Battery Recycling : The Manufacturing & Pollution Control
“…..ความต้องการลิเธี่ยม เพียงอย่างเดียว คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 300,000 เมตริกตัน ในปี 2563 เป็นมากกว่า 1.7 ล้านเมตริกตัน ในปี 2573 …”
การเปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs เป็นเรื่องน่าตื่นเต้น แต่จะทำให้เรามีแบตเตอรี่ใช้แล้วหลายแสนตันที่จำต้องได้รับการจัดการอย่างเหมาะสม และการรีไซเคิลชุดแบตเตอรี่ Battery Recycling คือ ข้อไขสำคัญจำเป็นที่ขาดไม่ได้ ..
การควบคุมมลพิษทางอากาศ Air Pollution Control และการบำบัดน้ำเสีย Wastewater Treatment คือ สิ่งจำเป็นยิ่งยวดตลอดห่วงโซ่การผลิตแบตเตอรี่ทั้งหมด Entire Battery Production Chain ตั้งแต่การทำเหมือง ขุดวัสดุไปจนถึงการผลิตเป็นผง Material Mining to Powder Production, การเคลือบแอโนด Anode Coating, การรีไซเคิลแบตเตอรี่ Battery Recycling, การทดสอบ Testing และการผลิตส่วนประกอบ Component Manufacturing ..
ภาคอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ Battery Industry Sector มีแรงจูงใจอย่างสูงที่จะรักษาชื่อเสียงในฐานะผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อมที่ดี Good Environmental Steward และผลิตโซลูชันข้อไขการจัดเก็บพลังงาน Produce Energy Storage Solutions ที่ช่วยให้โลกใบนี้ของมนุษยชาติ สามารถรับมือกับความท้าทายด้านสภาพภูมิอากาศ Climate Challenges ได้อย่างมั่นใจ ..
เทคโนโลยี และเทคนิคการผลิตแบตเตอรี่ Battery Manufacturing Technologies & Techniques มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผู้ผลิต Producers ทั้งหลาย มองหาความสามารถในการแข่งขัน Look to Remain Competitive, เพิ่มความจุในการจัดเก็บ Increase Storage Capacity และปรับปรุงประสิทธิภาพ Improve Efficiency ในขณะที่มุ่งเน้นที่จะลดขนาด และน้ำหนักของแบตเตอรี่ Decreasing Battery Size & Weight ลงให้ได้มากกว่านี้อีก ..
อย่างไรก็ตาม เมื่อผนวกรวมกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน และการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามมา นั่นหมายความว่า ผู้ผลิต Manufacturers อยู่ในสภาวะของการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง Constant State of Change ตลอดเวลา และทำให้ทุกโครงการควบคุมมลพิษ Pollution Control Project มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป ..
เมื่อความก้าวหน้าของแบตเตอรี่เกิดขึ้น ปัจจัยการผลิต และวิธีปฏิบัติด้านการผลิตที่มีอยู่จำนวนมากจำเป็นต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจรวมถึงการปรับวัตถุดิบ Adjusting Raw Materials, การปรับเปลี่ยนอุปกรณ์การผลิต Production Equipment Modifications หรือการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการเคลือบ Change in Coating Techniques และอื่น ๆ อีกมากมาย ..
เทคโนโลยีการควบคุมมลพิษ Pollution Control Technologies ที่ใช้ในโรงงานผลิตแบตเตอรี่ Battery Manufacturing Facilities และไซต์เหมืองวัสดุ Material Mining Sites ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนการต้นน้ำ Upstream Process Changes และกำลังได้รับความสนใจมากขึ้นจากบุคลากรในโรงงาน .. อย่างไรก็ตาม เพื่อจัดการขั้นเด็ดขาดต่อขยะแบตเตอรี่ใช้แล้ว Used Battery Waste ปริมาณมหาศาลนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดในห่วงโซ่การผลิตแบตเตอรี่ทั้งหมด Entire Battery Production Chain ได้แก่ การรีไซเคิลแบตอรี่ Battery Recycling ซึ่งถือเป็นประเด็นท้าทายบนเส้นทางสู่การผลิตแบตเตอรี่อย่างมีความรับผิดชอบ Responsible Battery Manufacturing ในอนาคตจากนี้ไป ..
ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries ทั่วไป ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ และมีน้ำหนักหลายร้อยกิโลกรัม .. ตัวอย่างชุดแบตเตอรี่ที่ใช้ใน Nissan Leaf ประกอบด้วยชุดเซลล์ไฟฟ้าเคมี 192 เซลล์ ส่วนในรุ่น Tesla Model S มีเซลล์ทรงกระบอก 7,104 เซลล์ .. ทั้งหมดนี้รวมอยู่ในโมดูลที่ขันเกลียว เชื่อม และติดกาวเข้าด้วยกันเพื่อควบคุมเป็นหน่วยเดียว ในขณะที่ขยะแบตเตอรี่ใช้แล้วเริ่มสะสมมากขึ้น ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs Manufacturers, บริษัทแบตเตอรี่ Battery Companies และนักวิจัย Researchers กำลังพยายามช่วยพวกมันให้พ้นจากการถูกฝังกลบ และนำกลับมาใช้ใหม่ให้ได้ ..
ผู้รีไซเคิล Recyclers ส่วนใหญ่ สนใจที่จะสกัดโลหะมีค่า และแร่ธาตุหายาก Precious Metals & Rare Earth Minerals ในเซลล์ไฟฟ้าเคมี Electrochemical Cells เป็นหลัก .. การเข้าถึงวัสดุเหล่านี้ มีความซับซ้อน และเป็นอันตราย .. หลังจากถอดโครงเหล็กแล้ว จะต้องแยกชุดแบตเตอรี่แต่ละเซลล์อย่างระมัดระวัง เพื่อหลีกเลี่ยงวัสดุที่เป็นอันตราย .. อิเล็กโทรไลต์ Electrolyte ซึ่งเป็นของเหลวที่มีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายลิเธี่ยมไอออนระหว่างแคโทด Cathode และแอโนด Anode สามารถติดไฟ หรือระเบิดได้หากได้รับความร้อน .. อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคนิคที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้นั้น เมื่อแกะบรรจุภัณฑ์แล้ว ผู้รีไซเคิล Recyclers สามารถดึง ลิเธี่ยม Lithium : 3Li, นิกเกิล Nickel : 28Ni, ทองแดง Copper : 29Cu และโคบอลต์ Cobalt : 27Co ที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้าแยกออกมาได้อย่างปลอดภัย ..
ทั้งนี้ วัสดุแร่ธาตุจากการรีไซเคิลชุดแบตเตอรี่ Battery Recycling เหล่านี้มีค่าสูงมาก โดยเฉพาะโรงงานผู้ผลิตแบตเตอรี่ Battery Manufacturers ที่ต้องการพวกมันทั้งหมด .. พวกมันจะถูกแยกออกจากแอโนด Anode, แคโทด Cathode และรีไซเคิลกลับสู่ต้นน้ำเพื่อเป็นวัตถุดิบ Recycled Back Upstream as the Raw Materials ภายในโรงงานได้ต่อไป ..
เหตุใดการรีไซเคิลแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า EV’ Batteries Recycling จึงเป็นความจำเป็น ..
ในปี 2558 ความต้องการลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries อยู่ที่ประมาณ 60 GWh แต่เพียง 5 ปีต่อมาก็เพิ่มขึ้นเป็น 300 GWh .. และได้รับการคาดหมายว่าจะแตะระดับ 2 TWh ภายในปี 2573 ซึ่งรวมถึงความต้องการทุกอย่างตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงการขนส่ง .. หากกำลังพูดถึงเพียงแค่ภาคการขนส่ง รายงานฉบับเดียวกันนี้ชี้ว่า EV Batteries คิดเป็น 1.8 TWh ของความต้องการนั้น ..
ซึ่งทำให้เกิดคำถามขึ้นอีกว่า โลกของเรามีวัสดุที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบเพียงพอเพื่อรองรับการผลิตแบตเตอรี่จำนวนขนาดนั้นหรือไม่ .. วัสดุทั่วไปที่จำเป็นสำหรับลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries ได้แก่ นิกเกิล Nickel : 28Ni, โคบอลต์ Cobalt : 27Co, ลิเธี่ยม Lithium : 3Li, กราไฟต์ Graphite : C และทองแดง Copper : 29Cu ..
ความต้องการลิเธี่ยม Lithium : 3Li Demand เพียงอย่างเดียว คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากประมาณ 300,000 เมตริกตัน Metric Ton : MT ในปี 2563 เป็นมากกว่า 1.7 ล้านเมตริกตัน Metric Ton : MT ในปี 2573 .. แม้ว่าทรัพยากรสำรองในธรรมชาติทางเทคนิคนั้น ยังจะถือว่ามีเพียงพอเพื่อรองรับความต้องการ แต่ก็มีเหมืองไม่เพียงพอที่จะขุด ขณะที่แร่ธาตุสำรองในธรรมชาติก็กำลังใกล้จะหมดลง ซึ่งทำให้พวกมันได้กลายเป็นปัญหาใหญ่เพียงอย่างเดียวที่ยังหาคำตอบที่เหมาะสมไม่ได้ ..
ในขณะที่ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปริมาณแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วก็จะเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน .. นักวิจัยจากสถาบัน Faraday Institution ของสหราชอาณาจักร ซึ่งอิงจากยอดขายรถยนต์ 1 ล้านคันในปี 2560 ที่เน้นเรื่องเทคโนโลยีแบตเตอรี่ Battery Technologies ประมาณการว่า แบตเตอรี่ที่ยังไม่ได้แปรรูปจำนวน 250,000 ตัน Metric Ton : MT จะหมดอายุใน 15-20 ปี ซึ่งเท่ากับแบตเตอรี่ใช้แล้วครึ่งล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอสำหรับเติมสระว่ายน้ำขนาดโอลิมปิก 200 สระ แม้ว่าแบตเตอรี่บางส่วนจะหมดอายุก่อนเวลาอันควรเมื่อเกิดอุบัติเหตุรถชน หรือจะนำกลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรมอื่น และนำไปรีไซเคิลในภายหลัง ..
กำลังการผลิตทั่วโลกสำหรับการกู้คืนวัตถุดิบจากแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว Global Production Capacity for Recovering Raw Materials from Used Batteries อยู่ที่ประมาณ 830,000 ตัน Metric Ton ต่อปี ตามรายงานของ Circular Energy Storage ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาในลอนดอน .. Hans Eric Melin กรรมการผู้จัดการกล่าวว่า “สินค้าส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีน และไม่มีจำหน่ายในตลาดอื่น เนื่องจากจีนห้ามนำเข้าแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วทิ้ง และแม้ว่า บริษัทผู้ผลิตแบตเตอรี่ของจีน ครอบครองส่วนแบ่งมากกว่า 2 ใน 3 ของห่วงโซ่อุปทานสำหรับลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries แต่การรีไซเคิลแบตเตอรี่ Battery Recycling อาจสามารถดำเนินการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้ในที่สุด” ..
สหภาพยุโรป European Union : EU กำลังตามติดมาอย่างช้าๆ ทั้งในแง่ของการผลิตแบตเตอรี่ และการรีไซเคิล Battery Production & Recycling โดยผู้ผลิตรถยนต์หลายรายเป็นผู้นำในการเรียกคืนวัสดุอันมีค่าเหล่านี้ .. สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA คาดการณ์ว่า การรีไซเคิลแบตเตอรี่ Battery Recycling จะสามารถตอบสนองความต้องการลิเธี่ยม Lithium : 3Li, นิกเกิล Nickel : 28Ni, ทองแดง Copper : 29Cu และโคบอลต์ Cobalt : 27Co สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ได้ถึงประมาณอย่างน้อย 12% ภายในปี 2573 ..
สำหรับกระบวนการรีไซเคิลไฮโดรเมทัลโลหการ Hydrometallurgical Recycling Process นั้น ถือเป็นเทคโนโลยีการรีไซเคิลแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า EV’ Batteries Recycling Technology ล่าสุด ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับวิธีการทำให้ตกตะกอนด้วยสารเคมี ซึ่งช่วยให้แร่ธาตุที่หายาก Rare Earth Elements ที่ต้องการ สามารถกู้คืนจากมวลสีดำ Black Mass และส่งกลับไปยังผู้ผลิตแบตเตอรี่ Battery Manufacturers เพื่อนำกลับไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตแบตเตอรี่ใหม่ต่อไปได้ .. ปัจจุบัน กลุ่มงานวิจัยทั่วโลก กำลังค้นหาวิธีการ และกระบวนการต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อดึงผลผลิตเหล่านี้ให้สูงขึ้นอีก ..
อย่างไรก็ตาม ด้วยเทคนิคที่ใช้งานอยู่นี้ เชื่อมั่นว่า อย่างน้อย 80% ของแบตเตอรี่ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ด้วยการผสมผสานระหว่าง กระบวนการรีไซเคิลเชิงกลและทางไฮโดรโลหะการ Mechanical & Hydrometallurgical Recycling Processes รวมทั้งมากกว่า 95% ของโลหะมีค่าจากมวลสีดำของแบตเตอรี่ Battery’s Black Mass สามารถกู้คืนได้ด้วยกระบวนการรีไซเคิลไฮโดรเมทัลโลหการ Hydrometallurgical Recycling Process อันถือเป็น เทคโนโลยีชี้ขาด Cutting-Edge Technology ซึ่งไม่เพียงจะช่วยจัดการขยะโลหะหนักใช้แล้วเท่านั้น แต่สามารถนำพวกมันกลับมาใช้ใหม่ได้เกือบ 100% ช่วยยืดอายุวงจรผลิตภัณฑ์ที่เป็นระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ Battery Energy Storage ได้ไปอีกนาน หรือจนกว่าจะมีอะไรที่ดีกว่านี้เข้ามาทดแทนพวกมันได้ เช่น แบตเตอรี่ไหล Redox Flow Batteries และแบตเตอรี่เหล็กอากาศ Iron Air Batteries เป็นต้น ซึ่งการรีไซเคิลง่ายดายกว่ามาก ..
ตัวอย่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี Battery Recycling เริ่มต้นขึ้นแล้ว เมื่อบริษัท Northvolt ผลิตเซลล์แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium-ion Battery Cell เป็นครั้งแรกด้วย นิกเกิล Nickel : 28Ni, แมงกานีส Manganese : 25Mn และโคบอลต์ Cobalt : 27Co จากการรีไซเคิล 100% ..
ผู้ผลิตระดับ Giga-Scale Manufacturers ชี้ให้เห็นว่า ขณะนี้สามารถกู้คืนโลหะได้ถึง 95% จากแบตเตอรี่ใช้แล้ว ลดความต้องการวัตถุดิบที่ขุดขึ้นมาใหม่ และลดก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทาน ..
ตัวอย่างบริษัท Northvolt ตั้งเป้าหมายที่จะผลิตเซลล์ไฟฟ้าเคมีสำหรับผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ด้วยวัสดุรีไซเคิล 50% ภายในปี 2030 หรือปี 2573 ซึ่งเทียบเท่ากับ 30 GWh ต่อปี ด้วยการก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ถัดจากโรงงาน Northvolt Ett Gigafactory ในเมือง Skellefteå ประเทศสวีเดน ซึ่งสามารถรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมได้ 125,000 ตันต่อปี .. ทั้งนี้ ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium Ion Batteries ประมาณ 250,000 ตัน ได้รับการคาดหมายว่า จะหมดอายุการใช้งานในยุโรป ภายในปี 2573 ซึ่งจะทำให้การนำไปรีไซเคิลเกิดความคุ้มค่า สามารถสร้างกำไรให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ดีกว่าการทำเหมือง ..
Northvolt มีกำหนดจะก่อสร้างโรงงานให้แล้วเสร็จสมบูรณ์สำหรับสายการผลิตแรกที่ Northvolt Ett ในปลายปี 2564 ก่อนที่จะขยายไปถึง 60 GWh ในที่สุด โดยได้รับเงินลงทุนนับพันล้านยูโรในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งสอดคล้องกับยอดสั่งซื้อคงค้างมากกว่า 13 พันล้านยูโร หรือ 14.72 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ..
โรงงานแห่งที่สองนั้น มีสมรรถนะกำลังผลิตสูงถึง 50 GWh ต่อปี กำลังได้รับการพัฒนาผ่านการร่วมทุนระหว่าง Northvolt กับ Volvo โดยมีกำหนดเริ่มการผลิตในปี 2569 ..
อะไรจะเกิดขึ้นกับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าใช้แล้วสิ้นสภาพเหลือทิ้งทั้งหมด What Happen to All the EV Dead Batteries ..
ภายในปี 2573 สหภาพยุโรป European Union : EU หวังว่าจะมีรถยนต์ไฟฟ้า Electric Cars จำนวนอย่างน้อย 30 ล้านคันบนถนนในยุโรป ..
ดร.แอนเดอร์สัน Anderson ซึ่งเป็นผู้อำนวยการร่วมของ Birmingham Center for Strategic Elements & Critical Materials กล่าวว่า “มันคือสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนสำหรับอัตราการเติบโต Rate of Growth ดังกล่าวที่เหลือเชื่อในผลิตภัณฑ์ใหม่ New Product ทั้งหมด” ..
แม้ว่ารถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs อาจไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ในช่วงชีวิตการทำงาน แต่สิ่งที่น่ากังวลว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อรถยนต์ไฟฟ้าหมดสภาพลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกิดอะไรขึ้นกับชุดแบตเตอรี่สิ้นสภาพ ..
Dr Anderson ชี้ให้เห็น “ในอีก 10-15 ปี เมื่อมีชุดแบตเตอรี่จบชีวิตสิ้นสภาพเหลือทิ้งเป็นจำนวนมาก Large Numbers of Batteries Coming to the End of Their Life ดังนั้น การมีอุตสาหกรรมรีไซเคิล Recycling Industry จะมีความสำคัญมากอย่างยิ่ง” ..
แม้ว่าส่วนประกอบของ EVs ส่วนใหญ่จะเหมือนกับส่วนประกอบของรถยนต์ทั่วไป แต่ความแตกต่างที่สำคัญ ก็คือ แบตเตอรี่ Batteries .. แม้ว่าแบตเตอรี่กรดตะกั่วแบบเดิม Traditional Lead-Acid Batteries จะถูกรีไซเคิลอย่างกว้างขวาง แต่ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries ที่ใช้ในรถยนต์ไฟฟ้า EVs กลับมิได้เป็นเช่นนั้น ..
แบตเตอรี่ EVs มีขนาดใหญ่ และหนักกว่าแบตเตอรี่ในรถยนต์ทั่วไป รวมทั้ง พวกมันประกอบขึ้นด้วยเซลล์ลิเธี่ยมไอออน Lithium-Ion Cells หลายร้อยเซลล์ แต่ละเซลล์จำเป็นต้องรื้อออกทั้งหมด .. มีวัสดุอันตราย และมีแนวโน้มไม่สะดวกที่อาจจะระเบิดขึ้นได้ หากถอดประกอบไม่ถูกต้อง ..
ดร.แอนเดอร์สัน ชี้ว่า “ในปัจจุบัน ทั่วโลกเป็นเรื่องยากมากที่จะทราบตัวเลขโดยละเอียดว่า เปอร์เซ็นต์ของแบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออนที่รีไซเคิลได้นั้น มีสัดส่วนเท่าไร แต่ข้อมูลที่ทุกคนประเมินไว้ อยู่ที่ประมาณ 5% และในบางส่วนของโลกมีน้อยกว่านี้มาก” ..
ข้อมูลล่าสุดจากสหภาพยุโรป จะได้เห็นซัพพลายเออร์ EVs ที่รับผิดชอบในการตรวจสอบให้แน่ใจว่า ผลิตภัณฑ์ของพวกเขาจะไม่ถูกทิ้งเมื่อหมดอายุการใช้งาน และผู้ผลิตก็เริ่มก้าวไปสู่เป้าหมายแล้ว ..
ตัวอย่างเช่น ขณะนี้ Nissan กำลังนำแบตเตอรี่เก่าจากรถยนต์ Nissan Leaf ของพวกเขา กลับมาใช้ใหม่โดยใช้ระบบพาหนะอัตโนมัติ Automated Guided Vehicles ที่จัดส่งชิ้นส่วนให้กับคนงานในโรงงานผลิตของพวกเขามาพร้อมด้วย ..
Volkswagen กำลังทำเช่นเดียวกัน แต่เพิ่งเปิดโรงงานรีไซเคิล Recycling Plant แห่งแรกในเมือง Salzgitter ประเทศเยอรมนี และวางแผนที่จะรีไซเคิลระบบแบตเตอรี่ มากถึง 3,600 ระบบต่อปีในช่วงโครงการนำร่อง Pilot Phase ..
Thomas Tiedje หัวหน้าฝ่ายวางแผนสำหรับการรีไซเคิลของ Volkswagen Group Components กล่าวว่า “ผลของกระบวนการรีไซเคิล ทำให้สามารถนำวัสดุต่างๆ จำนวนมากกลับมาใช้ใหม่ได้ ในขั้นตอนแรก เรามุ่งเน้นไปที่โลหะแคโทด เช่น โคบอลต์ Cobalt : 27Co, นิกเกิล Nickel : 28Ni, ลิเธี่ยม Lithium : 3Li และแมงกานีส Manganese : 25Mn” ..
ทั้งนี้ ชิ้นส่วนของระบบแบตเตอรี่ที่รื้อถอนแยกออกมา เช่น อลูมิเนียม Aluminium : 13Al และทองแดง Copper : 29Cu จะถูกนำไปรีไซเคิลตามที่กำหนดไว้อีกด้วย ..
ในขณะเดียวกัน เรโนลต์ Renault กำลังรีไซเคิลแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด Recycling all its Electric Car Batteries แม้ว่าในปัจจุบันจะมีปริมาณต่อปีไม่มากนักก็ตาม โดยดำเนินการผ่านความร่วมมือกับบริษัทจัดการขยะของฝรั่งเศส Veolia และบริษัทเคมีภัณฑ์ของเบลเยียม Solvay ..
Jean-Philippe Hermine รองประธานฝ่ายกลยุทธ์สิ่งแวดล้อมของ Renault ยืนยันว่า “เราตั้งเป้าที่จะสามารถจัดการกับตลาดรีไซเคิลได้ 25% โดยต้องการรักษาระดับความครอบคลุมนี้ไว้ และแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ คือ ความต้องการของ Renault ซึ่งจะทำให้เกิดรายได้ที่มั่นคงอย่างมากสำหรับอนาคตของบริษัทฯ จากนี้ไป” .. ทั้งนี้ โครงการของ Renault นี้ ถือเป็นโครงการที่เปิดกว้างมาก และไม่ใช่เพียงแค่การรีไซเคิลแบตเตอรี่ของ Renault เองเท่านั้น แต่รวมถึงแบตเตอรี่ทั้งหมด และยังรวมถึงของเสียจากการผลิตจากโรงงานผลิตแบตเตอรี่อีกด้วย ..
อย่างไรก็ตาม เครื่องหมายการค้า หรือแบรนด์เรโนลต์ และดาเซีย Renault & Dacia Brands ยังคงเป็นหนึ่งในแบรนด์ชั้นนำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของยุโรป Europe’s EV Market อยู่อย่างต่อเนื่องต่อไป ..
ตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 เป็นต้นมา บริษัท Renault จะหยุดการผลิตรถยนต์ใหม่ที่โรงงาน Flins Factory ทางตะวันตกของปารีส West of Paris และเปลี่ยนมาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์รีไซเคิลบางส่วน Production of Partially Recycled Car Components ที่สำคัญ และยานพาหนะที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ Reconditioned Vehicles โดยสิ้นเชิง ..
คาดหมายว่า Flins Factory จะซ่อมแบตเตอรี่ และนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างน้อย 9,000 หน่วยในปี 2567 นี้ .. วันนี้ Renault จำหน่ายแบตเตอรี่ และชิ้นส่วนที่ได้รับการปรับปรุงใหม่อื่นๆ เช่น เครื่องยนต์ไฟฟ้า Electric Engines และเครื่องชาร์จ Chargers พร้อมส่วนลด 30% สำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่ .. ธุรกิจรีไซเคิลแบตเตอรี่ Battery Recycling Business ของ Renault เอง ตั้งเป้าหมายยอดขาย Targeting Sales ไว้ที่ 2.3 พันล้านยูโร หรือ 2.49 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ และอัตรากำไรจากการดำเนินงาน Operating Margin คาดว่าจะอยู่ที่มากกว่า 10% ได้ ภายในปี 2573 ..
คาดการณ์ตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่ทั่วโลก Global Battery Recycling Market ..
เทคโนโลยีลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Battery Technology มีความโดดเด่นโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ Automobile Industry, ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs และอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Industries .. ราคาที่ต่ำ Low Pricing และความต้องการที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีไฟฟ้าเคมีสำหรับระบบจัดเก็บพลังงานในภาคการขนส่ง ซึ่งแบตเตอรี่ลิเธี่ยม Lithium Batteries มีอายุการใช้งาน 3-4 ปี หลังจากนั้นจึงสามารถรีไซเคิล และเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ Recycled & Replaced with a New One ได้ ..
ตามรายงานแนวโน้มรถยนต์ไฟฟ้าของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency Electric Vehicle Outlook ชี้ให้เห็นว่า รถยนต์ไฟฟ้า Electric Cars เช่น BEVs และ PHEVs มากกว่า 13.3 ล้านคัน ถูกจำหน่ายทั่วโลกในปี 2566 และคาดว่ายอดขายจะเพิ่มขึ้นอีก 35% ในปี 2567 เป็น 17 ล้านคัน .. การเติบโตอย่างมีนัยสำคัญของส่วนแบ่งของรถยนต์ไฟฟ้าในตลาดรถยนต์ Electric Cars’ Share of the Overall Car Market โดยรวมเพิ่มขึ้นจากประมาณ 4% ในปี 2563 เป็น 18% ในปี 2566 การเพิ่มขึ้นของยานพาหนะไฟฟ้า Rise in Electric Vehicles : EVs มีแนวโน้มที่จะเป็นแรงผลักดันให้กับตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่ Battery Recycling Market เนื่องจากมีความต้องการลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Battery ที่จะรีไซเคิล Recycling เป็นจำนวนมากในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ ..
อ้างถึงข้อมูลการสำรวจตลาดของ Grand View Research, Inc.พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่ทั่วโลก Global Battery Recycling Market อยู่ที่ประมาณ 1.83 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 และคาดว่าจะพุ่งสูงขึ้นแตะระดับ 54.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2573 .. ทั้งนี้ อัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดรีไซเคิลแบตเตอรี่ทั่วโลก Global Battery Recycling Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 37.6% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2567-2573 ..
ในส่วนของการใช้งาน Based on Application พบว่า ภาคการขนส่ง Transportation Segment ครองตลาดโดยมีส่วนแบ่งรายได้มากที่สุดมากกว่า 73.0% ในปี 2566 .. ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries, แบตเตอรี่กรดตะกั่ว และนิกเกิลเมทัลไฮไดรด์ Lead-Acid & Nickel Metal Hydride Batteries ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมการขนส่ง Transportation Industry .. แบตเตอรี่กรดตะกั่ว Lead-Acid Batteries หลายประเภท ใช้เป็นแบตเตอรี่รถยนต์ Automotive Batteries .. แบตเตอรี่เหล่านี้ มีความทนทาน บำรุงรักษาต่ำ ราคาถูก ทนต่อการกัดกร่อน และมีอายุการใช้งานระยะทนยาว ดังนั้นแบตเตอรี่กรดตะกั่ว Lead-Acid Batteries จึงมีการใช้งานที่มีสัดส่วนมากที่สุดในบรรดาเคมีภัณฑ์แบตเตอรี่อื่นๆ ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดปัจจุบัน ..
การรีไซเคิลลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Recycling of Li-Ion Batteries คือ การนำลิเธี่ยม Lithium : 3Li, โคบอลต์ Cobalt : 27Co, แมงกานีส Manganese : 25Mn และนิกเกิล Nickel : 28Ni กลับมาใช้ใหม่ ซึ่งใช้ในการผลิตลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ใหม่ หรือแบตเตอรี่ประเภทอื่น Manufacturing of New Lithium-Ion or Other Types of Batteries ..
ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Li-Ion Batteries ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs เนื่องจากมีความตระหนักเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับข้อดี และราคาเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้น โดยส่วนใหญ่ในอเมริกาเหนือ North America, เอเชียแปซิฟิก Asia Pacific และยุโรป Europe .. คาดว่าจะช่วยขับเคลื่อนการรีไซเคิลแบตเตอรี่รถยนต์ Automotive Battery Recycling เนื่องจากมีบริษัทผู้ผลิต และรีไซเคิลแบตเตอรี่ Battery Manufacturing & Recycling Companies จำนวนมากในภูมิภาค ..
ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก Asia Pacific มีส่วนแบ่งรายได้ที่ใหญ่ที่สุดมากกว่า 40% ในปี 2566 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ คาดว่า เอเชียแปซิฟิกจะมีอัตราการเติบโตโต อยู่ที่ค่า CAGR ที่สูงที่สุดในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ .. ประเทศต่างๆ เช่น จีน อินเดีย ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตสูงมาพร้อมด้วย เนื่องมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากอุตสาหกรรมปลายทางที่กำลังเติบโต Growing End-Use Industries เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ Automotive, เครื่องใช้ไฟฟ้า Electronics และอื่น อีกมากมาย ..
อเมริกาเหนือ North America มีส่วนแบ่งรายได้ที่สำคัญในปี 2566 โดยสหรัฐฯ เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม Industry Growth .. การใช้ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Usage of Li-Ion Batteries ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในสมาร์ทโฟน Smartphones เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา และเพิ่มประสิทธิภาพ คาดว่าจะผลักดันการเติบโตของตลาดในอเมริกาเหนือ Growth of the Market in North America ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจากนี้ไป ..
ยุโรป Europe คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตที่สำคัญในช่วงระยะเวลาคาดการณ์มาพร้อมด้วยเช่นกัน เนื่องจากการมีอยู่ของบริษัทยานยนต์ที่สำคัญ เช่น Audi, BMW, Mercedes Benz, Jaguar, Aston Martin, Volkswagen, Volvo, Fiat, Ferrari, Lamborghini และ Porsche .. ในภูมิภาคนี้ คาดว่าจะเพิ่มการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ในยุโรป ซึ่งคาดว่าจะผลักดันความต้องการแบตเตอรี่รีไซเคิล Demand for Recycled Batteries ในภูมิภาคตลอดระยะเวลาคาดการณ์ ..
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการรีไซเคิล และค่าใช้จ่ายในการทำลายแบตเตอรี่ลิเธี่ยมในตลาดนั้น คล้ายกับกระบวนการที่ใช้กับแบตเตอรี่กรดตะกั่ว .. ส่วนใหญ่เป็นเพราะกระบวนการนี้ใช้อุปกรณ์ที่คล้ายกัน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานก็ใกล้เคียงกัน .. ประมาณ 100-200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อเมตริกตัน ของแป้งฝุ่นสีดำ มวลสีดำ Black Mass ซึ่งเป็นส่วนผสมของ นิกเกิล Nickel : 28Ni, แมงกานีส Manganese : 25Mn และโคบอลต์ออกไซด์ Cobalt Oxides กับคาร์บอน Carbon คิดเป็นประมาณ 60% ของน้ำหนักแบตเตอรี่ขาเข้า เมื่อผ่านการปรับแต่งขั้นต้นแล้ว การแปลงแบตเตอรี่ใช้แล้วขาเข้าจะอยู่ที่ราคาประมาณ 90 เหรียญสหรัฐฯต่อเมตริกตัน ..
ในปริมาณ 60% นี้ ครึ่งหนึ่งเป็นคาร์บอน Carbon และอีกครึ่งหนึ่งเป็นโลหะออกไซด์ Metal Oxides ที่ใช้แล้ว หรือยังไม่ได้ใช้, โคบอลต์ Cobalt : 27Co, นิกเกิล Nickel : 28Ni และแมงกานีส Manganese : 25Mn รวมทั้งชิ้นส่วนพลาสติก และโลหะเบ็ดเตล็ดอื่นๆ .. สัดส่วนของโคบอลต์ มีอยู่ที่ประมาณ 5-10% ขึ้นอยู่กับผู้ผลิต .. มูลค่าของพวกมันประมาณ 300 เหรียญสหรัฐฯต่อเมตริกตันของหน่วยแบตเตอรี่ขาเข้าที่เป็นมวลสีดำ Black Mass ที่ขายในตลาดเปิด หรือ 500 เหรียญสหรัฐฯต่อเมตริกตันของมวลสีดำจริง Actual Black Mass ..
อลูมิเนียม Aluminium : 13Al และทองแดง Copper : 29Cu ค่อนข้างมีค่ามาก หากพิจารณาปริมาณทองแดง และอะลูมิเนียมที่อยู่ในแบตเตอรี่ ให้คูณด้วย 30% ของราคา London Metal Exchange และระดับราคาในตลาดจะอยู่ที่ประมาณ 450 เหรียญสหรัฐฯต่อเมตริกตันสำหรับทองแดง และ 53 เหรียญสหรัฐฯต่อเมตริกตันสำหรับอะลูมิเนียม ที่เพิ่มคุณค่าให้กับสิ่งที่ออกมาจากกระบวนการนี้เกือบเท่าๆ กับมวลสีดำ Black Mass .. สิ่งสำคัญสำหรับผู้รีไซเคิลต้องคำนึงถึงทั้งสองสิ่งนี้ เพราะพวกมันมีมูลค่าราคาขายเกือบเท่ากับมูลค่าของมวลสีดำ Black Mass ..
แบตเตอรี่ลิเธี่ยมไอออน Lithium-Ion Battery ที่เข้ามาหนึ่งเมตริกตัน จะมีราคาประมาณ 90 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล โดยมวลสีดำขายได้ประมาณ 300 เหรียญสหรัฐฯขึ้นไป และหากเป็นโลหะที่ต้องการล้วน ๆ แล้ว จะมีราคาประมาณ 500 เหรียญสหรัฐฯต่อเมตริกตัน .. ซึ่งหมายถึงการดำเนินการรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยม Lithium-Ion Battery Recycling ที่สามารถสร้างผลกำไรได้เป็นอย่างดีนั่นเอง ..
สรุปส่งท้าย ..
จนถึงปี พ.ศ.2578 หรือ ค.ศ.2035 รถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs กำลังเข้ายึดครองถนนอย่างแน่นอนเปลี่ยนแปลงไม่ได้ .. คาดหมายได้ว่า รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเบนซิน และดีเซล Petrol & Diesel Cars จะกลายเป็นอดีตในไม่ช้า .. สหภาพยุโรป European Union ได้สั่งห้ามการซื้อขายรถยนต์ใหม่ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ตั้งแต่ปี 2573 เป็นต้นไปเพื่อเร่งการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานที่สะอาดขึ้น และลดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ..
แท้จริงแล้ว รถยนต์ไฟฟ้าจะไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 เมื่อขับขี่ แต่ชุดแบตเตอรี่แบบชาร์จไฟได้ Rechargeable Batteries กลับสร้างความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมในตัวของมันเอง พวกมันประกอบขึ้นด้วยโลหะหายาก ราคาแพง และเมื่อแบตเตอรี่สิ้นสภาพหมดอายุการใช้งานลงนั้น ปัญหาของพวกมัน ได้แก่ การรีไซเคิล Recycle ซึ่งก่อนหน้านี้ กระทำได้อย่างยากเย็น ..
อย่างไรก็ตาม วัสดุรีไซเคิลที่เป็นโลหะมีค่าในแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า Recyclable Materials in Electric Vehicle Batteries คือ เป้าหมายสำคัญ .. สามองค์ประกอบหลักที่สามารถกลับมารีไซเคิลได้ ประการแรกคือ วัสดุแคโทดที่ยังไม่ได้ใช้งาน ได้แก่ นิกเกิล แมงกานีส และโคบอลต์ สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป .. วัสดุเหล่านี้มีค่ามาก โดยเฉพาะโรงงานผู้ผลิตแบตเตอรี่ที่ต้องการพวกมันทั้งหมด .. พวกมันจะถูกแยกออกจากแคโทด และรีไซเคิลกลับสู่ต้นน้ำ เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบภายในโรงงานต่อไป ..
ทั้งนี้ ด้วยความจริงที่ว่า ปริมาณลิเธี่ยม Lithium : 3Li สำรองในธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด และความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงความต้องการระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage Systems ที่มีประสิทธิภาพนั้น พวกมันคือแรงผลักสำคัญสำหรับความต้องการรีไซเคิลชุดแบตเตอรี่ Battery Recycling ทั่วโลกด้วยการทำเรื่องยากเป็นเรื่องง่ายให้สำเร็จอย่างรวดเร็วกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ..
ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries : LIBs ใช้ลิเธี่ยมเป็นอิเล็กโทรไลต์ Electrolyte และองค์ประกอบแคโทดหลัก Main Cathode จึงเป็นที่มาของชื่อ .. ทั้งนี้ ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ เปิดตัวในปี พ.ศ.2513 หรือ ค.ศ.1970 และได้กลายเป็นหลักในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค เครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อป โทรศัพท์ แท็บเล็ต และอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้บริโภคต่างๆ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การใช้งานได้ขยายไปสู่ระบบจัดเก็บพลังงานขนาดใหญ่ และการจัดเก็บแบบอยู่กับที่ เช่นเดียวกับรถยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs ..
ประสิทธิภาพในระยะยาว Long-Term Performance, ความหนาแน่นของพลังงาน และกำลังที่สูง High Energy & High Power Density, ความสามารถในการเก็บประจุไว้เป็นเวลานาน Ability to Hold a Charge for a Long Time อัตราการคายประจุในตัวเองต่ำ Low Self-Discharge Rates และอัตราการชาร์จที่รวดเร็ว Fast Charging Rates ทำให้ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium-Ion Batteries : LIBs เหล่านี้ ได้กลายเป็นที่นิยมอย่างมาก ..
อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดในห่วงโซ่การผลิตแบตเตอรี่ทั้งหมด Entire Battery Production Chain ได้แก่ การรีไซเคิลแบตอรี่ Battery Recycling ซึ่งถือเป็นประเด็นท้าทายที่มาพร้อมด้วยบนเส้นทางสู่การผลิตแบตเตอรี่อย่างมีความรับผิดชอบ Responsible Battery Manufacturing ในอนาคตจากนี้ไป ..
ปัจจุบัน อุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค และยานยนต์ไฟฟ้า ได้เพิ่มความต้องการการใช้ลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่เป็นจำนวนมาก และกำลังผลักดันให้ผู้ผลิตแบตเตอรี่เพิ่มกำลังการผลิตขึ้นอีก .. นักวิเคราะห์ในภาคอุตสาหกรรม คาดการณ์ว่า ด้วยความต้องการ LIBs มากกว่า 10 ล้านเมตริกตัน ภายในปี 2573 ขณะที่ปัจจุบันมีเพียง 5% หรือน้อยกว่าของลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ที่ใช้แล้วเท่านั้นที่ถูกนำไปรีไซเคิล ซึ่งหมายความว่า ส่วนใหญ่จะสิ้นสุดในหลุมฝังกลบขยะอันตราย ..
กระบวนการกำจัดลักษณะเดิมที่ผ่านมาทำให้เกิดขยะอิเล็กทรอนิกส์ E-Waste ซึ่งประกอบด้วยสารพิษ .. เป็นที่ทราบกันดีว่า ของเสียเหล่านี้ สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านลบหลังการกำจัด เช่น มลพิษทางน้ำ ผลกระทบด้านลบต่อสัตว์ป่า และอื่น ๆ อีกมากมาย ..
หลายคนยังคงทิ้งแบตเตอรี่ และไม่รู้ถึงประโยชน์ของการรีไซเคิล Benefits of Recycling .. การวิเคราะห์ประโยชน์ของการรีไซเคิลลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ สิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ รวมทั้งข้อเสนอตัวเลือกที่ปลอดภัยที่สุดในการจัดเก็บ และส่งแบตเตอรี่เพื่อการรีไซเคิลเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน แสดงให้เห็นว่า การรีไซเคิลชุดแบตเตอรี่ Battery Recycling กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้จากนี้ไป .. พวกมันไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป และเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ที่น่าสนใจจากนี้ไป ไม่มีข้อสงสัย ..
สำหรับประเทศไทยนั้น การผลิตลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium Ion Battery ภายในประเทศกำลังจะเริ่มขึ้นเต็มรูปแบบแล้วโดยเอกชนไทยที่มีศักยภาพ เพื่อใช้เอง และเพื่อการส่งออก .. การเข้าร่วมลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมเหมืองแร่ลิเธี่ยมในประเทศชิลีของบริษัทฯ คนไทย เพื่อให้มั่นใจว่า จะไม่มีความขาดแคลนแร่ธาตุโลหะมีค่าที่จำเป็นในกระบวนผลิต เป็นการมองการณ์ไกลที่ยอดเยี่ยม ..
นอกจากนี้ ยังมีการนำลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่ Lithium Ion Battery เหลือทิ้ง และซากขยะเซลล์แสงอาทิตย์ใช้แล้วมาเข้ากระบวนการรีไซเคิล เพื่อผลิตแบตเตอรี่ลิเธี่ยมใหม่ในประเทศอีกด้วยนั้น ได้ส่งผลให้ประเทศไทยจะสามารถควบคุม และกำหนดราคาพลังงานสะอาดที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการได้เองอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน รวมทั้งจะทำให้ราคายานยนต์ไฟฟ้าในประเทศลดลงจนสามารถแข่งขันในตลาดรถยนต์นั่งทั่วไปที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในได้ ซึ่งรวมถึงโอกาสการส่งออกที่สดใสไปพร้อมด้วย ..
การประเมินศักยภาพการรีไซเคิลแบตเตอรี่ใช้แล้วชนิดที่มีลิเธี่ยม Lithium : 3Li และโลหะหายากราคาแพงเป็นองค์ประกอบหลักให้เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น เชื่อมั่นได้ว่า จะส่งผลต่อการบริหารจัดการที่ทำให้เกิดความคุ้มค่าทั้งทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจ .. อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานบางประการจากนโยบายภาครัฐ และมาตรการที่ชัดเจนในการส่งเสริมการรวบรวม และเรียกคืนซากแบตเตอรี่ลิเธี่ยม การคัดแยกซากแบตเตอรี่ และการรีไซเคิลแบตเตอรี่สิ้นสภาพใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้สำเร็จในอนาคตอันใกล้ได้ต่อไป ..
………………………………………..
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Projection of Total Worldwide Lithium Demand from 2016 to 2030 | Statista :-
https://www.statista.com/statistics/452025/projected-total-demand-for-lithium-globally
Recycling Lithium – Ion Batteries from Electric Vehicles | Nature :-
https://www.nature.com/articles/s41586-019-1682-5
Technology Breakthrough as Northvolt Produces First Ever Lithium – Ion Battery Cell with 100% Recycled Nickel, Manganese and Cobalt | Rechargenews :-
Lithium – ion Battery Recycling Solution | Fortum :-
Electric Cars: What will Happen to All the Dead Batteries? | BBC :-
https://www.bbc.com/news/business-56574779
Recycling Batteries | Battery Council International | Battery Council :-
https://batterycouncil.org/page/Battery_Recycling
Lithium – ion Battery Recycling Technology | Fortum :-
Global Battery Recycling Market | Grand View Research :-
https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/battery-recycling-market
Battery Recycling Explained | Solving EV’s Biggest Problem :-