Geopolitics of the Clean Energy Transition
“…การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition คือ เป็นตัวขับเคลื่อนหลักในความต้องการแร่ธาตุวิกฤติสำคัญหลายชนิด Demand for Several Critical Minerals .. กระบวนเปลี่ยนผ่าน Transition Process นี้ จะเป็นการใช้แร่ธาตุ Minerals และโลหะ Metals เป็นจำนวนมาก ..”
ในปัจจุบัน ความต้องการวัสดุดังกล่าวส่วนใหญ่มีไว้เพื่อการใช้งานที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition แต่เมื่อการเปลี่ยนแปลงดำเนินไป ความต้องการวัสดุจำนวนมากก็ได้รับการคาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นแบบที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ .. อ้างอิงสถานการณ์จำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ ณ จุดเล็ง 1.5°C ของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ International Renewable Energy Agency : IRENA นั้น ชี้ให้เห็นถึงโครงสร้างพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงพลังงาน Energy Transition Infrastructure และวัสดุวิกฤติสำคัญ Critical Materials ในกรอบกว้างที่จำเป็นต่อการรักษาเสถียรภาพของสภาพภูมิอากาศ Achieve Climate Stabilization ซึ่งจะรวมถึงพลังงานหมุนเวียน 33,000 GW และการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้า Electrification แตะระดับ 90% ของการขนส่งทางถนน ในปี 2593 .. ความไม่สอดคล้องกันระหว่างอุปสงค์ และอุปทาน สำหรับแร่ธาตุหลายชนิด Mismatch Between Supply & Demand for Several Minerals เป็นที่ประจักษ์ชัดแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับสูง เช่น ลิเธี่ยม Lithium : 3Li เป็นต้น ..
การประเมินภาวะวิกฤติของวัสดุ Assessment of the Criticality of Materials หมายถึง การวิเคราะห์แบบพลวัต และการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง Dynamic & Continuously Changing ซึ่งเกิดขึ้นจากปัจจัยทางเศรษฐกิจ Economics, ภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics และปัจจัยด้านเทคโนโลยี Technological Factors นั้น ปัจจุบันยังไม่มีคำจำกัดความที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลสำหรับวัสดุแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals .. ประเทศ และภูมิภาคหลายแห่ง จัดทำรายการวัสดุแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals ซึ่งโดยทั่วไปจะสะท้อนถึงเทคโนโลยีปัจจุบัน Current Technologies, พลวัตของอุปสงค์ และอุปทานทั่วโลก Global Dynamics of Supply & Demand และบริบทที่ใช้ในการประเมิน Context in which the Assessments .. ปัจจัยในการพิจารณาภาวะวิกฤติ Factors for Determining Criticality จึงยังคงเป็นเรื่องของอัตนัย และเฉพาะสถานที่ Subjective & Location-Specific .. การทบทวนรายการวัสดุวิกฤติของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ International Renewable Energy Agency : IRENA เผยให้เห็นว่า มีวัสดุสำคัญอย่างน้อย 51 รายการที่ใช้สำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นฐานหลัก Renewables-Based Energy Transition ปรากฏอยู่ในรายการที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ..
ปัจจุบัน การชะงักงันในการจัดหาวัสดุวิกฤติสำคัญ Critical Material Supply Disruptions อาจดูเสมือนจะมีผลกระทบไม่มากนักต่อความมั่นคงด้านพลังงาน Energy Security แต่จะมีผลกระทบต่อกระบวนเปลี่ยนผ่านพลังงาน Impacts on the Energy Transition เป็นอย่างมาก .. แนวคิดเรื่องความมั่นคงทางพลังงานในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงแหล่งพลังงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีรากฐานเพียงมาจากความกังวลเรื่องการจัดหาเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel Supply ..
ในทางตรงกันข้าม เทคโนโลยีพลังงานทดแทน Renewable Energy Technologies ที่เริ่มดำเนินงานขึ้นแล้ว สามารถดำเนินการต่อไปได้เป็นเวลาหลายทศวรรษ แม้ว่าการจัดหาวัสดุวิกฤติสำคัญ Supply of Critical Materials จะหยุดชะงักก็ตาม ดังนั้น ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับความชะงักงันในการจัดหาวัสดุวิกฤติสำคัญ Critical Material Supply Disruptions จึงไม่ค่อยเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงาน Energy Security แต่ความชะงักงันในการจัดหาวัสดุแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Material Supply Disruptions นั้น จะเกี่ยวข้องกับโดยตรงอย่างมีนัยสำคัญต่อการชะลอตัวของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Potential Slowdown of Energy Transitions ..
ความเสี่ยงในการพึ่งพา และการเปลี่ยนแปลงของอุปทานของวัสดุวิกฤติสำคัญ Critical Materials โดยพื้นฐานแล้วแตกต่างไปจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels เนื่องจากมีลักษณะ และรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างมาก .. ข้อกังวลที่สำคัญ คือ การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transitions จะทำให้ต้องพึ่งพาการซื้อขายเชื้อเพลิงฟอสซิล และการพึ่งพาวัสดุวิกฤติสำคัญ Critical Materials ไปพร้อมด้วย .. อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่มีนัยสำคัญในการผลิต Production, การค้า Trade และการใช้งาน Use นั้น ไม่รับประกันสมมติฐานดังกล่าว นอกจากนี้ การคาดการณ์ความต้องการ และการใช้วัสดุวิกฤติสำคัญ Critical Material Demand & Use ยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนตลอดระยะเวลาอันอีกยาวไกล ดังนั้น การประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ Careful Assessment of Associated Risks เพื่อทำความเข้าใจ และจัดการความเสี่ยงเหล่านั้นในเชิงรุกล่วงหน้า จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้ ..
ปัจจุบัน และในอนาคตอันใกล้นั้น ยังถือว่ายังไม่มีการขาดแคลนปริมาณสำรองสำหรับแร่ธาตุในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition Minerals แต่ความสามารถในการขุด Mining และกระบวนการผลิต Processing นั้น มีจำกัด .. ในระยะสั้นถึงปานกลาง ข้อจำกัดของตลาดมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการลงทุนในกิจกรรมต้นน้ำน้อยเกินไป แต่ก็ไม่น่าเป็นไปได้ที่การขาดแคลนแร่ธาตุใดๆ ทั่วโลกจะเป็นอุปสรรคต่อการเปลี่ยนผ่านพลังงาน .. การผลิตได้เพิ่มขึ้นสำหรับแร่ธาตุในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition Minerals จำนวนมาก และปริมาณสำรองที่ขุดได้จากแหล่งที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจก็มีเพิ่มขึ้น .. นอกจากนี้ นวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่พลิกโฉม เช่น การปรับปรุงประสิทธิภาพ และการทดแทนวัสดุแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals ด้วยวัสดุแร่ธาติที่มีสำรองกระจายในธรรมชาติมากมาย และราคาถูกกว่า กำลังเปลี่ยนรูปแบบความต้องการไปแล้วมาพร้อมด้วยเช่นกัน ..
ทั้งนี้ ภูมิทัศน์การทำเหมือง และการแปรรูป Mining & Processing Landscape ของวัสดุแร่ธาตุวิกฤติ Critical Materials เหล่านี้นั้น มีความเข้มข้นทางภูมิศาสตร์สูง โดยมีกลุ่มประเทศที่มีบทบาทที่โดดเด่น ในการทำเหมืองขุดค้นวัสดุแร่ธาตุวิกฤติ Critical Materials ตำแหน่งที่โดดเด่น ได้แก่ ลิเธี่ยม Lithium : 3Li ในออสเตรเลีย, ทองแดง Copper : 29Cu และลิเธี่ยม Lithium : 3Li ในชิลี, กราไฟท์ และแร่ธาตุหายาก Graphite & Rare Earths ในจีน, โคบอลต์ Cobalt: 27Co ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, นิกเกิล Nickel : 28Ni ในอินโดนีเซีย และแพลตตินัม Platinum : 78Pt และอิริเดียม Iridium : 77Ir ในแอฟริกาใต้ เป็นต้น .. การกระจุกตัวทางภูมิศาสตร์นี้ มีความเด่นชัดมากยิ่งขึ้นในขั้นตอนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition Process โดยปัจจุบัน จีนคิดเป็น 100% ของอุปทานของกราไฟท์ธรรมชาติ Supply of Natural Graphite และดิสโพรเซียม Dysprosium : 66Dy ที่ผ่านการกลั่นแปรรูปแล้ว รวมทั้งแร่ธาตุหายากที่เป็น 70% ของโคบอลต์ Cobalt : 27Co และเกือบ 60% ของลิเธี่ยม Lithium : 3Li และแมงกานีส Manganese : 25Mn ที่มีพบอยู่ทั่วโลกอีกด้วยตามที่แสดงในตารางด้านล่าง ..
ภูมิรัฐศาสตร์การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Geopolitics of Energy Transition ได้กลายเป็นขอบเขตการวิจัยที่ร้อนแรงในภาคพลังงาน และรัฐศาสตร์การเมืองระดับโลก World Energy Geography & Global Political Science มากขึ้นเรื่อยๆ .. ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนในความหมายแฝงที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน คุณลักษณะ และการกระจายทางภูมิรัฐศาสตร์ Energy Connotations, Attributes & Geopolitical Characteristics ในยุคพลังงานใหม่ New Energy Era นั้น ภูมิรัฐศาสตร์ด้านพลังงาน Energy Geopolitics มีความหลากหลาย ซับซ้อน และครอบคลุมประเด็นทางการเมืองระหว่างประเทศมากขึ้น ..
การเปรียบเทียบลักษณะทางภูมิรัฐศาสตร์ของแหล่งพลังงานในช่วงเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels และที่มาของแหล่งพลังงานทดแทน Renewable Energy ซึ่งต่างออกไป ได้ให้ภาพรวมแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภูมิรัฐศาสตร์พลังงานใหม่ New Energy Geopolitics .. การวิจัยล่าสุด แสดงให้เห็นว่า การเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก Global Energy Transition ได้กระชับการสร้างรูปแบบภูมิรัฐศาสตร์ขึ้นใหม่ รวมทั้ง พวกมัน ได้เปลี่ยนความสัมพันธ์ในมิติของความมั่นคงทางการเมืองระหว่างประเทศ และความขัดแย้งที่ครอบงำโดยความมั่นคงทางพลังงานแบบดั้งเดิม ซึ่งเปลี่ยนแปลงบทบาทของประเทศต่างๆ ในเกมภูมิรัฐศาสตร์พลังงานระดับโลก Global Energy Geopolitical Games และปรับโฉมความสัมพันธ์ด้านพลังงานของชาติ Reshape National Energy Relationships ที่เกิดขึ้นในรูปแบบดั้งเดิมก่อนหน้านี้ในยุคน้ำมัน และก๊าซ Traditional Oil & Gas Era ..
นอกจากนี้ ภูมิรัฐศาสตร์รูปแบบเดิม Traditional Geopolitics จะได้รับผลกระทบจากเทคโนโลยีพลังงานใหม่ New Energy Technologies เช่น ความพร้อมของวัสดุวิกฤติหายากที่สำคัญ Key Rare Critical Materials และมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้านพลังงาน เป็นต้น .. ทั้งนี้ แม้จะมีความสนใจอย่างมากในประเด็นเหล่านี้ แต่ผลกระทบทางภูมิรัฐศาสตร์ที่เป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงพลังงาน Geopolitical Impact of Energy Transition ยังคงไม่แน่นอน และเป็นที่น่ากังวล รวมทั้งยังคงมีพื้นที่สำหรับการพัฒนา และปรับปรุงกรอบทางทฤษฎี วิธีการทางเทคนิค และมุมมองการวิจัยพัฒนาอีกมากมายหลายแง่มุม .. เมื่อมองไปข้างหน้าถึงอนาคต การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Geopolitics of Energy Transition มีความจำเป็นเร่งด่วนในการเสริมสร้างพื้นฐานทางทฤษฎี และอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ รวมทั้งประเด็นเชิงปริมาณมาพร้อมด้วยนั้น คือ เรื่องสำคัญยิ่งยวด ..
อย่างไรก็ตาม ข้อสรุปเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับประเด็นที่กล่าวถึงนี้ คาดหมายว่าจะกลายเป็นเกณฑ์การตัดสินตกลงใจด้านความมั่นคงด้านพลังงาน National Energy Security Decisions ที่สำคัญของแต่ละประเทศในอนาคต ตลอดจนการสำรวจตรวจสอบผลกระทบทางภูมิศาสตร์ของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Explore the Geographical Effect of Energy Transition และกำหนดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่มีต่อความมั่นคงด้านพลังงาน Impact of Energy Transition on Energy Security ไปพร้อมด้วย คือ ความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ..
การวิจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ของการเปลี่ยนแปลงพลังงาน Research into Geopolitics of Energy Transition ต้องดำเนินการโดยคำนึงถึงขอบเขตทางวิชาการระหว่างประเทศ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change, การมุ่งบรรลุสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality Goals และธรรมาภิบาลด้านพลังงานทั่วโลก Global Energy Governance เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition เดินหน้าสู่ความสำเร็จด้วยภูมิรัฐศาสตร์พลังงานโลกใหม่ Energy Transition Geopolitics ที่แตกต่างออกไปจากรูปแบบดั้งเดิมได้อย่างมั่นใจจากนี้ไป ..
ภูมิรัฐศาสตร์แห่งการเปลี่ยนผ่านพลังงานในอาเซียน Geopolitics of Energy Transition in ASEAN ..
การถกแถลงอภิปรายในวงกว้างถึงความต้องการแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Demand for Critical Minerals และการค้าพลังงานข้ามพรมแดน Cross-Border Energy Trade ที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งผลกระทบทางภูมิรัฐศาสตร์ต่ออาเซียน Geopolitical Implications to ASEAN นั้น พบว่า กลุ่มประเทศอาเซียน ASEAN Countries เผชิญกับงานที่ยากลำบากในการจัดการกับความท้าทายทางการเงิน Financial, ระบบราชการ Bureaucratic และความท้าทายในภาคเศรษฐกิจ และสังคม Socio-Economic Challenges สำหรับการเปลี่ยนจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลักไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นหลักแทน Replacing Fossil Fuels with Renewablesขณะเดียวกันก็ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์การเมืองที่ซับซ้อน Complex Geopolitics of Energy Transition มากขึ้นเรื่อยๆ ..
ช่วงระยะเวลาทางประวัติศาสตร์อันยาวนานนั้น พลังงาน Energy มีอิทธิพล และได้รับอิทธิพลจากภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics ในศตวรรษที่ 19 มาโดยตลอด .. ถ่านหิน Coal คือ แรงผลักดันของการปฏิวัติอุตสาหกรรม Industrial Revolution และเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับจักรวรรดิอาณานิคม Colonial Empires .. สิ่งเหล่านี้ ทิ้งมรดกที่ยั่งยืนไว้ในระบบพลังงานระหว่างประเทศ International Energy System .. ในศตวรรษที่ 20 ภูมิรัฐศาสตร์ของน้ำมัน และก๊าซ Geopolitics of Oil & Gas แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนในความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ระหว่างประเทศในตะวันออกกลาง และชาติมหาอำนาจตะวันตก, การสถาปนาความมั่นคงบนเส้นทางการขนส่งทางทะเลที่สำคัญ Securitization of Vital Shipping Lanes และความไร้เสถียรภาพที่เพิ่มขึ้นสำหรับประเทศในภูมิภาคที่อุดมด้วยทรัพยากรอีกหลายแห่ง ซึ่งภายในบริบทนี้ พบว่า พวกมัน ได้ทำให้แรงผลักดันในการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น Increasing Momentum towards Transitioning to Renewable Energy Resources มาพร้อมด้วยความรู้สึกอยากเป็นอิสระจากอิทธิพลเหล่านี้ของชาติต่าง ๆ เช่น กลุ่มประเทศอาเซียน และประเทศไทย เป็นต้น ..
ในขณะที่โลกยังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels เป็นแหล่งจ่ายพลังงาน Energy Supply Sources มากกว่า 80% และกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียน Renewable Generation Capacity เพิ่มขึ้นมากกว่า 130% ในทศวรรษที่ผ่านมา รวมทั้งพลังงานไม่หมุนเวียน Non-Renewables เพิ่มขึ้นเพียง 24% เท่านั้น .. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างด้านพลังงานนี้ มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่ออำนาจทางการเมือง Political Power, ความขัดแย้ง Conflicts และการจัดกลุ่ม หรือการแบ่งขั้วกันในระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ Coalitions in the International Relation System แต่ผลกระทบต่อกลุ่มประเทศอาเซียน Impact on ASEAN Countries นั้น ยังไม่ได้ปรากฏให้เห็นชัดเจนมากนัก ..
ข้อถกเถียงหลักประการหนึ่งในการศึกษาเชิงวิชาการเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition คือ การเมืองแบบผลรวมสุดท้ายเป็นศูนย์ของเชื้อเพลิงฟอสซิล Zero-Sum Politics of Fossil Fuels จะดำเนินต่อไปในยุคของพลังงานหมุนเวียน Era of Renewables หรือหลีกทางให้กับโลกที่สงบสุข Peaceful World และโลกที่ต้องการการพึ่งพาซึ่งกันและกัน Interdependent World มากขึ้น ซึ่งผู้กำหนดนโยบายภาครัฐ Policymakers ของแต่ละชาติ ยังคงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitical Importance of Transition ไปพร้อมด้วย ..
ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา สำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ International Renewable Energy Agency : IRENA ได้จัดตั้ง “กรอบความร่วมมือด้านภูมิศาสตร์การเมืองของการเปลี่ยนแปลงพลังงาน Collaborative Framework on the Geopolitics of Energy Transformation : CF-GET” ซึ่งมีส่วนร่วมกับผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับผลที่ตามมาทางภูมิรัฐศาสตร์ของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน .. ในกลุ่มประเทศอาเซียน ASEAN Countries นั้น การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ส่วนใหญ่ จะมีการหารือจากมุมมองด้านเทคนิค Technical, การเงิน Financial และมุมมองเชิงนโยบาย Policy Perspectives .. สิ่งเหล่านี้ สามารถอธิบายได้จากการที่ทั่วทั้งภูมิภาค ยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างหนัก Heavy Dependence on Fossil Fuels และความท้าทายทางเศรษฐกิจ และสังคมมากมายมหาศาล Plethora of Socio-Economic Challenges นั่นเอง ..
ปัจจุบัน มากกว่า 80% ของแหล่งพลังงานหลักทั้งหมด Total Primary Energy Supply ของอาเซียนมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ในขณะที่พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy มีสัดส่วนมากกว่า 14% เล็กน้อย .. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน Energy-Related Greenhouse Gas : GHG ของอาเซียน คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 34-147% ระหว่างปี 2560-2583 .. แม้ว่าจะมีความท้าทายที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลง แต่ประมาณ 82% ของกำลังการผลิตใหม่ของอาเซียน ASEAN’s New Capacity ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมานั้น มาจากทรัพยากรพลังงานหมุนเวียน Renewable Resources ซึ่งขับเคลื่อนโดยเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ Hydroelectric Dams ในลาว, พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม Solar & Wind Energy ในเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย รวมถึงพลังงานชีวภาพ Bioenergy ที่กำลังออกตัวแรงอย่างยิ่งในประเทศไทย ..
พัฒนาการด้านกำลังผลิตพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Generation เหล่านี้ เกิดขึ้นในภาพทัศน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ขัดแย้งกันมากขึ้น Increasingly Conflictual Geopolitical Landscape .. การบุกยูเครนของรัสเซียในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 และการเยือนไต้หวันของนาง แนนซี เปโลซี Nancy Pelosi ในเดือนสิงหาคม 2565 คือ Flashpoints ในแนวโน้มที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับการแยกแตกตัวทางเศรษฐกิจ Economic Decoupling, การยึดมั่นวาทกรรมด้านความมั่นคงทางพลังงานที่ปิดลับ Entrenchment of Securitized Discourses on Energy และการคว่ำบาตรการค้าเทคโนโลยี Embargoes on Trade in Technology ระหว่างจีน สหรัฐฯ และรัสเซีย ..
ผลการศึกษาของสำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ International Renewable Energy Agency: IRENA ชี้ให้เห็นว่า มีแนวโน้มทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ Major Geopolitical Trends อย่างน้อย 2 ประการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านพลังงานของอาเซียน ASEAN’s Energy Transition .. ประการแรก ความต้องการแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Demand for Critical Minerals ที่เพิ่มขึ้น .. การผลิตพลังงานหมุนเวียน Production of Renewable Energy ต้องใช้โลหะ Metals และแร่ธาตุ Minerals หลายชนิด โดยเฉพาะลิเธี่ยม Lithium : 3Li, นิกเกิล Nickel : 28Ni, โคบอลต์ Cobalt : 27Co, แร่ธาตุหายาก Rare-Earth Elements : REEs, ทองแดง Copper : 29Cu และซิลิคอน Silicon : 14Si ..
ทั้งนี้ วัตถุดิบ Raw Materials เหล่านี้เรียกว่า “แร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals” เนื่องจากข้อจำกัดด้านอุปทานเป็นสำคัญ Significant Supply Constraints .. การศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals ยืนยันว่า การควบคุมห่วงโซ่อุปทานของแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องมือทางภูมิรัฐศาสตร์ได้ .. การรับรู้ดังกล่าวเกิดจากการที่ จีน China สามารถควบคุมการขุดสกัด การผลิต และ/หรือ การแปรรูปแร่ธาตุหายากสำคัญ Majority of Rare-Earth Elements : REEs เช่น โคบอลต์ Cobalt : 27Co และลิเธี่ยม Lithium : 3Li ส่วนใหญ่ในตลาดทั่วโลก .. ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการถกเถียงกันมากขึ้นเกี่ยวกับการลงทุน และใช้แหล่งแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia เพื่อกระจายห่วงโซ่อุปทาน Diversify Supply Chains .. อินโดนีเซีย Indonesia และฟิลิปปินส์ Philippines มีทรัพยากรนิกเกิลจำนวนมาก Large Nickel : 28Ni Resources ในขณะที่เมียนมาร์ คือ ผู้ผลิตดีบุก Tin : 50Sn และแร่ธาตุหายาก Rare Earthsรายใหญ่ .. รวมถึง อินโดนีเซีย เมียนมาร์ Myanmar และฟิลิปปินส์ Philippines คือ ผู้ผลิตทองแดง Copper : 29Cu Producers รายใหญ่อีกด้วยเช่นกัน ..
พัฒนาการเพื่อกระจายวัสดุแร่ธาตุวิกฤติสำคัญของอาเซียน Supply of ASEAN’s Critical Minerals สามารถช่วยให้ห่วงโซ่อุปทาน Diversifying Supply Chains มีความหลากหลายได้ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals มีแนวโน้มที่จะดำเนินการร่วมกับพันธมิตรหลายรายที่เป็นชาติตะวันตก และกับจีน .. เมื่อพิจารณาจากความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดของภูมิภาคกับจีน Region’s Close Economic Ties with China แล้ว ก็จะพบว่า ความพยายามใด ๆ ของชาติตะวันตกที่จะใช้แร่ธาตุวิกฤติสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia’s Critical Minerals เพื่อ “แยกตัว Decouple” จากปักกิ่งนั้น มีแนวโน้มว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ ..
เมื่อพิจารณาถึงอุตสาหกรรมแผงโซลาร์เซลล์ Solar Panels, แบตเตอรี่ลิเธี่ยม Lithium Batteries และยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ที่กำลังเติบโตในอาเซียน ASEAN .. ประเทศในภูมิภาคนี้ จึงต้องการย้ายเปลี่ยนตัวเองไปสู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงกว่า เช่น การกลั่น และการแปรรูป Refining & Processing มิใช่เพียงการส่งออกวัตถุดิบล้วน ๆ เท่านั้น แต่เป็นการผลิต แปรรูป และการส่งออกผลิตภัณฑ์ .. ตัวอย่าง การห้ามการส่งออกสินแร่นิกเกิล Nickel : 28Ni ของอินโดนีเซียเมื่อเร็วๆ นี้นำไปสู่การขยายตัวในอุตสาหกรรมการกลั่นแปรรูป Nickel : 28Ni Refinery ของประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asian Countries พร้อมที่จะยกระดับห่วงโซ่อุปทานของแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Move Up the Supply Chain of Critical Minerals เหล่านี้ ..
อย่างไรก็ตาม การสกัด ผลิต และการแปรรูปแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Extraction, Production & Processing of Critical Minerals จะต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ และการลงทุนที่สำคัญด้วยมูลค่าสูง ซึ่งอาเซียน ASEAN มีแนวโน้มที่จะต้องร่วมมือกับพันธมิตรภายนอก ด้วยการเปิดกว้างสำหรับความร่วมมือกับทุกฝ่าย .. อาเซียน ASEAN ยังสามารถหลีกเลี่ยงการเป็นส่วนหนึ่งของความคิดริเริ่มแบบไบนารี และแบบแบ่งเขตในห่วงโซ่อุปทานแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Mineral Supply Chains .. เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม และสังคมที่สำคัญของการสกัดแร่ Significant Environmental & Social Costs of Mineral Extraction แล้ว สิ่งสำคัญ คือ อาเซียน ASEAN ยังคงผลักดันการพัฒนากรอบการทำเหมืองในระดับภูมิภาค Regional Frameworks on Mining ซึ่งจะสามารถลดการครอบงำจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ในกรอบกว้าง Reduce the Overtly Geopolitical Framing of the Issue ได้อีกด้วย ..
ประเด็นที่เป็นไปได้อีกประการหนึ่งที่อาเซียนต้องเผชิญ คือ การหยุดชะงักของการค้าพลังงานข้ามพรมแดน Cross-Border Energy Trade .. การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition จะนำมาซึ่งความเป็นอิสระในการจัดหาพลังงาน Independence of Energy Supply, การพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนรูปแบบกระจายแยกย่อย Development of Distributed Renewable Energy Sources และยังอำนวยความสะดวกในการพึ่งพาซึ่งกันและกันกับรัฐใกล้เคียง Facilitate Interdependence with Neighboring States มาพร้อมด้วย แทนที่การพึ่งพาชาติมหาอำนาจด้านพลังงานที่ไกลออกไปเกือบครึ่งโลกด้วยราคาสูงลิ่วเหมือนเช่นที่ผ่านมาโดยตลอดก่อนหน้านี้ ..
ขณะที่นอกจาก ฟาร์มพลังงานแสงอาทิตย์ และกังหันลม Solar & Wind Farms จะช่วยให้ประเทศส่วนใหญ่มีอิสระในระดับหนึ่งแล้ว การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ยังจะส่งเสริมการค้าผ่านโครงข่ายระบบสายส่งข้ามพรมแดน Encourage Trade through Cross-Border Grids เนื่องจากจะทำให้สามารถประยุกต์ใช้แหล่งพลังงานได้หลากหลายแหล่ง Multiple Sources of Energy ในพื้นที่ รวมถึงพื้นที่ห่างไกลตามตะเข็บชายแดน หรือข้ามพรมแดน Cross-Border เพื่อบริหารจัดการแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources ที่ไม่ต่อเนื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ แตกต่างอย่างมากจากระบบพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel Energy System ก่อนหน้านี้ ซึ่งในแง่มุมของระบบพลังงานสะอาด Clean Energy และพลังงานหมุนเวียนรูปแบบกระจายแยกย่อย Distributed Renewable Energy นั้น ถือเป็นเรื่องจำเป็นปกติธรรมดา ..
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนแนะนำว่า เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ส่งผลให้เกิดเศรษฐกิจในภาคส่วนการเปลี่ยนไปใช้พลังงานไฟฟ้าขนาดใหญ่ Electrification of Large Segments of Economies .. ประเทศที่ควบคุมโครงข่ายข้ามพรมแดน หรือระดับภูมิภาค Countries that Control Cross-Border or Regional Grids จึงอาจใช้อิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitical Influence มากเกินไปต่อประเทศเพื่อนบ้าน Neighbours ของตนได้ .. ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitical Conflicts สามารถนำไปสู่การชะงักงันของการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า Disruptions of Electricity Supplies โดยเจตนา ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมีนัยสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ และสังคม .. ถึงจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม การคาดการณ์ดังกล่าวนั้น มิได้เป็นไปในทางทฤษฎีทั้งหมด ดังที่เห็นได้จากการโจมตีท่อส่งก๊าซ Nord Stream Pipeline ในปี 2565 ..
ทั้งนี้ อาเซียน ASEAN มีความก้าวหน้าที่สำคัญในการพัฒนาการค้าพลังงานข้ามพรมแดน Important Progress in the Development of Cross – Border Energy Trade ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา .. ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี 2565 เป็นต้นมา โครงการริเริ่มการค้าพลังงานไฟฟ้าข้ามพรมแดนพหุภาคีครั้งแรกของภูมิภาค Region’s First Multilateral Cross-Border Electricity Trade Initiative ได้เริ่มขึ้นแล้วด้วยความร่วมมือระหว่าง ประเทศ ลาว Laos, ไทย Thailand, มาเลเซีย Malaysia และสิงคโปร์ Singapore .. โครงการนี้อำนวยความสะดวกในการนำเข้าส่งออกกำลังไฟฟ้าข้ามพรมแดนสูงสุด 100 MW โดยใช้การเชื่อมต่อโครงข่ายระบบสายส่งที่มีอยู่ ..
โครงการโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าอาเซียน ASEAN Power Grid: APG มีความก้าวหน้าอย่างช้าๆ แต่มั่นคง และโครงการเชื่อมต่อโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าที่สำคัญ 8 โครงการจาก 16 โครงการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว ส่งผลให้กำลังการผลิตส่งจ่ายข้ามพรมแดนในภูมิภาค Regional Cross-Border Transmission Capacity ในปัจจุบัน เพิ่มขึ้นเป็น 7,720 MW .. การเชื่อมต่อโครงข่ายข้ามพรมแดนใหม่ ๆ หลายแห่ง Multiple New Cross-Border Interconnections กำลังได้รับการวางแผนโดยคู่ทวิภาคี Bilateral Pairs เช่น กัมพูชา กับสิงคโปร์ Cambodia & Singapore, ลาว กับสิงคโปร์ Laos & Singapore และซาราวัก กับสิงคโปร์ Sarawak & Singapore เป็นต้น ..
โครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าข้ามพรมแดน Cross-Border Power Grids ขนาดต่างๆ ในอาเซียน ยังคงเผชิญกับความท้าทายอีกหลายประการ อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงทางภูมิรัฐศาสตร์ของภูมิภาคนั้น การหยุดชะงักโดยเจตนาไม่น่าจะเกิดขึ้น .. ภาพรวมความร่วมมือในภูมิภาค พบว่า การพึ่งพาซึ่งกัน และกันทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในระดับภูมิภาค และถึงแม้จะมีความไม่ไว้วางใจในระดับหนึ่ง แต่ประเทศต่างๆ ก็คุ้นเคยกับการแก้ไขความแตกต่างผ่านการเจรจาเป็นอย่างดี .. อย่างไรก็ตาม ในอาเซียน ASEAN ความชะงักงันในภาคพลังงาน Disruptions in Energy Sector นั้น อาจมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นได้เช่นกัน ก็จะมาจากการกีดกันทางการค้า Protectionism มากกว่าความขัดแย้ง Conflicts ..
ภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics ดูเหมือนกำลังบั่นบ่อนความพยายามระดับโลกในการเร่งการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Global Efforts towards Accelerating Energy อย่างไรก็ตาม อาเซียน ASEAN สามารถใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ Historical Experience และภูมิทัศน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitical Landscapes เพื่อส่งเสริมนโยบายเชิงปฏิบัติในการสร้างประโยชน์ร่วมกัน Mutually Beneficial Policies ในภูมิภาคเกี่ยวกับแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals และโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าข้ามพรมแดน Cross-Border Power Grids รวมทั้งความร่วมมือสำหรับการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนรูปแบบกระจาย Development of Renewable Energy Sources in the Distributed Form ในภูมิภาค ..
สิ่งที่กล่าวถึงเหล่านี้ ต้องการการลงทุนในการสร้างขีดความสามารถของสถาบันในประเทศ และระดับภูมิภาคที่มีอยู่ Existing Domestic & Regional Institutions ซึ่งรวมถึงเอกชนที่มีศักยภาพด้วยการสนับสนุนจากภาคประชาสังคม เพื่ออำนวยความสะดวกแก่กลุ่มประเทศอาเซียน ASEAN Countries สำหรับการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด Transition to Clean Energy อย่างทันท่วงที และสันติ Timely & Peaceful ให้สำเร็จได้อย่างงดงามในที่สุด ..
แนวโน้มทิศทางหลักตลาดแร่ธาตุวิกฤติสำคัญทั่วโลก Global Key Critical Minerals Market Trends ..
การใช้งานเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Deployment of Clean Energy Technologies เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ Solar PV และแบตเตอรี่ Batteries เป็นต้นนั้น กำลังผลักดันการเติบโตอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในตลาดแร่ธาตุวิกฤติสำคัญทั่วโลก Global Critical Minerals Markets ..
ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า Global Electric Car Sales ทั่วโลก เพิ่มขึ้นมากกว่า 60% ในปี 2565 ทะลุ 10 ล้านคัน และรวมถึงระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage Systems มีการเติบโตอย่างรวดเร็วอย่างยิ่ง โดยกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า ในปี 2565 มาพร้อมด้วย .. การติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์ Solar PV ยังคงทำลายสถิติเดิมอย่างต่อเนื่อง และพลังงานลม Wind Power ก็ถูกกำหนดให้กลับมาเดินในทิศทางที่สูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากผ่านไป 2 ปีที่เงียบสงบลงไปเนื่องจากต้นทุนที่สูงในอดีต .. สิ่งเหล่านี้ นำไปสู่ความต้องการแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Demand for Critical Minerals เพิ่มขึ้นอย่างมาก ..
ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ผ่านมา ความต้องการจากภาคพลังงาน Demand from the Energy Sector คือ ปัจจัยหลักเบื้องหลังความต้องการลิเธี่ยม Lithium : 3Li โดยรวมที่เพิ่มขึ้น 3 เท่า ความต้องการโคบอลต์ Cobalt : 27Co ที่เพิ่มขึ้น 70% และความต้องการนิกเกิล Nickel : 28Ni ที่เพิ่มขึ้น 40% .. ในปี 2565 ส่วนแบ่งการใช้พลังงานสะอาดในความต้องการทั้งหมด Share of Clean Energy Applications in Total Demand สูงถึง 56% สำหรับลิเธี่ยม Lithium : 3Li, 40% สำหรับโคบอลต์ Cobalt : 27Co และนิกเกิล Nickel : 28Ni อยู่ที่ 16% เพิ่มขึ้นจาก 30%, 17% และ 6% ตามลำดับเทียบกับเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ..
ด้วยความต้องการที่เพิ่มขึ้น และราคาที่สูงขึ้น Rising Demand & High Prices นั้น ขนาดตลาดของแร่ธาตุวิกฤติการเปลี่ยนผ่านพลังงานหลัก Key Energy Transition Critical Minerals Market จึงเพิ่มขึ้น 2 เท่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่าถึง 320 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 ซึ่งใกล้เคียงกับขนาดตลาดสำหรับการขุดแร่เหล็ก Market Size for Iron Ore Mining ในวงกว้างทั่วทั้งโลก .. การเติบโตอย่างรวดเร็วนี้ แตกต่างกับการเติบโตเล็กน้อยของวัสดุบางชนิด เช่น สังกะสี Zinc : 30Zn และตะกั่ว Lead : 82Pb เป็นผลให้แร่ธาตุวิกฤติเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition Minerals ซึ่งเคยเป็นส่วนเล็กๆ ของตลาด ปัจจุบันได้เคลื่อนเข้าสู่จุดศูนย์กลางในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ และโลหะ Center Stage in the Mining & Metals Industry .. สิ่งนี้นำมาซึ่งโอกาสในการสร้างรายได้ใหม่ๆ ให้กับอุตสาหกรรม สร้างงานให้กับสังคม และในบางกรณีก็ช่วยกระจายเศรษฐกิจที่ต้องพึ่งพาถ่านหินมาก่อนหน้านี้ ..
ในบางกรณี โครงการและแผนงานที่เพิ่งประกาศใหม่ ส่งผลให้อุปทานที่คาดการณ์ไว้ในปี 2573 กำลังเข้าใกล้ข้อกำหนดของหน่วยงาน แม้ว่าระดับการใช้งานในสถานการณ์ Net Zero Emissions : NZEs Scenario ภายในปี 2593 จะต้องมีโครงการเพิ่มเติมที่จะต้องดำเนินการ .. ความท้าทายในทางปฏิบัติยังคงมีอยู่ ความเสี่ยงของความล่าช้าของกำหนดการ และค่าใช้จ่ายเกินกำหนดซึ่งเป็นเรื่องปกติในอดีตไม่สามารถละเลยได้ นอกจากนี้ยังมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างผลิตภัณฑ์ทางเทคโนโลยี และผลิตภัณฑ์ที่เป็นระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์ประเภทหลัง ต้องใช้อินพุตวัสดุนำเข้ากระบวนผลิตที่คุณภาพสูงกว่า Higher-Quality Inputs ซึ่งหมายความว่า ถึงแม้จะมีความสมดุลระหว่างอุปสงค์ และอุปทานโดยรวม Overall Balance of Supply & Demand แต่การจัดหาผลิตภัณฑ์ Battery-Grade Products ก็อาจยังคงมีข้อจำกัดจากภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics ได้ นอกจากนี้การขุดเหมืองครั้งใหม่ New Mining มักมาพร้อมกับต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ซึ่งอาจผลักดันต้นทุน และราคาส่วนเพิ่มได้อีกด้วย ..
เมื่อเทียบกับสถานการณ์เมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว ส่วนแบ่งของผู้ผลิต 3 อันดับแรกในปี 2565 ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะนิกเกิล Nickel : 28Ni และโคบอลต์ Cobalt : 27Co .. การวิเคราะห์โครงการพลังงานสะอาดใหม่ บ่งชี้ว่าภาพรวมความเข้มข้นทางภูมิศาสตร์ Geographical Concentration ในปัจจุบันมีมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้มาก ..
โครงการที่วางแผนไว้ส่วนใหญ่ ได้รับการพัฒนาในภูมิภาคที่รับผิดชอบ โดยจีน China ถือครองโรงงานเคมีลิเธี่ยม Lithium Chemical Plants ที่วางแผนไว้ครึ่งหนึ่ง และอินโดนีเซีย Indonesia คิดเป็นเกือบ 90% ของโรงงานกลั่นแปรรูปนิกเกิล Nickel : 28Ni Refining Facilities ที่วางแผนไว้ .. ประเทศที่ถือครองทรัพยากรจำนวนมากกำลังมองหาตำแหน่งที่สูงขึ้นในห่วงโซ่คุณค่า ในขณะที่ประเทศผู้บริโภคจำนวนมาก ต้องการกระจายแหล่งที่มาของการจัดหาโลหะสำเร็จรูป Refined Metal Supplies .. อย่างไรก็ตาม โลกยังไม่ประสบความสำเร็จในการเชื่อมโยงจุดต่างๆ เพื่อสร้างและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานขั้นกลาง Midstream Supply Chains ที่หลากหลาย ..
ตัวอย่างผลกระทบทางภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics ในประเด็นวัสดุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals ที่มองเห็นได้ พบว่า จีน China เองก็ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจำนวนมาก ในฐานะศูนย์กลางการกลั่นแปรรูปโลหะที่ใหญ่ที่สุดในโลก World’s Largest Metal Refining Hub ซึ่งมักจะมาจากแหล่งแร่ธาติที่มีจำนวนน้อย ตัวอย่างเช่น จีนอาศัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก Democratic Republic of the Congo เกือบทั้งหมดสำหรับการขุดโคบอลต์ Cobalt : 27Co .. ดังนั้น จีน China จึงมองหาวิธีที่จะกระจายพอร์ตโฟลิโอการจัดหาวัตถุดิบของตน ประเทศนี้ด้วยการลงทุนอย่างแข็งขันในสินทรัพย์เหมืองแร่ในแอฟริกา และละตินอเมริกา Africa & Latin America ตลอดจนเริ่มลงทุนในโรงกลั่นแปรรูป และโรงงานปลายน้ำในต่างประเทศ Investing in Overseas Refining & Downstream Facilities โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาความมั่นคงในการเข้าถึงวัตถุดิบเชิงกลยุทธ์ Secure Strategic Access to Raw Materials มาตั้งแต่ปี 2561 จนถึงอย่างน้อยครึ่งแรกของปี 2564 บริษัทจีนลงทุน 4.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อซื้อสินทรัพย์ลิเธี่ยม ซึ่งเป็น 2 เท่าของจำนวนเงินที่บริษัทฯจากสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และแคนาดา ลงทุนรวมกันในช่วงเวลาเดียวกัน ..
แนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการเข้าถึงแหล่งแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Mineral Security จำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายอย่างกว้างขวาง เพื่อการเข้าถึงแร่ธาตุเฉพาะกลุ่มไว้ ..
แม้ว่าการมุ่งเน้นไปที่โลหะแบตเตอรี่ Battery Metals และทองแดง Copper : 29Cu จะเป็นที่เข้าใจได้ แต่เหตุการณ์ล่าสุด เช่น การควบคุมการส่งออกแกลเลียม Gallium : 31Ga และเจอร์เมเนียม Germanium : 32Ge ของจีนในเดือนกรกฎาคม ปี 2566 ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของกลุ่มแร่ธาตุวิกฤติสำคัญที่ไม่ค่อยมีใครรู้จัก Lesser-Known Group of Critical Minerals ซึ่งมักมีลักษณะเป็นปริมาณน้อย Small Volumes แต่มีระดับสูงของความเข้มข้นของอุปทาน High Levels of Supply Concentration .. สิ่งเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าแร่ธาตุเฉพาะกลุ่ม เช่น แมกนีเซียม Magnesium : 12Mg, แมงกานีสที่มีความบริสุทธิ์สูง High-Purity Manganese, ฟอสฟอรัสที่มีความบริสุทธิ์สูง High-Purity Phosphorus : 15P และซิลิคอน Silicon : 14Si อาจส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากการพึ่งพาซัพพลายเออร์กลุ่มเล็กๆ เป็นอย่างมาก .. แมงกานีสที่มีความบริสุทธิ์สูง High-Purity Manganese : 12Mg จำเป็นต้องได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในการนำสารเคมีที่อุดมด้วยแมงกานีสมาใช้ในแบตเตอรี่ Manganese : 12Mg-Rich Chemistries in Batteries และการขาดแคลนโครงการในการจัดหาผลิตภัณฑ์ที่มีความบริสุทธิ์สูง Supply High-Purity Products โดยเฉพาะนอกประเทศจีน ..
ดังนั้น กลยุทธ์ที่ชัดเจน และกว้างขวางในระดับนานาชาติ หรือภูมิภาค ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องรวบรวมการลงทุน Brings Together Investment, นวัตกรรม Innovation, การรีไซเคิล Recycling, มาตรฐานความยั่งยืนที่เข้มงวด Rigorous Sustainability Standards และเครือข่ายความมั่นคงปลอดภัยที่ออกแบบมาอย่างดี Well-Designed Safety Nets ..
เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าระดับโลก สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA เป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดระดับนานาชาติครั้งแรกเกี่ยวกับแร่ธาตุวิกฤติสำคัญแล้ว เมื่อ 28 กันยายน ปี 2566 ที่ผ่านมา โดยนำรัฐมนตรี และบุคลสำคัญจากภาคเศรษฐกิจ การผลิต และการบริโภคแร่ธาตุ Mineral-Producing & Consuming Economies ตลอดจนอุตสาหกรรม Industry, นักลงทุน Investors และภาคประชาสังคม Civil Society มารวมตัวกัน เพื่อหารือเกี่ยวกับมาตรการในการส่งเสริมความมั่นคงร่วมกัน และการจัดหาแร่ธาตุวิกฤติสำคัญอย่างยั่งยืน Sustainable Supply of Critical Minerals รวมทั้งเพื่อให้มั่นใจว่า การชะลอตัวของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Potential Slowdown of Energy Transitions จะไม่เกิดขึ้นจากความขาดแคลนชะงักงันในการจัดหาวัสดุวิกฤติสำคัญ Critical Material Supply Disruptions อันเนื่องมาจากประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics สำหรับอนาคตจากนี้ไป ..
คาดการณ์ตลาดการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก Global Energy Transition Market ..
การลงทุนทั่วโลกในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Global Investment in the Energy Transition มีมูลค่าสูงถึง 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 เพิ่มขึ้น 17% จากปี 2565 และถือเป็นสถิติใหม่ .. แนวโน้มการลงทุนในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition Investment Trends ในปี 2567 นี้ พบว่า พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy, ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs, ไฮโดรเจน Hydrogen และคาร์บอน Carbon ล้วนขับเคลื่อนการเติบโตของการลงทุนเมื่อเทียบเป็นรายปี .. จีน China เป็นผู้นำด้วยการลงทุน 676 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 หรือ 38% ของการลงทุนทั้งหมดทั่วโลก ..
แต่เมื่อสหภาพยุโรป สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร รวมกันแล้ว ก็พบลงทุนที่แซงหน้ามากกว่าจีนในปี 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งไม่เป็นเช่นนั้นในปี 2565 ..
การลงทุนในห่วงโซ่อุปทานพลังงานสะอาด Investment in the Clean Energy Supply Chain มีมูลค่าสูงถึง 135 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั่วโลก ในปี 2566 และคาดว่า อาจเพิ่มขึ้นเป็น 259 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2568
รายงานล่าสุดของ BloombergNEF : BNEF ชี้ว่า การขนส่งไฟฟ้า Electrified Transport คือ ภาคส่วนที่ใหญ่ที่สุดสำหรับการใช้จ่ายในการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Spending in the Energy Transition ด้วยการเพิ่มขึ้น 36% ในปี 2566 เป็น 634 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ .. ตัวเลขนี้ รวมถึงการใช้จ่ายในรถยนต์ไฟฟ้า Electric Cars, รถโดยสาร Buses, รถสองล้อ และสามล้อ Two & Three Wheelers และรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ Commercial Vehicles รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน Infrastructure ที่เกี่ยวข้อง ..
การขนส่งไฟฟ้า Electrified Transport แซงหน้าภาคพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sector ซึ่งเพิ่มขึ้น 8% เป็น 623 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ตัวเลขนี้สะท้อนถึงการลงทุนเพื่อสร้างโรงงานผลิตพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Production Facilities เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ และความร้อนใต้พิภพ Wind, Solar & Geothermal Power Plants และโรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels Production Plants .. เหนือสิ่งอื่นใด การลงทุนด้านโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า Power Grid Investment คือ ผู้มีส่วนร่วมรายใหญ่อันดับ 3 ที่มีมูลค่า 310 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ .. โครงข่ายระบบสายส่งกริดไฟฟ้า Electrical Grids คือ หนึ่งในตัวขับเคลื่อนที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Critical Enabler for the Energy Transition และการลงทุนในกริด Grids คาดว่าจะต้องเพิ่มขึ้นในปีต่อๆ ไป ..
อย่างไรก็ตาม อ้างถึงข้อมูลการตรวจสอบตลาดของ Maximize Market Research แสดงให้เห็นไว้ว่า ขนาดธุรกิจในตลาดการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก Global Energy Transition Market มีมูลค่า 2.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2564, มูลค่า 2.63 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และ 2.87 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 ที่ผ่านมา โดยรายได้จากตลาดการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition Market ทั้งหมด คาดว่าจะเติบโตสูงแตะที่ระดับเกือบ 4.94 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2572 รวมทั้ง คาดหมายว่าจะพุ่งขึ้นอีกแตะระดับ 5.39 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2573 ได้อย่างแน่นอน .. ทั้งนี้ อัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก Global Energy Transition Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 9.4% ในช่วงเวลาที่คาดการณ์ ปี 2567-2573 และยังได้รับการคาดหมายอีกว่าจะมีมูลค่าสูงถึงมากกว่า 5.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปีได้ ภายในปี 2574 อีกด้วย ..
สำหรับตลาดแร่ธาตุวิกฤติ Critical Minerals นั้น ตลาดแร่ธาตุวิกฤติสำคัญทั่วโลก Global Critical Minerals Market มีมูลค่า 320.43 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และคาดว่าจะสูงถึง 494.23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 5.69% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2566-2573 ..
นอกจากนี้ ในส่วนของตลาดพลังงานทั่วโลกเฉพาะในฐานะการให้บริการ Global Energy as a Service Market : EaaS ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น การซื้อขายเทคโนโลยี การส่งจ่ายพลังงานเข้าสู่โครงข่ายระบบสายส่ง และการให้บริการส่วนบุคคล เป็นต้นนั้น คาดว่า ตลาดการให้บริการพลังงานทั่วโลก Global EaaS Market จะเติบโตจาก 70.46 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 เป็น 147.56 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2572 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 11.1% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2566-2572 ..
ในประเด็นภาคการผลิตกำลังไฟฟ้านั้น ขนาดของตลาดการผลิตกำลังไฟฟ้าทั่วโลก Global Power Generation Market มีมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 3.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2575 โดยตลาดการผลิตกำลังไฟฟ้าทั่วโลก Global Power Generation Market จะมีอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 8.04% ในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ตั้งแต่ปี 2566-2575 ..
ทั้งนี้ ภาพรวมสถานการณ์ในตลาดการเปลี่ยนผ่านพลังงานทั่วโลก Global Energy Transition Market นั้น แร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals คือ กลุ่มขององค์ประกอบพื้นฐานหลักที่มีความสำคัญต่อการพัฒนา และความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสมัยใหม่ Vital for the Development & Advancement of Modern Technologies .. แร่ธาตุเหล่านี้ ได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากมีความสำคัญทางเศรษฐกิจ และเชิงกลยุทธ์ Economic & Strategic Importance .. พวกมัน ถูกใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy, อิเล็กทรอนิกส์ Electronics, การป้องกันประเทศ Defense และภาคการผลิต Manufacturing อื่นๆ อีกมากมาย .. ความขาดแคลน และห่วงโซ่อุปทานที่จำกัด Scarcity & Limited Supply Chains ของแร่ธาตุวิกฤติเหล่านี้ กลับทำให้แร่ธาตุเหล่านี้ มีความสำคัญอย่างยิ่งเพื่อประกันอนาคตที่ยั่งยืน และปลอดภัย Sustainable & Secure Future ในกรอบภูมิรัฐศาสตร์การเปลี่ยนผ่านพลังงานรูปแบบใหม่ New Energy Transition Geopolitics จากนี้ไป ..
สรุปส่งท้าย ..
การเปลี่ยนผ่านระบบพลังงาน Energy Transition คือ กำหนดการเปลี่ยนแปลงสำคัญสำหรับระบบพลังงานโลกที่อาจเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากร โครงสร้างระบบ ขนาด เศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมการใช้งานปลายทาง และนโยบายพลังงาน รวมถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics มาพร้อมด้วย ..
ในภาคพลังงาน Energy Sector นั้น โครงสร้างระบบพลังงานหลักทั่วโลกเดิมในการขับเคลื่อนทางระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติปัจจุบัน กำลังเปลี่ยนแปลงไปด้วยความเร่ง .. โครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้า ไม่จำเป็นต้องใหญ่โตยาวไกลลิบลิ่วอีกต่อไป พวกมันจะมีขนาดเล็กลง แต่ชาญฉลาดขึ้น .. Smart Grid บนพื้นที่ชุมชนเกษตรกรที่ห่างไกล หรือพื้นที่ชนบทที่ระบบสายส่งเข้าไม่ถึง ระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ ไฮโดรเจน และเซลล์เชื้อเพลิงขนาดต่างๆ รูปแบบกระจาย กลายเป็นหนึ่งในสิ่งอำนวยความสะดวกหลักของระบบพลังงาน Energy System และระบบกำลังไฟฟ้า Power System ของประเทศ เมือง และชุมชน ซึ่งก่อนหน้านี้แทบจะไม่เคยปรากฏให้พบเห็น ..
ความต้องการแร่ธาตุวิกฤติสำคัญในอนาคต Future Critical Minerals Demand โดยอิงตามนโยบาย และการพัฒนาเทคโนโลยีล่าสุด Latest Policy & Technology Developments ในสถานการณ์ที่ประกาศคำมั่นสัญญา Announced Pledges Scenario : APS นั้น พบว่า ความต้องการจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า ภายในปี 2573 .. ขณะที่ ตามรายงานสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ ภายในปี 2593 หรือ Net Zero Emissions : NZEs 2050 Scenario ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA นั้น ชี้ว่า ความต้องการแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Demand for Critical Minerals ได้รับการคาดหมายว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3 เท่าครึ่ง จนถึงปี 2573 โดยแตะระดับมากกว่า 30 ล้านตัน .. ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles: EVs และระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ Battery Storage System คือ ตัวขับเคลื่อนหลักของการเติบโตของความต้องการ Demand Growth แต่ก็มีส่วนสนับสนุนหลักจากการผลิตไฟฟ้า และเครือข่ายระบบไฟฟ้าที่ปล่อยมลพิษต่ำ Low-Emissions Power Generation & Electricity Networks มาพร้อมด้วย ..
ปัจจุบัน และในอนาคตอันใกล้นี้ การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition กำลังเปิดตัวแผนงาน โครงการใหม่ ๆ รวมทั้งข้อไขที่เป็นผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมในภาคพลังงาน และเทคโนโลยีด้านสภาพอากาศรุ่นต่อไปออกสู่ตลาดให้ได้ทันเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงภัยพิบัติจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ .. พวกมันคือ เส้นทางสู่ความสำเร็จเชิงพาณิชย์ ลดการปล่อยมลพิษ กระตุ้นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หรือ GDP โลกให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น และคุณภาพชีวิตของผู้คนที่เหนือชั้น รวมทั้งสร้างตำแหน่งงานใหม่ๆ ที่มีรายได้สูงกว่าไปพร้อมด้วยในทศวรรษหน้า ..
กรอบนโยบายภาครัฐสำหรับการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานทางเลือก การปรับเปลี่ยนไปสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ปลอดสารพิษ คาร์บอนต่ำ รวมทั้งการพิจารณาลงทุนกับ Carbon Capture, Utilisation & Storage : CCUS ถือเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้เช่นกัน แม้ว่าพวกมันอาจจะทำให้ต้นทุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม หากเราจะยังคงจำเป็นต้องใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือแบบผสมผสานอยู่ต่อไป รวมทั้งการพัฒนา Carbon Sinks หรือพื้นที่ดูดซับคาร์บอน เช่น ในพื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ ป่าไม้ ชายฝั่งทะเล และที่อยู่อาศัย เป็นต้นนั้น กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้มาพร้อมด้วย ..
เชื่อมั่นได้ว่า การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ตามมาเหล่านี้ จะกระตุ้น และขับเคลื่อนอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม GDP ทั่วโลกให้เพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 0.4% ต่อปี .. ทั้งนี้ ภาพรวมทั้งหมด หากผนวกรวมผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และผลผลิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ และสังคมด้วยแล้ว คาดหมายว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวม Gross Domestic Product : GDP ทั่วโลกจะถูกผลักให้สูงขึ้นเฉลี่ย 4% ภายในปี 2030 หรือ พ.ศ.2573 ซึ่งมากกว่าที่จะไปถึงได้ด้วยแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลตามแนวโน้มในปัจจุบัน ..
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา สำนักงานพลังงานทดแทนระหว่างประเทศ International Renewable Energy Agency: IRENA ได้จัดตั้ง “กรอบความร่วมมือด้านภูมิศาสตร์การเมืองของการเปลี่ยนแปลงพลังงาน Collaborative Framework on the Geopolitics of Energy Transformation: CF – GET” ซึ่งมีส่วนร่วมกับผู้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับผลที่ตามมาทางภูมิรัฐศาสตร์ของการเปลี่ยนผ่านพลังงาน .. ในกลุ่มประเทศอาเซียน ASEAN Countries นั้น การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ส่วนใหญ่ จะมีการหารือจากมุมมองด้านเทคนิค Technical, การเงิน Financial และมุมมองเชิงนโยบาย Policy Perspectives .. สิ่งเหล่านี้ สามารถอธิบายได้จากการที่ทั่วทั้งภูมิภาค ยังต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างหนัก Heavy Dependence on Fossil Fuels และความท้าทายทางเศรษฐกิจ และสังคมมากมายมหาศาล Plethora of Socio – Economic Challenges นั่นเอง ..
ปัจจุบัน มากกว่า 80% ของแหล่งพลังงานหลักทั้งหมด Total Primary Energy Supply ของอาเซียนมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ในขณะที่พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy มีสัดส่วนมากกว่า 14% เล็กน้อย .. การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน Energy-Related Greenhouse Gas: GHG ของอาเซียน คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 34-147% ระหว่างปี 2560-2583 .. แม้ว่าจะมีความท้าทายที่สำคัญในการเปลี่ยนแปลง แต่ประมาณ 82% ของกำลังการผลิตใหม่ของอาเซียน ASEAN’s New Capacity ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมานั้น มาจากทรัพยากรหมุนเวียน Renewable Resources ซึ่งขับเคลื่อนโดยเขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำ Hydroelectric Dams ในลาว, พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม Solar & Wind Energy ในเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย ..
ภาพรวมสถานการณ์เปลี่ยนผ่านพลังงานโลก Global Energy Transition เพื่อไปสู่การบริโภคพลังงานสะอาด Clean Energy เป็นหลักแทนที่แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel Sources สำหรับระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติทั่วโลก ในปี 2566 นั้น พบว่า แรงกดดันที่เกิดขึ้นทันทีบางส่วนจากวิกฤติพลังงานโลก Global Energy Crisis ได้ผ่อนคลายลงแล้ว แต่ตลาดพลังงาน Energy Markets, ภูมิศาสตร์รัฐศาสตร์ Geopolitics และเศรษฐกิจโลก Global Economy ยังคงไม่สงบเสถียร และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะชะงักงันเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา ..
ปัจจุบัน ราคาพลังงานสีเขียว Green Energy Cost นั้น แม้จะมีต้นทุนที่ลดลงเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่ด้วยข้อเท็จจริงแล้ว ถือว่า ราคายังคงเป็นประเด็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน ซึ่งพวกมันจะแพงเกินไปนั้นไม่ได้ .. ปัญหาการกระจุกตัวของแหล่งวัสดุแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Critical Minerals & Materials Supply ก็เป็นอีกประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitics ที่น่ากังวล แต่การพัฒนาเทคโนโลโลยีเพื่อใช้แร่ธาตุราคาถูก Cheap Minerals และมีกระจายตัวสำรองในธรรมชาติมากมาย Many Reserves Distributed in Nature ทดแทนแร่ธาตุวิกฤติเหล่านี้ To Replace Those Critical Minerals นั้น กำลังรุดหน้าไปอย่างมาก เช่น แบตเตอรี่โซเดียม Sodium Batteries ทดแทนแบตเตอรี่ลิเธี่ยม Lithium Batteries หรือแบตเตอรี่ไร้โคบอลต์รูปแบบใหม่สมรรถนะสูง New High Performance Cobalt-Free Batteries และชุดแบตเตอรี่รูปแบบอื่นที่ใช้แร่ธาตุหายาก Rare Earth Elements ลดลง เป็นต้นนั้น ซึ่งจะทำให้แน่ใจได้ว่า การชะลอตัวสำหรับกระบวนเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition จากความชะงักงันการจัดหาวัสดุแร่ธาตุวิกฤติสำคัญ Disruption of Critical Minerals Supply นั้น จะไม่เกิดขึ้นในอนาคตจากนี้ไป .. อย่างไรก็ตาม คาดหมายว่าการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดสีเขียว Green & Clean Energy Transition นั้น จะสามารถช่วยให้เกิดโอกาสทางธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมที่ยั่งยืน และรูปแบบใหม่ของ Valued Chain, การกระจายทางเศรษฐกิจ Redistribute Economic Power และการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ๆ ที่มีผู้คนเป็นศูนย์กลาง People-Centered Ways มากขึ้นได้อย่างแน่นอนเหนือชั้นกว่าอดีตที่ผ่านมา ไม่มีข้อสงสัย ..
ทั้งนี้ สำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition นั้น ด้วยการลงทุนด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม แหล่งพลังงานสะอาดสีเขียว Green & Clean Energy Sources คือ แหล่งพลังงานเพียงแหล่งเดียวที่เปิดโอกาสให้ทุกประเทศในโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ได้รับอิสระภาพทางพลังงาน และไม่ตกเป็นทาสการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่เป็นน้ำมันดิบ Crude Oil, ก๊าซธรรมชาติ Natural Gas และถ่านหิน Coal ลึกลงไปใต้เปลือกโลก หรือ Shale Gas & Shale Oil จากต่างประเทศที่ผูกขาดโดยเพียงบางชาติยักษ์ใหญ่เท่านั้นอีกต่อไป ซึ่งส่งผลให้ระบบพลังงานของแต่ละประเทศทั่วโลกจากนี้ไป จะได้ถูกปลดล็อคให้เป็นอิสระอย่างแท้จริง หมายถึง ความมั่นคงทางพลังงาน Energy Security จะได้รับการประกันเพื่อไปสู่ความมั่งคั่ง และยั่งยืนให้สำเร็จได้ในที่สุด
…………………………………..
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Geopolitics of the Energy Transition | IRENA :-
https://www.irena.org/Digital-Report/Geopolitics-of-the-Energy-Transition-Critical-Materials
Geopolitics of the Energy Transition | Springer Nature :-
https://link.springer.com/article/10.1007/s11442-023-2101-2
The Geopolitics of Energy Transition in ASEAN | Yusof Ishak Institute :-
Energy Transition Investment Trends 2024 | Bloomberg Finance L.P. :-
https://about.bnef.com/energy-transition-investment/
Global Clean Energy Investment Jumps 17%, Hits $1.8 Trillion in 2023, According to BloombergNEF Report | Bloomberg Finance L.P. :-
Global Energy Transition Market | Maximize Market Research :-
Global Critical Minerals Market | Kings Research :-
The Renewable Energy & How to Save the World Documentary :-
https://goo.gl/photos/TusY3UndbtWjDfXx9
Critical Minerals for Energy Transition :-
https://photos.app.goo.gl/XsF77NzPbEmcnKW67
Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-