วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
spot_img
หน้าแรกCOLUMNISTSพลาสติกชีวภาพ Bioplastics เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ
- Advertisment -spot_imgspot_img
spot_imgspot_img

พลาสติกชีวภาพ Bioplastics เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญ

Bioplastics: Future of the Polymer

สถานการณ์ขยะพลาสติกปัจจุบันที่มีจำนวนมากขึ้น ประชาชนทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย มองหาวิธีบริหารจัดการขยะพลาสติกให้ถูกต้อง และยั่งยืน ทั้งในรูปของการลดจำนวนการใช้ การคัดแยกขยะ ตลอดจนการนำขยะพลาสติกไปรีไซเคิล และการนำมันไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล ..

ปฏิเสธไม่ได้ว่าพลาสติก เป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต แต่ด้วยการบริหารจัดการอย่างจำกัด ทำให้แนวโน้มขยะพลาสติกที่อาจเป็นอันตรายยังคงเพิ่มปริมาณขึ้นต่อเนื่อง .. บริษัทเอกชนไทยที่ดำเนินธุรกิจพลังงานสะอาดหลายบริษัท เช่น บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC และ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) Energy Absolute หรือ EA เป็นต้นนั้น ได้ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าวเป็นอย่างดี และพยายามค้นหาทางเลือกใหม่ ๆ ในการช่วยแก้ไขปัญหาบริหารจัดการขยะพลาสติก เพื่อไปให้ถึงสุดทาง ครบวงจร ซึ่งประเทศไทย และนานาประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญ ..

พลาสติกชีวภาพ Bioplastics หรือพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ Compostable Plastics จึงกลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ..

พลาสติกชีวภาพ และผลิตภัณฑ์ชีวภาพ Bioplastics & Bio – Based Products  ..

พลาสติกชีวภาพ Bioplastics มักหมายถึง พลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตร Bio – Based หรือ Biomass และในบางกรณีก็ผลิตขึ้นจากน้ำมันปิโตรเลียม Petro – Based ด้วย โดยพลาสติกชีวภาพเหล่านี้ มีลักษณะคล้ายพลาสติกทั่วไป สามารถนำมาหลอม และผลิต ด้วยกระบวนการขึ้นรูปตามปกติโดยเครื่องจักรทั่วไป อาจมีการปรับแต่งบ้างเล็กน้อยเพื่อให้เหมาะสม ..

สำหรับพลาสติกชีวภาพที่ผลิตจากวัตถุดิบทางการเกษตรนั้น ผลิตจากกระบวนการหมักเพื่อเปลี่ยนวัตถุดิบทางการเกษตรให้เป็นโมโนเมอร์ Monomer แล้วจึงนำไปผลิตเป็นเม็ดพลาสติกต่อไป ปัจจุบันวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ ได้แก่ ข้าวโพด น้ำตาล มันสำปะหลัง โดยในอนาคตอาจสามารถผลิตจากฟางข้าว และผลผลิตการเกษตรอื่น ๆ อีกมากมายได้ ..

Photo Credit : The Board of Investment of Thailand : BOI

Thailand’s Bio – Plastics Industry | Photo Credit : The Board of Investment of Thailand : BOI

ปัจจุบัน พลาสติกชีวภาพ ได้รับการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นในระดับคุณภาพสูงขึ้น พร้อมที่จะดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ สามารถนำไปใช้ผลิตเป็นสินค้า และผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่นเดียวกับพลาสติกรูปแบบดั้งเดิมที่ทำมาจากปิโตรเคมี .. มันสามารถตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค และความต้องการทางอุตสาหกรรม อาทิเช่น พอลิแล็กติกแอซิด Polylactic Acid หรือ PLA และ พอลิบิวทิลีนซักซิเนต Polybutylene Succinate หรือ PBS ..

ไบโอโพลิเมอร์ Biopolymers เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์กลุ่มที่เติบโตเร็วที่สุดในตลาดพลาสติกทั่วโลก เนื่องจากปัญหามลพิษจากพลาสติกที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก .. จนถึงขณะนี้ในกว่า 60 ประเทศ ได้มีการนำมาตรการการแบน และการจัดเก็บภาษีเพิ่มเพื่อจำกัดการใช้พลาสติกดั้งเดิมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง .. พลาสติกดั้งเดิมเหล่านี้ หมายถึงพลาสติกใช้แล้วทิ้ง ซึ่งมักใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติก และรวมถึงสิ่งของที่ตั้งใจให้ใช้เพียงครั้งเดียว ..

การพิจารณาแนวทางดำเนินการในวงกว้างเพื่อจำกัดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวนั้น ในแผนงานภาครัฐส่วนใหญ่จะวางกรอบนโยบาย และการกำกับดูแลด้วยมาตรการต่าง ๆ ซึ่งประเด็นหลักของมาตรการประการหนึ่ง ได้แก่ การเปลี่ยนไปใช้พลาสติกที่ทำขึ้นจากวัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ .. ข้อจำกัด และแนวทางหลีกเลี่ยงการใช้พลาสติกดั้งเดิมแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ได้ทำให้ความสนใจในการใช้ วัสดุหมุนเวียน และวัสดุทางเลือก เพิ่มขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ Bio – Based Products ..

ไบโอโพลิเมอร์ หรือพลาสติกชีวภาพ คือพลาสติกที่สามารถผลิตได้จาก วัสดุหมุนเวียน Renewable Materials ได้แก่ น้ำตาล ข้าวโพด ถั่วเหลือง ป่าน และก๊าซมีเทน ที่ดักจับมาจากขยะ .. อย่างไรก็ตาม ไบโอโพลิเมอร์ Biopolymer อาจไม่จำเป็นต้องผลิตจากวัสดุหมุนเวียนทั้งหมด เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นในปัจจุบันจำนวนมาก เป็นการผสมผสานระหว่างวัตถุดิบหลัก และวัตถุดิบหมุนเวียน นอกจากนี้โพลิเมอร์ชีวภาพบางชนิด เช่น Bio-PET มีโครงสร้างพอลิเมอร์เหมือนกัน และสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้พร้อมกับพลาสติกจากฟอสซิลของเรซินชนิดเดียวกัน ด้วยวัตถุดิบ และกระบวนการผลิตที่หลากหลายเช่นนี้ ไม่ใช่ว่าโพลิเมอร์ชีวภาพทั้งหมดจะสามารถย่อยสลายทางชีวภาพ หรือย่อยสลายได้ง่าย ๆ เสมอไป ..

ด้วยเหตุผลข้างต้น พลาสติก สามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้โดยการพิจารณาจากวัตถุดิบ และความสามารถในการย่อยสลายทางชีวภาพ ..

พอลิเอทิลีน Polyethylene : PE , โพลีโพรพีลีน Polypropylene : PP และ โพลีเอทิลีนเทเรฟทาเลต Polyethylene Terephthalate : PET เป็นพลาสติกทั่วไปที่เป็น By-Product จากน้ำมัน ที่ไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้ .. ขณะที่พลาสติกชีวภาพนั้น ถือเป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ อย่างไรก็ตามอนุพันธ์ของพอลิแซ็กคาไรด์ Polysaccharide ที่มีการทดแทนระดับสูง DS ตัวอย่างเช่น เซลลูโลสอะซิเตต Cellulose Acetate ซึ่งใช้ใน ฟิล์ม และฟิลเตอร์ จะไม่ถูกย่อยสลายทางชีวภาพในสิ่งแวดล้อม แม้ว่าเซลลูโลส เป็นโพลีแซ็กคาไรด์ Polysaccharide ตามธรรมชาติ และสลายตัวโดยเซลลูโลส Bio – PE สังเคราะห์จากเอทานอลชีวภาพซึ่งผลิตโดยการหมักกลูโคส ..

เมื่อเร็ว ๆ นี้ Bio-PET ได้รับการผลิตจากชีวมวลโดยใช้เอทิลีนไกลคอล Ethylene Glycol เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่ย่อยสลายยาก ซึ่งปริมาณชีวมวลใน Bio-PET อยู่ที่ประมาณ 30% .. ดังนั้น Bio-PET ลักษณะนี้ จึงไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพในสภาวะแวดล้อมปกติตามธรรมชาติได้ ดังนั้น พลาสติกชีวภาพบางประเภท ก็มิได้สามารถย่อยสลายทางชีวภาพได้เช่นกัน ..

แม้ว่าคำว่า ไบโอโพลิเมอร์ Biopolymers” สามารถใช้เพื่ออ้างถึงโมเลกุลสายโซ่ยาวที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เซลลูโลสโพลีแซ็กคาไรด์โปรตีน Cellulose Polysaccharide และดีเอ็นเอ DNA แต่คำจำกัดความของคำนี้ได้ขยายให้รวมถึงวัสดุชีวภาพที่ผลิตขึ้น หรือที่ได้มาจากธรรมชาติ โพลีเมอร์ Polymer วัสดุชีวภาพบางชนิดแตกต่างจากโพลีเมอร์สังเคราะห์ เนื่องจากสามารถย่อยสลายโดย แบคทีเรีย เชื้อรา หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์เมตาบอลิซึมตามธรรมชาติได้ ..

อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดที่กล่าวถึงนั้น อาจดูซับซ้อน แต่สิ่งที่แน่นอนคือ ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าพลาสติกรูปแบบดั้งเดิมอย่างมาก ส่วนใหญ่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพในธรรมชาติ หรือในสภาวะที่เหมาะสมได้ ดังนั้นการเปลี่ยนพฤติกรรมของสังคมมาใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ มาตรการการใช้พลาสติกรีไซเคิล การคัดแยกขยะพลาสติกที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งนำขยะเหลือใช้ไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล จะกลายเป็นมาตรการหลักในการต่อสู้กับปัญหาสิ่งแวดล้อมโลกในอนาคตได้ในที่สุด ..

ทั้งนี้ มาตรการต่าง ๆ จะยิ่งมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นอีก หากโรงงานพลาสติกชีวภาพเหล่านี้ เน้นการใช้พลังงานสะอาดหลักจากแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน แทนที่การใช้แหล่งพลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ในกระบวนการผลิตพลาสติกชีวภาพ หรือผลิตภัณฑ์ชีวภาพอื่น ๆ ซึ่งหมายถึง การลดการพึ่งพาน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ลงทั่วทั้งระบบอย่างครบวงจรนั่นเอง ..

ความจริงเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพ The Truth About Bioplastics ..

ปัจจุบันพลาสติกชีวภาพ ถูกใช้ในสิ่งของที่ใช้แล้วทิ้ง เช่น บรรจุภัณฑ์ ภาชนะ หลอด ถุง และขวด และในแผ่นพรมที่ไม่ใช้แล้วทิ้ง ท่อพลาสติก ปลอกโทรศัพท์ วัสดุและเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ฉนวนกันความร้อนในรถยนต์ ที่อยู่อาศัย และการปลูกถ่ายทางการแพทย์ .. ตลาดพลาสติกชีวภาพทั่วโลก คาดว่าจะเติบโตอย่างรวดเร็วจาก 17,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีนี้ เป็นเกือบ 44,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2565 ..

Bioplastics : Global Plastics Market | Photo Credit : Plastics Today / Grand View Research, Inc. / Market Research & Consulting

Grand View Research | San Francisco reported that bioplastics had less than a 2% share of the plastics industry in 2015, but a 5% market share of the total plastics market by 2020 and forecasting a 40% share by 2030, making bioplastics a $324 billion-dollar enterprise in just over a decade

โดยทั่วไป PLA หรือ กรด Polylactic ทำจากน้ำตาลในแป้งข้าวโพด มันสำปะหลัง หรืออ้อย มันสามารถย่อยสลายทางชีวภาพ คาร์บอนเป็นกลาง และกินได้ ในการเปลี่ยนข้าวโพดเป็นพลาสติก เมล็ดข้าวโพดจะถูกแช่ในซัลเฟอร์ไดออกไซด์ SO2 และน้ำร้อน ซึ่งส่วนประกอบของมันจะแตกตัวเป็นแป้งโปรตีน และเส้นใย จากนั้นเมล็ดจะถูกบด และแยกน้ำมันข้าวโพดออกจากแป้ง แป้งประกอบด้วยโมเลกุลคาร์บอนโซ่ยาวคล้ายกับโซ่คาร์บอนในพลาสติกจากเชื้อเพลิงฟอสซิล กรดซิตริกบางชนิด ถูกผสมเพื่อสร้างโพลีเมอร์สายโซ่ยาว หรือโมเลกุลขนาดใหญ่ประกอบด้วยหน่วยที่เล็กกว่าซ้ำ ๆ กัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของพลาสติก PLA สามารถมีลักษณะและพฤติกรรมเหมือนโพลีเอทิลีน Polyethylene ใช้ใน ฟิล์ม พลาสติกบรรจุภัณฑ์ และขวด .. โพลีสไตรีน Polystyrene : PS ใช้ใน สไตโรโฟม Styrofoam และช้อนส้อมพลาสติก หรือโพลีโพรพีลีน Polypropylene : PP ใช้ในบรรจุภัณฑ์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และสิ่งทอ .. ทั้งนี้ บริษัท NatureWorks ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองมินิโซตา สหรัฐฯ ถือเป็นหนึ่งใน บริษัทฯ ที่ใหญ่ที่สุดที่ผลิต PLA เป็นที่รู้จักกันภายใต้ชื่อแบรนด์ Ingeo ..

PHA: Polyhydroxyalkanoate ผลิตขึ้นจากจุลินทรีย์ บางครั้งได้รับการดัดแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งมันจะผลิตพลาสติกจากวัสดุอินทรีย์ .. จุลินทรีย์ขาดสารอาหาร เช่น ไนโตรเจน ออกซิเจน และฟอสฟอรัส แต่ได้รับคาร์บอนในปริมาณสูง พวกมันจะผลิต PHA เป็นคาร์บอนสำรองเก็บไว้ในแกรนูลจนกว่าจะมีสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นในการเจริญเติบโต และสืบพันธุ์มากขึ้น .. และด้วยกระบวนการดังกล่าวนี้ เราจึงสามารถเก็บเกี่ยว PHA ที่ทำจากจุลินทรีย์ซึ่งมันมีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับพลาสติกแบบดั้งเดิม แต่เนื่องจากมันสามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ และไม่เป็นอันตรายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต PHA จึงมักใช้กับการใช้งานทางการแพทย์ เช่น การเย็บแผล สลิงแผ่นกระดูก และสารทดแทนผิวหนัง นอกจากนี้ ยังใช้สำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารแบบใช้ครั้งเดียว ..

อย่างไรก็ตาม พื้นที่ที่จำเป็นสำหรับพลาสติกชีวภาพแข่งขันกับพื้นที่การผลิตอาหารในอนาคตแน่นอน เนื่องจากพืชที่ผลิตพลาสติกชีวภาพสามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงผู้คนได้ เช่นกัน .. กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้ทำให้ความต้องการพลาสติกชีวภาพเพิ่มขึ้นทั่วโลก พื้นที่กว่า 3.4 ล้านเอเคอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ใหญ่กว่าเบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์กรวมกัน ถูกใช้ไปในการปลูกพืชเพื่อผลิตพลาสติกชีวภาพแทนที่จะสร้างผลผลิตการเกษตร ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ .. นอกจากนี้ ปิโตรเลียม ยังคงถูกใช้ในการทำงานของเครื่องจักรในฟาร์ม ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อเนื่องต่อไป ..

พลาสติกชีวภาพ Bioplastics ยังมีราคาค่อนข้างแพง .. PLA อาจมีราคาแพงกว่าวัสดุที่เทียบเคียงกันได้ 20 ถึง 50 % เนื่องจากกระบวนการที่ซับซ้อนที่ใช้ในการแปลงข้าวโพด หรืออ้อย เป็นส่วนประกอบของ PLA .. นี่ยังไม่ได้กล่าวถึงราคาที่สูงกว่าของ PHA ที่ใช้ในทางการแพทย์ ..

อย่างไรก็ตาม ราคาของ Bioplastics กำลังจะลดลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความต้องในตลาดที่เพิ่มขึ้น รวมทั้ง นักวิจัยทั้งหลาย และบริษัทฯ ที่ประกอบธุรกิจพลังงานสะอาด ต่างเร่งพัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ ที่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งให้ความสำคัญต่อการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในกระบวนการผลิตพลาสติกชีวภาพที่ก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ รวมถึงการนำกลับมาใช้ใหม่ และการบริหารจัดการขยะพลาสติกจนถึงสุดทางครบวงจร ..

End of Life Option for Bioplastics: Helping ‘Closing the Loop’ | Photo Credit: European Bioplastics

ปัญหาขยะพลาสติก ไมโครพลาสติก ..

ขยะพลาสติก คือตัวอันตราย และเป็นภัยคุกคามห่วงโซ่อาหาร .. ขยะพลาสติกเพียง 9% เท่านั้น ที่ถูกนำไปรีไซเคิล กับขยะพลาสติก 12 % ถูกนำไปเผาทิ้ง ซึ่งมันก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศอย่างมาก และที่เหลืออีก 79 % ยังคงตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อม และหลุดเข้าไปสู่เครือข่ายใยอาหารในระบบนิเวศวิทยา ..

มลพิษพลาสติกเหล่านี้ เป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ทั้งเต่าทะเล ปลา นกทะเล รวมถึงปะการังด้วย นอกจากนี้การแตกตัวของขยะพลาสติกไปสู่พลาสติกจิ๋ว ๆ ที่เราเรียกมันว่า ‘ไมโครพลาสติก Microplastics’ ยังมีความเสี่ยงที่จะถูกสัตว์ทะเลกินเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อเป็นเช่นนั้น ไมโครพลาสติกเหล่านี้ ก็จะไหลทะลักเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร และแน่นอนว่ามนุษย์เราก็เป็นหนึ่งในห่วงโซ่นี้ การบริโภคมันเข้าไป จะทำให้มันสะสมอยู่ในหลอดเลือด และร่างกายของเรา สร้างปัญหาต่อสุขภาพของผู้คนในระยะยาวได้ต่อไป

การกำหนดนโยบายควบคุม และยุติมลพิษจากขยะพลาสติกตัวร้ายเหล่านี้ ซึ่งรวมถึง การใช้พลาสติกรีไซเคิล การนำขยะพลาสติกมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล และที่สำคัญการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ Bioplastics ที่ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ ทดแทนพลาสติกปีโตรเคมีที่ไม่ย่อยสลาย โดยใช้แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน เป็นหลัก กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ในสังคมชีวิตประจำวันของมนุษยชาติในอนาคต ..

สรุปส่งท้าย ..

ด้วยความจริงในอนาคตที่ใกล้จะมาถึงในที่สุดนั้น .. หาก ปิโตรเลียม กำลังถูกแทนที่ด้วย แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และ พลังงานหมุนเวียน หรือแม้แต่ พลังงานนิวเคลียร์ กลายเป็นจริง .. ปิโตรเคมี ก็กำลังถูกแทนที่ผลิตภัณฑ์ชีวมวลที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ง่ายด้วยเช่นกัน ..

กระแสการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และธุรกิจพลังงานสะอาด ส่งผลให้ วัสดุทดแทน วัสดุหมุนเวียน Renewable Materials ตัวอย่างเช่น พลาสติกชีวภาพ Bioplastics มีความต้องการขยายตัวอย่างรวดเร็วจาก 4% เป็น 40% ในไม่เกิน 10 ปี โดยเฉพาะ ตลาดบรรจุภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่มที่เป็นผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพใช้ครั้งเดียว Single-Use Plastics ในเอเชียที่มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยสูงสุด Compound Annual Growth Rate : CAGR 22% ..

ในอดีตที่ผ่านมา พลาสติกชีวภาพของไทย ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จากข้อจำกัดด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ และการผลักดันความต้องการของผู้บริโภคผ่านมาตรการภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปสิ้นเชิง ถือเป็นโอกาสดีในการพัฒนาของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย .. ข้อจำกัดการใช้พลาสติกปิโตรเคมีของบางประเทศพัฒนาแล้วได้รับการแก้ไข ทำให้ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ กลายเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพของไทย จากมาตรการยกเลิกใช้พลาสติกบางประเภท โดยมีมูลค่าตลาดส่งออกสูงถึง 16,697 ล้านบาทในปี 2562 และมีมูลค่า 19,107 ล้านบาท ในปี 2563 หรือหมายถึงตลาดส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพของไทย เติบโตอย่างน้อย 14% ต่อปี และยังคงเติบโตต่อเนื่องต่อไปอย่างมั่นคง คาดว่าพลาสติกชีวภาพ จะเข้าไปทดแทนพลาสติกจากปิโตรเคมี จากนี้ไปอย่างน้อยประมาณ 30% ในตลาดเอเชีย ..

การพิจารณาลด หรือเลิกใช้พลาสติกจากปิโตรเคมีให้มากที่สุด หรือนำมารีไซเคิล เป็นแนวทางหนึ่งในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมได้ .. แต่พลาสติกนั้น ไม่เหมือนโลหะอย่างเหล็ก หรืออลูมิเนียม ที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลโดยใช้ความร้อนหลอมแล้วกลับเป็นวัตถุดิบได้เลยเกือบสมบูรณ์ จากการที่พลาสติกแต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน เมื่อนำมารวมกัน จะทำให้ไม่สามารถที่จะรีไซเคิลกลับมาเป็นวัตถุดิบได้ เช่น ถ้าเป็นขวดน้ำพลาสติก PET หากถูกนำไปทิ้งรวมกับแกลลอนน้ำมันเครื่อง หรือพลาสติกอื่นๆ ก็ไม่สามารถที่จะรีไซเคิลกลับมาเป็นวัตถุดิบเพื่อทำขวด PET หรือแกลลอนน้ำมันเครื่องได้ หรือแม้แต่เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตเสื้อผ้า หรือผลิตหมวกจากเส้นใยของ PET ต่อก็ไม่สามารถกระทำได้ จึงต้องเข้าใจว่าพลาสติกทุกประเภทแตกต่างกัน หรือเมื่อมีพลาสติกชีวภาพ หรือ Bioplastic ปนเปื้อนกับพลาสติกทั่วไป การรีไซเคิลก็จะมีปัญหา จึงกล่าวได้ว่าการรีไซเคิลพลาสติกที่ดีนั้น ต้องจำแนกประเภทให้ชัดเจน แม้ว่าจะเป็นพลาสติกที่มาจากฟอสซิลด้วยกันก็ตาม ยิ่งหากผสมพลาสติกชีวภาพเพิ่มเข้าไปอีก ทางออกที่ดีที่สุดในปัจจุบันคงจะเป็นการนำมาถมทำเป็นพื้นถนน หรือนำมันมาผลิตเป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงชีวมวลได้ต่อไป เป็นต้น ..

อย่างไรก็ตาม ทางเลือกหนึ่งในการตอบโจทย์ของพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง ยังได้แก่ การหาทางให้พลาสติกเหล่านี้สามารถสลายตัวได้เสมือนเปลือกผลไม้ เช่น เปลือกกล้วย ส้ม หรือแม้กระทั่งทุเรียน ที่เมื่อทิ้งไว้แล้วจะสลายตัวไป จึงมี การพัฒนาพลาสติกที่สลายตัวได้ทางชีวภาพ หรือ Compostable Plastic ที่ใช้วัตถุดิบจากพืช เช่น แป้งมัน ข้าวโพด หรืออ้อย โดยพลาสติกที่สลายตัวได้ทางชีวภาพที่ใช้กันมากในปัจจุบัน คือ PLA Polylactic Acid ซึ่งใช้กันแพร่หลายในการทำเป็นภาชนะต่าง ๆ เนื่องจากมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับพลาสติก สามารถขึ้นรูป รองรับของเหลว และทนกับความร้อนได้ระดับหนึ่ง

เมื่อเป็นพลาสติกชีวภาพที่ได้มาตรฐานจากสถาบันหลัก เช่น ISO ในระดับสากล ASTM ในอเมริกา EN ในยุโรป หรือ มอก.ในเมืองไทยที่ออกข้อกำหนดสำหรับพลาสติกที่สลายตัวได้ทางชีวภาพสามารถสลายตัวได้ในสภาวะที่เหมาะสม ซึ่งมาตรฐานเหล่านี้ กำหนดให้พลาสติกดังกล่าวจะแตกเป็นส่วน Disintegration ได้ใน 84 วัน และสลายตัวเป็นแร่ธาตุ Mineralization และชีวมวล Biomass ใน 180 วัน ในรูปแบบปุ๋ยหมัก .. ทั้งนี้ การนำพลาสติกชีวภาพ มาทำเป็นปุ๋ยหมัก เป็นวิธีการจัดการที่เหมาะกว่าวิธีอื่น ๆ เช่น การเผา หรือปล่อยทิ้งลงทะเล ซึ่งในระยะหลังก็เริ่มมีการพัฒนาพลาสติกชีวภาพที่ย่อยสลายได้ในทะเล หรือ Marine Biodegradable แล้ว เช่น PHA : Polyhydroxyalkanoate เป็นต้น ..

สำหรับในประเทศไทย บริษัท GC มีการลงทุนในเขตเศรษฐกิจ EEC ไปแล้วกว่า 1 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เพื่อสิ่งแวดล้อมกว่า 1,800 ล้านบาท สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทย ด้วย โมเดลเศรษฐกิจสีเขียว Bio – Circular – Green Economy หรือ BCG Economy และยังร่วมสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมล้ำสมัยของประเทศ ผ่านโรงเรียนกำเนิดวิทย์ KVIS และสถาบันวิทยสิริเมธี VISTEC เพื่อมุ่งหวังที่จะบ่มเพาะบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนความมั่นคงทางพลังงานของประเทศไทยอย่างยั่งยืนในอนาคต

นอกจากนี้ GC ยังคงให้ความสำคัญกับพลาสติกชีวภาพที่ใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ .. GC เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน NatureWorks ซึ่งเป็นผู้ผลิต PLA: Polylactic Acid ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ .. GC มีส่วนแบ่ง 50% ใน PTTMCC Biochem ซึ่งเป็นผู้นำด้าน BioPBS : Bio Polybutylene Succinate ซึ่ง PLA และ BioPBS ถือว่าเป็นพลาสติกชีวภาพที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนทั่วโลก และมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องอย่างมั่นคงในอนาคต ..

การผลักดันอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพให้เกิดขึ้นในประเทศไทย เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง “พลาสติกชีวภาพ Bioplastics” กลายเป็นนวัตกรรมด้านพลาสติกที่ตอบโจทย์การผลิตสีเขียว Green Manufacturing อย่างแท้จริง อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าพลาสติกชีวภาพจะมีลักษณะพิเศษที่โดดเด่นที่พลาสติกทั่วไป ไม่เพียงทางด้านการผลิต และการบริโภค ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยีการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ต้นทุนราคา หรือแม้แต่ความพร้อมในการยอมรับของผู้บริโภค รวมทั้งการบริหารจัดการขยะเหลือใช้ หรือขยะใช้แล้วในขั้นตอนสุดท้ายที่แม้จะสะดวกกว่า ง่ายกว่า และรักษ์โลกมากกว่าก็ตาม

แต่ประเด็นทั้งหมดนี้ ยังคงเป็นอุปสรรคในการเติบโตของตลาดพลาสติกชีวภาพอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเด็น ราคาต้นทุนของเม็ดพลาสติกชีวภาพ มีราคาสูงกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไป ส่งผลให้สินค้าจากพลาสติกชีวภาพมีราคาสูงตามไปด้วย จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดต่างประเทศ ซึ่งทางออกของเรื่องนี้ คือ การที่ไทยต้องพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพใช้เองภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นแนวทางออกในระยะยาว เพราะเทรนด์แนวโน้มการใส่ใจสิ่งแวดล้อมโลกจะเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน ..

อย่างไรก็ตาม การบุกตลาดธุรกิจ และอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ Bioplastics & Bio-Based Industry ของ GC ในประเทศ ถือเป็นการมองการณ์ไกลที่ยอดเยี่ยมเหนือชั้น .. ประเทศไทย เป็นชาติเกษตรกรรมขนาดใหญ่ที่อุดมไปด้วยทรัพยากร พืชพันธุ์ และวัสดุชีวมวลหลากหลายจำนวนมาก จึงมีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้ประโยชน์จากชีวมวล Biomass รวมทั้งการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ขยะแห้ง ขยะเปี๊ยก มูลสัตว์ หรือแม้แต่ขยะพลาสติก .. การลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล-ขยะ ของ EA เพื่อบุกธุรกิจพลังงานสะอาด เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่น่าตื่นเต้น มันสามารถลดการจัดการขยะด้วยการฝังกลบได้ในระดับหนึ่ง และจะลดลงมากกว่านี้อีกหากเรามุ่งใช้พลาสติกรีไซเคิล ..

ปัจจุบัน ประเทศไทย กำลังก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางพลาสติกชีวภาพ .. ประเทศกลุ่มเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งไทย เป็นแหล่งความต้องการหลักจากปริมาณโรงงาน และวัตถุดิบที่มีอยู่จำนวนมาก ในขณะที่ยุโรปก็ขาดแคลนแหล่งน้ำมันสำรอง และต้องใช้วัสดุทางเลือกแทนการใช้พลาสติกแบบดั้งเดิม การผลิต และการใช้พลาสติกชีวภาพ จึงถูกมองว่าเป็นทางออกที่มีความยั่งยืน เนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำ และมีปัจจัยช่วยกระตุ้นตลาดจากความสนใจของผู้บริโภค ความกังวลเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และนโยบายภาครัฐของแต่ละประเทศ ..

Bio Plastics | Photo Credit : GC / Bio Sure

ข้อมูลจาก BOI ชี้ให้เห็นว่า กำลังการผลิตพลาสติกชีวภาพทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 2.11 ล้านตันในปี 2561 เป็น 2.61 ล้านตันภายในปี 2566 .. เอเชีย ยังคงเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญโดยกว่า 50% ของการผลิตพลาสติกชีวภาพเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ .. นอกจากนี้ตลาดบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพทั่วโลก คาดว่าจะเติบโตจาก 5.94 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2561 เป็น 24.84 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2569 ..

นั่นหมายถึง แนวโน้มการเติบโตของขนาดธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 4 เท่าขึ้นไป ภายในระยะเวลาเพียง 6-8 ปีเท่านั้น โดยคาดหมายว่า หากราคาต้นทุนของพลาสติกชีวภาพลดลงอีก กับการขยายตัวของปิโตรเคมีเริ่มมีการชะลอตัวลงแล้ว เชื่อได้ว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ และตลาดของมันในอนาคตจะขยายตัวต่อเนื่องด้วยความเร่งอย่างไม่มีข้อสงสัย ..

ประเทศไทย อยู่ในตำแหน่งที่ดีในการเป็นศูนย์กลางพลาสติกชีวภาพระดับโลก และกำลังจะกลายเป็นผู้ผลิตชั้นนำทั้งผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ และเป็นแหล่งวัตถุดิบที่จำเป็น เพียบพร้อมไปด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง และความเชี่ยวชาญทางเทคนิคในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน สถานที่ตั้งของประเทศที่อยู่ใจกลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างการเข้าถึงตลาดให้กับผู้บริโภคทั่วทุกภูมิภาค พื้นที่เกษตรกรรมกว้างใหญ่ไพศาล ไม่มีปัญหาเรื่องความขัดแย้งการจัดสรรทรัพยากร รวมทั้งมีการนำนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่เข้มแข็งมาใช้ เพื่อกระตุ้นการเติบโตในภาคส่วนนี้ ..

ปัจจัยเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของประเทศไทยที่จะก้าวขึ้นเป็นศูนย์กลางพลาสติกชีวภาพระดับโลก ซึ่งหมายถึงโอกาสทางธุรกิจ และการเติบโตของขนาดธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง และตลาดพลาสติกชีวภาพในอนาคตที่มั่นคงยั่งยืนได้ต่อไป ..

……………………………..

คอลัมน์ : Energy Key

By โลกสีฟ้า ..

สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)

ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-

Bioplastic | Definition & Facts | Britannica :-

https://www.britannica.com/technology/bioplastic

The Truth About Bioplastics | Columbia University :-

Bioplastics – are They Truly Better for the Environment? | National Geographic :-

https://www.nationalgeographic.com/environment/article/are-bioplastics-made-from-plants-better-for-environment-ocean-plastic

Are Bioplastics Better for the Environment than other Plastics :-

Effect of Bio – Based Products on Waste Management | MDPI :-

https://www.mdpi.com/2071-1050/12/5/2088/htm

A Bio – Based .. Reuse Economy can Feed the World and Save the Planet | UN :-

https://www.un.org/sustainabledevelopment/blog/2018/04/a-bio-based-reuse-economy-can-feed-the-world-and-save-the-planet-un-agency/

Bio – Based and Biodegradable Plastics .. Facts and Figures | Wageningen Food & Biobased Research :-

https://edepot.wur.nl/408350

Are Bio – Based Plastics the Answer to the Plastic Crisis :-

Bioplastics : Polymer of the Future | Plastics Institute of Thailand :-

https://www.thaiplastics.org/img/content_attachment/attach/plastics_foresight_vol.8_.pdf

ยุทธศาสตร์ และแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมกลุ่มอุตสาหกรรมฐานชีวภาพ Bio – Based Industry | สํานักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม : สสว. :-

https://sme.go.th/upload/mod_download/Bio_based_Bioplastics_5yrplan-20171018125653.pdf

Thailand’s Bioplastics Industry | BOI :-

https://www.boi.go.th/upload/content/BOI-brochure%202017-bioplastics-20171114_19753.pdf

Biodegradable Plastic: Types, Properties & Material Table :-

https://omnexus.specialchem.com/polymer-properties/properties/biodegradable

- Advertisment -spot_img
- Advertisment -spot_imgspot_img

Featured

- Advertisment -spot_img
Advertismentspot_imgspot_img
spot_imgspot_img