Cobalt-Free Lithium-Ion Batteries Outperform Their Peers
“….ปัจจุบัน ทีมนักวิจัยชาวญี่ปุ่น Team of Japanese Researchers ได้แสดงให้เห็นว่า เป็นไปได้ที่จะสร้างลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries ที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องใช้โคบอลต์ Cobalt : 27Co …”
โคบอลต์ Cobalt : 27Co ถูกนำมาใช้ในแคโทด Cathodes ของลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน ซึ่งทำให้แบตเตอรี่ Batteries มีความเสถียร Stabilizing Them และเพิ่มความหนาแน่นของพลังงาน Boosting Energy Density .. แต่วัสดุแร่ธาตุหายาก Rare-Earth Element มหัศจรรย์นี้ นอกจากจะหายาก Scarce แล้ว ยังมีราคาแพง Expensive และเป็นพิษ Toxic .. ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะมีความสนใจที่จะแทนที่โคบอลต์ด้วยวัสดุอื่น Replacing Cobalt : 27Co with Other Materials ..
แน่นอนว่า ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries จำเป็นต้องใช้ลิเธี่ยม Lithium : 3Li แต่จนถึงขณะนี้จำเป็นต้องใช้โคบอลต์ Cobalt : 27Co มาพร้อมด้วย .. ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries เชิงพาณิชย์นั้น ล้วนมีโคบอลต์ Cobalt : 27Co จำนวนมาก ซึ่งทำให้เป็นหนึ่งในวัสดุบนแบตเตอรี่ที่มีราคาแพงที่สุด Most Expensive และยังถือเป็นวัสดุแบตเตอรี่ที่ขึ้นอยู่กับแหล่งทรัพยากรโลกที่มีข้อจำกัด Resource-Strained Battery Materials ทั้งในด้านปริมาณ และภูมิรัฐศาสตร์ ..
ปัจจุบัน ทีมนักวิจัยชาวญี่ปุ่น Team of Japanese Researchers ได้แสดงให้เห็นว่า เป็นไปได้ที่จะสร้างลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries ที่มีประสิทธิภาพโดยไม่ต้องใช้โคบอลต์ Cobalt : 27Co .. พวกเขาอ้างว่า สูตรใหม่ของพวกเขาแข่งขันได้ และยังมีประสิทธิภาพเหนือกว่าลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries เชิงพาณิชย์ในบางตัวชี้วัดอีกด้วย ..
ศาสตราจารย์ อัตสึโอะ ยามาดะ Professor Atsuo Yamada นักวิจัยจากภาควิชาวิศวกรรมระบบเคมีแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว Researcher at the University of Tokyo’s Department of Chemical System Engineering, Tokyo University ชี้ให้เห็นว่า “มีหลายเหตุผลที่เราต้องการเปลี่ยนออกไปจากการใช้โคบอลต์ Cobalt : 27Co เพื่อปรับปรุงลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Transition Away From Using Cobalt to Improve Lithium-Ion Batteries” ..
นอกเหนือจากราคาที่ผันผวน Fluctuating Price .. โคบอลต์ Cobalt : 27Co ส่วนใหญ่ของโลก ยังขุดได้ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก Democratic Republic of the Congo ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวได้ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ Significant Environmental Problems และทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับแรงงานเด็ก Raised Concerns about Child Labour แม้ว่าการผลิตจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสถานที่อื่นๆ รวมถึงออสเตรเลีย Australia ก็ตาม ..
ศาสตราจารย์ ยามาดะ Yamada กล่าวย้ำว่า “สำหรับมนุษยชาติแล้ว ความท้าทายเป็นเรื่องทางเทคนิค แต่ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม Environmental, เศรษฐกิจ Economic, สังคม Social และเทคโนโลยี Technological นั้น คือ ประเด็นสำคัญที่ไม่อาจละเลยได้จากนี้ไป” ..
ในสหรัฐฯ นักวิทยาศาสตร์ของ University of California, Irvine : UCI เช่นเดียวกับทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยโตเกียว Tokyo University .. พวกเขา สร้างลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ปราศจากโคบอลต์ Long-Lasting, Cobalt-Free, Lithium-Ion Batteries ..
ในการค้นพบของพวกเขาที่สามารถลด หรือขจัดการใช้โคบอลต์ Cobalt : 27Co ซึ่งมักขุดขึ้นมาด้วยการใช้แรงงานเด็ก ในแบตเตอรี่ที่ใช้กับรถยนต์ไฟฟ้า Batteries that Power Electric Cars และผลิตภัณฑ์อื่นๆ .. นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เออร์ไวน์ University of California, Irvine : UCI ได้พัฒนาทางเลือกที่ยั่งยืนกว่า ซึ่งทำจาก นิกเกิล Nickel : 28Ni ..
“นิกเกิล Nickel : 28Ni ไม่มีปัญหาเรื่องแรงงานเด็ก” Huolin Xin ศาสตราจารย์ด้านฟิสิกส์ และดาราศาสตร์ของ UCI ซึ่งทีมของเขาได้คิดค้นวิธีการดังกล่าว ชี้ว่า พวกมันนำไปสู่การสร้างลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries รุ่นใหม่ที่ต่างออกไป และมีข้อขัดแย้งน้อยกว่า .. จนถึงขณะนี้ นิกเกิล Nickel : 28Ni ยังไม่สามารถทดแทนได้จริง เนื่องจากต้องใช้จำนวนมากในการผลิตลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries ซึ่งทำให้ต้นทุนของโลหะก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง .. การวิจัย และพัฒนาในการเป็นทางเลือกที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจเชิงพาณิชย์แทนโคบอลต์ Cobalt : 27Co นั้น แบตเตอรี่ที่ใช้นิกเกิล จำเป็นต้องใช้นิกเกิล Nickel : 28Ni ให้น้อยที่สุด คือ ความท้าทายจากนี้ไป ..
ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทีมงานของศาสตราจารย์ Huolin Xin ใช้เวลา 3 ปีในการคิดค้นกระบวนการที่เรียกว่า “การใช้สารกระตุ้นเข้มข้นแบบซับซ้อน Complex Concentrated Doping” ซึ่งช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถปรับเปลี่ยนสูตรทางเคมีที่สำคัญในลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries ได้อย่างง่ายดายเหมือนกับการปรับเครื่องปรุงรสในสูตรอาหาร ..
ศาสตราจารย์ Huolin Xin อธิบายว่า กระบวนการเติมสารกระตุ้น Complex Concentrated Doping ช่วยลดความจำเป็นในการใช้โคบอลต์ Cobalt : 27Co ในส่วนประกอบเชิงพาณิชย์ที่สำคัญต่อการทำงานของลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries และแทนที่ด้วยนิกเกิล Nickel : 28Ni ..
“การ Doping ยังเพิ่มประสิทธิภาพของนิกเกิล Nickel : 28Ni อีกด้วย หมายความว่า แบตเตอรี่บนยานยนต์ไฟฟ้า EVs จะต้องใช้นิกเกิล Nickel : 28Ni น้อยลงในการทำงาน ซึ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยทำให้โลหะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจยิ่งขึ้นแทนแบตเตอรี่ที่ใช้โคบอลต์ Replaces it with Nickel : 28Ni ..
ศาสตราจารย์ Huolin Xin คาดว่า เคมีนิกเกิลใหม่ New Nickel Chemistry จะสามารถเริ่มเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries ได้อย่างรวดเร็ว และยังเชื่อมั่นว่า บริษัทฯ รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle Companies ในสหรัฐฯ กำลังวางแผนที่จะนำผลงานที่ทีมของเขาเผยแพร่ไปประยุกต์ใช้สำหรับอนาคตยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs จากนี้ไป ..
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ผู้ผลิต EVs รู้สึกตื่นเต้นมากกับแบตเตอรี่นิกเกิลต่ำ Low-Nickel Batteries และต้องมีการตรวจสอบเทคนิคนี้ ซึ่งรวมถึงการทดสอบด้านความความปลอดภัยไปพร้อมด้วย ..
ทั้งนี้ แบตเตอรี่ลิเธี่ยมเหล็กฟอสเฟต Li/LiFePO4 : LFP และแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไททาเนต Lithium Titanate Batteries: Li4Ti5O12 : LTO คือ อีกตัวอย่างของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Lithium-Ion Battery Technologies ในตลาดชุดแบตเตอรี่ที่มีจำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน .. พวกมัน ได้แสดงถึงตัวอย่างความสำเร็จที่ยอดเยี่ยมในการใช้งานแบตเตอรี่รูปแบบโซลิดสเตต Solid State Batteries & Application ด้วยราคาที่ถูกกว่า ปราศจากโคบอลต์ Cobalt : 27Co และพวกมัน ได้กลายเป็นความหวังสำหรับอนาคตระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่โครงสร้าง Structural Batteries บนรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ที่ปลอดภัยกว่าอีกด้วย ..
แบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Batteries มีการผลิตขึ้นใช้งานแล้ว ทำให้อาจไม่จำเป็นต้องขุดแร่ธาตุหายาก Rare Earth Elements เช่น Cobalt : 27Co เหล่านี้ในปริมาณมากอีกต่อไป ..
ปัจจุบันจากนี้ไป มนุษยชาติ ต้องการโคบอลต์ในแบตเตอรี่อีกหรือไม่นั้น คำตอบ คือ ไม่ใช่ ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ อาจไม่จำเป็นต้องใช้โคบอลต์ Cobalt : 27Co อีกต่อไป .. แบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Batteries ได้แก่ ลิเธี่ยมเฟอร์รัสฟอสเฟต LiFePo4 หรือ LFP และ ลิเธี่ยมไททาเนต Li4Ti5O12 หรือ LTO รวมทั้งแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Batteries รูปแบบอื่น ๆ เช่น Vanadium Flow Batteries, Iron – Based Batteries or Iron-Phosphate Batteries และ Solid-State Batteries เป็นต้นนั้น ซึ่งชุดแบตเตอรี่เหล่านี้ มิได้มีการนำโคบอลต์ Cobalt : 27Co มาใช้เป็นแคโทด Cathodes ได้มีการผลิตขึ้นใช้งานเชิงพาณิชย์แล้วด้วยราคาต้นทุนที่ถูกกว่า และปลอดภัย ..
อ้างถึงรายงานในปี 2563 พบว่า บริษัท CATL ผู้ผลิตแบตเตอรี่ของจีน ได้ประกาศการพัฒนาแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle : EV Batteries ที่ประกอบด้วยนิกเกิล Nickel : 28Ni หรือโคบอลต์ Cobalt : 27Co เป็นศูนย์ ซึ่งโดยทั่วไปจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle : EV Batteries ..
จากนั้น ในเดือนสิงหาคมปี 2565 ที่ผ่านมา บริษัท SVOLT ผู้ผลิตแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle : EV Batteries ของจีนเช่นกัน ได้เปิดเผยสิ่งที่อ้างว่าเป็นแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Battery ตัวแรกของโลก และบริษัทฯ ได้จำหน่ายเซลล์แบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Battery Cells มาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท SVOLT พัฒนาเซลล์ Nickle-Manganese Cell Chemistry : NMx Cells ซึ่งทำจากวัสดุแคโทด Cathodes ที่เป็น นิกเกิล Nickel : 28Ni สัดส่วน 75% และแมงกานีส Manganese : 25Mn สัดส่วน 25% .. พวกเขาอ้างว่า แบตเตอรี่เหล่านี้มีความยั่งยืนมากกว่า และราคาถูกกว่าแบตเตอรี่นิกเกิลสูงแบบคลาสสิก Classic High-Nickel Batteries อยู่ที่ประมาณ 5% ..
ทั้งนี้ เทสลา Tesla ก็กำลังมุ่งหน้าไปในทิศทางเดียวกัน ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นมา ได้รับการเปิดเผยว่า รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ของ Tesla เกือบครึ่งหนึ่งที่ผลิตในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 ติดตั้งแบตเตอรี่ลิเธี่ยมเหล็กฟอสเฟต Lithium Iron Phosphate Battery : LiFePO4 Battery หรือแบตเตอรี่ LFP : Lithium Ferrophosphate Batteries ที่ปราศจากโคบอลต์ Cobalt : 27Co ..
ในประเทศจีน บริษัท Tesla ทำงานร่วมกับบริษัท CATL ของจีน และ LG-Chem ของเกาหลีใต้ เพื่อผลิตแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt Free Batteries .. พวกเขายังผลิตชุดแบตเตอรี่ภายในครัวเรือน Batteries in House ร่วมกับบริษัท Panasonic ของญี่ปุ่นอีกด้วย ดังนั้น คาดหมายได้ว่า ผลกระทบโดยรวมจากแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt Free Batteries อาจยิ่งใหญ่กว่านี้ หากความต้องการแบตเตอรี่ลิเธี่ยมเหล็กฟอสเฟต Lithium Iron Phosphate Battery : LiFePO4 Battery หรือแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt Free Batteries รูปแบบต่างๆ เพิ่มขึ้นในอนาคตจากนี้ไป ..
อย่างไรก็ตาม แบตเตอรี่ลิเธี่ยมเหล็กฟอสเฟต Lithium Iron Phosphate Battery : LiFePO4 Battery หรือแบตเตอรี่ LFP : Lithium Ferrophosphate คือ ตัวอย่างลิเธี่ยมไอออน Lithium-Ion Battery แบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ 27Co รูปแบบ Solid State Battery ในตลาดแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicle : EV Batteriesเชิงพาณิชย์ชนิดหนึ่งที่ใช้ลิเธี่ยมเหล็กฟอสเฟต LiFePO4 เป็นวัสดุแคโทด Cathode Material และอิเล็กโทรดคาร์บอนกราไฟท์ที่ใช้โลหะหนุน Graphitic Carbon Electrode with a Metallic Backing เป็นแอโนด Anode ..
ความหนาแน่นของพลังงาน Energy Density ของ LFP Battery นั้นต่ำกว่าลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ทั่วไปประเภทอื่น ๆ เช่น นิกเกิลแมงกานีสโคบอลต์ Nickel Manganese Cobalt : NMC และนิกเกิลโคบอลต์อะลูมิเนียม Nickel Cobalt Aluminum : NCA และยังมีแรงดันไฟฟ้าในการทำงานที่ต่ำกว่า Lower Operating Voltage .. อย่างไรก็ตาม เนื่องจากต้นทุนที่ต่ำกว่ามาก ไม่เป็นพิษ อายุการใช้งานยาวนาน และปัจจัยอื่นๆ ได้ทำให้ชุดแบตเตอรี่ LFP Battery มีบทบาทหลายประการเหมาะสมสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า EVs และการเป็นแหล่งพลังงานสำรอง รวมทั้ง LFP Batteries ถือเป็นระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ระยะทนยาวที่ปราศจากโคบอลต์ Cobalt-Free ..
ลิเธี่ยมไททาเนต Lithium Titanate Batteries : Li4Ti5O12 หรือ LTO คือ อีกตัวอย่างหนึ่งของชุดแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Batteries ในตลาดเชิงพาณิชย์ ..
แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไททาเนต Li4Ti5O12 Batteries หรือลิเธี่ยมไททาเนียมออกไซด์ Lithium-Titanium-Oxide : LTO เป็นแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ประเภทหนึ่งซึ่งมีข้อดี คือ ชาร์จประจุไฟฟ้าได้เร็วกว่าลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ทั่วไป Conventional Lithium-Ion Batteries อื่นๆ แต่มีข้อเสียคือ มีความหนาแน่นของพลังงาน Energy Density ต่ำกว่ามาก ..
แบตเตอรี่ไททาเนต Titanate Batteries ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า Mitsubishi’s I-MiEV Electric Vehicles ของมิตซูบิชิบางรุ่น มีจำหน่ายอยู่ในญี่ปุ่นเท่านั้น เช่นเดียวกับจักรยานไฟฟ้า EV-neo ของฮอนด้า และ Fit EV .. นอกจากนี้ ยังใช้พวกมันบนในรถบัสไฟฟ้า Tosa Concept Electric Bus อีกด้วย .. ทั้งนี้ เนื่องจากแบตเตอรี่ไททาเนต Titanate Batteries มีความปลอดภัย และความสามารถในการชาร์จอยู่ในระดับสูง ดังนั้น แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไททาเนียมออกไซด์ Lithium – Titanium-Oxide : LTO จึงถูกนำมาใช้ในการใช้งานเครื่องเสียงของรถยนต์ตลอดจนอุปกรณ์ทางการแพทย์เคลื่อนที่มาพร้อมด้วย ..
นอกจากนี้ ชุดปากกา Samsung S-Pen ก็ยังใช้แบตเตอรี่ LTO ที่มาพร้อมกับ Samsung Galaxy Note 20 Ultra 5G .. รวมทั้ง บริษัท Weatherflow Co.ยังใช้งานพวกมันกับอุปกรณ์ในสถานีตรวจอากาศ Tempest Weather-Station หลายแห่งด้วยชุดแบตเตอรี่ LTO ขนาด 1300 mAh ซึ่งชาร์จประจุผ่านแผงโซลาร์เซลล์ Solar Panels จำนวน 4 แผง โดยต้องใช้แสงแดดที่เพียงพออย่างน้อย 4 ชั่วโมงในทุก 2 สัปดาห์ในพื้นที่ห่างไกล .. นอกจากนั้น ยังพบว่า แบตเตอรี่ LTO ตามข้อมูลของ Combustion Inc.ทนทานต่อสภาพอากาศร้อนจัด และพวกมันช่วยให้สามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิที่สูงถึง 105°C หรือ 221°F หรือใช้งานภายในเตาอบได้อย่างปลอดภัยอีกด้วย ..
ทั้งนี้ ข้อดีของเทคโนโลยีแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไททาเนตออกไซด์ Lithium Titanate Oxide Battery Technology นั้นมีความสำคัญ และเทคโนโลยี LTO ทั้งหมดนี้นั้น ได้กลายเป็นอีกหนึ่งตัวเปลี่ยนเกมสำหรับอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ทั้งหมด .. LTO Batteries กำลังนำเสนอมิติใหม่ของความเป็นไปได้สำหรับการจัดเก็บพลังงานไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Energy Storage ทั้งในด้านความประหยัด Economical และคำนึงถึงระบบนิเวศ Ecological Aspects ไปพร้อมด้วย ..
นักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่น Japanese Scientists พัฒนาลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Lithium-Ion Battery ที่มีความหนาแน่นพลังงานสูง High Energy Density ..
แบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Batteries ใหม่ที่พัฒนาขึ้นในประเทศญี่ปุ่นล่าสุดนั้น ให้ความหนาแน่นของพลังงาน Energy Density มากกว่าลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ทั่วไป Conventional Lithium-Ion Batteries อยู่ที่ประมาณ 60% โดยมีน้ำหนัก และปริมาตรเท่ากัน และคงอยู่ได้มากกว่า 1,000 รอบ การชาร์จ และคายประจุ อย่างที่ไม่เคยมีให้เห็นมาก่อน ..
รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนนิกเกิล – แมงกานีส-โคบอลต์ Lithium Nickel Manganese Cobalt Oxide Batteries: NMC or LiNiMnCoO2 Battery .. อย่างไรก็ตาม การผนวกรวมโคบอลต์ Cobalt : 27Co ไว้ในแบตเตอรี่ประเภทนี้นั้น ถือเป็นปัญหาเนื่องจากการขาดแคลนที่คาดการณ์ไว้ รวมถึงความเป็นพิษ ความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานที่เกี่ยวข้องกับแหล่งวัตถุดิบ สิทธิมนุษยชน และแนวปฏิบัติในการทำเหมืองแร่ ..
ปัจจุบัน ทีมงานที่นำโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียว University of Tokyo ได้ออกแบบลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries ที่จับคู่แคโทดไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Cathode กับแอโนดซิลิคอนซับออกไซด์ Silicon Suboxide : SiOx Anode ซึ่งประสบความสำเร็จในการจัดการกับความท้าทายของโคบอลต์ Cobalt : 27Co ..
“มีหลายเหตุผลที่มนุษยชาติต้องการเปลี่ยนจากการใช้โคบอลต์ Cobalt : 27Co เพื่อปรับปรุงลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries” ศาสตราจารย์อัตสึโอะ ยามาดะ Professor Atsuo Yamada จากภาควิชาวิศวกรรมระบบเคมี Department of Chemical System Engineering กล่าวยืนยันอีกว่า “สำหรับมนุษยชาตินั้น ความท้าทายเป็นเรื่องทางเทคนิค แต่ผลกระทบอาจรวมถึงสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี เรามีความยินดีที่จะรายงานทางเลือกใหม่ทดแทนโคบอลต์ Cobalt : 27Co โดยใช้การผสมผสานองค์ประกอบแบบใหม่ในอิเล็กโทรด รวมถึงลิเธี่ยม Lithium : 3Li, นิกเกิล Nickle : 28Ni, แมงกานีส Manganese : 25Mn, ซิลิคอน Silicon : 14Si และออกซิเจน Oxygen : 8O ซึ่งล้วนเป็นองค์ประกอบที่พบได้ทั่วไปมากกว่า และมีปัญหาน้อยกว่าในการผลิต และการใช้งานอีกด้วย” ..
ทั้งนี้ นอกเหนือจากคุณสมบัติอิเล็กโทรด Electrodes และอิเล็กโทรไลต์ไร้โคบอลต์ Electrolytes Devoid of Cobalt แล้ว การออกแบบแบตเตอรี่ใหม่นี้ ยังแสดงข้อดีหลายประการเหนือชั้นกว่าลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ทั่วไป Conventional Lithium-Ion Batteries ด้วยความหนาแน่นของพลังงานสูงกว่าประมาณ 60% ซึ่งมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น และสามารถจ่ายไฟได้ 4.4 โวลต์ Volts เมื่อเทียบกับแบตเตอรี่ NMC Batteries ทั่วไปที่ประมาณ 3.2-3.7 โวลต์ Volts ..
การทดสอบแบตเตอรี่ด้วยเคมีไฟฟ้าใหม่ล่าสุดนี้ พบว่า สามารถชาร์จ และคายประจุได้รอบลึกที่เต็มกว่า 1,000 รอบ Cycles .. การจำลองการใช้งาน และการชาร์จเต็ม 3 ปี ในกระบวนการนี้ พวกมันสูญเสียความจุในการจัดเก็บกำลังไฟฟ้าเพียงประมาณ 20% เท่านั้น ..
นอกจากทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียว University of Tokyo แล้ว บริษัท Toshiba Corporation ได้พัฒนาลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่รุ่นใหม่ล่าสุดโดยใช้วัสดุแคโทดศักยภาพสูงระดับ 5V ที่ปราศจากโคบอลต์ หรือ Cobalt-Free 5V-Class High-Potential Cathode Material ซึ่งยับยั้งก๊าซจากปฏิกิริยาข้างเคียงที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก .. แบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Batteries เชิงพาณิชย์นี้ สามารถใช้งานได้หลากหลาย ตั้งแต่เครื่องมือไฟฟ้า Power Tools ไปจนถึงยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ..
ก่อนหน้านี้ โคบอลต์ Cobalt : 27Co และนิกเกิล Nickle : 28Ni ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเพื่อรักษาเสถียรภาพของแคโทดของแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Stabilize the Cathodes of Lithium-Ion Batteries .. อย่างไรก็ตาม โคบอลต์ Cobalt : 27Co เป็นโลหะหายาก และมีปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในด้านเสถียรภาพด้านต้นทุน และความน่าเชื่อถือของห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ ยังมีความกังวลเกี่ยวกับนิกเกิล Nickle : 28Ni เนื่องจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้ผลักดันราคาตลาดให้สูงขึ้น .. แคโทดแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนใหม่ของโตชิบา Toshiba’s New Lithium-Ion Battery Cathode นั้น ปราศจากโคบอลต์ Cobalt : 27Co และมีนิกเกิล Nickle : 28Ni น้อยลง ทำให้พวกมันกลายเป็นข้อไขในตลาดที่เหนือชั้นกว่าในแง่ของต้นทุน Cost และการอนุรักษ์ทรัพยากร Resource Conservation ไปพร้อมด้วย ..
การใช้แคโทด Cathode ที่มีศักยภาพสูงระดับ 5V ในลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Battery ของโตชิบา Toshiba จะช่วยเพิ่มแรงดันไฟฟ้าของเซลล์ และประสิทธิภาพด้านพลังงาน .. ปัญหาทางปฏิบัติในอดีต หากไม่ใช้โคบอลต์ Cobalt : 27Co Cathode นั่นคือ ปฏิกิริยาข้างเคียงที่ทำให้เกิดการสลายตัวของอิเล็กโทรไลต์ Electrolyte Decomposition และการสร้างก๊าซที่ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมคุณภาพ Gas that Degrades Battery Performance .. อย่างไรก็ตาม แคโทดใหม่ของโตชิบา Toshiba’s New Lithium-Ion Battery Cathode แก้ปัญหาเหล่านี้ไปได้ และยับยั้งการเกิดก๊าซที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างยอดเยี่ยม เมื่อใช้กับอิเล็กโทรไลต์ที่มีค่าการนำไฟฟ้าสูงแบบธรรมดา Conventional High Conductivity Electrolyte ..
ปัจจุบัน บริษัทโตชิบา Toshiba ได้สร้างต้นแบบลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Battery แบบที่รวมแคโทดใหม่เข้ากับแอโนดไนโอเบียมไทเทเนียมออกไซด์ Niobium Titanium Oxide : NTO Anode .. ในการทดสอบ พบว่า แบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Batteries เชิงพาณิชย์ของโตชิบา Toshiba นี้ ได้แสดงให้เห็นถึงแรงดันไฟฟ้าที่สูงกว่า 3 Volts ชาร์จอย่างรวดเร็วถึง 80% ของความจุใน 5 นาที สมรรถนะด้านพลังงานสูง และคุณลักษณะอายุการใช้งานที่ยอดเยี่ยม แม้ที่อุณหภูมิ 60°C .. พวกมัน ถูกกำหนดเป้าหมายการใช้งานสำหรับกลุ่มแบตเตอรี่ตั้งแต่เครื่องมือไฟฟ้า Power Tools และการใช้งานทางอุตสาหกรรมที่ต้องใช้ไฟฟ้ากำลังแรงสูงด้วยชุดแบตเตอรี่ขนาดเล็ก Industrial Application that Require High Voltage with a Small Battery Packs ไปจนถึงยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ..
โตชิบา Toshiba ได้นำเสนอเทคโนโลยีแคโทด Cathode Technology ในงาน The 64th Battery Symposium of Japan ซึ่งจะจัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมนานาชาติโอซาก้า Osaka International Convention Center ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ..
ทั้งนี้ โตชิบา Toshiba ประเมินเทคโนโลยีใหม่ด้วยแบตเตอรี่รูปแบบเป็นถุงต้นแบบ Pouch Battery ขนาด 1.5 Ah ที่มีขั้วบวกเป็นแอโนดไนโอเบียมไทเทเนียมออกไซด์ Niobium Titanium Oxide : NTO Anode .. การทดสอบแบตเตอรี่ พบว่ามีแรงดันไฟฟ้าสูงถึง 3 Volts หรือสูงกว่า ชาร์จอย่างรวดเร็วถึงความจุ 80% ภายใน 5 นาที ความทนทานที่รักษาระดับ 80% ขึ้นไปของความจุเริ่มต้นหลังจากรอบการชาร์จ และคายประจุมากกว่า 6,000 รอบ ด้วยคุณลักษณะอายุการใช้งานที่ยอดเยี่ยม แม้ที่อุณหภูมิสูงกว่า 60°C ตามที่กล่าวถึงไปแล้ว ซึ่งหมายถึง ตัวอย่างหนึ่งในโอกาสทางธุรกิจสำหรับอนาคตระบบจัดเก็บพลังงานไร้โคบอลต์ Cobalt Free Energy Storage สมรรถนะสูงที่น่าสนใจ และรักษ์โลกมากกว่า ..
ในการพิจารณาการใช้งานที่เป็นไปได้ของแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt Free Battery ใหม่นี้ โตชิบา Toshiba กำลังมองหาการใช้แบตเตอรี่ในเครื่องมือไฟฟ้า Power Tools, อุปกรณ์อุตสาหกรรม และการใช้งานอื่น ๆ ที่มีขนาดเล็ก และต้องการไฟฟ้ากำลังแรงสูงเป็นอันดับแรก .. นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังตั้งเป้าหมายที่จะพัฒนาโมดูลขนาดใหญ่ขึ้นอีกสำหรับการใช้งานบนรถยนต์ ซึ่งนับจากนี้ไป บริษัทฯ จะยังคงปรับปรุงเทคโนโลยีแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt Free Battery Technology ต่อเนื่องต่อไป เพื่อมุ่งเข้าสู่ตลาดเชิงพาณิชย์ทั่วโลกขนาดใหญ่ ภายในปี 2571 ..
คาดการณ์ตลาดแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ทั่วโลก Global Cobalt Free Batteries Market ..
อ้างถึงข้อมูลสำรวจตลาดของ Transparency Market Research พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ทั่วโลก Global Cobalt Free Batteries Market มีมูลค่า 1,227.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และคาดหมายว่า อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ทั่วโลก Global Cobalt Free Batteries Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุดรวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 18.1% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2566-2574 ..
ทั้งนี้ สำหรับประเด็นเฉพาะตลาดแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt Free Batteries ที่เป็นแบตเตอรี่ลิเธี่ยมเหล็กฟอสเฟต Lithium Iron Phosphate Battery ประเภทเดียวทั่วโลกนั้น คือ แบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt Free Batteries ที่โดดเด่นที่สุดในตลาดปัจจุบัน ซึ่งมีมูลค่า 10.12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564 และคาดหมายว่า มูลค่าในตลาดจะพุ่งสูงขึ้นแตะระดับ 15.24 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2570 .. ทั้งนี้ อัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดแบตเตอรี่ลิเธี่ยมเหล็กฟอสเฟตทั่วโลก The Global Lithium Iron Phosphate Battery : LiFePO4 or LFP Battery Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 15.2% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2563-2570 ตามรายงานล่าสุดโดย Grand View Research, Inc. .. ความต้องการ EVs และ Hybrid EVs ที่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก และความต้องการระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Demand of Cobalt-Free Batteries สำหรับแหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Sources ซึ่งมีแนวโน้มกำลังจะเป็นแหล่งพลังงานหลักสำหรับการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม คือ แรงผลักสำคัญที่กระตุ้นการเติบโตของตลาดอย่างต่อเนื่อง ..
การใช้งานเทคโนโลยีแบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูง และคุ้มค่า Usage of High-Performing & Cost-Efficient Battery Technologies ได้เพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาในบรรดาลูกค้าจากทั่วโลก .. ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Manufacturers of Electric Vehicles : EVs กำลังกระตุ้นความต้องการแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Batteries เนื่องมาจากข้อดี เช่น ความคุ้มค่า และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม .. ดังนั้น การใช้ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ในประเทศที่พัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนาที่เพิ่มขึ้นจึงมีแนวโน้มที่จะกระตุ้นการพัฒนาตลาดโลกในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ..
นอกจากนี้ ต้นทุนในการผลิตแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cost of Manufacturing Cobalt-Free Batteries ยังต่ำกว่ามาก ทำให้เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่าเมื่อเทียบกับลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium Ion Batteries .. ยิ่งไปกว่านั้น แบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Batteries ยังช่วยเพิ่มอายุการใช้งาน และประสิทธิภาพที่โดดเด่นอีกด้วย .. ดังนั้น การนำแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Batteries มาใช้งานจึงเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมปลายทาง End-Use Industries ต่าง ๆ เช่น การดูแลสุขภาพ Healthcare, เครื่องใช้ไฟฟ้า Consumer Electronics, การขนส่ง และโลจิสติกส์ Transportation & Logistics และบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะ Smart Packaging ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ไปพร้อมด้วย ..
ทั้งนี้ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Asia Pacific ครองส่วนแบ่งตลาดโลก 45.3% ในปี 2565 และคาดว่าจะเป็นผู้นำอุตสาหกรรมระหว่างปี 2566-2574 ซึ่งอาจเป็นผลจากความต้องการพลังงานแสงอาทิตย์ Demand for Solar Energy และรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ที่เพิ่มขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินเดีย และจีน เป็นต้น ..
ผู้ผลิตแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Battery Manufacturers คาดว่าจะได้รับโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญในยุโรป และอเมริกาเหนือในปีต่อ ๆ ไป สาเหตุมาจากการใช้แบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Usage of Cobalt-Free Batteries บนอากาศยานไร้คนขับ UAVs หรือโดรน Drones ในตลาดที่เพิ่มมากขึ้น ..
สรุปส่งท้าย ..
แบตเตอรี่ลิเธี่ยมเหล็กฟอสเฟต Li/LiFePO4 Batteries ได้แสดงถึงตัวอย่างความสำเร็จที่ยอดเยี่ยมในการใช้งานแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Batteries รูปแบบโซลิดสเตต Solid State Batteries & Application ด้วยราคาที่ถูกกว่า .. พวกมัน คือ ความหวังสำหรับอนาคตระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ปลอดโคบอลต์ Cobalt-Free Batteries ด้วยแร่ธาตุธรรมชาติต้นทุนต่ำ มีปริมาณสำรองในธรรมชาติอยู่มากมาย ไร้พิษ รวมทั้งมีอายุใช้งานทนนานบนรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ..
โคบอลต์ Cobalt : 27Co ถูกนำมาใช้ในแคโทด Cathodes ของลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน ซึ่งทำให้แบตเตอรี่ Batteries มีความเสถียร Stabilizing Them และเพิ่มความหนาแน่นของพลังงาน Boosting Energy Density .. แต่วัสดุแร่ธาตุหายาก Rare-Earth Element มหัศจรรย์นี้ นอกจากจะหายาก Scarce แล้ว ยังมีราคาแพง Expensive และเป็นพิษ Toxic .. ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะมีความสนใจที่จะแทนที่โคบอลต์ด้วยวัสดุอื่น Replacing Cobalt : 27Co with Other Materials ..
แน่นอนว่า ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries จำเป็นต้องใช้ลิเธี่ยม Lithium : 3Li แต่จนถึงขณะนี้จำเป็นต้องใช้โคบอลต์ Cobalt : 27Co มาพร้อมด้วย .. ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries เชิงพาณิชย์นั้น ล้วนมีโคบอลต์ Cobalt : 27Co จำนวนมาก ซึ่งทำให้เป็นหนึ่งในวัสดุบนแบตเตอรี่ที่มีราคาแพงที่สุด Most Expensive และยังถือเป็นวัสดุแบตเตอรี่ที่ขึ้นอยู่กับแหล่งทรัพยากรโลกที่มีข้อจำกัด Resource-Strained Battery Materials ทั้งในด้านปริมาณ และภูมิรัฐศาสตร์ ..
เทคโนโลยีแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt Free Battery Technologies รุ่นล่าสุด เช่น LiFePO4 Battery, แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไททาเนียมออกไซด์ Lithium-Titanium-Oxide : LTO และอื่น ๆ จากนี้ไป จะสามารถเพิ่มอายุการใช้งานของรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ให้ใกล้เคียงรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซิน และดีเซล อยู่ที่ประมาณ 10-15 ปี โดยไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ไฟฟ้าตัวใหม่ ด้วยความหนาแน่นของกำลังไฟฟ้า หรือพลังงานจำเพาะที่ได้รับการปรับปรุงให้สูงกว่าแบตเตอรี่ลิเธี่ยมรูปแบบดั้งเดิมทั่วไป Conventional Lithium Batteries รวมทั้งสามารถปูทางไปสู่อนาคตรถยนต์ไฟฟ้าที่ชาร์จประจุไฟฟ้าจนเต็มได้ ภายในเพียง 10-20 นาที เท่านั้น .. ทั้งนี้ หมายถึงพวกมันได้ปลดล็อคปัญหาข้อจำกัดของแบตเตอรี่ทั่วไป และสาธิตวิธีแก้ปัญหาเรื้อยรังที่มีมานานกว่า 40 ปี ให้คลี่คลายได้ในที่สุด และได้รับการคาดหมายว่า พวกมันมีแนวโน้มสามารถทำตลาดในเชิงพาณิชย์ด้วยต้นทุนที่ถูกลงอีกอย่างมากได้ในอีกไม่นาน ..
ดังนั้น หากเรานำแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt Free Batteries, แบตเตอรี่ Solid State หรือ Semi Solid State Batteries และที่เป็นแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนเหล็กฟอสเฟต Lithium Ferrophosphate : LiFePO4 or LFP เป็นต้นเหล่านี้ มาใช้แทนแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า เช่น Tesla Model 3 ในปัจจุบันแล้ว น้ำหนักของมันจะลดลงเหลือเพียง 187 Kg จาก 478 Kg หรือหมายถึง น้ำหนักชุดแบตเตอรี่จะลดลงกว่าชุดแบตเตอรี่บน Tesla Model 3 ถึงประมาณ 2 เท่าครึ่ง ซึ่งจะทำให้ รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ในอนาคตเหล่านี้นั้น อาจมีน้ำหนักเบาพอๆ กับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล ..
คาดหมายได้ว่า ภายในปีค.ศ.2025 หรือพ.ศ.2568 คนไทยจะได้เห็นรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ของค่ายยานยนต์ต่าง ๆ ซึ่งใช้แบตเตอรี่ไร้โคบอลต์ Cobalt-Free Batteries ขนาด 300 KWh ที่วิ่งอยู่บนถนนในประเทศไทย ด้วยระยะทาง 1,500 Km ต่อการชาร์จประจุไฟฟ้าเพียงครั้งเดียวด้วยราคาที่จับต้องได้อย่างแน่นอนในที่สุด ..
…………………………………………
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Cobalt – Free Lithium – Ion Batteries Outperform Their Peers | Cosmos Magazine :-
https://cosmosmagazine.com/technology/energy/cobalt-free-lithium-batteries/
Japanese Scientists Develop High Energy Density, Cobalt – Free Lithium – Ion Battery | PV – Magazine :-
Japanese Scientists Make Better Lithium – Ion Battery without Cobalt | Nikkei :-
Toshiba Develops New Lithium – Ion Battery with Cobalt – Free 5V Class High – Potential Cathode | Toshiba :-
https://www.global.toshiba/ww/technology/corporate/rdc/rd/topics/23/2311-02.html
Flow, Cobalt – Free and Solid – State: What’s the Future of Rechargeable Batteries? | IEF :-
Cobalt – Free Batteries are Here, so Why are We Still Mining the Mineral? | The Next Web :-
New Battery Technologies That Could Change Everything :-
https://photos.app.goo.gl/fr4TAJbn8HB4tZny8
Lithium Iron Phosphate Batteries: LFP Batteries :-
https://photos.app.goo.gl/sk769s7FLUSXq5nY8
Lithium – Ion Batteries and The Next Generation Battery Documentaries :-