The Future of Petrochemicals
“เศรษฐกิจของมนุษยชาติพึ่งพาปิโตรเคมีเป็นอย่างมาก แต่ภาคส่วนนี้ได้รับความสนใจน้อยกว่าที่มันควรจะเป็น .. ปิโตรเคมี Petrochemicals เป็นหนึ่งในจุดบอดที่สำคัญในการถกเถียงเรื่องพลังงานทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจนเมื่อมันมีอิทธิพลต่อแนวโน้มพลังงานโลกในอนาคต”
– Dr Fatih Birol | Executive Director, IEA ..
ปิโตรเคมี Petrochemicals พบได้ในผลิตภัณฑ์สมัยใหม่มากมาย มันเป็นส่วนหนึ่งของสังคมของมนุษย์ เสื้อผ้า ยางรถยนต์ อุปกรณ์ดิจิทัล บรรจุภัณฑ์ ผงซักฟอก และของใช้ในชีวิตประจำวันอื่น ๆ อีกนับไม่ถ้วน ทำขึ้นจากปิโตรเคมี .. วัตถุดิบปิโตรเคมีคิดเป็น 12% ของความต้องการน้ำมันทั่วโลก ซึ่งเป็นส่วนแบ่งที่คาดว่าจะมากขึ้นอีกจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับ พลาสติก ปุ๋ย และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ แม้จะมีขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น และเติบโตต่อเนื่อง แต่ภาคส่วนนี้ยังคงนั่งอยู่ตรงตำแหน่งเพียงลำดับรองในการอภิปรายด้านพลังงานของทั่วโลก ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของมุมมืดด้านพลังงานของ IEA .. มันเป็นประเด็นสำคัญของความต้องการพลังงาน แต่ไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากฝ่ายการเมือง ผู้กำหนดนโยบาย และไม่มีใครใส่ใจมันมากนัก ..
อย่างไรก็ตาม อนาคตของปิโตรเคมี ได้เปลี่ยนไป มันกำลังกลายเป็นประเด็นสำคัญ และเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนบทบาทระบบพลังงานโลกในปัจจุบัน รวมทั้งประเด็นความสำคัญของความมั่นคงทางพลังงาน กับปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก .. มันสมควรมีการกำหนดกรอบนโยบาย หรือมาตรการต่าง ๆ ในอนาคตอย่างไรนั้น .. ข้อเขียนนี้ เป็นการสอบทานสถานการณ์ทางเลือกที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ รวมทั้งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และกลยุทธ์ต่าง ๆ .. การประเมินผลกระทบต่อความต้องการพลังงาน และรวมถึงความต้องการทางสังคม มุ่งหวังเพื่อให้ได้มาซึ่ง ตำแหน่ง และข้อไขที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในอนาคตต่อไป ..
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี มีอยู่ทั่วไป และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมสมัยใหม่ ซึ่งรวมถึง พลาสติก ปุ๋ย บรรจุภัณฑ์ เสื้อผ้า อุปกรณ์ดิจิทัล อุปกรณ์ทางการแพทย์ ผงซักฟอก ยางรถยนต์ และอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังพบได้ในหลายส่วนของระบบพลังงานสมัยใหม่ ได้แก่ แผงโซล่าเซลล์ ใบกังหันลม แบตเตอรี่ ฉนวนกันความร้อนสำหรับอาคาร และชิ้นส่วนรถยนต์ไฟฟ้า ..
อนาคตของปิโตรเคมี จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบต่อผลจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ กับสิ่งที่เราสามารถจะกระทำได้ เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ..
ความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีพุ่งสูง และยังคงเติบโตต่อไป …
นอกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล จะเป็นองค์ประกอบหลักของระบบพลังงานโลกแล้ว อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ความต้องการพลาสติกซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่คุ้นเคยมากที่สุด แซงหน้าวัสดุจำนวนมากอื่น ๆ ทั้งหมด เช่น เหล็ก อลูมิเนียม หรือซีเมนต์ และเพิ่มขึ้นเป็นเกือบสองเท่าตั้งแต่ปี 2000 ..
ปัจจุบัน กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐฯ และยุโรป ใช้พลาสติกมากถึง 20 เท่า และปุ๋ยมากถึง 10 เท่าเมื่อเทียบกับประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย และอินโดนีเซีย โดยคิดเป็นรายหัว สิ่งนี้ตอกย้ำถึงแนวโน้มชัดเจนในการเติบโตของขนาดธุรกิจ และอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั่วโลก ..
ปิโตรเคมีอยู่รอบตัวเรา .. ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์พลาสติกสำหรับอาหาร และผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์อื่น ๆ สามารถทำจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี หลายประเภทรวมทั้ง โพลีเอทิลีน Polyethylene และโพลีสไตรีน Polystyrene .. ทั่วโลกมากกว่าครึ่งหนึ่งของแอมโมเนีย ถูกเปลี่ยนเป็นยูเรียซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตการเกษตรของพืช และเพิ่มการผลิตอาหารโลก .. ทั้งนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์อีกหลายรายการที่ต้องกล่าวถึง ได้แก่ ยางสังเคราะห์ .. ยางสังเคราะห์เป็นส่วนประกอบหลักของยางสำหรับรถยนต์รถบรรทุก และจักรยาน และส่วนใหญ่มาจาก บิวทาไดอีนของปิโตรเคมี Petrochemical Butadiene รวมทั้ง น้ำยาซักผ้า และเสื้อผ้า หลากหลายรายการในเครื่องซักผ้าของเราได้มาจากปิโตรเคมี เช่น สารลดแรงตึงผิว และเส้นใยโพลีเอสเตอร์ Polyester Fiber เป็นต้น ..
เศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา นำไปสู่การเติบโต ..
แม้ว่าการรีไซเคิล Recycle จะเพิ่มขึ้นอย่างมาก และความพยายามในการควบคุมพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้งนั้น เกิดขึ้นเพียงเฉพาะในสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่น และเกาหลี เท่านั้น และความพยายามเหล่านี้ไม่อาจเกินดุลไปมากนักเนื่องจากความต้องการของประเทศกำลังพัฒนาที่ยังคงเพิ่มสัดส่วนการบริโภคพลาสติกอย่างรวดเร็ว ทั้ง ๆ ที่ประเทศกำลังพัฒนาเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีวัตถุดิบที่เป็น Biomass จำนวนมากที่พร้อมจะนำมาผลิตสิ่งของต่าง ๆ ที่เป็นผลิตภัณฑ์จากชีวมวลได้ด้วยผลผลิตการเกษตรจำนวนมหาศาล เช่น พลาสติกชีวภาพ เป็นต้น เพื่อนำมาแทนที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีด้วยซ้ำไป และยังรวมถึงปัญหาการด้อยประสิทธิภาพในกำจัดทิ้งด้วย .. ความยากลำบากในการค้นหาทางเลือกสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสำหรับการใช้งานจำนวนมาก หรือการจัดหาวัสดุคุณภาพใกล้เคียงมาแทนที่พลาสติก หรือผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีอื่น ๆ นั้น จึงยากเย็นอย่างยิ่ง .. มันจึงกลายเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อุปสงค์การใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีโดยรวมเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่ง แม้ในสถานการณ์การถดถอยรุนแรงของอุตสาหกรรมน้ำมัน ทั้ง ๆ ที่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีเป็น By-Product ในอุตสาหกรรมน้ำมันเชื้อเพลิงที่กำลังถดถอยก็ตาม ..
ปิโตรเคมี กลายเป็นตัวขับเคลื่อนความต้องการน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างรวดเร็ว ..
การเติบโตของความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี หมายความว่า ปิโตรเคมีมีสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสามของความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจนถึงปี 2030 และเกือบครึ่งหนึ่งถึงปี 2050 นำหน้าความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงในรถบรรทุก การบิน และระบบการขนส่ง .. ปิโตรเคมีพร้อมที่จะใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 56 พันล้านลูกบาศก์เมตร ภายในปี 2030 ซึ่งเทียบเท่ากับประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งหมดต่อปีของแคนาดาในปัจจุบัน ..
มันคือพลวัตใหม่ในกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งกำลังขับเคลื่อนการแข่งขันทางเศรษฐกิจระดับโลกอย่างต่อเนื่องต่อไป ..
หลังจากสองทศวรรษแห่งความซบเซา และถดถอยของธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงสหรัฐฯ .. มันกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งในฐานะภูมิภาคที่มีต้นทุนต่ำสำหรับการผลิตน้ำมันเชื้อเพลง ก๊าซธรรมชาติ สารเคมี และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก Shale Gas Shale Oil Revolution ซึ่งมันอยู่ในชั้นหิน มิได้ขุดขึ้นมาจากใต้ดิน ใต้ก้นทะเลลึกอีกต่อไป .. ยุคน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติราคาถูก ยืดออกไปอีกอย่างน้อย 30 ปี หรืออาจยาวนานไปถึง 50 ปีด้วยซ้ำไป .. ปัจจุบันสหรัฐฯ เป็นที่ตั้งของกำลังการผลิตปิโตรเคมีที่ใช้อีเทน Ethane-Based Petrochemical Production ทั่วโลกประมาณ 40% .. อย่างไรก็ตาม ตะวันออกกลาง ยังคงเป็นแชมป์ต้นทุนต่ำสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่สำคัญบนโลกใบนี้ ..
สถานการณ์เทคโนโลยีสะอาด The Clean Technology Scenario : CTS ..
แม้จะมีประโยชน์มากมายที่พวกมันมอบให้แก่สังคมมนุษย์ ซึ่งรวมถึงการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ .. แต่เทคโนโลยีสะอาดที่มีความสำคัญต่อระบบพลังงานที่ยั่งยืน การผลิต การใช้งาน และการกำจัดขยะพลาสติก และอื่น ๆ ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีนั้น ก่อให้เกิดความท้าทายด้านความยั่งยืนที่จำเป็นอย่างเร่งด่วน ..
ข้อเขียนอนาคตของปิโตรเคมีนี้ นำเสนอสถานการณ์ที่สรุปแนวทางเลือกสำหรับภาคเคมีภัณฑ์ที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติหลายประการ .. สถานการณ์เทคโนโลยีสะอาด หรือ The Clean Technology Scenario : CTS เป็นการแสวงโอกาสในการลดมลพิษทางอากาศ และทางน้ำ และความต้องการน้ำที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสารเคมีขั้นต้น ควบคู่ไปกับเป้าหมายในการลดการปล่อย CO2 ด้วยสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับการลดมลพิษ และแง่มุมต่าง ๆ ของระบบพลังงานในอนาคตให้สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ยั่งยืนของ IEA ..
เพื่อลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม ภาครัฐ เอกชน และภาคสังคม จะต้องร่วมกันวางมาตรการ และแนวทางปฏิบัติทั่วทั้งระบบการผลิต การใช้งาน และการจัดการกับวัสดุเหลือใช้ที่เป็นขยะ ด้วยการมุ่งลดการปล่อย CO2 โดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ และให้เกิดประสิทธิผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น .. ซึ่งมันถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ..
ในสถานการณ์เทคโนโลยีสะอาด CTS มลพิษทางอากาศจากการผลิตสารเคมีขั้นต้น ลดลงเกือบ 90% ภายในปี 2050 และความต้องการน้ำลดลงเกือบ 30% เมื่อเทียบกับ Reference Technology Scenario : RTS ซึ่งเป็นกรณีสถานการณจำลองพื้นฐานสำหรับการคาดการณ์ในอนาคตของปิโตรเคมี .. CTS ยังให้ความสำคัญกับการปรับปรุงการจัดการขยะ การเพิ่มสัดส่วนการรีไซเคิล Recycle ให้มากขึ้น รวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้การจัดการขยะพลาสติกด้วยการฝังกลบ และขยะพลาสติกสะสมในมหาสมุทร จะลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งภายในปี 2050 เมื่อเทียบกับ RTS .. การลดการปล่อย CO2 โดยตรงจะลดลง 45% ในปี 2050 อีกด้วย เมื่อเทียบกับระดับปัจจุบันแม้ว่าความต้องการสารเคมีหลักจะเพิ่มขึ้น 40% ก็ตาม การปล่อยมลพิษก็จะยังคงลดลง 60% ในสถานการณ์เทคโนโลยีสะอาด CTS เมื่อเทียบกับ RTS ภายในปี 2050 ..
อย่างไรก็ตาม ต้องใช้ความพยายามอย่างมากในกรอบกว้าง .. การนำเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอนจากบรรยากาศโดยตรงมาใช้ประโยชน์ และการกักเก็บ CCUS การเปลี่ยนถ่านหินเป็นก๊าซ และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การรีไซเคิลพลาสติก และการนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงการใช้วัตถุดิบและแหล่งพลังงานทางเลือกนั้น กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ..
พลาสติกชีวภาพ Bioplastic เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ ..
สถานการณ์ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ขยะพลาสติกปัจจุบันที่มีจำนวนมากขึ้นในประเทศ ประชาชนเริ่มมองหาวิธีบริหารจัดการขยะพลาสติกให้ถูกต้อง และยั่งยืน ทั้งในรูปของการลดจำนวนการใช้ การคัดแยกขยะ ตลอดจนการนำขยะพลาสติกไปรีไซเคิล หรือนำไปผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าพลาสติกยังเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต และด้วยการบริหารจัดการที่จำกัด ทำให้แนวโน้มขยะพลาสติกยังคงเพิ่มปริมาณขึ้น .. บริษัทเอกชนไทยที่ดำเนินธุรกิจพลังงานสะอาดหลายบริษัท เช่น GC ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าว และพยายามค้นหาทางเลือกใหม่ ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการขยะ ซึ่งทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยให้ความสำคัญอย่างมาก ..
พลาสติกชีวภาพ Bioplastic หรือพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ Compostable Plastic จึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง และถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่เติบโตได้อย่างมั่นคง ..
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย เกี่ยวกับมลพิษจากพลาสติกในมหาสมุทร ..
เมื่อขยะพลาสติกลงสู่มหาสมุทร มันมิได้สลายตัว แต่มันจะแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ กลายเป็น Microplastics ที่สิ่งมีชีวิตในทะเลกลืนกินเข้าไป เนื่องจากมวลของเศษขยะขนาดใหญ่รวมถึงภาชนะฝาขวดลัง และอุปกรณ์ตกปลาเก่ายังคงลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้ปริมาณของไมโครพลาสติกอาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก นี่คือปัญหาเร่งด่วนด้านสิ่งแวดล้อมที่ได้รับความสนใจจากทั่วโลก ..
แม้ว่าการรีไซเคิลพลาสติก จะมีบทบาทน้อยกว่าเมื่อเทียบกับมาตรการลดการปล่อย CO2 แต่โครงสร้างพื้นฐานการจัดการของเสียที่ได้รับการปรับปรุงซึ่งเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับการเพิ่มการรีไซเคิลใน CTS ได้วางรากฐานในการลดมลพิษพลาสติกลงอย่างมากจากระดับที่ยอมรับไม่ได้ในปัจจุบัน .. ใน CTS ขยะพลาสติกที่ติดกับมหาสมุทรสะสมลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับ RTS .. การบริหารจัดการขยะพลาสติกที่เหมาะสม และนำมันไปใช้ผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล Biomass กลายเป็นความจำเป็นที่ไม่อาจละเลยได้เช่นกัน ..
ข้อเสนอเชิงนโยบาย 10 อันดับแรก สำหรับอนาคตปิโตรเคมี และอนาคตพลาสติก ..
เพื่อให้บรรลุภาคการผลิตทางปิโตรเคมีที่ยั่งยืน จำเป็นต้องใช้วิธีการแบบสหวิทยาการตลอดห่วงโซ่กระบวนผลิต ตั้งแต่การผลิตสารเคมีขั้นต้นไปจนถึงการจัดการของเสีย ไม่มีการแก้ปัญหาวิธีเดียว หรือการดำเนินการง่าย ๆ ในการจัดการกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม .. ภาครัฐ เอกชน และผู้คนในสังคม จะต้องตระหนัก และร่วมมือกัน รวมทั้งดำเนินมาตรการต่าง ๆ หลายมาตรการพร้อมกันไป .. นโยบายต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นจำเป็นต้องให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกันสูงสุด และประกันผลกระทบที่ยั่งยืนในอนาคตให้สำเร็จ ซึ่งมันสำคัญมาก สรุปเป็นตัวอย่างได้ดังนี้ ..
ด้านการผลิต ..
1.กระตุ้นการลงทุนโดยตรงในการวิจัยและพัฒนา RD&D ของเส้นทางการผลิตสารเคมี พลาสติก และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่ยั่งยืน
2.สร้าง และขยายแผนการประเมินเปรียบเทียบระดับโรงงานสำหรับประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน และเป้าหมายการลดการปล่อย CO2
3.การกำหนดนโยบายภาครัฐ วางมาตรการ และดำเนินการตามกฎระเบียบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดการปล่อย CO2 รวมทั้งการส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีการดักจับ CO2 จากโรงงานอุตสาหกรรม หรือจากบรรยากาศโดยตรงและนำ CO2 กลับใช้ประโยชน์อื่น ๆ ต่อไป เป็นแนวทางสำคัญที่ต้องพิจารณาดำเนินการไปพร้อมด้วย
4.วางกรอบกำหนดให้ภาคอุตสาหกรรม ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพอากาศที่เข้มงวด
5.ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และวัตถุดิบ ควรสะท้อนมูลค่าตลาดที่แท้จริง
ด้านการใช้งาน และการกำจัด ..
1.ลดการพึ่งพาพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว นอกเหนือจากฟังก์ชั่นที่ไม่สามารถทดแทนได้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น
2.ปรับปรุงแนวทางการจัดการขยะทั่วโลกให้เป็นรูปธรรม ครบวงจร
3.สร้างความตระหนักแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับประโยชน์หลายประการของการรีไซเคิล Recycle
4.ออกแบบผลิตภัณฑ์ปืโตรเคมี โดยคำนึงถึงการกำจัดให้ครบวงจร และปลอดภัย โดยหลีกเลี่ยงการฝังกลบ
5.ขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิตในแง่มุมที่เหมาะสมของการใช้ และการกำจัดผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี รวมทั้งเคมีภัณฑ์ต่าง ๆ ที่อาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
สรุปส่งท้าย ..
นวัตกรรมพลาสติก .. การพึ่งพาพลาสติกของเราเป็นความจำเป็น .. อย่างไรก็ตาม มันสร้างปัญหารุนแรงมากในการตกค้างคงอยู่ของไมโครพลาสติกในธรรมชาติ ไม่เพียงแต่มันแขวนลอยอยู่ในมหาสมุทรเท่านั้น แต่ยังอยู่ในชั้นบรรยากาศ ในอาหาร และในร่างกายของเราด้วย .. แทนที่จะฝังกลบขยะพลาสติก หรือปล่อยทิ้งไว้กับสิ่งแวดล้อมจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ต่อไปในอนาคต .. แล้วโลกเราจะสามารถนำพลาสติกกลับมาใช้ใหม่จริง ๆ ได้ใกล้แค่ไหน? ..
พลาสติกอยู่รอบตัวเราจริง ๆ .. ตั้งแต่ โทรศัพท์ เสื้อผ้า ไปจนถึงรองเท้า .. พลาสติกนั้น สำคัญต่อชีวิตประจำวัน ยากที่จะหลีกเลี่ยง .. และด้วยเหตุผลที่ดี .. พลาสติกเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่ยอดเยี่ยมที่มีความยืดหยุ่น ทนทาน ปรับแต่งได้ และที่สำคัญที่สุดคือราคาถูกอย่างยิ่ง ..
แต่พลาสติกยังมีร่องรอยการปล่อยคาร์บอนขนาดใหญ่ และสร้างความหายนะให้กับระบบนิเวศวิทยา .. และในขณะที่บางคนคิดว่าถึงเวลาที่เราจะต้องเลิกใช้มันได้แล้ว .. แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากเราพัฒนามันให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแทน หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่นี้นั้น กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ..
ทั้งสองทางเลือกนั้นพูดได้ง่าย แต่การทำสิ่งท้าทายที่สำคัญกว่าซึ่งคือการคิดค้นพลาสติก Bio-Based & Biodegradable รูปแบบใหม่ ๆ ขึ้นมา .. นั่นหมายถึง นวัตกรรมพลาสติกสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือการค้นหาสิ่งทดแทนที่ยั่งยืนซึ่งสามารถทำทุกสิ่งที่พลาสติกทำได้ ในขณะที่มันเป็นโครงสร้างชีวมวล และย่อยสลายได้ทางชีวภาพ .. นักวิทยาศาสตร์ นักเคมี ในโลกเรานี้หลายคนกำลังทำงานอย่างหนัก เพื่อค้นหา และสร้างวัสดุมหัศจรรย์นี้ ..
แม้ปัจจุบันพลาสติก จะถูกตราหน้าว่าเป็นตัวการสำคัญที่สร้างปัญหาให้กับสิ่งแวดล้อม แต่นวัตกรรมของพลาสติกจนกระทั่งถึงวันนี้ ก็มีการพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์ในประเด็นที่มิตรต่อโลกมากกว่าในอดีต อันจะเห็นได้จากการเข้ามามีบทบาทของ พลาสติกชีวภาพ Bioplastic ซึ่งตอนนี้นับว่าเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ ..
ตัวอย่างที่น่าสนใจในประเทศไทย เช่น บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับ พลาสติกชีวภาพ Bioplastic ซึ่งมีการผลิต และถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาของพลาสติกแบบเดิม ๆ โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มีการหยิบจับนำมันมาใช้กันมากขึ้น จนกลายเป็นเทรนด์ที่ส่งผลให้เกิดความต้องการในตลาดอย่างสูง ซึ่งเหตุผลสำคัญก็มาจากการนำเอาวัสดุจากพืชการเกษตรมาใช้ทดแทน เช่น ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ขณะเดียวกัน โดยตัวมันเองก็มีความสามารถในการย่อยสลายตัวเองได้ภายในระยะเวลาอันสั้น ทำให้โอกาสของการตกค้างในธรรมชาติมีน้อยลงอย่างมาก ..
ทั้งนี้ ด้วยข้อจำกัดของพลาสติกชีวภาพ Bioplastic ที่จะย่อยสลายได้อย่างมีประสิทธิภาพใน ‘สภาวะอันเหมาะสม’ เช่น ในกระบวนการหมัก หรือการฝังกลบในดิน ประเด็นอันเกี่ยวเนื่องกับการทิ้งขยะพลาสติกชีวภาพให้ถูกที่ถูกทาง เพื่อให้ขยะพลาสติกถูกนำเข้าสู่กระบวนการสลายตัวทางชีวภาพต่อไป จึงนับเป็นเรื่องจำเป็นเช่นเดียวกัน
การแยกแยะให้ออกระหว่าง พลาสติกทั่วไป กับ พลาสติกชีวภาพที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อาจยังคงเป็นปัญหาอยู่ ด้วยเหตุนี้เอง บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC จึงได้ออกฉลาก “GC Compostable” ขึ้น เพื่อประกันว่า พลาสติกที่คุณใช้อยู่นั้น สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาตินั่นเอง เป็นต้น .. การบุกตลาดธุรกิจ Bioplastics ของ GC ถือเป็นการมองการณ์ไกลที่ยอดเยี่ยม ประเทศไทย เป็นชาติเกษตรกรรมที่อุดมไปด้วยวัสดุชีวมวลหลากหลายจำนวนมาก จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้ประโยชน์จากชีวมวล Biomass รวมทั้งการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ขยะแห้ง ขยะเปี๊ยก มูลสัตว์ หรือแม้แต่ขยะพลาสติก ..
การลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล – ขยะ ของ EA เพื่อบุกธุรกิจพลังงานสะอาด เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าตื่นเต้น มันสามารถลดการจัดการขยะด้วยการฝังกลบได้ในระดับหนึ่ง และจะลดลงมากกว่านี้อีกหากเราใช้พลาสติกรีไซเคิล ..
พลาสติกรีไซเคิล ก็เป็นอีกแนวทางสำคัญในการปกป้องสิ่งแวดล้อม ลดการพึ่งพาพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว กลายเป็นความจำเป็นเช่นกัน ตัวอย่างบริษัทเอกชนไทย เช่น บริษัท GC ยังมุ่งดำเนินธุรกิจพลาสติกรีไซเคิล Recycled Plastic อย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อการลงทุนเพิ่มเติมสำหรับโรงงานรีไซเคิล พลาสติก ครบวงจรมาตรฐานสากลระดับโลก ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง ..
อย่างไรก็ตาม .. อนาคตปีโตรเคมีนั้น นวัตกรรมพลาสติก เป็นหนึ่งในเรื่องสำคัญ .. มนุษยชาติ ยังคงใช้น้ำมัน และพลาสติก ซึ่งเป็น By-Product ของมันต่อไป .. ปัญหาขยะพลาสติก ก็จะยังอยู่ต่อไปเช่นกัน .. แต่นับจากนี้เป็นต้นไป ความถดถอยของอุตสาหกรรมน้ำมัน ปัญหาภาวะโลกที่ร้อนขึ้น ปัญหาสารเคมี และไมโครพลาสติกในมหาสมุทร ในอาหารและผลผลิตทางเกษตร รวมทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ได้ผลักดันโอกาสของมนุษยชาติในการปรับตัวเอง และลดความรุนแรงผลกระทบจากเหล่าปัญหาต่าง ๆ ที่กล่าวถึงนั้นได้
ตราบใดที่มนุษยชาติยังคงใช้แหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ปิโตรเคมีก็จะยังเป็นความต้องการของสังคมมนุษย์อยู่ต่อไป เพียงแต่มันอาจกำลังสูญเสียบทบาทนำทางสังคมในบางพื้นที่เท่านั้น .. หาก ปิโตรเลียม กำลังถูกแทนที่ด้วย แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน หรือแม้แต่พลังงานนิวเคลียร์ กลายเป็นจริง .. ปิโตรเคมี ก็กำลังถูกแทนที่ผลิตภัณฑ์ชีวมวลที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ง่ายด้วยเช่นกัน ..
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มันมีราคาถูกอย่างยิ่ง และอ่อนตัวที่สุดในการใช้งานหลากหลายประเภท สวนทางกับความต้องการมาตรการปกป้องสิ่งแวดล้อม .. คำตอบของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ จึงมิได้มีข้อไขเดียว แต่ต้องเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นดำเนินการหลาย ๆ มาตรการพร้อมกันไป ด้วยความร่วมมือจากทุก ๆ ภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาสังคมในชุมชนด้วย ..
ดังนั้น .. อนาคตของปิโตรเคมี จะเป็นอย่างไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเหล่านี้ และสิ่งที่เราสามารถทำได้ คือ การดำเนินการทุกภาคส่วนเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เช่น การใช้พลาสติกรีไซเคิล พลาสติกชีวภาพ Bioplastics ที่ได้จากพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน เป็นต้น .. และรวมทั้งเพื่อลดปัญหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี สารเคมี ตกค้างในสิ่งแวดล้อม และปัญหาไมโครพลาสติกนั้น การจัดการขยะที่เหมาะสมกลายเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง การหลีกเลี่ยงการฝังกลบ ด้วยการนำขยะเหล่านี้ไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล Biomass เป็นแนวทางที่ชาญฉลาด และเนื่องจากมันยังคงปล่อย CO2 สู่บรรยากาศ ดังนั้น การส่งเสริมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดักจับ CO2 โดยตรงจากบรรยากาศพร้อมไปด้วย ก็กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ..
…………………………………
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Petrochemical Market Analysis, Size and Growth To 2022 :-
Petrochemicals Global Market Report 2021: COVID – 19 Impact and Recovery to 2030 :-
https://www.researchandmarkets.com/reports/5240326/petrochemicals-global-market-report-2021-covid
The Future of Petrochemicals | IEA :-
https://www.iea.org/reports/the-future-of-petrochemicals
The Future of Petrochemicals | IEA Documentary in PDF :-
https://webstore.iea.org/download/direct/2310
https://drive.google.com/file/d/1sslhSOpEe45kwOLB28P_vsOhqibIbSXK/view?usp=sharing
17 New Petrochemical Plants to Go Operational by March 2021 :-
https://www.tehrantimes.com/news/446804/17-new-petrochemical-plants-to-go-operational-by-March-2021
Are We Approaching the End of the Oil Age? :-
จับตา : โครงสร้างอุตสาหกรรมปีโตรเคมี .. By TCIJ 、。。
https://www.tcijthai.com/news/2018/07/watch/8376
GC Products & Solutions / Innovation :-
What you need to know about Plant – Based Plastics :-
7 ประเภทพลาสติก ใช้แล้วควรแยกก่อนทิ้ง เพราะเอาไปรีไซเคิลต่อได้ :-
https://erc.kapook.com/article09.php
PTT Global Chemical Public Company Limited :-
Petrochemical – Energy Education :-
https://energyeducation.ca/encyclopedia/Petrochemical
Petrochemical Industry :-