Role of Critical Minerals in Clean Energy Transition
“….“การลดการปล่อยคาร์บอน Decarbonization คือ เรื่องใหญ่ และยุ่งเหยิง แต่ในขณะเดียวกัน มนุษยชาติ ก็สามารถทำให้บรรลุสำเร็จได้อย่างแน่นอน” ..
แร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals คือ ทรัพยากรที่จำเป็นในการผลิตเทคโนโลยีสำคัญมากมายสำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ซึ่งหมายรวมถึง กังหันลม Wind Turbines, แผงโซล่าเซลล์พลังแสงอาทิตย์ Solar Panels, ชุดแบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า Batteries for EVs และอิเล็กโทรไลเซอร์ Electrolysers ..
การลดการปล่อยคาร์บอนระดับลึกของระบบพลังงาน Deep Decarbonisation of Energy Systems ต้องการแร่ธาตุที่สำคัญจำนวนมาก เช่น ลิเธี่ยม Lithium: 3Li, นิกเกิล Nickel : 28Ni, โคบอลต์ Cobalt : 27Co, ทองแดง Copper : 29Cu และแร่ธาตุหายาก Rare Earth Elements : REEs อื่น ๆ สำหรับการติดตั้ง และจัดเก็บพลังงานทดแทน Renewable Energy Installations & Storage Solutions .. พวกมัน คือ สิ่งสำคัญยิ่งยวด เพื่อให้แน่ใจว่า ระบบพลังงานสะอาด Clean Energy Systems มีความพร้อมใช้งาน เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ของมนุษยชาติประสบความสำเร็จได้ในที่สุด ..
ทั้งนี้ เชื่อมั่นได้ว่า โลกมีแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ซึ่งบางตัวมักจะถูกเรียกว่า แร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals และวัตถุดิบสำคัญอื่น ๆ ในปริมาณมากพอที่ระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติจะเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels เป็นฐานการบริโภคหลักไปสู่การบริโภคพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy เป็นแหล่งพลังงานหลักเพื่อผลิตกำลังไฟฟ้า Produce Electricity และจำกัดภาวะโลกร้อน Limit Global Warming ซึ่งผลการศึกษาล่าสุดที่ดูเหมือนจะสวนทางกับความกังวลเกี่ยวกับการจัดหาแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals หรือที่เรียกว่าแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ดังกล่าว ..
ด้วยการผลักดันให้มีการผลิตกำลังไฟฟ้ามากขึ้นจากแผงโซลาร์เซลล์ Solar Panels, กังหันลม Wind Turbines, ไฟฟ้าพลังน้ำ Hydroelectric และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Nuclear Power Plants .. บางคน จึงเกิดความกังวลว่าจะมีแร่ธาตุหลัก Key Minerals ไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนไปสู่กระบวนการลดคาร์บอน Decarbonization Switch ซึ่งอาจจะมิได้เป็นเช่นนั้นทั้งหมด ..
โดยทั่วไป แร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals ในข้อเท็จจริงแล้ว มิได้หายากขนาดนั้น การสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐฯ อธิบายว่า พวกมัน “ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ Relatively Abundant” ในธรรมชาติ .. แร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals จำเป็นสำหรับแม่เหล็กถาวร Permanent Magnets แรงสูงที่ใช้สำหรับกังหันลม Wind Turbines .. นอกจากนี้ พวกมันยังปรากฏในชุดแบตเตอรี่ Battery Packs, โทรศัพท์มือถือ Smartphones, จอคอมพิวเตอร์ Computer Displays และหลอดไฟ LED รวมทั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์อีกมากมาย เป็นต้น ..
ผลสรุปจากการศึกษาครั้งใหม่นี้ ไม่เพียงแต่จะพิจารณาองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยการผลิตสิ่งเหล่านี้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงแร่ธาตุวิกฤติที่เป็นวัตถุดิบ Critical Mineral Raw Materials จำนวน 17 ชนิดที่จำเป็นในการผลิตกำลังไฟฟ้า ซึ่งรวมถึงทรัพยากรทั่วไปบางอย่าง เช่น เหล็กกล้า Steel, ซีเมนต์ Cement และแก้ว หรือกระจก Glass แต่จนถึงปัจจุบัน ก็ยังมิได้ประสบกับความขาดแคลนวัตถุดิบเหล่านี้แต่อย่างไร ..
ทีมนักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาแหล่งแร่ธาตุหายากต่าง ๆ ซึ่งมักจะยังไม่ได้รับการขุดค้นอย่างจริงจังในอดีต และแหล่งพลังงานที่แตกต่างกันมากกว่า 20 แห่ง .. พวกเขา คำนวณปริมาณสิ้นเปลือง และมลพิษจากการทำเหมือง หากพลังงานสีเขียวเพิ่มขึ้นจนบรรลุเป้าหมายระดับโลกในการลดการปล่อยคาร์บอนที่กักเก็บความร้อนไว้จากเชื้อเพลิงฟอสซิล Cut Heat-Trapping Carbon Emissions from Fossil Fuels ..
ข้อสรุปส่วนหนึ่งจากทีมนักวิทยาศาสตร์ ชี้ว่า เป็นความจำเป็นที่จะต้องมีการขุดค้นแร่ธาตุเหล่านี้ให้มากขึ้นจริง แต่มั่นใจได้ว่าจะมีแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ในธรรมชาติปริมาณเพียงพอ คุ้มค่าสำหรับการสำรวจ และการขุดเจาะ เพื่อพวกมันจะไม่ทำให้ภาวะโลกร้อนแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ ..
“การลดการปล่อยคาร์บอน Decarbonization คือ เรื่องใหญ่ และยุ่งเหยิง แต่ในขณะเดียวกัน มนุษยชาติ ก็สามารถทำให้บรรลุสำเร็จได้อย่างแน่นอน” .. ผู้ร่วมวิจัย Zeke Hausfather นักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศของบริษัทเทคโนโลยี Stripe และ Berkeley Earth กล่าว และยืนยันว่า “พวกเขา ไม่กังวลว่าจะขาดแคลนวัสดุแร่ธาตุ Critical Minerals เหล่านี้แต่อย่างไร” ..
ความกังวลทั่วโลกส่วนใหญ่เกี่ยวกับวัตถุดิบสำหรับการลดคาร์บอน Raw Materials for Decarbonization นั้น มักเกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่ และการขนส่ง Batteries & Transportation โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ที่ต้องพึ่งพาลิเธี่ยม Lithium : 3Li สำหรับชุดแบตเตอรี่ Batteries ซึ่งการศึกษาล่าสุดนี้ไม่ได้พิจารณาถึงสิ่งนั้นเป็นการเฉพาะ เนื่องจากมีแร่ธาตุอีกมากมายที่อุดมในธรรมชาติสามารถนำมาใช้ทดแทนลิเธี่ยม Lithium : 3Li ได้ ..
Hausfather ยังชี้ให้เห็นว่า การพิจารณาความต้องการแร่ธาตุสำหรับแบตเตอรี่ Mineral Demands for Batteries นั้น ซับซ้อนกว่าเรื่องของกำลังไฟฟ้า Electric Power อย่างมาก และนั่นคือสิ่งที่ทีมงานจะต้องดำเนินการต่อไป .. ทั้งนี้ สำหรับภาคกำลังไฟฟ้า Power Sector นั้น ยังคงมีประเด็นปัญหาปริมาณการจัดหาทรัพยากร อยู่ที่ประมาณ 1 ใน 3 ถึงครึ่งหนึ่งของความต้องการแร่ธาตุเหล่านี้ทั้งหมด .. ประเด็นปัญหาหลายอย่างจึงขึ้นอยู่กับว่า โลก กำลังเปลี่ยนไปใช้พลังงานสีเขียวได้รวดเร็วแค่ไหน How Fast the World Switches to Green Energy นั่นเอง ..
ตัวอย่างของแร่ธาตุที่มีการขาดตลาด เช่น ดิสโพรเซียม Dysprosium : 66Dy ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่ใช้สำหรับแม่เหล็กถาวรในกังหันลม Permanent Magnets in Wind Turbines และการส่งเสริมผลักดันให้เกิดการผลิตกำลังไฟฟ้าที่สะอาดกว่านั้น ต้องใช้ดิสโพรเซียม Dysprosium : 66Dy มากกว่าที่ผลิตได้ในปัจจุบันถึง 3 เท่า แต่ในข้อเท็จจริงนั้น ดิสโพรเซียม Dysprosium : 66Dy มีสำรองในธรรมชาติมากกว่าที่จำเป็นในการผลักดันพลังงานสะอาด Clean Energy Push ถึง 12 เท่า ..
อีกกรณีหนึ่ง คือ เทลลูเรียม Tellurium : 52Te ซึ่งใช้ในฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์เชิงอุตสาหกรรม Industrial Solar Farms และอาจมีทรัพยากรในตลาดโดยประมาณเพียงเล็กน้อยกว่าที่จำเป็นในการผลักดันสีเขียวขนาดใหญ่ แต่ เฮาส์ฟาเธอร์ Hausfather ชี้ว่า มีแร่ธาตุอื่นเป็นสิ่งทดแทน Substitutions Available วัสดุเหล่านี้ทั้งหมดได้เช่นกัน และในความเป็นจริงแล้ว มีการลงทุนเพื่อขุดค้นเทลลูเรียม Tellurium : 52Te ทั่วโลกนั้น มีอยู่น้อยมาก เนื่องจากอาจไม่คุ้มค่าการลงทุน ..
“แร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals และแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals สำหรับวัสดุสำรอง Materials in Reserves มีอย่างเพียงพอ .. ผลการวิเคราะห์ และการศึกษาล่าสุดนี้ หักล้างข้อกังวลความขาดแคลนแร่ธาตุเหล่านั้น” แดเนียล อิบาร์รา Daniel Ibarra ศาสตราจารย์ด้านสิ่งแวดล้อมแห่งมหาวิทยาลัยบราวน์ Brown University ยืนยัน และแม้ว่างานของเขาจะมิได้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาล่าสุดนี้ แต่ทีมงานของเขา ได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับปัญหาความขาดแคลนลิเธี่ยม Lithium Shortages ซึ่งสรุปไว้ว่า กำลังการผลิตจะต้องเติบโตสำหรับ “โลหะหลัก Key Metals” บางชนิด และประเด็นสำคัญ คือ กำลังการผลิตจะเติบโตได้รวดเร็วเพียงใด ..
ข้อกังวลอีกประการหนึ่ง คือ การทำเหมืองจะเพิ่มการปล่อยคาร์บอน และความร้อนสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้นหรือไม่ มันอาจจะมากถึง 1 หมื่นล้านเมตริกตัน Billion Metric Tons per Year ซึ่งเป็น 1 ใน 4 ของการปล่อยคาร์บอนทั่วโลกต่อปี .. พลังงานหมุนเวียน Renewables ต้องการแร่ธาตุวัสดุต่อการผลิตพลังงาน Materials per Energy Output มากกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels เนื่องจากระบบพลังงานหมุนเวียน มีการรวมศูนย์น้อยกว่าด้วยการเน้นไปที่รูปแบบการกระจายมากขึ้น More Decentralized ..
ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่า การเพิ่มขึ้นของมลพิษคาร์บอนจากการทำเหมืองสำหรับแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ที่เพิ่มมากขึ้น จะถูกชดเชยด้วยการลดมลพิษอย่างมากจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ปล่อยคาร์บอนปริมาณมหาศาล Huge Reduction in Pollution from Heavy Carbon Emitting Fossil Fuels ..
ร็อบ แจ็กสัน Rob Jackson แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด Stanford University กล่าวเพิ่มเติมว่า “แม้ว่าหลักฐานหลายประการแสดงให้เห็นว่า มีวัตถุดิบแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Raw Critical Minerals เพียงพอ แต่ก็จำเป็นจะต้องให้เกิดความสมดุลต่อการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ควบคู่ไปกับการขุดค้นทำเหมืองที่เพิ่มมากขึ้นไปพร้อมด้วย มนุษยชาติ ควรใช้แร่ธาติหายากเหล่านี้ด้วยความประหยัดเช่นกัน” ..
บทบาทของแร่ธาตุวิกฤติต่อการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาด Role of Critical Minerals in Clean Energy Transitions ..
การเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดนั้น แร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ได้นำมาซึ่งความท้าทายใหม่ ๆ ต่อความมั่นคงทางพลังงาน Energy Security ในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ ..
ระบบพลังงานที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Energy System Powered by Clean Energy Technologies มีความแตกต่างอย่างมากเทียบกับระบบที่ขับเคลื่อนด้วยทรัพยากรไฮโดรคาร์บอนแบบดั้งเดิม Traditional Hydrocarbon Resources .. โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ Solar Photovoltaic: PV Plants, ฟาร์มกังหันลม Wind Farms และยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs โดยทั่วไปต้องการแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ในกระบวนการผลิตมากกว่าระบบที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นฐาน Fossil Fuel-Based Energy Systems ..
รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ทั่วไป ต้องการแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เหล่านี้ มากกว่ารถยนต์ทั่วไปถึง 6 เท่า และโรงไฟฟ้าพลังงานลมบนบก Onshore Wind Plants ต้องการทรัพยากรแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals มากกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง Gas-Fired Plants อยู่ถึง 9 เท่า .. ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ปริมาณแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เฉลี่ยที่จำเป็นสำหรับหน่วยผลิตกำลังไฟฟ้าหน่วยใหม่ เพิ่มขึ้น 50% เนื่องจากส่วนแบ่งของการลงทุนใหม่สำหรับพลังงานหมุนเวียน Renewables in New Investment เพิ่มขึ้น ..
ประเภทของทรัพยากรแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ที่ใช้นั้น แตกต่างกันไปตามเทคโนโลยี .. ลิเธี่ยม Lithium : 3Li, นิกเกิล Nickel : 28Ni, โคบอลต์ Cobalt : 27Co, แมงกานีส Manganese : 25Mn และกราไฟต์ Graphite : C มีความสำคัญต่อสมรรถนะของชุดแบตเตอรี่ Battery Performance, อายุการใช้งานที่ยาวนาน และความหนาแน่นของพลังงาน Longevity & Energy Density .. แร่ธาตุหายาก Rare Earth Elements คือ สิ่งจำเป็นสำหรับแม่เหล็กถาวร Permanent Magnets ที่มีความสำคัญต่อกังหันล Wind Turbines และมอเตอร์ไฟฟ้าของรถยนต์ไฟฟ้า EV Motors .. เครือข่ายระบบไฟฟ้า Electricity Networks ต้องการทองแดง Copper : 29Cu และอะลูมิเนียม Aluminium : 13Al จำนวนมาก โดยทองแดง เป็นรากฐานที่สำคัญสำหรับเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบกำลังไฟฟ้าทั้งหมด All Electricity-Related Technologies ..
การปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบพลังงานสะอาด Shift to a Clean Energy System ขนานใหญ่บนโลกใบนี้ ผลักดันให้ความต้องการแร่ธาตุวิกฤติเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างมาก Huge Increase in the Requirements for These Critical Minerals หมายความว่า ภาคพลังงาน Energy Sector กำลังผงาดขึ้นมาเป็นกำลังสำคัญในตลาดแร่ธาตุ .. ก่อนหน้านี้ สำหรับแร่ธาตุส่วนใหญ่ ภาคพลังงานเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของความต้องการทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ในขณะที่การเปลี่ยนผ่านของพลังงาน Energy Transitions เป็นไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Energy Technologies กำลังกลายเป็นส่วนของความต้องการที่เติบโตเร็วที่สุด Fastest-Growing Segment of Demand ..
ในสถานการณ์ที่ให้บรรลุเป้าหมายข้อตกลงปารีส Paris Agreement Goals เช่นใน IEA Sustainable Development Scenario : SDS นั้น ส่วนแบ่งความต้องการทั้งหมดของแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals และแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals อย่างมากในอีก 2 ทศวรรษข้างหน้าเป็นมากกว่า 40% สำหรับธาตุทองแดง Copper : 29Cu และแร่ธาตุหายาก 60-70% สำหรับ นิกเกิล Nickel : 28Ni และโคบอลต์ Cobalt : 27Co และเกือบ 90 % สำหรับลิเธี่ยม Lithium: 3Li .. คาดหมายได้ว่า รถยนต์ไฟฟ้าElectric Vehicles : EVs และระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ Battery Storage Systems จะเข้ามาแทนที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคทั้งหมด และกำลังกลายเป็นผู้บริโภคลิเธี่ยม Lithium : 3Li รายใหญ่ที่สุด รวมทั้งได้ถูกกำหนดให้เข้ามาแทนที่เหล็กกล้า Stainless Steel ในฐานะผู้ใช้ปลายทางรายใหญ่ที่สุด Largest End User ที่ใช้นิกเกิล Nickel : 28Ni ภายในปี 2583 ..
แร่ธาตุหายาก Rare Earth Elements แต่ละตัว มิใช่จะแสดงบทบาทสำคัญเพียงอย่างเดียวสำหรับแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals .. พวกมัน มิได้เป็นแร่ธาตุชนิดเดียวที่มีความสำคัญต่อภาคส่วนเทคโนโลยีระดับไฮเอนด์ High-End Technology Sector .. แร่ธาตุอีกหลายชนิดนั้น มีสำคัญต่อการทำงานของสมาร์ทโฟน Smart Phone ด้วย เช่น แกลเลียม Gallium : 31Ga ซึ่งเป็นโลหะสีเงินอ่อน หากไม่มีแกลเลียม Gallium : 31Ga สารกึ่งตัวนำที่ขับเคลื่อนสมาร์ทโฟน Semiconductors that Power Smartphones และเครือข่ายที่มีข้อมูลเป็นศูนย์กลาง Data-Centric Networks อาจจะเป็นไปไม่ได้ .. แกลเลียม Gallium : 31Ga ไม่ได้เป็นโลหะทั่วไปในเปลือกโลก ซึ่งแตกต่างจากธาตุหายาก Rare Earth Elements อื่น ๆ แต่เกิดขึ้นเป็นประจำพร้อมกับอะลูมิเนียม Aluminum : 13Al ในแร่ธาตุที่เรียกว่า บอกไซต์ Bauxite : Al2O3.2H2O .. หนึ่งในคำกล่าวอ้างอื่น ๆ ของแกลเลียม Gallium : 31Ga ที่มีชื่อเสียง คือ มีจุดหลอมเหลวต่ำจนสามารถละลายได้หากถือไว้ในมือ เป็นต้น ..
แร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals อีกชนิดหนึ่ง คือ แมงกานีส Manganese : 25Mn ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของโลหะผสม Important Metal Alloying Ingredient .. หากไม่มีแมงกานีส Manganese : 25Mn แล้ว การผลิตเหล็กกล้าจะเป็นไปไม่ได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้โลหะอื่น ๆ ต้านทานการเกิดสนิม และการกัดกร่อน เช่น เหล็ก Iron : 26Fe และอะลูมิเนียม Aluminum : 13Al .. แมงกานีส Manganese : 25Mn เป็นองค์ประกอบที่พบได้ทั่วไปในเปลือกโลก และมีอยู่ในระดับความเข้มข้นมากมายที่ขุดขึ้นมาใช้ได้ง่าย ..
ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด Clean Energy Transitions มอบโอกาส และความท้าทายให้กับบริษัทฯ ผู้ผลิตแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals และแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เหล่านี้ .. ปัจจุบัน ถ่านหิน Coal คือ แหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับบริษัทขุดเจาะทำเหมืองด้วยอัตรากำไรมหาศาล .. รายได้ปัจจุบันจากการผลิตถ่านหินสูงกว่ารายได้จากแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals สำหรับเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transitions ถึง 10 เท่า ..
อย่างไรก็ตาม การเร่งรัดกระบวนเปลี่ยนผ่านของพลังงานสะอาด Clean Energy Transition Process จะสามารถสร้างความพลิกผันอย่างรวดเร็วในระบบเศรษฐกิจ และสังคมที่เหนือชั้น ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสะอาด Clean Technologies : Cleantech เนื่องจาก ได้รับการคาดหมายว่า รายได้รวมจากแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals และแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เหล่านี้สำหรับเปลี่ยนผ่านเป็นพลังงาน Energy Transition จะขึ้นแซงหน้ารายได้จากถ่านหินได้ก่อนปี 2583 ..
การรีไซเคิล Recycling และแหล่งจัดหาแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ใหม่ๆ ที่หลากหลายมากขึ้น มีความสำคัญต่อการปูทางไปสู่อนาคตของพลังงานสะอาด Clean Energy Future ..
ในขณะที่การเปลี่ยนผ่านของพลังงาน Energy Transitions เป็นไปอย่างรวดเร็ว ความมั่นคงของแหล่งแร่ธาตุ Security of Mineral Supply กำลังได้รับความสำคัญในการถกเถียงเรื่องความมั่นคงทางพลังงาน Energy Security Debate ซึ่งเป็นขอบเขตที่น้ำมัน Oil เคยมีบทบาทสำคัญมาแต่ดั้งเดิม ..
มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างความมั่นคงด้านน้ำมัน Oil Security และความมั่นคงด้านแร่ธาตุวิกฤติ Critical Mineral Security โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการหยุดชะงักใด ๆ ในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์อุปทานน้ำมัน Oil Supply Crisis .. ผู้บริโภคทุกคนที่ขับรถยนต์เบนซิน Gasoline Cars หรือรถบรรทุกดีเซล Diesel Trucks จะได้รับผลกระทบจากราคาที่สูงขึ้น ในทางตรงกันข้าม การขาดแคลน หรือการพุ่งสูงขึ้นของราคาแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals จะส่งผลต่อการผลิต และการจัดหายานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ใหม่ หรือโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Plants เท่านั้น .. ผู้บริโภคที่ขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ที่มีอยู่ หรือใช้กำลังไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จะไม่ได้รับผลกระทบ .. นอกจากนี้ การเผาไหม้ของน้ำมัน Combustion of Oil ยังหมายถึง อุปทานใหม่ที่จำเป็นต่อการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของสินทรัพย์ที่ใช้น้ำมันซึ่งสูญสิ้นไปจากการใช้งาน อย่างไรก็ตาม แร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งมีศักยภาพในการนำกลับมาใช้ใหม่ และรีไซเคิล Recovered & Recycled ได้อย่างยอดเยี่ยม จึงแตกต่างกันอย่างมาก ..
ทั้งนี้ ประสบการณ์จากตลาดน้ำมัน อาจให้บทเรียนอันมีค่าบางประการสำหรับแนวทางการรักษาความปลอดภัยของแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อเน้นย้ำว่ามาตรการด้านอุปทานจำเป็นต้องมาพร้อมกับความพยายามที่หลากหลาย ซึ่งครอบคลุมถึงอุปสงค์ เทคโนโลยี ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน และความยั่งยืน ..
การเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว และเป็นระเบียบของระบบพลังงานโลก Global Energy System จำเป็นต้องมีการเติบโตอย่างมากสำหรับการลงทุนในแหล่งแร่ธาตุ Investment in Mineral Supply เพื่อให้ทันกับการเติบโตของอุปสงค์ที่รวดเร็วอย่างยิ่ง .. ผู้กำหนดนโยบาย Policy Makers ของแต่ละประเทศ สามารถดำเนินการได้หลายอย่างเพื่อสนับสนุนโครงการจัดหาแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals แหล่งใหม่ๆ และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การส่งสัญญาณที่ชัดเจน และหนักแน่น เกี่ยวกับความมุ่งมั่นของนโยบายภาครัฐต่อการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาด Clean Energy Transitions .. หากบริษัทเอกชนต่าง ๆ ไม่มีความมั่นใจในนโยบายภาครัฐด้านสภาพอากาศของประเทศแล้ว พวกเขาก็จะมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจลงทุนตามความคาดหวังที่ระมัดระวังมากขึ้น เมื่อพิจารณาถึงระยะเวลาในการพัฒนาโครงการใหม่ที่ยาวนาน สิ่งนี้อาจสร้างปัญหาคอขวดได้ .. ดังนั้น เมื่อการปรับใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Energy Technologies เริ่มเติบโตอย่างรวดเร็ว การกระจายอุปทาน ก็มีความสำคัญเช่นกัน ภาครัฐที่เป็นเจ้าของทรัพยากร สามารถสนับสนุนการพัฒนาโครงการใหม่ได้ โดยการส่งเสริมการสำรวจทางธรณีวิทยาระดับชาติ ปรับปรุงขั้นตอนการอนุญาตเพื่อลดระยะเวลาดำเนินการ ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่โครงการที่ปราศจากความเสี่ยง และสร้างความตระหนักรู้ต่อสาธารณชนเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมที่โครงการดังกล่าวมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงของภาคส่วนพลังงาน Energy Sector ..
การลดปริมาณของการใช้วัสดุ และส่งเสริมการทดแทนวัสดุบางอย่างด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี Technology Innovations สามารถแสดงบทบาทสำคัญในการบรรเทาความตึงเครียดในการจัดหา .. ในขณะเดียวกันก็ลดต้นทุนด้วย ตัวอย่างเช่น การลดการใช้ซิลเวอร์ Silver : 47Ag และซิลิกอน Silicon : 14Si ในเซลล์แสงอาทิตย์ Solar Cells ลง 40-50% ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้การใช้งานเซลล์แสงอาทิตย์ Solar PV Deployment เพิ่มขึ้นอย่างมาก .. นวัตกรรมในเทคโนโลยีการผลิต Innovation in Production Technologies สามารถที่จะปลดล็อกวัสดุแร่ธาตุหายากใหม่ ๆ จำนวนมากได้ .. เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น การสกัดลิเธี่ยมโดยตรง หรือการกู้คืนโลหะที่ได้รับการปรับปรุงจากของเสีย หรือแร่ธาตุคุณภาพต่ำ ซึ่งพวกมัน ได้นำเสนอศักยภาพสำหรับการเปลี่ยนแปลงขั้นตอนในปริมาณอุปทานในอนาคตที่อาจเทียบเคียงได้กับการทำเหมืองเลยทีเดียว ..
แหล่งการจัดหาใหม่ที่หลากหลายมากขึ้น จะมีความสำคัญต่อการปูทางไปสู่อนาคตของพลังงานสะอาด Clean Energy Future .. การรีไซเคิล Recycling ช่วยลดแรงกดดันต่อการจัดหาหลัก สำหรับโลหะปริมาณมาก แนวปฏิบัติในการรีไซเคิลได้กำหนดไว้อย่างดีแล้ว แต่ปัจจุบัน การรีไซเคิล Recycling ยังมีให้เห็นไม่มากนักในกรณีของ Energy Transition Metals หลายชนิด เช่น ลิเธี่ยม และธาตุธาตุหายากบางชนิด แม้จะสามารถรีไซเคิล Recycling ได้เกือบ 100% ก็ตาม .. กระแสขยะของเสียที่เกิดขึ้นจากเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Energy Technologies เช่น แบตเตอรี่ Batteries, กังหันลม Wind Turbines สามารถเปลี่ยนภาพนี้ไปเป็นการจัดหาแร่ธาตุหายากเหล่านี้ด้วยการรีไซเคิล Recycling เพื่อนำพวกมันกลับมาใช้ใหม่ได้ .. ปริมาณแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ที่ใช้แล้ว คาดว่าจะเพิ่มขึ้นหลังปี 2573 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ความต้องการแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ..
ทั้งนี้ การรีไซเคิล Recycling จำเป็นต้องมีการลงทุนอย่างต่อเนื่องมาพร้อมด้วยสำหรับการผลิต และจัดหาใหม่ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศ .. อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ได้ว่าภายในปี 2583 ปริมาณทองแดง Copper : 29Cu, ลิเธี่ยม Lithium : 3Li, นิกเกิล Nickle : 28Ni และโคบอลต์ Cobalt : 27Co ที่รีไซเคิลจากแบตเตอรี่ใช้แล้ว จะสามารถแสดงบทบาทสำคัญ และลดความต้องการการจัดหาหลักรวมกันสำหรับแร่ธาตุหายากเหล่านี้ได้ประมาณมากกว่า 10% ทั่วโลก .. ประโยชน์ด้านความมั่นคงทางพลังงานของการรีไซเคิล Energy Security Benefits of Recycling สามารถมีมากขึ้นสำหรับภูมิภาคที่มีการใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่กว้างขึ้น เช่นในภูมิภาคอาเซียน ASEAN ซึ่งทำให้ต้นทุนรวมของผลิตภัณฑ์พลังงานสะอาดลดลงได้ หมายถึง การรีไซเคิล Recycling ได้กลายเป็นหนึ่งในข้อไขเชิงเศรษฐกิจที่ยอดเยี่ยมสำหรับการจัดหาแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ในอนาคตการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Clean Energy Future นั่นเอง ..
คาดการณ์ตลาดวัตถุดิบที่เป็นแร่ธาตุวิกฤติที่สำคัญทั่วโลก Global Critical Mineral Raw Materials Market ..
ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าต่อปีเพิ่มขึ้น 60% เป็นมากกว่า 10 ล้านคัน มาตั้งแต่ปี 2565 .. ระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage Systems มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 2 เท่า .. การติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์ Solar PV Installations ยังคงทำลายสถิติเดิม และพลังงานลม Wind Energy มีกำหนดจะกลับมาเติบโตด้วยความเร่งจากนี้ไป .. สิ่งเหล่านี้ นำไปสู่ความต้องการแร่ธาตุวิกฤติที่สำคัญ Critical Minerals เพิ่มขึ้นอย่างมาก .. ปัจจุบัน ความต้องการจากภาคพลังงาน คือ ปัจจัยหลักที่อยู่เบื้องหลังความต้องการลิเธี่ยม Lithium : 3Li โดยรวมเพิ่มขึ้น 3 เท่า ความต้องการโคบอลต์ Cobalt : 27Co เพิ่มขึ้น 70% และความต้องการนิกเกิล Nickle : 28Ni เพิ่มขึ้น 40% เป็นต้น .. สัดส่วนการใช้พลังงานสะอาดในความต้องการทั้งหมดสูงถึง 56% เทียบกับเมื่อ 5 ปีก่อนหน้านี้ ..
ความต้องการที่เพิ่มขึ้น และราคาที่สูง ทำให้ขนาดตลาดของแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals และแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals สำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน หรือ Key Energy Transition Minerals เพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าถึง 320 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 ซึ่งใกล้เคียงกับขนาดของตลาดสำหรับการทำเหมืองขุดแร่เหล็ก Market Size for Iron Ore Mining .. การเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ ตรงกันข้ามกับการเติบโตเพียงเล็กน้อยของวัสดุแร่ธาตุจำนวนมากอื่น ๆ เช่น สังกะสี Zinc : 30Zn และตะกั่ว Lead : 82Pb เป็นผลให้แร่ธาตุสำหรับเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition Minerals ซึ่งเคยเป็นส่วนเล็ก ๆ ของตลาด กลายเป็นส่วนสำคัญในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และโลหะ Mining & Metals Industry .. สิ่งนี้นำมาซึ่งโอกาสทางธุรกิจในการสร้างรายได้ใหม่ ๆ สำหรับภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งการสร้างงานให้กับสังคม และมุ่งไปสู่ระบบเศรษฐกิจพลังงานสะอาดในอนาคตจากนี้ไป ..
อ้างถึงข้อมูลการตรวจสอบตลาดของ Data Intelo พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดวัตถุดิบที่เป็นแร่ธาตุวิกฤติที่สำคัญทั่วโลก Global Critical Mineral Raw Materials Market คาดว่าจะสูงถึง 444 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 .. ทั้งนี้ คาดหมายว่า อัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดวัตถุดิบที่เป็นแร่ธาตุวิกฤติที่สำคัญทั่วโลก Global Critical Mineral Raw Materials Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 5.4% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ปี 2565-2573 ..
วัตถุดิบแร่ธาตุที่สำคัญ Critical Mineral Raw Materials คือ ส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์ และการใช้งานที่หลากหลาย แร่ธาตุเหล่านี้ ใช้ในกระบวนการผลิตสำหรับยานยนต์ Automotive, แบตเตอรี่ Batteries, ส่วนประกอบในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ Electronics Industry Components, วงจรรวม Integrated Circuits, เลเซอร์ไดโอด Laser Diodes และอื่น ๆ .. ความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมเหล่านี้ ทำให้ความต้องการวัตถุดิบแร่ธาตุวิกฤติที่สำคัญ Critical Mineral Raw Materials เพิ่มขึ้นทั่วโลก ..
ตลาดแบ่งออกเป็นตามประเภทหลัก ๆ ได้แก่ แร่ธาตุหายากหนัก Heavy Rare Earth Elements, แร่ธาตุหายากเบา Light Rare Earth Elements, โลหะกลุ่มแพลทินัม Platinum Group Metals และอื่น ๆ เป็นต้น ..
สำหรับในประเด็นของแร่ธาตุหายากหนัก Heavy Rare Earth Elements : HREEs นั้น จะใช้ในการผลิตสมาร์ทโฟน Smartphones และแท็บเล็ต Tablets .. นอกจากนี้ยังสามารถพบได้ในมอเตอร์ไฟฟ้า Electric Motors, แม่เหล็ก Magnets และส่วนประกอบอื่น ๆ ที่ต้องการวัสดุที่มีความแข็งแรงสูง แต่มีความหนาแน่นต่ำ .. ขณะที่ แร่ธาตุหายากชนิดเบา Light Rare Earth Elements : LREEs คือ ชุดขององค์ประกอบทางเคมี 17 ชนิดในตารางธาตุ พวกมันมีเลขอะตอม Atomic Numbers หรือจำนวนโปรตอนในนิวเคลียสของธาตุนั้น ๆ ตั้งแต่ 57-71 และรวมถึง เช่น อิตเทรียม Yttrium : 39Y, สแกนเดียม Scandium : 21Sc, แลนทานัม Lanthanum : 57La, ซีเรียม Cerium : 58Ce และพรซีโอดิเมียม Praseodymium : 59Pr เป็นต้น .. แร่ธาตุหายากชนิดเบา Light Rare Earth Elements : LREEs คือ แร่ธาตุส่วนใหญ่ของ Rare Earth Elements ที่สกัดได้จากการทำเหมืองในปัจจุบัน ..
ในส่วนของโลหะกลุ่มแพลทินัม Platinum Group Metals นั้น เป็นกลุ่มโลหะหายาก Rare Metals จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ แพลเลเดียม Palladium : 46Pd, โรเดียม Rhodium : 45Rh, รูเทเนียม Ruthenium : 44Ru, ออสเมียม Osmium : 76Os, อิริเดียม Iridium : 77Ir และแพลทินัม Platinum : 78Pt .. ความหายากของแร่ธาตุ และองค์ประกอบเหล่านี้ ทำให้พวกมันมีราคาแพงมากสำหรับการขุดค้นทำเหมือง ซึ่งหมายความว่า อาจเป็นเรื่องยากสำหรับผู้บริโภคทั่วไปที่จะเข้าถึง ซื้อ หรือจำหน่ายได้ .. แพลทินัม Platinum : 78Pt ถือเป็นหนึ่งในสินค้าที่มีค่าที่สุดในโลกเพราะผู้ผลิตนิยมใช้ทำเครื่องประดับ เช่น ต่างหู และสร้อยคอ อีกด้วย ..
นอกจากนั้น ในตลาดอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ Electronics Industry คือ ผู้ใช้ปลายทางรายใหญ่อีกรายหนึ่งของวัตถุดิบแร่ธาตุวิกฤติที่สำคัญ Critical Mineral Raw Materials ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา .. ความต้องการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นนี้นั้น ได้นำไปสู่ความต้องการแร่ธาตุวิกฤติหายาก Rare Earth Critical Minerals เหล่านี้ให้เพิ่มสูงขึ้นอีก เพื่อนำมาผลิตวงจรรวมคุณภาพสูง และต้นทุนต่ำ High Quality & Low-Cost Integrated Circuits และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อีกมากมาย .. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ Electronics Industry ยังเป็นส่วนสำคัญของการขับเคลื่อนอนาคตระบบเศรษฐกิจโลก Future Global Economy System และด้วยเหตุนี้ จึงมีความต้องการแร่ธาตุเหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ของมนุษยชาติ บรรลุความสำเร็จอย่างงดงามได้ในที่สุด ..
สรุปส่งท้าย ..
การเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดนั้น แร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ได้นำมาซึ่งความท้าทายใหม่ ๆ ต่อความมั่นคงทางพลังงาน Energy Security ในภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญ ..
ระบบพลังงานที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Energy System Powered by Clean Energy Technologies มีความแตกต่างอย่างมากเทียบกับระบบที่ขับเคลื่อนด้วยทรัพยากรไฮโดรคาร์บอนแบบดั้งเดิม Traditional Hydrocarbon Resources .. โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ Solar Photovoltaic : PV Plants, ฟาร์มกังหันลม Wind Farms และยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs โดยทั่วไปต้องการแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ในกระบวนการผลิตมากกว่าระบบที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นฐาน Fossil Fuel-Based Energy Systems .. รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ทั่วไป ต้องการแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เหล่านี้ มากกว่ารถยนต์ทั่วไปถึง 6 เท่า และโรงไฟฟ้าพลังงานลมบนบก Onshore Wind Plants ต้องการทรัพยากรที่เป็นแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals มากกว่าโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิง Gas-Fired Plants อยู่ถึง 9 เท่า .. ตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นมา ปริมาณแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เฉลี่ยที่จำเป็นสำหรับหน่วยผลิตกำลังไฟฟ้าหน่วยใหม่ เพิ่มขึ้น 50% เนื่องจากส่วนแบ่งของการลงทุนใหม่สำหรับพลังงานหมุนเวียน Renewables in New Investment เพิ่มขึ้น ..
ทั้งนี้ การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด Clean Energy Transitions มอบโอกาส และความท้าทายให้กับบริษัทฯ ผู้ผลิตแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals และแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เหล่านี้ .. ปัจจุบัน ถ่านหิน Coal คือ แหล่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดสำหรับบริษัทขุดเจาะทำเหมืองด้วยอัตรากำไรมหาศาล .. รายได้ปัจจุบันจากการผลิตถ่านหินสูงกว่ารายได้จากแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals สำหรับเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transitions ถึง 10 เท่า ..
อย่างไรก็ตาม การเร่งรัดกระบวนเปลี่ยนผ่านของพลังงานสะอาด Clean Energy Transition Process จะสามารถสร้างความพลิกผันอย่างรวดเร็วในระบบเศรษฐกิจ และสังคมที่เหนือชั้น ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีสะอาด Clean Technologies : Cleantech เนื่องจาก ได้รับการคาดหมายว่า รายได้รวมจากแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals และแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เหล่านี้สำหรับเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition จะขึ้นแซงหน้ารายได้จากถ่านหินได้ ก่อนปี 2583 ..
สัญญาณที่ชัดเจนจากผู้กำหนดนโยบายภาครัฐของแต่ละประเทศเกี่ยวกับความเร็วของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน และวิถีการเติบโตของเทคโนโลยีพลังงานสะอาดนั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการลงทุนในการจัดหาแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals และแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ใหม่ ๆ ให้ทันท่วงที ซึ่งนโยบายภาครัฐ มีบทบาทสำคัญในการสร้างเงื่อนไขที่เอื้อต่อการลงทุนที่หลากหลายในห่วงโซ่อุปทานแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เหล่านี้ ..
การยกระดับความพยายามในการวิจัย และพัฒนาสำหรับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีทั้งในด้านอุปสงค์ และด้านการผลิตนั้น สามารถเปิดพื้นที่การใช้งานวัสดุแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น .. การทำให้มีการใช้วัสดุทดแทนกันได้ และการปลดล็อกวัสดุใหม่ ๆ ในกรอบกว้างทางเทคนิคที่หลากหลาย ได้รับการคาดหมายว่า จะนำมาซึ่งประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ..
นโยบายภาครัฐ สามารถแสดงบทบาทสำคัญในการเตรียมพร้อมสำหรับการเติบโตอย่างรวดเร็วของปริมาณขยะของเสีย โดยจูงใจให้เกิดการรีไซเคิล Recycling สำหรับผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุการใช้งาน สนับสนุนกิจกรรมการรวบรวม และคัดแยกที่มีประสิทธิภาพ และให้ทุนสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาในเทคโนโลยีการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ ๆ เพื่อนำแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals กลับมาใช้ใหม่ได้ คือ แนวทาง และโอกาสทางธุรกิจในอนาคตระบบพลังงานสะอาด Clean Energy Future ที่มั่นคง ..
กรอบการดำเนินงานระหว่างประเทศ International Framework ที่ครอบคลุมสำหรับการเจรจา และการประสานงานด้านนโยบายระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภค สามารถแสดงบทบาทสำคัญ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นระบบจากกรอบความมั่นคงด้านพลังงาน Energy Security ขององค์กรพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA .. ความคิดริเริ่มดังกล่าว อาจรวมถึงการดำเนินการเพื่อให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และโปร่งใส, การดำเนินการประเมินความเปราะบางที่อาจเกิดขึ้นทั่วทั้งซัพพลายเชน Supply Chains และการตอบสนองโดยรวมที่อาจเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ประกอบกับการส่งเสริมการถ่ายโอนความรู้ และการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อเผยแพร่แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และมีความรับผิดชอบ รวมถึงการเสริมสร้างมาตรฐานการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และสังคม ให้แข็งแกร่ง Strengthen Environmental & Social Performance Standards เพื่อให้แน่ใจว่าจะมีแข่งขันในตลาดแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals และแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เหล่านี้ อย่างเป็นธรรม และเท่าเทียมกัน ..
การเปลี่ยนไปสู่พลังงานสะอาด Transition to Clean Energy ขึ้นอยู่กับห่วงโซ่อุปทานของเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Energy Technology Supply Chains ซึ่งต้องมีการลงทุนสะสม 1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อให้มีขีดความสามารถเพียงพอสำหรับห่วงโซ่อุปทาน และเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายของสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions : NZE ภายในปี 2593 .. การลงทุนที่ประกาศไว้ครอบคลุมประมาณ 60% ของแผนงาน และโครงการทั้งหมด เมื่อพิจารณาจากระยะเวลาดำเนินการโครงการ การลงทุนส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้ระหว่างปี 2566-2568 โดยเฉลี่ย 270 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี ในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งหมายถึงเกือบประมาณ 7 เท่าของอัตราการลงทุนเฉลี่ยในช่วงปี 2559-2564 ..
วัสดุแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals และแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ที่สำคัญ เช่น ทองแดง Copper : 29Cu, ลิเธี่ยม Lithium : 3Li, โคบอลต์ Cobalt : 27Co และนิเกิล Nickel : 28Ni เป็นต้นนั้น กำลังเปลี่ยนกระบวนทัศน์ความมั่นคงทางพลังงาน Energy Security Paradigm .. การผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs แต่ละคันนั้น ต้องใช้วัสดุแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals เหล่านี้ มากกว่ารถยนต์ทั่วไปถึง 6 เท่า .. การขยายตัวของอุปทานที่คาดการณ์ไว้บ่งชี้ว่า การผลิตวัสดุแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals อาจต่ำกว่าข้อกำหนด NZE Scenario ในปี 2573 โดยมีการขาดดุลสูงถึง 35% สำหรับการทำเหมืองลิเธี่ยม Lithium : 3Li และ 60% สำหรับการผลิตนิกเกิลซัลเฟต Nickel Sulfate : NiSO4 ..
ทั้งนี้ แม้ว่า แร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals นั้น ถือว่า ‘ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ Relatively Abundant ในธรรมชาติ’ แต่ส่วนใหญ่ยังมิได้รับการขุดค้นขึ้นมาใช้งานอย่างจริงจังมากนัก ซึ่งระยะเวลาในการจัดตั้งห่วงโซ่อุปทานใหม่ New Supply Chains และขยายห่วงโซ่อุปทานที่มีอยู่นั้น อาจใช้ระยะเวลายาวนาน ทำให้การแทรกแซงนโยบายพลังงานภาครัฐในปัจจุบัน กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ .. การเปิดเหมือง หรือการปรับวางโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาด Clean Energy Infrastructure อาจใช้เวลานานกว่าทศวรรษ .. อย่างไรก็ตาม ด้วยนโยบายพลังงานภาครัฐที่ชัดเจน แน่วแน่ การสร้างโรงงาน หรือเพิ่มการดำเนินงานสำหรับเทคโนโลยีการผลิตแบบมวลรวมจำนวนมาก Mass-Manufactured Technologies เพื่อมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition นั้น อาจใช้เวลาเพียงประมาณ 1-3 ปี เท่านั้น ..
อย่างไรก็ตาม ตำแหน่งงานในภาคพลังงานสะอาดตามสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions : NZE Scenario นั้น คาดหมายว่าจะทะยานขึ้นจาก 33 ล้านตำแหน่ง เป็น 70 ล้านตำแหน่งงาน ในช่วงปี 2564-2573 ซึ่งชดเชยการสูญเสีย 8.5 ล้านตำแหน่งงานในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel – Related Sectors .. การสร้างบุคลากรจำนวนมากที่มีทักษะ คือ กุญแจสู่ความสำเร็จสำคัญในการบรรลุเป้าหมายเป็นศูนย์สุทธิ NZE Scenario .. ทั้งนี้ การขาดแคลนแรงงาน และทักษะในการขยายอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด Labour & Skills Shortages in Expanding Clean Energy Industries อาจกำลังสร้างปัญหาคอขวดอยู่บ้าง ซึ่งต้องการการกำกับดูแลที่เหมาะสม ..
การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงาน Energy Transition จากการบริโภคเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ไปเป็นการบริโภคแหล่งเชื้อเพลิงพลังงานสีเขียว Green Energy เป็นหลักในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาตินั้น จำเป็นต้องเร่งกระบวนการให้เร็วขึ้น จะปล่อยให้เกิดความชะงักงันขึ้นนั้นไม่ได้ .. เชื้อเพลิงจากแหล่งพลังงานทางเลือก Alternative Energy Sources ในระดับราคาที่ไม่แพงเกินไป สามารถทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ได้อย่างมีประสิทธิภาพในพื้นที่สำคัญ ๆ ที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง และภาคพลังงานในแต่ละประเทศดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยการเปลี่ยนระบบพลังงานรูปแบบรวมศูนย์ Centralize เดิมไปสู่รูปแบบกระจาย Decentralize ตั้งแต่บริการสาธารณะในระบบสาธารณูปโภค การขนส่งสาธารณะ และส่วนบุคคล ไปจนถึงความสะดวกสบายในสังคม ชุมชน และในครัวเรือน ..
ต้นทุนการจัดหาวัสดุแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals และแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals จากแหล่งผลิตที่หลากหลายต่าง ๆ และการรีไซเคิล Recycling พวกมันเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ รวมทั้งต้นทุนเทคโนโลยีสะอาด และราคาพลังงานสีเขียว Clean Technologies & Green Energy Cost ยังคงเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน ซึ่งพวกมันจะแพงเกินไปนั้นไม่ได้ .. อย่างไรก็ตาม แร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals และ Clean Technologies & Green Energy จะช่วยให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่เป็นนวัตกรรม และรูปแบบใหม่ของ Valued Chain การกระจายทางเศรษฐกิจ Redistribute Economic Power และการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีผู้คนเป็นศูนย์กลาง People-Centered Ways มากขึ้น ..
ทั้งนี้ ด้วยการลงทุนสำหรับการจัดหาแร่ธาตุหายาก Rare Earth Minerals และแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals รวมทั้งเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Energy Investment ที่เหมาะสมนั้น จะส่งผลให้ พลังงานสีเขียว Green Energy คือ แหล่งพลังงานเพียงแหล่งเดียวที่เปิดโอกาสให้ทุกประเทศในโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ได้รับอิสระภาพทางพลังงาน และไม่ตกเป็นทาสการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่เป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินลึกลงไปใต้เปลือกโลก หรือ Shale Gas & Shale Oil จากต่างประเทศที่ผูกขาดโดยเพียงบางชาติยักษ์ใหญ่เท่านั้นอีกต่อไป อันจะส่งผลให้ระบบพลังงาน Energy System ของแต่ละประเทศทั่วโลกจากนี้ไป จะได้ถูกปลดล็อคให้เป็นอิสระอย่างแท้จริง หมายถึง ความมั่นคงทางพลังงาน Energy Security จะได้รับการประกันเพื่อไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้สำเร็จในที่สุด ..
……………………………………
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Critical Materials | IRENA :-
Critical Minerals – The Key to Our Clean Energy Future | World Economic Forum :-
The Role of Critical Minerals in Clean Energy Transitions | Universidad Complutense Madrid :-
https://www.ucm.es/biore_wastes/file/the-role-of-critical-minerals-in-clean-energy-transitions
Study: Enough Rare Earth Minerals to Fuel Green Energy Shift | AP :-
In the Transition to Clean Energy, Critical Minerals Bring New Challenges to Energy Security | IEA :-
Key Market Trends / Critical Minerals Market Review 2023 | IEA :-
https://www.iea.org/reports/critical-minerals-market-review-2023/key-market-trends
Global Critical Mineral Raw Materials Market | Data Intelo :-
https://dataintelo.com/report/global-critical-mineral-raw-materials-market/
Net Zero Emissions Electricity :-
https://photos.app.goo.gl/EEjMKeZqJegVMpb16
The Renewable Energy & How to Save the World Documentary :-
https://goo.gl/photos/TusY3UndbtWjDfXx9
Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-