New Method to Convert Plastic Trash into Clean Hydrogen Fuel
“….ขยะพลาสติก Plastic Waste ที่มีบรรจุภัณฑ์อาหารปนเปื้อน โฟม และถุงพลาสติก คือ สิ่งที่ท้าทายในการรีไซเคิล…”
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง Nanyang Technological University : NTU Singapore ประเทศสิงคโปร์ ได้พัฒนาวิธีการใหม่ในการเปลี่ยนขยะพลาสติก Plastic Wastes ให้เป็นไฮโดรเจน Hydrogen : H2 โดยใช้กระบวนการไพโรไลซิสทางเคมีซึ่งใช้อุณหภูมิสูง Pyrolysis in High Temperature Chemical Process ..
แตกต่างจากขวดพลาสติก PolyEthylene Terephthalate : PET Plastic Bottles ที่รีไซเคิลได้ง่าย ขยะพลาสติก Plastic Waste ที่มีบรรจุภัณฑ์อาหารปนเปื้อน โฟม และถุงพลาสติก คือ สิ่งที่ท้าทายในการรีไซเคิล Challenging to Recycle .. ปัจจุบันพวกมันส่วนใหญ่จบงานด้วยการเผา หรือถูกฝังในหลุมฝังกลบ ทำให้เกิดมลพิษทั้งทางอากาศ น้ำ และพื้นดิน .. อย่างไรก็ตาม ด้วยการใช้กระบวนไพโรไลซิส Pyrolysis นั้น ขยะพลาสติก Plastic Waste สามารถเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์หลัก 2 ชนิด ได้แก่ ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และคาร์บอนในรูปของแข็งที่เรียกว่า ท่อนาโนคาร์บอน Carbon Nanotubes .. ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 มีประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้า และให้พลังงานแก่เซลล์เชื้อเพลิงเช่นเดียวกับที่พบในรถยนต์ไฟฟ้า EVs โดยมีน้ำสะอาดเป็นเพียงผลพลอยได้สุดท้ายเท่านั้น ..
เพื่อปรับแต่งวิธีการแปลงใหม่เพิ่มเติม และเพื่อประเมินความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ ทีมวิจัยกำลังทำการทดสอบใน NTU Smart Campus เพื่อบำบัดขยะพลาสติกในพื้นที่ โดยร่วมมือกับ Bluefield Renewable Energy บริษัทด้านสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้าน Mobile Waste to Resources Technologies ..
ตัวอย่างการแปลงขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจน Convert Plastic Trash into Clean Hydrogen Fuel อีกตัวอย่างหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น พบว่า พวกเขากำลังทดสอบระบบเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell System ขนาด 100 KW ในกรุงโตเกียว .. ระบบนี้ใช้ไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Green Hydrogen และไฮโดรเจนจากขยะพลาสติกเหลือทิ้ง Waste Plastic Hydrogen เพื่อให้ความร้อนแก่อาคารโรงงานอุตสาหกรรม .. การสาธิตนี้ มีเป้าหมายเพื่อสร้างรูปแบบการใช้พลังงานไฮโดรเจนในชุมชนเมือง Urban Hydrogen Energy Utilization Model ที่รวมแหล่งไฮโดรเจนในท้องถิ่น และทั่วโลกไว้พร้อมด้วย เป็นต้น ..
การผลิต และการใช้พลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา ได้สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ให้กับโลก .. ปัจจุบัน พลาสติกส่วนใหญ่จำนวน 4.9 พันล้านตันที่เคยผลิตจะจบลงด้วยการเผา ฝังกลบ หรือปล่อยทิ้งแขวนลอยไว้ในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และคาดว่า จำนวนขยะพลาสติกที่สร้างปัญหาเหล่านี้ จะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 12 พันล้านตัน ภายในปี 2593 ..
จากความร่วมมือกับนักวิชาการมหาวิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ ในสหราชอาณาจักร จีน และซาอุดีอาระเบีย นักวิจัยในกลุ่ม Edwards/Xiao จากภาควิชาเคมีของอ็อกซ์ฟอร์ด Oxford’s Department of Chemistry ได้พัฒนาวิธีการเปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นก๊าซไฮโดรเจน Converting Plastic Wastes into Hydrogen Gas ซึ่งสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสะอาด Clean Fuel และคาร์บอนแข็งมูลค่าสูง High-Value Solid Carbon สิ่งนี้ประสบความสำเร็จด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดใหม่ New Type of Catalysis ที่พัฒนาโดยกลุ่มซึ่งใช้ไมโครเวฟ Microwaves เพื่อกระตุ้นอนุภาคตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อแยกไฮโดรเจน H2 ออกจากโพลิเมอร์ Strip Hydrogen from Polymers ได้อย่างมีประสิทธิภาพ .. เทคโนโลยีใหม่นี้ เรียกว่า Microwave Catalysis Technology ซึ่งหมายถึง กระบวนการที่สามารถนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจน Hydrogen Fuel และคาร์บอน Carbon ที่ใช้งานได้นั่นเอง ..
การค้นพบนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Catalysis ให้รายละเอียดว่า กลุ่มนักวิจัย ผสมอนุภาคพลาสติกจากขยะพลาสติกที่บดผนวกรวมไปกับตัวเร่งปฏิกิริยาของเหล็กออกไซด์ Iron Oxide : Fe2O3 or Fe3O4 และอลูมิเนียมออกไซด์ Aluminium Oxide : Al2O3 ด้วยกลไกที่ถูกกระตุ้นด้วยคลื่นไมโครเวฟ Microwave ในกระบวนการไพโรไลซิส Pyrolysis Process ในลักษณะคล้ายกระบวนผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง Fuels และพลังงานชีวภาพ Bioenergy รูปแบบต่าง ๆ จากขยะพลาสติก Plastic Waste .. ทั้งนี้ สิ่งที่ต่างออกไป คือ ส่วนผสมที่กล่าวถึงนั้น จะถูกนำไปจัดการด้วยกระบวนการ Catalytic Microwave Pyrolysis ให้ได้มาซึ่งก๊าซไฮโดรเจนในปริมาณมาก Large Volume of Hydrogen Gas รวมทั้งวัสดุคาร์บอนที่เหลือ ซึ่งส่วนใหญ่ระบุว่า คือ ท่อนาโนคาร์บอน Carbon Nanotubes ที่มีมูลค่าสูง ..
บริษัท CarbonMeta Technologies กำลังนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ที่ก้าวล้ำในเชิงพาณิชย์ซึ่งเรียกว่า “การเร่งปฏิกิริยาด้วยคลื่นไมโครเวฟ Microwave Catalysis” จากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด University of Oxford และบริษัทฯ กำลังวางแผนที่จะแปรรูปขยะพลาสติกในปริมาณมาก Waste Plastic at Scale in Custom ในเครื่องอุปกรณ์ไมโครเวฟ Microwave Machines ที่ออกแบบขึ้นเอง ซึ่งจะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงสำหรับภาคอุตสาหกรรมในอนาคตจากนี้ไป ..
ขยะพลาสติก Waste Plastic จำนวน 1 เมตริกตัน Metric Ton ผสมกับตัวเร่งปฏิกิริยาผงเหล็ก Iron Powder Catalyst จำนวน 200 Kg สามารถเลือกนำไปผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ได้เพียงพอ เพื่อให้ความร้อนแก่บ้านประมาณ 200 หลังคาเรือน และสามารถผลิตกราไฟต์ Graphite และท่อนาโนคาร์บอน Carbon Nanotubes ได้อีกอย่างน้อย 900 Kg ซึ่งสามารถใช้เป็นวัตถุดิบในการสร้างเทคโนโลยีชุดแบตเตอรี่สำหรับจ่ายพลังงานบนยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย ..
ทั้งนี้ การแปรรูปขยะพลาสติก Transforming Waste Plastic ปริมาณ 1 ตัน ด้วยเทคโนโลยีเร่งปฏิกิริยาด้วยคลื่นไมโครเวฟ Microwave Catalysis เพื่อผลิตก๊าซไฮโดนเจน Hydrogen : H2 นี้ อาจใช้เวลาเฉลี่ยเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น โดยวัสดุจะมีอุณหภูมิสูง 600oC หรือมากกว่า ..
การจัดการขยะพลาสติก Plastic Wastes ด้วยการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง เช่น ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel นั้น คือ ความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในอนาคตอันใกล้ ..
ปัญหาขยะพลาสติก Plastic Wastes และสารอินทรีย์เหลือทิ้ง Organic Material Wastes กลายเป็นประเด็นระดับโลกที่ผู้คนต่างคำนึงถึง โดยเฉพาะปัญหาไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อม Microplastics in the Environment รวมทั้งปนเปื้อนอยู่ในทะเล อาจส่งผลกระทบร้ายแรง ในประเด็นห่วงโซ่อาหาร กลับมาทำร้ายมนุษยชาติ ..
การจัดการกับขยะพลาสติก Plastic Wastes Management มี 2 แนวทางใหญ่ ได้แก่ การรีไซเคิล กับการนำพวกมันมาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้น เพื่อผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Syngas & e-Fuel .. ทั้งนี้ ด้วยข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ พบว่า การรีไซเคิล Recycling จะเทียบไม่ได้เลยกับการนำขยะพลาสติก Plastic Wastes มาเปลี่ยนให้เป็นแหล่งพลังงาน Energy Sources ซึ่งแนวทางการแปลงขยะพลาสติก Plastic Wastes ให้เป็นไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel & Gas เหล่านี้ ได้รับการคาดหมายว่า กำลังจะกลายเป็นนโยบายภาครัฐสำคัญของนานาประเทศทั่วโลกในที่สุดจากนี้ไป ..
การรีไซเคิลขยะพลาสติก Plastic Wastes Recycling เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์พลาสติกอีกครั้งนั้น มิใช่เรื่องง่าย และยังไม่ตอบโจทย์ เนื่องจากยังคงมีขยะพลาสติกส่วนเกิน ส่วนเหลือ และส่วนที่ทำรีไซเคิลไม่ได้ อีกเป็นจำนวนมาก และมากกว่าส่วนที่รีไซเคิลได้กว่า 20 เท่าอีกต่างหาก สุดท้ายไปลงเอยที่กระบวนการฝังกลบ จึงถือว่า การจัดการขยะพลาสติกด้วยการรีไซเคิลนั้น ยังไปไม่ถึงสุดทาง กระบวนการจึงยังไม่จบ ปัญหาไมโครพลาสติกปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม จึงยังไม่ได้รับการแก้ไข ..
ดังนั้น การปรับเปลี่ยนแนวทางหลักในการจัดการขยะพลาสติก Plastic Wastes Management และขยะชีวมวลด้วยการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงรูปแบบต่าง ๆ เช่น ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 หรือเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel & Gas อาจกลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในอนาคตอันใกล้ เพื่อจบกระบวนการจัดการขยะพลาสติก Plastic Wastes ไปให้สุดทาง ซึ่งภาครัฐสมควรยกระดับกำหนดให้ “การเปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิง Waste to Fuels” เป็นแนวทางหลักในระดับนโยบายภาครัฐ มิใช่เป็นเพียงหนึ่งในกลยุทธ์เท่านั้น เพราะมันสำคัญต่อคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง ..
ขณะที่นานาประเทศกำลังเตรียมแผนงานยกเลิกการพึ่งพาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ในระบบเศรษฐกิจและสังคมของพวกเขาด้วยความมุ่งมั่น การแปลงขยะพลาสติกเป็นเชื้อเพลิงที่มีศักยภาพ เช่น ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 หรือเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel & Gas ซึ่งคาดว่าจะทำให้เกิดงานใหม่มากกว่า 39,000 ตำแหน่ง และผลผลิตทางเศรษฐกิจ อย่างน้อยเกือบ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี .. เทคโนโลยี และวิธีการใหม่นี้ อาจมีต้นทุนถูกกว่าวิธีการรีไซเคิล ซึ่งปัจจุบัน ขยะพลาสติก Plastic Wastes เพียง 5% เท่านั้นที่เข้ากระบวนรีไซเคิล Recycling ได้จริงๆ รวมทั้งการรีไซเคิลถุงพลาสติก และขยะพลาสติก 1 ตัน อาจมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 4,000 เหรียญสหรัฐฯ และสุดท้ายมักจะนำไปสู่การเผา หรือทิ้งลงในหลุมฝังกลบเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่สูงลิ่วเหล่านี้ ..
การรีไซเคิลทางเคมี Chemical Recycling เพื่อผลิตเชื้อเพลิงไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel & Gas หรือใช้ในอุตสาหกรรมเคมีนั้น ดำเนินการได้ง่ายกว่ามาก เมื่อทำให้ทุกอย่างร้อนขึ้นที่อุณหภูมิสูงโดยไม่จำเป็นต้องแยกขยะพลาสติกล่วงหน้า ..
เทคนิคการแปลงขยะพลาสติก Plastic Wastes และชีวมวล Biomass ให้เป็นแหล่งพลังงาน Energy Sources นั้น มีอยู่อย่างหลากหลายด้วยเทคนิค และวิธีการต่างๆ มากมาย .. หนึ่งในกระบวนการที่นิยมมากที่สุดในการแปลงขยะพลาสติก Plastic Wastes ให้เป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ได้แก่ เทคโนโลยีการกระตุ้นด้วยคลื่นไมโครเวฟ Microwave ในกระบวนการไพโรไลซิส Pyrolysis Process ที่เรียกว่า Microwave Catalysis Technology .. เทคนิคนี้ ต้องการความร้อนอุณหภูมิสูงมาก วัสดุถูกแยกสลายออกจากกัน ซึ่งช่วยให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยอดเยี่ยม ..
ทั้งนี้ การแปรรูปขยะพลาสติก Transforming Plastic Wastes ปริมาณ 1 ตัน ด้วยเทคโนโลยีเร่งปฏิกิริยาด้วยคลื่นไมโครเวฟ Microwave Catalysis เพื่อผลิตก๊าซไฮโดนเจน Hydrogen : H2 สำหรับการส่งจ่ายผ่านระบบท่อสู่ชุมชนอย่างน้อย 200 ครัวเรือน ในแต่ละวันนั้น อาจใช้เวลาในกระบวนผลิตเฉลี่ยเพียง 2 ชั่วโมงเท่านั้น โดยวัสดุจะมีอุณหภูมิสูง 600oC หรือมากกว่าเพียงเล็กน้อย ..
สำหรับการแปลงขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel & Gas รูปแบบอื่น ๆ นั้น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Purdue ได้ค้นพบเทคนิคที่เรียกว่า Hydrothermal Processing .. กระบวนการนี้ ใช้พอลิโพรพิลีน Polypropylene ใส่ไปในเครื่องปฏิกรณ์ที่เต็มไปด้วยน้ำ และทำให้ร้อนจนถึงอุณหภูมิที่สูงมากตั้งแต่ 350-500oC .. สิ่งนี้จะดำเนินต่อไปนานถึง 5 ชั่วโมงที่แรงดันสูง ซึ่งที่ความร้อน และความดันสูงนี้ น้ำจะย่อยสลายพลาสติก และเปลี่ยนพวกมันให้เป็นเชื้อเพลิง ..
การผลิต Hydrogen : H2 และ Syngas จากขยะพลาสติก Plastic Wastes ด้วยกระบวนการทำให้เป็นแก๊ส และไพโรไลซิส Gasification & Pyrolysis Reactions หรือด้วยเทคโนโลยีเร่งปฏิกิริยาด้วยคลื่นไมโครเวฟ Microwave Catalysis Technology นั้น ภาพรวมก๊าซสังเคราะห์ Synthesis Gas : Syngas ที่ถูกสร้างขึ้นจากขยะพลาสติก Plastic Wastes คือ ก๊าซเชื้อเพลิงบริสุทธิ์ ทั้งนี้ ส่วนประกอบหลักที่ติดไฟได้ประกอบด้วยคาร์บอนมอนอกไซด์ Carbon Monoxide : CO และไฮโดรเจน Hydrogen : H2 เป็นส่วนใหญ่ รวมทั้งไฮโดรคาร์บอนเบา Light Hydrocarbons .. ทั้งนี้ ส่วนประกอบที่เป็นก๊าซเฉื่อย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 จำนวนหนึ่ง และไนโตรเจน Nitrogen : N2 ส่วนใหญ่จะถูกดูดซับเข้าสู่ Syngas ผ่านการใช้อากาศ และน้ำ เป็นตัวทำให้เกิดก๊าซ หรือ Gasifying Agents ด้วยค่าพลังงานความร้อนอยู่ในช่วงระหว่าง 2-2.4 KWh/Nm³ ในขณะที่ปริมาณฝุ่นที่เกิดขึ้นน้อยกว่า 1 mg/Nm3 เมื่อถูกเผาไหม้ที่อุณหภูมิสูงถึง 1,900°C ..
ก๊าซไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และเชื้อเพลิงสังเคาะห์ที่เป็น Syngas เหมาะสมสำหรับรองรับกระบวนการเผาไหม้ที่ต้องการใช้อุณหภูมิสูง เพื่อทดแทนความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็น Diesel & Gasoline เช่น ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ในโรงงานหล่อแก้ว หรือในอุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก และเหล็กกล้า หรือในระบบขนส่งสำหรับงานหนักต่าง ๆ เช่น รถยนต์บรรทุกหนัก, กิจการการบิน และการเดินเรือในทะเล เป็นต้น .. นอกจากนี้ยังสามารถใช้พวกมันเป็นวัตถุดิบทางเคมีได้อีกด้วยขึ้นอยู่กับวัสดุรีไซเคิล และวิธีการทำงานของเครื่องปฏิกรณ์ ..
ทั้งนี้ โดยทั่วไป โรงงานผลิต Hydrogen : H2 และ Syngas จากขยะพลาสติก Plastic Wastes ระดับขนาดที่จัดการขยะพลาสติก Plastic Wastes ได้ประมาณ 50,000 ตันต่อปี จะสามารถสร้าง Hydrogen : H2 และเชื้อเพลิงสังเคาะห์ที่เป็น Syngas ได้มากถึง 15,000 Normal Cubic Meter of Air : Nm3 ต่อชั่วโมง ซึ่งส่งผลให้มีผลผลิตต่อปีเฉลี่ยอยู่ที่ 250,000 MWh ซึ่งเทียบเคียงเท่ากับพลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซธรรมชาติ Natural Gas ประมาณ 20,000 ตัน ..
ทั้งนี้ ด้วยความจริงที่ว่า พลาสติก Plastic ส่วนใหญ่ทำขึ้นมาจากน้ำมัน หมายถึง พวกมัน คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน Hydrocarbon Compounds ที่อุดมไปด้วยธาตุไฮโดรเจน Hydrogen : 1H และคาร์บอน Carbon : 6C .. ดังนั้น กระบวนการเหล่านี้ จึงนำขยะพลาสติกเหล่านั้นกลับสู่รูปแบบเดิมของพวกมัน ซึ่งหมายถึง ก๊าซไฮโดรเจน Hydrogen: H2 หรือเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel & Gas ที่เหมาะสมที่จะเป็นแหล่งพลังงานสำหรับเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน Hydrogen Fuel Cells และเครื่องยนต์สันดาปภายใน Fuel in Internal Combustion Engines รูปแบบดั้งเดิม รวมทั้ง พวกมันสามารถแสดงบทบาทเป็นหนึ่งในแหล่งกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Renewable Electricity สำคัญบนโครงข่ายระบบสายส่งกริดกำลังไฟฟ้า Electrical Grid และการส่งจ่ายไฮโดรเจนผ่านระบบท่อ Hydrogen Gas Grid เข้าสู่เมือง ชุมชน อาคาร สถานที่ทำงาน บ้านเรือน ในอนาคตเศรษฐกิจไฮโดรเจน Future Hydrogen Economy ได้อย่างยอดเยี่ยม นั่นเอง ..
การเปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นไฮโดรเจน Turning Plastic Waste into Hydrogen และคาร์บอนมูลค่าสูง High-Value Carbons ..
การผลิต และการใช้พลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงกว่า 50 ปีที่ผ่านมา ได้สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่ให้กับโลก ปัจจุบัน ขยะพลาสติกส่วนใหญ่จำนวนเกือบ 5 พันล้านตันที่เคยผลิตมาจะจบงานลงด้วยการเผา และฝังกลบ หรือปล่อยทิ้งไว้ในธรรมชาติ และคาดว่า ขยะพลาสติก Plastic Wastes ที่ไม่ได้รับการจัดการอย่างเหมาะสมจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 12 พันล้านตัน ภายในปี 2593 ..
นอกจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง Nanyang Technological University : NTU Singapore ประเทศสิงคโปร์ รวมทั้ง นักวิจัยในกลุ่ม Edwards/Xiao จากภาควิชาเคมีของอ็อกซ์ฟอร์ด Oxford’s Department of Chemistry แล้ว ทีมนักวิจัยมหาวิทยาลัย University of Massachusetts Lowell และกองทัพสหรัฐฯ นำโดย UML Prof. Juan Pablo Trelles รศ.วิศวกรรมเครื่องกล และอุตสาหการ ได้พัฒนาวิธีการสกัดไฮโดรเจน Hydrogen : H2 จากขยะพลาสติก Plastic Wastes ที่สามารถใช้เป็นแหล่งเชื้อเพลิงสะอาด Clean Energy Sources สำหรับการขนส่ง Transportation และผลิตไฟฟ้าในเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน Produce Electricity in Hydrogen Fuel Cells ..
ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 คือ เชื้อเพลิงที่เผาไหม้สะอาด Clean-Burning Fuel สร้างพลังงานได้โดยเหลือแต่น้ำเป็นผลพลอยได้สุดท้าย .. ปัจจุบัน การผลิตส่วนใหญ่มาจากเทคนิคการแปรรูปก๊าซธรรมชาติ Reforming Natural Gas หรือโดยการแยกน้ำ Splitting Water ออกเป็นไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และออกซิเจน Oxygen : O2 ผ่านกระบวนอิเล็กโทรไลซิส Electrolysis ..
จากข้อมูลของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ U.S. Energy Information Administration ความต้องการพลังงานทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 56% ภายในปี 2583 โดยได้รับแรงหนุนจากการเติบโตของประชากร และการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา .. ในขณะเดียวกัน พลาสติก Plastics มากกว่า 400 ล้านตัน ถูกผลิตขึ้นทั่วโลกในแต่ละปี ซึ่งเมื่อรวมกับอัตราการรีไซเคิลที่ต่ำอย่างยิ่งแล้ว ทำให้เกิดขยะพลาสติก Plastic Wastes เพิ่มขึ้นอย่างมาก สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม Polluting the Environment และรบกวนระบบนิเวศวิทยา Interfering with Ecosystems อย่างรุนแรง ..
ทีมงานจากมหาวิทยาลัย University of Massachusetts Lowell และกองทัพสหรัฐฯ เหล่านี้ กำลังใช้เทคโนโลยีพลาสมา Plasma Technology เพื่อจัดการกับทั้ง 2 ประเด็นในเวลาเดียวกัน โดยการแยกย่อยขยะพลาสติก Breaking Down Plastic Wastes ซึ่งในกรณีนี้ คือ โพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ Low-Density Polyethylene : LDPE ออกเป็นส่วนประกอบทางเคมี Chemical Components ของพวกมันเอง จากนั้น ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 จะถูกผลิตขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพในกระบวนการ ในขณะที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้น้อยที่สุด Minimizing Carbon Dioxide Emissions ตามข้อมูลของ UML Prof. Juan Pablo Trelles ..
โดยทั่วไป สหรัฐฯ ผลิตโพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ Low-Density Polyethylene : LDPE ประมาณ 3.5 ล้านเมตริกตันต่อปี ซึ่งมักใช้ในถุงพลาสติก และบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียว รวมถึงในภาชนะ ขวด ถาด ท่อ และชิ้นส่วนแม่พิมพ์สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภคจำนวนมาก .. LDPE ไม่เหมือนกับพลาสติกชนิดอื่น พวกมันแตกตัวเมื่อสัมผัสกับแสงแดดได้อย่างต่อเนื่อง และปล่อยคายก๊าซเรือนกระจกเป็นจำนวนมาก Releasing Significant Amounts of Greenhouse Gases เช่น มีเทน Methane : CH4 และเอทิลีน Ethylene : C2H4 เป็นต้น ..
กลุ่มนักวิจัย ชี้ว่า กลยุทธ์ของพวกเขาสามารถช่วยจัดการกับความท้าทายในการกำจัดขยะพลาสติก Challenge of Disposing Plastic Wastes ที่มักจบงานด้วยการเผา หรือทิ้งลงในหลุมฝังกลบ ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Cutting Down Greenhouse Gas Emissions .. ในขณะเดียวกัน ก็เป็นแหล่งของไฮโดรเจน Source of Hydrogen ที่มีศักยภาพ และยั่งยืน ..
Trelles ยืนยันว่า “เทคโนโลยีพลาสมา Plasma Technology ของพวกเขา เมื่อขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Renewable Electricity จากลม และแสงอาทิตย์ Wind & Solar นั้น สามารถนำไปสู่การอัปไซเคิลขยะพลาสติก Upcycling of Plastic Wastes และการผลิตไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Production of Green Hydrogen ได้อย่างยั่งยืน” ..
โครงการนี้ได้รับทุนจาก US Army Combat Capabilities Development Command : DEVCOM ในเมืองนาติค Natick รัฐแมสซาชูเซตส์ Massachusetts ..การค้นพบครั้งแรกของทีม ได้รับการตีพิมพ์ใน International Journal of Hydrogen Energy เมื่อเดือนธันวาคมปี 2565 ที่ผ่านมา ..
ในโครงการนี้ นักวิจัยใช้การปล่อยไฟฟ้าแรงสูงภายในห้องเครื่องปฏิกรณ์ ซึ่งถูกกักไว้ที่สภาวะความดันบรรยากาศ โดยไม่จำเป็นต้องมีแรงดันเพิ่ม หรือสุญญากาศ และไม่มีความร้อน หรือความเย็นจากภายนอก .. การคายประจุไฟฟ้า จะสลายโมเลกุลของอากาศภายในห้อง ทำให้เกิดพลาสมา ซึ่งเป็นก๊าซที่นำไฟฟ้าซึ่งประกอบด้วยอนุภาคพลังงานสูง อิเล็กตรอนอิสระ และอนุภาคหนัก รวมถึง ไอออน รวมทั้งอะตอม และโมเลกุลที่เป็นกลาง มาพร้อมด้วย ..
เครื่องปฏิกรณ์ของทีมงาน Team’s Reactor แตกต่างจากเครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้เทอร์มอลพลาสมา Thermal Plasma Reactors ซึ่งมีอุณหภูมิโดยทั่วไปเกิน 12,000oC หรือมากกว่า 21,000oF และกำลังถูกใช้ในโรงงานบำบัดของเสีย Waste Treatment Plants ทั่วโลก โดยทั่วไปแล้ว เครื่องปฏิกรณ์ความร้อน มีอัตราการผลิตไฮโดรเจนต่ำ ประสิทธิภาพพลังงานต่ำ และการเลือกปฏิกิริยาเคมีที่จำกัด ตามข้อมูลของหนึ่งในทีมงานที่เป็นนักศึกษาปริญญาเอก Energy Engineering Ph.D. Student Benard Tabu ..
“เรากำลังใช้ประโยชน์จากพลาสมาแบบไม่ใช้ความร้อน Nonthermal Plasma ซึ่งก๊าซถูกกักเก็บไว้ที่อุณหภูมิค่อนข้างต่ำที่ต่ำกว่า 1,000oC แต่อิเล็กตรอนอิสระ ยังคงอยู่ที่ระดับพลังงานที่สูงมาก เพื่อดึงไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ออกจากวัสดุเหลือใช้ Waste Materials” เขากล่าว ..
ทั้งนี้ Tabu ชี้ให้เห็นเพิ่มเติมว่า สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นในกระบวนการบำบัดของเสีย Higher Efficiency in the Wastes Treatment Process และสามารถนำไปใช้ในการติดตั้งที่มีขนาดกะทัดรัด และราคาไม่แพง Compact & Inexpensive Installations ..
ด้วยระบบปัจจุบัน กลุ่มนักวิจัย ประเมินว่า ด้วยขยะพลาสติก Plastic Wastes ที่เป็นโพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ Low-Density Polyethylene : LDPE จำนวน 1 เมตริกตัน จะสามารถผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ได้มากถึง 6 กิโลกรัม ..
นอกจากโพลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ Low-Density Polyethylene : LDPE แล้ว เทคโนโลยีพลาสมา Plasma Technology ของทีมงาน ยังสามารถนำไปใช้ในการแปรรูปขยะพลาสติกอื่น ๆ รวมถึงขยะชีวมวล Biomass Wastes จากภาคการเกษตร อุตสาหกรรมอาหาร และเซลลูโลสจากฝุ่นโรงเลื่อย และเปลี่ยนให้เป็นสารเคมี Chemicals และคาร์บอนมูลค่าสูง High-Value Carbons ได้อย่างยอดเยี่ยมอีกด้วย ..
ยิ่งไปกว่านั้น ทีมงาน ยังมองเห็นด้วยว่า เทคโนโลยีนี้ คือ ขั้นตอนเริ่มต้นในการแปลงขยะอินทรีย์ที่เป็นของแข็ง Solid Organic Waste ให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า Valuable Products โดยการใช้พลังงานหมุนเวียนโดยตรง Direct Use of Renewable Energy ซึ่งจะนำไปสู่ผลประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่มากขึ้นอย่างแน่นอน ไร้ข้อสงสัย ..
คาดการณ์ตลาดการผลิตไฮโดรเจน และตลาดการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานทั่วโลก Global Hydrogen Generation & Waste to Energy Market ..
แม้ว่า การจัดการขยะพลาสติก Plastic Waste ด้วยการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง เช่น ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel นั้น คือ ความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในอนาคตอันใกล้ แต่ข้อมูลทางการตลาด ยังถือว่ายังประเมินได้ยาก .. อย่างไรก็ตาม ตลาดการผลิตไฮโดรเจน และตลาดการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานทั่วโลก Global Hydrogen Generation & Waste to Energy Market สามารถสะท้อนการเติบโตของตลาดการแปลงขยะพลาสติกให้เป็นไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel & Gas ได้เป็นอย่างดี ..
ข้อมูลการตรวจสอบตลาดของ Grand View Research พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดการผลิตไฮโดรเจนทั่วโลก Global Hydrogen Generation Market มีมูลค่า 155.35 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 .. ทั้งนี้ คาดหมายว่า อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดการผลิตไฮโดรเจนทั่วโลก Global Hydrogen Generation Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุดรวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 9.3% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2566-2573 ..
เอเชียแปซิฟิก Asia Pacific ครองตลาดโลก ในปี 2565 และครองส่วนแบ่งรายได้มากที่สุดกว่า 34.94% .. จีนเป็นผู้นำตลาดระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ในปี 2565 ในแง่ของรายได้ .. การมีโรงกลั่นจำนวนมากในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในประเทศสำคัญๆ เช่น จีน และอินเดีย ส่งผลให้เกิดการผลักดันการใช้ประโยชน์จากการผลิตไฮโดรเจน Hydrogen Production ในภูมิภาค นอกจากนี้ รัฐบาลในบางประเทศในเอเชียแปซิฟิก เช่น ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย กำลังประเมินเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสะอาดกว่าสำหรับการผลิตไฮโดรเจน Hydrogen Generation ในปริมาณมาก เพื่อมุ่งใช้งานในประเทศ และการส่งออก ซึ่งรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ ๆ สำหรับการผลิตไฮโดรเจนจากขยะพลาสติก ขยะแห้ง ขยะเปียก และอินทรีย์สาร หรือแก๊ซจากชีวมวล ประสิทธิภาพสูงด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าในอนาคตจากนี้ไป ..
สำหรับในประเด็นขนาดธุรกิจในตลาดการแปลงขยะของเสียให้เป็นพลังงานทั่วโลก Global Waste to Energy Market นั้น พบแนวโน้มมูลค่าจะอยู่ที่ประมาณ 54.40 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 นี้ และคาดหมายว่าจะสูงถึง 77.55 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2571 ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดการแปลงขยะของเสียให้เป็นพลังงานทั่วโลก Global Waste to Energy Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุดรวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 7.35% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ปี 2566-2571 ..
ในอนาคตอันใกล้ คาดว่า โรงงานแปลงขยะให้เป็นพลังงาน Waste to Energy Plants และเชื้อเพลิง เช่น ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel ด้วยการใช้เทคโนโลยีพลาสมา Plasma Technology และกระบวนไพโรไลซิส Pyrolysis ด้วย เทคโนโลยี Microwave Catalysis Technology ส่วนใหญ่ เมื่อขับเคลื่อนด้วยกำลังไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน Renewable Electricity จากพลังงานลม และแสงอาทิตย์ Wind & Solar Energy นั้น สามารถนำไปสู่การอัปไซเคิลขยะพลาสติก Upcycling of Plastic Wastes และการผลิตไฮโดรเจนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Production of Green Hydrogen รวมทั้งคาร์บอนมูลค่าสูง High-Value Carbons ได้อย่างยั่งยืน ..
สรุปส่งท้าย ..
พลาสติก Plastic คือ บรรจุภัณฑ์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันของผู้คน .. กระบวนการผลิตพลาสติกส่วนใหญ่จะมีการใส่สารเติมแต่ง และไมโครพลาสติก Microplastic ซึ่งสารเหล่านี้ยากแก่การย่อยสลาย และกลายเป็นขยะพลาสติก Plastic Wastes ตกค้างในสิ่งแวดล้อม และบางชนิดยังก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ..
การศึกษาของ Ocean Conservancy พบว่า ทั่วโลก มีปริมาณขยะพลาสติกมากถึง 242 ล้านตันต่อปี โดยประเทศที่มีขยะพลาสติกมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐฯ 34 ล้านตัน, สหภาพยุโรป 30 ล้านตัน และอินเดีย 26 ล้านตัน ..
สำหรับข้อมูลในประเทศไทยนั้น พบว่า ขยะพลาสติกของไทย ติดอันดับที่ 12 ของโลก ด้วยปริมาณ 4.8 ล้านตันต่อปี .. ทั้งนี้ ขยะพลาสติก Plastic Wastes คิดเป็นประมาณ 12% ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมดในประเทศ ซึ่งมีการนำกลับไปใช้ประโยชน์เพียงประมาณปีละ 0.5 ล้านตัน หรือน้อยกว่า 10% เท่านั้น และในจำนวนทั้งหมดนี้เพียง 5% เท่านั้นที่สามารถนำเข้ากระบวนการรีไซเคิล Recycling ได้จริง ๆ ส่วนที่เหลืออีก 4.3 ล้านตัน เท่ากับเกือบ 90% ซึ่งพลาสติกส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว Single-Use Plastics อาทิ ถุงร้อน ถุงเย็น ถุงหูหิ้ว แก้วพลาสติก หลอดพลาสติก กล่องโฟมบรรจุอาหาร เป็นต้นนั้น ไม่มีการนำกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ โดยส่วนใหญ่จะจบงานด้วยการเผา และฝังกลบ รวมทั้งพวกมันจะถูกทิ้งเป็นขยะมูลฝอยในปริมาณ และสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ..
ดังนั้น นโยบายภาครัฐสำหรับการจัดการขยะพลาสติก Plastic Waste Management ด้วยการนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิง เช่น ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel นั้น หมายถึง ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการขยะพลาสติก Plastic Wastes ที่สำคัญ และคือหนึ่งในข้อไขที่สมบูรณ์แบบ รวมทั้งถือเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในอนาคตอันใกล้ของไทย ซึ่งต้องการความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมในชุมชน เพื่อความยั่งยืนโดยรวม และการสร้างประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมของพลังงานชีวภาพ Overall Sustainability & Environmental Benefits of Bioenergy รวมถึงการบริหารจัดการขยะพลาสติก และแผนการใช้วัตถุดิบตั้งต้น หรือพืชพลังงานที่เป็นของเสีย Waste Feedstocks or Energy Crops ไปพร้อมด้วย นั้น เป็นไปได้ ..
ตัวอย่างงานวิจัยของกลุ่มนักวิจัยในสหราชอาณาจักร ได้พัฒนาระบบเพื่อเปลี่ยนขยะพลาสติก และ CO2 ให้เป็นก๊าซสังเคราะห์ Synthesis Gas หรือซินก๊าซ Syngas ที่มีไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ในปริมาณสูง .. เทคโนโลยีนี้ อาจทำให้วันหนึ่ง สามารถรีไซเคิลพลาสติกจำนวนมากให้เป็นไฮโดรเจน Plastic into Hydrogen เพื่อขับเคลื่อนยานพาหนะ และระบบเศรษฐกิจที่สะอาดได้ในอนาคตอันใกล้จากนี้ไป ..
การรีไซเคิลพลาสติก Plastic Recycling คือ กุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม Key Environmental Issue .. อ้างอิงข้อมูล United Nations Environment Programme : UNEP ชี้ว่า พลาสติกมากกว่า 400 ล้านตัน ถูกผลิตขึ้นในแต่ละปีทั่วโลก โดย 85% ของพลาสติกทั้งหมด ถูกนำไปเผา ฝังกลบ หรือทิ้งในธรรมชาติ ซึ่งต้องใช้เวลาหลายร้อยปีในการย่อยสลาย แต่จะเป็นอย่างไร หากในอนาคต ขยะพลาสติกเหล่านี้ สามารถนำมาผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และกรดไกลโคลิก Glycolic Acid : C2H4O3 ได้
ปัจจุบัน พลาสติก Plastic สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย รวมทั้งสี และตัวทำละลาย .. เป็นไปได้ที่จะรีไซเคิลพลาสติก Recycle Plastic ให้เป็นน้ำมันเบนซิน Gasoline โดยการผสมสารเติมแต่งบางชนิด อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนให้เป็นไฮโดรเจน Hydrogen : H2 อาจเป็นทางเลือกที่เหนือชั้น และสะอาดกว่าสำหรับสิ่งแวดล้อม ..
ในภาพรวม และมุมมองด้านเทคโนโลยีพลังงาน Energy Technology Perspectives ปี 2566 นั้น พบว่า จุดเน้นตลาดที่สำคัญ และโอกาสในการจ้างงาน รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นใหม่ สำหรับประเทศต่าง ๆ ที่แข่งขันกัน เพื่อเป็นผู้นำอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด Lead the Clean Energy Industries ในปัจจุบัน และอนาคต คือ ประเด็นสำคัญ และอุตสาหรรมการแปลงขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิง เช่น ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuel นั้น หมายถึง โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่น่าสนใจของนานาประเทศ ซึ่งรวมถึงเป็นโอกาสของประเทศไทยสำหรับความมั่นคงทางพลังงานด้วยการผนวกรวมการจัดการขยะ Waste Management และผลิตพลังงานสะอาด Clean Energy Production ไปพร้อมด้วย ..
โลก กำลังเข้าสู่ยุคใหม่ของการผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด New Age of Clean Technology Manufacturing และกลยุทธ์ทางอุตสาหกรรมของประเทศต่างๆ Countries’ Industrial Strategies ซึ่งถือเป็นกุญแจสู่ความสำเร็จ .. ทั้งนี้ อ้างถึงรายงานล่าสุดของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA Report เมื่อต้นปี 2566 นั้น ชี้ให้เห็นว่า โลกของพลังงาน Energy World กำลังเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรมใหม่ New Industrial Age และเป็นยุคของการผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาดสีเขียว Age of Clean & Green Energy Technology Manufacturing ซึ่งกำลังสร้างตลาดใหม่ ๆ ที่สำคัญ และตำแหน่งงานนับล้านตำแหน่ง แต่ก็ยังเพิ่มความเสี่ยงใหม่ ๆ มาพร้อมด้วยที่กระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำต้องกำหนดกลยุทธ์ทางอุตสาหกรรม เพื่อรักษาตำแหน่งของตนไว้ ในระบบเศรษฐกิจพลังงานโลกยุคใหม่ New Global Energy Economy ที่กำลังจะมาถึงจากนี้ไป ..
ต้นทุนเทคโนโลยีสะอาด และราคาพลังงานสีเขียว Clean Technologies & Green Energy Cost ยังคงเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน ซึ่งพวกมันจะแพงเกินไปนั้นไม่ได้ .. อย่างไรก็ตาม Clean Technologies & Green Energy เช่น การแปลงขยะพลาสติกให้เป็นเชื้อเพลิงไฮโดรเจน Convert Plastic Trash into Clean Hydrogen Fuel เป็นต้นนั้น จะช่วยให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่เป็นนวัตกรรม และรูปแบบใหม่ของ Valued Chain การกระจายทางเศรษฐกิจ Redistribute Economic Power และการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ ๆ ที่มีผู้คนเป็นศูนย์กลาง People-Centered Ways มากขึ้น ..
ทั้งนี้ ด้วยการลงทุนด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Energy Investment ที่เหมาะสม พลังงานสีเขียว Green Energy คือ แหล่งพลังงานเพียงแหล่งเดียวที่เปิดโอกาสให้ทุกประเทศในโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยได้รับอิสระภาพทางพลังงาน และไม่ตกเป็นทาสการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่เป็นน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินลึกลงไปใต้เปลือกโลก หรือ Shale Gas & Shale Oil จากต่างประเทศที่ผูกขาดโดยเพียงบางชาติยักษ์ใหญ่เท่านั้นอีกต่อไป ซึ่งส่งผลให้ระบบพลังงานของแต่ละประเทศทั่วโลกจากนี้ไป จะได้ถูกปลดล็อคให้เป็นอิสระอย่างแท้จริง หมายถึง ความมั่นคงทางพลังงาน Energy Security จะได้รับการประกันเพื่อไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนได้สำเร็จในที่สุด ..
………………………………….
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Japanese Group Unveils Fuel Cell System Based on Green Hydrogen, Waste Plastic | PV – Magazine :-
Turning Plastic Waste into Hydrogen and High – Value Carbons | University of Oxford :-
https://www.ox.ac.uk/news/2020-10-13-turning-plastic-waste-hydrogen-and-high-value-carbons
New Method to Convert Plastic Trash into Clean Hydrogen Fuel | Messe – Düsseldorf :-
Technology Would Help Enhance Plastics Sustainability and Use of Renewable Energy | UMass Lowell :-
https://www.uml.edu/news/stories/2023/trelles-hydrogen-from-plastic-waste.aspx
Novel Technique Converts Plastic Waste into Clean Hydrogen Fuel | Innovation News Network :-
Pyrolysis Producing Hydrogen from Plastic Waste :-
https://www.thechemicalengineer.com/news/producing-hydrogen-from-plastic-waste/
Global Hydrogen Generation Market Size | Grand View Research :-
Plastic To Fuel Market Size | Industry Report, 2021 – 2028 | Grand View Research :-
https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/plastic-to-fuel-market
Waste to Energy Global Market | Mordor Intelligence. :-
https://www.mordorintelligence.com/industry-reports/global-waste-to-energy-market-industry
Synthetic Fuel Gas : Gasification of Plastic Waste & Biomass to SynGas or from Power to X Technology :-
https://photos.app.goo.gl/dDGTMm9r6qM29XxVA
Earth Overhaul | Saving Planet Earth from Climate Change Documentary :-
https://photos.app.goo.gl/3qLWAqW541RdtBLp7
Synthetic Fuel Gas : Gasification of Plastic Waste & Biomass to SynGas or from Power to X Technology :-
https://photos.app.goo.gl/dDGTMm9r6qM29XxVA
Plastics : Plastic Pollution | Microplastics | Reinventing Plastic & The Perfluoroalkyl and Polyfluoroalkyl Substances :-
https://photos.app.goo.gl/RjUtpAXNVBaa6qWbA
Hydrogen Economy | Hydrogen as the Nature’s Fuel | Album :-