วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSSmart Grid โครงข่ายสายส่งอัจฉริยะระบบพลังงานสะอาด
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

Smart Grid โครงข่ายสายส่งอัจฉริยะระบบพลังงานสะอาด

Clean Renewable Energy Needs to Run on Smart Grids

“…ระบบอัจฉริยะด้านพลังงาน Energy Intelligence สำหรับการเปลี่ยนแปลงไปสู่โครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าที่เหนือชั้นกว่า กำลังได้รับการปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นอีก ..”

โครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grids ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล Digital Technologies และข้อไข Internet of Things : IoT Solutions เพื่อตอบสนอง และปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงบนโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า Electrical Grids อย่างชาญฉลาด .. การผสมผสานความฉลาดด้านพลังงาน Infusing Energy Intelligence เป็นประเด็นสำคัญในการใช้ประโยชน์จากการประมวลผลข้อมูลทั้งหมดบนโครงข่ายระบบสายส่งที่ช่วยให้การดำเนินงานของระบบพลังงานสะอาด Clean Energy System เชื่อถือได้ คุ้มค่า ยืดหยุ่น และปลอดภัยกว่า รวมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ..

Future Strategies for Data Center Smart Grid Integration / Renewable Energy Integration with Smart Grid  | Credit : TMR Blog

วิศวกรรมโครงการข่ายกริดอัจฉริยะ Smart Grid Engineering คือ กุญแจสำคัญในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพลังงานอย่างกว้างขวาง โดยถือเป็นโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าที่ทันสมัย Modernized Electrical Grid ซึ่งใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารในรูปแบบอะนาล็อก หรือดิจิทัล Analog or Digital Information & Communications Technologies : ICTs .. การขยายตัวสำหรับการใช้งานแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources รูปแบบกระจาย คือ แรงผลักดันสำคัญ เนื่องจากความพร้อมสำหรับเทคโนโลยีในการนำ Smart Grids มาใช้งาน และธรรมชาติที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่า รวมทั้งการประยุกต์ใช้โครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grids ในระบบพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy System นั้น มีแนวโน้มถูกประยุกต์ใช้งานทั่วโลกในวงกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ .. การผสมผสานนี้ ช่วยให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งถือเป็นความท้าทายสำคัญในปัจจุบัน และอนาคตระบบพลังงานจากนี้ไป ..

อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไป โครงข่ายระบบสายส่งกริดอัจฉริยะ Smart Grids หมายถึง เครือข่ายไฟฟ้า Electrical Networks ที่ฉลาดกว่าโครงข่ายระบบสายส่งรูปแบบดั้งเดิม Conventional Electrical Grids ซึ่งมีอายุการใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ .. Smart Grids ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีขั้นสูงอื่น ๆ เพื่อตรวจสอบ และส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าจากแหล่งผลิตไฟฟ้าทุกแหล่ง เพื่อตอบสนองความต้องการกำลังไฟฟ้าที่แตกต่างกันของผู้ใช้ปลายทาง รวมทั้งประสานความต้องการ และความสามารถของอุปกรณ์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Co-Ordinate the Needs & Capabilities of all Generators, ผู้ให้บริการโครงข่าย Grid Operators, ผู้ใช้ปลายทาง End Users และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในตลาดไฟฟ้า Electricity Market Stakeholders เพื่อใช้งานทุกส่วนของระบบพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ Efficiently as Possible, ลดต้นทุน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม Minimizing Costs & Environmental Impacts ..

ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือ Maximizing System Reliability, ความยืดหยุ่น Resilience รวมทั้งการบริหารจัดการด้วยความอ่อนตัว และเสถียรภาพ Flexibility & Stability บนระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าให้ไปถึงขีดจำกัดสูงสุดได้โดยใช้การคิดตัดสินใจจากคนให้น้อยที่สุด .. เทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องได้เติบโตเต็มที่แล้ว ดังนั้น การติดตามตรวจสอบการลงทุนจึงขึ้นอยู่กับระดับการใช้งานในพื้นที่รูปแบบกระจายที่กำลังเข้ามาทดแทนโครงข่ายระบบสายส่งรูปแบบรวมศูนย์ดั้งเดิมที่เก่าแก่ และล้าสมัย ..

สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ชี้ว่า การลงทุนในโครงข่ายอัจฉริยะทั่วโลก Global Investment in Smart Grids จำเป็นต้องเพิ่มขึ้นให้มากกว่า 2 เท่า จนถึงปี 2573 เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions : NZE ให้สำเร็จได้ ภายในปี 2593 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดเกิดใหม่ และประเทศกำลังพัฒนา Emerging Market & Developing Economies : EMDEs ..

นวัตกรรมที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล Innovative Digital Infrastructure กำลังโดดเด่นอย่างยิ่งบนโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า Electricity Grids ทั้งในด้านการกระจายส่งจ่าย Distribution และการส่งผ่าน Transmission ด้วยการลงทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 7% ในปี 2565 เมื่อเทียบกับปี 2564 ..

ภาคการกระจายส่งจ่าย Distribution Sector คิดเป็นประมาณ 75% ของการลงทุนทั้งหมดในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายระบบสายส่ง Grid-Related Digital Infrastructure ผ่านการเปิดตัวของมิเตอร์อัจฉริยะ Smart Meters และระบบอัตโนมัติของสถานีไฟฟ้าย่อย Automation of Substations, เครื่องป้อน Feeders, สายไฟ Lines และหม้อแปลงไฟฟ้า Transformers ผ่านการปรับใช้อุปกรณ์ตรวจจับเซ็นเซอร์ และอุปกรณ์เฝ้าตรวจ Sensors & Monitoring Devices ..

การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด Clean Energy Transitions ส่งผลให้ความต้องการพลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างมาก และการนำพลังงานหมุนเวียนที่ผันแปร Variable Renewables ไปใช้อย่างกว้างขวาง เช่น ลม และแสงอาทิตย์ Wind & Solar ส่งผลให้มีความต้องการระบบโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น Greater Demands on Power Grids .. เทคโนโลยีโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grid Technologies สามารถช่วยจัดการกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างยอดเยี่ยม ในขณะเดียวกันก็ลดความต้องการโครงสร้างพื้นฐานโครงข่ายระบบสายส่งใหม่ที่มีราคาแพง และยังช่วยให้เครือข่ายระบบสายส่ง Grid Networks มีความยืดหยุ่น Resilient และเชื่อถือได้ Reliable มากขึ้นอีกด้วย ..

โครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ หรือสมาร์ทกริด Smart Grid นั้น คือ ความฝันของการบริหารจัดการระบบพลังงานอย่างชาญฉลาด ..

สมาร์ทกริด Smart Grid คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า Electrical Grid ในศตวรรษที่ 20 โดยใช้การสื่อสาร 2 ทาง และอุปกรณ์อัจฉริยะรูปแบบกระจาย .. กระแสไฟฟ้า และการรับส่งข้อมูล 2 ทาง จะทำให้โครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า Power Grid สามารถปรับแต่ง และควบคุมการทำงานในเครือข่ายการผลิต การขายคืน และการส่งจ่ายกระจายกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมตามความต้องการของสถานการณ์ได้ใกล้เวลาจริง .. ปัจจุบัน การวิจัย และพัฒนาโครงข่ายระบบสายส่ง Power Grid มุ่งเน้นไปที่ระบบโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grid ใน 3 ระบบ ได้แก่ ระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบการจัดการ และระบบการป้องกัน ..

การบริหารจัดการพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนที่ผันแปร Variable Renewables ซึ่งกระจายกันอยู่ในระดับพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้นนั้น มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จนกระทั่งโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้ารูปแบบดั้งเดิม Conventional Power Grids ที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดนั้น ไม่สามารถรองรับการนำกำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานผันแปรหลาย ๆ แหล่งที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้เข้าสู่ระบบสายส่งได้อีกต่อไป ดังนั้น  การประยุกต์ใช้สมาร์ทกริด Smart Grid ในระบบพลังงานสะอาด Green & Clean Energy System จากนี้ไป จึงกลายเป็นความจำเป็นยิ่งยวดที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ..

Smart Grid / Exemplary Model of the Future Smart Grid – Automation in Electricity | Credit : Phoenix Contact

การหลอมรวมโครงข่ายระบบไฟฟ้าที่ผนวกแหล่งพลังงาน Energy Sources ที่ผันแปรในลักษณะนี้ ร่วมกับระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage แยกย่อยขนาดต่างๆ ในครัวเรือน ไปจนถึงระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ระยะทนยาว Long Duration Energy Storage บนระบบสายส่ง จะช่วยให้สามารถใช้พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewables ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับปัจจุบัน .. เอกสารทางวิชาการมากมาย พยายามตรวจสอบบทบาทของสมาร์ทกริด Smart Grid ในระบบพลังงานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ..

การกำหนดบทบาทของพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งแหล่งพลังงานรูปแบบกระจายอื่นๆ ทั้งหมดบนโครงข่ายระบบสมาร์ทกริด Smart Grids ด้วยแนวความคิดที่หลากหลาย และความพร้อมใช้งานของแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Sources, สูตรการคำนวณพลังงานตามแนวคิดสมาร์ทกริด และความเป็นไปได้กรณีศึกษาที่ดำเนินการโดยนักวิจัยต่างๆ ทั่วโลก คือ ประเด็นสำคัญ เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด Energy Transition ในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาตินั้น เกิดขึ้นได้จริงในชีวิตประจำวัน ..

การอภิปราย และข้อเสนอแนะในอนาคต และสุดท้ายข้อสรุปจากการศึกษา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ ได้มีการรวบรวม และตรวจสอบบทความจากแหล่งต่างๆ เช่น อินเทอร์เน็ต รายงานการประชุม และวารสารของ Elsevier, Springer, Tailor and Franacis, Wiley และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งสามารถสรุปตรงๆ ได้ว่า พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy : RE จะสามารถถูกนำมาใช้งานอย่างชาญฉลาด และมีประสิทธิภาพได้นั้น การประยุกต์ใช้ระบบสายส่ง Power Grid ที่ชาญฉลาดกว่า เช่น สมาร์ทกริด หรือโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grid คือ กุญแจสำคัญยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ .. อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีสมาร์ทกริด Smart Grid Technologies ยังเติบโตขึ้นได้อีกมาก และยังต้องการการวิจัยเพิ่มเติมในเรื่องเดียวกัน รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกันนี้ต่อเนื่องต่อไป ..

ระบบกริดกำลังไฟฟ้า Power Grid System ที่ยืดหยุ่น แข็งแรง และชาญฉลาด มีบทบาทสำคัญในการควบรวมตัวแปรหมุนเวียนต่างๆ เข้าด้วยกัน .. พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy : RE ที่ผันแปร มีต้นทุนลดลง และเติบโตอย่างรวดเร็วบนโครงข่ายระบบสายส่งแบบดั้งเดิม Conventional Electrical Grid ที่มีข้อจำกัดค่อนข้างมาก มันได้กลายเป็นเรื่องปกติที่เกิดมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกๆ ประเทศ .. ระบบไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Renewable Electricity, ความสนใจในการทำงานของโครงข่ายระบบสายส่ง Power Grids และการวางแผนเพื่อจัดวางโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้ารูปแบบกระจายที่ฉลาดกว่า More Intelligence Electrical Grids มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่นกัน ..

สมาร์ทกริด หรือโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grid และเทคโนโลยีของพวกมัน ได้เสนอทางเลือกใหม่สำหรับหลอมรวมตัวแปรที่เป็นการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียนที่ผันแปรไม่เสถียร แต่มิใช่ด้วยเทคโนโลยีที่เป็นไปได้เพียงอย่างเดียว ประเด็นที่สำคัญจริงๆ นั้น ภาครัฐ ยังคงจำเป็นต้องมีนโยบาย นวัตกรรม กฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง และรูปแบบทางธุรกิจ การสร้างแรงจูงใจ รวมทั้งการวางมาตรการภาครัฐอื่นๆ เพื่อประยุกต์ใช้สถาปัตยกรรมระบบกริดกำลังไฟฟ้า Smart Power Grid ยุคใหม่ไปพร้อมด้วย ..

การผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Electricity เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพลังงานที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน ในการเพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy เป็นอย่างน้อย 2 เท่าในส่วนผสมพลังงานโลกภายในปี 2573 .. หลักฐานที่เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ การนำกำลังผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เข้าสู่โครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้า มีความเป็นไปได้ทั้งทางเทคนิค และทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม Solar & Wind Power Technology มีต้นทุนลดลงอย่างมาก และพร้อมเข้าถึงความเท่าเทียมกันบนโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้ารูปแบบดั้งเดิมมากขึ้นในแง่เศรษฐกิจ ขณะที่ Integration Cost กลับมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ..

ดังนั้น โครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้ารูปแบบดั้งเดิม จะต้องฉลาดกว่านี้ รวมทั้งจะต้องสามารถรองรับการผลิต จัดเก็บ และการจำหน่ายแจกจ่ายกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources ในพื้นที่ให้บริการได้อย่างเพียงพอ .. ทั่วโลกทราบเป็นอย่างดีว่า โครงข่ายระบบสายส่งสมาร์ทกริด Smart Grids ได้กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ไปแล้ว ไม่มีข้อสงสัย ..

Power Grid / Understanding the Electrical Grid from Power Sources to Distribution Centers | Credit : Arcadia

ปัจจุบัน โครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้า Electrical Grids หรือ Power Grids ที่มีอยู่เดิม ได้รวมเอาองค์ประกอบ และตัวแปรต่างๆ ไว้บ้างแล้ว แต่ส่วนใหญ่จะใช้เพื่อสร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์ และอุปทานเท่านั้น .. ขณะที่ สมาร์ทกริด Smart Grids ได้ผสมผสานผนวกรวมเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร ICT เข้ากับทุกแง่มุมของการผลิตไฟฟ้า การจัดส่ง ขายคืน และการบริโภค เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ขยายตลาด ปรับปรุงความน่าเชื่อถือ และบริการ ลดต้นทุน และปรับปรุงประสิทธิภาพ ไว้พร้อมด้วย ซึ่งการผนวกรวมเข้าด้วยกันในลักษณะนี้นั้น จะส่งผลให้โครงข่ายระบบไฟฟ้าในภาพรวมชาญฉลาดขึ้นได้อีกมาก ..

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทยนั้น การเติบโตอย่างต่อเนื่อง และการขยายตัวของสัดส่วนพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy : RE บนระบบโครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้า Electrical Grid ทั้งแบบรวมศูนย์ และรูปแบบกระจาย จำเป็นต้องมีแนวทางใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงข่ายระบบสายส่ง Power Grid โดยใช้ “สมาร์ทกริด Smart Grid” และ “เทคโนโลยีสมาร์ทกริด Smart Grid Technology” อย่างเต็มที่ ..

ทั้งนี้ ถือเป็นความจำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากนโยบายภาครัฐ เอกชนที่มีศักยภาพ และประชาชนในฐานะผู้บริโภค .. การปลดล็อคการผูกขาดระบบสายส่งของไทย ถือเป็นความจำเป็นมาพร้อมด้วยเช่นกัน .. ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการกระจายสู่ชุมชน รวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม แต่จะต้องมิใช่ให้เกิดการมาถึงใหม่ของเอกชนรายใหญ่ที่เข้ามาผูกขาดแทนภาครัฐ เหมือนเช่นตัวอย่างที่เคยเกิดขึ้นแล้วในประเทศ เมื่อไทยได้ปลดล็อคการผูกขาดการผลิตกำลังไฟฟ้าออกจากภาครัฐในช่วงที่ผ่านมา เป็นต้น ..

นานาประเทศ ได้ประกาศระดมทุนใหม่จำนวนมาก เพื่อปรับปรุงโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าของตนให้ทันสมัย และเป็นดิจิทัล Modernize & Digitalize their Electricity Grids ..

ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีความก้าวหน้าที่โดดเด่นในการปรับใช้โครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grids, การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานแหล่งพลังงานสะอาด Clean Energy Sources, ลดการปล่อยคาร์บอน Reduce Carbon Emissions และการปรับเปลี่ยนจากระบบการควบคุมแบบรวมศูนย์ Centralized Control ไปสู่การควบคุมรูปแบบกระจาย Decentralized Control รวมทั้งมุ่งสู่การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions ในภาคพลังงาน Energy Sector ให้สำเร็จได้ ภายในสิ้นทศวรรษนี้ ..

ตัวอย่างในยุโรป พบว่า คณะกรรมาธิการยุโรป European Commission ได้นำเสนอแผนปฏิบัติการของสหภาพยุโรป EU Action Plan ด้วยกลยุทธ์ “การทำให้ระบบพลังงานเป็นดิจิทัล Digitalization of the Energy System” ตั้งแต่ปลายปี 2565 เป็นต้นมา ..

คณะกรรมาธิการยุโรป คาดว่า จะมีการลงทุนมูลค่าประมาณ 584 พันล้านยูโร หรือ 633 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า Electricity Grids ของยุโรปที่ชาญฉลาด ภายในปี 2573 ซึ่งในจำนวนนี้นั้น มูลค่า 170 พันล้านยูโร หรือ 184 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ จะเป็นเรื่องของการลงทุนเฉพาะสำหรับการแปลงให้เป็นระบบดิจิทัล เช่น มิเตอร์อัจฉริยะ Smart Meters, การบริหารจัดการระบบสายส่งอัตโนมัติ Automated Grid Management, เทคโนโลยีดิจิทัล Digital Technologies สำหรับการตรวจวัดค่า และการปรับปรุงการปฏิบัติงานภาคสนาม Field Operations ..

จีน ประกาศแผนงานที่จะปรับปรุง และขยายโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าให้ทันสมัย Modernize & Expand Its Power Grids ด้วยเงินลงทุน 442 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วย Smart Grid Technologies ในช่วงตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2568 ..

ญี่ปุ่น ก็เช่นกัน พวกเขา ได้ระดมทุนมูลค่ามากกว่า 155 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมการลงทุนในโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าอัจฉริยะ Smart Power Grids ..

ในปี 2565 ที่ผ่านมา อินเดีย ตามมาติดๆ ด้วยการเปิดตัวโครงการมูลค่า 3.03 ล้านล้านรูปี หรือประมาณ 38 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนบริษัทฯ จัดจำหน่ายไฟฟ้า และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานการส่งจ่ายกระจายกำลังไฟฟ้า Distribution Infrastructure ที่ฉลาดขึ้นด้วย Smart Grids ..

สหรัฐฯ เร่งดำเนินโครงการ Grid Resilience Innovative Partnership : GRIP ในปี 2565 พร้อมโอกาสในการระดมทุน 10.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการอัพเกรด และการขยายโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าอัจฉริยะ Smart Power Grids ทั่วสหรัฐฯ

นอกจากนี้ แคนาดา Canada ก็กำลังวางแผนงานลงทุนมูลค่ากว่า 100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผ่านโครงการสมาร์ทกริด Smart Grid Program เพื่อรองรับการปรับใช้เทคโนโลยีโครงข่ายอัจฉริยะ Deployment of Smart Grid Technologies และระบบบูรณาการอัจฉริยะ Smart Integrated Systems ไปพร้อมด้วย ..

สำหรับประเทศไทย แผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดของประเทศ พ.ศ.2558-2579 หรือ Thailand Smart Grid Development Master Plan ซึ่งเริ่มดำเนินการมาก่อนแล้วนั้น ได้ชี้ให้เห็นว่า ภาครัฐ มุ่งมั่นส่งเสริมให้เกิดการจัดหากำลังไฟฟ้าให้ได้อย่างเพียงพอ มีประสิทธิภาพ ยั่งยืน มีคุณภาพ บริการที่ดี และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ หากแต่การขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโครงข่าย Smart Grid ของประเทศไทยนั้น ยังถือว่าล่าช้า และไม่ใช่เรื่องง่าย พวกมันยังคงมีประเด็นปัญหาอยู่อีกมากที่จำเป็นต้องค่อยๆ แก้ไขปลดล็อคไปทีละประเด็นต่อไป ..

อย่างไรก็ตาม ระบบโครงข่ายสายส่งอัจฉริยะ Smart Grid System ได้กลายเป็นเรื่องสำคัญจำเป็นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทย .. เชื่อได้ว่า พวกมันจะทำให้ระบบส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าของไทย มั่นคง และมีประสิทธิภาพ โดยสามารถลดความต้องการโรงไฟฟ้าสำรอง ลดจำนวนเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ และลดการสูญเสียกำลังไฟฟ้าจากระบบสายส่งที่ต้องลากสายไฟฟ้าแรงสูงออกไปยาวไกล และระบบจำหน่ายส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี .. แนวคิดในการสร้างสรรค์ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีกว่า Smart Life พร้อมเทคโนโลยีการใช้พลังงานที่ชาญฉลาด และรักษ์โลก ด้วย Smart Appliances, การใช้รถยนต์ไฟฟ้า EVs มุ่งสู่ Green Society, ส่งเสริมสังคมพลังงานสีเขียวคาร์บอนต่ำ Green Energy & Low Carbon Society และเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบไฟฟ้ามากกว่า 30% รวมทั้งการพัฒนาระบบ Micro Grids ไปพร้อมด้วย เพื่อการพัฒนาระบบพลังงานอย่างยั่งยืนในชุมชน ท้องถิ่น และพื้นที่ห่างไกลนั้น คือ เป้าหมายหลักของชาติที่มุ่งให้ประสบผลสำเร็จได้ในที่สุด ..

ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนการดำเนินการเกี่ยวกับ Smart Grids ในประเทศไทย เดินหน้าไปได้อย่างราบรื่น ภาครัฐ จึงยกร่างแผนขับเคลื่อนการดำเนินงานด้าน Smart Grids ของประเทศไทย ระยะสั้น พ.ศ.2560-2564 ที่ผ่านมา โดยจัดทำโครงการนำร่องการพัฒนาระบบโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grid จังหวัดแม่ฮ่องสอน ขึ้นเป็นรูปแบบตัวอย่าง ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จใช้งานได้แล้วอย่างยอดเยี่ยม ..

โครงการ Smart Grid แม่ฮ่องสอน ต้นแบบการบูรณาการพลังงาน | Credit : กฟผ. /EGAT

สำหรับการพัฒนาระบบสมาร์ทกริด จ.แม่ฮ่องสอน นั้น ถือเป็นโครงการนำร่องตัวอย่างที่ กฟผ.มุ่งการบูรณาการระบบผลิตไฟฟ้าจากหลายแหล่งด้วยข้อจำกัดของจังหวัดแม่ฮ่องสอนแต่เดิมที่ไม่มีทั้งระบบผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ และไม่มีสายส่งแรงดันสูงของ กฟผ.มาก่อน โดยกำลังไฟฟ้าที่ใช้สำหรับ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน จะได้มาจาก 5 แหล่งพลังงานหลัก เพื่อตอบสนองความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ใน อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอนที่มีอยู่ประมาณไม่เกิน 13 MW ได้แก่ :-

1.ระบบสายส่งไฟฟ้าส่วนภูมิภาคขนาด 115 KV และ 22 KV ของ กฟผ. ..

2.โรงไฟฟ้าพลังเซลล์แสงอาทิตย์ผาบ่อง กำลังผลิตติดตั้งขนาด 0.5 MW ซึ่งโครงการฯ จะขยายกำลังผลิตเพิ่มเป็น 3.5 MW ..

3.โรงไฟฟ้าพลังน้ำแม่สะงา กำลังผลิตติดตั้ง 10.34 MW ซึ่งกำลังผลิตจริงขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำในเขื่อน ..

4.โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเขื่อนผาบ่อง กำลังผลิตติดตั้ง 0.85 MW ซึ่งทาง พพ. มีแผนที่จะเพิ่มกำลังผลิตเป็น 2 MW ..

5.โรงไฟฟ้าดีเซลขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 4.4 MW ..

จุดเด่นที่น่าสนใจของโครงการนำร่องสมาร์ทกริดแม่ฮ่องสอน คือ ระบบควบคุมที่ออกแบบโดย กฟผ. ซึ่งจะทำหน้าที่จัดเก็บ และรวบรวมข้อมูลในด้านต่างๆ อาทิ ความสามารถในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่กระจายอยู่ จ.แม่ฮ่องสอน ตลอดจนขีดความสามารถของระบบจำหน่ายของ กฟผ.ในการส่งจ่ายไฟฟ้า และพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ ระบบจะรับรู้ข้อมูลสถานะต่างๆ มากขึ้น และนำข้อมูลมาใช้ในการตัดสินใจสั่งการให้แต่ละส่วนทำงานร่วมกันอย่างมีเสถียรภาพเป็นอัตโนมัติ ..

ในขณะเดียวกัน ระบบควบคุม ก็จะทำหน้าที่เหมือนสมองกลอัจฉริยะที่คอยประมวลผลการทำงานของระบบผลิต ส่ง และจ่ายกำลังไฟฟ้า โดยแบ่งหน้าที่การทำงานเป็น Micro-Energy Management System : Micro-EMS หรือระบบการจัดการพลังงาน ซึ่งดูแลทางด้านการผลิตกำลังไฟฟ้า จะทำหน้าที่สื่อสารกับระบบจำหน่าย หรือ Distribution Management System : DMS ของ กฟผ. ซึ่งดูแลทางด้านผู้ใช้ไฟฟ้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า และลดการสูญเสียในระบบไฟฟ้าในกรณีที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ผนวกรวมเข้ามาในระบบไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นในอนาคต .. ทั้งนี้ ระบบสมาร์ทกริดแม่ฮ่องสอน ยังถือเป็นเครือข่ายระบบไฟฟ้าย่อย Micro Grids ที่ปกติจะเชื่อมต่ออยู่กับระบบไฟฟ้าหลัก 115 KV หรือสำรอง 22 KV ที่ส่งจ่ายเข้าสู่ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน หรือสามารถแยกตัวเป็นอิสระได้เมื่อระบบไฟฟ้าหลักมีปัญหา ..

อย่างไรก็ตาม การพัฒนาโครงข่ายระบบสายส่ง Power Grids ภาพรวมของไทยในอีกไม่นานนี้ คาดหมายได้ว่า สมาร์ทกริด Smart Grid และสมาร์ทไมโครกริด Smart Micro Grid กำลังแสดงบทบาทสำคัญในท้องถิ่น ชุมชนขนาดเล็กลงไป .. พวกมันยังไม่อาจเข้ามาแทนที่โครงข่ายระบบสายส่งแบบดั้งเดิมทั้งหมดได้ แต่มันฉลาดกว่า และกำลังเป็นที่นิยมอย่างสูง .. ระบบเครือข่ายโรงฟ้าเสมือนจริง Virtual Power Plant : VPP รูปแบบกระจาย และระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ระยะทนยาว Long Duration Energy Storage System รวมทั้งการพัฒนาแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียน ซึ่งถือเป็นแหล่งพลังงานผันแปรนั้น มีต้นทุนลดลงไปอย่างมาก แต่ Integration Cost เพื่อนำกำลังไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งกลับเพิ่มขึ้น สวนทางกับความต้องการทางสังคม ..

ดังนั้น การดำเนินนโยบาย และการลงทุนภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grid อย่างจริงจัง จึงถือเป็นเรื่องจำเป็นที่ขาดไม่ได้ รวมทั้งการปลดล็อคการผูกขาดระบบสายส่งของภาครัฐ จะส่งผลให้ระบบ Smart Grid & Smart Micro Grid จากภาคเอกชน เติบโตขึ้นได้อย่างรวดเร็ว กระจายสู่ชุมชน และท้องถิ่น ด้วยต้นทุนรวมที่ลดลงได้ รวมถึงการเข้าถึงกำลังไฟฟ้าของประชาชนชาวไทยในพื้นที่ห่างไกล ตามแผนงานของภาครัฐเองนั้น ก็จะประสบความสำเร็จ และเป็นไปได้ ..

คาดการณ์ตลาดโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะทั่วโลก Global Smart Grid market ..

ขนาดธุรกิจในตลาดโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะทั่วโลก Global Smart Grid Market มีมูลค่า 30.6 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2563 และคาดว่าจะสูงถึง 162.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 ทั้งนี้ คาดหมายว่า อัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะทั่วโลก Global Smart Grid Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR ที่ 18.2% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ปี 2564-2573 ..

ตลาดโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะทั่วโลก Global Smart Grid Market ได้รับแรงผลักดันจากกรอบการกำกับดูแลที่ดีของรัฐบาลของประเทศต่างๆ ที่สนับสนุนการใช้งานโครงข่ายระบบสายส่งที่ชาญฉลาดในกรอบการกำกับดูแลของภาครัฐ การสนับสนุนการดำเนินงานของเอกชน และกำหนดการติดตั้งโครงข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอัจฉริยะ Installation of Smart Power Grids โดยเผยแพร่ความตระหนักรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ .. ทั้งนี้ กริดอัจฉริยะ Smart Grids นั้น สามารถตรวจจับข้อผิดพลาดในเครือข่ายได้ และสามารถรักษาข้อผิดพลาดในเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติ ..

ดังนั้น การส่งจ่ายกำลังไฟที่มีประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือ Efficient Power Supply & Reliability ที่นำเสนอโดย Smart Grids จึงคาดว่าจะสร้างโอกาสที่น่าประทับใจให้กับระบบเศรษฐกิจ และภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในอนาคต .. นอกจากนี้ ความกังวลที่เพิ่มขึ้นที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสิ่งแวดล้อมกำลังส่งเสริมการเติบโตของตลาดโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะทั่วโลก Global Smart Grid Market เนื่องจาก พวกมันให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการบริโภค และการอนุรักษ์พลังงานที่เหนือชั้นกว่าระบบสายส่งรูปแบบดั้งเดิม .. การลงทุนที่เพิ่มขึ้นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าดิจิทัล กำลังขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดทั่วโลก เทคโนโลยีสมาร์ทกริด Smart Grid Technologies ยังส่งเสริมการใช้มิเตอร์อัจฉริยะ Smart Meters, อุปกรณ์ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle Chargers และเทคโนโลยีสมาร์ทกริดอื่น ๆ อีกมากมาย Various Other Smart Grid Technologies ซึ่งมีส่วนช่วยในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grid Infrastructure จากนี้ไป ..

Smart Grid Market Size 2020 to 2030 | Credit : Precedence Research

ความพยายามที่เพิ่มขึ้นในการควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอน และพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทน และยั่งยืนกำลังส่งเสริมการนำเทคโนโลยีโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grid Technologies มาใช้ นอกจากนี้ ความต้องการพลังงานยังเพิ่มขึ้น และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของการใช้รถยนต์ไฮบริด และรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก การจัดหาพลังงานที่ผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่ควบรวมกิจการ และประเทศด้อยพัฒนา คือ ปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ..

การใช้โครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grids สามารถแก้ไขปัญหาการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าที่ผิดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ แผนงานของรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ Smart Cities นั้น คาดว่าจะช่วยขับเคลื่อนการเติบโตของตลาดโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grid Market  .. ความคิดริเริ่มของภาครัฐ และเอกชนที่เพิ่มขึ้นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่ง Develop Strong Infrastructure และความคิดริเริ่มที่เพิ่มขึ้นเพื่อความก้าวหน้าไปสู่การใช้พลังงานไฟฟ้าในพื้นที่ชนบท และพื้นที่ห่างไกล กำลังผลักดันการนำ Smart Grids มาใช้ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเติบโตของตลาดโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะทั่วโลก Global Smart Grid Market  ..

ทั้งนี้ สำหรับตลาดโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะขนาดเล็กย่อยลงไปที่เรียกว่า ไมโครกริด Microgrid นั้น พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดไมโครกริดทั่วโลก Global Microgrid Market มีมูลค่าอยู่ที่ 30.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และคาดว่าจะพุ่งสูงขึ้นแตะระดับประมาณ 168.64 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในสิ้นปี 2575 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate อยู่ที่ค่า CAGR 18.7% ในช่วงเวลาที่คาดการณ์ ปี 2566-2575 ..

ไมโครกริดอัจฉริยะ Smart Microgrids คือ ระบบพลังงานแบบพอเพียง Sufficient Energy System อีกประเภทหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก .. พวกมัน คือ Smart Grids ขนาดเล็กแยกย่อยลงไปที่น่าสนใจอย่างยิ่งนั่นเอง ..

เพื่อตอบสนองต่อข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อม บริษัทผู้ผลิตจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ดำเนินการผลิตพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Production ในสถานที่ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการจัดหาพลังงานของตนเอง ตามแนวทางการพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด เพื่อให้สามารถใช้พลังงานอย่างพอเพียง และเป็นอิสระจากซัพพลายเออร์ระบบพลังงานไฟฟ้ารูปแบบดั้งเดิม ..

ข้อค้นพบสำคัญสำหรับความต้องการระบบพลังงานแบบพอเพียง Sufficient Energy System ที่เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้ ไมโครกริด Microgrids กลายเป็นหนึ่งในข้อไขสำคัญ และเมื่อพวกมันฉลาดขึ้นอีก รวมทั้งครอบคลุมพื้นที่มากขึ้น Microgrids ก็จะกลายเป็น Smart Grids หรือหมายถึง Smart Grids ก็คือ การหลอมรวม Microgrids อย่างชาญฉลาดที่กระจายอยู่ในพื้นที่นั่นเอง ในขณะที่คาดหมายว่า บทบาทของเครือข่ายระบบสายส่งหลักรูปแบบดั้งเดิม กำลังลดลงเรื่อย ๆ อย่างมาก .. การลงทุนในตลาดโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า Investment in Power Grids จากนี้ไป พบว่า Smart Grids และ Microgrids กำลังจะกลายเป็นทางเลือกที่น่าเชื่อถือกว่า และมีต้นทุนลดลง พร้อม ๆ กับเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือน VPP จากแหล่งพลังงานรูปแบบกระจาย Distributed Energy Resources : DERs ..

ซึ่งทั้งหมดนั้น หมายถึง ระบบการผลิตพลังงานที่อ่อนตัว และพอเพียง Energy Flexibility & Energy Self-Sufficient Manufacturing System ที่ประสบความสำเร็จ .. มนุษยชาติ จะสามารถเปลี่ยนผ่านจากการพึ่งพาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel Sources ไปสู่การใช้แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources เป็นหลักที่สะอาดกว่า เชื่อถือได้ และพอพียง เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคมได้อย่างมั่นใจจากนี้ไป ..

สรุปส่งท้าย ..

การหลอมรวม Integration ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร Information & Communication Technology : ICT เทคโนโลยีระบบเซ็นเซอร์ Sensor Technology และเทคโนโลยีการควบคุมอัตโนมัติ Automation Control Technology เพื่อให้ โครงข่ายระบบสายส่งที่ฉลาด Electrical Smart Grid or Grid Intelligence เข้ากับทรัพยากรที่เป็นพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังหมุนเวียน Renewable Energy และระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ Utility-Scale Energy Storage รวมถึงการเชื่อมต่อแหล่งผลิตไฟฟ้าแบบกระจาย Distributed Generation of Electricity หรือ เครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือนจริง Virtual Power Plant : VPP ไว้ด้วย จะช่วยให้ผู้ประกอบการ ผู้ให้บริการ มีระบบบริหารจัดการพลังงาน Energy Management System : EMS ที่มีประสิทธิภาพ สามารถจัดหา จัดส่ง และกระจายกำลังไฟฟ้าสู่ครัวเรือน ชุมชน ท้องถิ่น เมือง ผู้บริโภค และผู้รับบริการ จากแหล่งพลังงานที่เชื่อถือได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีต้นทุนต่ำกว่านั้น เป็นไปได้ และมันได้กลายเป็นความจำเป็น ..

ประเด็นการผูกขาดโครงข่ายระบบสายส่งรูปแบบดั้งเดิม Conventional Electrical Grids ที่มีอายุการใช้งานเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ของประเทศไทยนั้น กำลังจะกลายเป็นประเด็นสำคัญในการถกเถียงกันจากนี้ไป เนื่องเพราะ การผูกขาดรวมศูนย์ของระบบสายส่ง Monopoly on the Transmission Line Networks อาจเป็นอุปสรรคต่อการลดต้นทุน โดยเฉพาะต้นทุนการผนวกรวมระบบ Integration Cost หรือค่าใช้จ่ายในการนำกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทางเลือกที่ผันแปรเข้าสู่ระบบสายส่ง และเป็นประเด็นปัญหาต่อการดำเนินนโยบายภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการกระจายการควบคุม กระจายการปฏิบัติในการผลิต จัดหา จัดเก็บ แจกจ่ายกำลังไฟฟ้า และการวางเครือข่ายโรงไฟฟ้าเสมือน Virtual Power Plant : VPP ไปสู่ท้องถิ่น ชุมชน ภาคประชาชน บริษัทเอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือแม้แต่นิติบุคคลใด ๆ เช่น ส่วนราชการขนาดใหญ่ที่มีศักยภาพ ดังนั้น การผูกขาดรวมศูนย์ระบบสายส่ง อาจต้องถูกปลดล็อคไปในที่สุด ..

เทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Technologies มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีต้นทุนลดลง ไม่ว่าจะเป็น เช่น เซลล์แสงอาทิตย์ กังหันลม แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน พลังงานชีวภาพ แบตเตอรี่ลิเธี่ยม ระบบจัดเก็บพลังงาน รวมทั้งตัวเก็บประจุยิ่งยวด เป็นต้น .. การบริหารจัดการพลังงานทั่วทั้งระบบในพื้นที่ให้บริการ ด้วยฐานข้อมูลดิจิตอลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล 2 ทางในระบบสายส่ง ระหว่างผู้ให้บริการ กับหน่วยผู้รับบริการแยกย่อยไปจนถึงครัวเรือนผู้บริโภคนั้น ทำให้เกิดรูปแบบการผลิต และการจำหน่ายกระจายกำลังไฟฟ้า การขายคืน และโครงข่ายระบบสายส่งรูปแบบใหม่ๆ ที่ฉลาดขึ้นมาก ..

Smart Grid | Credit : The Economist

ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาระบบพลังงานยุคใหม่ New Energy System มีอยู่อย่างน้อย 4 ประการที่ถือเป็นแรงขับทางเศรษฐกิจและสังคมที่สำคัญไปสู่อนาคตพลังงานสะอาด Future Clean Energy ได้แก่ การขับเคลื่อนสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล Digitalization, การขับเคลื่อนสู่การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ Decarbonization, การขับเคลื่อนสู่การผลิตพลังงานรูปแบบกระจาย Decentralization และการขับเคลื่อนสู่การผ่อนปรน กฎเกณฑ์ กฎระเบียบ ทางพลังงาน De-Regulation ..

ปัจจุบัน พลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และ พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy ได้เข้ามาเป็นตัวแปรที่สำคัญต่อภาคพลังงานเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ในภาพรวมบริบทของพลังงานทางเลือก พลังงานหมุนเวียน ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นทั้งแง่ของบทบาท ทิศทางของการเติบโต ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ตลอดจนในมิติของต้นทุนราคา ซึ่งบริบทดังกล่าวนี้ ย่อมสร้างผลกระทบทั้งเชิงบวก และเชิงลบต่อภาคการผลิตกำลังไฟฟ้าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งเป็นประเด็นหลักสำคัญที่ภาครัฐ และผู้กำกับดูแลระบบไฟฟ้าทั่วโลกให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ..

แนวโน้มการปรับปรุงโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าให้ฉลาดขึ้น หรือการติดตั้งโครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grid โดยรับกำลังไฟฟ้าหลักจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน ที่กระจายอยู่หลาย ๆ แหล่ง หรือจากแหล่งพลังงานรูปแบบแยกย่อยในครัวเรือน พร้อมระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ รวมทั้งการขยายตัวของระบบ Micro Grids ที่เล็กลงไปแบบกระจายนั้น พบสัญญาณของการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยความเร่ง และจากนี้เป็นต้นไป คาดหมายได้ว่า โครงข่ายระบบสายส่งอัจฉริยะ Smart Grid กำลังกลายเป็นมาตรฐาน โอกาสทางธุรกิจ และทิศทางหลักการพัฒนาด้านพลังงานสะอาดในอนาคตของทั่วโลกได้ในที่สุด ..

………………………………………….

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Smart Grid | IEA :-

https://www.iea.org/energy-system/electricity/smart-grids

Role of smart grid in renewable energy: An overview | Science Direct :-

https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1364032116002148

What is a Clean Energy Grid and What are the Key Issues? :-

The Future of Energy is Systemic, Open & Collaborative – and Runs on a Smart Grid | World Economic Forum :-

https://www.weforum.org/agenda/2022/12/the-future-of-smart-energy-is-systemic-open-and-collaborative/

Smart Electrical Grid | Clean Energy Institute :-

The Global Smart Grid Market | Precedence Research :-

https://www.precedenceresearch.com/smart-grid-market

The Renewable Energy & How to Save the World Documentary :-

https://goo.gl/photos/TusY3UndbtWjDfXx9

Electrical Grid or Power Grid | Promising Growth Opportunities :-

https://photos.app.goo.gl/MqnPc2Mw14MWDqyy8

Smart Grid : Grid Integration | Redefining What’s Possible for Renewable Energy : Grid Integration :-

https://photos.app.goo.gl/mbPfPsr1tg3oXSmN6

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img