“…..รัฐบาลของแต่ละชาติ ต้องร่วมมือกันประสานความมุ่งมั่นในการสร้างตลาดที่มีประสิทธิภาพWell-Functioning Markets และการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดที่คุ้มค่ากับการลงทุน Cost-Effective Clean Energy Transitions ..
พลังงานสะอาด Clean Energy คือ พลังงานที่มาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ Zero Emission Sources และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อชั้นบรรยากาศเมื่อใช้งาน Do Not Pollute the Atmosphere When Used รวมถึงพลังงานที่ประหยัดได้จากมาตรการการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ Energy Saved by Energy Efficiency Measures ..
พลังงานสะอาด Clean Energy และแหล่งพลังงานสีเขียว หรือพลังงานหมุนเวียน Green or Renewable Energy Sources นั้น มีความคล้ายคลึงกันในระดับหนึ่ง แต่ก็อาจจะไม่ได้เหมือนกันเสียทีเดียว เพื่อที่จะเข้าใจความแตกต่างนี้ เราควรทำความเข้าใจก่อนว่า ความหมายที่แท้จริงของพวกมัน คืออะไร ..
โดยทั่วไปนั้น พลังงานสะอาด Clean Energy หมายถึง พลังงานที่ได้จากแหล่งที่ไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศ Energy Gained from Sources that Do not Release Air Pollutants ในขณะที่พลังงานสีเขียว Green Energy คือพลังงานที่ได้จากแหล่งธรรมชาติ Energy Derived from Natural Sources.. ทั้ง 2 ประเภทพลังงานนี้ มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย แม้ว่าจะมักถูกกล่าวว่า เป็นประเภทเดียวกันก็ตาม ..
![](https://thekey.news/wp-content/uploads/2025/02/IMG_5694-1024x496.jpg)
ทั้งนี้ พลังงานหมุนเวียน Renewable Energy คือพลังงาน หรือกำลังไฟฟ้าที่ผลิตได้จากแหล่งพลังงานที่มีการเติมเต็มอย่างต่อเนื่อง Power Generated from Sources that are Constantly Being Replenished .. แหล่งพลังงานหมุนเวียนเหล่านี้ จะไม่หมดลง ซึ่งแตกต่างจากเชื้อเพลิงฟอสซิล และก๊าซ Fossil Fuels & Gas และพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy นั้น หมายรวมถึงพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์Wind & Solar Energy มาพร้อมด้วย ..
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าแหล่งพลังงานสีเขียว Green Energy Sources ส่วนใหญ่ จะเป็นพลังงานหมุนเวียน Renewables แต่แหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources ก็มิได้ถูกมองว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวด ล้อมไปเสียทั้งหมดตัวอย่างเช่น พลังงานน้ำ Hydropower เป็นทรัพยากรหมุนเวียน แต่บางคนอาจโต้แย้งว่าไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการตัดไม้ทำลายป่า และการสร้างอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเขื่อนกั้นน้ำนั้นอาจสร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมได้ เป็นต้น ..
การผสมผสานพลังงานสะอาดที่สมบูรณ์แบบ Perfect Clean Energy Mix จะเกิดขึ้นเมื่อพลังงานสีเขียวมาบรรจบกับพลังงานหมุนเวียนGreen Energy Meets Renewable Energy เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy และพลังงานลม Wind Energy ..
วิธีง่ายๆ ในการจดจำความแตกต่างระหว่างประเภทพลังงานต่างๆ เหล่านี้ ได้แก่ พลังงานสะอาด ทำให้อากาศสะอาด Clean Energy to Make Clean Air, พลังงานสีเขียว ผลิตขึ้นจากแหล่งธรรมชาติ Green Energy Come from Natural sources และพลังงานหมุนเวียน คือแหล่งพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ Renewable Energy Come from Recyclable Sources นั่นเอง ..
![](https://thekey.news/wp-content/uploads/2025/02/IMG_5695-1024x547.jpg)
พลังงานสะอาด Clean Energy ทำงานโดยการผลิตพลังงานไฟฟ้าโดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม Negative Environmental Impactsและไม่ปล่อยคายก๊าซเรือนกระจก No Greenhouse Gases Emission เช่นคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ..พลังงานสะอาดจำนวนมาก Lot of Clean Energy ยังเป็นพลังงานหมุนเวียน Renewables มาพร้อมด้วย เช่น พลังงานลม Wind Power, ทรัพยากรน้ำบางส่วน Some Hydro Resources และการผลิตกำลังไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Powered Energy Generation เป็นต้น ..
ประเด็นที่สำคัญที่สุดของพลังงานสะอาด Most Important Aspect of Clean Energy คือประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม Environmental Benefits ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอนาคตระบบพลังงานโลก Global Energy Future .. นอกจากทรัพยากรหมุนเวียนที่สะอาด Clean & Renewable Resources จะช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติของโลกได้แล้ว ยังช่วยลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อมไปพร้อมด้วย เช่น การรั่วไหลของเชื้อเพลิง Fuel Spills หรือปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการรั่วไหลของก๊าซธรรมชาติ Problems Associated with Natural Gas Leaks ด้วยการกระจายเชื้อเพลิงผ่านโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่ใช้แหล่งพลังงานที่แตกต่างกันทำให้สามารถสร้างแหล่งจ่ายพลังงานที่เชื่อถือได้เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงาน ทำให้มั่นใจได้ว่า จะมีพลังงานเพียงพอต่อความต้องการของมนุษยชาติ ..
เป็นที่แน่นอนว่า พลังงานสะอาด Clean Energyให้ประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจอย่างมากมาย รวมถึงการลดมลภาวะทางอากาศ .. แหล่งพลังงานสะอาดที่หลากหลายรูปแบบกระจาย Diverse Clean Energy Supply ยังช่วยลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงนำเข้า Reduces the Dependence on Imported Fuels และสามารถลดต้นทุนทางการเงิน และสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องได้อย่างยอดเยี่ยม ..
ยิ่งไปกว่านั้น พลังงานสะอาดหมุนเวียน Renewable Clean Energy ยังช่วยประหยัดต้นทุนได้อีกด้วย เนื่องจากไม่จำเป็นต้องขุดเจาะสกัด ทำเหมือง และขนส่งเชื้อเพลิงไปไกลลิบลิ่วอีกฟากหนึ่งของโลก เช่น น้ำมัน หรือถ่านหิน Oil or Coalเนื่องจากทรัพยากรพลังงานสะอาด Clean Energy Resources สามารถทดแทนตัวเองได้ตามธรรมชาติรวมทั้งมากกว่า 1 ใน 3 ของแหล่งพลังงานสะอาดหมุนเวียน Renewable Clean Energy Sources เป็นแหล่งทรัพยากรพลังงานรูปแบบกระจาย .. ทั้งนี้ ประโยชน์ด้านอุตสาหกรรมอื่นๆ ของการผสมผสานพลังงานสะอาดคือการสร้างงานที่เกี่ยวเนื่อง และตำแหน่งงาน เพื่อพัฒนา ผลิต และติดตั้งแหล่งพลังงานสะอาดแห่งอนาคต ด้วยอัตราการเติบโตในระบบเศรษฐกิจโลกจากนี้ไปนั้น สูงมากกว่าที่แหล่งพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลในอดีตจะไปถึงได้อีกด้วย ..
มุมมองด้านพลังงานสะอาด และเทคโนโลยีพลังงาน Clean Energy & Energy Technology Perspectives ปี 2567 ..
สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ชี้ว่า เศรษฐกิจพลังงานรูปแบบใหม่ New Energy Economy ที่กำลังเกิดขึ้นนำเสนอโอกาสสำคัญให้กับประเทศต่างๆ ที่ต้องการผลิตเทคโนโลยีสะอาด ส่วนประกอบ และวัสดุที่เกี่ยวข้อง แต่ยังนำเสนอการตัดสินใจที่ท้าทายสำหรับรัฐบาลของนานาประเทศ ซึ่งเผชิญกับความตึงเครียด และการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ตามนโยบายอุตสาหกรรม และการค้าที่พวกเขาเลือกใช้บนพื้นฐานของภูมิเศรษฐศาสตร์ที่เปลี่ยนไป ..
รัฐบาลของแต่ละชาติ ต้องร่วมมือกันประสานความมุ่งมั่นในการสร้างตลาดที่มีประสิทธิภาพWell-Functioning Markets และการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดที่คุ้มค่ากับการลงทุน Cost-Effective Clean Energy Transitions ..ในด้านหนึ่ง กับความจำเป็นในการสร้างห่วงโซ่อุปทานเทคโนโลยีสะอาดที่ปลอดภัย และยืดหยุ่นResilient Clean Technology Supply Chains ในอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจที่ยากลำบากในการเลือกอุตสาหกรรมที่จะสนับสนุน Choosing Which Industries to Support, วิธีจัดโครงสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า How to Structure Trading Relationships และจุดที่จะต้องให้ความสำคัญกับความพยายามด้านนวัตกรรมWhere to Prioritize Innovation Efforts ..
มูลค่าตลาดโลกสำหรับเทคโนโลยีพลังงานสะอาดที่ผลิตเป็นปริมาณมากแบบมวลรวมGlobal Market Value for the Key Six Mass – Manufactured Clean Energy Technologiesจำนวน 6 ประเภทหลัก ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์Solar PV, พลังงานลม Wind Energy, ยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs, แบตเตอรี่ Batteries, อิเล็กโทรไลเซอร์ Electrolysers และปั๊มความร้อน Heat Pumps เติบโตขึ้นเกือบ 4 เท่าระหว่างปี 2558-2566 ด้วยมูลค่าเกิน 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าก๊าซธรรมชาติทั้งหมดที่ผลิตได้ทั่วโลกในปีที่ผ่านมา ..
ทั้งนี้ การเติบโตเหล่านี้นั้น ขับเคลื่อนโดยการปรับใช้เทคโนโลยีสะอาดที่กระชากเพิ่มขึ้นSurging Clean Technology Deployment โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เทคโนโลยีสะอาดสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs, พลังงานแสงอาทิตย์ Solar PV และพลังงานลม Wind Energy .. ภายใต้การกำหนดนโยบายในปัจจุบัน ตลาดสำหรับเทคโนโลยีสะอาดทั่วโลก Global Clean Technology Market เหล่านี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่าภายในปี 2578 เป็นมากกว่า 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งใกล้เคียงกับมูลค่าเฉลี่ยของตลาดน้ำมันดิบโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ..
![](https://thekey.news/wp-content/uploads/2025/02/IMG_5696-1024x576.jpg)
การลงทุนทั่วโลกในการผลิตเทคโนโลยีสะอาด Global Investment in Clean Technology Manufacturingเพิ่มขึ้น 50% ในปี 2566 แตะที่235,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ .. การเพิ่มขึ้นนี้เท่ากับเกือบ 10% ของการเติบโตของการลงทุนในเศรษฐกิจโลกทั้งหมด Entire World Economy.. การลงทุนในการผลิตเทคโนโลยีสะอาด 4 ใน 5 ในปี 2566 ตกไปอยู่ที่การผลิต พลังงานแสงอาทิตย์ Solar PV และแบตเตอรี่ Batteries โดยโรงงานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า Electric Vehicles : EVs คิดเป็นอีก 15% ..
ปริมาณกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นนั้น เกินระดับการปรับใช้ในปัจจุบันไปอย่างสบาย ๆ แม้ว่าจะมีการยกเลิก และเลื่อนโครงการผลิตแผงโซลาร์เซลล์และแบตเตอรี่ Postponements of Solar PV & Battery Manufacturing Projects บางส่วนในช่วงไม่นานมานี้ แต่การลงทุนในโรงงานผลิตเทคโนโลยีสะอาด Investment in Clean Technology Manufacturing Facilities ก็ยังคงใกล้เคียงกับระดับสูงสุดเมื่อไม่นานนี้ ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2567 นี้ ..
เหล็กกล้า และอลูมิเนียม Steel & Aluminium คือวัตถุดิบโดยตรงสำหรับการผลิตเทคโนโลยีสะอาด รวมถึงสำหรับอาคาร ยานพาหนะ และโรงไฟฟ้าที่นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้ ในขณะเดียวกัน แอมโมเนีย Ammonia: NH3 ส่วนใหญ่ใช้ในการผลิตปุ๋ย Fertilizers และการนำพวกมันไปใช้งานใหม่โดยใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคการขนส่งทางทะเล และภาคการผลิตกำลังไฟฟ้าEmerging Applications as a Fuel in the Shipping & Power Sectors ..
การแข่งขันเพื่อนำเทคโนโลยีที่สำคัญในการผลิตเหล็กกล้า Steel, อลูมิเนียม Aluminium และแอมโมเนีย Ammonia : NH3 ออกสู่ตลาดโดยปล่อยมลพิษเกือบเป็นศูนย์กำลังดำเนินอยู่ .. การใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ ต้องใช้เงินลงทุนเฉลี่ยมากกว่า 80,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี จนถึงปี2593 ในสถานการณ์ที่สอดคล้องกับการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ ภายในปีเดียวกัน .. อย่างไรก็ตาม ตลาดที่มีศักยภาพนั้นใหญ่กว่ามากภายในปี 2593 ตลาดดังกล่าวจะมีมูลค่าประมาณ 1.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจะเข้ามาแทนที่ตลาดที่มีอยู่สำหรับวัสดุเหล่านี้จำนวนมาก ภายใต้การกำหนดนโยบายในปัจจุบัน ตลาดวัสดุที่ปล่อยมลพิษเกือบเป็นศูนย์ Market for Near-Zero Emissions Materials นั้น จะมีขนาดใหญ่เกินกว่าตลาดปัจจุบันของโมดูลพลังงานแสงอาทิตย์ Solar PV Modules ภายในปี 2578 ..
ทั้งนี้ ภาพรวมมูลค่าการค้าเทคโนโลยีสะอาด Value of Trade in Clean Technologies อยู่ที่ประมาณ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นเกือบ 30% ของมูลค่าตลาดโลก Global Market Value .. องค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุด คือการค้ารถยนต์ไฟฟ้า Trade in Electric Cars ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า นับตั้งแต่ปี 2563 โดยมีมูลค่าประมาณ 1 ใน 5 ของการค้ารถยนต์ทั้งหมด ในปี2566 .. ในขณะที่ พลังงานแสงอาทิตย์ Solar PVอยู่ในอันดับที่สอง ภายใต้การกำหนดนโยบายในปัจจุบัน .. การค้าเทคโนโลยีสะอาดโดยรวมOverall Clean Technology Trade มีแนวโน้มที่จะสูงถึง 575,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 ซึ่งมากกว่ามูลค่าประมาณ 50% ของการค้าก๊าซธรรมชาติของโลก Value of Global Trade in Natural Gas ใน ปัจจุบัน ..
ไฮโดรเจน Hydrogen : H2 คืออีกหนึ่งประเภทของแหล่งพลังงานสะอาดสีเขียว Clean & Green Energy Sources ซึ่งกำลังทะยานเข้ามาในตลาดพลังงานโลกอย่างร้อนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในปี 2567..การผลิตไฮโดรเจนที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ Low-Emission Hydrogen Production สามารถเติบโตได้อย่างมหาศาลภายในปี 2573 แต่ความท้าทายด้านต้นทุน Cost Challenges คือ ประเด็นสำคัญ ..
จำนวนโครงการในระดับนานาชาติที่ประกาศไว้สำหรับการผลิตไฮโดรเจนปล่อยคาร์บอนต่ำ Low-Carbon Emission Hydrogen Production กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว .. การผลิตไฮโดรเจนที่ปล่อยคาร์บอนต่ำต่อปี Annual Production of Low-Carbon Emission Hydrogen : H2 อาจสูงถึง 38 ล้านตัน ในปี 2573 หากโครงการที่ประกาศไว้ทั้งหมดบรรลุผลสำเร็จ .. แม้ว่าไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen : H2 ปริมาณ17 ล้านตันจะมาจากโครงการในช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาก็ตาม ศักยภาพกำลังการผลิตภายในปี 2573 จากโครงการที่ประกาศจนถึงปัจจุบันนั้นมากกว่า 50% อยู่ระหว่างดำเนินการในช่วงเวลาที่มีการเผยแพร่ ในรายงาน Global Hydrogen Review 2022 ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency: IEA เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา ..
การใช้ไฮโดรเจนทั่วโลก Global Hydrogen Use แตะระดับสูงถึง 95 ล้านตัน ในปี 2565 เพิ่มขึ้นเกือบ 3% เมื่อเทียบเป็นรายปี โดยมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในภูมิภาคที่มีการบริโภคหลักๆ ทั้งหมด ยกเว้นยุโรป ซึ่งได้รับผลกระทบจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรมเนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว .. การเติบโตทั่วโลกนี้ ไม่ได้สะท้อนถึงความสำเร็จของความพยายามเชิงนโยบายในการขยายการใช้ไฮโดรเจน แต่เชื่อมโยงกับแนวโน้มพลังงานโดยรวมทั่วโลก ..
หลังจากเริ่มต้นอย่างช้าๆ จีน China ก็กลายเป็นผู้นำด้านการติดตั้งอิเล็กโตรไลเซอร์ Electrolyser Deployment ..ในปี 2563 ประเทศจีน China คิดเป็นสัดส่วนเพียงไม่ถึง 10% ของกำลังการผลิตอิเล็กโตรไลเซอร์ทั่วโลก Global Electrolyser Capacity ที่ติดตั้ง เพื่อการผลิตไฮโดรเจนHydrogen : H2 Production โดยเน้นไปที่โครงการสาธิตขนาดเล็ก Small Demonstration Projects แต่ในปี 2565 กำลังการผลิตติดตั้งในจีนเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 200 MW คิดเป็น 30% ของกำลังการผลิตอิเล็กโตรไลเซอร์ทั่วโลก Global Capacity ซึ่งรวมถึงโครงการอิเล็กโทรลิซิสที่ใหญ่ที่สุดในโลกขนาด 150 MW .. จนถึงสิ้นปี 2566 กำลังการผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ติดตั้งของจีน China’s Installed Electrolyser Capacity พุ่งสูงถึง 1.2 GW หรือ 50% ของกำลังการผลิตทั่วโลก Global Capacity โดยมีโครงการอิเล็กโทรไลซิสขนาดสถิติโลกใหม่อีกโครงการหนึ่งขนาด 260 MW ซึ่งเริ่มดำเนินการในปี 2567 นี้ .. ทั้งนี้ จีน China พร้อมที่จะตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการติดตั้งอิเล็กโตรไลเซอร์ Leading Position in Electrolyser Deployment โดยจีนมีสัดส่วนมากกว่า 40% ของโครงการอิเล็กโทรลิซิสElectrolysis Projects ที่เข้าถึงกองทุนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนา Fund for Innovation in Development : FID ทั่วโลก ..
![](https://thekey.news/wp-content/uploads/2025/02/IMG_5325.jpg)
ทั้งนี้ อิเล็กโทรไลเซอร์ Electrolyzers ซึ่งหมายถึงชุดอุปกรณ์ที่ใช้กำลังไฟฟ้าเพื่อแยกน้ำให้เป็นไฮโดรเจน Hydrogen : H2 และออกซิเจนOxygen : O2 ที่คาดว่าจะมีอัตราเติบโตเฉลี่ยต่อปีสูงอย่างยิ่ง อยู่ที่ค่า CAGR 63.9% ในช่วง 5 ปีจากนี้ไป จะส่งผลให้ความจุของ Electrolyzers ทั่วโลกพุ่งสูงแตะระดับมากกว่า 45 GW ในปี 2570 หมายถึง การผลิตไฮโดรเจนสีเขียว Green Hydrogen Production ในปริมาณมากเพียงพอสำหรับสร้างพลังงานอย่างน้อย 35% ของความต้องการพลังงานทั้งหมดทั่วโลก รวมถึงอย่างน้อย1 ใน 3 ของความต้องการพลังงานในภาคการเดินอากาศเชิงพาณิชย์ Energy Demand for Commercial Aviation Sector ด้วยราคาต้นทุนHydrogen & Hydrogen Storage Cost ที่ลดลงได้กว่า 2 เท่า หรือมากกว่า .. ดังนั้นการเร่งกระบวนการต่างๆ เพื่อมุ่งไปสู่การเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาด Clean Energy Transitions และเศรษฐกิจไฮโดรเจน Hydrogen Economy ให้บรรลุความสำเร็จสมบูรณ์ได้ใน 10 ปีเป้าหมายจากนี้ไปนั้น จึงเป็นไปได้แน่นอน และมิได้ไกลเกินเอื้อมแต่อย่างไร ..
บทบาทของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia’s Role ในระบบพลังงานโลก Global Energy System มีแนวโน้มเติบโตอย่างแข็งแกร่งในทศวรรษหน้า ..
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia มีแนวโน้มที่จะเป็นเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนการเติบโตของความต้องการพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในโลกWorld’s Largest Engines of Energy Demand Growth ในทศวรรษหน้า เนื่องจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว Rapid Economic, จำนวนประชากร Population และกำลังการผลิตที่ขยายตัวรวดเร็ว Rapid Manufacturing Expansions ส่งผลให้การบริโภคเพิ่มสูงขึ้น Drive up Consumption ตามรายงานฉบับใหม่ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ซึ่งสร้างความท้าทายต่อความมั่นคงด้านพลังงานของภูมิภาค Challenges for the Region’s Energy Security และความพยายามในการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศ Efforts to Achieve National Climate Goals ของแต่ละประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน ASEAN Countries ..
จากการกำหนดนโยบายของชาติกลุ่มประเทศอาเซียน ASEAN Countries ในปัจจุบัน พบว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia มีแนวโน้มที่จะคิดเป็น 25% ของการเติบโตของความต้องการพลังงานทั่วโลก Global Energy Demand Growth ตั้งแต่ปัจจุบันจนถึงปี 2573เป็นรองเพียงอินเดียเท่านั้น ในช่วงเวลาดังกล่าวและมากกว่าส่วนแบ่งการเติบโตของภูมิภาคนี้ถึง 2 เท่า ตั้งแต่ปี 2553 .. ภายในกลางศตวรรษนี้คำนวณได้ว่า ความต้องการพลังงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Energy Demand in Southeast Asia จะแซงหน้าสหภาพยุโรป European Union : EU ..
![](https://thekey.news/wp-content/uploads/2025/02/IMG_5698.jpg)
การเติบโตนำโดยภาคส่วนกำลังไฟฟ้าElectricity Sector .. รายงานคาดการณ์ว่า ความต้องการไฟฟ้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้Electricity Demand in Southeast Asia จะพุ่งสูงขึ้นในอัตรา 4% ต่อปี โดยการใช้เครื่องปรับอากาศที่เพิ่มขึ้น Growing Use of Air Conditioning ท่ามกลางคลื่นความร้อนที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น More Frequent Heatwaves ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น Increased Electricity Consumption ..
รายงานของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศInternational Energy Agency : IEA ระบุว่า แหล่งพลังงานสะอาด Clean Energy Sources เช่นพลังงานลม Wind Energy และพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Energy ควบคู่ไปกับพลังงานชีวมวล และพลังงานความร้อนใต้พิภพสมัยใหม่Modern Bioenergy & Geothermal คาดว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นได้มากกว่า 1 ใน 3 ในภูมิภาค ภายในปี 2573ซึ่งถือเป็นการก้าวไปอีกขั้นเมื่อเทียบกับในอดีตแต่ก็จะยังไม่เพียงพอที่จะควบคุมการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Carbon Dioxide : CO2 ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น 35% ระหว่างนี้จนถึงกลางศตวรรษ ..
เพื่อพลิกสถานการณ์นี้ จำเป็นต้องผลักดันอย่างหนัก เพื่อให้สอดคล้องกับผลลัพธ์ของการประชุม COP28 เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบรรลุเป้าหมายระดับชาติที่กำหนดไว้ในภูมิภาค ซึ่งทั้งหมดนี้หมายถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปัจจุบันลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2593 .. รายงานนี้ระบุว่า ปัจจุบันประเทศสมาชิก 10 ชาติของประชาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Association of Southeast Asian Nations หรือ อาเซียน ASEANซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก มี 8 ประเทศที่มีเป้าหมายการปล่อยมลพิษเป็นศูนย์สุทธิ Net Zero Emissions Goals ..
Fatih Birol กรรมการบริหารสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA Executive Director กล่าวไว้ว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ ภูมิภาคที่มีพลวัตทางเศรษฐกิจมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และคาดว่าจะคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 4 ของการเติบโตของความต้องการพลังงานทั่วโลก Growth in Global Energy Demand ในทศวรรษหน้า เนื่องจากประชากรความเจริญรุ่งเรือง และอุตสาหกรรมขยายตัว ..ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ มีแหล่งพลังงานที่หลากหลายรูปแบบกระจาย Diverse Mix of Energy Sources รวมถึงพลังงานหมุนเวียนที่มีการแข่งขันสูง Highly Competitive Renewables .. แต่เทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Energy Technologies นั้น ยังไม่ขยายตัวอย่างรวดเร็วเพียงพอ และการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างต่อเนื่อง Heavy Reliance on Fossil Fuel Imports ทำให้ประเทศต่างๆ มีความเสี่ยงในอนาคต Future Risks เป็นอย่างมาก” ..
อย่างไรก็ตาม เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia มีความก้าวหน้าอย่างมากในประเด็นต่างๆ เช่น การเข้าถึงพลังงาน Energy Access, การปรุงอาหารที่สะอาด Clean CookingและการพัฒนากำลังการผลิตพลังงานสะอาดDeveloping Clean Energy Manufacturing ที่น่าตื่นเต้น ซึ่งจากนี้ไป เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia จำเป็นต้องเพิ่มความพยายามในการนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Energy Technologies เหล่านี้ มาประยุกต์ใช้ในประเทศของแต่ละชาติให้มากขึ้นไปอีก เพื่อให้กระบวนเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition Process ไปสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนด์ Carbon Neutrality ในภูมิภาคนี้ เดินหน้าตามคำมั่นสัญญาต่อไปได้ .. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการลงทุน Access to Finance & Investmentสำหรับเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วของภูมิภาค จะมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน Strengthening their Energy Security และบรรลุเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Delivering on their Emissions Reduction Goals ให้สำเร็จได้ในที่สุด ..
การขยายการลงทุนในพลังงานสะอาด Scaling up Clean Energy Investments นั้น มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก Reduce GHG Emissions .. ณ ปัจจุบันภูมิภาคนี้ ดึงดูดการลงทุนในพลังงานสะอาด Clean Energy Investment เพียง 2% ของทั่วโลกทั้ง ๆ ที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia คิดเป็น 6 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมโลก Global GDP, 5% ของความต้องการพลังงานทั่วโลกGlobal Energy Demand และเป็นที่ตั้งของประชากรโลก World’s Population อยู่ที่ 9% ..ระดับการลงทุนในปัจจุบันสำหรับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia จำเป็นจะต้องเพิ่มขึ้นอีกถึง 5 เท่า โดยต้องใช้เงิน 190,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2573 เพื่อให้ภูมิภาคนี้ สามารถดำเนินไปบนเส้นทางที่สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายด้านพลังงาน และสภาพภูมิอากาศที่ประกาศไว้ได้ .. การขยายการลงทุนในพลังงานสะอาด Scaling up Clean Energy Investment นั้นต้องมาพร้อมกับกลยุทธ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงไฟฟ้าถ่านหินอายุน้อย Young Fleet of Coal-Fired Plants ในภูมิภาค ซึ่งส่วนใหญ่ใช้งานมาโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 15 ปี ..
นอกเหนือจากการปรับใช้เทคโนโลยี เช่น พลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ Wind & Solar Energy Technologies แล้ว การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง ยังมีความจำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าระบบกำลังไฟฟ้า มีความปลอดภัย และยืดหยุ่น Secure & Flexible Electricity Systems .. การขยาย และปรับปรุงโครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าของภูมิภาคExpanding & Modernizing the Region’s Power Grids เพื่อรองรับพลังงานหมุนเวียนที่ผันผวนVariable Renewable Energy มากขึ้นนั้น จำเป็นต้องมีการลงทุนประจำปีในพื้นที่นี้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า เป็นเกือบ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2573 ซึ่งรวมถึงความคิดริเริ่มความร่วมมือในระดับภูมิภาค เช่น โครงข่ายระบบสายส่งกำลังไฟฟ้าอาเซียน ASEAN Power Grids และไมโครกริดที่ใช้พลังงานหมุนเวียน Renewables-Based Microgrids เพื่อให้บริการแก่เกาะ และชุมชนในพื้นที่ห่างไกล Islands & Communities in Remote Areas เป็นต้น ..
รายงานของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศInternational Energy Agency : IEA ฉบับนี้ เน้นย้ำถึงประโยชน์ของการเร่งเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดที่เกิดขึ้นแล้วทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมามีการสร้างงานมากกว่า 85,000 ตำแหน่ง และมีศักยภาพในการขยายการผลิตเทคโนโลยีพลังงานสะอาด และการแปรรูปแร่ธาตุที่สำคัญในภูมิภาคนี้ต่อไปตัวอย่างเช่น อินโดนีเซีย Indonesia ซึ่งมีแหล่งสำรองนิกเกิล Nickel : 28Ni จำนวนมาก เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่ และส่วนประกอบลิเธี่ยมไอออนแบตเตอรี่รายใหญ่ Major Producer of Lithium-Ion Batteries & Components ..
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia คือแหล่งรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเธี่ยมใช้แล้วรายใหญ่ เพื่อดึงเอาแร่ธาตุหายากราคาแพง หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ Major Recycling Source for Used Lithium Batteries to Extract Expensive Rare Earth Minerals for Reuse ได้มากกว่า 90% อีกด้วย .. นอกจากนั้น เวียดนาม Vietnam, ไทย Thailand และมาเลเซีย Malaysia คือ ผู้ผลิตระบบโซลาร์เซลล์รายใหญ่ที่สุด Largest Manufacturers of Solar PV Systems รองจากจีน China .. และสิงคโปร์ Singapore ซึ่งเป็นท่าเรือน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก World’s Largest Bunkering Port สามารถมีบทบาทสำคัญในการลดการปล่อยมลพิษจากการขนส่งผ่านเชื้อเพลิงEfforts to Reduce Emissions from Shipping through Fuels เช่น แอมโมเนีย Ammonia : NH3 และเมทานอล Methanol : CH3OH นี่ยังไม่ได้รวมกำลังผลิตแบตเตอรี่ลิเธี่ยม Lithium Batteries และการผลิตพลาสติกชีวภาพจากพืช Plant-Based Bioplastics ที่เพิ่มขึ้นสูงอย่างมีนัยสำคัญในประเทศไทยมาพร้อมด้วย ..
สำหรับประเทศไทย ซึ่งถือเป็นตัวอย่างหนึ่งในผู้นำกลุ่มประเทศอาเซียน ASEAN ที่แสดงบทบาทสำคัญในประเด็นการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน หรือก๊าซเรือนกระจก การเพิ่มศักยภาพทางการผลิต เพื่อตอบรับนโยบายภาครัฐ บีซีจี โมเดล BCG Model Policy ซึ่งนับเป็นความท้าทายครั้งใหม่ที่นักอุตสาหกรรมของไทยจะต้องเผชิญ รวมทั้งต้องมุ่งมั่นปรับตัวเพื่อเข้าสู่การผลิตแห่งความยั่งยืนให้สำเร็จได้ในที่สุดจากนี้ไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีสะอาดสีเขียว Clean & Green Technologies ที่เป็นเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnology นอกเหนือไปจากเทคโนโลยีพลังงานสะอาด Clean Energy Technologies โดยตรงเช่น เทคโนโลยีระบบจัดเก็บพลังงานด้วยชุดแบตเตอรี่ Battery Energy Storage Technologies หรือเทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม Solar & Wind Energy Technology เป็นต้น ..
อย่างไรก็ตาม ในอดีตที่ผ่านมา การผลิตพลาสติกชีวภาพจากพืช Plant-Based Bioplastics ด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ Biotechnology ของไทย ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จากข้อจำกัดด้านการเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ และการผลักดันความต้องการของผู้บริโภคผ่านมาตรการภาครัฐ .. หากแต่ปัจจุบันนี้สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปสิ้นเชิง ถือเป็นโอกาสดีในการพัฒนาของอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพไทย .. กฎหมาย และข้อจำกัดการใช้พลาสติกปิโตรเคมีของบางประเทศพัฒนาแล้วได้รับการแก้ไขให้เข้มงวดมากขึ้น ทำให้ตลาดพลาสติกชีวภาพใน จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ กลายเป็นโอกาสในการขยายธุรกิจส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพของไทย จากมาตรการยกเลิกใช้พลาสติกบางประเภท โดยมีมูลค่าตลาดส่งออกสูงถึง 16,697 ล้านบาทในปี 2562 และมีมูลค่า 19,107 ล้านบาท ในปี 2563 หรือหมายถึง ตลาดส่งออกบรรจุภัณฑ์พลาสติกชีวภาพของไทย เติบโตอย่างน้อย 14% ต่อปี และยังคงเติบโตต่อเนื่องต่อไปอย่างมั่นคง คาดว่า พลาสติกชีวภาพจะเข้าไปทดแทนพลาสติกจากปิโตรเคมี จากนี้ไปอย่างน้อยประมาณ 30% ในตลาดเอเชีย ภายในปี2567 นี้ .. ปัจจุบัน ประเทศไทยได้ทะยานขึ้นเป็นประเทศที่ผลิต และส่งออกเม็ดพลาสติกชีวภาพสลายตัวได้จากพืช อยู่อันดับที่ 2 ของโลก รองจากอินเดีย .. ทั้งนี้อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพของไทย มีแนวโน้มขยายตัวด้วยความเร่ง หลังปี2565 ได้สูงถึง 12.88% รวมทั้งคาดหมายได้ว่าการส่งออกเม็ดพลาสติกชีวภาพ จะเติบโตขึ้นได้อย่างน้อย 3-5% ต่อเนื่องกับเพิ่มขึ้นอีกทุกปีจากนี้ไป และนี่คือโอกาสทางธุรกิจของไทยที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ..
ทั้งนี้ ความร่วมมือระหว่างประเทศ International Cooperation ผ่านองค์กรต่างๆ เช่น อาเซียน ASEAN จะเป็นสิ่งสำคัญในการก้าวไปข้างหน้าสู่การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดในทุกมิติที่มั่นคงปลอดภัย และเน้นที่ประชาชนเป็นศูนย์กลางSecure & People-Centred Clean Energy Transitions มากขึ้นในช่วงเวลาที่มีความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ Geopolitical Tensions ที่ทวีความรุนแรงขึ้น และความเสี่ยงด้านสภาพอากาศที่เพิ่มมากขึ้น Growing Climate Risks .. การเปิดสำนักงานแห่งใหม่ของสำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ในสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นสำนักงานแห่งแรกของ IEA ที่อยู่นอกสำนักงานใหญ่ IEA ณ กรุงปารีสในประวัติศาสตร์ 50 ปีของ IEA ถือเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการมีส่วนร่วมที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นของ IEA กับประเทศต่างๆ ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Southeast Asia และประเทศอื่นๆ เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานEnhance Energy Security และเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด Accelerate Clean Energy Transitions ..
คาดการณ์ตลาดพลังงานสะอาด พลังงานสีเขียว และพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก Global Clean, Green & Renewable Energy Market ..
หากมองในภาพรวมตลาดพลังงานสะอาด Clean Energy Market โดยอ้างอิงข้อมูลการสำรวจตลาดของ Allied Market Research แล้ว พบว่ามูลค่าขนาดธุรกิจในตลาดพลังงานสะอาดทั่วโลก Global Clean Energy Market อยู่ที่ 0.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2565 และคาดหมายว่าจะสูงแตะระดับถึง 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2575 ด้วยอัตราการเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดพลังงานสะอาดทั่วโลก Global Clean Energy Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุดรวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 9.1% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ปี 2566-2575 ..
ธุรกิจพลังงานสีเขียว Green Energy Businesses กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ คาดหมายว่า ขนาดธุรกิจตลาดพลังงานสีเขียวทั่วโลก Global Green Energy Market Size จะมีมูลค่าสูงถึง 3,637.99 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี2574 ซึ่งแสดงให้เห็นชัดเจน และไม่มีอะไรต้องสงสัยอีกเลยว่า โลกกำลังมุ่งหน้าสู่แนวทางแก้ปัญหา และแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนมากขึ้น More Sustainable Solutions & Practices .. แนวคิดธุรกิจพลังงานสีเขียวที่หลากหลาย Many Diverse Green Energy Business Ideas พร้อมที่จะตื่นตัวทะยานขึ้น เพราะอุตสาหกรรมเหล่านี้ มิใช่เพียงแค่กระแสเท่านั้น แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่มีศักยภาพมหาศาล Long-Term Change with Enormous Potential ในการสร้างกำไร และผลกระทบเชิงบวก Profit Generation & Positive Impact ..
องค์การพลังงานระหว่างประเทศ International Energy Agency : IEA ยังคาดหมายอีกด้วยว่า ตลาดพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก Global Renewable Market จะมีมูลค่าสูงถึงมากกว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ภายในปี 2593 ซึ่งหมายถึงขนาดธุรกิจในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนRenewable Energy Industry นั้น จะมีขนาดเทียบเคียงได้เท่ากับตลาดน้ำมัน Oil Market ในปัจจุบัน ..
ทั้งนี้ อ้างอิงข้อมูลของ McKinsey ได้ประมาณการไว้ว่า กำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก Global Renewable-Electricity Capacity จะเพิ่มขึ้นมากกว่า 80% จากระดับปี 2563 เป็นมากกว่า 5,022 GW ในปี 2569 .. ด้วยการเติบโตนี้ 2 ใน 3 จะมาจากพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ Wind & Solar Energy ซึ่งเพิ่มขึ้น 150% เป็น 3,404 GW ..
อย่างไรก็ตาม สำหรับในประเด็นตลาดพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Market อ้างอิงข้อมูลการสำรวจตลาดของ Grand View Research พบว่า ตลาดพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก Global Renewable Energy Market มีมูลค่าประมาณ 1.21 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2566และคาดว่าจะเติบโตในอัตราเติบโตต่อปี Compound Annual Growth Rate : CAGR หมายถึง อัตราผลตอบแทนสำหรับการลงทุนในตลาดพลังงานหมุนเวียนทั่วโลก Global Renewable Energy Market ที่เติบโตจากยอดดุลเริ่มต้นไปถึงยังยอดดุลสิ้นสุด รวมสมมติฐานว่ากำไรจะถูกนำกลับมาลงทุนหมุนเวียนใหม่ทุกสิ้นปีของช่วงอายุการลงทุน อยู่ที่ค่า CAGR 17.2% ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ปี 2567-2573 ..
การเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ Shift toward Low-Carbon Fuels และกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด Presence of Stringent Environmental Regulations ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ ได้ช่วยกระตุ้นภาคส่วนพลังงานหมุนเวียนอย่างมาก .. ตลาดการผลิตพลังงานEnergy Generation Market ได้เติบโตในแง่ของกำลังการผลิตติดตั้งของแหล่งพลังงานหมุนเวียนInstalled Capacity of Renewable Sources ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องมาจากความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมที่เพิ่มขึ้น ควบคู่ไปกับแรงกดดันในการลดผลกระทบที่เป็นอันตรายจากก๊าซเรือนกระจก Greenhouse Gases : GHG ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายตัวของภาคส่วนพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม Expansion of Solar & Wind Energy Sectors ..
![](https://thekey.news/wp-content/uploads/2025/02/IMG_5699.png)
กลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Power Segmentมีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด อยู่ที่ 30.95% ในปี 2566 และคาดว่าจะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญตลอดช่วงคาดการณ์ .. กลุ่มพลังงานแสงอาทิตย์มีต้นทุนต่ำ ให้ “ฉลากสีเขียว Green Label” สำหรับบ้าน หรือธุรกิจ และช่วยลดการหยุดชะงักของกำลังไฟฟ้า .. ไฟฟ้าจากกริด Grid Electricity มักเกิดไฟดับบ่อยครั้ง และแม้แต่พลังงานไฟฟ้าพลังน้ำ Hydroelectric Power ก็มักจะเกิดไฟดับระหว่างการส่งจ่ายผ่านโครงข่าย .. อย่างไรก็ตามระบบพลังงานแสงอาทิตย์ Solar Systems มีประสิทธิภาพมากกว่าเมื่อเป็นเรื่องของการส่งจ่ายกำลังไฟฟ้า ทั้งนี้ กลุ่มพลังงานน้ำ Hydropower Segment มีส่วนแบ่งรายได้ที่สำคัญ อยู่ที่ 16.65% ในปี 2566 ..
พลังงานน้ำ Hydropower หรือที่เรียกอีกอย่างว่ากำลังไฟฟ้าพลังน้ำ Hydroelectric Power มีข้อดีต่อชุมชน และมีบทบาทสำคัญในการช่วยเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยให้บริการจัดเก็บพลังงาน และความยืดหยุ่น คาดว่า กลุ่มพลังงานลม และพลังงานชีวมวล Wind Power & Bioenergy Segments จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ เนื่องจากแหล่งพลังงานแบบดั้งเดิม Traditional Energy Sourcesจะถูกแทนที่ด้วยพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy .. ก่อนหน้านี้ เมื่อปี 2563 จีน China เป็นผู้นำในด้านพลังงานลม Wind Energy โดยมีกำลังการผลิตติดตั้ง 221 GW ตามมาด้วยสหรัฐฯ USA ซึ่งมีกำลังการผลิต 96.4 GW, เยอรมนี Germany ซึ่งมีกำลังการผลิต 59.3 GW, อินเดีย India ซึ่งมีกำลังการผลิต 35 GW และสเปน Spain ซึ่งมีกำลังการผลิต 23 GW ..
ปัจจัยเหล่านี้ เมื่อรวมกับความกังวลด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล คาดว่าจะผลักดันความต้องการพลังงานลม และพลังงานชีวมวล Demand for Wind Energy & Bioenergy ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ..พลังงานความร้อนใต้พิภพ Geothermal Energy คือ พลังงานหมุนเวียนที่ได้มาจากความร้อนของโลก Renewable Energy Derived from the Earth’s Heat และสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนรวมถึงการใช้งานสำหรับการทำความเย็น และทำความร้อน .. สหรัฐฯคือผู้นำในด้านกำลังการผลิตพลังงานความร้อนใต้พิภพของโลก โดยมีกำลังการผลิต 3.7 GW .. นอกจากนี้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ใหญ่ที่สุดในโลก Largest Geothermal Plant in the World ตั้งอยู่ในแคลิฟอร์เนีย California และด้วยการยอมรับอย่างแข็งแกร่งในอุตสาหกรรมแล้ว พลังงานความร้อนใต้พิภพ Geothermal Energy คาดว่าจะสามารถตอบสนองความต้องการไฟฟ้าของสหรัฐฯ ได้ 10% ในอนาคตอันใกล้ .. ปัจจัยเหล่านี้ คาดว่าจะผลักดันความต้องการของตลาด Market Demand ในช่วงระยะเวลาที่คาดการณ์ ..
สรุปส่งท้าย ..
อนาคตของพลังงานสะอาด Future of Clean Energy ดูสดใส โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการติดตั้งกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกRenewable Energy Capacity มากกว่ากำลังการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลใหม่ New Fossil Fuel Capacity และพลังงานนิวเคลียร์ใหม่ New Nuclear Capacity รวมกัน .. แหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Sources คิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของกำลังการผลิตกำลังไฟฟ้าที่ติดตั้งทั่วโลก Globally Installed Power Capacity ..
เนื่องจากประชากรโลก World Population ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความต้องการพลังงาน Demand for Energy จึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Sources จึงเป็นคำตอบสำหรับโซลูชันข้อไขการจัดหาพลังงานที่ยั่งยืน Sustainable Energy Solutions ขณะเดียวกันก็ปกป้องโลกจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Protecting the Planet from Climate Change ไปพร้อมด้วย ..
การใช้พลังงานสะอาด Clean Energy ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในระดับประเทศเท่านั้น เนื่องจากเมืองและรัฐต่างๆ กำลังกำหนดนโยบายของตนเองเพื่อเพิ่มการใช้พลังงานหมุนเวียนเช่นกัน .. ในสหรัฐฯมี 29 รัฐที่กำหนดพอร์ตโฟลิโอพลังงานหมุนเวียนเพื่อบังคับให้พลังงานที่บริโภคต้องมาจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนระดับหนึ่งที่กำหนด และปัจจุบัน เมืองต่างๆ กว่า 100แห่งทั่วโลก ใช้พลังงานหมุนเวียนอย่างน้อย 70% เนื่องจากเมืองต่างๆ จำนวนมาก มุ่งหน้าสู่การใช้พลังงานหมุนเวียน 100% .. บริษัทฯต่างๆ จึงมีส่วนร่วมด้วยการซื้อพลังงานหมุนเวียนในระดับสูงสุดเท่าที่จะดำเนินการได้มาพร้อมด้วย ..
แน่นอนว่า เนื่องจากเชื้อเพลิงฟอสซิล Fossil Fuels คือทรัพยากรที่มีจำกัด Finite Resource จึงสมเหตุสมผลที่อนาคตจะเป็นพลังงานหมุนเวียนRenewables และคาดว่าแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Sources จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนลงได้ด้วยเช่นกัน ..
พลังงานสะอาด Clean Energy จากพลังงานหมุนเวียน Renewables รวมถึงพลังงานแสงอาทิตย์ Solar, พลังงานลม Wind Energy, พลังงานน้ำ Hydropower, เชื้อเพลิงชีวภาพBiofuels และอื่นๆ เช่น เคมีชีวภาพ Biochemicals เป็นต้นนั้น ถือเป็นศูนย์กลางของการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาพรวมระบบพลังงานที่ลดคาร์บอนเข้มข้น Transition to Less Carbon-Intensive และระบบพลังงานที่ยั่งยืนมากขึ้นSustainable Energy Systems ..แนวโน้มการลงทุนสำหรับการเปลี่ยนผ่านพลังงาน Energy Transition Trends และกำลังการผลิตพลังงานสะอาด Clean Energy Production Capacity ในปี 2567 ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงตั้งแต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยได้แรงหนุนจากนโยบายภาครัฐ และการลดต้นทุนอย่างมากสำหรับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ Solar Photovoltaics และกำลังไฟฟ้าพลังงานลม Wind Power โดยเฉพาะ เป็นต้น ..
![](https://thekey.news/wp-content/uploads/2025/02/IMG_5700.jpg)
การนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในภาคพลังงานไฟฟ้า Deployment of Renewables in the Power Sector ซึ่งรวมทั้งความร้อน และภาคการขนส่ง Heat & Transport Sectors คือ หนึ่งในปัจจัยหลักที่ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกสูงขึ้นต่ำกว่าจุดเล็งที่ 1.5°C ในสถานการณ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์สุทธิ ภายในปี 2593 หรือ Net Zero Emissions by 2050 Scenario .. พลังงานสะอาดพลังงานสีเขียว และพลังงานหมุนเวียน Clean & Green Energy & Renewables จะทำให้การผลิตกำลังไฟฟ้าสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้เกือบทั้งหมด ..ในขณะเดียวกัน เชื้อเพลิงการขนส่งหมุนเวียน Renewable Transport Fuels และความร้อนหมุนเวียน Renewable Heat จะสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการขนส่ง Transportation, อาคาร Buildings และอุตสาหกรรม Industries ได้เป็นอย่างมาก ..
ภาคกำลังไฟฟ้า Electricity Sector ยังคงเป็นจุดสว่างที่สุดสำหรับพลังงานหมุนเวียน Brightest Spot for Renewables โดยมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ และพลังงานลม Solar Photovoltaics & Wind Energy ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยต่อยอดมาจากการมีส่วนร่วมที่สำคัญอยู่แล้วของระบบกำลังไฟฟ้าพลังน้ำ Hydropower System แต่ภาคกำลังไฟฟ้า Electricity Sector ยังคงคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1 ใน 5 ของการใช้พลังงานทั่วโลก อย่างไรก็ตาม เห็นชัดเจนได้ว่า พลังงานสะอาด Clean Energy จากแหล่งพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Sources มีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างมีนัยสำคัญสำหรับการผลิตกำลังไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสะอาด Production of Various Products in the Clean Technology Industries, การขนส่ง Transportation และการทำความร้อน Heating สำหรับการเปลี่ยนผ่านระบบพลังงาน Energy System Transition ในอนาคตจากนี้ไป ไร้ข้อสงสัย ..
สำหรับประเทศไทย การบรรลุเป้าหมายการผลิตพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Production และการผลิตที่ยั่งยืน Sustainable Manufacturing ในแผนงานตามยุทธศาตร์พลังงานหมุนเวียนของไทยนั้น ไม่ถึงกับเป็นเรื่องท้าทายจนไม่สามารถดำเนินการได้ แต่พวกมันคือเป้าหมายที่จำเป็นสำหรับการมุ่งไปสู่อนาคตระบบพลังงาน Future Energy System รวมทั้งการรักษาอนาคตการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่พึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลอีกต่อไป .. ในระยะยาว อุตสาหกรรมเทคโนโลยีสะอาด Clean Technology Industries และอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน Renewable Energy Industriesในประเทศของไทย สามารถช่วยได้มากทั้งในระดับครัวเรือน ท้องถิ่น และระดับชาติHousehold, Local & National Levels ทั้งยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม Environmentally Friendly และถือเป็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ Good Chances for New Business ที่น่าสนใจอย่างยิ่งอีกด้วย ..
![](https://thekey.news/wp-content/uploads/2025/02/IMG_5701.jpg)
ปัจจุบัน ประเทศไทยได้แสดงให้เห็นแล้วถึงบทบาทความเป็นผู้นำที่โดดเด่นด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสะอาด Clean Technology Industries และอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนRenewable Energy Industries ในประชาคมอาเซียน ASEAN Community .. หากภาครัฐเอกชน และภาคประชาสังคมของไทย ผนึกกำลังและร่วมมือกัน ผลักดันการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนชาติ รวมทั้งมุ่งดำเนินการให้สอดคล้องกับเป้าหมายภายใต้แผนการพัฒนาที่ยั่งยืน UN Sustainable Development Goals : SDGs และแผนงานเศรษฐกิจหมุนเวียนของสหประชาชาติ UN Circular Economy Plans ไปพร้อมด้วยอย่างมุ่งมั่น จริงจังแล้ว ก็จะสามารถสร้างทั้งความน่าเชื่อถือ และความรู้ Credibility & Knowledge ที่จำเป็น ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Sustainable Development across Southeast Asia ให้สำเร็จได้อย่างงดงามในที่สุดจากนี้ไป ..
………………………………….
คอลัมน์ : Energy Key
By โลกสีฟ้า ..
สนับสนุนคอลัมน์ โดย E@ บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
![](https://thekey.news/wp-content/uploads/2022/07/แอดE@-65.jpeg)
ขอบคุณเอกสารอ้างอิง :-
Clean Energy is Energy that Comes from Renewable | TWI :-
https://www.twi-global.com/technical-knowledge/faqs/clean-energy#WhatDoesCleanEnergyMean
Global Market for Key Clean Technologies Set to Triple to More than $2 trillion over the Coming Decade as Energy Transitions Advance | IEA :-
Energy Technology Perspectives 2024 | IEA :-
https://www.iea.org/reports/energy-technology-perspectives-2024
Southeast Asia’s Role in the Global Energy System is Set to Grow Strongly over Next Decade | IEA :-
The Global Renewable Energy Market | Grand View Research :-
https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/renewable-energy-market
Energy Transition : A Significant Structural Change in an Energy System :-
https://photos.app.goo.gl/Qnj3eGJobkzRHx7a9
The Renewable Energy & How to Save the World Documentary :-