Overview of the Global Petrochemical Industry
“…อุตสาหกรรมปิโตรเคมีโลก Global Petrochemical Industry มีสัดส่วนความต้องการน้ำมัน และก๊าซ Growing Share of Oil & Gas Demand รวมทั้งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก Global Greenhouse Gas Emissions ที่เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ..”
ปิโตรเคมี Petrochemicals คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ Oil & Natural Gas ได้แก่ พลาสติก Plastics, สบู่ Soaps, ผงซักฟอก Detergents, ปุ๋ย Fertilizers, ตัวทำละลาย Solvents, ยา Drugs, ยาฆ่าแมลง Pesticides, เส้นใยสังเคราะห์ และยาง Fibers & Rubbers, สี Paints และวัสดุฉนวน Insulating Materials .. ปิโตรเคมี Petrochemicals คือ แหล่งที่มาของความต้องการน้ำมัน และก๊าซที่เพิ่มขึ้น Increasing Source of Demand for Oil & Gas และเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้น Growing Source of Greenhouse Gas Emissions มาพร้อมด้วย ..
วัตถุดิบปิโตรเคมี Petrochemical Raw Materials คิดเป็น 12% ของความต้องการน้ำมันทั่วโลก Global Oil Demand ซึ่งเป็นส่วนแบ่งที่คาดว่าจะมากขึ้นอีกจากความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับ พลาสติก Plastics, ปุ๋ย Fertilizers และผลิตภัณฑ์อื่นๆ .. แม้ว่า ปิโตรเคมี Petrochemicals จะมีขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น และเติบโตต่อเนื่อง แต่ภาคส่วนนี้ ยังคงนั่งอยู่ตรงตำแหน่งเพียงลำดับรองในการอภิปรายด้านพลังงานของทั่วโลก ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของจุดบอดมุมมืดด้านพลังงานของ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA .. แต่ด้วยข้อเท็จจริงแล้ว พวกมันคือประเด็นสำคัญยิ่งของความต้องการพลังงาน แต่กลับไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากฝ่ายการเมือง ผู้กำหนดนโยบาย และไม่มีใครใส่ใจพวกมันมากนัก ..
อย่างไรก็ตาม อนาคตของปิโตรเคมี Future of Petrochemicals เริ่มเปลี่ยนไป มนุษยชาติได้ตัดสินใจแล้วที่จะลดการพึ่งพาแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel Sources และมีแผนงานที่จะเลิกการใช้งานพวกมันอีกต่อไปในไม่ช้านี้ คาดหมายว่า ภาพรวมความต้องการน้ำมัน และก๊าซ Oil & Gas Demand ทั่วโลกจะถึงจุดสูงสุดในปี 2567 นี้แล้ว โดยจากนี้ไปความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels จะเริ่มลดลง และถูกแทนที่ด้วยแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources ในที่สุด .. จนถึงวันนี้ ปิโตรเคมี Petrochemicals กำลังกลายเป็นประเด็นสำคัญ และเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนบทบาทระบบพลังงานโลก รวมทั้งประเด็นความสำคัญของความมั่นคงทางพลังงาน กับปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ..
ดังนั้น ปิโตรเคมี Petrochemicals สมควรที่จะมีการกำหนดกรอบนโยบายภาครัฐ หรือมาตรการต่างๆ ในอนาคตอย่างไรนั้น การสอบทานสถานการณ์ทางเลือกที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ ประชาคมโลก นานาประเทศ รวมทั้งประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และกลยุทธ์ต่างๆ รวมทั้งการประเมินผลกระทบต่อความต้องการพลังงาน และรวมถึงความต้องการทางสังคม เพื่อให้ได้มาซึ่งตำแหน่ง และข้อไขที่เหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี Petrochemical Industry ผนวกกับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ชีวภาพหมุนเวียน Renewable Bio-Based Chemicals Industry ที่กำลังจะเข้าแทนที่พวกมันด้วยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มาพร้อมด้วยนั้น ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้สำหรับอนาคตระบบเศรษฐกิจ และสังคมคาร์บอนต่ำ Future of Low-Carbon Economy & Society จากนี้ไป ..
ภาพรวมของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีโลก Overview of the Global Petrochemical Industry ..
ข้อเท็จจริงที่เป็นประเด็นสำคัญซึ่งต้องคำนึงถึง ได้แก่ ปุ๋ยไนโตรเจน Nitrogen Fertilizers คิดเป็น 30% ของการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมปิโตรเคมี Petrochemical Industry’s Emissions และก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas ที่มีฤทธิ์รุนแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 อยู่ถึง 300 เท่า .. หากไม่นับปุ๋ยแล้ว 63% ของผลผลิตปิโตรเคมี Petrochemical Output คือ พลาสติก Plastics ซึ่งมากกว่า 1 ใน 3 ของปริมาณดังกล่าว ถูกนำไปใช้ในบรรจุภัณฑ์ Packaging .. ความต้องการน้ำมันของอุตสาหกรรมพลาสติก และปิโตรเคมี Demand for Oil by the Plastic & Petrochemical Industries คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี 2593 ภายใต้สถานการณ์ปกติ ส่งผลให้มีการปล่อยมลพิษสูงกว่าที่จำเป็นเพื่อการจำกัดภาวะโลกร้อนให้ไม่เกินจุดเล็ง อยู่ที่ 1.5oC ..
อุตสาหกรรมปิโตรเคมี China’s Petrochemical Industry ของจีนกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยภายใน 5 ปี จะเพิ่มกำลังการผลิตมากกว่าที่มีอยู่ในยุโรป Europe, ญี่ปุ่น Japan และเกาหลีใต้ South Korea รวมกัน .. ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีหลายชนิด Many Petrochemical Products รวมทั้งพลาสติก Plastics มีสารเคมีที่เชื่อมโยงกับสภาวะสุขภาพของมนุษย์ Contain Chemicals that have been Linked to Health Conditions in Humans เช่น มะเร็ง Cancer, อันตรายต่อพัฒนาการทางระบบประสาท และภาวะการมีบุตรยาก Neurodevelopmental Harm & Infertility มาพร้อมด้วย ..
การแก้ไขปัญหาผลกระทบจากพลาสติกที่มีต่อสภาพภูมิอากาศ Tackling the Climate Impacts of Plastics นั้น ต้องอาศัยการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงผลกระทบต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบาย หรือกฎระเบียบ ตลอดจนการเน้นที่การนำวัสดุกลับมาใช้ซ้ำ Reusing Materials และการลดปริมาณวัสดุแบบใช้ครั้งเดียวที่ผลิตขึ้น Reducing the Amount of Single-Use Materials มากกว่าการรีไซเคิล หรือใช้พลาสติกทดแทนวัสดุอื่นเพียงอย่างเดียว Recycling or Substituting Plastics for Other Materials ..
คาดหมายว่า ความต้องการพลาสติก Demand for Plastics จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ โดยคาดการณ์ว่าการผลิตพลาสติกทั้งหมด และความต้องการในปี 2593 จะอยู่ระหว่าง 2-3.5 เท่าของระดับปัจจุบัน .. การเติบโตนี้คาดการณ์ไว้ในทุกภูมิภาค โดยการเติบโตที่สำคัญที่สุดของความต้องการจะมาจากจีน และเอเชีย ตั้งแต่นี้ไปจนถึงปี 2593 ..
การใช้พลาสติก Plastics Use คาดว่าจะเพิ่มขึ้นตาม GDP ที่เพิ่มขึ้น และการบริโภคพลาสติก Plastics Consumption ยังคงเพิ่มขึ้นในประเทศ OECD Countries ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแตกต่างจากการปล่อยคาร์บอน Carbon Emissions ซึ่งประเทศที่ร่ำรวยบางประเทศ ได้แยกการปล่อยคาร์บอนออกจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ .. การบริโภคพลาสติก Plastic Consumption มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยประเทศ OECD Countries บริโภค 156 Kg per Capita เมื่อเทียบกับ 39 Kg per Capita ในประเทศที่ไม่ใช่ OECD .. ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาจากแนวโน้มเหล่านี้ สมมติฐานที่ว่า ความต้องการพลาสติกในประเทศที่ไม่ใช่ OECD จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญจึงน่าเชื่อถือ เว้นแต่จะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในพฤติกรรมของรัฐบาล นักลงทุน บริษัท และ/หรือ ผู้บริโภค ..
อย่างไรก็ตาม ความต้องการน้ำมันสำหรับวัตถุดิบปิโตรเคมี Oil Demand for Petrochemical Feedstocks จะคิดเป็น 40% ของการเติบโตของความต้องการน้ำมันทั้งหมด Total Oil Demand Growth ตั้งแต่ปี 2565-2571 และจะมากกว่าการลดลงของความต้องการน้ำมันสำหรับการขนส่งทางถนนที่คาดการณ์ไว้ในปี 2569-2570 .. ความต้องการน้ำมันสำหรับวัตถุดิบปิโตรเคมีมีแนวโน้ม Oil Demand for Petrochemical Feedstock จะเพิ่มเป็น 2 เท่าในอีก 30 ปีข้างหน้าเป็น 18 ล้านบาร์เรลต่อวัน Million Barrels per Day ตามสถานการณ์การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ Economic Transition Scenario ของ BloombergNEF .. ดังนั้น เนื่องจากการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ได้ค่อยๆ เริ่มขึ้นแล้ว โดยหากวัตถุดิบปิโตรเคมี Petrochemical Feedstocks หายออกไปจากตลาด เกิดขึ้น การจัดหาวัตถุดิบทดแทน เช่น วัตถุดิบชีวมวล Biomass Feedstocks เพื่อผลิตพลาสติกชีวภาพ Bioplastics แทนที่ปิโตรเคมี Petrochemicals ตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์พลาสติกรูปแบบเดิม กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ รวมทั้งหมายถึง โอกาสทางธุรกิจที่มั่นคงสำหรับการผลิต จำหน่าย และการส่งออก สามารถสร้างรายได้ และผลกำไรอย่างเป็นกอบเป็นกำได้อย่างมั่นใจในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ Bioplastic Industry ของไทย ไม่อาจมองข้ามไปได้ ..
ทั้งนี้ สิ่งที่น่ากังวล ได้แก่ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ และปิโตรเคมี Chemicals & Petrochemicals คิดเป็น 6.1% ของการปล่อยมลพิษทั่วโลกตามการใช้งานขั้นสุดท้าย Global Emissions by End Use ซึ่งใกล้เคียงกับอุตสาหกรรมเหล็ก และเหล็กกล้า Iron & Steel Industry และเกือบเป็น 2 เท่าของการปล่อยมลพิษจากซีเมนต์ Double the Emissions from Cement .. หมายถึง เมื่อความต้องการปิโตรเคมีเพิ่มขึ้น Petrochemical Demand Rises การปล่อยมลพิษก็คาดว่าจะเพิ่มขึ้น Emissions are Forecast to Increase มาพร้อมด้วย ..
การคาดการณ์การปล่อยมลพิษในปัจจุบัน และอนาคตจากอุตสาหกรรมเคมี Current & Future Emissions from the Chemical Industry นั้น แตกต่างกันอย่างมาก .. ในช่วงทศวรรษนี้ สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA คาดการณ์ว่า การปล่อยมลพิษจะเพิ่มขึ้น 10% ในขณะที่บริษัทที่ปรึกษา Oliver Wyman คาดการณ์ว่า การปล่อยมลพิษจะเติบโตขึ้น 20% เมื่อมองไปข้างหน้าถึงปี 2593 .. IEA คาดการณ์ว่า การปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมเคมี Chemical Industry Emissions จะยังคงใกล้เคียงกับระดับของปี 2564 ในขณะที่บริษัทที่ปรึกษา Material Economics คาดการณ์ว่า การปล่อยมลพิษจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของระดับปัจจุบัน .. ตัวเลขประมาณการที่ไม่ตรงกันนี้ อาจเกิดจากคำจำกัดความที่แตกต่างกันของขอบเขตของอุตสาหกรรม Different Definitions of the Scope of the Industry ตลอดจนสมมติฐานที่แตกต่างกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพของนโยบายในการลดความต้องการพลาสติก Effectiveness of Policies to Reduce Plastic Demand, ปรับปรุงการรีไซเคิล Improve Recycling และปฏิรูปการผลิตพลาสติก Reform Plastics Production ด้วยพลังงานหมุนเวียน Renewables และชีวมวล Biomass ..
ภายใต้วิถีปัจจุบัน และสถานการณ์ปกติ การปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมเคมี Emissions from the Chemical Industry จะเกินกว่าที่จำเป็นเพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนให้ไม่เกิน 1.5oC ในทุกการประเมิน ในบริบทนี้ ในสถานการณ์ STEPS ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA คาดว่า การปล่อยมลพิษทั้งหมดจากก๊าซธรรมชาติ Total Emissions from Natural Gas ในปี 2573 จะอยู่ที่ 7,499 ล้านตันของคาร์บอนไดออกไซด์ Million Tons of Carbon Dioxide : CO2 ..
จนถึงปัจจุบัน อุตสาหกรรมปิโตรเคมี Petrochemical Industry กำลังเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในปัจจุบัน กำลังการผลิตเอทิลีน Production Capacity for Ethylene : C2H4 ซึ่งเป็นสารเคมีพื้นฐานที่สำคัญชนิดหนึ่งสำหรับการผลิตพลาสติก Key Precursor Chemicals for Plastics Production คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 46% ตั้งแต่ปี 2565-2573 ..
คาดว่า เอเชีย Asia จะเป็นแหล่งที่มาของการเติบโตของความต้องการน้ำมันในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี Additional Oil Demand Growth in Petrochemicals เพิ่มขึ้นมากกว่า 60% ระหว่างนี้จนถึงปี 2593 .. การเติบโตของกำลังการผลิตในเอเชีย จะยังไม่ชะลอตัวลงจนกว่าจะถึงปี 2573 โดยจะมีความต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้น 200,000 บาร์เรลต่อวัน Barrels per Day ในแต่ละปี จนถึงเวลานั้น ..
ความต้องการปิโตรเคมีของจีน China’s Petrochemical Demand คือแรงผลักการเติบโตที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในด้านกำลังการผลิตโลก .. การผลิตภายในประเทศ Domestic Production กำลังเข้ามาแทนที่ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี Petrochemical Products ที่เคยนำเข้ามาก่อน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสหรัฐฯ .. ตะวันออกกลาง Middle East ยังมีแนวโน้มที่จะสนับสนุนการเติบโตของปิโตรเคมี Petrochemicals Growth ขณะที่การผลิตของสหรัฐฯ คาดว่าจะซบเซาลงหลังจากที่เฟื่องฟูในช่วงไม่นานมานี้ ..
ตามข้อมูลของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ชี้ว่า ความเร็ว และขนาดของการขยายตัวของภาคปิโตรเคมีของจีน Speed & Scale of the Expansion of China’s Petrochemical Sector นั้น เหนือกว่าแบบอย่างที่เคยพบเจอประวัติศาสตร์ โดยเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่าจากการเพิ่มกำลังการผลิตก่อนหน้านี้ในตะวันออกกลาง Middle East และสหรัฐฯUnited States .. ระหว่างปี 2562-2567 นั้น จีน China ประสบความสำเร็จเข้าสู่เป้าหมายที่จะเพิ่มกำลังการผลิตเอทิลีน และโพรพิลีน Production Capacity for Ethylene : C2H4 & Propylene : C3H6 ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สุด 2 ประการของปิโตรเคมี Two Most Important Petrochemicals เท่ากับที่มีอยู่ปัจจุบันในยุโรป Europe, ญี่ปุ่น Japan และเกาหลีใต้ South Korea รวมกัน .. อย่างไรก็ตาม การผลิตเอทิลีนสีเขียว และโพรพิลีนสีเขียว Green Ethylene : C2H4 & Green Propylene : C3H6 Production ทดแทนผลิตภัณฑ์จาก Petrochemicals ในเอเชีย ได้เริ่มขึ้นแล้วด้วยอัตราการเติบโตที่สูงยิ่งอย่างมีนัยสำคัญมาพร้อมด้วย ..
สำหรับปัจจุบัน และอนาคตจากนี้ไป มีการเสนอวิธีแก้ปัญหาทางเทคนิคต่างๆ เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากการผลิตพลาสติกจากปิโตรเคมี Petrochemicals รวมถึงการทดแทนน้ำมัน และก๊าซ ด้วยพลังงานหมุนเวียน Replacing Oil & Gas with Renewables เป็นแหล่งพลังงานในกระบวนการผลิต Energy Source in the Production Process .. อย่างไรก็ตาม พลาสติก Plastics แต่ละตัน มีคาร์บอนมากกว่าปริมาณที่ปล่อยออกมาจากการผลิต ดังนั้น จึงไม่สามารถแก้ไขผลกระทบต่อสภาพอากาศได้หากไม่นำการรีไซเคิล Recycling และการใช้พลาสติกชีวภาพ Bioplastics Use มาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง รวมทั้งคาดหมายได้ว่า เทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies กำลังเข้ามาแทนที่ปิโตรเคมี Replacing Petrochemicals ด้วยวัสดุที่ยั่งยืนกว่า More Sustainable Materials ได้อย่างยอดเยี่ยมจากนี้ไป ขณะที่ความต้องการพลาสติก Demand of Plastics ไม่จำเป็นต้องลดลง ..
เคมีชีวภาพ Biochemicals ช่วยมนุษยชาติให้หลุดพ้นจากปิโตรเคมี Free of Petrochemicals ได้อย่างเหนือชั้นในอนาคต ..
ด้วยความจริงซึ่งไม่อาจปฏิเสธได้สำหรับอนาคตที่ใกล้จะมาถึงนั้น คาดหมายได้ว่า ปิโตรเลียม Petroleum กำลังจะกลายเป็นอดีต ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมทั้งหมดในตลาดกำลังจะหายไปในที่สุด ..
ปัจจุบัน นานาประเทศ เตรียมแผนงานยกเลิกการพึ่งพาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซธรรมชาติ, Shale Gas & Oil และถ่านหิน ในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของพวกเขาด้วยความมุ่งมั่น ซึ่งส่งผลให้ผลิตภัณฑ์พลาสติก Plastics ที่ให้ความสะดวกสบายในชีวิตประจำวันของมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน จะหายออกไปจากตลาดในพริบตา เนื่องด้วยพวกมันคือ Byproduct ของกระบวนผลิตน้ำมัน ด้วยความจริงที่ว่า พลาสติกธรรมดาทั่วไป Conventional Plastics นั้น ผลิตขึ้นจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และเป็นผลิตภัณฑ์สำคัญอันหนึ่งในอุตสาหกรรมน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ..
อย่างไรก็ตาม หากปิโตรเลียม Petroleum กำลังถูกแทนที่ด้วย แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และ พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy หรือแม้แต่ พลังงานนิวเคลียร์ Nuclear Energy กลายเป็นจริง .. ปิโตรเคมี Petrochemical ก็กำลังถูกแทนที่ด้วยเคมีชีวภาพ Biochemicals และผลิตภัณฑ์จากชีวมวล Biomass Products ที่เป็นปุ๋ย Fertilizers, ตัวทำละลาย Solvents, ยา Drugs, ยาฆ่าแมลง Pesticides, เส้นใยสังเคราะห์ และยาง Fibers & Rubbers, สี Paints รวมทั้งพลาสติกชีวภาพ Bioplastics ซึ่งย่อยสลายทางชีวภาพได้ง่ายกว่าด้วยเช่นกัน ..
การทำพลาสติกทดแทน Plastic Alternatives จากพืช หรือสิ่งมีชีวิตคล้ายพืช เช่น Algae และ Seaweed เป็นต้นนั้น สร้างประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย ..
ปัจจุบัน พลาสติกชีวภาพ Bioplastics ได้รับการพัฒนาก้าวหน้าขึ้นในระดับคุณภาพสูงขึ้น พร้อมที่จะดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ สามารถนำไปใช้ผลิตเป็นสินค้า และผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย เช่นเดียวกับพลาสติกรูปแบบดั้งเดิมที่ทำมาจากปิโตรเคมี .. มันสามารถตอบโจทย์ความต้องการผู้บริโภค และความต้องการทางอุตสาหกรรม อาทิเช่น พอลิแล็กติกแอซิด Polylactic Acid หรือ PLA และ พอลิบิวทิลีนซักซิเนต Polybutylene Succinate หรือ PBS ..
เป็นที่แน่นอนว่า เทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies กำลังเข้ามาแทนที่ปิโตรเคมี Petrochemicals ด้วยวัสดุ และผลิตภัณฑ์มากมายหลายชนิดที่ยั่งยืนมากขึ้น .. ความตระหนักรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มนุษยชาติเปลี่ยนจากเคมีภัณฑ์ Chemicals ที่ได้มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels มาเป็นเคมีภัณฑ์ Chemicals ที่ผลิตขึ้นมาจากพืช และชีวมวล Made from Plant Matter & Biomass ..
จนถึงปัจจุบัน มนุษยชาติ ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลทั่วโลก Global Dependence on Fossil Fuels ซึ่งยากที่จะเลิกได้ .. ปิโตรเคมี Petrochemicals ซึ่งได้มาจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels นั้น ถูกนำไปใช้กับผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน Everyday Products .. เมื่อคุณหยิบแก้วพลาสติกสักใบมาใช้ นั่นคือ คุณกำลังใช้สิ่งของที่ทำขึ้นจากปิโตรเคมี Items Made from Petrochemicals ..
การใช้ปิโตรเคมีสำหรับผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน Using Petrochemicals in Everyday Products ส่งผลกระทบอย่างมหาศาลต่อสิ่งแวดล้อมโลก .. กระบวนการผลิต Manufacturing Process ของพวกมัน ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas Emissions, ของเสีย Waste และมลพิษ Pollution .. อย่างไรก็ตาม มีทางเลือกอื่นที่ดี และยั่งยืนกว่าปิโตรเคมี More Sustainable Alternatives to Petrochemicals ที่ผู้ผลิต Manufacturers ทั้งหลาย สามารถใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันเหล่านี้ได้ ..
ตัวอย่างบริษัท Genomatica ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นบริษัทด้านชีววิทยา Biology Company ที่กำลังปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันโดยใช้กระบวนการผลิตที่สะอาด ได้ประกาศว่า โรงงานเชิงพาณิชย์แห่งที่ 2 ของพวกเขา จะใช้เทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies ของบริษัทฯ ผ่านความร่วมมือกัน โดยบริษัท Cargill ซึ่งเป็นบริษัทอาหารระดับโลก Global Food Corporation และบริษัท HELM ซึ่งเป็นบริษัทจัดจำหน่าย และการตลาดเคมีภัณฑ์ Distributor & Chemical Marketing Company ที่เป็นธุรกิจครอบครัว จะลงทุน 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่นี้ .. ขณะที่ บริษัท Genomatica กำลังออกใบอนุญาตให้บริษัทฯ ทั้ง 2 ใช้เทคโนโลยีกระบวนการผลิตทางชีวภาพ Biomanufacturing Process Technologies ของพวกเขาสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันแทนที่ปิโตรเคมี Petrochemicals นั่นเอง ..
บริษัท Genomatica ได้สร้างเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตพลาสติกชีวภาพ Bioplastics หรือสิ่งที่เรียกว่า Bio-BDO : 1, 4 – Butanediol : C4H10O2 ขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกทดแทนจากแหล่งธรรมชาติที่ยั่งยืนสำหรับเคมีภัณฑ์ Chemicals ที่มีอยู่ในปัจจุบัน แทนที่จะใช้ปิโตรเคมี Petrochemicals เป็นวัตถุดิบ .. บริษัท Genomatica ใช้วัตถุดิบหมุนเวียน Renewable Feedstocks เช่น อ้อย Sugarcane, หัวบีท Sugar Beets และแหล่งคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ Other Sources of Carbohydrates เช่น ข้าวโพด Corn .. วิทยาเขตเทคโนโลยีชีวภาพแห่งใหม่ New Biotechnology Campus นี้ จะเป็นแห่งแรกในสหรัฐฯ ที่ผลิตเคมีภัณฑ์ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตพลาสติกชีวภาพหมุนเวียนในเชิงพาณิชย์ Commercial-Scale Renewable BDO โดยใช้กระบวนการ GENO™️ Bio-BDO ของ Genomatica เมื่อสร้างเสร็จในปี 2567 โรงงานแห่งนี้ จะสามารถผลิต BDO ได้มากกว่า 65,000 ตันต่อปี ซึ่งจะเพิ่มกำลังการผลิต Bio-BDO ที่มีอยู่ทั่วโลกเป็น 3 เท่า ..
ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์ทางเลือกอื่นที่ดี และยั่งยืนกว่าปิโตรเคมี More Sustainable Alternatives to Petrochemicals เช่น พลาสติกจากพืช Plant-Based Plastics หรือพลาสติกชีวภาพ Bioplastics เป็นต้นนั้น คือ วัสดุพลาสติก Plastic Materials ที่ผลิตจากแหล่งชีวมวลหมุนเวียน Renewable Biomass Sources เช่น ไขมัน และน้ำมันพืช Vegetable Fats & Oils, แป้งข้าวโพด Corn Starch, ฟาง Straw, เศษไม้ Woodchips, ขี้เลื่อย Sawdust, เศษอาหารรีไซเคิล Recycled Food Waste เป็นต้น ..
พลาสติกชีวภาพ Bioplastics บางชนิด ได้มาจากการแปรรูปโดยตรงจากพอลิเมอร์ชีวภาพตามธรรมชาติ Natural Biopolymers ได้แก่ พอลิแซ็กคาไรด์ Polysaccharides เช่น แป้ง Starch, เซลลูโลส Cellulose, ไคโตซาน Chitosan และอัลจิเนต Alginate รวมทั้งโปรตีน เช่น โปรตีนจากถั่วเหลือง Soy Protein, กลูเตน Gluten และเจลาติน Gelatin เป็นต้นด้วย .. ในขณะที่สารอื่น ๆ สังเคราะห์ทางเคมีจากอนุพันธ์ของน้ำตาล เช่น กรดแลกติก Lactic Acid และรวมทั้งน้ำมัน และไขมันจากพืชหรือสัตว์ Oils & Fats from Either Plants or Animals หรือสร้างขึ้นทางชีวภาพ โดยการหมักน้ำตาล หรือไขมัน Fermentation of Sugars or Lipids ..
ในทางตรงกันข้าม พลาสติกทั่วไป Common Plastics เช่น พลาสติกเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil-Fuel Plastics หรือที่เรียกว่า พอลิเมอร์จากปิโตร Petro-Based Polymers นั้น ได้มาจากปิโตรเลียม Petroleum หรือก๊าซธรรมชาติ Natural Gas ..
ข้อดีสุดยอดของพลาสติกชีวภาพ Bioplastics คือความเป็นอิสระจากวัตถุดิบที่เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels as a Raw Materials ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และกระจายอย่างไม่สม่ำเสมอทั่วโลก Finite & Globally Unevenly Distributed Resource ซึ่งเชื่อมโยงกับการเมืองของปิโตรเลียม Petroleum Politics และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมร้ายแรง Serious Environmental Impacts .. การศึกษาวิเคราะห์วัฏจักรชีวิต Life Cycle Analysis Studies แสดงให้เห็นว่า พลาสติกชีวภาพ Bioplastics บางชนิด สามารถผลิตขึ้นได้โดยมีปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ Carbon Footprint ต่ำกว่าผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มาจากฟอสซิล เช่น เมื่อนำชีวมวล Biomass ไปใช้เป็นวัตถุดิบ และสำหรับการผลิตพลังงานนั้น การปล่อยคายคาร์บอนจากกระบวนการผลิตจะลดลงอย่างมาก .. อย่างไรก็ตาม กระบวนการของพลาสติกชีวภาพ Bioplastics’ Processes อื่นๆ นั้น บางกรณีอาจมีประสิทธิภาพน้อยกว่า และส่งผลให้เกิดคาร์บอนฟุตพรินต์ Carbon Footprint ที่สูงใกล้เคียงกับการผลิตพลาสติกจากฟอสซิล Fossil Plastics แต่ก็ยังถือว่า กระบวนการของพลาสติกชีวภาพ Bioplastics’ Processes จากชีวมวลที่เป็นพืช Plant-Based Biomass เหล่านี้ ก็ยังคงตั้งอยู่บนแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality ..
คาดหมายได้ว่า ในที่สุดแล้ว เทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies กำลังเข้ามาแทนที่ปิโตรเคมี Petrochemicals .. หนึ่งในผลิตภัณฑ์ทางเลือกตัวอย่างทดแทนผลิตภัณฑ์จากปิโตรเคมี ที่มีความต้องการมากที่สุด ได้แก่ พลาสติกจากพืช Plant-Based Plastics หรือที่เรียกว่าพลาสติกชีวภาพ Bioplastics มาจากแหล่งต่างๆ เช่น สาหร่าย Algae, อ้อย Sugarcane หรือน้ำมันปรุงอาหารที่ใช้แล้ว Used Cooking Oil ซึ่งพวกมัน สามารถลดผลกระทบจากการผลิตพลาสติกเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ได้ ..
อย่างไรก็ตาม พลาสติกจากพืช Plant-Based Plastics ต้องได้รับการออกแบบอย่างรอบคอบเพื่อสร้างความยืดหยุ่นทางสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจทั่วทั้งระบบนิเวศ และชุมชน กว่าทศวรรษที่แล้ว World Wide Fund for Nature: WWF ตระหนักว่า พลาสติกจากพืช Plant-Based Plastics และการจัดหาพวกมัน คือ ประเด็นที่อาจส่งผลกระทบต่อแหล่งที่อยู่อาศัย Habitats, สัตว์ป่า Wildlife และผู้คน People ที่มุ่งมั่นที่จะปกป้อง ดังนั้น การพัฒนาความรู้ในประเด็นที่สำคัญ และซับซ้อนนี้ จึงกลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้ เพื่อให้มั่นใจว่าพลาสติกจากพืช Plant-Based Plastics จะมีศักยภาพที่เป็นประโยชน์ต่อธรรมชาติ และผู้คน Potential to Benefit Nature & People ได้อย่างเหมาะสมที่สุดในอนาคตจากนี้ไป ..
คาดการณ์ตลาดปิโตรเคมี และตลาดเคมีชีวภาพทั่วโลก Global Petrochemicals & Bio-Based Chemicals Market ..
อ้างถึงข้อมูลการสำรวจตลาดของ Grand View Research พบว่า ขนาดธุรกิจในตลาดปิโตรเคมีโลก Global Petrochemicals Market มีมูลค่า 619.28 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับตลาดปิโตรเคมีโลก Global Petrochemicals Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 7.3% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2567-2573 ..
ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ความต้องการน้ำมันทั่วโลกไม่รวมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของจีน ยังคงทรงตัว ในขณะที่ความต้องการปิโตรเคมีของจีนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า โดยเพิ่มขึ้น 2.9 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงเวลาดังกล่าว หากไม่มีการเติบโตในจีน การบริโภคน้ำมันทั่วโลกทั้งหมดจะยังคงต่ำกว่าระดับก่อนช่วงเกิดโรคระบาด Covid-19 ในปี 2567 ..
ด้วยการขยายกำลังการผลิตปิโตรเคมีตามแผน อุปทานจะเติบโตเกินความต้องการอย่างมากในช่วงทศวรรษนี้ ภายในปี 2573 .. การเพิ่มกำลังการผลิตจะเติบโตเกินความต้องการ ทำให้อัตราการดำเนินงานทั่วโลกลดลงต่ำกว่า 75% .. กำลังการผลิตส่วนเกินจะเด่นชัดในจีน China, เกาหลีใต้ South Korea และอินโดนีเซีย Indonesia ซึ่งกำลังวางแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตจำนวนมาก กำลังการผลิตส่วนเกินจะนำไปสู่อัตราการใช้ที่ต่ำ ส่งผลให้อัตรากำไรลดลง ซึ่งเคยติดลบในเอเชียในปี 2565 .. แนวโน้มนี้จะเปลี่ยนไปในระยะยาว เนื่องจากความต้องการปิโตรเคมีมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้น ..
การวิเคราะห์บริษัทน้ำมัน ก๊าซ และเคมีภัณฑ์รายใหญ่ ในปี 2566 พบว่า ในช่วง 3 ปีข้างหน้า บริษัท Exxon วางแผนที่จะลงทุนมากกว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในการขยายการผลิตพลาสติก Plastic Production ในขณะที่ บริษัท CPChem จะใช้จ่าย 14,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และบริษัท Dow วางแผนที่จะลงทุน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ..
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มตลาดปิโตรเคมี Petrochemicals Market Outlook เผชิญกับความท้าทายจากผลิตภัณฑ์ทดแทน เช่น วัสดุชีวภาพ Bio-Based Materials, พลาสติกรีไซเคิล Recycled Plastics และกระบวนการผลิตทางเลือก Alternative Manufacturing Processes .. ความต้องการของผู้บริโภคสำหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Eco-Friendly Products และแรงผลักดันจากหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อความยั่งยืน Sustainability คือ แรงผลักดันความต้องการผลิตภัณฑ์ทดแทนดังกล่าว ..
ความเข้มข้นของผู้ใช้ปลายทาง End-User Concentration แตกต่างกันไปในแต่ละกลุ่มตลาด สำหรับบางกลุ่มมีผู้ใช้ปลายทางที่หลากหลาย Diverse End-Users ในขณะที่กลุ่มอื่นๆ ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะกับอุตสาหกรรมเฉพาะ .. ผู้เล่นในตลาด Market Players จำเป็นต้องคล่องตัว และปรับตัว เพื่อตอบสนองต่อพลวัตของตลาดที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการกระจุกตัวภายในอุตสาหกรรมผู้ใช้ปลายทาง Concentration within End-User Industries และการเติบโตขึ้นของเคมีชีวภาพ Growth of Biochemicals อย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อรูปแบบความต้องการ Demand Patterns และการเจรจาในประเด็นเรื่องของราคา Pricing Negotiations ..
สำหรับในประเด็นเคมีชีวภาพ Biochemicals ในตลาดนั้น พบว่า มูลค่าขนาดธุรกิจในตลาดผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพทั่วโลก Global Bio-Based Chemicals Market มีมูลค่า 96.39 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 คาดว่าอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ Bio-Based Chemicals Industry จะเติบโตจาก 104.39 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2567 เป็น 197.56 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2575 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 8.30% ในช่วงคาดการณ์ ปี 2567-2575 .. เคมีชีวภาพ Bio-Based Chemicals คือ ผลิตภัณฑ์เคมี Chemical Products ที่ได้มาจากทรัพยากรชีวภาพหมุนเวียน Renewable Biological Resources เช่น พืช Plants, พืชผล Crops, ขยะทางการเกษตร Agricultural Waste หรือจุลินทรีย์ Microorganisms ..
สารเคมี Chemicals เหล่านี้ มักผลิตขึ้นผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การหมัก Fermentation, การแปลงเอนไซม์ Enzymatic Conversion หรือกระบวนการทางชีวเคมีอื่นๆ Other Biochemical Processes ที่แปลงชีวมวล Biomass เป็นผลิตภัณฑ์เคมี Chemical Products ที่มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน .. เคมีชีวภาพ Bio-Based Chemicals สามารถใช้เป็นทางเลือกแทนเคมีภัณฑ์จากปิโตรเลียมแบบดั้งเดิม Traditional Petroleum-Based Chemicals ได้ และอาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วสารเคมีเหล่านี้ จะมีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์น้อยกว่า และผลิตจากทรัพยากรหมุนเวียน Renewable Resources ตัวอย่างของเคมีชีวภาพ Bio-Based Chemicals ได้แก่ เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels, ไบโอพลาสติก Bioplastics, ตัวทำละลายชีวภาพ Bio-Based Solvents และโพลีเมอร์ชีวภาพ Bio-Based Polymers เป็นต้น ..
ตลาดเคมีชีวภาพ Market for Bio-Based Chemicals กำลังขยายตัวเนื่องมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas Emissions ที่เพิ่มขึ้น และปริมาณเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ลดลง Depletion of Fossil Fuel Supplies .. การใช้วัสดุชีวภาพ Use of Biomaterials เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ อันเป็นผลจากการที่ทุกภาคส่วนได้รับการสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ Government Measures ต่อเนื่องของประชาคมโลก เพื่อลดการปล่อยก๊าซอันตราย Reduce Hazardous Emissions ด้วยแนวคิดเรื่อง “เคมีสีเขียว Green Chemistry” ที่ขยายตัว และช่วยเร่งอัตราการเติบโตของตลาด รวมทั้งการมุ่งไปสู่การลดใช้สารเคมีอันตรายในภาคอุตสาหกรรม Reducing the Use of Dangerous Chemicals in the Industry Sector ได้อย่างยอดเยี่ยมสำหรับอนาคตจากนี้ไป ..
ทั้งนี้ ข้อมูลจาก BOI ชี้ให้เห็นว่า กำลังการผลิตพลาสติกชีวภาพทั่วโลก Global Bioplastic Market เพิ่มขึ้นจาก 2.11 ล้านตันในปี 2561 เป็น 2.61 ล้านตัน ภายในปี 2566 .. เอเชีย Asia ยังคงเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญโดยกว่า 50% ของการผลิตพลาสติกชีวภาพเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ .. นอกจากนี้ตลาดบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพทั่วโลก Global Bioplastic Packaging Market คาดหมายไว้ว่าจะเติบโตจาก 5.94 พันล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2561 เป็น 24.84 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2569 .. นั่นหมายถึง แนวโน้มการเติบโตของมูลค่าขนาดธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างน้อย 4 เท่าขึ้นไป ภายในระยะเวลาเพียง 6-8 ปีเท่านั้น โดยคาดหมายว่า หากราคาต้นทุนของพลาสติกชีวภาพลดลงอีก ผนวกกับการขยายตัวของปิโตรเคมีเริ่มมีการชะลอตัวลงแล้ว เชื่อได้ว่า การเติบโตของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ Bioplastic Industry และตลาดของพวกมันในอนาคตจะขยายตัวต่อเนื่องด้วยความเร่งอย่างไม่มีข้อสงสัย ..
สรุปส่งท้าย ..
การเติบโตของความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี หมายความว่า ปิโตรเคมี Petrochemicals มีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจนถึงปี 2573 และเกือบครึ่งหนึ่งจนถึงปี 2593 นำหน้าความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงในรถบรรทุก การบิน และระบบการขนส่ง .. ปิโตรเคมี Petrochemicals พร้อมที่จะใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 56 พันล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ภายในปี 2573 ซึ่งเทียบเท่ากับประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งหมดต่อปีของแคนาดาในปัจจุบัน ..
พวกมันคือ พลวัตใหม่ในกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิล และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งกำลังขับเคลื่อนการแข่งขันทางเศรษฐกิจระดับโลกอย่างต่อเนื่องต่อไป ..
หลังจาก 2 ทศวรรษแห่งความซบเซา และถดถอยของธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงสหรัฐฯ .. พวกมัน ดูเหมือนจะกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งในฐานะภูมิภาคที่มีต้นทุนต่ำสำหรับการผลิตน้ำมันเชื้อเพลง ก๊าซธรรมชาติ สารเคมี และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก Shale Gas Shale Oil Revolution ซึ่งอยู่ในชั้นหิน มิได้ขุดขึ้นมาจากใต้ดิน ใต้ก้นทะเลลึกอีกต่อไป .. ยุคน้ำมันและก๊าซธรรมชาติราคาถูก ยืดออกไปอีกอย่างน้อย 30 ปี หรืออาจยาวนานไปถึง 50 ปีด้วยซ้ำไป .. ปัจจุบันสหรัฐฯ เป็นที่ตั้งของกำลังการผลิตปิโตรเคมีที่ใช้อีเทน Ethane-Based Petrochemical Production ทั่วโลกประมาณ 40% .. อย่างไรก็ตาม ตะวันออกกลางยังคงเป็นแชมป์ต้นทุนต่ำสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่สำคัญบนโลกใบนี้ ..
ทั้งนี้ แม้จะมีประโยชน์มากมายที่ปิโตรเคมี Petrochemicals มอบให้แก่สังคมมนุษย์ ซึ่งรวมถึงการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นในเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ .. แต่เทคโนโลยีสะอาด Clean Technologies ที่มีความสำคัญต่ออนาคตระบบพลังงานที่ยั่งยืน ได้ส่งผลให้การผลิต การใช้งาน และการกำจัดขยะพลาสติก และอื่นๆ ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี Petrochemical Products นั้น ก่อให้เกิดความท้าทายด้านความยั่งยืน Sustainability Challenges ที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน ..
สำหรับอนาคตจากนี้ไป ปิโตรเคมี Petrochemicals กำลังจะค่อย ๆ ถูกแทนที่ด้วย Biochemicals .. สถานการณ์ที่สรุปแนวทางเลือกสำหรับภาคเคมีภัณฑ์ Chemicals ที่ช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติหลายประการนั้น สถานการณ์เทคโนโลยีสะอาด หรือ The Clean Technology Scenario : CTS เป็นการแสวงโอกาสในการลดมลพิษทางอากาศ และทางน้ำ และความต้องการน้ำที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสารเคมีขั้นต้น ควบคู่ไปกับเป้าหมายในการลดการปล่อย CO2 ด้วยสมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับการลดมลพิษ และแง่มุมต่างๆ ของระบบพลังงานในอนาคตให้สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ยั่งยืนของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ..
เพื่อลดผลกระทบทางลบต่อสิ่งแวดล้อม ภาครัฐ เอกชน และภาคสังคม จะต้องร่วมกันวางมาตรการ และแนวทางปฏิบัติทั่วทั้งระบบการผลิต การใช้งาน และการจัดการกับวัสดุเหลือใช้ที่เป็นขยะ ด้วยการมุ่งลดการปล่อย CO2 โดยตรงอย่างมีประสิทธิภาพ และให้เกิดประสิทธิผลที่เป็นรูปธรรมชัดเจนมากขึ้น .. ซึ่งมันถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่ง ..
ตราบใดที่มนุษยชาติยังคงใช้แหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เป็น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน ปิโตรเคมีก็จะยังเป็นความต้องการของสังคมมนุษย์อยู่ต่อไป เพียงแต่มันอาจกำลังสูญเสียบทบาทนำทางสังคมในบางพื้นที่เท่านั้น .. หาก ปิโตรเลียม กำลังถูกแทนที่ด้วย แหล่งพลังงานทางเลือก พลังงานทดแทน และพลังงานหมุนเวียน หรือแม้แต่พลังงานนิวเคลียร์ กลายเป็นจริง .. ปิโตรเคมี Petrochemicals ก็กำลังถูกแทนที่ผลิตภัณฑ์ชีวมวล Biomass Products ที่ย่อยสลายทางชีวภาพได้ง่ายด้วยเช่นกัน ..
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี Demand of Petrochemicals ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พวกมันมีราคาถูกอย่างยิ่ง และอ่อนตัวที่สุดในการใช้งานหลากหลายประเภท สวนทางกับความต้องการมาตรการปกป้องสิ่งแวดล้อม .. คำตอบของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ จึงมิได้มีข้อไขเดียว แต่ต้องเกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นดำเนินการหลาย ๆ มาตรการพร้อมกันไป รวมทั้งข้อไขที่เฉียบขาดจากเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies และวัตถุดิบชีวมวลจากพืช Plant-Based Biomass Feedstocks แทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ด้วยความร่วมมือจากทุก ๆ ภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงภาคประชาสังคมในชุมชนด้วย ..
ดังนั้น .. อนาคตของปิโตรเคมี Future of Petrochemicals จะเป็นอย่างไรนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ของความต้องการที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเหล่านี้ และสิ่งที่เราสามารถทำได้ คือ การดำเนินการทุกภาคส่วนเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานสะอาดสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เช่น การใช้พลาสติกรีไซเคิล ซึ่งรวมถึง การทดแทน Petrochemical-Plastics ด้วยพลาสติกชีวภาพ Bioplastics ที่ได้จากพืช Plant-Based, ขยะของเหลือทิ้ง Waste, พลังงานหมุนเวียน Renewables และผลิตภัณฑ์ทางเลือกอื่นๆ จากเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies เป็นต้น .. ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี สารเคมี ตกค้างในสิ่งแวดล้อม ปัญหาไมโครพลาสติกนั้น การจัดการขยะที่เหมาะสมกลายเป็นเรื่องสำคัญยิ่ง การหลีกเลี่ยงการฝังกลบ ด้วยการนำขยะเหล่านี้ไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล Biomass เป็นแนวทางที่ชาญฉลาด และเนื่องจากมันยังคงปล่อย CO2 สู่บรรยากาศ ดังนั้น การส่งเสริมประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดักจับ CO2 โดยตรงจากบรรยากาศพร้อมไปด้วย ก็กลายเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้เช่นกัน ..
ปัจจุบัน นานาประเทศ กำลังเตรียมแผนงานยกเลิกการพึ่งพาแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในระบบเศรษฐกิจของพวกเขาด้วยความมุ่งมั่น .. ตัวอย่างการแปลงเพียงขยะอินทรีย์ และขยะพลาสติก ให้เป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดงานใหม่ได้มากกว่า 39,000 ตำแหน่ง และผลผลิตทางเศรษฐกิจแตะระดับ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี .. วิธีการใหม่นี้ อาจมีต้นทุนถูกกว่าวิธีการรีไซเคิล ซึ่งปัจจุบัน ขยะพลาสติกเพียง 5% เท่านั้นที่รีไซเคิลได้ รวมทั้งการรีไซเคิลถุงพลาสติก และขยะพลาสติก 1 ตันมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 4,000 เหรียญสหรัฐฯ และสุดท้ายการจัดการขยะพลาสติก ขยะอินทรีย์ ของเหลือทิ้งในภาคการเกษตร ครัวเรือน ของเสีย และน้ำเสีย มักจะนำไปสู่การเผาโดยตรง หรือจบงานในหลุมฝังกลบเพื่อหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับการจัดการขยะเหล่านี้ ซึ่งส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การนำพวกมันไปเป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel หรือ Synthetic Fuel & Gas และพลาสติกชีวภาพ Bioplastics ซึ่งถือเป็นแนวปฏิบัติที่ยอดเยี่ยม และสะอาดกว่า ..
เทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies คือหนึ่งในข้อไขเพื่อไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าสำหรับอนาคตของมนุษยชาติที่ยอดเยี่ยม .. พวกมันยังสามารถช่วยอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel Industry และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ Chemical Industry ในกระบวนผลิตพลังงาน และปรับปรุงเชื้อเพลิง การบำบัดน้ำ ดิน และอากาศ การผลิตพลาสติกชีวภาพ รวมทั้งการควบคุมการกัดกร่อนที่เกิดจากจุลชีววิทยา Microbiologically Influenced Corrosion ไปพร้อมด้วยได้ ..
กระบวนวิธีในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น การผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Production of Biofuel รูปแบบต่างๆ เป็นต้นนั้น สามารถเข้ามาแทนที่แหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ได้อย่างยอดเยี่ยม .. เทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies ไม่ได้ถูกจำกัดโดยเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuel ในกรณีของแหล่งพลังงานสำหรับเชื้อเพลิงเหลว หรือเชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ซึ่งใช้กับเครื่องยนต์สันดาปภายในเท่านั้น .. มีเทน Methane : CH4 ที่ผลิตโดยวิธีการของจุลินทรีย์ Microbial เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจที่สามารถเปลี่ยนแปลงการใช้พลังงานได้เป็นอย่างดีอีกด้วยเช่นกัน ..
สำหรับประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศเกษตรกรรมชั้นนำของโลกนั้น นอกจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies ในภาคการเกษตรเพื่อผลิตอาหาร ปรับปรุงดิน น้ำ และด้านสุขภาพเพื่อผลิตยา และเวชภัณฑ์ต่างๆ แล้ว เทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnology สำหรับภาคพลังงาน Energy Sector ในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels และพลาสติกชีวภาพ Bioplastics ในประเทศไทยนั้น ถือว่าโดดเด่นอย่างมีนัยสำคัญยิ่งด้วยเช่นกัน ..
วัตถุดิบในประเทศไทยที่เป็นสารชีวมวล Biomass จำนวนมากมายหลากหลายรูปแบบ มีผลผลิตการเกษตรคุณภาพ และมีแหล่งเชื้อเพลิงที่เป็นสารอินทรีย์ปริมาณมาก มีพื้นที่การทำเกษตรไม้โตเร็วเพื่อเป็นเชื้อเพลิงโดยเฉพาะ มีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และชายฝั่งทะเลที่เหมาะสมแก่การเพาะเลี้ยงสาหร่ายอยู่ทั่วประเทศ มีอุจจาระจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ขยะเปียก ขยะแห้ง รวมทั้งขยะพลาสติกจำนวนมากมาย สามารถนำมาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels และ/หรือ เชื้อเพลิงสังเคราะห์ Syngas สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล หรือนำไปผลิตกำลังไฟฟ้าโดยตรงจากแหล่งพลังงานชีวมวลใช้เองในชุมชน ท้องถิ่น หรือส่งกำลังไฟฟ้าส่วนเกินเข้าโครงข่ายระบบสายส่งเพื่อขาย และ/หรือ จ่ายเข้าระบบ Virtual Power Plants : VPPs ที่ชาญฉลาดกว่าในอนาคตได้ .. รวมทั้ง ไทยเป็นประเทศแรกในกลุ่มอาเซียนที่มีนโยบายสนับสนุนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels และพลาสติกชีวภาพ Bioplastics ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies อย่างชัดเจน เพื่อลดการพึ่งพาน้ำมันจากต่างประเทศ และสร้างมูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบจากภาคการเกษตร ..
ในอดีตที่ผ่านมา พลาสติกชีวภาพของไทย ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จากข้อจำกัดด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ และการผลักดันความต้องการของผู้บริโภคผ่านมาตรการภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันนี้ สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปสิ้นเชิง ถือเป็นโอกาสดีในการพัฒนาของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย .. ข้อจำกัดการใช้พลาสติกปิโตรเคมีของบางประเทศพัฒนาแล้วได้รับการแก้ไข ทำให้จีน China, ญี่ปุ่น Japan และสหรัฐฯ United States กลายเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ Bioplastic Packaging ของไทย จากมาตรการยกเลิกใช้พลาสติกบางประเภท โดยมีมูลค่าตลาดส่งออกสูงถึง 16,697 ล้านบาท ในปี 2562 และมีมูลค่า 19,107 ล้านบาท ในปี 2563 หรือหมายถึง ตลาดส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพของไทย Thailand’s Bioplastic Packaging Export Market เติบโตอย่างน้อย 14% ต่อปี และยังคงเติบโตต่อเนื่องต่อไปอย่างมั่นคง คาดว่า พลาสติกชีวภาพ Bioplastics จะเข้าไปทดแทนพลาสติกจากปิโตรเคมี Plastics from Petrochemicals จากนี้ไปอย่างน้อยประมาณ 30% ในตลาดเอเชีย ตั้งแต่ปี 2567 นี้เป็นต้นไป ..
ทั้งนี้ ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnology ในภาคพลังงาน หรือ White Biotechnology ที่เป็น Bioenergy นั้น เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ถือเป็นเชื้อเพลิงพลังงานทางเลือก Alternative Renewable Energy ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีศักยภาพทางการผลิตวัตถุดิบสำหรับเชื้อเพลิงชีวภาพสูงมาก อีกทั้งการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ในประเทศไทย และการส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ Bioplastic Packaging และเม็ดพลาสติกชีวภาพ Bioplastics ระดับต้นๆ ของโลก ยังส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม การจ้างงานในชุมชน ท้องถิ่น ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม การสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตทางการเกษตรของไทย รวมไปถึงประโยชน์ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอื่น ๆ เช่น ก๊าซมีเทน Methane : CH4 ด้วยแนวคิดคาร์บอนเป็นกลาง Carbon Neutrality ..
ความมุ่งมั่นของไทยในการประยุกต์ใช้ Bio-Circular-Green or BCG Economy Model จากนโยบายภาครัฐอย่างจริงจังจากนี้ไป ได้รับการคาดหวังว่า พวกมันจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้อย่างมั่นคงแบบก้าวกระโดด กระจายโอกาส กระจายรายได้ และนำความมั่งคั่งไปสู่ชุมชนในท้องถิ่นอย่างทั่วถึง นำพาประเทศไทยก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูง และมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมสีเขียวที่ยั่งยืน ..
ดังนั้น นโยบายภาครัฐในการส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnologies ภายในประเทศ รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนในธุรกิจ Bioenergy เพื่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels และการผลิตพลาสติกชีวภาพ Bioplastics เพื่อใช้ในประเทศ และการส่งออก ทั้งการลงทุนจากภาครัฐ และเอกชนที่มีศักยภาพ หรือกระจายสู่ชุมชนด้วยราคาพลังงานที่แพงเกินไปนั้นไม่ได้ .. การให้สิทธิพิเศษทางภาษีจากคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน BOI, การสนับสนุนการวิจัย และพัฒนา รวมไปถึงการให้ความรู้ทางด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels แก่ประชาชน กลายเป็นเรื่องจำเป็นสำคัญที่ขาดไม่ได้ในระดับยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของชาติเช่นกัน เพื่อให้มั่นใจว่า ประเทศไทยจะสามารถบรรลุเป้าหมายการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels ในประเทศ และใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ Biofuels เหล่านี้ เป็นหลักทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่ต้องนำเข้า และไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการทดแทนปิโตรเคมี Petrochemicals ด้วยเคมีชีวภาพ Biochemicals อันจะนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแบบยั่งยืนอย่างมั่นคงด้วย Sustainable BCG Economy ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
……………………………………
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Overview of the Global Petrochemical Industry | Zero Carbon Analytics :-
Petrochemical Industry Overview | S&P Global Inc. :-
Platform Biochemicals for a Biorenewable Chemical Industry | John Wiley & Sons, Inc :-
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/full/10.1111/j.1365-313X.2008.03484.x
The Future of Petrochemicals | IEA Documentary in PDF :-
https://drive.google.com/file/d/1sslhSOpEe45kwOLB28P_vsOhqibIbSXK/view?usp=sharing
Replacing all Petroleum – Based Chemical Products with Natural Biomass – Based Chemical Products | ResearchGate :-
Global Petrochemicals Market | Grand View Research :-
Bio – Based Chemicals Market | Market Research Future :-
https://www.marketresearchfuture.com/reports/bio-based-chemicals-market-5706
Bioplastics | Biodegradable & Compostable Plastic :-
https://photos.app.goo.gl/9zM2SG4vkEAPsrae6
Future of Petrochemicals & Reinventing Plastic :-