Carbon Balance in Corals : The Value of Coral Reefs Ecosystems
“….ปรากฏการณ์ฟอกขาวของปะการัง คือสัญญาณเตือนอันตรายชัดเจนต่อความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ ดังนั้น การลดมลพิษทางคาร์บอน และการดำเนินมาตรการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน ณ จุดเล็ง 1.5oC อย่างเร่งด่วนของประชาคมโลก จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญที่ขาดไม่ได้จากนี้ไป ..”
ในระบบนิเวศวิทยาโลก Global Ecosystems นั้น แนวปะการัง Coral Reefs แสดงบทบาทสำคัญในการช่วยปกป้องชายฝั่งของชุมชน Coastal Protection for Communities, เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา Habitat for Fish และสร้างรายได้หลายล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการพักผ่อนหย่อนใจ และการท่องเที่ยว Millions of Dollars in Recreation & Tourism รวมถึงประโยชน์อื่นๆ อีกมากมาย แต่ปะการัง Corals ก็ยังถูกคุกคามอย่างรุนแรงจากสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย ..
ปะการัง Corals มีคุณค่ามหาศาล โดยมีส่วนสนับสนุนเศรษฐกิจ ประมาณ 10 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปีทั่วโลก และมากกว่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปีในหลายประเทศ .. ผู้คนหลายร้อยล้านคน พึ่งพาแนวปะการัง Coral Reefs เพื่อเป็นแหล่งอาหาร Food Sources, การดำรงชีพ Livelihoods, ประเพณีทางวัฒนธรรม Cultural Traditions และประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่หลากหลาย Variety of Economic Benefits .. ปะการัง Corals ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของปลา และสัตว์ทะเลอื่น ๆ Habitat for Fish & Other Marine Life และปกป้องโครงสร้างพื้นฐานชายฝั่งที่มีค่า Protect Valuable Coastal Infrastructure รวมทั้งพวกมัน คือ เป็นแหล่งกักเก็บคาร์บอน Carbon Sinks และแหล่งผลิตออกซิเจน Oxygen : O2 Production Sources ตามธรรมชาติที่มีศักยภาพสูงกว่าป่าฝนบนแผ่นดินหลายเท่ามาพร้อมด้วยในระบบนิเวศวิทยาของโลก Global Ecosystems ..
อย่างไรก็ตาม แนวปะการัง Coral Reefs เหล่านี้ กำลังได้รับความเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis, อุณหภูมิของน้ำที่เปลี่ยนแปลง Changing Water Temperatures, ความเป็นกรดของมหาสมุทร Ocean Acidification, มลพิษ Pollution, สิ่งมีชีวิตต่างถิ่น Invasive Species, รูปแบบสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง Changing Weather Patterns และผลกระทบทางกายภาพจากเรือเกยตื้น และพายุ Physical Impacts of Ship Strandings & Storms ..
จนถึงปัจจุบัน โลกสูญเสียแนวปะการัง Coral Reefs ไปแล้ว 30-50% ดังนั้น หากไม่มีการแทรกแซงอย่างจริงจัง ระบบนิเวศแนวปะการังในเขตร้อน Tropical Reef Ecosystems อาจสูญพันธุ์ทั่วทั้งโลก ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ..
ปัจจุบัน ปะการังฟอกขาว Coral Bleaching คือสัญญาณเตือนภัย และเป็นดัชนีชี้วัดขนาดของปัญหาความเสื่อมโทรมสิ่งแวดล้อมโลกที่ร้ายแรงอย่างยิ่งจากวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis .. เมื่อปะการัง Corals ได้รับความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะต่างๆ เช่น อุณหภูมิ Temperature, แสง Light หรือสารอาหาร Nutrients ก็จะส่งผลให้ปะการัง Corals ขับสาหร่ายที่อาศัยอยู่ร่วมกันออกไป ซึ่งสาหร่าย หรือ Algae เหล่านี้ อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อ ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาวทั้งหมด Causing Them to Turn Completely White และทั้งหมด คือ สัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่า สุขภาพของโลก Global Health กำลังตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง ดังนั้น เพื่อปกป้องโลก และให้การต่อสู้กับวิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis สามารถบรรลุเป้าหมาย ณ จุดเล็งอย่างน้อย 1.5oC ให้สำเร็จได้นั้น กระบวนการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition ของมนุษยชาติ รวมทั้งการฟื้นฟูสุขภาพมหาสมุทร และการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในทะเล หรือ Blue Carbon เช่น แนวปะการัง Coral Reefs, ป่าชายเลน Mangrove Forests และพื้นที่นิเวศวิทยาชายฝั่ง Ecological Areas เป็นต้นนั้น จะต้องได้รับการผลักดันเร่งรัดจากนโยบายภาครัฐร่วมกันของนานาประเทศ เพื่อให้การดำเนินงานรวดเร็วยิ่งขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน มิฉะนั้น การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตขนานใหญ่บนโลกใบนี้ อาจกลายเป็นสิ่งซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้จากนี้ไป ..
โลกกำลังมีอุณหภูมิสูงขึ้นเรื่อยๆ จากกิจกรรมของมนุษยชาติ และอุณหภูมิของน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น Warmer Water Temperatures นั้น คือ หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการฟอกขาวของปะการัง Coral Bleaching .. เมื่อน้ำอุ่น หรือร้อนเกินไป ปะการัง Corals จะขับสาหร่ายซูแซนเทลลี Algae : Zooxanthellae ที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อออกไป ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาวทั้งหมด .. นี่คือปรากฏการณ์ที่เรียกกันว่า ปะการังฟอกขาว Coral Bleaching .. เมื่อปะการังฟอกขาว แสดงว่าปะการังยังไม่ตายทันที .. ปะการัง Corals สามารถอยู่รอดจากเหตุการณ์ฟอกขาวได้ แต่พวกมันจะเครียดมากขึ้น และสุดท้ายก็อาจตายได้ในที่สุด ..
ปัจจุบัน แนวปะการัง Coral Reefs ครอบคลุมพื้นที่ 284,300 ตารางกิโลเมตร Km2 ซึ่งคิดเป็นเพียงน้อยกว่า 0.1% ของพื้นที่ผิวมหาสมุทร Ocean’s Surface Area .. แต่พวกมัน คือระบบนิเวศวิทยาที่มีความหลากหลายมากที่สุด Most Diverse Ecosystems โดยกอร์ปขึ้นด้วยสิ่งมีชีวิตมากมายหลายพันชนิด Thousands of Species of Organisms ..
เมื่อพิจารณาถึงความท้าทายด้านสภาพอากาศในปัจจุบัน Current Climate Challenges รวมถึงการจัดเก็บคาร์บอนตามธรรมชาติขนาดใหญ่ และการปล่อยคาร์บอนโดยมหาสมุทร Huge Storage & Release of Carbon by the Oceans .. คำถามเกี่ยวกับบทบาทของแนวปะการังในสมดุลคาร์บอน Coral Reefs in the Carbon Balance จึงเกิดขึ้น .. ปะการัง Corals สามารถดักจับ ปล่อยคาย และสะสมคาร์บอนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น HCO3 -, CO2 และ CaCO เป็นต้น รวมทั้งผ่านกลไกอีกหลายประการ เช่น การสังเคราะห์แสง Photosynthesis ที่ดำเนินการโดยสาหร่าย Zooxanthellae Algae, การหายใจของเซลล์ และการกลายสภาพเป็นปูน Cellular Respiration & Calcification ..
ในการกำหนดความสมดุลคาร์บอนของปะการัง Corals’ Carbon Balance วิธีหนึ่ง คือการพิจารณาความแตกต่างระหว่างปริมาณของคาร์บอนที่ถูกดูดซึม และปล่อยคายออกมา Quantities of Absorbed & Released Carbon ในช่วงการดำรงชีวิต หรือ Corals’ Metabolism ..
ในอีกด้านหนึ่งมีคาร์บอนปริมาณคงที่ระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสงของสาหร่าย Zooxanthellae’s Photosynthesis เช่นเดียวกับระหว่างการก่อตัวของโครงกระดูกในรูปแบบของแคลเซียมคาร์บอเนต CaCO3 .. ในทางกลับกันคาร์บอนบางตัว จะถูกปล่อยออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2, การหายใจ และกระบวนการกลายเป็นปูน Coral Respiration & The Calcification Process ..
ปริมาณของคาร์บอนที่ได้รับ และดูดซับไว้ผ่านการสังเคราะห์แสง Quantity of Carbon Fixed Through Photosynthesis นั้น ใกล้เคียงกับที่ปล่อยคายออกมาจากการหายใจของปะการัง Corals’ Respiration .. ทั้งนี้ ผลกระทบสุทธิของคาร์บอนที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเหล่านี้คาดว่าจะอยู่ใกล้ศูนย์ .. ดังนั้นเพื่อให้ทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น จะมุ่งเน้นไปที่คาร์บอนที่ถูกดักจับ และปล่อยคายออกมาผ่านการก่อตัว และการสะสมของโครงกระดูกของปะการัง Formation & Accumulation of Corals’ Skeletons ซึ่งจะทำให้เห็นภาพบทบาทของแนวปะการัง Coral Reefs ด้วยคุณค่าของระบบนิเวศแนวปะการัง Value of Coral Reefs Ecosystems สำหรับความสมดุลทางคาร์บอน Carbon Balance ที่มนุษยชาติจะต้องร่วมกันปกป้อง และเร่งฟื้นฟูพวกมันโดยเร่งด่วนนั้น คือสิ่งจำเป็นสำคัญยิ่งยวดที่ขาดไม่ได้จากนี้ไป ..
การฟอกขาวของปะการัง Coral Bleaching สัญญาณเตือนอันตรายต่อมนุษยชาติมาพร้อมด้วย ..
สัตว์ทะเล Marine Life มากกว่า 1 ใน 4 ต้องอาศัยแนวปะการัง Coral Reefs ในบางช่วงวงจรชีวิตของพวกมัน Their Life Cycle .. ปะการัง Corals คือส่วนประกอบสำคัญของระบบนิเวศแนวปะการัง Reef Ecosystems และมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกใบนี้ ..
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change หรือที่เรียกกันว่า วิกฤติสภาพอากาศ Climate Crisis คือภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุดต่อแนวปะการัง Biggest Threat to Coral Reefs และทำให้คลื่นความร้อนในทะเลร้อนขึ้น Marine Heatwaves Hotter, ยาวนานขึ้น Longer และถี่ขึ้น More Frequent .. คลื่นความร้อนในทะเล Marine heatwaves ทำให้ปะการังฟอกขาว Coral Bleaching .. ผลกระทบอย่างหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ One of the Many Impacts of Climate Change คือ ภาวะโลกร้อน Global Warming .. ผลกระทบอื่นๆ ต่อมหาสมุทร ได้แก่ ความรุนแรงของพายุไซโคลนที่เพิ่มขึ้น Increase in Intensity of Cyclones, ภาวะกรดในมหาสมุทร Ocean Acidification และเหตุการณ์สภาพอากาศเลวร้าย Extreme Weather Events ..
แม้จะมีความสวยงาม และความสำคัญ แต่แนวปะการังทั่วโลก Coral Reefs around the World ก็กำลังหายไปอย่างรวดเร็ว .. มลพิษทางน้ำ Water Pollution, การทำประมงมากเกินไป Overfishing และการพัฒนาชายฝั่ง Coastal Development กำลังส่งผลกระทบต่อแนวปะการังในระดับท้องถิ่น Coral Reefs at the Local Level ในขณะที่มลพิษทางคาร์บอน Carbon Pollution คุกคามแนวปะการังทั่วโลก และยังคงเป็นภัยคุกคามที่ใหญ่ที่สุด ..
คลื่นความร้อนในทะเลที่ทำลายสถิติ Record-Breaking Marine Heatwaves ทำให้ปะการังฟอกขาวเป็นจำนวนมากบนแนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์ Great Barrier Reef และแนวปะการังทั่วโลก Coral Reefs Globally .. ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นมา แนวปะการังเกรทแบร์ริเออร์ Great Barrier Reef ประสบกับเหตุการณ์ฟอกขาว เป็นจำนวนมากถึง 5 ครั้ง .. ในปี 2567 บางภูมิภาคในแนวปะการังทางตอนใต้ ประสบกับอุณหภูมิของน้ำที่สูงขึ้นซึ่งทำลายสถิติก่อนหน้านี้ทั้งหมดเป็นเวลาหลายสัปดาห์ .. ในเดือนมีนาคม 2565 แนวปะการัง 91% ฟอกขาวเป็นครั้งแรกในช่วงปรากฏการณ์ลานีญา La Nina weather event ซึ่งโดยปกติจะทำให้เกิดสภาพอากาศที่เย็น และมีเมฆมากขึ้น ..
ทั้งนี้ เมื่อน้ำทะเลในแนวปะการังร้อนเกินไปเป็นเวลานาน Reef’s Waters Stay Too Hot for Too Long ปะการัง Corals จะเครียด และขับไล่สาหร่ายทะเลที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อซึ่งเรียกว่า ซูแซนเทลลี Zooxanthellae .. สาหร่ายซูแซนเทลลี Zooxanthellae ให้อาหาร และพลังงานแก่ปะการังจากดวงอาทิตย์ด้วยกระบวนการสังเคราะห์แสง Photosynthesis ซึ่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 และปล่อยคายออกซิเจน Oxygen : O2 มาพร้อมด้วย เช่นเดียวกับการสังเคราะห์แสงของพืชพันธุ์บนบก และช่วยให้ปะการังเติบโตขึ้น และสืบพันธุ์ได้ ..
แต่เมื่อปะการังเครียดจากสิ่งต่างๆ เช่น ความร้อน หรือมลภาวะ Heat or Pollution ปะการัง Corals จะตอบสนองด้วยการขับไล่สาหร่ายเหล่านี้ออกไป ทิ้งโครงกระดูกสีขาวไว้เบื้องหลัง ซึ่งเรียกว่า “ปะการังฟอกขาว Coral Bleaching” .. ปะการังบางชนิด สามารถหาอาหารเองได้ แต่หากไม่มีสาหร่ายซูแซนเทลลี ปะการังส่วนใหญ่จะอดอาหาร .. แนวปะการังที่แข็งแรง Healthy Reefs สามารถฟื้นตัวจากปะการังฟอกขาวได้ แต่ต้องใช้เวลานานมาก และต้องด้วยสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไป แนวปะการัง Coral Reefs ใช้เวลาประมาณอาจถึงหนึ่งทศวรรษ จึงจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างเต็มที่ ..
ในบางกรณี ปะการัง Corals สามารถฟื้นตัวจากการฟอกสีได้ หากไม่เกิดความเครียดจากความร้อนเป็นเวลานาน และสภาพแวดล้อมกลับสู่ภาวะปกติ ซึ่งพวกมันจะสามารถฟื้นฟูสาหร่าย กลับสู่สีธรรมชาติ และอยู่รอดได้ อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิที่สูงขึ้นเป็นเวลานาน เช่น ตัวอย่างที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ปะการังการฟอกขาว Coral Bleaching ในปี 2567 นี้ ได้ทำให้เกิดการฟอกสีที่รุนแรง และมีแนวโน้มที่รุนแรงมากขึ้นอีกจากนี้ไป ซึ่งทำให้ปะการังตายมากขึ้นไปพร้อมด้วย ..
ยิ่งไปกว่านั้น หากปะการัง Corals ได้รับผลกระทบจากปัจจัยอื่นนอกเหนือจากความเครียดจากความร้อน เช่น ความเสียหายจากพายุหมุนเขตร้อน และน้ำท่วม ผนวกกับคุณภาพน้ำที่ไม่ดี ผลกระทบสะสมเหล่านี้ อาจทำให้ปะการัง Corals ในฐานะสัตว์ทะเลประเภทหนึ่ง มีชีวิตในสภาพที่อ่อนแอลง ส่งผลให้ปะการังอาจฟื้นตัว สืบพันธุ์ และเจริญเติบโตได้ยากขึ้น และยิ่งเสี่ยงต่อโรค และการตายของปะการังมากขึ้นอีกด้วย ..
แนวปะการัง Coral Reefs อาจใช้เวลาหลายสิบปี จึงจะฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์จากเหตุการณ์ฟอกสี ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เหตุการณ์เหล่านี้จะต้องไม่ให้ไม่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง หากมนุษยชาติ ยังคงเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล Burning Fossil Fuels ในอัตราปัจจุบัน เหตุการณ์ฟอกสีที่รุนแรง อาจเกิดขึ้นกับแนวปะการังทุกปี ซึ่งจะส่งผลร้ายแรงต่อแนวปะการังเนื่องจากไม่มีโอกาสฟื้นตัว หมายถึง ภายในกลางศตวรรษนี้ แนวปะการัง Coral Reefs ส่วนใหญ่บนโลกใบนี้ อาจถูกทำลายลง และสุดท้ายแล้วคิวการสูญพันธุ์ต่อไป ก็จะกำลังขยับลำดับเข้ามาใกล้มนุษยชาติขึ้นเรื่อย ๆ ได้ในที่สุด ..
นั่นหมายถึง เพื่อรักษาสมดุลทางคาร์บอนโลก Global Carbon Balance ไว้ให้ได้นั้น มนุษยชาติ จำเป็นต้องลดมลพิษทางคาร์บอน และวางมาตรการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน ณ จุดเล็ง 1.5oC อย่างเร่งด่วน มิฉะนั้น แนวปะการังของโลก World’s Coral Reefs จะเผชิญกับอนาคตที่มืดมนอย่างยิ่งจากนี้ไป ซึ่งหมายรวมถึง ปะการังฟอกขาว Coral Bleaching คือ สัญญาณเตือนอันตรายต่อความอยู่รอดของมนุษยชาติมาพร้อมด้วย ..
นักวิทยาศาสตร์ ชี้ว่า เมื่อปะการังร้อนขึ้นถึง 1.5oC แนวปะการัง Coral Reefs จะดิ้นรนเอาชีวิตรอด หากเราไม่สามารถควบคุมภาวะโลกร้อน Global Warming ให้ไม่เกิน 1.5oC ในทศวรรษนี้ ความจริงอันเลวร้าย ก็คือเราจะได้เห็นปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวเป็นจำนวนมากอีกหลายครั้ง More Mass Bleaching Events และสัญลักษณ์ความอุดมสมบูรณ์ของโลกทั้งใบของเราก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว ..
ในเวลาเพียง 7 ปีที่ผ่านมา แนวปะการัง Coral Reefs ประสบกับเหตุการณ์ปะการังฟอกขาว Mass Coral Bleaching Events จำนวนมาก 4-5 ครั้ง ซึ่งเร็วกว่า และรุนแรงกว่าที่นักวิทยาศาสตร์คาดการณ์ไว้ หากเราไม่ดำเนินการเพื่อหยุดยั้งมลพิษนี้ เราก็เสี่ยงต่ออนาคตของแนวปะการังอันล้ำค่าของเรา ..
นักวิทยาศาสตร์ ยืนยันว่า มีวิธีแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ .. ด้วยความเป็นผู้นำที่แท้จริง มนุษย์ชาติ สามารถหยุดมลพิษทางคาร์บอนได้ และทำให้แนวปะการังของเราได้ฟื้นตัว และสร้างขึ้นใหม่ แต่เพื่อที่จะกระทำสิ่งนี้ให้สำเร็จได้ มนุษยชาติ ต้องเลิกใช้น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินที่สกปรก Dirty Oil, Natural Gas & Coal และเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources เป็นหลักในระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หากมนุษยชาติ คือ ผู้นำด้านสภาพอากาศตัวจริงแล้ว แนวปะการังของเรา และสิ่งมีชีวิตนับพันชนิดที่ต้องพึ่งพาแนวปะการัง Coral Reefs เหล่านี้ ซึ่งรวมถึงพวกเราซึ่งก็คือมนุษยชาติด้วยนั้น จะสามารถฟื้นฟูแนวปะการัง และให้พวกมันได้เจริญเติบโตสำหรับผู้คนรุ่นต่อๆ ไปในอนาคตให้สำเร็จได้ ..
ทั้งนี้ สิ่งที่มนุษยชาติ จะต้องมุ่งมั่นเร่งที่จะดำเนินการร่วมกันโดยเร็ว ซึ่งถือเป็นข้อเสนอสำคัญ ไม่เพียงแต่จะปกป้องรักษา และฟื้นฟูแนวปะการัง Coral Reef Conservation & Restoration ไว้ได้เท่านั้น แต่จะเป็นไปเพื่อความอยู่รอดของมนุษยชาติไปพร้อมด้วย ได้แก่ การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% ภายในปี 2573 หรือ 100% Renewables by 2030, มุ่งมั่นดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Green House Gases Emissions Reduction Target ให้ได้ 75% ภายในปี 2573, มุ่งมั่นที่จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ ภายในปี 2578 หรือ Net Zero by 2035, มุ่งมั่นที่จะยุติการระดมทุน และเงินอุดหนุนจากภาครัฐสำหรับถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ Ending the Public Funding & Subsidies of Coal, Oil & Gas ในทันที และมุ่งมั่นที่จะไม่อนุมัติโครงสร้างพื้นฐานเชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มเติมอีก No Further Approval of Fossil Fuel Infrastructure และจะไม่ดำเนินโครงการถ่านหิน น้ำมัน หรือก๊าซสำหรับพลังงานความร้อนใหม่ๆ No New Thermal Coal, Oil or Gas Projects ..
กองทุนโลกเพื่อแนวปะการัง Global Fund for Coral Reefs อนุมัติเงินเพิ่มเติมกว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับการดำเนินการที่ยืดหยุ่นอ่อนตัว ..
ที่เจนีวา Geneva เมื่อ 9 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา คณะกรรมการบริหารกองทุนแนวปะการังโลก Global Fund for Coral Reefs : GFCR Executive Board ได้ประกาศให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมเป็นมูลค่ารวมกว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อขยายความพยายามในการสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศต่างๆ ที่มีแนวปะการังอาศัยอยู่ .. คำประกาศดังกล่าวรวมถึงโครงการเงินทุนผสมผสานใหม่สำหรับทะเลแดงของอียิปต์ Egypt’s Red Sea ซึ่งได้รับทุนจากสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ United States Agency for International Development: USAID มาก่อนแล้ว ..
นาย ปีเตอร์ ไบรอัน Peter Bryant ผู้อำนวยการโครงการ Program Director, Oceans, Builders Initiative และสมาชิกคณะกรรมการบริหาร Global Fund for Coral Reefs : GFCR กล่าวว่า “นักวิทยาศาสตร์ คาดว่าแนวปะการัง Coral Reefs ที่เหลืออยู่ 90% อาจสูญหายไป ภายในปี 2593 หากขาดการดำเนินการร่วมกันในระดับ และความเร็วที่เพียงพอ ซึ่งจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชุมชน และเศรษฐกิจที่แนวปะการังเหล่านี้ให้การสนับสนุน .. เพื่อรับมือกับวิกฤตนี้ กลุ่มพันธมิตรของ GFCR ได้จัดทำพอร์ตโฟลิโอโซลูชันที่สร้างสรรค์ตามกลไกตลาดที่ครอบคลุม 23 ประเทศ เพื่อปกป้องแนวปะการังที่เป็นแหล่งหลบภัยที่สำคัญ ซึ่งเป็นระบบนิเวศแนวปะการังที่ยืดหยุ่นที่สุดของโลก” .. คำประกาศล่าสุดของ GFCR ซึ่งคิดเป็นเงินที่เพิ่มขึ้นกว่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับความพยายามที่เน้นด้านความยืดหยุ่น ซึ่งจะสามารถช่วยให้เศรษฐกิจในท้องถิ่นเปลี่ยนผ่านไปสู่สีน้ำเงินได้อย่างยั่งยืน Sustainable Blue Transition และปลดล็อคเงินทุนเพื่อการอนุรักษ์ที่มากขึ้น Unlock Greater Conservation Funding Flows สำหรับคนรุ่นต่อๆ ไปให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
โครงการ Global Fund for Coral Reefs : GFCR ใหม่ล่าสุด ที่เรียกว่า Egyptian Red Sea Initiative นี้ มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการปกป้องระบบนิเวศแนวปะการังที่ยืนยาวที่สุดแห่งหนึ่ง และมีความทนทานมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก Protection of One of the Longest Living & Most Resilient Reef Ecosystems in the World .. โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ United States Agency for International Development : USAID ซึ่งได้รับเงินทุนสนับสนุนจำนวนมาก โดยร่วมมือกับรัฐบาลอียิปต์ และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ United Nations Development Programme : UNDP เพื่อจัดตั้งกองทุน Egyptian Fund for Coral Reefs ซึ่งถือเป็นโครงการสำคัญ โดยจะระดมเงินทุนจากภาคเอกชน และภาครัฐ Private & Public Funding สูงสุดแตะระดับ 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีน้ำเงินอย่างยั่งยืน Sustainable Blue Economic Transition และความพยายามในการอนุรักษ์แนวปะการัง Coral Reefs Conservation Efforts ..
โซลูชันข้อไขตามกลไกตลาด Market-Based Solutions เพิ่มเติมนั้น เป็นความจำเป็น ซึ่งขั้นต้นจะได้รับการสนับสนุนจากศูนย์บ่มเพาะธุรกิจแนวปะการัง Coral Reef Business Incubator รวมถึงได้แก่ การรีไซเคิลขยะอินทรีย์สำหรับการทำฟาร์มชายฝั่ง Organic Waste Recycling for Coastal Farming, การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูระบบนิเวศ Aquaculture to Support Ecosystem Restoration และระบบจอดเรือเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่เกิดจากแนวปะการังที่เกี่ยวข้องกับเรือ Mooring Systems to Avoid Boat-Related Reef Damage เป็นต้น ..
ตัวอย่างโครงการในประเทศฟิลิปปินส์ Philippines ซึ่งมีพื้นที่แนวปะการังที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก Third-Largest Coral Reef Area in the World .. โครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก GFCR ซึ่งนำโดย Blue Alliance Marine Protected Areas ได้ปลดล็อคเงินทุนจากผู้ให้ทุน และนักลงทุนสำหรับผลกระทบเชิงบวกที่คาดหวังเพื่อดำเนินการโครงการสินเชื่ออย่างเพียงพอต่อพื้นที่คุ้มครองทางทะเล Marine Protected Area : MPA ได้อย่างมั่นใจ .. ทั้งนี้ เงินทุนสนับสนุนจาก GFCR ที่เพิ่มขึ้นใหม่ จะขยายขอบเขตการดำเนินการให้ครอบคลุมพื้นที่ MPA มากกว่า 100 แห่ง ซึ่งมีพื้นที่คุ้มครองปะการังขนาดใหญ่ถึง 80,000 เฮกตาร์ และเพิ่มความสามารถในการฟื้นตัวของสมาชิกชุมชนชายฝั่งมากกว่า 2 ล้านคน .. เงินทุนที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ จะขยายโซลูชันข้อไขทางธุรกิจเชิงบวกต่อการปกป้องแนวปะการังซึ่งครอบคลุมถึงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ Ecotourism, การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในชุมชน Community-Based Aquaculture และการประมงที่ยั่งยืน Sustainable Fisheries ซึ่งรวมอยู่ในกลยุทธ์ทางการเงินของ MPA Finance Strategy สำหรับรายได้ที่กลับเข้ามาในโครงการไปพร้อมด้วย ..
ตัวอย่างในอินโดนีเซีย Indonesia ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ในใจกลางของสามเหลี่ยมปะการัง Located in the Heart of the Coral Triangle ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน .. การสนับสนุนเพิ่มเติมจาก GFCR จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าจะมีเงินทุนอย่างยั่งยืนในระยะยาวสำหรับการจัดการพื้นที่คุ้มครองทางทะเลอย่างมีประสิทธิผล Sustainable Long-Term Funding for Effective Marine Protected Area : MPA Management และการเข้าถึงเงินทุนสำหรับธุรกิจที่มีผลดีต่อแนวปะการัง Financing Access for Reef-Positive Enterprises .. ด้วยแนวคิดคาร์บอนสีน้ำเงิน Blue Carbon Concept และการเน้นไปที่การสนับสนุนกิจกรรมของสตรีในท้องถิ่น เงินทุนที่เพิ่มขึ้นจาก GFCR มุ่งหวังที่จะให้ธุรกิจส่งผลดีต่อแนวปะการังที่เติบโตขึ้นได้อีกอย่างน้อย 10 แห่ง รวมถึงการบริหารจัดการที่นำโดยชุมชนสำหรับฟาร์มเพาะเลี้ยงสาหร่าย Community-Led Seaweed Hatcheries และสิ่งอำนวยความสะดวก Handling Facilities, ธุรกิจท่องเที่ยวเชิงนิเวศ Ecotourism Ventures และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน Sustainable Aquaculture ..
ในฐานะที่ Global Fund for Coral Reefs : GFCR คือ เครื่องมือทางการเงินของปะการังชั้นนำของโลก Leading Global Coral Finance Instrument ซึ่ง GFCR มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการป้องกัน และความยืดหยุ่นของแนวปะการังอย่างน้อย 3 ล้านเฮกตาร์ทั่วโลก ภายในปี 2573 ซึ่งคิดเป็น 25% ของเป้าหมายการพัฒนาแนวปะการัง และประมาณ 12% ของแนวปะการังที่เหลืออยู่บนโลก .. ด้วยการใช้เงินลงทุนเต็มรูปแบบ Full Capitalization นั้น GFCR Coalition จะมุ่งมั่นที่จะใช้ประโยชน์จากการเงินภาครัฐในประชาคมโลก และเอกชนที่มีศักยภาพ สูงถึง 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อประโยชน์ของระบบนิเวศทางทะเล Marine Ecosystems, ชุมชนชายฝั่ง Coastal Communities และประโยชน์ทางเศรษฐกิจ Benefit of Economies มาพร้อมด้วยนั่นเอง ..
คาดการณ์ตลาดการฟื้นฟูแนวปะการังโลก Global Reef Restoration Market ..
ตลาดการฟื้นฟูแนวปะการังโลก Global Reef Restoration Market ซึ่งรวมถึง การทำฟาร์มแนวปะการังเชิงพาณิชย์ Commercial Coral Farm Market ได้รับการคาดหมายว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 8.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2570 ด้วยอัตราเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดการฟื้นฟูแนวปะการังโลก Global Reef Restoration Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุดรวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 10.5% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2567-2570 ..
แนวปะการัง Coral Reefs คือสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลังเกาะเกี่ยวกันไว้เป็นแนวยาว เช่น ปะการังค้อน Hammer Coral, ปะการังแคนดี้เคน Candy Cane Coral, ปะการังพัลส์ Pulse Coral และปะการังไข่กบ Frogspawn Coral รวมถึงสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในทะเลที่มีชีวิตชนิดอื่นๆ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในแนวปะการัง Coral Reefs .. นอกจากนี้ ยังมีปลาหลากหลายชนิด เช่น ปลาการ์ตูน Clownfish, ปลากะพง Tangs และปลาโกบี้ Gobies เป็นต้น ซึ่งล้วนช่วยรักษาแหล่งที่อยู่อาศัยของแนวปะการังเขตร้อน Preserve the Tropical Coral Reef Habitat .. การเคลื่อนไหวของน้ำที่เหมาะสม แสงแดด และเคมีของน้ำที่เสถียรกว่านั้น ล้วนเป็นความจำเป็นสำหรับการฟื้นฟูสัตว์น้ำ สาหร่าย และแนวปะการังไปพร้อมด้วย ..
หินปะการัง เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิต Animal Polyps ที่เรียกว่า ปะการังหิน Stony Corals มีค้าขายกันอยู่ทั่วโลก Trafficked Globally for Sale เพื่อเป็นของที่ระลึก Souvenirs, เครื่องประดับ Jewellery และนำไปใช้ในท้องถิ่นสำหรับวัสดุก่อสร้าง Building Materials, การก่อสร้างถนน Road Construction และการผลิตปูนขาว Lime Manufacture .. ตัวอย่างสิ่งมีชีวิต โครงกระดูก และหินมีชีวิต ซึ่งประกอบด้วยโครงกระดูกปะการัง และสาหร่ายสีแดงพร้อมกับสัตว์แนวปะการังอื่น ๆ ล้วนมีจำหน่ายเพื่อการซื้อขายกันโดยเฉพาะในตลาดที่ขาดความรับผิดชอบทั่วไปอีกด้วย ..
การขุดเอาหินมีชีวิต Removal of Live Rock ซึ่งโดยปกติจะงัดออกจากแนวปะการังด้วยเหล็กงัดนั้น คุกคาม หรือทำลายแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ Destroys Habitat for Other Species ไปพร้อมด้วย .. การขุดเอาปะการังที่มีหิน และหินมีชีวิตออกไปนั้น พบว่า ทำให้เกิดการกัดเซาะ ทำลายแหล่งที่อยู่อาศัย และสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ หากไม่มีความมุ่งมั่นส่งเสริมที่จะฟื้นฟูแนวปะการังอย่างจริงจังในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศแล้ว ความพยายามในการอนุรักษ์ ก็อาจประสบความล้มเหลว และการทำลายระบบนิเวศแนวปะการังก็มีแนวโน้มว่าจะดำเนินต่อไป ..
ตลาดการฟื้นฟูแนวปะการังเชิงพาณิชย์ Commercial Coral Reef Restoration Market ได้รับการวิเคราะห์ตามภูมิภาคในอเมริกาเหนือ North America, ยุโรป Europe, เอเชียแปซิฟิก Asia Pacific และ LAMEA พบว่า ยุโรป Europe กลายเป็นภูมิภาคชั้นนำในตลาดผลิตภัณฑ์จากฟาร์มแนวปะการังเชิงพาณิชย์ด้วยส่วนแบ่งรายได้สูงสุดมาตั้งแต่ปี 2563 .. ทั้งนี้ มีการก่อตั้งฟาร์มปะการังหลายแห่ง Several Coral Farms ในภูมิภาค และปศุสัตว์แนวปะการัง Reef Livestock สามารถฟื้นฟูแนวปะการัง Coral Reef Restoration และสร้างผลิตภัณฑ์ที่อาจถูกส่งออก และขายไปยังร้านค้า หรือร้านค้าเฉพาะทางที่ถูกกฎหมาย ในราคาเฉลี่ย 5-150 เหรียญสหรัฐฯ ต่อชิ้น เป็นต้น .. ตัวอย่างการระดมทุนของ Galician FLAG เพื่อจัดตั้งฟาร์มปะการังเชิงพาณิชย์แห่งแรกของยุโรป Europe’s First Commercial Coral Farm ซึ่งมีการเพาะเลี้ยง และสร้างแนวปะการังได้ประมาณอย่างน้อย 5,000 ตัวปะการังต่อปี และสามารถดึงดูดให้นักเรียน นักศึกษา และนักท่องเที่ยวจากทั่วภูมิภาคเข้ามาเยี่ยมชม สิ่งนี้มีแนวโน้มที่จะช่วยให้ตลาดการฟื้นฟูแนวปะการังเชิงพาณิชย์ Commercial Coral Reef Restoration Market ในระดับภูมิภาคเติบโตขึ้นได้มาพร้อมด้วยเช่นกัน ..
สรุปส่งท้าย ..
วิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis คือ ภัยคุกคามระดับโลกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต่อระบบนิเวศแนวปะการัง Coral Reef Ecosystems .. หลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันบ่งชี้ชัดเจนว่า ชั้นบรรยากาศของโลก และมหาสมุทร Earth’s Atmosphere & Ocean กำลังร้อนขึ้น และการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เกิดขึ้นจากก๊าซเรือนกระจกซึ่งมาจากกิจกรรมของมนุษย์ชาติ Greenhouse Gases Derived from Human Activities เป็นหลักนั่นเอง ..
เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เหตุการณ์ปะการังฟอกขาว Coral Bleaching Events จำนวนมาก และการระบาดของโรคติดเชื้อ Infectious Disease Outbreaks ก็จะเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากขึ้น นอกจากนี้ คาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่ดูดซับลงในมหาสมุทรจากชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้น ได้เริ่มลดอัตราการสะสมแคลเซียมในสิ่งมีชีวิตที่สร้างแนวปะการัง และสิ่งมีชีวิตที่เกี่ยวข้องกับแนวปะการัง โดยการเปลี่ยนแปลงเคมีของน้ำทะเล Altering Seawater Chemistry ผ่านการลดค่า pH ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า การเป็นกรดของมหาสมุทร Ocean Acidification ..
วิกฤติสภาพภูมิอากาศ Climate Crisis จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแนวปะการัง Coral Reef Ecosystems โดยผ่านระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น Sea Level Rising .. การเปลี่ยนแปลงความถี่ และความรุนแรงของพายุโซนร้อน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการหมุนเวียนของมหาสมุทร เมื่อรวมกันแล้ว ผลกระทบทั้งหมดเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบนิเวศอย่างมาก รวมถึงสินค้า และบริการที่ระบบนิเวศแนวปะการัง Coral Reef Ecosystems มอบให้กับผู้คนทั่วโลก ..
ก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมของมนุษย์ Increased Greenhouse Gases from Human Activities ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change และมหาสมุทรเป็นกรด Ocean Acidification .. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change นั้น ย่อมหมายถึง การเปลี่ยนแปลงของมหาสมุทร Ocean Change ไปพร้อมด้วย .. มหาสมุทรของโลก World’s Ocean คือ แหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ขนาดใหญ่ Massive Carbon Dioxide : CO2 Sink .. อย่างไรก็ตาม แม้ว่าสิ่งนี้จะทำให้ภาวะโลกร้อน Global Warming ชะลอช้าลง แต่ก็ทำให้เคมีของมหาสมุทร Ocean Chemistry นั้น เปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ..
ภาพรวมปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ได้แก่ การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล Burning Fossil Fuels เพื่อให้ความร้อน และพลังงาน Heat & Energy, การผลิตผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบางประเภท Producing Some Industrial Products, การเลี้ยงปศุสัตว์ Raising Livestock, การใส่ปุ๋ยพืช Fertilizing Crops และการตัดไม้ทำลายป่า Deforestation ..
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Climate Change นำไปสู่มหาสมุทรที่อุ่นขึ้น Warming Ocean ก่อให้เกิดความเครียดจากความร้อน Thermal Stress ซึ่งส่งผลให้ปะการังฟอกขาว Coral Bleaching และเกิดโรคติดเชื้อ Infectious Disease ..
ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น Sea Level Rise อาจทำให้มีตะกอนเพิ่มมากขึ้นในแนวปะการังที่อยู่ใกล้กับแหล่งตะกอนบนบก ซึ่งตะกอนที่ไหลบ่า Sedimentation Runoff อาจทำให้ปะการังหายใจไม่ออก ..
การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของพายุ Changes in Storm Patterns ทำให้เกิดพายุที่รุนแรง และบ่อยครั้งขึ้น ซึ่งอาจทำให้แนวปะการังถูกทำลาย .. ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำฝน Changes in Precipitation ก็เช่นกัน การไหลบ่าของน้ำจืด Runoff of Freshwater, ตะกอน Sediment และมลพิษบนบก Land-Based Pollutants ที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สาหร่ายบาน Algal Blooms และเกิดสภาพน้ำขุ่นซึ่งทำให้แสงลดลง Murky Water Conditions that Reduce Light ..
กระแสน้ำในมหาสมุทรที่เปลี่ยนแปลง Altered Ocean Current ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเชื่อมต่อ และระบบอุณหภูมิ ซึ่งส่งผลให้ปะการังขาดแคลนอาหาร และขัดขวางการแพร่กระจายของตัวอ่อนปะการัง รวมทั้งด้วยภาวะเป็นกรดของมหาสมุทร Ocean Acidification ซึ่งเป็นผลมาจาก CO2 ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ระดับ pH ลดลง ส่งผลให้การเจริญเติบโต และความสมบูรณ์ของโครงสร้างปะการังลดลง Decreases Coral Growth & Structural Integrity ตามไปด้วย ..
ทั้งนี้ เพราะว่า ปรากฏการณ์ฟอกขาวของปะการัง Coral Bleaching คือ สัญญาณเตือนอันตรายชัดเจนต่อความอยู่รอดของมวลมนุษยชาติ ดังนั้น การลดมลพิษทางคาร์บอน และการดำเนินมาตรการจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกให้ไม่เกิน ณ จุดเล็ง 1.5oC อย่างเร่งด่วนของประชาคมโลก จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำคัญที่ขาดไม่ได้จากนี้ไป .. การเปลี่ยนไปใช้พลังงานหมุนเวียน Renewables 100% และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน Energy Efficiency คือกุญแจสำคัญในการผลักดันความต้องการเชื้อเพลิงฟอสซิลให้ลดลง Driving down Demand for Fossil Fuels ..
กรอบนโยบายภาครัฐสำหรับการเปลี่ยนไปใช้แหล่งพลังงานทางเลือก Government Policy for Switching to Alternative Energy Sources, การปรับเปลี่ยนไปสู่เกษตรทฤษฎีใหม่ปลอดสารพิษ คาร์บอนต่ำ Changing to a New Theory of Agriculture for Non-Toxic & Low Carbon และไฮโดรเจน Hydrogen : H2 รวมทั้งการพิจารณาลงทุนกับ Carbon Capture, Utilisation & Storage : CCUS ถือเป็นความจำเป็นที่ขาดไม่ได้เช่นกัน แม้ว่าพวกมันอาจจะทำให้ต้นทุนในกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์เพิ่มขึ้นบ้างก็ตาม หากเราจะยังคงจำเป็นต้องใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง หรือแบบผสมผสานอยู่ต่อไป รวมทั้ง การพัฒนาแหล่งกักเก็บคาร์บอน Development of Carbon Sinks หรือพื้นที่ดูดซับคาร์บอน เช่น ในพื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ ป่าไม้ ป่าชายเลน ชายฝั่งทะเล และที่อยู่อาศัย รวมทั้ง ‘การปกป้องฟื้นฟูแนวปะการัง Coral Reef Restoration’ สำหรับการสร้างสมดุลทางคาร์บอน Carbo Balance เป็นต้นมาพร้อมด้วยนั้น กลายเป็นข้อไขสำคัญที่มนุษยชาติมิอาจละเลยได้อีกต่อไป ..
เชื่อมั่นได้ว่า การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition รวมทั้งกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ตามมาเหล่านี้ จะกระตุ้น และขับเคลื่อนอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวม GDP ทั่วโลกให้เพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 0.4% ต่อปี .. ทั้งนี้ ภาพรวมทั้งหมด หากผนวกรวมผลผลิตภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และผลผลิตอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องทางเศรษฐกิจ และสังคมด้วยแล้ว คาดหมายว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมทั่วโลก Global Gross Domestic Product : GDP จะถูกผลักให้สูงขึ้นเฉลี่ย 4% ภายในปี 2030 หรือ พ.ศ.2573 จากกระบวนเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition Process ซึ่งมากกว่าที่จะไปถึงได้ด้วยแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel Energy Sources ตามแนวโน้มในปัจจุบัน ..
ปัจจุบัน การเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition มิได้มีราคาแพง แต่จะต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมในเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ Low-Carbon Technologies .. การลดต้นทุนที่สำคัญลงอีกในกลุ่มพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีเอื้ออำนวยที่เกี่ยวเนื่อง จะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักสำหรับการลงทุนที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การลงทุนเพิ่มเติมแบบสะสมจะยังคงต้องมีจำนวนมากถึง 29 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ จนถึงปี 2593 ซึ่งนอกเหนือไปจากการลงทุนจำนวน 116 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่คาดการณ์ไว้แล้ว .. การลดผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ Reducing the Impact on Human Health และการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Mitigating Climate Change จะสามารถช่วยประหยัดต้นทุนในการลดการปล่อยคาร์บอนได้ประมาณอย่างน้อย 2-6 เท่า ทั้งนี้ เพื่อให้การจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไว้ที่จุดเล็ง 1.5oC บรรลุเป้าหมายลดการปล่อยมลพิษจากภาคพลังงาน Energy Sector เป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emission ด้วยคุณภาพชีวิต และสุขภาพของโลกที่ดีกว่า Better Quality of Life & Health of the World ภายในครึ่งหลังของศตวรรษนี้ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
………………………………….
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Coral Bleaching | Marine Conservation :-
Everything You Need to Know about Coral Bleaching & How We Can Stop It | World Wild Life :-
Restoring Coral Reefs | NOAA :-
https://www.fisheries.noaa.gov/national/habitat-conservation/restoring-coral-reefs
Coral Reefs Fast Facts | NOAA :-
https://coast.noaa.gov/states/fast-facts/coral-reefs.html
Carbon Balance in Corals Reefs | Coral Guardian :-
Coral Bleaching | NOAA :-
Carbon Balance in Corals : Coral Bleaching & How We Can Stop It :-