บอนมากที่สุดในโลก Most Carbon-Rich Ecosystems เช่นกัน โดยสามารถจัดเก็บคาร์บอนเฉลี่ย 1,000 ตันต่อเฮกตาร์ Hectare ในชีวมวล และผืนดินเบื้องล่างของป่าชายเลน Mangroves .. นอกจากนี้ ระบบนิเวศวิทยา Ecosystems เหล่านี้ ยังสนับสนุนการทำประมงที่ดี Healthy Fisheries, ปรับปรุงคุณภาพน้ำ Improve Water Quality และให้การปกป้องกันชายฝั่ง Coastal Protection จากน้ำท่วม และพายุ ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ..
แนวปะการัง Coral Reefs ก็เช่นกัน พวกมันเป็นหนึ่งในระบบสมดุลธรรมชาติที่มีคุณค่าทางนิเวศวิทยา และเศรษฐกิจมากที่สุดในโลกของเรา แม้จะครอบคลุมมหาสมุทรน้อยกว่า 0.1% ของโลก แต่ก็ส่งผลให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลมากกว่า 25% และให้บริการผู้คนกว่าพันล้านคนด้วยการคุ้มครองชายฝั่ง การประมง แหล่งที่มาของยา ผลประโยชน์ด้านนันทนาการ และรายได้จากการท่องเที่ยว ..
พื้นที่คุ้มครองทางทะเล Marine Protected Area : MPA หมายถึง พื้นที่ของมหาสมุทรที่จัดสรรไว้เพื่อจุดประสงค์ในการอนุรักษ์ในระยะยาว ได้เสนอทางเลือกที่ดีที่สุดในการรักษาสุขภาพของมหาสมุทร The Ocean’s Health ด้วยหลายมาตรการ และล่าสุด จากผลการประชุม UN Ocean Conference 2022 เมื่อ 27 มิ.ย. ถึง 1 ก.ค.2564 ที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า ประชาคมโลกกำลังพยายามเสริมสร้างความพยายามที่จะระดม สร้างสรรค์ และขับเคลื่อนโซลูชันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goals : SDGs ขององค์การสหประชาชาติ 17 ประการ เพื่อการปกป้องสุขภาพของมหาสมุทร The Ocean’s Health ภายในปี 2573 .. ปัจจุบัน พื้นที่คุ้มครองทางทะเลครอบคลุมพื้นที่ 6.35% ของมหาสมุทร ซึ่งมากกว่าเกือบ 10 เท่าของในปี 2543 .. การขยายพื้นที่เพิ่มเติมเหล่านี้ มีความสำคัญต่อการปกป้องแนวปะการัง และป่าชายเลน รวมทั้งการรักษาความยืดหยุ่นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของมหาสมุทร The Ocean’s Climate Change Resilience ..
อย่างไรก็ตาม การค้าโลกประมาณ 80% ขนส่งโดยการเดินเรือ Maritime Shipping ซึ่งคิดเป็นเกือบ 3% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก .. ดังนั้น การลดการปล่อย CO2 ของเรือเดินสมุทรให้เป็นศูนย์สุทธิภายในปี 2593 จึงเป็นสิ่งสำคัญในการต่อสู้กับวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis ..
นี่หมายถึง การย้ายออกจากฐานการบริโภคเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels แบบดั้งเดิมไปสู่แหล่งพลังงานใหม่ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ New Zero-Emission Energy Sources เช่น ไฮโดรเจน Hydrogen : H2, แอมโมเนีย Ammonia : NH3, เมทานอล Methanol : CH3OH หรืออาจหมายรวมถึงพลังงานลม Wind Energy และพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy ผนวกกับระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage สำหรับการเดินเรือ และระบบขนส่งทางทะเล Maritime Transport นั้น ถือเป็นเรื่องสำคัญของมนุษยชาติที่จะต้องมุ่งมั่นให้บรรลุความสำเร็จให้จงได้จากนี้ไป ..
พลังงานมหาสมุทร Ocean Energy บทพิสูจน์ความแข็งแกร่งของสมดุลธรรมชาติ ..
ศักยภาพของมหาสมุทร Potential of the Ocean เช่น พลังงานมหาสมุทร Ocean Energy, พลังงานลม Wind Energy, พลังงานคลื่น Tidal Energy และแบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery เป็นต้นนั้น ถือว่าเป็นแหล่งพลังงานที่อุดมสมบูรณ์ไร้ขีดจำกัด ..
มหาสมุทร The Ocean คือ แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เหลือเชื่อ Incredible Source of Renewable Energy ทั้งที่เป็นพลังงานลมนอกชายฝั่ง และพลังงานในมหาสมุทร ซึ่งได้มาจากแหล่งธรรมชาติ เช่น ความร้อน ลม น้ำ คลื่น และกระแสน้ำ ซึ่งไม่ปล่อยคายคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน Global Warming ..
กำลังไฟฟ้าพลังงานลมนอกชายฝั่ง Off-Shore Wind Power เกิดจากกระแสลมผ่านกังหันลมที่หมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อเปลี่ยนพลังงานจลน์ในทะเลนอกชายฝั่งให้เป็นกำลังไฟฟ้า .. เทคโนโลยีพลังงานลม Wind Energy Technology ซึ่งใช้มานับพันปีได้พัฒนาขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพื่อเพิ่มการผลิตกำลังไฟฟ้าให้สูงสุดเพียงพอได้ .. กำลังไฟฟ้าพลังงานลม Wind Power สามารถตอบสนองครอบคลุมความต้องการพลังงานทั่วโลกมากกว่า 1 ใน 3 นั้น ได้กลายเป็นแหล่งพลังงานชั้นแนวหน้าของโลก และเดนมาร์ก Denmark กลายเป็นชาติแรกในโลกที่สร้างฟาร์มกังหันลมนอกชายฝั่ง Offshore Wind Farm ขนาดใหญ่ในทะเลเหนือ ตามมาด้วยอีกหลายชาติในเวลาต่อมา ..
การผลิตไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen ด้วยพลังงานลมนอกชายฝั่ง และพลังงานแสงอาทิตย์จากน้ำทะเล รวมทั้งการผลิตน้ำสะอาดไปพร้อมด้วยในปัจจุบัน และจากนี้ไปนั้น ฟาร์มกังหันลม Offshore Wind Farms และ Floating Solar PV นอกชายฝั่ง สามารถใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่ซึ่งได้รับการพิสูจน์แล้วว่า พวกมันมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว Hubs for Green Hydrogen Production ในอนาคต เพื่อตอบสนองความต้องการพลังงานของมนุษยชาติที่เพิ่มขึ้นได้เป็นอย่างดี ..
พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง Tidal Energy เป็นอีกแหล่งพลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy จากมหาสมุทรที่ไร้ขีดจำกัด ซึ่งขับเคลื่อนโดยการขึ้นลงของคลื่นทะเล รวมทั้งการไหลตามธรรมชาติของกระแสน้ำในมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้น และลดลงตามธรรมชาติ ..
กระแสน้ำขึ้นลง Tides เป็นผลมาจากปฏิสัมพันธ์ และสัมพัทธภาพระหว่างแรงโน้มถ่วงของดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ Gravitation of the Sun, Earth & Moon ที่พบเห็นได้ในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ .. การขึ้น และลงของกระแสน้ำ ในบางกรณีที่ระดับน้ำต่างกันมากกว่า 12 เมตร สร้างพลังงานศักย์ Potential Energy ปริมาณมหาศาล .. กระแสน้ำที่เกิดจากน้ำไหลท่วมขึ้น และกระแสน้ำที่ไหลลดลง ทำให้เกิดพลังงานจลน์ Kinetic Energy ปริมาณมากด้วยเช่นกัน .. พลังงานทั้งสองรูปแบบในมหาสมุทรนี้ สามารถเก็บเกี่ยวรวบรวมมาใช้ประโยชน์ได้ด้วยเทคโนโลยีพลังงานน้ำขึ้นน้ำลง Tidal Energy Technologies ซึ่งถือเป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ในอนาคตที่มีศักยภาพไร้ขีดจำกัด ..
ระบบพลังงานในมหาสมุทร Ocean Energy Systems ใช้พลังงานจลน์ และพลังงานความร้อนของน้ำทะเล เช่น คลื่น หรือกระแสน้ำ Kinetic & Thermal Energy of Seawater เพื่อผลิตไฟฟ้า Electricity หรือความร้อน Heat .. ระบบพลังงานในมหาสมุทร Ocean Energy Systems ถือว่ายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนา โดยมีต้นแบบที่พัฒนาขึ้นจำนวนหนึ่งแล้ว เพื่อประยุกต์ใช้พลังงานจากคลื่น และอุปกรณ์กระแสน้ำขึ้นน้ำลง Wave & Tidal Current Devices .. พลังงานจากมหาสมุทร Ocean Energy มีศักยภาพเกินความต้องการพลังงานของมนุษย์ชาติในปัจจุบันอย่างมากมายไม่มีข้อสงสัย ..
ตัวอย่างการผลิตกำลังไฟฟ้าจากเทคโนโลยีทางทะเล Electricity Generation from Marine Technologies เพิ่มขึ้นแตะระดับความจุประมาณ 400 GWh หรือขยายตัวมากกว่า 33% ในปี 2563 สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มกำลังการผลิตของเดนมาร์กที่ 200 MW .. อย่างไรก็ตาม แม้ศักยภาพของพลังงานมหาสมุทร Ocean Energy จะมีอยู่อย่างมหาศาล แต่สถานะของพลังงานทางทะเล Marine Power ยังคง “ไม่อยู่ในเส้นทาง Not on Track” เพราะปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ผลิตขึ้นได้ ยังอยู่ไกลจากความสอดคล้องกับการเติบโตประจำปีตาม Net Zero Scenario ที่ 33% จนถึงปี 2573 ซึ่งไม่คาดว่าจะบรรลุผลในปีต่อ ๆ ไปได้ .. การเติบโตของกำลังไฟฟ้าจาก Ocean Energy ดังกล่าว จะต้องมีการเพิ่มกำลังผลิตเฉลี่ยอย่างน้อย 1 GW ต่อปีต่อเนื่องจนถึงปี 2573 มิฉะนั้น ภาพรวมโครงการ และแผนงานเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ของนานาชาติทั่วโลก อาจประสบความล้มเหลวลงได้ ซึ่งหมายถึงผลกระทบร้ายแรงต่อความอยู่รอดของมนุษยชาติ นอกจากจะมีแหล่งพลังสะอาดสีเขียวรูปแบบอื่นมาทดแทน ..
แม้ว่าจะมีการติดตั้งโครงการทางทะเลขั้นสูงขนาด 10 KW ถึง 1 MW สำหรับการผลิตกำลังไฟฟ้าหลายแห่งแล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักร แคนาดา ออสเตรเลีย จีน และเดนมาร์ก เมื่อเร็วๆ นี้ .. โครงการสาธิต และโครงการเชิงพาณิชย์ขนาดเล็กเหล่านี้ ยังคงมีราคาแพงมาก เนื่องจากความประหยัด และความคุ้มค่าจากขนาดที่จำเป็นสำหรับการลดต้นทุนที่สำคัญในเชิงพาณิชย์ยังไม่เกิดขึ้นจริง ..
เทคโนโลยีทางทะเล Marine Technologies มีศักยภาพสูง แต่จำเป็นต้องมีการสนับสนุนนโยบายภาครัฐของแต่ละประเทศเพิ่มเติมสำหรับการวิจัยและพัฒนา RD&D เพื่อลดต้นทุนที่มาพร้อมกับการว่าจ้างโรงงานเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ..
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีนี้จำเป็นต้องเร่งปรับใช้ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลอง Net Zero Emissions ภายในปี 2593 หมายถึง ทั่วทั้งโลก จะต้องมีการขยายกำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานในมหาสมุทรอย่างน้อย 27 TWh ในปี 2573 ให้ได้เสียก่อน .. ดังนั้น การลดต้นทุนเพิ่มเติมเพื่อไปสู่ระดับราคาที่แข่งขันได้ในตลาดพลังงานโลก และการพัฒนาในวงกว้างสำหรับการผลิตกำลังไฟฟ้าจากมหาสมุทร Ocean Power ขนาดใหญ่ที่เติบโตด้วยปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ใกล้เคียงกับแบบจำลองการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero จนถึงในปี 2593 เพื่อให้ความมุ่งมั่นของมนุษยชาติในการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานจากทะเลเฉลี่ย 1 GW ต่อปีทั่วโลกนั้น สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้โดยเร็วในที่สุด ..
ทั้งนี้ โครงการความร่วมมือด้านเทคโนโลยีระบบพลังงานมหาสมุทรของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ หรือ IEA Ocean Energy Systems Technology Collaboration Programme ที่กำลังเร่งเดินหน้าอยู่นั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อการยอมรับระบบพลังงานในมหาสมุทร Ocean Energy Systems สำหรับความอยู่รอดของมนุษยชาติ และสิ่งมีชีวิตทั้งหลายบนโลกใบนี้ .. กิจกรรมต่าง ๆ รวมถึงการวิเคราะห์เทคโนโลยีเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากการเคลื่อนตัวของมหาสมุทร เช่น คลื่น Waves & Swells, กระแสน้ำขึ้นน้ำลง Tides & Currents, ความแตกต่างของอุณหภูมิ Temperature Differences และความเข้มข้นของเกลือ Salt Concentrations และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล Desalination of Seawater เพื่อการผลิตไฮโดรเจนจากน้ำทะเล Sea2H2 คือ เป้าหมายหลักที่เป็นบทพิสูจน์ความแข็งแกร่งของ Ocean Energy ด้วยพลังแห่งสมดุลธรรมชาติ Power of the Natural Balance ของพวกมัน ..
ศักยภาพการจัดเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Batteries ..
Ocean Battery คือ ระบบพลังน้ำแบบสูบกลับ Pumped Hydro Storage ในถังกระเปาะ หรือกล่องใต้ทะเล ผนวกกับแนวคิดการจัดเก็บพลังงานอัดอากาศลึกลงไปใต้ทะเล Underwater Compressed Air Energy Storage : CAES ซึ่งด้วยแรงดัน และความกดของน้ำซึ่งสูงกว่าความดันบรรยากาศหลายเท่าตัว .. พวกมันสามารถจัดเก็บพลังงานปริมาณมหาศาลบนโครงข่ายระบบสายส่งขนาดใหญ่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Eco-Friendly Utility Scale Energy Storage ได้จนถึงระดับความจุขนาด GWh ขึ้นไป .. กลไกเหล่านี้ ใช้เทคโนโลยีเขื่อนพลังน้ำ Hydro Dam Technology และพลังงานน้ำระบบสูบกลับ Pumped Storage Hydropower : PSH ซึ่งพิสูจน์ตัวเองมานานกว่าศตวรรษแล้วว่า เชื่อถือได้ และมีประสิทธิภาพสูงอย่างยิ่ง ..
เพื่อจัดเก็บพลังงาน ระบบแบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Battery จะสูบน้ำทะเลเข้าไปยังกล่อง Rigid Reservoirs หรือถังกระเปาะแบบยืดหยุ่น Bladder ที่ก้นทะเล ซึ่งพลังงานจะถูกเก็บสะสมเป็นพลังงานศักย์ Potential Energy ในรูปของน้ำภายใต้ความกดดันเช่นเดียวกับการชาร์จแบตเตอรี่ และเมื่อมีความต้องการพลังงาน น้ำจะถูกดันไหลกลับออกจากกล่อง หรือถังกระเปาะแบบยืดหยุ่น หรือออกไปสู่ย่านน้ำภายนอกถังกระเปาะ หรือถังกระเปาะยืดหยุ่นอีกตัวหนึ่งที่มีแรงดันต่ำกว่า Low Pressure Rigid Reservoirs และพลังงานของน้ำที่ไหลกลับออกมา หรือไหลเข้าไปขึ้นอยู่กับการออกแบบนั้น จะขับเคลื่อนกังหันใบพัดพลังน้ำหลายตัว เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้า ..
นวัตกรรมสำหรับรูปแบบการจัดเก็บพลังงานโดยอิงจาก “การจัดเก็บพลังงานลอยตัว Buoyancy Energy Storage” ในมหาสมุทร .. ทะเลที่มีความลึกมาก มีแนวโน้มสามารถจัดเก็บพลังงานศักย์ไว้ได้มากกว่าในระบบจัดเก็บพลังงานแรงโน้มถ่วง Gravitational Based Energy Storage Systems หมายถึง ยิ่งระบบ Buoyancy Energy Storage ถูกจัดวางอยู่ลึกเท่าใด ปริมาณพลังงานที่จัดเก็บไว้ก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น .. ค่าใช้จ่ายของเทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงานลอยตัว Buoyancy Energy Storage Technology : BEST คาดว่าจะแตกต่างกันไปตั้งแต่ 50-100 เหรียญสหรัฐฯ/KWh ของขนาดความจุกำลังไฟฟ้าที่เก็บไว้ Stored Electric Energy และ 4,000-8,000 เหรียญสหรัฐฯ/KW ของความจุติดตั้ง Installed Capacity .. ทั้งนี้ Buoyancy Energy Storage : BES ในมหาสมุทร คือ ตัวเลือกที่เป็นไปได้ในการเสริมระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ระยะทนยาวเป็นสัปดาห์ ซึ่งนอกจากการเก็บพลังงานปริมาณมหาศาลได้แล้ว ระบบยังสามารถใช้สำหรับการบีบอัดไฮโดรเจน Compress Hydrogen ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย ..
การเปลี่ยนแปลงของพลังงานศักย์ Potential Energy ที่ระดับความลึก และความกดดันของน้ำในมหาสมุทร Ocean Depths & Pressures ที่แตกต่างกันนั้น นำมาซึ่งการจัดการที่ดีที่สุด .. ข้อค้นพบสำคัญ ได้แก่ ระบบจัดเก็บพลังงานแบบลอยตัวในมหาสมุทร Buoyancy Energy Storage Technology : BEST ที่เก็บพลังงานได้มากที่สุด คือ ระบบที่เริ่มต้นที่ 1,000 บาร์ Bars ด้วยความลึกสูงสุดประมาณ 10,000 เมตร และหยุดที่ 300 บาร์ Bars ที่ความลึกขั้นต่ำประมาณ 3000 เมตร สำหรับการใช้ทั้งอากาศ และไฮโดรเจน เป็นก๊าซบีบอัด Both Air & Hydrogen as Compressed Gases .. หากแรงดันขั้นต่ำก๊าซที่ออกแบบไว้ของระบบมีขนาดเล็กลง ปริมาตรของก๊าซจะลดลงอย่างมาก ส่งผลให้ศักยภาพในการจัดเก็บพลังงานของระบบลดลง หากแรงดันขั้นต่ำที่ออกแบบไว้เพิ่มขึ้น ความแปรผันของระดับความสูงที่ระบบสามารถทำงานได้จะลดลง .. ดังนั้น ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า ‘แรงดันต่ำสุดในอุดมคติของระบบ BEST เพื่อให้ได้ศักยภาพในการจัดเก็บพลังงานสูงสุด คือ 300 บาร์ Bars หรือ 300 เท่าความดันบรรยากาศ หากแรงดันสูงสุด เท่ากับ 1,000 บาร์ Bars หรือ 1,000 เท่าความดันบรรยากาศ’ ..
ตัวอย่างการปฏิบัติงานของโรงงานไฟฟ้า Ocean Battery ที่ใช้ระบบจัดเก็บพลังงานลอยตัว Buoyancy Energy Storage Technology : BEST Plant ในโครงการก่อสร้างพลังงานลมนอกชายฝั่งแบบลอยตัว Floating Offshore Wind Power Project ที่มีกำลังการผลิตติดตั้ง 10 GW ใกล้กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวางแผนงานประยุกต์ใช้ระบบ BEST ร่วมกับระบบชุดแบตเตอรี่ที่มีกำลังการผลิตติดตั้ง และความจุรวม 7 GW/300 GWh เพื่อลดความผันผวนของกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ด้วยรอบการจัดเก็บพลังงานรายชั่วโมง และรายวันที่ต่ำในการผลิตกำลังไฟฟ้า ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ชุดแบตเตอรี่ Batteries ที่ติดตั้งไว้ด้วยนั้น มิได้ถูกรวมเพื่อให้ทำงานพร้อมกันกับระบบ BEST System เนื่องจากกำลังผลิตของ BEST สูงกว่า และค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดเก็บพลังงานต่อความจุระดับ GWh ต่ำกว่าชุดแบตเตอรี่อยู่มาก ทำให้บางครั้งชุดแบตเตอรี่ ไม่สามารถชาร์จประจุสำหรับจัดเก็บพลังงานลมนอกชายฝั่งส่วนเกินทั้งหมด All Excess Offshore Wind Generation ได้เพียงพอตามที่ต้องการได้ ..
ต้นทุน Ocean Battery ที่ใช้ระบบจัดเก็บพลังงานลอยตัว Buoyancy Energy Storage Technology : BEST จะมีต้นทุนการติดตั้งต่อกำลังผลิตจะแตกต่างกันไประหว่าง 4-8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ/MW และต้นทุนการจัดเก็บพลังงาน Energy Storage Cost อยู่ที่ 50-100 เหรียญสหรัฐฯ/MWh โดยโครงการมีขนาดต่าง ๆ กันตั้งแต่ 10 ถึง 100 MW ทั้งนี้ พบว่า ยิ่งความลึกของมหาสมุทรมากขึ้นเท่าใด ต้นทุนของโครงการก็จะยิ่งต่ำลง และไฮโดรเจน Hydrogen ก็ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เป็นสื่อในการจัดเก็บพลังงานที่ดีกว่า เมื่อเทียบกับอากาศที่เป็น Compressed Gas ..
ปัจจุบัน พลังงานมหาสมุทร Ocean Energy และศักยภาพของเทคโนโลยีทางทะเล Marine Technology อยู่ในสถานะที่แข็งแกร่งมากในเชิงพาณิชย์สำหรับการวิจัย และพัฒนาที่ลงทุนไปในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา .. มหาสมุทร The Ocean คือ แหล่งพลังงานที่ไร้ขีดจำกัด และเป็นพันธมิตรยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ เพื่อต่อสู้กับวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis ด้วยพลังแห่งสมดุลธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากพลังงานที่ยังมิได้ถูกดึงมาใช้งานมากนักให้เกิดประโยชน์สูงสุดมากกว่านี้ ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญยังคงอยู่ที่ราคา และความมุ่งมั่น อย่างไรก็ตาม คาดหมายได้ว่า พลังงานมหาสมุทร Ocean Energy สามารถแสดงบทบาทสำคัญยิ่งในการลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้าได้อย่างยอดเยี่ยมไม่มีข้อสงสัย ..
สำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ International Renewable Energy Agency : IRENA ชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีทางทะเล และเทคโนโลยีเฉพาะอื่น ๆ Marine & Other Niche Technologies คิดเป็นสัดส่วนอย่างน้อยเพียง 4% ของส่วนผสมพลังงานในอนาคตของโลกภายในปี 2593 หรือประมาณ 881 GW และแม้ว่าจนถึงปัจจุบัน พลังงานมหาสมุทร Ocean Energy ยังไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์ให้ได้เต็มศักยภาพใด ๆ เลย แต่ก็คงจะไม่นานจากนี้ไป หรือเมื่อมนุษยชาติ ตกลงใจแน่วแน่ที่จะเลิกใช้แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel Energy Sources โดยสิ้นเชิงอีกต่อไป เพื่อรักษาโลกใบนี้ของเราไว้ก่อนที่จะสายเกินไป ..
คาดการณ์ตลาดพลังงานมหาสมุทรทั่วโลก Global Ocean Power Market ..
ขนาดธุรกิจในตลาดพลังงานมหาสมุทร พลังงานคลื่น และพลังน้ำขึ้นน้ำลงทั่วโลก Global Ocean Power, Wave & Tidal Energy Market มีมูลค่า 0.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 และคาดว่าจะสูงถึง 7.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2574 .. ทั้งนี้ คาดหมายว่า อัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับพลังงานมหาสมุทร พลังงานคลื่น และพลังน้ำขึ้นน้ำลงทั่วโลก Global Ocean Power, Wave & Tidal Energy Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR ที่ 21.4% ในช่วงเวลาที่คาดการณ์ ปี 2565-2574 ..
พลังงานที่เกิดจากจากแหล่งน้ำทะเล เช่น กระแสน้ำ พลังงานคลื่น และเขื่อนกั้นน้ำ เรียกว่า พลังงานมหาสมุทร Ocean Energy .. พลังมหาสมุทร Ocean Power คือ แหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ที่มีแนวโน้มดีในการบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั่วโลก และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม รวมถึงความยั่งยืนในวงกว้าง .. พลังงานจากมหาสมุทร Ocean Energy ที่ผลิตได้ถูกนำมาใช้ในการใช้งานต่าง ๆ รวมถึงการผลิตกำลังไฟฟ้า การสูบน้ำ และกระแสน้ำขึ้นน้ำลง พลังงานจากมหาสมุทร มีข้อได้เปรียบที่สำคัญหลายประการ เช่น การลดการปล่อยคาร์บอน ความน่าเชื่อถือ และความปลอดภัยด้านพลังงาน รวมทั้งเชื่อว่าจะสามารถประหยัดต้นทุนสำหรับกระบวนผลิตในอนาคตได้อย่างคุ้มค่าเชิงพาณิชย์ .. อย่างไรก็ตาม ภาคส่วนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ดังนั้น ความจำเป็นในการลงทุนใน R&D คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ..
การเติบโตของตลาดพลังงานจากมหาสมุทรทั่วโลก The Growth of the Global Ocean Power Market ได้รับแรงหนุนจากความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นโดยใช้แหล่งพลังงานจากมหาสมุทร Ocean Power Sources .. นอกจากนี้ การดำเนินการตามกฎระเบียบภาครัฐที่เข้มงวดเกี่ยวกับมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่ปล่อยคายคาร์บอนในอุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้านั้น คาดว่าจะกระตุ้นการเติบโตของตลาดพลังงานในมหาสมุทร ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไปจนถึงปี 2574 .. ในทางกลับกัน การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากถ่านหิน และการผลิตไฟฟ้าแบบทั่วไปอื่น ๆ ไปสู่การผลิตพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน คาดว่าจะสร้างโอกาสในการเติบโตที่มั่งคั่งสำหรับผู้เล่นหลักในการรักษาตำแหน่งในตลาดพลังงานจากมหาสมุทร Ocean Power Market ในปีต่อ ๆ ไป ..
ทั้งนี้ ข้อมูลเชิงลึกระดับภูมิภาคของตลาดพลังงานมหาสมุทร Ocean Energy Market Regional Insights นั้น พบว่า ยุโรป ได้รับการคาดหมายว่าจะครองตลาดพลังงานมหาสมุทร Marine Energy .. ศูนย์พลังงานทางทะเลแห่งยุโรป The European Marine Energy Center : EMEC ประสบความสำเร็จครั้งใหม่ในประวัติศาสตร์ของการนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ในสหราชอาณาจักร .. นอกจากนี้ยังดึงดูดผู้ผลิตพลังงานคลื่น Wave Energy Producers จำนวนมากที่ใกล้จะบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ .. ขนาดความจุของกำลังไฟฟ้าในตลาดพลังงานจากมหาสมุทรของสหรัฐฯ คาดว่าจะสูงถึง 4.5 MW และจีน แตะระดับสูงถึง 32.8 MW ภายในปี 2569 ด้วยอัตราเติบโตที่ค่า CAGR 37.6% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ..
ญี่ปุ่น และแคนาดาเติบโตในอัตราที่เร็วขึ้น อยู่ที่ 34.6% และ 33.5% ตามลำดับ .. แนวทางและความพยายามด้วยมาตรการทางกฎหมายต่าง ๆ คาดว่าจะนำมาใช้ในสหภาพยุโรปเพื่อทำให้เทคโนโลยีพลังงานจากมหาสมุทรมีประสิทธิภาพด้านต้นทุนที่ดีขึ้นเพื่อเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากเทคโนโลยีเหล่านี้ เนื่องจากการผลิตพลังงานมหาสมุทรที่เพิ่มขึ้นในออสเตรเลีย และเกาหลีใต้ คาดว่า เอเชียแปซิฟิกจะเติบโตด้วยความเร่งในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ตลาดมหาสมุทรในอเมริกาเหนือ คาดว่าจะได้รับแรงผลักดันจากการรับรู้ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งจะได้เห็นมาตรการภาครัฐของรัฐบาลแคนาดาในการพัฒนาแหล่งพลังงานมหาสมุทร Ocean Energy ที่โดดเด่นยิ่งขึ้นอีกจากนี้ไป ..
นอกจากตลาดพลังงานจากมหาสมุทร Ocean Energy Market แล้ว ระบบจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่ง Offshore Energy Storage เป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งเป็นโอกาสทางธุรกิจเชิงพาณิชย์ที่น่าสนใจเช่นกัน .. ขนาดธุรกิจในตลาดการจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่งทั่วโลก Off Shore Energy Storage Global Market ซึ่งรวมแบตเตอรี่มหาสมุทร Ocean Batteries และระบบจัดเก็บพลังงานบนเรือเดินสมุทรไว้ด้วยนั้น ได้รับการคาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2571 อยู่ที่ค่า CAGR 19.6% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ปี 2565-2571 ..
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการวิจัยของบางสถาบันในค่ายยุโรปเหนือ คาดว่า ตลาดจะเติบโตจาก 374 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 แตะระดับ 1,897 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 .. ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดการจัดเก็บพลังงานนอกชายฝั่ง Off Shore Energy Storage Global Market ทั่วโลกที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุนอยู่ที่ค่า CAGR 19.8% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2564-2573 อีกด้วย .. ซึ่งถือเป็นการประมาณการณ์ที่ใกล้เคียงกันด้วยอัตราการเติบโตที่สูงอย่างยิ่ง ..
สรุปส่งท้าย ..
มหาสมุทร The Ocean ซึ่งหมายรวมถึงทะเลไว้ด้วยนั้น คือ แหล่งของน้ำเกลือ Body of Salt Water ขนาดใหญ่ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 70.8% ของพื้นผิวโลก ด้วยสัดส่วน 97% ของน้ำทั้งหมดบนชั้นของเปลือกโลก .. มหาสมุทร ยังสามารถอ้างถึงแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ถูกแบ่งตามภูมิภาค ชื่อที่แยกจากกันถูกใช้เพื่อระบุ 5 พื้นที่ที่แตกต่างกันของมหาสมุทร ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก Pacific, แอตแลนติก Atlantic, อินเดีย Indian, Antarctic และมหาสมุทร Arctic ..
น้ำทะเล Seawater ในมหาสมุทร Ocean ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 361,000,000 ตารางกิโลเมตร หรือ 139,000,000 ตารางไมล์ ของโลก .. มหาสมุทร Ocean เป็นองค์ประกอบหลักของอุทกภาคของโลก Earth’s Hydrosphere ดังนั้น จึงเป็นส่วนสำคัญยิ่งยวดต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดทั้งมวลบนโลกใบนี้ .. พวกมัน ทำหน้าที่เป็นแหล่งกักเก็บความร้อนขนาดใหญ่ .. มหาสมุทร Ocean มีอิทธิพลต่อสภาพอากาศ รวมทั้งรูปแบบของทั้งกาลอากาศ และภูมิอากาศ Climate & Weather Patterns, วัฏจักรคาร์บอน Carbon Cycle และวัฏจักรของน้ำ Water Cycle ..
หลักฐานมากมายชี้ไปที่ความเป็นไปได้ในการมีอยู่ของมหาสมุทรบนดาวเคราะห์ และดวงจันทร์อื่น ๆ ในเอกภพ The Universe แม้แต่ในระบบสุริยะ Solar System ของเราเอง .. แต่จนถึงปัจจุบัน นักดาราศาสตร์ทั้งหลาย ยังคงชี้ว่า โลก Earth คือ ดาวเคราะห์ดวงเดียว Only Known Planet ที่มนุษยชาติรู้จักที่มีมหาสมุทร Ocean ซึ่งเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นของเหลวเสถียรบนพื้นผิวของดวงดาว Stable Bodies of Liquid Water on its Surface เช่นเดียวกับที่เรายังไม่เคยพบสิ่งมีชีวิตใด ๆ บนดาวดวงใดเลยนอกจากโลก Earth ..
มหาสมุทร The Ocean สร้างออกซิเจน Oxygen : O2 มากกว่า 50% ที่มนุษยชาติต้องการ ดูดซับ 25% ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ทั้งหมด และดักจับ 90% ของความร้อนส่วนเกิน Excess Heat ที่เกิดจากการปล่อยคายเหล่านี้ไว้ .. มหาสมุทร Ocean มิใช่แค่ ‘ปอดของโลก The Lungs of the Planet’ แต่ยังรวมถึง ‘อ่างรองรับคาร์บอน Carbon Sink’ ที่ใหญ่ที่สุดด้วย ซึ่งเป็นด่านปราการที่สำคัญสำหรับการลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change ..
มหาสมุทร The Ocean คือ แหล่งน้ำขนาดใหญ่ยักษ์ และเป็นศูนย์กลางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Central to Reducing Global Greenhouse Gas Emissions รวมทั้งทำให้สภาพอากาศของโลกมีเสถียรภาพ Stabilizing the Earth’s Climate ด้วยพลังแห่งสมดุลธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ ..
ปัจจุบัน ก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHG ส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นจากการใช้แหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels เป็นฐานการบริโภคพลังงานหลักของมนุษยชาติ ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสุขภาพของมหาสมุทร Health of the Ocean ทั้งการทำให้น้ำทะเลร้อนขึ้น และทำให้เป็นกรด ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ และบนบก กับลดความสามารถของมหาสมุทรในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ Reducing the Ocean’s Ability to Absorb Carbon Dioxide และปกป้องทุกชีวิตบนโลกใบนี้ Safeguard Life on the Planet ..
และนี่คือเหตุผลสำคัญที่มนุษยชาติ จำต้องปกป้องมหาสมุทรไว้ให้ได้ในฐานะพันธมิตรที่ดีที่สุดของเราสำหรับการเผชิญความท้าทายในปัญหาวิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis ที่อันตรายอย่างยิ่ง ..
มหาสมุทร The Ocean คือ แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่เหลือเชื่อ Incredible Source of Renewable Energy ทั้งที่เป็นพลังงานลมนอกชายฝั่ง และพลังงานในมหาสมุทร ซึ่งได้มาจากแหล่งธรรมชาติ เช่น ความร้อน ลม น้ำ คลื่น และกระแสน้ำ ซึ่งไม่ปล่อยคายคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกใด ๆ ที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน Global Warming ..
อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน แผนงาน และโครงการพลังงานมหาสมุทร Ocean Energy เชิงพาณิชย์เหล่านี้ ยังคงมีราคาแพงมาก เนื่องจากความประหยัด และความคุ้มค่าทางธุรกิจจากขนาดที่จำเป็นสำหรับการลดต้นทุนที่สำคัญในเชิงพาณิชย์นั้น ยังไม่เกิดขึ้นจริง ..
พลังงานมหาสมุทร Ocean Energy มีศักยภาพสูงไร้ขีดจำกัด แต่ปัญหาหลักยังคงอยู่ที่ประเด็นเรื่องของราคา ซึ่งคาดหมายได้ว่า การสนับสนุนเพิ่มเติมจากนโยบายภาครัฐของแต่ละประเทศ สำหรับการอุดหนุนเงินทุน และงบประมาณ ซึ่งรวมถึงการวิจัย และพัฒนา RD&D เพื่อลดต้นทุนที่มาพร้อมกับการว่าจ้างโรงงานเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ไปพร้อมด้วยนั้น ได้กลายเป็นความจำเป็นสำคัญที่ขาดไม่ได้ สำหรับขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติที่เพียงพอ สะอาด และยั่งยืนจากนี้ไป ..
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีทางทะเล Marine Technologies เหล่านี้ จำเป็นต้องเร่งปรับใช้ให้รวดเร็วยิ่งขึ้นอีก เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์จำลอง Net Zero Emissions ภายในปี 2593 หมายถึง ทั่วทั้งโลก จะต้องมีการขยายกำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานในมหาสมุทรเป็นอย่างน้อย 27 TWh ในปี 2573 ให้ได้เสียก่อน .. ดังนั้น การลดต้นทุนลงเพื่อเข้าสู่ระดับราคาที่แข่งขันได้ในตลาดพลังงานโลก และการพัฒนาในวงกว้างสำหรับการผลิตกำลังไฟฟ้าจากมหาสมุทร Ocean Power ขนาดใหญ่ที่เติบโตด้วยปริมาณกำลังไฟฟ้าที่ใกล้เคียงกับแบบจำลองการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero จนถึงในปี 2593 เพื่อให้ความมุ่งมั่นของมนุษยชาติในการเพิ่มกำลังผลิตพลังงานจากทะเล Ocean Power เฉลี่ยอย่างน้อย 1 GW ต่อปีทั่วโลกนั้น สามารถดำเนินการให้สำเร็จได้โดยเร็วในที่สุด ..
ทั้งนี้ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงาน Energy Transition ทั่วโลกจากฐานการบริโภคพลังงานหลักด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ไปสู่การใช้ฐานการบริโภคพลังงานหลักที่เป็นพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy : RE จากแหล่งพลังงานในธรรมชาติขนาดใหญ่ไร้ขีดจำกัด เช่น พลังงานมหาสมุทร Ocean Energy ที่สะอาดกว่าเป็นต้นนี้ สำหรับการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ Low Carbon Society หรือทำให้การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emission ภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้ เป็นไปได้ และเพื่อที่จะรักษาโลกอันเป็นที่รักของเราใบนี้ไว้ให้ได้ก่อนที่จะสายเกินไป ..
………………………………………
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Ocean Science :-
https://www.sea.museum/ocean-decade
The Ocean – The World’s Greatest Ally Against Climate Change :-
https://www.un.org/en/climatechange/science/climate-issues/ocean
Tidal Energy | National Geographic Society :-
https://www.nationalgeographic.org/encyclopedia/tidal-energy/
Everything you need to know about Tidal Energy :-
https://actionrenewables.co.uk/news-events/post.php?s=everything-you-need-to-know-about-tidal-energy
Tidal Power: U.S. Energy Information Administration | EIA :-
https://www.eia.gov/energyexplained/hydropower/tidal-power.php
Tidal Power | Types & Facts | Britannica :-
https://www.britannica.com/science/tidal-power
Ocean Energy :-
https://www.ipcc.ch/site/assets/uploads/2018/03/Chapter-6-Ocean-Energy-1.pdf
Green Shipping Corridors :-
Ocean Battery | How the Ocean Could be the Future of Energy Storage :-
https://photos.app.goo.gl/8cLciACAeKsJUmc96
Tidal Power | Convert Energy from Tides into Useful Forms of Power :-