Global Hydrogen Review Summary Progress in 2024
“….ตลาดไฮโดรเจนสีเขียวเกิดใหม่ Emerging Green Hydrogen Markets ต้องการแหล่งเชื้อเพลิง Green Hydrogen : H2 ราคาถูก และยั่งยืนเพิ่มขึ้นอีกอย่างมากมายเป็นหลายเท่าทวีคูณ…”
การสอบทานสถานะ และแนวโน้มในอนาคตของไฮโดรเจน Status & Future Prospects of Hydrogen : H2 ในห้วงเวลาผ่านมา พบว่า ความต้องการไฮโดรเจนทั่วโลก Global Hydrogen : H2Demand สูงถึง 97 ล้านตัน MT ในปี 2566 เพิ่มขึ้น 2.5% เมื่อเทียบกับปี 2565 และอาจพุ่งสูงถึงเกือบ 100 ล้านตัน ในปี 2567 .. อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นนี้ ควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นผลจากแนวโน้มเศรษฐกิจในวงกว้าง มากกว่าจะเป็นผลจากการดำเนินนโยบายที่ประสบความสำเร็จ..
ทั้งนี้ ความต้องการไฮโดรเจน Hydrogen Demand ยังคงกระจุกตัวอยู่ในภาคการกลั่น และเคมีภัณฑ์ซึ่งส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยไฮโดรเจนที่ผลิตขึ้นจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Hydrogen : H2 from Fossil Fuels ที่ไม่ลดการปล่อยมลพิษเป็นหลัก เช่นเดียวกับก่อนหน้านี้ .. จนถึงวันนี้ ไฮโดรเจนที่มีการปล่อยมลพิษต่ำ Low-Emissions Hydrogen : H2หรือไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 ยังคงมีบทบาทเพียงเล็กน้อย โดยมีการผลิตน้อยกว่า 1ล้านตัน ในปี 2566 .. อย่างไรก็ตาม การผลิตไฮโดรเจนที่มีการปล่อยมลพิษต่ำ Low-Emissions Hydrogen : H2 Production อาจสูงได้ถึง 49 ล้านตันต่อปี ภายในปี 2573 โดยอิงจากแผนงานโครงการที่ประกาศไว้ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 50 เท่า เทียบกับปริมาณการผลิตในปี 2566 รวมทั้งความจุกำลังไฟฟ้าจากไฮโดรเจนในภาพรวมปี 2567 จะเพิ่มขึ้นเกือบ 30% เมื่อเทียบกับข้อสรุปที่มีการเผยแพร่รายงาน Global Hydrogen Review 2023 ..
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร การเติบโตอย่างแข็งแกร่งนี้ ส่วนใหญ่ขับเคลื่อนด้วยโครงการอิเล็กโทรไลซิส Electrolysis Projects โดยมีกำลังการผลิตอิเล็กโทรไลซิส Electrolysis Capacity ที่ประกาศไว้ อยู่ที่เกือบ 520 กิกะวัตต์ GW รวมทั้งจำนวนโครงการที่มีการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้ายFinal Investment Decision: FID ก็เพิ่มขึ้นเช่นกันโดยการผลิตที่ประกาศไว้ในโครงการ FID เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับปีที่แล้วจนแตะระดับ3.4 ล้านตันต่อปี Mtpa ซึ่งเพิ่มขึ้น 5 เท่าจากการผลิตในปัจจุบัน ภายในปี 2573 โดยจะแบ่งเท่า ๆกันระหว่างกระบวนการอิเล็กโทรไลซิส 1.9 ล้านตันต่อปี Mtpa และไฮโดรเจนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บคาร์บอน Fossil Fuels with Carbon Capture, Utilisation & Storage: CCUS อยู่ที่ 1.5 ล้านตันต่อปี Mtpa ..
การผลิตไฮโดรเจน Hydrogen : H2 Production จากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels ที่ใช้ Carbon Capture, Utilisation & Storage : CCUS เพิ่มขึ้นมากในช่วงปีที่ผ่านมา .. แม้ว่า การผลิตที่เป็นไปได้ทั้งหมดจากโครงการที่ประกาศจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว แต่ก็มี FID หลายโครงการสำหรับโครงการขนาดใหญ่ที่ประกาศไปก่อนหน้านี้ ซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ในอเมริกาเหนือ และยุโรป ส่งผลให้แนวโน้มการผลิตตามแผนงานจนถึงปี 2573 นั้น เป็นไปได้ โดยพบว่า โครงการการผลิตไฮโดรเจนHydrogen : H2 Production จากใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่ใช้ CCUS เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่าในปีที่ผ่านมา จาก 0.6 ล้านตันต่อปี Mtpa ในเดือนกันยายน 2566 เป็น 1.5 ล้านตันต่อปี Mtpa ในปัจจุบัน ..
โดยรวมแล้ว ถือเป็นความก้าวหน้าที่น่าสังเกตสำหรับภาคส่วนที่เพิ่งเริ่มต้น แต่การผลิตที่มีศักยภาพส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระหว่างการวางแผน หรืออยู่ในขั้นตอนเริ่มต้น หากต้องการให้โครงการทั้งหมดเกิดขึ้นจริง ภาคส่วนนี้จะต้องเติบโตในอัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้นที่ไม่เคยมีมาก่อน อยู่ที่มากกว่า 90% ตั้งแต่ปี 2567จนถึงปี 2573 ซึ่งสูงกว่าการเติบโตที่เกิดขึ้นกับโซลาร์เซลล์ Solar PV ในช่วงการขยายตัวที่เร็วที่สุด.. โครงการหลายโครงการต้องเผชิญกับการล่าช้าและการยกเลิก ซึ่งทำให้ส่วนสำคัญของโครงการตกอยู่ในความเสี่ยง เหตุผลหลัก ได้แก่ สัญญาณความต้องการที่ไม่ชัดเจน Unclear Demand Signals, อุปสรรคด้านการเงิน Financing Hurdles, ความล่าช้าของแรงจูงใจ Delays to Incentives,ความไม่แน่นอนด้านกฎระเบียบ Regulatory Uncertainties, ปัญหาใบอนุญาต และการอนุญาตLicensing & Permitting Issues และความท้าทายด้านการดำเนินงาน Operational Challenges ..
จีน China กับอิเล็กโทรไลเซอร์ Electrolysers ของพวกเขา คือส่วนต่อภาคพลังงานของการผลิตกำลังไฟฟ้าด้วยแผงโซลาร์เซลล์ และระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ Sequel to Solar PV & Batteries ที่โดดเด่น .. กำลังการผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ ที่ประกาศไปแล้วในปัจจุบัน มีความจุอยู่ที่ 20 GW ทั่วโลก โดย 6.5 GW ในจำนวนนี้ผ่านกระบวนการ FID ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ชี้ให้เห็นว่า จีน China กำลังเสริมความแข็งแกร่งให้กับความเป็นผู้นำสำหรับการผลิตกับอิเล็กโทรไลเซอร์ Electrolysers โดยคิดเป็นมากกว่า 40% ของการผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ทั่วโลก .. ทั้งนี้ ในแง่ของความจุของกำลังผลิตในช่วงเวลาเดียวกันตำแหน่งผู้นำของจีน ได้รับการสนับสนุนจากความแข็งแกร่งในการผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาดจำนวนมาก โดยจีน China มีกำลังการผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ ด้วยความจุแตะระดับถึง 60% ของโลก Global Electrolyser Manufacturing Capacity ไปเรียบร้อย ในปี 2567 ..
การขยายกำลังการผลิตในโครงการผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์อย่างต่อเนื่องของจีน คาดว่าจะช่วยลดต้นทุนการผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ลงได้ Drive Down Electrolyser Costs เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นกับการผลิตโซลาร์เซลล์ และชุดแบตเตอรี่ Solar PV & Battery Manufacturing ในอดีต ..นอกจากนี้ผู้ผลิตแผงโซลาร์เซลล์รายใหญ่หลายรายของจีน ได้เข้าสู่ธุรกิจการผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ Business of Manufacturing Electrolysersและปัจจุบันนี้ ผู้ผลิตเหล่านี้ คิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของกำลังการผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ของจีน China’s Electrolyser Manufacturing Capacity .. อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคอื่นๆ ก็ได้เร่งความพยายามเช่นกัน โดยในยุโรป Europe นั้น โครงการที่มีการตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย Final Investment Decision : FID สำหรับโครงการผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ Electrolysis Projects เพิ่มขึ้น 4 เท่า ในช่วงปีที่ผ่านมาจนบรรลุความจุ Capacity มากกว่า 2 GW ขณะที่อินเดีย India ได้กลายมาเป็นหนึ่งในผู้เล่นหลักด้วยโครงการผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์เพียงโครงการเดียว สำหรับความจุ Capacity ถึง 1.3 GW มาพร้อมด้วย ..
ไฮโดรเจนที่ปล่อยมลพิษต่ำ Low-Emissions Hydrogen : H2 คือภาคส่วนใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นและด้วยเหตุนี้ จึงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับต้นทุน โดยอิงจากข้อมูลใหม่ที่มีจากโครงการล่าสุด ซึ่งวิวัฒนาการของต้นทุนในอนาคตจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับ และความเร็วในการใช้งานเมื่อพิจารณาการใช้งานตามสถานการณ์การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิภายในปี 2593 หรือ NZE Scenario 2050 ของ IEA คาดหมายได้ว่า ต้นทุนการผลิตไฮโดรเจนที่ปล่อยมลพิษต่ำ Low-Emissions Hydrogen : H2 Cost จากพลังงานหมุนเวียน Renewables จะลดลงเหลือ 2-9 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัมUSD/kg H2 ในปี 2573 ซึ่งคือครึ่งหนึ่งของมูลค่าในปัจจุบัน โดยช่องว่างต้นทุนไฮโดรเจนสีเขียวGreen Hydrogen : H2 กับไฮโดรเจนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Hydrogen : H2 from Fossil Fuels จะลดลงจาก 1.5-8 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อกิโลกรัม USD/kg H2 ในปัจจุบัน เป็น 1-3 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม USD/kg H2 ในปี 2573.. ระดับการใช้งาน ในสถานการณ์ตามนโยบายที่กำหนด ซึ่งพิจารณาเฉพาะนโยบายที่มีอยู่ หมายความว่าช่วงต้นทุนจะลดลงเพียงประมาณ 30% เท่านั้นเนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติ Natural Gas Pricesในหลายภูมิภาคลดลง ดังนั้นการผลิตไฮโดรเจนที่ปล่อยมลพิษต่ำจากก๊าซธรรมชาติ Low-Emissions Hydrogen : H2 Production from Natural Gas โดยใช้ CCUS จึงมีแนวโน้มที่จะได้รับการลดต้นทุนมาพร้อมด้วยเช่นกัน ..
ต้นทุนที่ลดลง Cost Reductions จะส่งผลดีต่อโครงการทั้งหมด แต่ผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของโครงการแต่ละโครงการจะแตกต่างกันไป .. ตัวอย่างเช่น การพัฒนาโครงการอิเล็กโทรไลเซอร์ทั้งหมดให้เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งมีกำลังการผลิตเกือบ 520 GW จะทำให้ต้นทุนทั่วโลกลดลงในลักษณะเดียวกับในสถานการณ์ NZE Scenario .. ในประเทศจีน การใช้งานทั่วโลกในระดับดังกล่าวจะหมายความว่า ผลผลิตส่วนใหญ่จากโครงการอิเล็กโทรไลเซอร์ในปัจจุบัน ซึ่งผลิตไฮโดรเจน อยู่ที่ 1 ล้านตันต่อปี จะมีราคาถูกกว่าไฮโดรเจนที่ผลิตจากถ่านหินที่ไม่ได้รับการควบคุม ในระดับโลก .. ภายในปี 2573คาดหมายว่าจะสามารถผลิตไฮโดรเจนสีเขียวGreen Hydrogen : H2 ได้มากกว่า 5 ล้านตันต่อปีด้วยต้นทุนที่สามารถแข่งขันกับการผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ไม่ได้รับการควบคุมและสูงถึง 12ล้านตันต่อปีด้วยต้นทุนพรีเมียม Premium Costอยู่ที่ 1.5 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัมไฮโดรเจน USD/kg H2 ..
ช่องว่างด้านต้นทุนนี้ จะยังคงเป็นความท้าทายที่สำคัญในระยะสั้นสำหรับผู้พัฒนาโครงการ แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายซึ่งไฮโดรเจนเป็นวัตถุดิบขั้นกลางนั้น ผลกระทบน่าจะบริหารจัดการได้ในหลายๆ กรณี ต้นทุนพรีเมียมของการผลิตไฮโดรเจนที่มีการปล่อยมลพิษต่ำ Cost Premium of Low-Emissions Hydrogen : H2 Production จะลดลงตลอดห่วงโซ่คุณค่า ซึ่งหมายความว่า ผู้บริโภคมักจะเห็นการเพิ่มขึ้นของราคาผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ตัวอย่างเช่น การใช้เหล็กที่ผลิตด้วยไฮโดรเจนหมุนเวียน Steel Produced with Renewable Hydrogen ในปัจจุบันสำหรับการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs จะทำให้ราคารวมของ EVs เพิ่มขึ้นเพียงประมาณ 1% เท่านั้น เป็นต้น ..
ความคืบหน้ากำลังเกิดขึ้นในการสร้างความต้องการไฮโดรเจนที่ปล่อยมลพิษต่ำ Low-Emissions Hydrogen : H2 แต่ความต้องการดังกล่าวยังคงต้องขยายให้เพิ่มขึ้นอีก ..
ความพยายามที่จะกระตุ้นความต้องการไฮโดรเจนที่ปล่อยมลพิษต่ำ Efforts to Stimulate Demand for Low-Emissions Hydrogen : H2 และการใช้เชื้อเพลิงจากไฮโดรเจน Hydrogen-Based Fuels กำลังได้รับความสนใจมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลในหลายประเทศทั่วโลก เริ่มดำเนินการตามนโยบายสำคัญๆ เช่น สัญญาคาร์บอนสำหรับส่วนต่างในเยอรมนี และคำสั่งข้อกำหนดของสหภาพยุโรปในอุตสาหกรรมการบิน และการเดินเรือ EU Mandates in Aviation & Shipping .. มาตรการเหล่านี้ ยังกระตุ้นให้เกิดการดำเนินการด้านอุตสาหกรรม โดยมีการลงนามข้อตกลงรับซื้อเพิ่มขึ้น และมีการเปิดประมูลเพื่อซื้อขายไฮโดรเจนที่ปล่อยมลพิษต่ำ .. อย่างไรก็ตาม ขนาดโดยรวมของความพยายามเหล่านี้ยังไม่เพียงพอสำหรับไฮโดรเจนที่จะมีส่วนสนับสนุนในการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ ..
นโยบาย และเป้าหมายสำหรับความต้องการไฮโดรเจนที่กำหนดโดยรัฐบาลรวมกันแล้วอยู่ที่ประมาณ 11 ล้านตัน ในปี 2573 ซึ่งลดลงเกือบ 3ล้านตันจากปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากการปรับลดเป้าหมายบางประการสำหรับการใช้ไฮโดรเจนในอุตสาหกรรม Hydrogen Use in Industry, การขนส่ง Transport และการผลิตกำลังไฟฟ้า Power Generation .. อย่างไรก็ตาม ปริมาณการผลิตไฮโดรเจนที่ปล่อยมลพิษต่ำ Low-Emissions Hydrogen Production ซึ่งผ่านโครงการ FID อยู่ที่ 3.4 ล้านตันต่อปี ขณะที่ด้วยเป้าหมายภาพรวมซึ่งอยู่ที่ประมาณ 4 ล้านตันต่อปีนั้น จึงถือว่ายังต่ำกว่าระดับที่ต้องการเป็นอย่างมาก .. ช่องว่างดังกล่าว ถือเป็นการเรียกร้องให้ภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐในนานาประเทศ จะต้องร่วมดำเนินการเพื่ออำนวยความสะดวกในการบรรลุข้อตกลงการซื้อขายที่สามารถช่วยปลดล็อกการลงทุนด้านอุปทานได้ ..
ในขณะเดียวกัน นโยบาย และเป้าหมายด้านอุปสงค์ภาครัฐในหลายประเทศ ยังตามหลังเป้าหมายการผลิต ซึ่งรวมแล้วอยู่ที่ 43 ล้านตันต่อปีในปี 2573 อย่างมาก และยังต่ำกว่าอุปทานที่เป็นไปได้ที่อาจบรรลุได้จากโครงการที่ประกาศไว้ 49 ล้านตันต่อปีอีกด้วย .. มาตรการด้านนโยบายภาครัฐ และความร่วมมือระหว่างประเทศ ยังไม่เพียงพอที่จะสร้างระดับอุปสงค์ที่จำเป็นในการเพิ่มการผลิตให้ตรงตามความคาดหวัง นอกจากนี้ การดำเนินการที่ทะเยอ ทะยานกว่าบางอย่างเช่น เป้าหมายของสหภาพยุโรปในการใช้งานในอุตสาหกรรม หรือโควตาการผลิตในอินเดีย ยังไม่ได้รับการแปลเป็นกฎหมายระดับชาติ ยิ่งไปกว่านั้น จากการสนับสนุนนโยบายมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สำหรับการนำไฮโดรเจนที่มีการปล่อยมลพิษต่ำ มาใช้ที่รัฐบาลในหลายประเทศประกาศ Low-Emissions Hydrogen Adoption Announced by Governments ในช่วงปีที่ผ่านมา หมายถึงการสนับสนุนด้านอุปทาน Support on the Supply Side จึงมากกว่าด้านอุปสงค์ถึง 50% ซึ่งนโยบายภาครัฐของแต่ละประเทศจะต้องดำเนินการที่เข้มแข็งกว่านี้ เพื่อกระตุ้นความต้องการไฮโดรเจนที่มีการปล่อยมลพิษต่ำ Stimulate Demand for Low-Emissions Hydrogen ในฐานะข้อกำหนดที่จำเป็นเพื่อรองรับการลงทุนด้านอุปทาน Investments on the Supply Side .. ศูนย์กลางอุตสาหกรรมIndustrial Hubs ซึ่งไฮโดรเจนที่มีการปล่อยมลพิษต่ำสามารถทดแทนความต้องการไฮโดรเจนจำนวนมากที่มีอยู่ในปัจจุบันจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่ยังคงไม่ลดลง ยังคงเป็นโอกาสสำคัญที่รัฐบาลของชาติต่างๆ จะใช้ประโยชน์ในประเด็นการกระตุ้นความต้องการให้เกิดขึ้นอย่างเพียงพอได้เช่นกัน ..
อย่างไรก็ตาม เชื่อได้ว่า รัฐบาลของประเทศต่าง ๆกำลังเร่งพัฒนากฎระเบียบเกี่ยวกับคุณลักษณะด้านสิ่งแวดล้อมของไฮโดรเจนที่ปล่อยมลพิษต่ำDevelopment of Regulations on the Environmental Attributes of Low-Emissions Hydrogen : H2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gas: GHG Emissions .. กฎระเบียบที่ชัดเจน และคาดเดาได้ Clear & Predictable Regulations สามารถเสริมสร้างความแน่นอนสำหรับการลงทุนในระยะยาว Strengthen Certainty for Long-Term Investments ได้อย่างมั่นใจ ..
ทั้งนี้ กรอบงานเหล่านี้ และแผนการรับรองที่เกี่ยวข้องยังคงไม่สอดคล้องกันในแต่ละภูมิภาคทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแยกส่วนในตลาดสำหรับการตอบสนอง .. ในการประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหประชา ชาติ 28th United Nations Climate Change Conferenceหรือ Conference of the Parties : COP28 โดยรัฐบาลในอย่างน้อย 37 ประเทศ ได้ให้คำมั่นที่จะยอมรับซึ่งกันและกันสำหรับแผนการรับรองระดับชาติ ในขณะที่ละตินอเมริกา Latin America ได้เปิดตัว “CertHiLAC” ซึ่งเป็นกรอบการรับรองระดับภูมิภาค .. นอกจากนี้องค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ International Organization for Standardization : ISO ได้เผยแพร่ระเบียบวิธีในการกำหนดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การขนส่ง และการแปลง/การแปลงไฮโดรเจน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำหรับมาตรฐานฉบับสมบูรณ์ที่คาดว่าจะมีขึ้นภายในปี 2568 หรือ 2569 ซึ่งอาจใช้เป็นระเบียบวิธีทั่วไปเพื่อให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกันของใบรับรอง ..
อย่างไรก็ตาม คำถามบางข้อที่เกี่ยวข้องกับการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในห่วงโซ่อุปทานไฮโดรเจน Assessment of GHG Emissions in Hydrogen Supply Chains ยังคงไม่มีคำตอบที่ชัดเจน เช่น การอธิบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการก่อสร้าง และการผลิตสินทรัพย์การผลิตนั้น จะดำเนินการได้อย่างไร .. ในกรณีของการผลิตไฮโดรเจนที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลFossil-Based Hydrogen : H2 Production จำเป็นต้องมีข้อมูลที่ดีขึ้นเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลในขั้นต้น และขั้นกลางที่มีอยู่ในสินค้าคง คลังระดับประเทศ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกี่ยวข้องกับเส้นทางการผลิตเหล่านี้สามารถดำเนินการได้อย่างครอบคลุม เป็นต้น ..
ดังนั้น รัฐบาลของทุกประเทศ ควรต้องดำเนินการที่กล้าหาญมากขึ้น เพื่อกระตุ้นความต้องการไฮโดรเจนที่ปล่อยมลพิษต่ำ Stimulate Demand for Low-Emissions Hydrogen : H2 .. การดำเนินนโยบายต่างๆ เช่น โควตา Quotas, คำสั่งMandates และสัญญาคาร์บอนสำหรับส่วนต่างCarbon Contracts for Difference ได้เริ่มต้นขึ้นแล้วในระดับนานาชาติ แต่ยังคงมีข้อจำกัดในด้านขอบเขตทางภูมิศาสตร์ และขนาด Geographical Coverage & Scale อยู่บ้าง ซึ่งรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่ผู้ใช้ไฮโดรเจนที่มีอยู่แล้ว Existing Hydrogen Users และภาคส่วนที่มีมูลค่าสูง High-Value Sectors เช่น เหล็กกล้า Steel, การขนส่งShipping และการบิน Aviation เสนอให้มาพร้อมด้วย ซึ่งมักตั้งอยู่ในศูนย์กลางอุตสาหกรรม Industrial Hubs ..
การรวมความต้องการในศูนย์กลางเหล่านี้ สามารถสร้างขนาด และลดความเสี่ยงในการซื้อขายสำหรับผู้ผลิต นอกจากนี้ การใช้การจัดซื้อจัดจ้างสาธารณะสำหรับผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย Public Procurement for Final Products ที่ใช้ไฮโดรเจนที่ปล่อยมลพิษต่ำในการผลิต Consume Low-Emissions Hydrogen in their Production และการสนับสนุนการพัฒนาตลาด Development of Markets ที่ผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินเพิ่มเล็กน้อยสำหรับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไฮโดรเจนที่ปล่อยมลพิษต่ำ Low-Emissions Hydrogen-Based Products สามารถช่วยผลักดันการนำไปใช้ในระยะเริ่มต้นได้เป็นอย่างดี ..
ตลาดเศรษฐกิจเกิดใหม่ และเศรษฐกิจกำลังพัฒนา Emerging Markets & Developing Economies: EMDEs โดยเฉพาะในภูมิภาคต่าง ๆเช่น แอฟริกา Africa, ละตินอเมริกา Latin America และเอเชีย Asia มีศักยภาพที่สำคัญในการผลิตไฮโดรเจนต้นทุนต่ำ และปล่อยมลพิษต่ำ Low-Cost & Low-Emissions Hydrogen : H2 Production .. ทั้งนี้เพื่อปลดล็อคให้เกิดศักยภาพเช่นนี้ รัฐบาลของประเทศเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว Governments of Advanced Economies และธนาคารพัฒนาพหุภาคี Multilateral Development Banks ทั้งหลาย ควรให้การสนับสนุนที่ตรงเป้าหมาย รวมถึงเงินอุดหนุน และเงินทุนสนับสนุนเพื่อรับมือกับความท้าทายสำคัญได้แก่ การเข้าถึงเงินทุน Access to Financing ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับผู้พัฒนาโครงการใน EMDEs ..การพัฒนาโครงการเหล่านี้ สามารถช่วยตอบสนองความต้องการภายในประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้า Reduce Import Dependencies และอาจช่วยให้สามารถส่งออกไฮโดรเจน หรือส่งออกผลิตภัณฑ์จากไฮโดรเจน Export of Hydrogen : H2 or Hydrogen-Based Products ได้อีกมากมายหลากหลายประเภทมาพร้อมด้วย ..
การทะยานขึ้นของไฮโดรเจนสีเขียว Rise of Green Hydrogen : H2 แนวโน้ม และการคาดการณ์ในอนาคต Trends, and Future Projections ..
ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 กำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้เปลี่ยนเกม Game-Changer ในการแสวงหาโซลูชันข้อไขพลังงานสะอาด Clean Energy Solutions .. ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอน Reducing Carbon Emissions และช่วยให้โลกเปลี่ยนผ่านไปสู่แหล่งพลัง งานที่ยั่งยืนมากขึ้น World Transition to More Sustainable Energy Sources ..
ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 ผลิตขึ้นโดยแยกน้ำออกเป็นไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และออกซิเจน Oxygen : O2 โดยใช้กำลังไฟฟ้าที่ผลิตจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม หรือพลังงานแสงอาทิตย์ Wind or Solar Power .. กระบวนการนี้เรียกว่า อิเล็กโทรไลซิสElectrolysis ส่งผลให้ได้มาซึ่งไฮโดรเจนที่ปราศจากการปล่อยคาร์บอน Hydrogen that is Free from Carbon Emissions ดังนั้นจึงเรียกว่า“ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2” ..
แนวคิดเรื่องการใช้ไฮโดรเจนเป็นแหล่งพลังงาน Concept of Hydrogen : H2 as an Energy Source ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในความเป็นจริง แนวคิดนี้มีมานานหลายทศวรรษแล้ว อย่างไรก็ตาม การให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มมากขึ้น และความต้องการเร่งด่วนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่งผลทำให้ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 กลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง .. ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ และบริษัทฯต่างๆ ทั่วโลก กำลังลงทุนอย่างหนักในเทคโนโลยี และโครงสร้างพื้นฐานของไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen Technologies & Infrastructure โดยตระหนักถึงศักยภาพในการปฏิวัติภูมิทัศน์ด้านพลังงาน Potential to Revolutionize the Energy Landscape..
ความสำคัญของไฮโดรเจนสีเขียวนั้น ไม่สามารถพูดเกินจริงได้ ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 นั้น เผาไหม้ได้อย่างหมดจด ซึ่งแตกต่างจากเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบดั้งเดิมTraditional Fossil Fuels โดยลดปริมาณ NOx ได้มากกว่า 90% เมื่อเทียบกับการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuel Combustion และยังผลิตไอน้ำ Water Vapor เป็นผลพลอยได้เป็นหลัก ซึ่งทำให้ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 คือตัวเลือกที่ดีเยี่ยมสำหรับการทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลในแอปพลิเคชันการใช้งานต่างๆ ตั้งแต่การขนส่ง Transportation ไปจนถึงกระบวนการอุตสาหกรรม Industrial Processes ..
แตกต่างจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels อย่างสิ้นเชิงไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 จะไม่ปล่อยคาย CO และ CO2 ออกมาจากการเผาไหม้และยังสามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตภัณฑ์เซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cells ได้อีกด้วยโดยไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 จะรวมเข้ากับออกซิเจนในอากาศด้วยไฟฟ้าเคมี Combines Electrochemically with Oxygen from the Air เพื่อให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่ปราศจากการปล่อยมลพิษ Emission-Free Electricity ซึ่งสามารถนำไปใช้ในยานพาหนะ Vehicles, เครื่องกำเนิดไฟฟ้า Generators และผลิตภัณฑ์อื่นๆ Other Products ได้อย่างมากมาย ..
ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 คือไฮโดรเจนที่ปล่อยมลพิษต่ำ Low-Emissions Hydrogen : H2 ซึ่งพวกมัน ถูกนำมาใช้ในการขับเคลื่อนยานยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell Electric Vehicles : FCEVs รวมถึงรถประจำทาง Buses, รถบรรทุก Trucks, รถไฟ Trains และแม้แต่เรือ Ships .. ยานยนต์เหล่านี้ ปล่อยคายไอน้ำ Water Vapor เท่านั้น จึงเป็นทางเลือกที่สะอาดกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิล Clean Alternative to Fossil Fuels .. เมืองต่างๆ ในยุโรป Europe และอเมริกาเหนือ North America กำลังนำรถโดยสารที่ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน Hydrogen-Powered Buses มาใช้เพื่อลดมลพิษในเมือง และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก .. Plug Power Inc. คือตัวอย่าง และถือเป็นผู้นำในการนำรถยกที่ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจน Hydrogen-Powered Forklifts มาใช้ในคลังสินค้า ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ใช้สอยของรถยกดังกล่าวในภาคโลจิสติกส์ Utility in the Logistics Sector ..
ในภาคการเดินอากาศ Aviation Sector นั้น อุตสาหกรรมการบิน Aviation Industry กำลังศึกษาการประยุกต์ใช้ไฮโดรเจนในฐานะองค์ประกอบสำคัญสำหรับเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืนKey Component for Sustainable Aviation Fuels : SAFs ..ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 สามารถผสมกับคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่ดักจับได้เพื่อผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuels ซึ่งจะช่วยลดปริมาณคาร์บอนจากการเดินอากาศได้อย่างมาก บริษัทต่างๆ เช่น Airbus กำลังพัฒนาเครื่องบินที่ขับเคลื่อนด้วยไฮโดรเจนHydrogen-Powered Aircrafts โดยตั้งเป้าที่จะปฏิวัติอุตสาหกรรมการบิน Revolutionize the Aviation Sector ด้วยการลดการปล่อยมลพิษสำหรับอนาคตที่เหนือชั้นกว่าจากนี้ไป ..
สำหรับกระบวนการทางอุตสาหกรรม Industrial Processes นั้น ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 มีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดคาร์บอนในกระบวนการทางอุตสาหกรรม Decarbonizing Industrial Processes โดยเฉพาะในการผลิตเหล็กกล้า Steel Manufacturing ..กระบวนการ Direct Reduced Iron : DRI ใช้ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 เป็นตัว Reducing Agent ในการแปลงแร่เหล็กให้เป็นเหล็กกล้า Convert Iron Ore into Steel ซึ่งช่วยลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมากเมื่อเทียบกับวิธีการดั้งเดิม.. นอกจากนี้ ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ยังใช้ในการผลิตสารเคมี เช่น แอมโมเนียสีเขียว Green Ammonia : NH3 และเมทานอล Methanol : CH3OH ซึ่งจำเป็นสำหรับปุ๋ย Fertilizers และการใช้งานในอุตสาหกรรมอื่นๆ Other Industrial Applications ..
การจัดเก็บพลังงาน Energy Storage และการปรับสมดุลโครงข่ายระบบสายส่ง Grid Balancing ก็เช่นกัน ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2มีบทบาทสำคัญในการจัดเก็บพลังงาน Energy Storage ช่วยปรับสมดุลโครงข่ายสายส่ง โดยกักเก็บพลังงานหมุนเวียนส่วนเกินที่ผลิตขึ้นในช่วงที่มีความต้องการต่ำ Balance the Grid by Storing Excess Renewable Energy Generated During Periods of Low Demand และปล่อยคายพลังงานดังกล่าวออกมาเมื่อมีความต้องการสูง Releasing Energy When Demand is High .. ความสามารถนี้ มีความจำเป็นสำหรับการผนวกรวมแหล่งพลังงานหมุนเวียน Integrating Renewable Energy Sources เช่น ลม และแสงอาทิตย์ Wind & Solar Power เข้ากับโครงข่ายระบบสายส่งพลังงานไฟฟ้า Energy Grid เพื่อให้แน่ใจว่า ชุมชนจะมีแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าที่เสถียรและเชื่อถือได้ Stable & Reliable Power Supplyซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ..
ประเด็นการการผลิตกำลังไฟฟ้า Power Generation นั้น ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 สามารถนำมาใช้โดยตรงในเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cells เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้า Generate Electricityซึ่งถือเป็นสุดยอดแหล่งพลังงานสะอาด และมีประสิทธิภาพ Clean & Efficient Power Source.. การใช้งานนี้ มีประโยชน์อย่างยิ่งในพื้นที่ชุมชนห่างไกล หรือนอกโครงข่ายระบบสายส่ง Off-Grid Locations ซึ่งไม่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานแบบเดิมในพื้นที่ No Traditional Power Infrastructure in the Area .. เซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้ไฮโดรเจน Fuel Cells Powered by Hydrogen : H2ถูกนำมาใช้เพื่อผลิตกำลังไฟฟ้า และความร้อน Electricity & Heat สำหรับที่อยู่อาศัย และอาคารเชิงพาณิชย์ Residential & Commercial Buildings รวมถึงพลังงานสำรองสำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ Backup Power for Critical Facilities มาพร้อมด้วย ..
ทั้งนี้ ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen: H2สามารถใช้ในการให้ความร้อน Heating Applications ในที่พักอาศัย Residential, ในเชิงพาณิชย์ Commercial และภาคอุตสาหกรรม Industrial Sector ได้อย่างยอดเยี่ยมเฉียบขาด ..หม้อไอน้ำ และเครื่องทำความร้อนที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน Hydrogen-Powered Boilers & Heaters เสนอทางเลือกใหม่สำหรับแหล่งพลังงานสะอาดคาร์บอนต่ำแทนที่ก๊าซธรรมชาติ Low-Carbon Alternative to Natural Gas และช่วยลดการปล่อยมลพิษจากระบบทำความร้อน Reduce Emissions from Heating Systems .. การใช้งานนี้มีความเกี่ยวข้องโดยเฉพาะในประเทศที่มีภูมิอากาศหนาวเย็น ซึ่งมีความต้องการความร้อนสูง..
นอกจากที่กล่าวถึงแล้ว การผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuels Production ซึ่ง ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 คือส่วนผสมสำคัญในการผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuelsสามารถนำไปใช้ในแอปพลิเคชันต่างๆรวมถึงการขนส่ง Transportation และกระบวนการอุตสาหกรรม Industrial Processes .. ด้วยการผนวกรวมไฮโดรเจนเข้ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดักจับได้ By Combining Hydrogen with Captured CO2 ส่งผลให้เชื้อเพลิงสังเคราะห์ Synthetic Fuels สามารถเป็นทางเลือกที่เป็นกลางทางคาร์บอนสำหรับเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบเดิมได้โดยการรวมไฮโดรเจน Hydrogen : H2 เข้ากับคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่ดักจับได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตของพลังงานที่ยั่งยืน Transition to a Sustainable Energy Future ..
สำหรับการขนส่งทางทะเล Maritime Transportนั้น ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ถูกนำมาใช้ในการสาธิตการเดินทะเลเพื่อขับเคลื่อนเรือขนาดต่างๆ และคาดหวังว่า ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 จะเป็นทางเลือกที่ยั่งยืนสำหรับทด แทนน้ำมันเชื้อเพลิงหนักที่ใช้กันทั่วไปแบบดั้งเดิมในอุตสาหกรรมการเดินเรือ Heavy Fuel Oils Traditionally Used in the Maritime Industry .. เชื้อเพลิงสังเคราะห์Synthetic Fuels หรือที่เรียกกันว่า e-Fuels เช่น อีเมทานอล e-Methanol : CH3OH และอีแอมโมเนีย e-Ammonia : NH3 ซึ่งผลิตขึ้นโดยใช้ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 กำลังได้รับความนิยมในฐานะเชื้อเพลิงที่สะอาดกว่าสำหรับการขนส่งทางทะเล Cleaner Fuels for Shipping ..
การใช้งานเหล่านี้ เน้นย้ำถึงศักยภาพในการเปลี่ยนผ่านของไฮโดรเจนสีเขียว Transformative Potential of Green Hydrogen : H2 ในหลายภาคส่วน Multiple Sectors .. การเข้าไปแทนที่เชื้อเพลิงแบบดั้งเดิมด้วยไฮโดรเจนที่สะอาดสีเขียวReplacing Traditional Fuels with Clean & Green Hydrogen : H2 ช่วยให้ภาคอุตสาหกรรมลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนได้เป็นอย่างมาก Significantly Reduce their Carbon Footprint และมีส่วนสนับสนุนความพยายามในการลดการปล่อยคาร์บอนทั่วโลก Global Decarbonization Efforts ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
คาดการณ์ตลาดการผลิตไฮโดรเจน และไฮโดรเจนสีเขียวทั่วโลก Global Hydrogen Generation & Green Hydrogen Market ..
ภาพรวมมูลค่าในตลาดการผลิตไฮโดรเจนทั่วโลก Global Hydrogen Generation Market ทั้งที่เป็นการผลิตไฮโดรเจนซึ่งผลิตขึ้นจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Hydrogen : H2 from Fossil Fuels และรวมถึงการผลิตไฮ โดรเจนที่มีการปล่อยมลพิษต่ำLow-Emissions Hydrogen : H2 หรือไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 นั้น พบว่ามีมูลค่าประมาณ 170,140 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566 ทั้งนี้ อัตราการเติบโตต่อปี อยู่ที่ค่า CAGR 9.3% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2567-2573 ..
ความต้องการเชื้อเพลิงที่สะอาดขึ้น และกฎระเบียบของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นสำหรับการกำจัดซัลเฟอร์ออกไปจากผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม Desulphurization of Petroleum Products คือแรงผลักสำคัญสำหรับความต้องการไฮโดรเจน Hydrogen : H2 on Demand ในตลาด .. ไฮโดรเจนHydrogen : H2 เป็นพาหะพลังงาน Energy Carrier ที่มีประสิทธิภาพ และคุณลักษณะนี้ คาดว่าจะมีส่วนสำคัญในการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ มากขึ้น คาดว่าความต้องการกำลังไฟฟ้าทั่วโลก Global Electricity Demand จะเพิ่มขึ้นเกือบ 2 ใน 3 ของความต้องการปัจจุบันในช่วงที่คาดการณ์คาดหมายได้ว่าจะมีการเน้นไปที่โครงการที่เกี่ยวข้องกับไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2, แหล่งพลังงานรูปแบบกระจายแยกย่อย และระบบสาธารณูปโภค Distributed Power & UtilitySystems เพื่อกระตุ้นการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมไปพร้อมด้วย ..
อย่างไรก็ตาม ในประเด็นเฉพาะตลาดไฮโดรเจนสีเขียวทั่วโลก Global Green Hydrogen Marketซึ่งกำลังเติบโตอย่างมาก ในปี 2567 โดยอ้างอิงข้อมูลจาก Grand View Research พบว่า มูลค่าขนาดธุรกิจในตลาดไฮโดรเจนสีเขียวทั่วโลก Global Green Hydrogen Market อยู่ที่ประมาณ 7.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2567 และคาดว่าจะมีมูลค่ามากกว่า 165.84 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2576 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสาหรับตลาดไฮโดรเจนสีเขียวทั่วโลก Global Green Hydrogen Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุดรวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 38.5% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2568-2576 ..
ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 ผลิตขึ้นโดยการอิเล็กโทรไลซิสของน้ำ Electrolysis of Water ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งผลิตขึ้นจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน เช่น พลังงานลม หรือพลังงานแสงอาทิตย์ Wind or Solar Energy รวมถึงไฮโดรเจนสีเขียวที่ได้จากการย่อยสลายชีวมวลด้วยความร้อน หรือการปฏิรูปไบโอมีเทน Green Hydrogen : H2 from Thermolysis of Biomass or Reforming of Biomethane ได้รับการคาดหมายว่า นโยบายภาครัฐในหลายประเทศที่เอื้ออำนวยในการผลักดันเศรษฐกิจไฮโดรเจน Hydrogen Economy ควบคู่ไปกับความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการปล่อยคาร์บอนที่เพิ่มขึ้นจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล จะเป็นแรงผลักดันความต้องการเศรษฐกิจไฮโดรเจน Demand for Hydrogen Economy ..
คาดหมายได้ต่อไปอีกว่า แนวโน้มนี้จะก่อให้เกิดการเติบโตที่เป็นไปได้ด้วยความเร่งสำหรับตลาดในช่วงระยะเวลาคาดการณ์ และคาดว่า ภายในปี 2573 การใช้งานไฮโดรเจนสีเขียวทั่วโลก Global Green Hydrogen : H2 Deployment จะสูงแตะระดับถึง 150 GW หรือประมาณ 63,750 ตันต่อวัน Tons per Day .. การเติบโตนี้ ขับเคลื่อนโดยบรรทัดฐานการปล่อยมลพิษที่เข้มงวด Stringent Emission Norms, การลงทุนที่เพิ่มขึ้นในโครงสร้างพื้นฐานพลังงานหมุนเวียน Increasing Investments in Renewable Energy Infrastructure และความต้องการพลังงานสะอาดทางเลือกที่เพิ่มขึ้น Rising Demand for Clean Energy Alternatives นั่นเอง ..
ตลาดไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen Marketกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว ซึ่งขับเคลื่อนโดยปัจจัยสำคัญหลายประการ โดยเฉพาะแรงผลักดันจากทั่วโลกในการลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งส่งผลให้รัฐบาลในหลายประเทศสนับสนุน และลงทุนในเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน และโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการผลิตไฮโดรเจนสีเขียว Infrastructure for Green Hydrogen Productionมากขึ้น ..
ตลาดไฮโดรเจนสีเขียว Market for Green Hydrogen : H2 คือโอกาสสำคัญที่เกิดจากความคิดริเริ่มระดับโลกที่มุ่งเป้าหมายไปที่การปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ ส่งผลให้ประเทศต่างๆ วางแผนงานที่จะลงทุนด้านการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวมากขึ้นเรื่อยๆ ในฐานะโซลูชันข้อไขพลังงานสะอาด ตัวอย่างเช่น อินเดีย India ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำในภาคส่วนนี้ โดยตั้งเป้าที่จะผลิตได้ 5 ล้านเมตริกตันต่อปี ภายในปี 2573 โดยได้รับการสนับสนุนจากเงินทุน และแรงจูงใจจากรัฐบาลเป็นจำนวนมาก เป็นต้น ..
อย่างไรก็ตาม ตลาดไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen Market นี้ เผชิญกับข้อจำกัดสำคัญหลายประการที่อาจขัดขวางการเติบโตโดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของราคา .. ต้นทุนการผลิตที่สูงยังคงเป็นความท้าทายหลัก เนื่องจากวิธีการปัจจุบัน โดยเฉพาะอิเล็กโทรไลซิส Electrolysis มีราคาแพงกว่าการผลิตไฮโดรเจนแบบดั้งเดิมมากโดยมีต้นทุน ประมาณ 10.3 เหรียญสหรัฐฯต่อกิโลกรัม เมื่อเทียบกับวิธีการผลิตไฮโดรเจนจากเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งอยู่ที่เพียง 1.5-2.3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม ..
ในมุมมองการใช้งาน Based on Application นั้น กลุ่มการขนส่ง Transport Segment ครองส่วนแบ่งตลาดด้วยส่วนแบ่งรายได้สูงสุดที่ 43.39% ในปี2567 .. ในด้านการขนส่ง ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 สามารถใช้ในเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cells หรือเครื่องยนต์สันดาปภายใน Internal Combustion Engines : ICEs .. เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจนHydrogen Fuel Cells ให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานมากกว่าเครื่องยนต์สันดาปภายในที่ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเบนซิน Internal Combustion Engine Fueled by Gasoline ถึง 2-3 เท่า ด้วยกำลังขับที่ไม่แพ้กัน แต่การเผาไหม้ไฮโดรเจนในเครื่องยนต์สันดาปภายใน ส่งผลให้เกิดการปล่อยไนโตรเจนออกไซด์ Nitrogen Oxide : NOX Emissions และมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการใช้ในเซลล์เชื้อเพลิง Being Used in Fuel Cells .. ในปี 2563 บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของยุโรป เช่น CNH, Daimler, DAF, Ford, MAN, Scania และ Volvo ได้ประกาศแผนที่จะเปลี่ยนกองยานรถบรรทุกของตนให้ใช้พลังงานไฮโดรเจน Their Truck Fleets to Hydrogen Power ภายในปี 2583.. นอกจากนี้ แอร์บัส Airbus ยังออกแบบเครื่องบินที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน และวางแผนที่จะทำการบินเชิงพาณิชย์ ภายในปี 2578 ..
สรุปส่งท้าย ..
แนวโน้มในอนาคตของไฮโดรเจน Status & Future Prospects of Hydrogen : H2 ในห้วงเวลาจากนี้ไป คาดว่า ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 กำลังก้าวขึ้นมาเป็นโซลูชันข้อไขสำคัญสำหรับการลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมหลักหลายแห่งเช่น ยานพาหนะสำหรับงานหนัก Heavy-Duty Mobility, การผลิตแอม โมเนีย Ammonia : NH3Production และการผลิตเหล็กกล้า Steel Manufacturing .. พวกมัน นำเสนอทางเลือกที่สะอาด และยั่งยืน แทนที่เชื้อเพลิงฟอสซิล Clean& Sustainable Alternative to Fossil Fuels .. ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 มีบทบาทสำคัญในการผลักดันระดับโลกสำหรับการลดการปล่อยคาร์บอน Reducing Carbon Emissionsและบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน Achieving Sustainability Goals ได้อย่างเฉียบขาดไร้ข้อสงสัย ..
การลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมหลักDecarbonizing Major Industries และการขับเคลื่อนเพื่อการใช้งานหนัก Heavy-Duty Mobility นั้น ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 ถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนยานยนต์สำหรับงานหนัก เช่น รถประจำทาง Buses,รถบรรทุก Trucks และรถไฟ Trains .. เซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน Hydrogen Fuel Cells คือทางเลือกที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์แทนที่เครื่องยนต์ดีเซล Zero-Emission Alternative to Diesel Engines ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของมลพิษทางอากาศ และก๊าซเรือนกระจก .. เมืองต่างๆ ในยุโรป Europe และอเมริกาเหนือ North Americaกำลังนำระบบขนส่งสาธารณะที่ขับเคลื่อนด้วยเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน Hydrogen Fuel Cell-Powered Public Transportation มาใช้เพื่อลดมลพิษในเมือง และปรับปรุงคุณภาพอากาศ ..
การผลิตแอมโมเนีย Ammonia : NH3 Productionคือ อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ Chemical Industry ที่ถือว่าเป็นอีกภาคส่วนสำคัญที่ได้รับประโยชน์จากไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 .. กระบวนการผลิตแอมโมเนียแบบดั้งเดิม Traditional Ammonia Production Processes นั้นใช้ปริมาณคาร์บอนสูง แต่การใช้ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เป็นอย่างมาก .. แอมโมเนียสีเขียว Green Ammonia : NH3 ผลิตขึ้นโดยใช้ไฮโดรเจนที่ได้จากแหล่งพลังงานหมุนเวียนHydrogen Derived from Renewable Energy Sources ซึ่งช่วยลดปริมาณการปล่อยคาร์บอนโดยรวมของอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ Reducing the Overall Carbon Footprint of the Chemical Industry ..
ในอุตสาหกรรมเหล็กกล้า Steel Industry ก็มีลักษณะเดียวกัน ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ถูกนำมาใช้ในกระบวนการลดปริมาณคาร์บอนโดยตรงDirect Reduced Iron : DRI แทนที่วิธีการแบบดั้งเดิมที่ใช้คาร์บอนเข้มข้น ..การเปลี่ยนแปลงนี้สามารถลดการปล่อยคาร์บอนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเหล็กกล้าได้อย่างมาก ทำให้ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 กลายเป็นทางเลือกที่สะอาดกว่า Cleaner Alternative และผู้ผลิตเหล็กกล้า Steel Manufacturers ชั้นนำหลายรายกำลังมุ่งลงทุนในกระบวนการ Hydrogen-Based DRI Processes ที่ใช้ไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดปริมาณคาร์บอนของพวกเขา Their Decarbonization Targets ..
คาดหมายได้ว่า ขนาดธุรกิจในตลาดของภาคส่วนไฮโดรเจนที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ เพิ่มขึ้นจาก 1.4 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปัจจุบันเป็น 12 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 เทียบเท่ากับการใช้จ่ายด้านพลังงานลมนอกชายฝั่งในยุโรปในปี 2565 ..
ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 คือตัวนำพาพลังงานสารพัดประโยชน์ Versatile Energy Carrier ซึ่งสามารถช่วยรับมือกับความท้าทายด้านพลังงานที่สำคัญต่างๆ ได้ .. ไฮโดรเจนสะอาดสีเขียวClean & Green Hydrogen : H2 ที่ผลิตด้วยพลังงานหมุนเวียน พลังงานทางเลือก และพลังงานทดแทน Renewables, จากชีวมวล Biomass หรือพลังงานนิวเคลียร์ Nuclear Energy หรือแม้แต่ไฮโดรเจนจากเชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีการใช้ระบบดักจับคาร์บอน Hydrogen from Fossil Fuels Using Carbon Capture System สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในภาคส่วนต่างๆ ได้ รวมถึงการขนส่งระยะไกล Long-Haul Transport, เคมีภัณฑ์ Chemicals, อุตสาหกรรมเหล็ก และเหล็กกล้า Iron & Steel Industry ซึ่งเป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่า การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนนี้ ทำได้ยาก ..
อย่างไรก็ตาม ยานพาหนะที่ใช้พลังงานไฮโดรเจนHydrogen-Powered Vehicles จะช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศ Improve Air Quality และส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน Promote Energy Security ได้อย่างยอดเยี่ยม .. ไฮโดรเจนสีเขียวGreen Hydrogen : H2 ยังสามารถรองรับการบูรณาการพลังงานหมุนเวียนแบบแปรผัน Integration of Variable Renewables ในระบบกำลังไฟฟ้า Electricity System ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่ทางเลือกในระบบจัดเก็บพลังงาน Energy Storage System ซึ่งสามารถสำรองพลังงานระยะยาวไว้ได้เป็นเวลาหลายวัน สัปดาห์ หรือหลายเดือนมาพร้อมด้วย ..
สำหรับประเทศไทย ในฐานะประเทศเกษตรกรรมชั้นนำของโลกนั้น การผลิตไฮโดรเจนสีเขียวGreen Hydrogen : H2 Production จากแหล่งน้ำที่มีอยู่อย่างมากมายทั่วประเทศด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy และการผลิตไฮโดรเจนจากชีวมวล และก๊าซชีวภาพ Hydrogen Production from Biomass & Biogas น่าจะมีความเหมาะสมที่สุด เมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานทางเลือก และพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เนื่องจากความพร้อมของแสงแดด และแหล่งน้ำขนาดต่างๆ รวมทั้งวัสดุสารชีวมวล Biomass ที่เป็นพืช สาหร่าย และขยะอินทรีย์ Organic Waste เหลือทิ้งจากภาคการเกษตรของไทยที่มีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์มากมายกระจายกันอยู่ทั่วประเทศ เนื่องเพราะมันสะอาดกว่ามาก และให้ประสิทธิภาพการจัดการขยะอินทรีย์เหลือทิ้ง รวมทั้งสามารถให้กำลังการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลัง งานหมุนเวียนRenewable Energy Sources เพื่อใช้แยกน้ำสำหรับการผลิตก๊าซไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 Gas ได้เหนือชั้นกว่า ..
หมายถึงการเติบโตขึ้นอย่างมั่นคงของตลาดไฮโดรเจนHydrogen Market และตลาดรถยนต์ไฟฟ้าไฮโดรเจนเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cell Electric Vehicles : FCEVs ทั้งในภาคการผลิต และการใช้งานภายในประเทศไทยนั้น มีแนวโน้มเป็นไปได้สูง ด้วยเงื่อนไขเดียว คือ การผลิตไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 และการผลิตไฮโดรเจนเซลล์เชื้อเพลิง Hydrogen Fuel Cells ที่ใช้ติดตั้งบนตัวยานยนต์ไฟฟ้า จะต้องให้เกิดขึ้นในประเทศ ..
ทั้งนี้ ทิศทางการใช้พลังงานของประชาคมโลกในอนาคตนั้น เมื่อระบบจัดเก็บไฮโดรเจน Hydrogen Storage มีมาตรฐานความปลอดภัยเพียงพอแล้วกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับการส่งจ่ายก๊าซไฮโดรเจนผ่านโครงข่ายระบบท่อ Energy Gas Grids โดยตรงเข้าสู่ครัวเรือน ที่อยู่อาศัยสถานที่ทำงาน หรือโรงงานอุตสาหกรรม อีกทั้งการจัดวางสถานีไฮโดรเจน Hydrogen Stations และการติดตั้งเซลล์เชื้อเพลิง Fuel Cells ไว้อย่างกว้างขวางตามบ้านเรือน อาคารสูง ชุมชน เมืองหมู่บ้าน หรือพื้นที่ห่างไกล รวมทั้งจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าที่เป็น Battery Electric Vehicles : BEVs และHydrogen Fuel Cell Vehicles : FCEVs ที่เพิ่มขึ้นมากมายบนท้องถนน จะกลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาในทุกหนทุกแห่งทั่วโลก และนั่นคือสัญญาณการมาถึงของเศรษฐกิจ และสังคมไฮโดรเจน Hydrogen Society & Hydrogen Economy นั่นเอง ซึ่งหมายถึงความเป็นอิสระทางพลังงานที่ส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจ และสังคมของมนุษยชาติ จะไม่ถูกผูกขาดโดยเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels จากแหล่งพลังงานที่เป็นน้ำมันดิบลึกลงไปใต้เปลือกโลก ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน รวมทั้ง Shale Gas & Oil จากหินภูเขา เช่นในปัจจุบันอีกต่อไป ..
อ้างถึงข้อมูลจากสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA คาดหมายไว้ว่า ต้นทุนสำหรับอิเล็กโทรไลเซอร์ Costs for Electrolyzers อาจลดลงได้อีกประมาณ 70 %ภายในปี 2573 เมื่อเทียบกับปัจจุบัน และเมื่อผนวกรวมกับการลดลงของต้นทุนพลังงานหมุนเวียน Cost of Renewable Energy ที่คาดไว้สิ่งเหล่านี้จะทำให้ต้นทุนของไฮโดรเจนจากพลังงานหมุนเวียน Cost of Renewable-Based Hydrogen ในภาพรวม ลดลงไปอยู่ในช่วงระหว่าง 1.3-4.5 เหรียญสหรัฐฯ/กิโลกรัม H2 เทียบเท่ากับ39-135 เหรียญสหรัฐฯ/ MWh ..
ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 ไม่เป็นพิษ ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น .. พลังงานจำเพาะของก๊าซไฮโดรเจนSpecific Energy of Hydrogen Gas นั้น คือพลังงานที่กักเก็บไว้พร้อมจะปลดปล่อยออกมาต่อน้ำหนัก อยู่ที่ 142 MJ/Kg หรือ 39.44 KWh/Kg ซึ่งถือเป็นเชื้อเพลิงที่มีระดับพลังงานจำเพาะSpecific Energy สูงที่สุดในบรรดาเชื้อเพลิง และอุปกรณ์จ่ายพลังงานที่ใช้งานได้จริงทั้งหมด … ระดับพลังงานจำเพาะของก๊าซไฮโดรเจนHydrogen Gas Specific Energy นั้น มากกว่า 3เท่าของพลังงานจำเพาะน้ำมันเบนซิน คือ 46 MJ/Kg หรือ 12.78 KWh/Kg และมากกว่า 236 เท่าของพลังงานจำเพาะแบตเตอรี่ลิเธี่ยม คือประมาณเพียง 0.6 MJ/kg หรือเท่ากับ 166 Wh/Kg เท่านั้น ..
ตลาดไฮโดรเจนสีเขียวเกิดใหม่ Emerging Green Hydrogen Markets ต้องการแหล่งเชื้อเพลิง Green Hydrogen : H2 ราคาถูก และยั่งยืนเพิ่มขึ้นอีกอย่างมากมายเป็นหลายเท่าทวีคูณ ซึ่งหมายถึงโอกาสสำคัญทางธุรกิจเชิงพาณิชย์สำหรับประเทศที่ร่ำรวยด้านพลังงานสะอาด เช่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เป็นต้น .. ทั้ง 2 ชาติคือตัวอย่างความร่วมมือระหว่างประเทศในการสำรวจว่า ปริมาณสำรองส่วนเหลือเกินของพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy, พลังงานลมWind Energy และพลังน้ำ Hydropower จะสามารถส่งออกเป็นไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen: H2 เพื่อตอบสนองความต้องการไฮโดรเจน Hydrogen : H2 on Demand ให้เพียงพอได้อย่างไร .. การใช้ไฮโดรเจน Hydrogen : H2สำหรับการขนส่งทางถนน ทางรถไฟ และทางทะเล รวมทั้งการผลิตกำลังไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาดทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อาจมีส่วนสำคัญในการขจัดคาร์บอนออกไปอย่างเด็ดขาดจากภาคส่วนนี้ ..
ความต้องการไฮโดรเจน Hydrogen : H2 on Demand ที่เพิ่มขึ้น พร้อมกับระบบการขนส่งเคลื่อนย้ายไฮโดรเจนที่มั่นคงปลอดภัยภายในประเทศ หรือระหว่างชาติในเอเชียแปซิฟิก จะช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหินจากต่างประเทศ หรือนอกภูมิภาค .. ทั้งนี้การบุกยูเครนของรัสเซีย ได้แสดงให้เห็นแล้วว่าการพึ่งพาพลังงานจากนอกประเทศไกลออกไป มีความเสี่ยงอย่างยิ่งต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละประเทศทั่วโลก ซึ่งทำให้นานาชาติตระหนักได้ว่า พลังงานไฮโดรเจน Hydrogen Energy กลายเป็นข้อไขที่เฉียบขาดไปสู่ความเป็นอิสระ และความมั่นคงทางพลังงานของแต่ละชาติในประชาคมโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วยสำหรับอนาคตอันใกล้นี้ได้เป็นอย่างดีไม่มีข้อสงสัย ..
……………………………………..
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Hydrogen Economy | Wikipedia :-
https://en.wikipedia.org/wiki/Hydrogen_economy
Global Hydrogen Review 2024 | IEA :-
https://www.iea.org/reports/global-hydrogen-review-2024
The Rise of Green Hydrogen: Stats, Trends, and Future Projections | Plugpower :-
Green Hydrogen Market Size & Trends | Grand View Research :-
Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-
https://photos.app.goo.gl/Qnj3eGJobkzRHx7a9
Hydrogen Economy | Hydrogen as the Nature’s Fuel | Album :-
https://goo.gl/photos/JxzFyxD8PVCeSK9k8
……