Sustainable Agriculture : The Way for Food Security & Clean Energy
“….เกษตรกรรมยั่งยืน คือ การทำฟาร์มในรูปแบบที่มั่นคง และยั่งยืน โดยไม่ลดทอนศักยภาพ และความสามารถของเกษตรกรรุ่นปัจจุบัน หรืออนาคตในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา…”
การส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืน Sustainable Agriculture เป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาสำคัญที่องค์การสหประชาชาติ United Nations : UN ได้กำหนดเป็นแนวทางไว้ เพื่อให้บรรลุความมั่นคงด้านอาหาร และตอบสนองความต้องการอาหารของประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ..
สำหรับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน Sustainable Development Goal : SDG ข้อ 2 เป้าประสงค์ที่ 2.4 ขององค์การสหประชาชาติ United Nations : UN ที่กล่าวถึงนี้นั้น ชัดเจนว่า เป็นไปเพื่อ “ยุติความอดอยาก End Hunger, บรรลุความมั่นคงทางอาหารและปรับปรุงโภชนาการ Achieve Food Security & Improved Nutrition และการส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable Agriculture” ..
เนื่องจากภาคเกษตรกรรมมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตอาหารของมนุษยชาติทั้งปริมาณ และคุณภาพ จึงมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญ ซึ่งทำให้การทำเกษตรแบบยั่งยืน Sustainable Agriculture สามารถแสดงบทบาทการเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และตอบสนองความต้องการพลังงาน สำหรับชุมชน เครื่องจักร และการชลประทานไปพร้อมด้วยได้ .. การพัฒนาเหล่านี้ ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์พืช การปรับปรุงดินและแหล่งน้ำ พัฒนาการเพาะปลูกวิถีธรรมชาติ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และการทำงานของเครื่องจักร รวมทั้งการวางระบบชลประทานกระจายในพื้นที่การเกษตรด้วย โดยใช้พลังงานหลักจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และพลังงานชีวมวลในพื้นที่นั้น ๆ เอง ..
โดยทั่วไป เกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable Agriculture มักจะหมายถึง การทำเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรปลอดสารพิษ และการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดสีเขียว Clean & Green Renewable Energy Sources ในพื้นที่ โดยใช้หลักการของระบบนิเวศวิทยาที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนประกอบไปพร้อมด้วย .. ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการคุณภาพชีวิตที่เหนือชั้นกว่า, ความต้องการอาหาร และเส้นใยของมนุษย์, การเพิ่มคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติที่เศรษฐกิจการเกษตรพึ่งพาอาศัยอยู่ และอาจรวมถึงการใช้งานวัสดุอุปกรณ์ และวัตถุดิบ ทั้งที่เป็นทรัพยากรที่ไม่หมุนเวียน และทรัพยากรหมุนเวียน Renewable Resources ในฟาร์มเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งบูรณาการวัฏจักรการควบคุมด้านชีววิทยาวิถีทางธรรมชาติตามความเหมาะสม การทำเกษตรอินทรีย์ด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ การจัดการขยะของเสียเหลือทิ้ง การใช้แหล่งพลังงานชีวภาพ Bioenergy Sources พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources ในพื้นที่ และรวมถึงการใช้มาตรการการลดการปล่อยมลพิษรูปแบบต่าง ๆ ด้วยการรักษาศักยภาพทางเศรษฐกิจของการดำเนินงานในฟาร์มเกษตรให้ยั่งยืน และยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ชุมชน และสังคมโดยรวม ..
ดังนั้น สรุปได้ว่า เกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable Agriculture คือ การทำฟาร์มในรูปแบบที่มั่นคง และยั่งยืน โดยไม่ลดทอนศักยภาพ และความสามารถของเกษตรกรรุ่นปัจจุบัน หรืออนาคตในการตอบสนองความต้องการของพวกเขา ซึ่งความเข้าใจที่กระจ่างแจ้งแตกฉานเกี่ยวกับบริบท บทบาท และความสำคัญของระบบนิเวศ Ecosystem Services ต่อความอยู่รอดร่วมกันของสิ่งมีชีวิตทั้งหลายนั้น ได้กลายเป็นเรื่องจำเป็นที่เกษตรกรทุกคนจำต้องคำนึงถึง
อย่างไรก็ตาม เกษตรกรไทย จะนิยมใช้แนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable Agriculture ที่เรียกกันทั่วไปว่า “เกษตรทฤษฎีใหม่ New Theory” อันเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่พระราชทานไว้ก่อนแล้ว เกี่ยวกับการจัดการที่ดิน และพลังงานสะอาด เพื่อการอยู่อาศัย และการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน มีคุณภาพ โดยแบ่งพื้นที่เป็นส่วน ๆ ได้แก่ พื้นที่แหล่งน้ำ พื้นที่ดินเพื่อเป็นแปลงนาปลูกข้าว พื้นที่ดินสำหรับปลูกพืชไร่พืชสวนนานาพันธุ์ และพื้นที่สำหรับอยู่อาศัย และเลี้ยงสัตว์ ในอัตราส่วน 30:30:30:10 เป็นหลักการในการบริหารจัดการที่ดิน และแหล่งน้ำ เพื่อการทำเกษตรกรรมบนที่ดินขนาดเล็กให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ..
การบริหาร และจัดแบ่งที่ดินแปลงเล็ก ออกเป็นสัดส่วนที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์สูงสุดของเกษตรกร
และมีการคำนวณโดยหลักวิชาการ เกี่ยวกับปริมาณน้ำที่จะจัดเก็บไว้ให้พอเพียง ต่อการเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี รวมทั้งการวางแผนที่สมบูรณ์แบบ สำหรับเกษตรกรรายย่อย 3 ขั้นตอน เพื่อให้พอเพียงสำหรับเลี้ยงตนเอง และเพื่อเก็บไว้ขายเป็นรายได้ คือ ประเด็นสำคัญสำหรับเกษตรทฤษฎีใหม่ New Theory เพื่อการพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง Sufficiency Economy Philosophy ..
การลดเลิกการใช้ปุ๋ยเคมี ยาฆ่าแมลง และน้ำยากำจัดศัตรูพืชที่เป็นสารเคมีอันตราย โดยใช้วิถีทางธรรมชาติทดแทน แต่สามารถรักษาศักยภาพกำลังผลิต หรือการพัฒนาเพิ่มผลผลิตการเกษตรด้วยเทคนิคใหม่ที่ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนสะอาด Clean Renewable Energy Sources เป็นหลัก คือ ประเด็นสำคัญของการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ยั่งยืน New Theory Sustainability of Agriculture ..
ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีหลากหลายวิธีในการเพิ่มความยั่งยืนด้านการเกษตร Many Methods to Increase the Sustainability of Agriculture แต่อย่างไรก็ตาม พัฒนาการด้านการเกษตรกรรมในกรอบแนวคิดเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบอาหารที่ยั่งยืน Sustainable Food Systems นั้น สิ่งสำคัญที่เหมือนกัน คือ ต้องพัฒนากระบวนการทางธุรกิจที่ยืดหยุ่น พลังงานชีวภาพที่สะอาด และแนวทางการทำฟาร์มเกษตรคุณภาพไปพร้อมด้วย .. โดยทั่วไป กิจกรรมภาคการเกษตร Agriculture มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมหาศาล โดยมีบทบาทสำคัญในการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งที่ผ่านมา ระบบผลิตอาหารมีส่วนรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก GHG Emissions สู่สิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมของมนุษยชาติ มากถึง 1 ใน 3 ทั่วโลก .. การขาดแคลนน้ำ Water Scarcity, มลพิษทางน้ำ Water Pollution, ความเสื่อมโทรมของที่ดิน Land Degradation, การตัดไม้ทำลายป่า Deforestation และกระบวนการอื่น ๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม และได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ไปพร้อม ๆ กัน ..
ดังนั้น การเกษตรแบบยั่งยืน Sustainable Agriculture อันประกอบไปด้วยวิธีการทำการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งช่วยให้สามารถผลิตพืชผล หรือปศุสัตว์ได้โดยไม่ทำลายระบบนิเวศของมนุษย์ หรือธรรมชาตินั้น จึงกลายเป็นคำตอบเพื่อแก้ไขปัญหาที่กล่าวเหล่านี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการป้องกันผลกระทบต่อดิน น้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรที่อยู่รอบข้าง หรือท้ายน้ำ การใช้แหล่งพลังงาน รวมถึงผู้ที่ทำงาน หรืออาศัยอยู่ในฟาร์มเกษตร และในชุมชนพื้นที่ข้างเคียง ..
องค์ประกอบของเกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable Agriculture อาจหมายรวมถึง การปลูกพืชถาวร Permaculture, วนเกษตร Agroforestry, การทำไร่นาสวนผสม Mixed Farming, การปลูกพืชหลายชนิด Multiple Cropping และการปลูกพืชหมุนเวียน Crop Rotation เป็นต้นด้วย ..
การพัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืน Developing Sustainable Food Systems มีส่วนช่วยให้เกิดความยั่งยืนของประชากรมนุษย์ Sustainability of the Human Population ตัวอย่างเช่น หนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดในการลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือ การสร้างระบบอาหารที่ยั่งยืนบนพื้นฐานของการเกษตรแบบยั่งยืน Sustainable Food Systems Based on Sustainable Agriculture .. เกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable Agriculture คือ ทางออกที่เป็นไปได้ เพื่อให้ระบบการเกษตรคุณภาพเหล่านี้ สามารถเลี้ยงประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมนั่นเอง ..
พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy สำหรับการเกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable Agriculture ..
ความพร้อมในการเข้าถึงพลังงานสำหรับดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรจากแหล่งพลังงานทางเลือกในพื้นที่ คือ ความจำเป็นยิ่งยวด เพื่อให้เกษตรแบบยั่งยืนในระดับฟาร์มเกษตรนั้น เป็นไปได้ ..
พลังงานทดแทน Renewable Energy และการทำฟาร์ม Farming เป็นส่วนผสมที่ลงตัว พลังงานลม Wind, แสงอาทิตย์ Solar และพลังงานชีวมวล Biomass Energy สามารถเก็บเกี่ยวนำไปใช้งานได้โดยตลอด ทำให้เกษตรกร มีแหล่งรายได้ที่มั่นคงระยะยาว Long-Term Source of Income .. พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy สามารถใช้ในฟาร์มเกษตร เพื่อทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels อื่น ๆ หรือขายคืนกลับสู่ระบบสายส่งเพื่อเป็นรายได้เสริมไปพร้อมด้วยได้อย่างยอดเยี่ยม ..
การเกษตร Agriculture คือ กิจกรรม กลไกหลักการผลิตอาหารสำหรับมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน .. เครื่องจักรกลในฟาร์มเกษตรส่วนใหญ่ Most Farm Machines ขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ซึ่งนำไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas Emissions และเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งที่เร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ In Turn to Accelerate Climate Change .. ความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อมจากภาคการเกษตรดังกล่าว สามารถทำให้ลดลงได้โดยการส่งเสริมการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน และแหล่งพลังงานทดแทน Renewable Energy & Resources บนพื้นที่การเกษตรจากนโยบายภาครัฐ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ Solar, ลม Wind, ชีวมวล Biomass, น้ำขึ้นน้ำลง Tidal, ความร้อนใต้พิภพภพ Geo-Thermal, พลังน้ำไฮโดรขนาดเล็ก Small-Scale Hydro, เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels และพลังงานที่สร้างขึ้นจากคลื่น Wave-Generated Power ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่การเกษตร เป็นต้น ..
ทรัพยากรพลังงานทดแทน Renewable Energy Resources เหล่านี้ มีศักยภาพอย่างมากสำหรับอุตสาหกรรมการเกษตร .. เกษตรกร ควรได้รับการส่งเสริมด้วยกรอบนโยบายพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และเงินอุดหนุนภาครัฐ เพื่อใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Technology อย่างกว้างขวางบนพื้นที่เกษตรกรรมในอนาคตจากนี้ไป ..
แนวคิดของการเกษตรที่ยั่งยืน Concept of Sustainable Agriculture ขึ้นอยู่บนความสมดุลที่ละเอียดอ่อนของการเพิ่มผลผลิตการเกษตร และการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่เกินความจำเป็น รวมทั้งการอนุรักษ์ธรรมชาติ ด้วยการมุ่งจำกัด และลดกิจกรรมที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นอันตราย ..
การเกษตรที่ยั่งยืน Sustainable Agriculture ยังขึ้นอยู่กับการเติมเต็มดิน ปรับปรุงดิน และแหล่งน้ำ ในขณะที่ลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่หมุนเวียน Non-Renewable Resources เช่น ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas ซึ่งใช้ในการแปลงไนโตรเจน Nitrogen : N2 ในชั้นบรรยากาศให้กลายเป็นปุ๋ยสังเคราะห์ Synthetic Fertilizer และแร่ธาตุ Mineral Ores เช่น ฟอสเฟต หรือเชื้อเพลิงฟอสซิล Phosphate or Fossil Fuel ที่ใช้ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล Diesel Generators สำหรับการสูบน้ำเพื่อการชลประทาน แต่หันไปใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และเชื้อเพลิงชีวภาพจากอินทรีย์สารชีวมวล Biofuel from Biomass ในพื้นที่เองทดแทน เป็นต้น ..
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการส่งเสริมการใช้ระบบพลังงานหมุนเวียนเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน Renewable Energy Systems for Sustainable Agriculture อย่างจริงจัง เช่น ปั๊มน้ำ และการผลิตกำลังไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์แสงอาทิตย์ Solar Photovoltaic Water Pumps & Electricity, การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก Small Hydro Power, การใช้แหล่งพลังงานชีวภาพจากอินทรีย์สารชีวมวลภาคการเกษตร Bioenergy from Agriculture Biomass, เทคโนโลยีอาคารเรือนกระจก Greenhouse Technologies, เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการแปรรูปหลังการเก็บเกี่ยว Solar Dryers for Post-Harvest Processing และเครื่องทำน้ำร้อนจากแสงอาทิตย์ Solar Hot Water Heaters เป็นต้นด้วย ..
ในพื้นที่เกษตรกรรมที่ห่างไกลนั้น ปั๊มสูบน้ำบาดาลใต้ดินพลังงานแสงอาทิตย์ Underground Submersible Solar Photovoltaic Water Pump มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ยอดเยี่ยม และยังเป็นตัวเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเมื่อเทียบกับชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล Diesel Generators .. หากมีสภาพภูมิอากาศที่ไม่พึงประสงค์สำหรับการเจริญเติบโตของพืชโดยเฉพาะในเขตภูมิอากาศหนาวเย็น เกษตรกร จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน เช่น อาคารเรือนกระจก Greenhouses เพื่อรักษาสภาพอุณหภูมิโดยรอบของพืชที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของพืช และผัก .. เศรษฐศาสตร์ของการใช้โรงเรือนสำหรับพืช และผัก รวมทั้งปั๊มน้ำโซลาร์เซลล์พลังแสงอาทิตย์สำหรับการเกษตรที่ยั่งยืน และสิ่งแวดล้อมอื่นที่เป็นตัวอย่างการนำเสนอนี้ จะช่วยให้ประเทศอุตสาหกรรม มีแรงจูงใจในการลงทุนในโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้การลดการปล่อย CO2 ในราคาที่ลดลงต่ำที่สุด ..
กลไกของการพัฒนาการผลิตอาหารที่สะอาด ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ถูกกล่าวถึงในการใช้ระบบทดแทนสำหรับการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะตัวอย่างเช่น การประยุกต์ใช้ปั๊มสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ในอินเดีย กลุ่มประเทศอาเซียน ประเทศไทย และชาติทั่วโลก แสดงให้เห็นถึงบทบาทของพลังงานหมุนเวียนในการทำฟาร์มเกษตร Role of Renewable Energy in Farming Area โดยการเชื่อมต่อทุกมิติของพืชไร่ และปศุสัตว์ กับนิเวศวิทยา Ecology, สิ่งแวดล้อม Environment, เศรษฐศาสตร์ Economics และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม Societal Change ที่น่าตื่นเต้น และเป็นไปได้ ..
ตัวอย่างการใช้พลังงานลม Wind Power บนฟาร์มเกษตรในสหรัฐฯ นั้น พบว่า พลังงานลมด้วยกังหันลมขนาดต่าง ๆ ใช้ในการสูบน้ำ และผลิตกระแสไฟฟ้ามานานแล้ว เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักพัฒนาพลังงานลมได้ติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ Large Wind Turbines ในฟาร์มเกษตร และฟาร์มปศุสัตว์ในหลายรัฐ เพื่อจ่ายพลังงานให้กับบริษัทไฟฟ้า และผู้บริโภค ในที่ที่มีลมแรง .. เกษตรกร อาจต้องจ่ายเงินมากถึง 2,000-5,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อปีสำหรับการติดตั้งกังหันแต่ละตัว กังหันแต่ละตัวใช้พื้นที่น้อยกว่าครึ่งเอเคอร์ ดังนั้น เกษตรกร จึงสามารถปลูกพืช และทำปศุสัตว์ เลี้ยงสัตว์เล็มหญ้าตรงฐานของกังหันลมได้ เกษตรกรบางรายได้ซื้อกังหันลมด้วย และบางแห่งเริ่มก่อตั้งสหกรณ์พลังงานลม เพื่อให้บริการชุมชนไปพร้อมด้วย ..
ปัจจุบัน มีการติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่จำนวนมากในมิดเวสต์ Midwest, เกรตเพลนส์ Great Plains และตะวันตก West ซึ่งนโยบายภาครัฐให้การสนับสนุน ณ พื้นที่ซึ่งเกษตรกรหลายรัฐในสหรัฐฯ อาจได้รับประโยชน์สูงมาก เนื่องจากแหล่งพลังงานลมที่ดีที่สุดบางส่วนพบในพื้นที่เกษตรกรรม ..
อ้างอิงข้อมูลกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ U.S. Department of Energy : DOE พบว่า พลังงานลมเพียงอย่างเดียวสามารถจัดหางานใหม่มากกว่า 80,000 ตำแหน่ง และรายได้ใหม่ 1.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับเกษตรกร และเจ้าของที่ดินในชนบท ในปี 2563 .. พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ยังสามารถช่วยลดมลพิษ ภาวะโลกร้อน และลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงนำเข้า .. ทางเลือกพลังงานหมุนเวียนสำหรับเกษตรกร และเจ้าของฟาร์มปศุสัตว์ รวมถึงวิธีที่พวกเขาใช้นั้น สามารถช่วยทำให้พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy รูปแบบต่าง ๆ บนพื้นที่การเกษตร กลายเป็นแหล่งพลังงานที่เพิ่มผลผลิตการเกษตรที่ยั่งยืน Sustainable Agriculture ได้มากขึ้น และยกระดับรายได้ในพื้นที่ชนบทของสหรัฐฯ ..
การประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานชีวภาพ Bioenergy ในสหรัฐฯ ก็เช่นกัน พลังงานชีวมวล Biomass Energy ผลิตขึ้นได้จากพืช และขยะอินทรีย์ หรือทุก ๆ อย่างตั้งแต่พืชผล ต้นไม้ เศษพืชผล ไปจนถึงมูลสัตว์ .. พืชที่ปลูกเพื่อเป็นพลังงานสามารถผลิตได้ในปริมาณมากเช่นเดียวกับพืชอาหาร ในขณะที่ข้าวโพดเป็นพืชพลังงานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน .. หญ้าแพรี่พื้นเมือง Prairie Grasses เช่นเดียวกับ หญ้าสวิทซ์กราส Switchgrass หรือต้นไม้ที่โตเร็ว เช่น ต้นป็อปลาร์ Poplar และวิลโลว์ Willow มีแนวโน้มในอนาคตว่าจะได้รับความนิยมมากที่สุดในสหรัฐฯ .. พืชยืนต้นเหล่านี้ ต้องการการบำรุงรักษาน้อยกว่า และใช้ปัจจัยการผลิตน้อยกว่าพืชไร่บางชนิด เช่น ข้าวโพด ดังนั้น จึงมีราคาถูกกว่า และยั่งยืนกว่าในการผลิต ..
พืชผล และของเสียชีวมวล Crops & Biomass Wastes สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานในฟาร์ม หรือขายให้กับบริษัทฯ พลังงานที่ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ประเภทต่าง ๆ สำหรับรถยนต์ และรถแทรกเตอร์ รวมทั้งการให้ความร้อน และพลังงานสำหรับบ้าน ครัวเรือน และอาคารสถานที่ทางธุรกิจ .. ทั้งนี้ จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ U.S. Department of Energy : DOE พบว่า การใช้พลังงานชีวมวล Biomass Energy ในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 3 เท่า สามารถสร้างรายได้ใหม่ให้กับเกษตรกร และชุมชนในชนบทมากถึง 2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาวะโลกร้อนได้เท่ากับการนำรถยนต์ 70 ล้านคัน ออกไปจากท้องถนน .. ปัจจุบัน สหรัฐฯ มีการสร้างแรงจูงใจใหม่ ๆ จากนโยบายภาครัฐ และในหลายรัฐ เพื่อช่วยผู้คนได้รับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจาก Sustainable Agriculture เหล่านี้ ..
ตัวอย่างพลังแสงอาทิตย์บนพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน Agrivoltaic on Sustainable Agriculture ..
พลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy บนพื้นที่เกษตรกรรม เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าตื่นเต้น .. ปริมาณพลังงานจากดวงอาทิตย์ที่มาถึงโลกในแต่ละวันมีมากมายมหาศาล .. โดยทั่วไปก่อนหน้านี้ พลังงานทั้งหมดที่เก็บไว้ในถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติสำรองของโลก เท่ากับพลังงานจากแสงแดดเพียง 20 วัน ในขณะที่พื้นที่ทะเลทราย เช่น แอริโซนา และเนวาดา ได้รับแสงแดดมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของสหรัฐฯ แต่พื้นที่ส่วนใหญ่ได้รับแสงแดดเพียงพอที่จะทำให้พลังงานแสงอาทิตย์ใช้งานได้จริง .. พลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy สามารถนำมาใช้ในการเกษตรได้หลายวิธี ประหยัดเงิน เพิ่มการพึ่งพาตนเอง และลดมลพิษ .. พลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy สามารถลดค่าไฟฟ้า และค่าความร้อนของฟาร์มเกษตรได้ ..
เครื่องเก็บความร้อนจากแสงอาทิตย์ Solar Heat Collectors สามารถใช้ในการอบแห้งพืชผล และบ้านที่อบอุ่น อาคารปศุสัตว์ และโรงเรือน .. เครื่องทำน้ำร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy สามารถให้น้ำร้อนสำหรับกิจการผลิตภัณฑ์นม การทำความสะอาดคอก และบ้านเรือน และชุมชนเกษตรกรที่ติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ Solar PV Cells ไว้ สามารถเก็บเกี่ยวพลังงานอย่างเพียงพอสำหรับดำเนินงานในฟาร์มเกษตร ปั๊มสูบน้ำระยะไกล แสงสว่าง และรั้วไฟฟ้า เป็นต้น .. อาคาร และโรงนา สามารถปรับปรุงใหม่ เพื่อรับแสงแดดตามธรรมชาติสำหรับการผลิต และจัดเก็บพลังงานในชุดแบตเตอรี่ไว้ใช้งานทดแทนการใช้กำลังไฟฟ้าจากระบบสายส่ง .. ทั้งนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่า พลังงานแสงอาทิตย์ มักจะถูกกว่าการพาดสายขยายโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า ..
Agrivoltaics หรือ Agrophotovoltaics คือ การทำงานร่วมในพื้นที่เดียวกันสำหรับทั้งการเป็นแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ และเพื่อการเกษตรกรรม .. การอยู่ร่วมกันของแผงโซลาร์เซลล์ และพืชผล หมายถึง การแบ่งปันแสงอาทิตย์ และพื้นที่เกษตร ระหว่างกระบวนผลิตทั้งสองประเภทนี้ ..
ยุโรป และ เอเชีย เป็นผู้บุกเบิกแนวคิดนี้มาแต่เดิม และต่อเนื่องจนปัจจุบัน ร่วมกับแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ในการทำเกษตรแบบยั่งยืน Sustainable Agriculture .. คำนี้ใช้กับเทคโนโลยีการใช้งานแบบคู่ร่วมโดยเฉพาะ การยกแผงโซลาร์เซลล์ขึ้นเหนือพื้นผิวประมาณ 5 เมตร เพื่อให้เครื่องจักรในฟาร์มเข้าถึงที่ดินได้ หรือระบบที่ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาเรือนกระจก การแรเงาแสงแดด หรือร่มเงาที่เกิดจากระบบดังกล่าว อาจมีทั้งผลดี และผลเสียต่อการผลิตพืชผล แต่ก็เชื่อได้ว่าการผลิตพลังงานจะชดเชยการสูญเสียดังกล่าวได้ .. แปลงทดลองจำนวนมากได้รับการติดตั้งทดสอบไปทั่วโลก ..
การกำเนิดขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ต้นทุนพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียนที่ลดลง และโซลูชั่นอัจฉริยะด้านสภาพอากาศในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้ช่วยแก้ปัญหาต้นทุนเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เพิ่มขึ้น และความต้องการปกป้องสภาพอากาศของสังคม .. เครื่องสูบน้ำชลประทานพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใช้แผงโซลาร์เซลล์ ชุดแบตเตอรี่ และเครื่องจักรกลการเกษตร เป็นตัวอย่างทั่วไปของเรื่องนี้ ..
ความตระหนักรู้ในพัฒนาการของเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนสะอาด Clean Renewable Energy Technology บนพื้นที่การทำเกษตรยั่งยืน Sustainable Agriculture เหล่านี้ ได้กลายเป็นแรงผลักสำคัญในการเอาชนะปัญหาความมั่นคงทางพลังงานในชนบท และพื้นที่เกษตรกรรมห่างไกลที่โครงข่ายระบบสายส่งหลักเข้าไม่ถึง .. ดังนั้น ความพร้อมในการเข้าถึงพลังงานสำหรับดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรจากแหล่งพลังงานทางเลือกในพื้นที่ จึงเป็นความจำเป็นยิ่งยวดด้วย เพื่อให้เกษตรแบบยั่งยืนในระดับฟาร์มเกษตร รวมทั้งการยกระดับมาตรฐานเศรษฐกิจ และสังคมของชุมชนเกษตรกรรม สามารถตอบสนองความต้องการด้านอาหารของสังคมในอนาคตภาพรวมไปพร้อมด้วยได้สำเร็จ ..
ความพยายามในการนำเสนอเทคโนโลยีสำหรับการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ทั้งทางตรง และทางอ้อมในภาคการเกษตรที่อธิบายได้นั้น ตัวอย่างทั่วไปของการใช้พลังงานแสงอาทิตย์โดยตรงในพื้นที่เกษตรกรรม เช่น โรงเรือน หรือการทำฟาร์มในพื้นที่ปิด Green House เรือนเพาะชำ เพื่อการเพาะปลูกพืชผล ผัก พืชไร่ พืชสวน การใช้เครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการอบแห้งผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร รวมทั้งการวางแผง Solar PV บนแหล่งน้ำในชุมชนเกษตรกรที่เรียกว่า Floatovoltaics ..
ในทำนองเดียวกัน การสูบน้ำจากบ่อบาดาลใต้ดินที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ Underground Submersible Solar Photovoltaic Water Pump ขึ้นมาจัดเก็บไว้ใช้งาน รถแทรกเตอร์ไฟฟ้า และแสงสว่าง เป็นต้นนั้น คือ ตัวอย่างสำคัญเพียงบางประการของการใช้กำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ชุมชนการเกษตร ด้วยการแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นกำลังไฟฟ้าจากเซลล์ไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ที่เรียกว่า “โซลาร์เซลล์ Solar Cell or Solar PV in Sustainable Agriculture” ..
นอกจากนี้ ยังพบการประยุกต์ใช้กับชุดเครื่องหว่านเมล็ด และอุปกรณ์หว่านเมล็ดพันธุ์ที่ควบคุมด้วยคลื่นความถี่วิทยุ Radio Frequency : RF ซึ่งเป็นวิธีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์โดยทั่วไปอื่น ๆ ตลอดจนบริบทในระดับภูมิภาคในแง่ของศักยภาพในการขยายขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า และเพื่อแก้ไขปัญหาด้านพลังงาน และสิ่งแวดล้อมที่คาดการณ์ไว้ ..
การใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในภาคการเกษตรยั่งยืน Solar PV in Sustainable Agriculture คาดว่า พวกมันจะมีส่วนสำคัญในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางแผนอย่างเร่งด่วน เพื่อประโยชน์ที่เป็นไปได้ สำหรับการประยุกต์ใช้งานอย่างชาญฉลาด และประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในระดับฟาร์มเกษตรแบบยั่งยืน Sustainable Agriculture Farm ซึ่งเกี่ยวพันกับความมั่นคงทางพลังงานของชาติ National Energy Security และเกษตรทฤษฎีใหม่ New Theory อีกด้วย ..
ดังนั้น การทำงานร่วมกันของ “เกษตรโวลตาอิกส์ Agrovoltaics” จึงได้กลายความจำเป็นสำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหาร การพัฒนาภาคเกษตรยุคใหม่ ซึ่งเกษตรกรจะต้องคำนึงถึงให้มากขึ้นอีกจากนี้ไป ..
ทั้งนี้ ในพื้นที่การเกษตรยั่งยืน Sustainable Agriculture นั้น มิได้มีแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources ที่เป็น Solar PV เท่านั้น แหล่งพลังงานในพื้นที่เกษตรกรรม ยังประกอบขึ้นด้วย พลังน้ำ Hydro Power, พลังงานลม Wind, พลังงานชีวมวล Biomass หรือแหล่งพลังงานอื่น ๆ อีกตามสภาพภูมิสังคมซึ่งแตกต่างกันไป .. เทคโนโลยีด้านการเกษตร Agriculture Technologies เป็นอีกตัวแปรสำคัญในการใช้พื้นที่ร่วมกันให้เกิดประโยชน์ในภาพรวมสูงสุด ..
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยเทคนิคทางเกษตร และการดักจับคาร์บอน Carbon Capture และก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 รวมทั้งก๊าซมีเทน Methane : CH4 มาจัดเก็บไว้ใช้ประโยชน์ในภายหลัง สามารถนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงจากชีวมวล Biomass Fuels เช่นเดียวกับการนำของเหลือทิ้งทางเกษตรมาผลิตเชื้อเพลิง Waste to Fuels ได้เช่นกัน รวมทั้งการเพาะจุลินทรีย์ การผลิตปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ธาตุอาหารสูง การบำรุงรักษาดิน หรือแม้แต่การปรับเปลี่ยนอาหารเลี้ยงสัตว์ในปศุสัตว์ การเพิ่มวิตามีน และโปรตีน ในผลผลิตการเกษตรที่เป็นอาหารของมนุษย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตการเกษตรได้อีกหลากหลายแนวทาง เป็นต้น .. พวกมัน คือ รูปแบบการทำเกษตรแบบยั่งยืน Sustainable Agriculture ด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ชาญฉลาด และเป็นโอกาสทางธุรกิจในระดับชุมชนเกษตรกรที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ..
คาดการณ์ตลาดการเกษตรอัจฉริยะและยั่งยืนทั่วโลก Global Smart & Sustainable Agriculture Market ..
ขนาดธุรกิจสำหรับภาพรวมตลาดการเกษตรกรรมทั่วโลก Global Agriculture Nets Market Size อ้างอิงการศึกษาวิจัยที่เผยแพร่โดย Custom Market Insights ชี้ว่า ขนาด และส่วนแบ่งรายได้ในตลาดการเกษตรกรรมทั่วโลก Global Agriculture Nets Market มีมูลค่าประมาณ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 และคาดว่าจะสูงถึงประมาณ 15.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 อยู่ที่ค่า CAGR 6% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2565-2573 ..
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นพิจารณาเจาะจงเฉพาะการเกษตรยั่งยืน Sustainable Agriculture นั้น พบว่า ตลาดการเกษตรอัจฉริยะและยั่งยืน Smart & Sustainable Agriculture ได้รับการคาดว่าจะได้รับแรงหนุนจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นของเทคนิค และนวัตกรรมสำหรับการทำฟาร์มเกษตรแบบยั่งยืน Sustainable Agriculture Farming Techniques & Innovations ที่มีประโยชน์ในการลดเลิกการใช้ทรัพยากรพลังงานที่ไม่หมุนเวียน Non-Renewable Energy Resources และยอมรับแนวทางปฏิบัติทางการเกษตรแบบยั่งยืน Sustainable Agronomic Practices ..
นอกจากนี้ พืชผลที่พัฒนาขึ้นโดยใช้แนวปฏิบัติด้านการเกษตรที่ล้ำสมัย และรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น พืชที่มีความหนาแน่นสูงพิเศษ Ultra-High-Density Plantation : UHDP, น้ำยาฆ่าแมลงวิถีธรรมชาติที่เหมาะสมที่สุด และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพ ธาตุอาหารสูงด้วยเช่นกัน .. วิธีการเหล่านี้ จะช่วยปกป้องลูกค้าผู้บริโภคจากการสัมผัสกับสารพิษ และสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายอื่น ๆ ซึ่งให้ประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมากมาย รวมทั้งช่วยเพิ่มการเติบโตของตลาดไปพร้อมด้วย .. ปัจจัยอื่น ๆ ที่สนับสนุนการเติบโตของการเกษตรอัจฉริยะและยั่งยืน Smart & Sustainable Agriculture ได้แก่ ความก้าวหน้าที่เพิ่มขึ้น และการใช้เทคโนโลยี เช่น ปัญญาประดิษฐ์ Artificial Intelligence : AI และอินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง Internet of Things : IoT ในภาคอุตสาหกรรมการเกษตร Agricultural Industry และแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นต่อระบบการจัดหาอาหาร เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ..
ข้อมูลรายงานจาก Global Market Estimates คาดหมายไว้ว่า ตลาดการเกษตรอัจฉริยะและยั่งยืนทั่วโลก Global Smart & Sustainable Agriculture Market จะเติบโตจาก 13.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 เป็น 20.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2569 .. ทั้งนี้ อัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดการเกษตรอัจฉริยะและยั่งยืนทั่วโลก Global Smart & Sustainable Agriculture Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 9.7% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2565-2569 ..
นอกจากนี้ ข้อมูลรายงาน Global Market Estimates ชี้ให้เห็นว่า การทำฟาร์มแบบแม่นยำและเกษตรพันธสัญญาเป็นต้นแบบของแนวทางการทำฟาร์มแบบยั่งยืน และมีจริยธรรมที่ช่วยให้เกษตรกรปรับปรุงสถานะทางเศรษฐกิจ และสังคมของพวกเขาไปพร้อมด้วย .. ในขณะเดียวกัน การยอมรับเทคโนโลยีเกษตรทฤษฎีใหม่ที่ยั่งยืน New Theory Sustainable Agriculture Technology ที่เพิ่มขึ้น เช่น การจัดการพื้นที่ การปลูกพืชผลหมุนเวียน ความหลากหลายของพืชผลในไร่นาสวนผสม และการใช้ทรัพยากรหมุนเวียน Renewable Resources รวมทั้งการใช้แหล่งพลังงานสะอาด และแหล่งพลังงานชีวภาพจากอินทรีย์สารชีวมวล Bioenergy from Biomass ซึ่งทั้งหมดนี้ ช่วยในการเปลี่ยนไปสู่การทำฟาร์มแบบยั่งยืน Sustainable Agriculture Farming และเป็นปัจจัยหลักที่ผลักดันการเติบโตของตลาดตลอดช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ..
สรุปส่งท้าย ..
การเปลี่ยนแปลงระดับโลก Global Transition เพื่อมุ่งไปสู่การผลิตอาหาร และการเกษตรกรรมที่ยั่งยืน Sustainable Food & Agriculture กำลังมีการปรับปรุงครั้งใหญ่ในด้านประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากร Efficiency of Resource Use, การปกป้องสิ่งแวดล้อม Environmental Protection และความยืดหยุ่นของระบบ Systems Resilience รวมถึงการประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานสะอาด Clean Energy ในพื้นที่ ..
การเกษตรอัจฉริยะและยั่งยืน Smart & Sustainable Agriculture ต้องการระบบความเชื่อมโยงระดับโลกที่ส่งเสริมความมั่นคงทางอาหารในระบบการค้า, นโยบายพลังงาน และการพาณิชย์ภาครัฐของแต่ละประเทศ รวมทั้งการทบทวนนโยบายที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมตลาดการเกษตรในท้องถิ่น และระดับภูมิภาค Promote Local & Regional Agricultural Markets กลายเป็นความจำเป็นสำคัญยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ ..
เกษตรกรรมยั่งยืนสีเขียว Green Sustainable Agriculture นั้น คือ การประยุกต์ใช้หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน กับการเกษตร การผลิตอาหาร ผลิตภัณฑ์จากไม้ และเส้นใย ในขณะที่เคารพต่อข้อจำกัดทางนิเวศวิทยา เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งรับประกันคุณภาพผลผลิตเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น การทำฟาร์มเกษตรแบบยั่งยืน Sustainable Agriculture Farming ช่วยลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของเกษตรกร และผู้บริโภค ..
หลักการสำคัญที่เชื่อมโยงกับเกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable Agriculture ได้แก่ การพัฒนาระบบการผลิตที่มีประสิทธิภาพ Develop Efficient, ความพอเพียง Self-Sufficient และความประหยัดซึ่งสามารถสร้างรายได้ที่เหมาะสม Economical Production Systems that Provide Decent Incomes และรวมไปถึง การสงวนและคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ Preserve & Protect Biodiversity, ใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด Optimize the Use of Natural Resources, บริหารจัดการคุณภาพอากาศ น้ำ และดิน Manage the Quality of Air, Water & Soil และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานสะอาด Clean Energy Efficiency สำหรับการผลิต และจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหาร รวมทั้งผลผลิตอื่น ๆ ไปพร้อมด้วย ..
สำหรับในมุมมองของไทยนั้น หลายหน่วยงานในประเทศทั้งองค์การพัฒนาเอกชน ภาครัฐ นักวิชาการ เครือข่ายภาคประชาชน ได้นิยามคำว่า ‘เกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable Agriculture’ คล้ายคลึงกัน โดยมีตัวอย่างเช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ หรือ ศสช. ได้ให้นิยามไว้ว่า “เกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable Agriculture คือ ระบบการทำการเกษตรที่ให้ความสำคัญกับระบบนิเวศวิทยา โดยจะต้องช่วยฟื้นฟู และอนุรักษ์ทรัพยากรในไร่นา และสิ่งแวดล้อม และลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอกให้ได้มากที่สุด และมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ และมีผลตอบแทนที่จะให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพ และประกอบอาชีพการเกษตรได้อย่างยั่งยืน” ..
ทั้งนี้ ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนเกษตรกรรมที่ยั่งยืน Sustainable Agriculture โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการหลายคณะเพื่อผลักดันการดำเนินการให้เป็นรูปธรรม และเขียนระบุชัดเจนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 พ.ศ.2566-2570 ไว้พร้อมด้วย ในมิติที่ 1 ภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย และมิติที่ 3 ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บนหมุดหมายหลักเพื่อพลิกโฉมประเทศ ได้แก่ หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง เป้าหมายที่ 3 และ หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ เป้าหมายที่ 1, 2 และ 3 โดยมีการเชื่อมโยงเสริมกันระหว่างภาพรวม 4 มิติการพัฒนา และ 13 หมุดหมายหลักที่ผูกกันไว้ เพื่อมุ่งไปสู่ Thailand’s Transformation พลิกโฉมประเทศสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน Sustainability ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
การประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของไทย ด้วยการสืบสาน รักษา ต่อยอดการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศอย่างมีเหตุผล ความพอประมาณ ภูมิคุ้มกัน บนฐานของความรู้ คุณธรรม และความเพียร โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับสถานการณ์ และเงื่อนไข ระดับประเทศ และระดับโลกทั้งในปัจจุบัน และอนาคตอันใกล้ และศักยภาพของทุนทางเศรษฐกิจ ทุนทางสังคม และทุนทางทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของประเทศ ให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความสมดุล ในมิติต่าง ๆ ทั้งความสมดุลระหว่างการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ กับความสามารถในการพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคง ความสมดุลของการกระจายโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างกลุ่มคน และพื้นที่ และความสมดุลทางธรรมชาติ เพื่อให้คนอยู่ร่วมกับทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการบริหารจัดการองคาพยพต่าง ๆ ของประเทศให้พร้อมรับกับความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายในประเทศ ..
การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งยวดอีกเรื่องหนึ่ง ผนวกกับการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งการใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ New Theory Sustainable Agriculture ที่ยั่งยืนร่วมกับแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources ในพื้นที่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจการเกษตร ควบคู่ไปกับการรักษาความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ และการใช้ประโยชน์จากฐานทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตทั้งภาคการเกษตร และอุตสาหกรรม การให้บริการ และการบริโภค เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อม กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้ .. ทั้งนี้ เชื่อมั่นได้ว่า เกษตรกรรมยั่งยืน Sustainable Agriculture จะกลายเป็นวิถีสู่ความมั่นคงด้านอาหาร และพลังงานสะอาดได้อย่างแท้จริงจากนี้ไปในที่สุด ..
……………………………….
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Sustainable Agriculture | Wikipedia :-
https://en.wikipedia.org/wiki/Sustainable_agriculture
Renewable Energy for Sustainable Agriculture | HAL Open Science :-
Sustainable Food Systems: Concept and Framework | FAO :-
https://www.fao.org/3/ca2079en/CA2079EN.pdf
Sustainable Agriculture | Sustainable Development Goals | FAO :-
Sustainable Agriculture | Nature :-
https://www.nature.com/scitable/knowledge/library/sustainable-agriculture-23562787/
Sustainable Agriculture | National Institute of Food and Agriculture: USDA NIFA :-
Sustainable Agriculture | How to shape the future of farming? | Solar Impulse :-
https://solarimpulse.com/sustainable-agriculture-solutions
IEA Bioenergy Report 2023 | IEA :-
Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-
https://photos.app.goo.gl/Qnj3eGJobkzRHx7a9
Earth Overhaul | Saving Planet Earth from Climate Change Documentary :-
https://photos.app.goo.gl/3qLWAqW541RdtBLp7
The Six – Sector Solution to the Climate Crisis :-
https://photos.app.goo.gl/bpMYDhQjaAs21ByW9
Agrivoltaics : Solar Power in Agriculture :-
https://photos.app.goo.gl/BHDW6qGgNsA5B8Ny5
Biomass Energy :-